บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

วงเสวนา "รัฐประหาร2549" เตือน"เสื้อแดง"ด่าเผด็จการ แล้วอย่ามัดมือชก เขียนรธน.ใหม่เสียเอง



วงเวทีเสวนาในหัวข้อ "สิ่งตกค้างจากการรัฐประหาร"  ณ ห้องประชุมมูลนิธิ 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554 มีผู้อภิปรายประกอบด้วย นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี, รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการสถาบันและมูลนิธิปรีดี พนมยงค์
 

นายจาตุรนต์ ฉายแสง กล่าวว่า การรัฐประหารเป็นการดึงประเทศถอยหลัง สวนทางกับการพัฒนาประชาธิปไตย เพราะที่ผ่านมา 5 ปี ไม่มีผลเด็ดขาดทางใดทางหนึ่ง ซึ่งต่างจากการรัฐประหารครั้งที่ผ่านมาๆ ที่มีการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จหรือยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ มากกว่านั้นคืออยู่ได้ไม่นาน ประชาชนก็ลุกฮือเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย ขณะเดียวกัน ข้ออ้างที่นำมาใช้ในการรัฐประหารก็ไม่เป็นจริงตามข้ออ้างเลย เช่น การหมิ่นเหม่ ซึ่งพอหลังจากการพิสูจน์ด้วยกระบวนการยุติธรรม ก็ไม่ใครหมิ่นตามที่ถูกอ้าง หรือไม่มีการกระทำแม้แต่คนเดียว แต่กลับใช้สิ่งดังกล่าวใส่ร้ายป้ายสี ทำให้คนติดคุกโดยไม่ผิด และนำข้อหาดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องมือ
 

ส่วนเรื่องคอร์รัปชั่นก็เช่นเดียวกัน พอหลังจากการรัฐประหาร องค์กรที่ประเมินและแก้ไขคอร์รัปชั่น ก็ประเมินออกมาว่ามีเยอะขึ้น หรือมีการคอร์รัปชั่นเพิ่มมากขึ้นในรัฐบาลที่มีจัดตั้งในค่ายทหาร โดยเฉพาะปี พ.ศ.2552-2553 ก็มีการจ่ายเงินใต้โต๊ะมากขึ้นหลายแสนล้าน จึงสรุปได้ว่า หลังการรัฐประหารนั้น การปราบคอร์รับชั่นล้มเหลว เพราะองค์กรของรัฐที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็น กกต. หรือ สตง. ก็เป็นคณะเดียวกับรัฐบาลที่ฝักใฝ่ในการรัฐประหาร ทำให้การป้องกันการคอร์รัปชั่นไม่สำเร็จ
 

ขณะที่เรื่องของความแตกแยกหรือรุนแรงที่ผ่านมานั้น สังคมไทยกลับมีความแตกแยกมากขึ้น มีความเห็นต่างทางความคิด กระทั่งเกิดความรุนแรงที่เกิดจากการปราบประชาชนผู้รักในประชาธิปไตยโดยการใช้อำนาจรัฐ และมีแนวโน้มการแก้ปัญหาโดยไม่เป็นไปตามกติกา โดยเฉพาะการกระทำที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย หรือเคลื่อนไหวในลักษณะที่เรียกว่าม็อบมีเส้น มีวัฒนธรรมการแก้ปัญหานอกกติกา ทั้งนี้ก็มีจุดเริ่มต้นมาจากการรัฐประหารนั่นเอง ใช้กองทัพเข้ามาจัดการในสังคมที่คิดต่างกัน แม้จะไม่เกิดการนองเลือดในวันรัฐประหารก็ตาม แต่ก็เลวร้ายที่สุด กลายเป็นรากฐานทำให้คนที่เชื่อถือในกติกาลดน้อยลง
 

นอกจากประเมินตามข้ออ้างที่ใช้เป็นเหตุผลในการรัฐประหารแล้ว ก็มีความพยายามกำหนดประเทศไปใน 2 ทิศทางที่สวนทางกัน คือ ผู้มีอำนาจในสังคมทั้งในและนอกระบบ กำหนดไปในทางไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะไม่เชื่อว่าประชาชนจะสร้างความเป็นประชาธิปไตยได้ และการกำหนดทิศทางแบบตุลาการภิวัฒน์ ได้ปล่อยให้มีการทำผิดกฏหมาย มีการดำเนินการ 2 มาตรฐาน หรือการทำให้เกิดรัฐบาลที่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร ต้องล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยใช้กลไกตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่เป็นมรดกตกทอด โดยใช้กลไกที่ไม่เป็นประชาธิปไตย รวมไปถึงการแทรกแซงทางการเมืองโดยชนชั้นนำและกองทัพ อีกทั้งสื่อมวลชนด้วย
 

ด้าน รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล กล่าวว่า หลังรัฐประหาร 2549 กับวันนี้ เดือนกันยายน 2554 รู้สึกได้ไหมว่าสังคมไทยได้พ้นไปจากความยุ่งยาก หรือตกอยู่ในความยุ่งยาก เพราะการรัฐประหารเป็นสิ่งที่ล้มเหลวในสังคมไทย 2 ข้อ คือ เป็นการคัดค้านการรัฐประหารมาอย่างต่อเนื่อง 5 ปี ซึ่งต่างจากครั้งที่ผ่านมา ต่อมาก็คือ คนที่ทำการรัฐประหาร (พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ) เกือบเป็นส.ส.สอบตก โดยในแง่หนึ่งที่สำคัญก็คือ การรัฐประหารน่าจะเป็นบทเรียน เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมได้อีกแล้ว
 

ความหมายของการรัฐประหาร 2549 นั้น จะเห็นได้ว่า ช่วง 1-2 ทศวรรษที่ผ่านมา มีความเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือ การการเคลื่อนย้ายอำนาจทางสังคมในทางการเมือง เพราะก่อนหน้านี้อำนาจนั้นขึ้นอยู่กับชนชั้นนำ แต่ที่ผ่านมาอำนาจเหล่านั้นเปลี่ยนผ่านสู่อีกกลุ่มโดยสัมพันธ์กับมวลชน คือมวลชน รากหญ้า ชนชั้นกลางมีความสำคัญทางการเมืองมากขึ้น ปัญหาคือ การเคลื่อนย้ายส่งผลกับชนชั้นนำเดิม ที่เป็นชนชั้นนำตามจารีต ฉะนั้น การรัฐประหาร คือความพยายามหยุดการเปลี่ยนแปลงของการเคลื่อนอำนาจนำทางการเมือง ซึ่งการรัฐประหารเป็นส่วนหนึ่งของการหยุดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีการใช้วิธีตุลาการภิวัฒน์เข้ามาร่วมด้วย ถ้ามองถึงการเปลี่ยนแปลง นี่คือ ส่วนหนึ่งของการหยุดการเปลี่ยนแปลงอำนาจนำนั่นเอง
 
 
เรื่องต่อมาก็คือ รัฐธรรมนูญ 2550 ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เราจะเห็นรัฐธรรมนูญนิรโทษกรรมคนที่ทำรัฐประหาร เรื่องที่ตามมาคือรัฐธรรมนูญทำให้พรรคการเมืองแตกสลาย ซึ่งต่างจากปี 40 ที่ทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง ซึ่งสิ่งดังกล่าวจึงเป็นการเดินสวนทางประชาธิปไตยสากล รัฐธรรมนูญ 2550 ทำพรรคการเมืองอ่อนแอ เพราะเกิดจากการยุบพรรค ส.ส.เป็นอิสระ หรือถูกแทรกแซงง่าย และยังทำให้ฝ่ายบริหารอ่อนแอลงด้วย ที่สำคัญเป็นการเพิ่มอำนาจในการกำกับจากฝ่ายอำมาตย์ โดยการล้มลงของรัฐบาล 2-3ชุดที่ผ่านมา (พรรคพลังประชาชน) ไม่ใช่เพราะมวลชนเป็นหลัก แต่เป็นเพราะศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีการเพิ่มการควบคุมนักการเมืองโดยอาศัยอำมาตย์ ขณะที่รัฐธรรมนูญ 2550 ไม่สามารถปฏิเสธการเลือกตั้งได้ แต่เลือกควบคุมโดยตุลาการภิวัฒน์ทั้งหลาย จึงอยากเรียกรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าเป็นรัฐธรรนูญกึ่งรัฐสภากึ่งอำมาตยาธิปไตย
 
 
ส่วนตัวคิดว่าปัญหามีมากขึ้นจากการรัฐประหาร 2549 เรามีคนตาย คนเจ็บ คนเลือกสังกัดฝ่าย ซึ่งอนาคตของการเปลี่ยนแปลงในระบอบประชาธิปไตยต้องยอมรับว่า ใช่ว่าพรุ่งนี้ประชาชนเป็นใหญ่ เพราะมันต้องใช้เวลา ขณะเดียวกัน ตอนนี้เราไม่อยู่ในสถานที่จะเปลี่ยน เนื่องจากมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่เราต้องแก้ปัญหาที่ต้องเดินไปด้วยกัน แล้วจะทำอย่างไร? เมื่อมีการพูดถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และแก้กฎหมายอื่นๆ อีกจำนวนมากที่เพิ่มอำนาจอำมาตย์เหล่านั้น การมีส่วนร่วมของคนทุกคนจึงมีส่วนสำคัญ ถ้าครั้งหนึ่งเสื้อแดงด่าว่า คมช.มัดมือชก เขียนรัฐธรรมนูญเองเป็นสิ่งที่แย่ แล้ววันหนึ่งการไปทำแบบนั้นซะเองอะไรจะเกิด
 
 มติชนออนไลน์


ฉะนั้นต้องทำให้เห็นว่าการผลักดันของคนเสื้อแดง ต้องไม่ใช่การมัดมือชก ต้องเป็นประชาธิปไตยโดยการเปิดโอกาสให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งคนที่เห็นด้วยกับและคนไม่เห็นด้วย นี่จึงเป็นหลักการพื้นฐานที่ต่างจากคนอื่น เมื่อด่าแล้วต้องไม่เป็นเหมือนเขา ทั้งนี้ ควรทำประชาธิปไตยให้สง่างามมากกว่า แม้จะคิดไม่เหมือนกันก็ตาม หรือต้องสร้างระบบการเมืองให้มีเสรีภาพในการถกเถียง ได้รับสิทธิอย่างเสมอภาค ตรงนี้มากกว่าที่ทำให้เราสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบที่ทุกฝ่ายยอมรับ
 
 
ขณะเดียวกัน ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ กล่าวว่า การรัฐประหารนั้น เป้าหมายหนึ่งไม่ใช่การล้มรัฐบาล แต่ต้องการล้มแบบของรัฐบาล เขาไม่เอาแบบปี 49 แต่ต้องการในแบบของเขา ตรงนี้จึงทำให้เราจำเป็นต้องพูดการรัฐประหาร เพราะการรัฐประหาร เป็นการแก้ไขที่ล้าหลังและผิดวิธี ต้องบอกว่า ที่ทำนั้นผิดยุคผิดสมัย ทั้งที่ไม่ควรจะเกิด เพราะทั้งโลกไม่มีใครทำกันแล้ว
 
ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ชนชั้นนำหรือฝ่ายอำมาตย์เท่านั้นที่ทำรัฐประหาร และขณะนั้นชนชั้นกลางเป็นตัวสนับสนุน เพราะต้องการแก้ปัญหาของเขาเอง เพราะอำมาตย์ไม่ยอมรับตัวเลือกของประชาชนที่ส่วนใหญ่เลือกทักษิณ โดยเชื่อว่าทักษิณทุจริต ชนะเพราะนโยบายประชานิยม รับไม่ได้กับวาจาอันโผงผาง
 
ขณะเดียวกันไม่ได้ไม่ชอบในฐานะที่เป็นตัวของทักษิณเอง แต่ไม่ชอบเพราะมีกรอบความคิดชุดหนึ่ง ที่เชื่อว่านักการเมืองทุจริต มาจากระบบอุปถัมภ์  ซึ่งยกเว้นนักการเมืองกลุ่มของตัวเอง ต้องดีในเฉพาะที่ถูกออกแบบมา มีศีลธรรม ฉะนั้นการรัฐประหารจึงเป็นวิธีการเดียวที่หยุดยั้งนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง หรือนักการเมืองที่อีกฝ่ายมองว่าไม่ดี และคำถามต่อมาก็คือ แล้วทำไม ไม่คิดแก้ปัญหาแบบประชาธิปไตย แต่กลับคิดว่าการรัฐประหาร เพื่อต้องการล้มทั้งพรรคไทยรักไทย อีกทั้งเป็นการเปิดทางให้ฝ่ายตรงข้ามด้วย
 
 
ทั้งนี้ การรัฐประหารยังนำไปสู่งการล้มระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง โดยใช้รัฐบาลแต่งตั้งเข้ามาแทนที่ ซึ่งเป็นไปตามจินตภาพของผู้ทำการรัฐประหาร ใช้ศาลมาทำหน้าที่ทางการเมือง จนกลายเป็นที่มาของตุลาการภิวัฒน์ ที่เขามองว่าเป็นคนดี มีศีลธรรม
 
ส่วนการเลือกตั้งเมื่อมี 2550 ก็น่าจะเป็นเพียงกระแสเท่านั้น ซึ่งอำมาตย์อาจจะไม่อยากให้มีการเลือกตั้งก็ได้ มากกว่านั้น มีการเอาตุลาการภิวัฒน์ใส่ในรัฐธรรมนูญ จนทำให้รัฐธรรมนูญมีปัญหา เพราะการทำรัฐประหารเพียงเพื่อต้องการแค่ล้มทักษิณ หรือแค่รับใช้ฝ่ายอำมาตย์ เลยทำให้รัฐประหารครั้งล่าสุดไม่เหมือนครั้งก่อนๆ ที่ต้องการสถาปนาอำนาจ นอกจากนี้ ยังเป็นการสกัดนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง (พรรคอื่นๆ) และใช้การเมืองตุลาการภิวัฒน์ นักการเมืองถูกตรวจสอบโดยอำนาจตุลาการเพียงด้านเดียว ซึ่งไม่มีองค์กรใดมาตรวจสอบอำนาจตุลาการ ซึ่งกรอบเหล่านี้มาจากความไม่เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยที่มาจากผู้แทน และไม่เชื่อในระบอบเลือกตั้ง
 
 
อย่างไรก็ตาม การัฐประหารที่ผ่านมาเป็นผลมาจากความขัดแย้งที่มีมาก่อนหน้านี้ คือแนวคิดอำมาตย์กับแนวคิดแบบประชาธิปไตยขัดแย้งกัน สรุปก็คือประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา 5 ปี สะท้อนความพ่ายแพ้ของอำมาตย์ เพราะสิ่งที่อำมาตย์ต้องการทำเมื่อ 5 ปีก่อนไม่บรรลุ โดยเฉพาะการจัดการทักษิณ
 
 สิ่งที่ล้มเหลวที่สุดคือ ยังไม่มีการทำให้ประชาชนเห็นได้ว่า ทักษิณทุจริต ทุกคดีไม่สามารถพิสูจน์ตามกระบวนการยุติธรรมได้ นอกจากแกล้ง ต่อมาคือ กลุ่มอำมาตย์ เชื่อรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งมากกว่าการเลือกตั้ง ยิ่งตุลาการภิวัตน์เข้ามายุ่งการเมืองก็ยิ่งทำให้การเมืองล้มเหลว เพราะไม่มีใครเชื่อการตัดสินของศาล แต่ทำให้เห็น 2 มาตรฐาน ที่สำคัญไม่มีการพิสูจน์ได้ว่า มีการใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม ทำให้ประชาชนมองว่าไม่ยุติธรรม ในทางกลับกัน ทำให้เกิดปรากฎการณ์ตาสว่างของประชาชนมากกว่า

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง