วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554
'นิติราษฎร์'ล้มกระดาน!! ชงให้'ผลรัฐประหาร'ที่มี ไม่เคยเกิด-ไร้ผลทางกม. แนะให้ทำพร้อมแก้รธน.
"คณะ นิติราษฎร์" ออกโรงแก้วิกฤต เสนอ 4 มาตรการต้านรัฐประหาร ล้มก.ม.-รธน.ชั่วคราว-องค์กร รวมถึงคำวินิจฉัยและคำพิพากษาที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหารทั้งหมด พร้อมเสนอแก้ม.112 นำรธน.สามฉบับแรกของไทยมาร่วมแก้ไขกับรธน.2540
วันที่ 18 ก.ย.2554 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ห้องจิ๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ คณะนิติราษฎร์ ซึ่่งเป็นคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นางจันทจิรา เอี่ยมมยุรา นายฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล นายธีระ สุธีวรางกูร น.ส.สาวตรี สุขศรี นายปิยบุตร แสงกนกกุล และนายปูนเทพ ศิรินุพงศ์ จัดแถลงข้อเสนอทางวิชาการเรื่อง “5ปีรัฐประหาร 1 ปีนิติราษฎร์” และออกแถลงการณ์คณะนิติราษฎร์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี นิติราษฎร์ ใน 4 ประเด็นดังนี้
ประเด็นที่ 1 การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 รัฐประหารครั้งนี้ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทำลายนิติรัฐ-ประชาธิปไตย และยังเป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ คณะนิติราษฎร์จึงเสนอให้มีการลบล้างผลพวงของรัฐประหารดังต่อไปนี้
1.) ประกาศให้รัฐประหาร และการกระทำใดๆที่มุ่งต่อผลในทางกฎหมายของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ตั้งแต่วันที่ 19-30 ก.ย.2549 เสียเปล่าและถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย 2.) ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 36 และมาตรา 37 เสียเปล่าและถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย 3.) ประกาศให้คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่อาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) และคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่เป็นผลต่อเนื่องจากรัฐประหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาคำวินิจฉัยและคำพิพากษาที่เกิดจากการเริ่มกระบวนการ โดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เสียเปล่าและถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย
4.) ประกาศให้เรื่องที่อยู่ในกระบวนพิจารณาในชั้นเจ้าหน้าที่ และเรื่องที่อยู่ในกระบวนพิจารณาในชั้นศาล ที่เกิดจากการเริ่มเรื่องโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความ เสียหายแก่รัฐ (คตส.) เป็นอันยุติลง 5.) การประกาศความเสียเปล่าของบรรดาคำวินิจฉัยและคำพิพากษาตามข้อ 3 และการยุติลงของกระบวนการตามข้อ 4ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรมหรือการอภัยโทษหรือการล้างมลทินแก่บุคคลที่ ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด และไม่ใช่เป็นการลบล้างการกระทำทั้งหลายทั้งปวงของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำ ความผิด ดังนั้น หากจะเริ่มดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวใหม่ก็สามารถกระทำไปตามกระบวนการทาง กฎหมายปกติได้ 6.)เพื่อความชอบธรรมทางประชาธิปไตย คณะนิติราษฎร์เสนอให้นำข้อเสนอดังกล่าวข้างต้นไปจัดทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมและนำไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติ
ประเด็นที่ 2 การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ตามที่คณะนิติราษฎร์ได้จัดทำข้อเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และนำเสนอสู่สาธารณะตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค. 2554 แล้วนั้น เพราะเห็นว่ายังมีปัญหา ทั้งในแง่ตัวบทกฎหมาย การบังคับใช้ และอุดมการณ์ รวมถึงปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็นเรื่องความสมดุลระหว่างความร้ายแรงของการกระทำอันเป็นความผิดกับ โทษที่ผู้กระทำความผิดนั้นควรได้รับ จึงไม่เป็นไปตามหลักความพอสมควรแก่เหตุซึ่งได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 29 จำเป็นต้องแก้ไข ดังนั้นจึงอยากเสนอให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในประเด็นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพื่อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีต่อไปตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ.2553 มาตรา 19 (3)
ประเด็นที่ 3 กระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหาหรือจำเลย และการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายภายหลังรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย และเพื่อบรรเทาความเสียหายของประชาชน คณะนิติราษฎร์จึงเสนอให้ดำเนินการดังต่อไปนี้โดยเร่งด่วน และเป็นรูปธรรม โดยอาศัยหลักความรับผิดของรัฐ คณะนิติราษฎร์เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาออกมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความช่วย เหลือหรือจ่ายค่าทดแทนแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทาง การเมืองที่เกิดขึ้นภายหลังรัฐประหารอย่างไม่เลือกปฏิบัติ โดยอาจแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับผิดชอบโดยเฉพาะ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราค่าทดแทน สามารถอาศัยแนวทางตามกฎหมายที่มีอยู่แล้ว แต่ไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมที่มีเป้าหมายแอบแฝงเพื่อ ยุติกระบวนการพิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ทั้งนี้อยากเสนอให้คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติติดตามตรวจสอบการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหาหรือจำเลย ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยองค์กรต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามพระราชบัญญัติคณะ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542มาตรา 28
ประเด็นที่4 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2550 เป็นผลพวงต่อเนื่องจากรัฐประหาร จึงมีปัญหาความชอบธรรมทางประชาธิปไตย แม้ว่ารัฐธรรมนูญดังกล่าวผ่านการออกเสียงประชามติก็ตาม แต่กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ และกระบวนการจัดให้มีการออกเสียงประชามติไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย และขอเสนอให้คณะรัฐมนตรีเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม “หมวด16 การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่”และเห็นว่ารัฐธรรมนูญที่จะนำมาใช้เป็นต้นแบบในการ จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ สมควรเป็นพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช2475, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และอาจนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540ในส่วนของการประกันสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนโครงสร้างสถาบันการเมืองและองค์กรทางรัฐธรรมนูญเท่าที่สอดคล้องกับ พัฒนาการในยุคร่วมสมัยมาเป็นแนวทางในการยกร่าง เพื่อมิให้การรัฐประหารทำลายหลักการอันเป็นรากฐานของนิติรัฐ-ประชาธิปไตยจน หมดสิ้น คณะนิติราษฎร์เสนอให้มีการจัดทำ “คำประกาศว่าด้วยคุณค่าอันเป็นรากฐานของระบอบเสรีประชาธิปไตย” แม้คำประกาศดังกล่าวจะไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย แต่คำประกาศดังกล่าวเป็นวิญญาณของระบอบเสรีประชาธิปไตยที่ไม่มีบุคคลใดหรือ ไม่มีวิธีใดทำลายหรือทำให้สูญสิ้นไปได้ เมื่อจัดทำร่างเสร็จก็ขอให้นำร่างดังกล่าวไปออกเสียงประชามติเพื่อขอความ เห็นชอบ
นางจันทิมา กล่าวปิดท้ายด้วยว่า ขอฝากความหวังไว้กับสื่อมวลชนที่โดนกล่าวหาว่าสังกัดสีนั้นสีนี้ แต่ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์นั้นเสนอขึ้นเพื่อผ่าทางตันและให้สังคมไทยออกมา คุยในใจกลางปัญหาของสังคม สื่อมวลชนควรรับบทบาทแบบนี้ไปทำงานต่อ เพราะข้อเสนออาจใช้เวลาในการตกผลึก เพื่อให้สังคมเปลี่ยนผ่านไปอย่างสันติ หากไม่คุยในหลักการก็จะเสียเลือดเนื้อไปอย่างไม่สิ้นสุด และขอสื่อไปยังรัฐบาลชุดนี้ที่ประชาชนเลือกมาด้วยเสียงท่วมท้นว่า ขอให้รับข้อเสนอของการเสวนาวันนี้ไปพิจารณาโดยตั้งเวทีถกในสี่ประเด็นใหญ่ ให้แตกออกมาเกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด รวมทั้งกรรมการปฏิรูปกฎหมายและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วย หวังว่าข้อเสนอวันนี้ไม่จบลงไปง่ายเพราะเป็นเรื่องใหญ่ ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยไม่เคยเสนอเรื่องนี้เลย เราจะดึงประชาธิปไตยกลับมาสู้กับการล้มล้างเมื่อปี 2490
Thaiinsider
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
►
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)
-
▼
2011
(1241)
-
▼
กันยายน
(189)
-
▼
19 ก.ย.
(12)
- เวบดังแฉCCTVกทม.มีแต่กล่อง!
- ศาลไทยกับการประหารประชารัฐ
- รถคันแรก' หลายจุดพบรูรั่วให้ตักตวง
- คำแนะนำจากกรมสรรพามิตการคืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรก ...
- คนเขียนวิเคราะห์การเมืองวันอาทิตย์ไทยรัฐ ที่ถูกสอบ...
- 5 ปีรัฐประหาร 19 กันยายน 49 บทเรียนสำคัญแลกประชาธิ...
- 'นิติราษฎร์'ล้มกระดาน!! ชงให้'ผลรัฐประหาร'ที่มี ไม...
- วงเสวนา "รัฐประหาร2549" เตือน"เสื้อแดง"ด่าเผด็จการ...
- รัฐบาลตั้ง คอ.นธ. ให้อำนาจเหนือกว่าศาล
- รื้อกล่องดวงใจ:ท่านเปา เครื่องมือสำคัญอำมาตย์ เหลี...
- โปรโมชั่นคืนเงินรถคันแรก รัฐบาลถูสีข้างรักษาสัญญา!!
- คืนภาษีรถยนต์คันแรก นโยบายโง๊โง่!ตอน2
-
▼
19 ก.ย.
(12)
-
▼
กันยายน
(189)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น