บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

5 ปีรัฐประหาร 19 กันยายน 49 บทเรียนสำคัญแลกประชาธิปไตยราคาแพง


รถถังเข้าคุมพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า
เมื่อดอกไม้ปลายกระบอกปืนไร้คาวเลือด ย้อนรอยปฏิวัติ-รัฐประหาร 19 ก.ย. 49 จากอดีตสู่ปัจจุบัน 5 ปีให้หลังรัฐประหารในวันที่ "ทักษิณ" ยังไม่ได้กลับบ้าน บทเรียนราคาแพงก้าวข้ามสู่สังคมประชาธิปไตย

ย้อนรอยปฏิวัติ-รัฐประหาร บทเรียนสำคัญแลกกับประชาธิปไตยราคาแพง
การเปลี่ยนแปลงจุดสำคัญของการเมืองไทยเกิดขึ้นมานับครั้งไม่ถ้วนตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่เดิมการเปลี่ยนแปลงย่อมก่อให้เกิดทั้งการสูญเสียและก่อให้เกิดคุณ ประโยชน์นานัปการต่อกระบวนการเติบโตทางประชาธิปไตยของคนไทย

“ปฏิวัติ” หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ อาจมีหรือไม่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง เช่นเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย หรือคอมมิวนิสต์ ฯลฯ


“รัฐประหาร” หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ แต่ยังคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าต่อไป หรือประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นานนัก



เหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มีอย่างยาวนานนับ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นับตั้งแต่การปฏิวัติ 24มิถุนายน 2475ของกลุ่ม“ คณะราษฎร " มีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ เรื่อยมาจนกระทั่งเหตุการณ์ 19กันยายน 2549ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ ก่อกบฏ และรัฐประหาร มาแล้วถึง 24ครั้ง

การทำปฏิวัติ รัฐประหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475จนถึงปัจจุบัน

1.ปฎิวัติการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475  นำโดยคณะราษฎร์
2.รัฐประหาร 20มิถุนายน 2476นำโดย พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
3.กบฏบวชเดช 11ตุลาคม 2476นำโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดี กระทรวงกลาโหม
4.กบฏนายสิบ 1สิงหาคม 2478นำโดย สิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด
5.กบฏพระยาทรงสุรเดช 29มกราคม 2481นำโดย นายพันเอกพระยาทรงสุรเดช
6.รัฐประหาร 8พฤศจิกายน 2490นำโดย พลโทผิน ชุณหะวัณ
7.กบฏแบ่งแยกดินแดน 28กุมภาพันธ์ 2491นำโดย นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม
8.รัฐประหาร 6เมษายน 2491นำโดย พลโทผิน ชุณหะวัณ และคณะนายทหาร
9.กบฏเสนาธิการ 1ตุลาคม 2491นำโดย พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน
10. กบฏวังหลวง 26มิถุนายน 2492นำโดย นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือน
11.กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494 นำโดยนาวาตรีมนัส จารุภา
12.รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง
13.กบฏสันติภาพ 8พฤศจิกายน 2497 นำโดยนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับใน ข้อหากบฏสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกฯ
14.รัฐประหาร 16กันยายน 2500 นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
15. รัฐประหาร 20ตุลาคม 2501 นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
16. รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร
17. ปฏิวัติโดยประชาชน 14  ตุลาคม 2516 โดยการเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา
18.ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6  ตุลาคม 2519 นำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่
19.กบฎ  26 มีนาคม 2520 นำโดย พลเอกฉลาด หิรัญศิริ
20. รัฐประหาร 20ตุลาคม 2520 นำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่
21.กบฎ 1เมษายน 2524  นำโดยพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา
22. การก่อความไม่สงบ 9  กันยายน 2528นำโดย พันเอกมนูญ รูปขจรประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ
23.รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ นำโดย พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
24.รัฐประหาร 19กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข (คปค.)

รัฐประหาร 19กันยายน พ.ศ. 2549เป็นรัฐประหารในประเทศไทยซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันที่ 19กันยายน พ.ศ. 2549โดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข (คปค.) ยึดอำนาจขณะที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้ข่าวการรัฐประหารโดยได้พยายามติอต่อช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อการออกโทรทัศน์ แต่เนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมไว้จึงทำให้การออกโทรทัศน์ไม่ได้และมีการโฟน อินไปยังช่อง ๙ ประกาศใช้ พ.ร.ก สถานการณ์ฉุกเฉิน เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ

ต่อมาเมื่อมีการยึดพื้นที่ได้ทำให้ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ได้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี แล้วประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือน ตุลาคม หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่ เดือนกันยายน พ.ศ. 2548

รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาจากนานาชาติมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์โดยประเทศ เช่น ออสเตรเลีย การแสดงความความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็น พันธมิตรนอกนาโต และกล่าวว่าการก่อรัฐประหารนั้น "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้"

ภายหลังรัฐประหาร คปค.ได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน 41  จังหวัด รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด
ลำดับเหตุการณ์
ก่อนรัฐประหาร

ตอนสายของวันที่ 9กันยายน  พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ขึ้นเครื่องที่ บน.6เพื่อเดินทางไปประเทศทาจิกิสถาน ท่ามกลางการอารักขาของหน่วยทหารพร้อมอาวุธสงคราม เนื่องจากก่อนหน้านี้ไม่นานมีความพยายามลอบสังหารรักษาการนายกรัฐมนตรี (คาร์บอมบ์)

วันที่ 10กันยายน พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางถึงกรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เพื่อเข้าร่วมประชุมอาเซม มีข่าวลือเรื่องปฏิวัติหนาหูขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณ บอกกับนักข่าวว่าเป็นเพียงการปล่อยข่าว ในขณะที่เมืองไทย รองปลัดกระทรวงกลาโหม พล.ร.อ. บรรณวิทย์ เก่งเรียน แสดงความไม่พอใจอย่างมากต่อการแทรกแซงโผย้ายทหารของรัฐบาลและ พล.อ. ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

วันที่11กันยายน  พ.ต.ท.ทักษิณ และคณะ เดินทางไปพักผ่อนที่อังกฤษ เนื่องจากเกิดเป็นไข้ขึ้นมากะทันหัน หลังเสร็จการประชุมอาเซมที่ประเทศฟินแลนด์ เพื่อเตรียมตัวร่วมประชุมกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่ประเทศคิวบา

วันที่13กันยายน  พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ว่าทหารไม่คิดปฏิวัติ


วันที่15กันยายน  พ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์นักข่าวระหว่างเดินทางไปประเทศคิวบาว่าอาจจะเว้นวรรคทางการเมือง

วันที่ 19กันยายน

เช้าวันที่ 19กันยายน มีคำสั่งจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเตรียมเข้าประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก เรียกผู้นำทุกเหล่าทัพเข้าประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่มีผู้นำเหล่าทัพคนใดเข้าร่วม โดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. อ้างว่ากระชั้นชิดเกินไป ยกเว้น พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร. ทำให้มีกระแสข่าวลือการปฏิวัติรัฐประหารแพร่สะพัดไปทั่วทำเนียบรัฐบาล และกระจายสู่ภายนอกโดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เวลา 18.00น. นายสมชาย มีเสน ผู้จัดรายการวิทยุ F.M. 92.25 MHz นัดผู้ฟังรายการจำนวนหนึ่งเข้าพบ พล.อ.สนธิ ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) เพื่อขอให้ทหารให้ความคุ้มครองกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยที่จะชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ วันพรุ่งนี้

บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมีทหารควบคุมพื้นที่
ช่วงพลบค่ำมีข่าวว่ากำลังทหารหน่วยรบพิเศษจาก จ.ลพบุรี เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพฯ ขณะเดียวกัน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ข่าวระบุว่าเป็นเรื่องการทำบุญ หม่อมหลวงบัว กิติยากร หลังจากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมง สำนักข่าวไทยรายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศเลื่อนเดินทางกลับประเทศไทยเร็วขึ้นจากวันที่ 22กันยายน เป็นเวลา 05.00น. ของวันที่ 21กันยายน

ประมาณ 21.00น. กำลังทหารจากพลร่มป่าหวาย หน่วยสงครามพิเศษลพบุรี เข้ามาประจำการที่กองบัญชาการกองทัพบก จากนั้นอีกครึ่งชั่วโมงสถานการณ์เริ่มชัดเจนขึ้น เมื่อสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5ได้ยุติรายการปกติและเปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี มีข่าวลืออีกว่าทหารเข้าควบคุมตัว พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รักษาการ รมว.กลาโหม อีกกระแสข่าวบอกว่า นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางไปประเทศอังกฤษตั้งแต่วันที่ 18กันยายน

ภาพรถสายพานลำเลียง ของม.พัน 4 รอ. เคลื่อนเข้าควบคุมพื้นที่ตามจุดต่างๆในกทม.

ช่วงนั้น น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกฯ เดินทางมาที่ทำเนียบรัฐบาลด้านหลังตึกไทย ไล่เลี่ยกัน พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ยุติธรรม ที่เดินทางตามเข้ามาแต่ไม่ได้ลงจากรถ ก่อนที่ น.พ.พรหมินทร์ จะหอบเอกสารปึกใหญ่เดินขึ้นรถ พล.ต.อ.ชิดชัย และเคลื่อนออกไปจากทำเนียบด้วยกัน กำลังคอมมานโดตำรวจกองปราบปรามได้เดินทางไปรักษาความปลอดภัยที่บ้านจันทร์ ส่องหล้า

เวลา 22.00น. ขบวนรถถังเคลื่อนเข้าคุมเชิงที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ และ ถ.ราชดำเนิน สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นรายงานข่าวด่วน สถานการณ์ในประเทศไทย หลังมีผู้เห็นกองกำลังทหารตามสถานที่สำคัญต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ขณะเดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณ รักษาการนายกฯ ได้โทรศัพท์สั่งการไปยังสถานีโทรทัศน์ช่อง 11เตรียมการถ่ายทอดเสียงผ่านทางโทรศัพท์ แต่ขณะที่กำลังรอสาย ทหารได้เข้าควบคุมสถานีโทรทัศน์ช่อง 11ได้ก่อน


พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

สถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี แพร่สัญญาณเสียงของ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อเวลา 22.13น. ออกประกาศพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ควบคุมพื้นที่กรุงเทพฯ ระบุอยู่ในขั้นรุนแรง และให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้รายงานตัวต่อ พล.ต.อ.ชิดชัย และตั้ง พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผบ.สส. คุมอำนาจแก้สถานการณ์ฉุกเฉิน

ไม่กี่นาทีต่อมา ทหารจำนวนมาก ออกมาตรึงกำลังตามถนนต่าง ๆ ตั้งแต่แยกเกียกกาย ผ่านมาถึง ถ.ราชสีมา บริเวณสวนรื่นฤดี สี่แยกราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) โดยมีทหารแต่งกายลายพรางเต็มยศเป็นผู้ควบคุมกำลัง จากนั้นสัญญาณ โมเดิร์นไนน์ ทีวี ถูกตัดลง มีรายงานว่าเพราะทหารตัดไฟ โมเดิร์นไนน์ ทีวี ขณะ พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก่อนจะตัดเข้าโฆษณาและเข้าสู่รายการปกติ โดยมีรายงานข่าวว่ากำลังทหารบุกเข้าควบคุมที่ห้องส่งสัญญาณออกอากาศ พร้อมควบคุมตัวนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กก.ผอ.ใหญ่ บมจ.อสมท (ภายหลังนายมิ่งขวัญชี้แจงว่าตนไม่ได้อยู่ที่สถานีในขณะนั้น และไม่ได้ถูกจับกุม

เวลาประมาณ 22.25น. สถานีโทรทัศน์เกือบทุกช่องตัดเข้ารายการเพลง เปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี ยกเว้นช่อง 9และช่อง 3ที่นำเสนอรายการปกติ โดยมีรายงานข่าวว่ามีกำลังทหารเข้ายึดสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง โดยเฉพาะ โมเดิร์นไนน์ ทีวี และไอทีวี หลังจากนั้นสถานีโทรทัศน์ทุกช่องเริ่มเชื่อมสัญญาณกับ ททบ.5และเปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี ยกเว้นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอย่างเอเอสทีวี และ เนชั่นแชนนัล ทางสถานีโทรทัศน์ไททีวี ช่อง 1ที่ยังคงรายงานสถานการณ์ได้ตามปกติ กำลังทหารส่วนหนึ่งได้เข้าควบคุมตัว พล.ต.ต.วินัย ทองสอง ผบก.กองปราบปรามและ พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต (เสธ.ไอซ์) ที่ปรึกษากองทัพบก



ข้อความชี้แจงที่ปรากฏบนหน้าจอโทรทัศน์

เวลา 22.54น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยออกอากาศทางสถานีทุกช่อง ขึ้นคำประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข พร้อมขออภัยในความไม่สะดวก และเปิดเพลง "ความฝันอันสูงสุด" ประกอบ ด้านสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นและบีบีซีเผยแพร่ข่าวรถถังและกำลังทหารควบคุม สถานการณ์ภายใน กทม. ช่วงหนึ่งได้แพร่ภาพกลุ่มชาวบ้านใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปทหารเหล่านั้น โดยไม่ได้รู้สึกหวาดกลัวแต่อย่างใด มีกำลังทหารจำนวนหนึ่งพร้อมอาวุธครบมือบุกเข้ายึดอาคารชินวัตร เนื่องจากเป็นจุดสำคัญในการส่งสัญญาณสื่อสาร รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ไอทีวีและบ้านจันทร์ส่องหล้า

นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศทางเอเอสทีวี ยกเลิกการชุมนุมใหญ่ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20กันยายน เวลา 17.00น ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้น และเนื่องจากอยู่ในช่วงประกาศกฎอัยการศึก เวลา 23.15น. พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค อดีตโฆษก ททบ.5อ่านแถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่แสดงไว้ในหน้าจอก่อนหน้านี้ซ้ำถึงสองครั้ง จากนั้นทหารจาก ป.พัน 21สังกัด ร.21ประมาณ 30นาย พร้อมอาวุธครบมือเดินทางไปยังอาคารเนชั่นทาวเวอร์ ที่สถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนนัล โดยยืนยันว่า มาดูแลความสงบเรียบร้อยทั่วไป

เวลาประมาณ 23.30น. คณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้ควบคุมตัว พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม รวมทั้งนายดุสิต ศิริวรรณ อดีตผู้ดำเนินรายการผู้สนับสนุนคนสำคัญ มากักตัวไว้ที่ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) กองบัญชาการทหารสูงสุด เกือบเที่ยงคืน ผู้บัญชาทหารทุกเหล่าทัพเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต


วันที่ 20กันยายน
พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค อ่านประกาศคณะปฏิรูปฯ
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 1/2549เรื่อง มูลเหตุของการยึดอำนาจ
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 2/2549เรื่อง ห้ามการเคลื่อนย้ายกำลังทหาร
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 3/2549เรื่อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540สิ้นสุดลง ให้วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ ให้คณะองคมนตรีดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ให้ศาลคงอำนาจหน้าที่ต่อไป

เวลา 1.13น. ทหารได้กันพื้นที่ไม่ให้ประชาชนผ่านโดยมีรถถังคุมบริเวณสี่จุดรอบเขตพระนครดังนี้
จุดที่ 1บริเวณสนามม้านางเลิ้ง 1คัน
จุดที่ 2บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า 2คัน ซึ่งมีขนาดใหญ่ติดอาวุธครบถ้วน
จุดที่ 3บริเวณสวนจิตรลดา 1คัน
จุดที่ 4บริเวณเชิงสะพานปิ่นเกล้าฝั่งธนบุรี 1คัน ซึ่งเป็นรถยานเกราะ ไม่มีอาวุธ

เวลา 1.24น. พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค อ่านประกาศคณะปฏิรูปฯ
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 4/2549เรื่อง อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน ให้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินแก่หัวหน้าคณะปฏิรูปฯ

เวลา 5.30น. น.ส.ทวินันท์ คงคราญ หัวหน้า ปชส. ททบ.5อ่านคำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 3/2549แต่งตั้งให้แม่ทัพภาค 1แม่ทัพภาค 2แม่ทัพภาค 3และแม่ทัพภาค 4เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่แต่ละกองทัพภาค

เวลา 8.00น. พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค แถลงว่า พล อ.สนธิ บุญยรัตกลิน จะออกแถลงการณ์ในเวลา 9.00น. และให้สถานีโทรทัศน์ออกรายการตามปกติของแต่ละสถานี

เวลา 8.12น. โทรทัศน์เริ่มออกอากาศรายการตามปกติ

เวลา 9.20น. พล อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อ่านประกาศแถลงการณ์ คณะปฏิรูปฯ พร้อมด้วยผู้นำเหล่าทัพ

เวลา 10.45น. น.ส.ทวินันท์ คงคราญ อ่านประกาศคณะปฏิรูปฯ
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 5/2549เรื่อง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 6/2549เรื่อง ความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ชาวไร่
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 7/2549เรื่อง ห้ามการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 8/2549เรื่อง ห้ามการกักตุนสินค้าและขึ้นราคาสินค้า
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 9/2549เรื่อง เรื่องนโยบายต่างประเทศ
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 10/2549เรื่อง การขอความร่วมมือจากสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสาร

เวลา 11.00น. พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค อ่านประกาศและคำสั่งคณะปฏิรูปฯ
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 11/2549เรื่อง แต่งตั้งผู้มีอำนาจในคณะปฏิรูปฯ
คำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 4/2549เชิญเอกอัครราชทูต มาชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เวลา 13.00น. และจะเปิดแถลงข่าวต่อสื่อไทยและต่างประเทศ และให้โอกาสซักถามข้อสงสัย เวลา 14.00น.
คำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 5/2549เรื่อง ให้กระทรวง ICT ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร

เวลา 14.00น. กลุ่มนักศึกษาล้อการเมืองธรรมศาสตร์ ขึ้นป้าย CUT OUT ไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหาร ของพลเอก สนธิฯ

เวลา 18.00น. ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 12/2549เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542มีผลใช้บังคับต่อไป โดยให้ คตง. พ้นจากตำแหน่ง และ ผู้ว่า สตง. (คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา) คงอยู่ในตำแหน่งต่อไป และให้มีอำนาจของ คตง.

เวลา 19.00น. ประกาศคณะปฏิรูปฯ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกาศ ณ วันที่ 20กันยายน 2549เป็นปีที่ 61ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก

เวลา 21.30น. คำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 9/2549ให้นายยงยุทธ ติยะไพรัช และนายเนวิน ชิดชอบ ไปรายงานตัวที่กองทัพบก ภายในวันที่ 21กันยายน

เวลา 21.30น. ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 13/2549ให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กรรมการการเลือกตั้ง มีผลใช้บังคับต่อไป ให้ กกต.ทั้ง 5คน เป็นผู้มีอำนาจควบคุมและจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น

วันที่ 21กันยายน

เวลา 16.20น. ประกาศคณะปฏิรูปฯ
ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 14/2549ให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา มีผลใช้บังคับต่อไป

ประกาศคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 15/2549ให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541มีผลใช้บังคับต่อไป และห้ามพรรคการเมืองที่มีอยู่แล้วดำเนินการประชุม หรือ ดำเนินการใด ๆ ในทางการเมือง

วันที่ 22กันยายน
เวลา 12.00น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ถ่ายทอดเทปบันทึกภาพ พิธีรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เป็น หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข‎

วันที่ 1ตุลาคม
พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

เวลา 9.30น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ถ่ายทอดการประกาศใช้ ธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราว

เวลา 16.45น.โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ มีกำหนดถ่ายทอด พิธีรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ห้องสีงาช้าง ภายในตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

วันที่ 2ตุลาคม

 กองทัพเริ่มถอนกำลังทหารออกจากสถานที่สำคัญในใจกลางกรุงเทพมหานคร ทั้งที่ทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา และลานพระบรมรูปทรงม้า และกลับเข้าสู่กรมกอง
ประมวลภาพเหตุการณ์ 19 ก.ย. 49

บรรดารถถัง, รถฮัมวี ,รถหุ้มเกราะ และรถสายพานลำเลียง ออกจากย่ายยานเกราะ บริเวณแยกเกียกกายเพื่อเข้าควบคุมพื้นที่ตามจุดต่างๆของกทม.


บรรดารถถัง, รถฮัมวี ,รถหุ้มเกราะ และรถสายพานลำเลียง ออกจากย่านยานเกราะเพื่อเข้าควบคุมพื้นที่ตามจุดต่างๆของกทม.


บรรดารถถัง, รถฮัมวี ,รถหุ้มเกราะ และรถสายพานลำเลียง เข้าควบคุมพื้นที่ตามจุดต่างๆของกทม.

บรรดารถถัง, รถฮัมวี ,รถหุ้มเกราะ และรถสายพานลำเลียง เข้าควบคุมพื้นที่ตามจุดต่างๆของกทม.
 
 
รถสายพานลำเลียงเคลื่อนเข้าสู่จุดหลัก ๆ ทั้ง 4 จุด
 
 

ทหารใส่ชุดพรางเข้าควบคุมพื้นที่โดยรอบกทม.ในคืนวันที่ 19 ก.ย. 49


เช้าวันที่ 20 ก.ย.49  ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการทำให้ประชาชนเข้ามามุงดูรถถังและทหารที่ควบคุมพื้นที่


บริเวณสะพานมัฆวาน หลังวันที่ 19 ก.ย.49

ทหารคอยควบคุมพื้นที่



บริเวณทำเนียบรัฐบาล 



ผู้สื่อข่าวรายงานสดจากทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 20 ก.ย. 49 

ประชาชนที่มอบดอกไม้เป็นกำลังใจให้ทหารที่มาปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 20 ก.ย. 49


ประชาชนมอบน้ำดื่มให้กำลังใจทหารที่มาปฏิบัติหน้าที่ ในวันที่ 20 ก.ย.49 


ดอกไม้ปลายกระบอกปืนที่ประชาชนนำมามอบให้กับทหารในการยึดอำนาจ โดยไม่มีใครเสียชีวิตจากการรัฐประหาร 19 ก.ย. 49 ครั้งนี้
ที่มารวบรวมโดย ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ www.tcijthai.com  


เอกสารอ้างอิง : ศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน, "การเมืองการปกครองไทยของไทย", สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543, 482หน้า, วิกิพีเดีย รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549, ภาพจากGoogle 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง