เขียนโดย จุไรรัตน์ พงศาภิชาติ
ถูกตราหน้าว่าเป็น "จุดอ่อน" ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปแล้ว สำหรับโฉมหน้าของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทั้ง 3 ราย
ไม่ว่าจะเป็น "นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล" รัฐมนตรีว่าการ ศธ., "นางบุญรื่น ศรีธเรศ" และ "นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล" รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.ที่มากันแบบผิดฝาผิดกระทรวงกันเต็มๆ
จนทำให้ "กระทรวงศึกษาธิการ" ตกเป็นเป้า และถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด จากพรรคฝ่ายค้าน รองลงมาจากกระทรวงการต่างประเทศ
เพราะหลังจากปรากฎโฉมหน้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทั้งคณะแล้ว นอกจากจะสร้างความ "ผิดหวัง" ให้กับผู้ที่ "คาดหวัง" ว่ารัฐมนตรีใน ครม.ปู 1 จะมีหน้าตาสวยสดงดงามแล้ว แต่กลับออกมาในทางตรงกันข้าม
ซึ่งพรรคฝ่ายค้านวิจารณ์อย่างไม่เกรงอกเกรงใจว่า "ขี้ริ้วขี้เหร่"
ความผิดหวังนี้ ลามไปถึงผู้คนที่อยู่ในแวดวงการศึกษา เพราะมองว่า "พรรคเพื่อไทย" และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาเหมือนที่ป่าวประกาศเอาไว้
โดยเฉพาะนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ที่มานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ก็เพราะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งดูแล ส.ส.ในภาคเหนือ
แต่หากพูดในแง่ของบทบาท หรือผลงาน ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการศึกษาแล้ว แม้นายวรวัจน์จะเคยเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ยุคที่ นพ.เดชา สุขารมณ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และเคยรักษาการในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ ศธ.อยู่ในช่วงสั้นๆ แต่บทบาทด้านการศึกษากลับไม่โดดเด่น และไม่เป็นที่รู้จักในแวดวงการศึกษา
ส่วนนางบุณรื่น ศรีธเรศ แม้จะเป็นภรรยาของอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.นายสังข์ทอง ศรีธเรศ และเคยเป็นรองประธานกรรมาธิการการศึกษา แต่ก็ไม่เคยมีผลงานด้านการศึกษาปรากฎให้เห็นเช่นกัน
สำหรับนายสุรพงษ์ อึ้้งอัมพรวิไล ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดปทุมธานี (ส.จ.) 2 สมัย และเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันเป็น ส.ส.ปทุมธานี แต่ไม่เคยมีบทบาท หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษาเลย
ทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการทั้ง 3 ราย ดังระงมไปทั่ว..
"ครูหยุย" หรือนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก บอกว่ากระทรวงด้านสังคมที่น่าเป็นห่วงที่สุดในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือ กระทรวงศึกษาธิการ เพราะนายวรวัจน์ไม่เคยบริหารงานมาก่อน และต้องมาดู ศธ.ซึ่งเป็นกระทรวงใหญ่ ส่วนรัฐมนตรีช่วยว่าการทั้ง 2 ราย ก็ไม่มีประสบการณ์ แต่ที่เป็นห่วงมากกว่าคือ กลัวจะมีคนเข้ามาจัดแจงแทน
พร้อมทั้งฟันธงว่า ศธ.เป็น "จุดอ่อน" ที่สุดของรัฐบาลชุดนี้!!
ขณะที่ "นายสมพงษ์ จิตระดับ" อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยให้ 5 คะแนน จาก 10 คะแนนเต็ม เพราะไม่โดดเด่น ไม่เคยเห็นผลงาน หรือวิสัยทัศน์ด้านการศึกษามาก่อน โดยเฉพาะนายวรวัจน์เป็นคนมีความคิดแปลกๆ เห็นได้จากช่วงที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ทำให้เห็นได้ชัด น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ได้คัดเลือกจากผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม หรือมีความรู้ความสามารถ
แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาล "สีเทา" และ "คงเป็นชะตากรรมของประเทศ"!!
ส่วน "นายนิพนธ์ ชื่นตา " ที่ปรึกษาสหภาพครูแห่งชาติ มองว่ารัฐบาลนี้ก็เหมือนกับรัฐบาลไทยรักไทย คือใช้คนไม่ถูกกับงาน และมักเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อยจนไม่เป็นผลดีต่อการผลักดันงานการศึกษา ที่สำคัญ ดูเหมือนรัฐบาลจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษา และคิดว่าเราคงหวังกับการศึกษาได้น้อย
แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถาโถมเข้าใส่รัฐมนตรี ศธ.ทั้ง 3 รายอย่างหนักหน่วง แต่ก็มีบางเสียงที่เห็นว่าต้องให้โอกาสทำงานก่อน พร้อมทั้งเสนอแนะให้นายวรวัจน์หาผู้ที่มีประสบการณ์ทางการศึกษาเข้ามาเป็น "กุนซือ" เพราะน่าจะช่วยงานได้
แต่ดูเหมือนเสียงสะท้อนจากฝ่ายต่างๆ ด้วยความหวังดี ที่ส่งตรงถึงนายวรวัจน์ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ยังไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร เพราะดูเหมือนการบริหารงานของนายวรวัจน์ในช่วงแรกๆ นี้ ยังคงเป็นไปอย่าง "ไร้ทิศทาง"
ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในการ "โยก" งบประมาณในการซื้อหนังสือเรียนแจกในโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ เพื่อนำมาใช้ในการจัดซื้อ "แท็บเล็ต" ตามโครงการ One Tablet Per Child ของรัฐบาล หรือแนวคิดที่จะ "ยกเลิก" โครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ
แต่หลังจากมีกระแสคัดค้าน นายวรวัจน์ก็ยอมถอยออกมาตั้งหลักก่อน โดยยืนยันว่าจะยังคงเดินหน้าโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ต่อไป เพียงแต่จะต้องสำรวจความต้องการของผู้ปกครอง และนักเรียนกันใหม่
หรือแนวคิดที่จะ "ยกเลิก" การประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยไม่จำเป็นต้องมีคณะกรรมการประเมินผลงาน โดยจะให้ "ผู้ปกครอง" เป็นผู้ประเมินแทน
ซึ่งเรื่องนี้ทำเอาผู้บริหาร ศธ.ที่เกี่ยวข้อง ถึงกับ "มึนตึ๊บ" และเตรียมทำความเข้าใจกับรัฐมนตรีว่าการ ศธ.อย่างเร่งด่วน เพราะการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในปัจจุบัน เพราะนอกจากครูที่ผ่านการประเมินจะมีค่าตอบแทนเพิ่มแล้ว ที่สำคัญกว่านั้นคือ ทำให้ครูพัฒนาตัวเองด้วย
โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้กำหนดให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามี และเลื่อนวิทยฐานะ หรือ ว.17 ซึ่งจะเป็นการประเมินในด้านต่างๆ รวมถึง การปฏิบัติงานของครู มากกว่าการทำผลงานวิชาการ
ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ก.ค.ศ.ก็เพิ่งจะประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษา ผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มีวิทยฐานะ หรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (ชกพ.) และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ (ชช.) เพื่อช่วยให้ข้าราชการครูที่เก่ง มีผลงานเยี่ยม ไม่ต้องทำผลงานวิชาการจำนวนมากๆ
หรือการนำโครงการสมัยที่พรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล กลับมา "ปัดฝุ่น" ใหม่ อย่างโครงการจัดซื้อ "แท็บเล็ต" ตามโครงการ One Tablet Per Child ให้กับนักเรียนชั้น ป.1 ถึงชั้น ม.6 ที่คาดว่าจะจัดซื้อล็อตแรกถึง 8 แสนเครื่อง แม้จะมีเสียงคัดค้านว่าจะยิ่งทำให้เด็กไทย อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คำนวณไม่คล่อง แต่ดูเหมือนนายวรวัจน์ยังคงเดินหน้าเต็มสูบ
"โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน" ที่จะเดินหน้าเป็นรุ่นที่ 3 โดยจะส่งนักเรียนเรียนต่อระดับปริญญาตรีใน และต่างประเทศ ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการของพรรคไทยรักไทย ที่ถูกยกเลิกไปในช่วงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ โดยรุ่นที่ 3 จะเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555
รวมถึง การฟื้นกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ของพรรคไทยรักไทย และยุบเลิกกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ของพรรคประชาธิปัตย์ โดยให้เหตุผลว่ากองทุน กยศ.มีปัญหาในการดำเนินการมาก โดยเฉพาะลูกหนี้ไม่จ่ายเงิน ขณะที่กองทุน กรอ.ที่ถูกยกเครื่องใหม่นี้ เมื่อผู้กู้มีเงินเดือน 16,000 บาท ค่อยชำระหนี้คืนเฉพาะเงินต้น โดยไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
ล่าสุด ได้เกิดปัญหาในการ "แบ่งงาน" ระหว่างรัฐมนตรี ศธ.ด้วยกันเอง เมื่อนายวรวัจน์ได้แบ่งงานให้รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.ทั้ง 2 ราย คือ นางบุญรื่น และนายสุรพงษ์ โดยให้ดูแลรับผิดชอบตาม "ภูมิภาค" ที่แต่ละคนเป็น ส.ส.แทนที่จะแบ่งให้รับผิดชอบในลักษณะของ "องค์กรหลัก"
โดยนางบุญรื่นรับผิดชอบในส่วนของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่นายสุรพงษ์รับผิดชอบพื้นที่ภาคกลาง ส่วนตัวนายวรวัจน์เอง รับผิดชอบในส่วนของพื้นที่ภาคเหนือ และภาคใต้
ซึ่งการแบ่งงานในลักษณะดังกล่าว นางบุญรื่น และนายสุรพงษ์ หรือแม้แต่ในรัฐมนตรีในพรรคเพื่อไทยเองก็ยังงงๆ ว่าจะดูแลรับผิดชอบกันอย่างไร โดยทั้งนางบุญรื่น และนายสุรพงษ์ได้เตรียมที่หารือกับนายวรวัจน์ เพื่อขอให้ "ทบทวน" การแบ่งงาน
แต่ดูเหมือนนายวรวัจน์จะยืนยันเจตนารมณ์เดิม โดยอ้างว่าในการปฏิรูปการศึกษา ไม่สามารถแบ่งส่วนงานได้ ต้องทำเป็นองค์รวมทั้งหมด ถือเป็น "มิติใหม่" ของวงการศึกษา เพราะได้พูดคุยกับทุกองค์กรหลักแล้ว ไม่มีปัญหา
การแบ่งงานในลักษณะดังกล่าว ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาว่าจะทำให้เกิดการแบ่งแยกภูมิภาคทางการ เมืองชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะอาจกลายเป็นประเด็นทางการเมืองในอนาคต
นอกจากนี้ จะเกิดปัญหากับผู้ปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัดเจน เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานจะสับสนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าเรื่องใดควรจะต้องรายงานรัฐมนตรี ศธ.คนใด
ในที่สุด การรายงาน หรือการนำเสนอเรื่องใดๆ ก็ตาม ก็จะตรงดิ่งไปที่ "รัฐมนตรีว่าการ ศธ." แต่เพียงผู้เดียว เพราะผู้บริหารองค์กรหลักต่างๆ ไม่รู้ว่าถ้ารายงาน หรือนำเสนอเรื่องให้กับรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.คนใดคนหนึ่งแล้ว จะเกิดปัญหาในภายหลังหรือไม่ เพราะอาจจะถูกตำหนิในภายหลังได้ว่า "ข้ามหัว" รัฐมนตรีว่าการ ศธ.
ฉะนั้น แทนที่การบริหารงานใน ศธ.จะสะดวก รวดเร็ว โดยอาศัยหลักการ "กระจายอำนาจ" กลับจะกลายเป็นการ "รวบอำนาจ" เอาไว้ที่ตัวรัฐมนตรีว่าการ ศธ.เพียงคนเดียว
การรวบอำนาจการบริหารงานไว้ที่ตัวรัฐมนตรีว่าการ ศธ.แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเช่นนี้ ถ้ามองในแง่ดี ก็อาจจะทำให้งานการปฏิรูปการศึกษาเดินหน้าต่อไปได้อย่างรวดเร็ว และมีเอกภาพ
แต่ถ้าไม่ระวังให้ดีๆ ก็อาจสะดุดขาตัวเอง ล้มหัวทิ่มหัวตำก็เป็นได้!!
ไม่ว่าจะเป็น "นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล" รัฐมนตรีว่าการ ศธ., "นางบุญรื่น ศรีธเรศ" และ "นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล" รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.ที่มากันแบบผิดฝาผิดกระทรวงกันเต็มๆ
จนทำให้ "กระทรวงศึกษาธิการ" ตกเป็นเป้า และถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด จากพรรคฝ่ายค้าน รองลงมาจากกระทรวงการต่างประเทศ
เพราะหลังจากปรากฎโฉมหน้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทั้งคณะแล้ว นอกจากจะสร้างความ "ผิดหวัง" ให้กับผู้ที่ "คาดหวัง" ว่ารัฐมนตรีใน ครม.ปู 1 จะมีหน้าตาสวยสดงดงามแล้ว แต่กลับออกมาในทางตรงกันข้าม
ซึ่งพรรคฝ่ายค้านวิจารณ์อย่างไม่เกรงอกเกรงใจว่า "ขี้ริ้วขี้เหร่"
ความผิดหวังนี้ ลามไปถึงผู้คนที่อยู่ในแวดวงการศึกษา เพราะมองว่า "พรรคเพื่อไทย" และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาเหมือนที่ป่าวประกาศเอาไว้
โดยเฉพาะนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ที่มานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ก็เพราะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งดูแล ส.ส.ในภาคเหนือ
แต่หากพูดในแง่ของบทบาท หรือผลงาน ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการศึกษาแล้ว แม้นายวรวัจน์จะเคยเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ยุคที่ นพ.เดชา สุขารมณ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และเคยรักษาการในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ ศธ.อยู่ในช่วงสั้นๆ แต่บทบาทด้านการศึกษากลับไม่โดดเด่น และไม่เป็นที่รู้จักในแวดวงการศึกษา
ส่วนนางบุณรื่น ศรีธเรศ แม้จะเป็นภรรยาของอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.นายสังข์ทอง ศรีธเรศ และเคยเป็นรองประธานกรรมาธิการการศึกษา แต่ก็ไม่เคยมีผลงานด้านการศึกษาปรากฎให้เห็นเช่นกัน
สำหรับนายสุรพงษ์ อึ้้งอัมพรวิไล ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดปทุมธานี (ส.จ.) 2 สมัย และเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันเป็น ส.ส.ปทุมธานี แต่ไม่เคยมีบทบาท หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษาเลย
ทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการทั้ง 3 ราย ดังระงมไปทั่ว..
"ครูหยุย" หรือนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก บอกว่ากระทรวงด้านสังคมที่น่าเป็นห่วงที่สุดในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือ กระทรวงศึกษาธิการ เพราะนายวรวัจน์ไม่เคยบริหารงานมาก่อน และต้องมาดู ศธ.ซึ่งเป็นกระทรวงใหญ่ ส่วนรัฐมนตรีช่วยว่าการทั้ง 2 ราย ก็ไม่มีประสบการณ์ แต่ที่เป็นห่วงมากกว่าคือ กลัวจะมีคนเข้ามาจัดแจงแทน
พร้อมทั้งฟันธงว่า ศธ.เป็น "จุดอ่อน" ที่สุดของรัฐบาลชุดนี้!!
ขณะที่ "นายสมพงษ์ จิตระดับ" อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยให้ 5 คะแนน จาก 10 คะแนนเต็ม เพราะไม่โดดเด่น ไม่เคยเห็นผลงาน หรือวิสัยทัศน์ด้านการศึกษามาก่อน โดยเฉพาะนายวรวัจน์เป็นคนมีความคิดแปลกๆ เห็นได้จากช่วงที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ทำให้เห็นได้ชัด น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ได้คัดเลือกจากผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม หรือมีความรู้ความสามารถ
แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาล "สีเทา" และ "คงเป็นชะตากรรมของประเทศ"!!
ส่วน "นายนิพนธ์ ชื่นตา " ที่ปรึกษาสหภาพครูแห่งชาติ มองว่ารัฐบาลนี้ก็เหมือนกับรัฐบาลไทยรักไทย คือใช้คนไม่ถูกกับงาน และมักเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อยจนไม่เป็นผลดีต่อการผลักดันงานการศึกษา ที่สำคัญ ดูเหมือนรัฐบาลจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษา และคิดว่าเราคงหวังกับการศึกษาได้น้อย
แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถาโถมเข้าใส่รัฐมนตรี ศธ.ทั้ง 3 รายอย่างหนักหน่วง แต่ก็มีบางเสียงที่เห็นว่าต้องให้โอกาสทำงานก่อน พร้อมทั้งเสนอแนะให้นายวรวัจน์หาผู้ที่มีประสบการณ์ทางการศึกษาเข้ามาเป็น "กุนซือ" เพราะน่าจะช่วยงานได้
แต่ดูเหมือนเสียงสะท้อนจากฝ่ายต่างๆ ด้วยความหวังดี ที่ส่งตรงถึงนายวรวัจน์ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ยังไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร เพราะดูเหมือนการบริหารงานของนายวรวัจน์ในช่วงแรกๆ นี้ ยังคงเป็นไปอย่าง "ไร้ทิศทาง"
ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในการ "โยก" งบประมาณในการซื้อหนังสือเรียนแจกในโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ เพื่อนำมาใช้ในการจัดซื้อ "แท็บเล็ต" ตามโครงการ One Tablet Per Child ของรัฐบาล หรือแนวคิดที่จะ "ยกเลิก" โครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ
แต่หลังจากมีกระแสคัดค้าน นายวรวัจน์ก็ยอมถอยออกมาตั้งหลักก่อน โดยยืนยันว่าจะยังคงเดินหน้าโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ต่อไป เพียงแต่จะต้องสำรวจความต้องการของผู้ปกครอง และนักเรียนกันใหม่
หรือแนวคิดที่จะ "ยกเลิก" การประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยไม่จำเป็นต้องมีคณะกรรมการประเมินผลงาน โดยจะให้ "ผู้ปกครอง" เป็นผู้ประเมินแทน
ซึ่งเรื่องนี้ทำเอาผู้บริหาร ศธ.ที่เกี่ยวข้อง ถึงกับ "มึนตึ๊บ" และเตรียมทำความเข้าใจกับรัฐมนตรีว่าการ ศธ.อย่างเร่งด่วน เพราะการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในปัจจุบัน เพราะนอกจากครูที่ผ่านการประเมินจะมีค่าตอบแทนเพิ่มแล้ว ที่สำคัญกว่านั้นคือ ทำให้ครูพัฒนาตัวเองด้วย
โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้กำหนดให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามี และเลื่อนวิทยฐานะ หรือ ว.17 ซึ่งจะเป็นการประเมินในด้านต่างๆ รวมถึง การปฏิบัติงานของครู มากกว่าการทำผลงานวิชาการ
ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ก.ค.ศ.ก็เพิ่งจะประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษา ผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มีวิทยฐานะ หรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (ชกพ.) และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ (ชช.) เพื่อช่วยให้ข้าราชการครูที่เก่ง มีผลงานเยี่ยม ไม่ต้องทำผลงานวิชาการจำนวนมากๆ
หรือการนำโครงการสมัยที่พรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล กลับมา "ปัดฝุ่น" ใหม่ อย่างโครงการจัดซื้อ "แท็บเล็ต" ตามโครงการ One Tablet Per Child ให้กับนักเรียนชั้น ป.1 ถึงชั้น ม.6 ที่คาดว่าจะจัดซื้อล็อตแรกถึง 8 แสนเครื่อง แม้จะมีเสียงคัดค้านว่าจะยิ่งทำให้เด็กไทย อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คำนวณไม่คล่อง แต่ดูเหมือนนายวรวัจน์ยังคงเดินหน้าเต็มสูบ
"โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน" ที่จะเดินหน้าเป็นรุ่นที่ 3 โดยจะส่งนักเรียนเรียนต่อระดับปริญญาตรีใน และต่างประเทศ ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการของพรรคไทยรักไทย ที่ถูกยกเลิกไปในช่วงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ โดยรุ่นที่ 3 จะเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555
รวมถึง การฟื้นกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ของพรรคไทยรักไทย และยุบเลิกกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ของพรรคประชาธิปัตย์ โดยให้เหตุผลว่ากองทุน กยศ.มีปัญหาในการดำเนินการมาก โดยเฉพาะลูกหนี้ไม่จ่ายเงิน ขณะที่กองทุน กรอ.ที่ถูกยกเครื่องใหม่นี้ เมื่อผู้กู้มีเงินเดือน 16,000 บาท ค่อยชำระหนี้คืนเฉพาะเงินต้น โดยไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
ล่าสุด ได้เกิดปัญหาในการ "แบ่งงาน" ระหว่างรัฐมนตรี ศธ.ด้วยกันเอง เมื่อนายวรวัจน์ได้แบ่งงานให้รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.ทั้ง 2 ราย คือ นางบุญรื่น และนายสุรพงษ์ โดยให้ดูแลรับผิดชอบตาม "ภูมิภาค" ที่แต่ละคนเป็น ส.ส.แทนที่จะแบ่งให้รับผิดชอบในลักษณะของ "องค์กรหลัก"
โดยนางบุญรื่นรับผิดชอบในส่วนของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่นายสุรพงษ์รับผิดชอบพื้นที่ภาคกลาง ส่วนตัวนายวรวัจน์เอง รับผิดชอบในส่วนของพื้นที่ภาคเหนือ และภาคใต้
ซึ่งการแบ่งงานในลักษณะดังกล่าว นางบุญรื่น และนายสุรพงษ์ หรือแม้แต่ในรัฐมนตรีในพรรคเพื่อไทยเองก็ยังงงๆ ว่าจะดูแลรับผิดชอบกันอย่างไร โดยทั้งนางบุญรื่น และนายสุรพงษ์ได้เตรียมที่หารือกับนายวรวัจน์ เพื่อขอให้ "ทบทวน" การแบ่งงาน
แต่ดูเหมือนนายวรวัจน์จะยืนยันเจตนารมณ์เดิม โดยอ้างว่าในการปฏิรูปการศึกษา ไม่สามารถแบ่งส่วนงานได้ ต้องทำเป็นองค์รวมทั้งหมด ถือเป็น "มิติใหม่" ของวงการศึกษา เพราะได้พูดคุยกับทุกองค์กรหลักแล้ว ไม่มีปัญหา
การแบ่งงานในลักษณะดังกล่าว ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาว่าจะทำให้เกิดการแบ่งแยกภูมิภาคทางการ เมืองชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะอาจกลายเป็นประเด็นทางการเมืองในอนาคต
นอกจากนี้ จะเกิดปัญหากับผู้ปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัดเจน เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานจะสับสนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าเรื่องใดควรจะต้องรายงานรัฐมนตรี ศธ.คนใด
ในที่สุด การรายงาน หรือการนำเสนอเรื่องใดๆ ก็ตาม ก็จะตรงดิ่งไปที่ "รัฐมนตรีว่าการ ศธ." แต่เพียงผู้เดียว เพราะผู้บริหารองค์กรหลักต่างๆ ไม่รู้ว่าถ้ารายงาน หรือนำเสนอเรื่องให้กับรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.คนใดคนหนึ่งแล้ว จะเกิดปัญหาในภายหลังหรือไม่ เพราะอาจจะถูกตำหนิในภายหลังได้ว่า "ข้ามหัว" รัฐมนตรีว่าการ ศธ.
ฉะนั้น แทนที่การบริหารงานใน ศธ.จะสะดวก รวดเร็ว โดยอาศัยหลักการ "กระจายอำนาจ" กลับจะกลายเป็นการ "รวบอำนาจ" เอาไว้ที่ตัวรัฐมนตรีว่าการ ศธ.เพียงคนเดียว
การรวบอำนาจการบริหารงานไว้ที่ตัวรัฐมนตรีว่าการ ศธ.แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเช่นนี้ ถ้ามองในแง่ดี ก็อาจจะทำให้งานการปฏิรูปการศึกษาเดินหน้าต่อไปได้อย่างรวดเร็ว และมีเอกภาพ
แต่ถ้าไม่ระวังให้ดีๆ ก็อาจสะดุดขาตัวเอง ล้มหัวทิ่มหัวตำก็เป็นได้!!
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น