บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ศาลไทยกับการประหารประชารัฐ


ศาลไทยกับการประหารประชารัฐ

'ศาลไทยกับการประหารประชารัฐ' โดย 'วีรพัฒน์ ปริยวงศ์'

          “จะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ”
          ถ้อยคำตอนหนึ่ง ของคำถวายสัตย์ ที่ตุลาการไทย ต้องปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
          เพลงชาติสอนให้เราเชื่อว่าประเทศไทยเป็นประชารัฐ แต่ประชารัฐกลับถูกประหารมาแล้วหลายครั้ง
          ล่าสุดก็เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ แม้วันนี้ผ่านมาได้ ๕ ปี แต่คราบเลือดและรอยแผลยังมีให้พบเห็นได้ทั่วไป ไม่เว้นแต่ในหน้าของรัฐธรรมนูญและอีกหลายหน้าของราชกิจจานุเบกษา
          คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  คดีหมายเลขแดงที่ อม. ๑/๒๕๕๐ (“คดีที่ดินรัชดาฯ”) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๒๖ ก
          ในหน้าที่ ๘-๙ ศาลฎีกา กล่าวว่า
          “เห็นว่า ในการทำรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจการปกครองประเทศในแต่ละครั้งนั้น ผู้ทำการรัฐประหารมีความประสงค์ที่จะยึดอำนาจอธิปไตยที่ใช้ในการปกครอง ประเทศ ซึ่งก็คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ มารวมไว้โดยให้มีผู้ใช้อำนาจดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวหรือคณะบุคคลคณะเดียว เท่านั้น มิได้มีความประสงค์ที่จะล้มล้างระบบกฎหมายของประเทศทั้งระบบแต่อย่างใด”
          “แม้แต่อำนาจตุลาการซึ่งเป็นอำนาจหนึ่งในอำนาจอธิปไตยก็ยังปรากฏเป็นข้อที่ รับรู้กันทั่วไปว่าตามปกติผู้ทำการรัฐประหารจะยังคงให้อำนาจตุลาการโดยเฉพาะ อย่างยิ่งศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่อไปได้ คงยึดอำนาจไว้แต่เฉพาะอำนาจนิตบัญญัติและอำนาจบริหารเท่านั้น”
          “ในการทำปฏิวัติรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ก็เช่นกัน เมื่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขยึดอำนาจในการปกครองประเทศได้เรียบร้อย แล้ว คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขก็ออกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓ มีใจความสำคัญว่า ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ สิ้นสุดลง วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีและศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ”
          “ส่วนศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญคงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย แสดงว่าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขยึดอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารมารวม ไว้ที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนอำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมใช้อำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบท กฎหมายต่อไป”
          (ลงชื่อ นายทองหล่อ โฉมงาม  นายสมชาย พงษธา  นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย  นายสมศักดิ์ เนตรมัย  นายวัฒนชัย โชติชูตระกูล  นายประพันธ์ ทรัพย์แสง  นายพิชิต คำแฝง   นายธีระวัฒน์ ภัทรานวัช  และนายเกรียงชัย จึงจตุรพิธ องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา)
          คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๕/๒๕๕๑ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๐๗ ก
          หน้าที่ ๓๒ และ ๓๕ นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้แสดงความเห็นส่วนตน ตอนหนึ่งความว่า:
          “เห็นว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๐ เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐลงวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ เป็นคำสั่งของคณะรัฐประหารที่ยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ คณะรัฐประหารจึงเป็นรัฏฐาธิปัตย์ซึ่งมีอำนาจสูงสุด คำสั่งของคณะรัฐประหารดังกล่าว จึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อประเทศชาติจะตั้งอยู่ได้ในความสงบต่อไป”
          “โดยที่เหตุการณ์ก่อนการรัฐประหารบ้านเมืองอยู่ในสภาวะแบ่งแยกเป็นฝักเป็น ฝ่าย ประกอบกับมีข้อเท็จจริงที่สนับสนุนให้เห็นถึงการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความ เสียหายแก่รัฐ อันเป็นสาเหตุแห่งการรัฐประหาร คณะรัฐประหารจึงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบขึ้นมาทำหน้าที่ตรวจสอบการกระทำ อันเป็นเหตุการณ์ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติจึงจำต้องให้อำนาจแก่คณะกรรมการตรวจ สอบเพื่อให้การดำเนินการตรวจสอบเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ”
          “แต่ประการสำคัญยังมีการตรวจสอบถ่วงดุลโดยอัยการสูงสุด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบถ่วงดุลและการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพโดยศาล ฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีแล้วแต่กรณี อันเป็นไปตามหลักการแห่งการปกครองโดยกฎหมาย หรือหลักนิติธรรม (Rule of Law) แล้ว”
          (ลงชื่อ นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ)
          ในหน้าที่ ๓๘-๓๙ นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้แสดงความเห็นส่วนตน ตอนหนึ่งความว่า:
          “เห็นว่า ประเทศไทยถูกคุกคามและบ่อนทำลายให้เสื่อมโทรมด้วยปัญหาการทุจริตและประพฤติ มิชอบของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐมาโดยตลอด เป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาความยากจนและคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำของประชาชนส่วน ใหญ่ ทั้งยังขัดขวางและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน ปัญหาดังกล่าวนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยระบบงานยุติธรรมปกติที่ออกแบบมา สำหรับอาชญากรรมสามัญทั่วไปได้ โดยเฉพาะในขั้นตอนสืบสวน สอบสวน ก่อนการพิจารณาคดีของฝ่ายตุลาการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ยังไม่มีอิสระและอำนาจเพียงพอที่จะตรวจสอบหรือ ดำเนินคดีต่อผู้มีฐานะและอำนาจระดับสูงเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
          “สภาพปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขนาดที่อาจกระทบต่อความมั่นคงและความอยู่รอดของประเทศ นับว่าเป็นปัญหาเฉพาะสำหรับประเทศไทยที่จำเป็นต้องมีมาตรการที่เหมาะสมเป็น พิเศษขึ้นเพื่อแก้ไข ซึ่งประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข ฉบับที่ ๓๐ เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ก็เป็นมาตรการหนึ่งที่จำเป็นต้องมี ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศสามารถทำหน้าที่ได้ตามวัตถุ ประสงค์ในการตรวจสอบและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศได้จริง”
          “ประกาศคณะปฏิรูปฉบับดังกล่าวมุ่งเน้นที่การตรวจสอบในขั้นตอนก่อนการพิจารณา คดีของศาลเท่านั้น มิได้มีเนื้อหาส่วนใดก้าวก่ายหรือแทรกแซงการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลเลยผู้ ที่ถูกตรวจสอบและดำเนินคดีตามกฎหมายฉบับนี้ยังคงมีสิทธิต่อสู้คดีในชั้นศาล ได้อย่างเต็มที่ทั้งในการตรวจสอบการใช้อำนาจหรือการทุจริตประพฤติมิชอบของ บุคคลตามประกาศนี้จะกระทำได้ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยเท่านั้น กระบวนการตรวจสอบในชั้นก่อนฟ้องตามประกาศดังกล่าวจึงมิได้ฝ่าฝืนหรือขัดแย้ง ต่อหลักนิติธรรม หรือสิทธิมนุษยชนแต่ประการใด…”
          (ลงชื่อ นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
          ในหน้าที่ ๔๔ นายจรูญ อินทจาร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้แสดงความเห็นส่วนตน ตอนหนึ่งความว่า:
          “...การใช้อำนาจอธิปไตยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้อำนาจของคณะปฏิรูปฯ เช่นกัน ดังนั้น ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ ๓๐ จึงมีฐานะ มีศักดิ์และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย”
          “เมื่อคณะปฏิรูปฯ เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในขณะนั้น ใช้อำนาจออกประกาศฉบับนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าคณะปฏิรูปฯ มีวัตถุประสงค์จะให้มีองค์กรทางบริหารที่มีอำนาจหน้าที่เสริมและผสานการใช้ อำนาจซึ่งแบ่งแยกอยู่ใน ๓ องค์กรดังกล่าวมาบูรณาการให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจหน้าที่ทางบริหารของ ทั้ง ๓ องค์กรนี้ด้วย เพื่อตรวจสอบและสอบสวนเรื่องที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำการทุจริตต่อ ประเทศชาติตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งต้องกระทำโดยเร็วและภายในกรอบระยะเวลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างเหมาะสมกับลักษณะ ของการกระทำผิดที่มีความร้ายแรงต่อประเทศชาติ”
          (ลงชื่อ นายจรูญ อินทจาร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
          ในหน้าที่ ๔๘ นายเฉลิมพล เอกอุรุ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้แสดงความเห็นส่วนตน ตอนหนึ่งความว่า:
          “เห็นว่าประกาศ คปค. ๓๐ มีสถานะเป็นกฎหมาย เพราะออกโดยผู้ที่เป็นรัฏฐาธิปัตย์อยู่ในขณะนั้น ดังที่ศาลฎีกาเคยพิพากษาไว้ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๔๕/๒๔๙๖, ๑๖๖๓/๒๕๐๕ และ ๖๔๑๑/๒๕๓๔ และประกาศ คปค.ดังกล่าวย่อมมีสถานะเป็นกฎหมายอยู่ตราบเท่าที่ยังไม่มีกฎหมาย ที่มีศักดิ์เดียวกันมายกเลิก (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๓๔/๒๕๒๓)”
          (ลงชื่อ นายเฉลิมพล เอกอุรุ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
          ในหน้าที่ ๕๓ นายนุรักษ์ มาประณีต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้แสดงความเห็นส่วนตน ตอนหนึ่งความว่า:
          “เห็นว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข ฉบับที่ ๓๐ เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ซึ่งประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ประกาศดังกล่าวเป็นประกาศที่มีสถานะเป็น “กฎหมาย” ระดับพระราชบัญญัติ เพราะการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศหัวหน้าคณะปฏิวัติหรือหัวหน้าคณะ ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองประเทศ ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิรูปสั่งให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติก็ต้องถือ ว่าเป็นกฎหมาย”
          (ลงชื่อ นายนุรักษ์ มาประณีต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
          ในหน้าที่ ๕๖ นายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้แสดงความเห็นส่วนตน ตอนหนึ่งความว่า:
          “เห็นว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข ฉบับที่ ๓๐ เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ (ประกาศ คปค. ฉบับที่ ๓๐) เป็นคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ได้ยึดและได้ควบคุมอำนาจการปกครอง ประเทศย่อมมีอำนาจสูงสุดในประเทศในฐานะเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์คือเป็นผู้มี อำนาจตรากฎหมาย บังคับให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายได้หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นผู้ใช้อำนาจ นิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการแต่ผู้เดียว ดังนั้นคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองดังกล่าวจึงถือเป็นกฎหมายมีผลใช้บังคับ”
          (ลงชื่อ นายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
          ในหน้าที่ ๕๙-๖๐ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้แสดงความเห็นส่วนตน ตอนหนึ่งความว่า:
          “เห็นว่า เมื่อมีบุคคลหรือคณะบุคคลใดเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศได้สำเร็จ บุคคลนั้นหรือหัวหน้าคณะบุคคลเช่นว่านั้น ไม่ว่าจะเรียกตนเองว่าอะไรย่อมได้ไปซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ และมีอำนาจออกประกาศหรือออกคำสั่งอันมีผลเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชนได้ ทำนองเดียวกับพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ย่อมมีผลเป็นกฎหมาย ดังนั้น การที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ คปค. ย่อมมีอำนาจในการปกครองประเทศและมีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่งต่าง ๆ ให้มีผลเป็นกฎหมาย หลักเกณฑ์เช่นนี้ยึดถือกันมาจนเป็นปกติประเพณีแล้ว”
          (ลงชื่อ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
          ในหน้าที่ ๖๓-๖๔ นายสุพจน์ ไข่มุกด์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้แสดงความเห็นส่วนตน ตอนหนึ่งความว่า:
          “ภายหลังจากการรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ เรื่อยมา ศาลและนักนิติศาสตร์ไทยให้การยอมรับการทำรัฐประหารที่สำเร็จ โดยวินิจฉัยเสมอมาจนปัจจุบันว่าคณะรัฐประหารเป็นรัฏฐาธิปัตย์ คำสั่งของคณะรัฐประหารจึงเป็นกฎหมายและเป็นได้แม้รัฐธรรมนูญ...”
          “คณะปฏิรูป ฯ ได้เล็งเห็นปัญหาการทุจริตคอรัปชันในรัฐบาลชุดที่แล้ว จึงได้กระทำการยึดอำนาจ ฯ และเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีความต่อเนื่องและเพื่อดำรงสถานะของรัฐ อำนาจอธิปไตย ตลอดจนการบริหารราชการแผ่นดินมิให้สะดุดหยุดลง เพื่อกฎหมายฉบับเดิมที่อาจถูกยกเลิกตามกฎหมายใหม่ ยังมีผลใช้บังคับต่อไปได้ เป็นการกระทำ เท่าที่จำ เป็น ได้สัดส่วนและไม่กระทบกระเทือนสิทธิและเสรีภาพซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ใน ขณะนั้น ฉะนั้นจึงเห็นว่าไม่เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ และไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐”
          (ลงชื่อ นายสุพจน์ ไข่มุกด์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
          ในหน้าที่ ๖๗ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้แสดงความเห็นส่วนตน ตอนหนึ่งความว่า:
          “…ถือว่าประกาศและคำสั่งทั้งหลายข้างต้นเป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฏฐาธิปัตย์ ใช้บังคับได้ ตามประเพณีการปกครองและเป็นนิติประเพณีของการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ประชาชนและประเทศไทยยึดถือเป็นหลักในการปกครองประเทศตลอดมา ซึ่งต้องสอดคล้องและอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรม ตามที่บัญญัติไว้เป็นหลักการและเหตุผลในคำปรารภของรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ว่า เหตุที่ทำ การยึดอำนาจและประกาศให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเสียนั้นก็โดย ปรารถนาจะแก้ไขความเสื่อมศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน...”
          (ลงชื่อ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)
          คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  คดีหมายเลขแดงที่ อม. ๙/๒๕๕๒ (“คดีนายยงยุทธ ติยะไพรัช”) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๙๐ ก
          นายกีรติ กาญจนรินทร์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้แสดงความเห็นแย้ง ความบางส่วนปรากฏว่า
          “เห็นว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของประชาชน...นอกจากนี้ศาลควรมีบทบาทในการพิทักษ์ความชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงพันธกรณีในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจโดยมิ ชอบและพันธกรณีในการปกปักรักษาประชาธิปไตยด้วย”
          “การได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบ ประชาธิปไตย กล่าวคือการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยความไม่ยินยอมพร้อมใจจากประชาชน ส่วนใหญ่ เท่ากับเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย การปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๓ ย่อมเป็นการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทาง ของระบอบประชาธิปไตย”
          “หากศาลรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารว่า เป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว เท่ากับศาลไม่ได้รับใช้ประชาชน จากการใช้อำนาจโดยมิชอบและเพิกเฉยต่อการปกปักรักษาประชาธิปไตยดังกล่าวมา ข้างต้น ทั้งเป็นการละเลยหลักยุติธรรมตามธรรมชาติที่ว่าบุคคลใดจะรับประโยชน์จากความ ฉ้อฉลหรือความผิดของตนเองหาได้ไม่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นวงจรอุบาทว์อยู่ ร่ำไป ยิ่งกว่านั้นยังเป็นช่องทางให้บุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าวยืมมือกฎหมายเข้ามา จัดการสิ่งต่างๆ”
          “ข้อเท็จจริงเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ปัจจุบันอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ นานาอารยะประเทศส่วนใหญ่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่ยอมรับอำนาจที่ได้มาจากการปฏิวัติหรือรัฐประหาร ฉะนั้นเมื่อกาละและเทศะในปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้วจากอดีต ศาลจึงไม่อาจที่จะรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐ ประหารว่าเป็นรัฎฐาธิปัตย์”
          “ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปเช่นกันว่า ผู้ร้องประกอบด้วยคณะกรรมการที่เป็นผลพวงของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) แต่ คปค. เป็นคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหาร เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๓ จึงเป็นการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทาง ของระบอบประชาธิปไตยดังเหตุผลข้างต้น ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แม้จะได้รับการนิรโทษกรรมภายหลังก็ตาม หาก่อให้เกิดอำนาจที่จะสั่งการหรือกระทำการใดอย่างรัฏฐาธิปัตย์...”
          (ลงชื่อ นายกีรติ กาญจนรินทร์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา)
          (อ่านความเห็นได้ที่  http://www.supremecourt.or.th/file/criminal/keerati%209-52.pdf)
          พิพากษาตุลาการไทยทุกท่านก็ไม่ต่างไปจากท่านกีรติ กาญจนรินทร์ ที่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณว่า  “จะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ”
          แต่ ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า หากวันหนึ่งประชารัฐถูกประหารอีกครั้ง จะมีผู้พิพากษาและตุลาการไทยกี่ท่านที่พร้อมจะยึดมั่นในคำถวายสัตย์เฉกเช่น ที่ท่านกีรติ กาญจนรินทร์ ได้ประกาศไว้?

..................
(หมายเหตุ : 'ศาลไทยกับการประหารประชารัฐ' โดย 'วีรพัฒน์ ปริยวงศ์')

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง