ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 10.25 น.นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้นำรายชื่อส.ส. 130 คน พร้อมแนบคำร้องถอดถอนนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ออกจากตำแหน่งรมว.ต่างประเทศ ต่อพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา โดยนายวิรัตน์ กล่าวว่า การกระทำของนายสุรพงษ์ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 176 ที่ว่าคณะรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ต้องผ่านสามขั้นตอน คือ โปรดเกล้าเป็นรัฐมนตรี ถวายสัตย์ต่อหน้าพระพักตร์ และแถลงนโยบาย การแถลงนโยบายเกิดขึ้นแล้ว แต่กรณีนี้นายสุรพงษ์ หรือ คณะรัฐมนตรีที่อ้างตามคำแถลงของเลขาธิการ ครม.ญี่ปุ่น คือ ครม.ไทย ร้องขอให้รัฐบาลอนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณเข้าประเทศ นอกจากไปอนุญาต และขอความช่วยเหลือแล้วพ.ต.ท.ทักษิณได้แถลงนโยบายของรัฐบาลไปก่อนที่รัฐบาล ไทยจะมีการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อที่ประชุมรัฐสภา
“ผมได้ฟังนโยบายของรัฐบาลว่าจะยกเลิกการติดตามตัวคนร้ายหรือไม่ แต่ที่ฟังในการแถลงนโยบายไม่พบว่ามีการยกเลิก แสดงว่าเป็นการแถลงเท็จต่อรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งผมพยายามดูว่า รัฐบาลจะยกเลิกนโยบายการติดตามตัวคนร้าย มาลงโทษ เมื่อฝ่ายตุลาการพิพากษาลงโทษ หรือออกหมายจับ ตุลาการไม่มีเครื่องมือ ไม่มีคนติดตาม ต้องให้ฝ่ายบริหารรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ติดตาม ซึ่งทุกรัฐบาลมีหน้าที่ แต่รมว.ต่างประเทศ บอกว่า เขาจะไม่เอานโยบายนี้ แสดงว่าจะเลิกนโยบายการติดตามตัวคนร้ายมาลงโทษ อันนี้เป็นสาระที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและขัดต่อกฎหมาย” นายวิรัตน์ กล่าว
นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า การถอดถอนต้องใช้เสียงส.ส. 1ใน 4 หรือ 125คนแต่การยื่นครั้งนี้ได้มีส.ส.ลงชื่อ130 คนแล้วเป็นในส่วนของพรรรคประชาธิปัตย์ ส่วนพรรคฝ่ายค้านอื่นๆ เช่น พรรคภูมิใจไทย ระบุว่าต้องนำความเห็นเข้าสู่ที่ประชุมพรรคก่อน ทั้งนี้กังวลว่าจะช้า จึวนำมายื่นก่อน จึงยื่นให้ทางวุฒิสภาตรวจสอบ เป็นกระบวนการที่ชี้ให้ประชาชนเห็นว่า รัฐาธิปัตย์ หรือผู้ที่มีอำนาจ ไม่อยู่ในระเบียบหรือรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมสาย บ้านเมืองเสียหาย ส่วนระยะเวลาตรวจสอบหรือไต่สวนจะนานหรือไม่ ขึ้นกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งหาก ป.ป.ช.ตรวจสอบพบว่ามีมูล จะส่งเรื่องมายังวุฒิสภา เพื่อใช้เสียง 3ใน 5 แต่อย่างน้อยเป็นการเตือนสติว่านักการเมืองอย่าเหลิง อย่าทำอะไรผิดกฎหมาย หรือผิดต่อรัฐธรรมนูญ
ด้านพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ทางวุฒิสภาจะใช้เวลาตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อเป็นเวลา 30 วันเบื้องต้นคาดว่าไม่มีปัญหา เพราะทางสภาผู้แทนราษฎรได้มีข้อมูลอยู่แล้ว ซึ่งหากตรวจสอบแล้วไม่พบปัญหาก็จะส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ไต่สวนต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น