ใกล้ ถึงจุดเปลี่ยนประเทศไทยเข้ามาในทุกขณะ เพราะเวลาขอคะแนนเสียงจากประชาชนคนไทยทั้งประเทศเหลืออีกแค่ 2 อาทิตย์เท่านั้นที่จะรู้กันว่าพรรคการเมืองใดที่เป็นผู้นำในการจัดตั้ง รัฐบาลระหว่าง ’พรรคเพื่อไทย“ กับ ’พรรคประชาธิปัตย์“ด้วยเหตุนี้อุณหภูมิทางการเมืองจึงเต็มไปด้วยความร้อน แรง วาทะเฉือนคมของทั้งสองพรรคใหญ่สามารถแย่งชิงพื้นที่ข่าวได้ทุกวัน โดยเฉพาะแคมเปญนโยบายหาเสียงที่เต็มไปด้วยการลด แลก แจก แถม รวมไปถึงนโยบายซื้อใจรากหญ้าอย่าง “โครงการประกันรายได้” ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่กำหนดราคาข้าวขาวสูงสุดที่ประมาณตันละ 11,000 บาท หรือเป็นไปตามกลไกตลาดในช่วงเวลานั้น
และ…“โครงการรับจำนำข้าว” ของพรรคเพื่อไทย ที่ทันทีที่เข้ามาเป็นรัฐบาลจะยกเลิกการประกันรายได้และนำระบบรับจำนำกลับมา ใช้ โดยตั้งราคารับจำนำข้าวขาวความชื้น 25% ที่ตันละ 15,000 บาท ข้าวหอมมะลิตันละ 20,000 บาท และข้าวเหนียวตันละ 18,000 บาท พร้อม ๆ กับการให้บัตรเครดิตชาวนา เพื่อนำไปซื้อปัจจัยการผลิต ต่างฝ่ายต่างออกมาการันตี!!! ว่านโยบายของตัวเองนั้นทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นจนลืมตาอ้าปากได้
ขณะที่ผู้ปฏิบัติงานโดยตรงอย่างธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ออกมากางผลลัพธ์ของทั้งสองโครงการเพื่อเตรียมเสนอให้กับรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อนำไปจัดทำนโยบายต่อไป
ผลาญเงินภาษี
ผลสรุปของ ธ.ก.ส. นั้นได้ชี้ชัดให้เห็นว่า รัฐบาลของ “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นั้นใช้เงินไม่ถึง 50,000 ล้านบาทในโครงการประกันรายได้เกษตรกร แต่มีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้มากกว่า 4 ล้านราย ขณะที่นโยบายการรับจำนำในช่วงที่ผ่านมานั้นรัฐบาลต้องใช้เงินกว่า 100,000 ล้านบาท แต่มีเกษตรกรผู้ได้รับประโยชน์เพียง 1 ล้านรายเศษ เท่านั้นโดยโครงการรับจำนำผลผลิตเกษตรกรปี 51/52 มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ 1.31ล้านราย มีผลผลิตเข้าร่วมโครงการ 4 ชนิดรวม 23.17 ล้านตัน คือ ข้าวเปลือกนาปี มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวเปลือกนาปรัง เกษตรกรได้เงินรวม 161,051.12 ล้านบาท และคาดว่าขาดทุนไม่รวมค่าใช้จ่ายดำเนินงานรวม 53,997.93 ล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมี 17,096.86 ล้านบาท
ส่วนโครงการประกันรายได้เกษตรกรปี 52/53 ครม.อนุมัติงบประมาณ 40,000 ล้านบาท เกษตรกรได้ประโยชน์ 4.90 ล้านราย มีผลผลิตเข้าร่วมโครงการทั้ง 4 ชนิด 58.15 ล้านตัน เกษตรกรได้รับเงิน 54,663.63 ล้านบาท ขณะที่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 2,475.38 ล้านบาท ขณะที่ในปี 53/54 ครม.อนุมัติวงเงิน 45,270.89 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับผลประโยชน์ 5.48 ล้านราย มีผลผลิตเข้าร่วม 68.3 ล้านตัน เกษตรกรได้รับเงิน 62,223.45 ล้านบาท
6 ข้อเสียจำนำข้าว
นอกจากนี้ผลการศึกษาของ ธ.ก.ส.ยังได้ระบุถึงข้อเสียของนโยบายการรับจำนำ ซึ่งมีถึง 6 ประเด็น ทั้งภาระขาดทุนของรัฐบาล,มีแรงกดดันทำให้รัฐบาลกำหนดราคารับจำนำสูงกว่าราคา ตลาด, การกำหนดราคารับจำนำสูงทำให้เกิดแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มรอบการผลิตมากขึ้น และเป็นข้าวอายุสั้น ขณะที่ผู้ได้รับประโยชน์คือเกษตรกรที่มีฐานะดีในเขตชลประทาน ธุรกิจโรงสี คลังสินค้ากลาง เซอร์เวเยอร์ และผู้ส่งออกข้าวเท่านั้น เมื่อรัฐบาลเป็นผู้ขายข้าวรายใหญ่ทำให้บิดเบือนราคาตลาด ท้ายสุดราคาข้าวไทยจะสูงกว่าคู่แข่ง ทำให้สูญเสียตลาดส่งออก และที่สำคัญที่สุดคือ มีโอกาสเกิดการทุจริตได้ในทุกขั้นตอนประกันรายได้ก็มีทุจริต
อย่างไรก็ตามในโครงการประกันรายได้นั้นไม่ใช่ว่าจะดีไปทั้งหมด เพราะมีข้อเสีย มีโอกาสเกิดการทุจริตในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเกษตรกร, การรับรองพื้นที่และปริมาณผลผลิต อีกทั้งหากกำหนดราคารับประกันสูง จะทำให้เกิดแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มเนื้อที่การผลิต, หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่มบุคลากรจำนวนมากมาสนับสนุนการดำเนินงาน, หากราคาผลผลิตตกต่ำมากจะเป็นภาระของรัฐบาลในการจัดหาเงินทุนมาชดเชยเกษตรกร โดยเฉพาะกรณีที่เกิดจากการร่วมมือกันกดดันราคาของผู้ค้า
ชี้สร้างภาระงบฯ
ขณะที่ในความเห็นของนักวิชาการที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการสินค้าเกษตรมานานอย่าง “นิพนธ์ พัวพงศกร” ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ มองว่าการสร้างระบบประกันให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ต้องดำเนินการใน 2 ด้านพร้อมกันคือการประกันความเสี่ยงจากราคาข้าวที่ผันผวน และการประกันความเสี่ยงด้านผลผลิตกรณีการเกิดภัยธรรมชาติ
หลักการโครงการประกันความเสี่ยงด้านราคาที่ควรจะเป็น มี 4 ประเด็น คือราคาประกันความเสี่ยงต้องเป็นราคาต้นทุนบวกด้วยกำไรที่คุ้มกับค่าแรง, การประกันความเสี่ยงต้องเข้าถึงเกษตรกรที่ยากจนเป็นหลัก,โครงการประกันความ เสี่ยงด้านราคาต้องไม่บิดเบือนหรือยุ่งเกี่ยวกับกลไกการค้าปกติ และที่สำคัญเงินต้องตกถึงมือเกษตรกรอย่างแท้จริง ไม่ใช่ตกอยู่ในมือพ่อค้าหรือโรงสี
แต่เมื่อนำหลักการมาเทียบกับนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองแล้วพบว่าทั้งสอง โครงการแตกต่างกันมาก โดยโครงการจำนำสอบตกทุกกรณี ขณะที่โครงการประกันรายได้มีจุดอ่อนที่ต้องแก้ไข แต่ทั้งสองโครงการได้สร้างภาระงบประมาณจำนวนมาก
ชาวนาชี้มีทุจริตทั้งคู่
เช่นเดียวกับ ’ประสิทธิ์ บุญเฉย“ นายกสมาคมชาวนาไทย ซึ่งเป็นเหมือนตัวแทนชาวนาทั่วประเทศ เห็นว่านโยบายของพรรคการเมืองมีแต่การขายฝัน ออกโปรโมชั่นมาให้ชาวนาเพ้อฝัน ไม่ได้พูดถึงผลที่ตามมาที่ทุกอย่างจะสูงขึ้นตามไปด้วย สุดท้ายชาวนายังคงเป็นหนี้เหมือนเดิม ซึ่งโครงการรับจำนำมีข้อบกพร่องทั้งการทุจริตซื้อใบประทวนเพื่อเข้าใช้สิทธิ ขายข้าวราคาแพงให้รัฐ ทำให้ชาวนาไม่ได้รับประโยชน์จริง ส่วนการประกันรายได้แม้ทำให้ชาวนาได้เงินอย่างแท้จริง แต่มีความเสี่ยงที่เจ้าของที่ดินจะเป็นผู้เข้ามาใช้สิทธินี้เอง เพื่อหวังส่วนต่างเงินชดเชย โดยไม่ได้ตรวจสอบว่าทำนาจริงหรือไม่ เพราะไม่ต้องนำข้าวมาแสดงให้เห็น ไม่เหมือนโครงการรับจำนำที่ต้องนำข้าวมาส่งให้โรงสีจริง ๆ ชี้ให้เห็นว่ามีช่องว่างการทุจริตได้ทั้งสองโครงการ
ใช้ทั้งสองนโยบาย
เหมือนกับความเห็นของ ’ปราโมทย์ วานิชานนท์“ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย เช่นกัน ที่มองว่า ทั้งสองนโยบายมีข้อเสียทั้งคู่ ซึ่งรัฐบาลใหม่ควรนำข้อดีของนโยบายทั้ง 2 มาปรับใช้ด้วยกัน เช่นรัฐบาลใหม่อาจใช้วิธีประกันรายได้ เพราะไม่เป็นการแทรกแซงตลาด จึงไม่มีผลต่อราคาตลาด ช่วยให้ไทยสามารถส่งออกข้าวไปต่างประเทศในราคาตลาดโลกได้ แต่ในกรณีที่ข้าวราคาตกต่ำรัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรใช้นโยบายรับ จำนำได้
หนุนประกันรายได้
ส่วนคนในวงการค้าข้าวไทยอย่าง ’ชูเกียรติ โอภาสวงศ์“ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย มองเห็นว่าทั้งสองโครงการมีข้อดีข้อเสียต่างกัน โดยการประกันรายได้ เป็นการชดเชยแบบไม่ส่งสินค้าเข้าคลังรัฐบาล ทำให้กลไกตลาดยังเดินได้ต่อไป เพราะปริมาณของในตลาดยังมีเท่าเดิม ส่วนโครงการรับจำนำเป็นการดึงปริมาณของในตลาดไปไว้ที่รัฐบาล เพื่อดึงราคาให้สูงขึ้น แต่ถ้าทั้งสองโครงการหากบิดเบือนกลไกราคามากเกินไป จะทำให้ราคาภายในสูงและการส่งออกแข่งขันไม่ได้ ไทยตกที่นั่งลำบากในการส่งออกข้าวในเวทีโลก
รับจำนำมีแต่เสียเงิน
ส่วน ’เอ็นนู ซื่อสุวรรณ“ อดีตรองผู้จัดการธ.ก.ส. ที่คลุกคลีกับทั้งโครงการประกันรายได้และรับจำนำ มาโดยตลอดระบุว่า ข้อดีของนโยบายประกันรายได้คือ ภาครัฐใช้งบประมาณดำเนินการไม่มากเพราะมีภาระรับผิดชอบแค่ส่วนต่างราคาอ้าง อิงกับราคาประกัน ขณะที่กลไกการค้ากลับคืนสู่ภาวะปกติ โดยภาครัฐไม่ใช่เจ้ามืออีกต่อไปและยังสร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรได้ว่า จะมีรายได้ที่ชัดเจนจากการปลูกพืช โดยดูจากราคาอ้างอิงที่กำหนดตามกลไกตลาดจากเดิมที่เกษตรกรไม่เคยได้รับรู้ ราคาเหล่านี้ ส่วนข้อเสียคือ อาจมีปัญหากรณีราคาสินค้าประกันมีปัญหาราคาตลาดโลกตกต่ำผิดปกติ จะทำให้พ่อค้าสามารถกดราคาซื้อขายได้ และทำให้ภาครัฐต้องรับภาระจากส่วนต่างราคามากขึ้น แต่ข้อเสียของนโยบายจำนำ รัฐบาลจะมีภาระงบประมาณจำนวนมาก
ฟังอย่างนี้แล้วไม่ว่า…จะเป็นการ ประกันรายได้หรือรับจำนำ รัฐบาลก็ต้องใช้เม็ดเงินภาษีของคนทั้งประเทศเข้าไปอุ้มชู เพื่อให้นโยบายของตัวเองโดนใจเกษตรกรให้ได้มากที่สุดเท่านั้น เพราะนั่นหมายถึงคะแนนเสียงที่จะชี้ชะตาให้เป็นผู้บริหารประเทศในชุดต่อไป ที่กำลังจะเข้ามาถึงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า !!!.
เทียบนโยบายรับจำนำ VS ประกันรายได้
รับจำนำ-บัตรเครดิตเกษตรของ พท.
นโยบายรับจำนำพืชผลทางการเกษตร ของพรรคเพื่อไทย ที่แคนดิเดตนายกฯคนที่ 28 อย่าง “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ได้ประกาศไว้ตั้งแต่วันแรกหลังจากที่ตัดสินใจเข้าชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการ ว่าพรรคเพื่อไทยจะยกเลิกนโยบายประกันรายได้ทันทีหากเข้ามาเป็นรัฐบาล เพราะได้จัดเตรียมโครงการรับจำนำไว้ให้กับเกษตรกรทุกคนอยู่แล้ว
แคมเปญของพรรคเพื่อไทยได้กำหนดให้ชาวนาขายข้าวเปลือกเจ้า ที่ความชื้นไม่เกิน 25% ได้ไม่ต่ำกว่าตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิตันละ 20,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 18,000 บาท โดยมองว่ารัฐบาลต้องเข้ามาแทรกแซงกลไกราคาข้าว เพื่อทำให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้ไม่เดือดร้อนแต่มีรายได้เพิ่ม พร้อมกันนี้พรรคเพื่อไทยยังได้ชูนโยบายบัตรเครดิตให้กับชาวนาที่ออกโดย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อให้เงินกู้กับชาวนาไปซื้อปัจจัยการผลิต ทั้ง ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ โดยไม่ต้องจ่ายเงินก่อนเมื่อผลผลิตออกมาก็ขายคืนให้ ธ.ก.ส. เสร็จแล้ว จะหักเงินกู้ที่เคยให้ยืมไปคืนกลับมา
พรรคเพื่อไทยยืนยันว่า “จะรับซื้อข้าวทั้งหมดที่ชาวนาผลิตได้ เพื่อกุมสภาพตลาดไว้ในมือบริหารราคาได้เอง” โดยเกษตรกรที่ปลูกข้าว สามารถเข้าร่วมโครงการได้ทุกคน ผ่านการขึ้นทะเบียน และรับจำนำก่อนการเพาะปลูก ชาวนาจะได้เครดิต 70% ของผลผลิตเพื่อนำไปซื้อปัจจัยการผลิตเพื่อผลิตข้าวในอนาคต ขณะเดียวกันพรรคเพื่อไทย การันตีด้วยว่า การแจกบัตรเครดิตนั้นจะไม่ทำให้เกษตรกรเป็นหนี้เพราะบัตรนี้ไม่สามารถใช้ เบิกเงินสดได้ แต่เป็นวงเงินที่ให้นำไปซื้อปัจจัยการผลิตและในแต่ละปีรัฐบาลจะเคลียร์วง เงินกู้นี้โดยหักลบกลบหนี้กับราคาข้าวที่เกษตรกรนำมาขายในโครงการรับจำนำ ขณะเดียวกันจะมีการตั้งธนาคารข้าวระดับอำเภอเพื่อรองรับข้าวของชาวนาที่นำมา ขายหรือจำนำไว้ก่อนตันละ 15,000 บาทและให้องค์การคลังสินค้าเข้ามาผลิตข้าวธงฟ้าขายให้คนในประเทศในราคาถูก ขณะที่ข้าวที่ธนาคารรับซื้อไว้ก็จะนำบางส่วนไปขายต่างประเทศในราคาสูงที่ตัน ละ 22,000 บาทต่อไป
ประกันรายได้เกษตรกรของ ปชป.
“อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ การันตีว่า การใช้นโยบายประกันรายได้เกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกข้าว ในช่วง 2 ปีเศษ ที่เป็นรัฐบาลถือว่าเป็นนโยบายที่เดินมาถูกทางแล้ว เพราะทำให้เกษตรกรถึง 4 ล้านครัวเรือนได้รับเงินชดเชยส่วนต่างราคาข้าวจากการเข้าโครงการประกันราย ได้ ประมาณ 58,000 ล้านบาท ทำให้ชาวนาไม่ขาดทุนและปลดหนี้ได้เพราะเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 187% ที่สำคัญยังทำให้กลไกตลาดสามารถทำงานได้ปกติ
นอกจากนี้ประชาธิปัตย์ยังอธิบายให้เห็นถึงหลักคิดของโครงการประกันรายได้ คือทำอย่างไรให้ชาวนาทำนาแล้วไม่ขาดทุน โดยการกำหนดราคาประกันรายได้คิดจากต้นทุนบวกกำไรที่ประมาณ 40% ที่สำคัญยังได้ให้สัญญากับชาวนาทั่วประเทศด้วยว่าหากมีโอกาสกลับมาเป็น รัฐบาลอีกครั้งก็จะบวกกำไรเพิ่มให้อีก 25% ของ 40% หรือเพิ่มขึ้น 10% เป็น 50% นอกจากนี้ยังเพิ่มค่าขนส่งข้าวเปลือกไปยังโรงสีให้อีกตันละ 200-600 บาทแล้วแต่ระยะทาง
ที่สำคัญที่นโยบายนี้ทำให้รัฐบาลไม่แบกรับภาระเรื่องของสต๊อกข้าวเป็นล้าน ๆ ตันซึ่งนำไปสู่การทุจริตในการประมูลขาย และรัฐบาลไม่ทำอาชีพแข่งกับพ่อค้าด้วยการเป็นพ่อค้าขายข้าวเสียเอง ขณะเดียวกันยังมีนโยบายตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวในราคาตลาดควบคู่กันไปด้วย เพื่อทำให้ราคาข้าวในตลาดไม่ตกต่ำจนเกินไป รวมทั้งยังมีโครงการประกันภัยพืชผลเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับพืชผลของ เกษตรกรเมื่อถูกภัยพิบัติทางธรรมชาตินอกเหนือไปจากที่รัฐบาลได้ให้อยู่แล้ว ไร่ละ 606 บาทแต่จะเพิ่มให้เป็น 2,000 บาทต่อไร่ รวมไปถึงการลงทุนสร้างระบบชลประทาน การเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าว การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การใช้ปุ๋ย เพื่อให้เกษตรกรมีต้นทุนที่ต่ำ
แม้ ว่านโยบายประกันรายได้จะทำให้เกษตรกรได้รับเงินส่วนต่างอย่างทั่วถึง แต่นโยบายนี้ไม่ได้ทำให้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นหายไป เพราะเมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริง ๆ การสวมสิทธิ การแจ้งพื้นที่เพาะปลูกเกินความเป็นจริง หรือแม้แต่การจ่ายเงินให้ชาวนาก็ล่าช้า ซึ่งประชาธิปัตย์ก็รู้ปัญหาดีและเตรียมแก้ไขหากได้เป็นรัฐบาล
ทีมเศรษฐกิจเดลินิวส์
และ…“โครงการรับจำนำข้าว” ของพรรคเพื่อไทย ที่ทันทีที่เข้ามาเป็นรัฐบาลจะยกเลิกการประกันรายได้และนำระบบรับจำนำกลับมา ใช้ โดยตั้งราคารับจำนำข้าวขาวความชื้น 25% ที่ตันละ 15,000 บาท ข้าวหอมมะลิตันละ 20,000 บาท และข้าวเหนียวตันละ 18,000 บาท พร้อม ๆ กับการให้บัตรเครดิตชาวนา เพื่อนำไปซื้อปัจจัยการผลิต ต่างฝ่ายต่างออกมาการันตี!!! ว่านโยบายของตัวเองนั้นทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นจนลืมตาอ้าปากได้
ขณะที่ผู้ปฏิบัติงานโดยตรงอย่างธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ออกมากางผลลัพธ์ของทั้งสองโครงการเพื่อเตรียมเสนอให้กับรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อนำไปจัดทำนโยบายต่อไป
ผลาญเงินภาษี
ผลสรุปของ ธ.ก.ส. นั้นได้ชี้ชัดให้เห็นว่า รัฐบาลของ “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นั้นใช้เงินไม่ถึง 50,000 ล้านบาทในโครงการประกันรายได้เกษตรกร แต่มีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้มากกว่า 4 ล้านราย ขณะที่นโยบายการรับจำนำในช่วงที่ผ่านมานั้นรัฐบาลต้องใช้เงินกว่า 100,000 ล้านบาท แต่มีเกษตรกรผู้ได้รับประโยชน์เพียง 1 ล้านรายเศษ เท่านั้นโดยโครงการรับจำนำผลผลิตเกษตรกรปี 51/52 มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ 1.31ล้านราย มีผลผลิตเข้าร่วมโครงการ 4 ชนิดรวม 23.17 ล้านตัน คือ ข้าวเปลือกนาปี มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวเปลือกนาปรัง เกษตรกรได้เงินรวม 161,051.12 ล้านบาท และคาดว่าขาดทุนไม่รวมค่าใช้จ่ายดำเนินงานรวม 53,997.93 ล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมี 17,096.86 ล้านบาท
ส่วนโครงการประกันรายได้เกษตรกรปี 52/53 ครม.อนุมัติงบประมาณ 40,000 ล้านบาท เกษตรกรได้ประโยชน์ 4.90 ล้านราย มีผลผลิตเข้าร่วมโครงการทั้ง 4 ชนิด 58.15 ล้านตัน เกษตรกรได้รับเงิน 54,663.63 ล้านบาท ขณะที่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 2,475.38 ล้านบาท ขณะที่ในปี 53/54 ครม.อนุมัติวงเงิน 45,270.89 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับผลประโยชน์ 5.48 ล้านราย มีผลผลิตเข้าร่วม 68.3 ล้านตัน เกษตรกรได้รับเงิน 62,223.45 ล้านบาท
6 ข้อเสียจำนำข้าว
นอกจากนี้ผลการศึกษาของ ธ.ก.ส.ยังได้ระบุถึงข้อเสียของนโยบายการรับจำนำ ซึ่งมีถึง 6 ประเด็น ทั้งภาระขาดทุนของรัฐบาล,มีแรงกดดันทำให้รัฐบาลกำหนดราคารับจำนำสูงกว่าราคา ตลาด, การกำหนดราคารับจำนำสูงทำให้เกิดแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มรอบการผลิตมากขึ้น และเป็นข้าวอายุสั้น ขณะที่ผู้ได้รับประโยชน์คือเกษตรกรที่มีฐานะดีในเขตชลประทาน ธุรกิจโรงสี คลังสินค้ากลาง เซอร์เวเยอร์ และผู้ส่งออกข้าวเท่านั้น เมื่อรัฐบาลเป็นผู้ขายข้าวรายใหญ่ทำให้บิดเบือนราคาตลาด ท้ายสุดราคาข้าวไทยจะสูงกว่าคู่แข่ง ทำให้สูญเสียตลาดส่งออก และที่สำคัญที่สุดคือ มีโอกาสเกิดการทุจริตได้ในทุกขั้นตอนประกันรายได้ก็มีทุจริต
อย่างไรก็ตามในโครงการประกันรายได้นั้นไม่ใช่ว่าจะดีไปทั้งหมด เพราะมีข้อเสีย มีโอกาสเกิดการทุจริตในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเกษตรกร, การรับรองพื้นที่และปริมาณผลผลิต อีกทั้งหากกำหนดราคารับประกันสูง จะทำให้เกิดแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มเนื้อที่การผลิต, หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่มบุคลากรจำนวนมากมาสนับสนุนการดำเนินงาน, หากราคาผลผลิตตกต่ำมากจะเป็นภาระของรัฐบาลในการจัดหาเงินทุนมาชดเชยเกษตรกร โดยเฉพาะกรณีที่เกิดจากการร่วมมือกันกดดันราคาของผู้ค้า
ชี้สร้างภาระงบฯ
ขณะที่ในความเห็นของนักวิชาการที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการสินค้าเกษตรมานานอย่าง “นิพนธ์ พัวพงศกร” ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ มองว่าการสร้างระบบประกันให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ต้องดำเนินการใน 2 ด้านพร้อมกันคือการประกันความเสี่ยงจากราคาข้าวที่ผันผวน และการประกันความเสี่ยงด้านผลผลิตกรณีการเกิดภัยธรรมชาติ
หลักการโครงการประกันความเสี่ยงด้านราคาที่ควรจะเป็น มี 4 ประเด็น คือราคาประกันความเสี่ยงต้องเป็นราคาต้นทุนบวกด้วยกำไรที่คุ้มกับค่าแรง, การประกันความเสี่ยงต้องเข้าถึงเกษตรกรที่ยากจนเป็นหลัก,โครงการประกันความ เสี่ยงด้านราคาต้องไม่บิดเบือนหรือยุ่งเกี่ยวกับกลไกการค้าปกติ และที่สำคัญเงินต้องตกถึงมือเกษตรกรอย่างแท้จริง ไม่ใช่ตกอยู่ในมือพ่อค้าหรือโรงสี
แต่เมื่อนำหลักการมาเทียบกับนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองแล้วพบว่าทั้งสอง โครงการแตกต่างกันมาก โดยโครงการจำนำสอบตกทุกกรณี ขณะที่โครงการประกันรายได้มีจุดอ่อนที่ต้องแก้ไข แต่ทั้งสองโครงการได้สร้างภาระงบประมาณจำนวนมาก
ชาวนาชี้มีทุจริตทั้งคู่
เช่นเดียวกับ ’ประสิทธิ์ บุญเฉย“ นายกสมาคมชาวนาไทย ซึ่งเป็นเหมือนตัวแทนชาวนาทั่วประเทศ เห็นว่านโยบายของพรรคการเมืองมีแต่การขายฝัน ออกโปรโมชั่นมาให้ชาวนาเพ้อฝัน ไม่ได้พูดถึงผลที่ตามมาที่ทุกอย่างจะสูงขึ้นตามไปด้วย สุดท้ายชาวนายังคงเป็นหนี้เหมือนเดิม ซึ่งโครงการรับจำนำมีข้อบกพร่องทั้งการทุจริตซื้อใบประทวนเพื่อเข้าใช้สิทธิ ขายข้าวราคาแพงให้รัฐ ทำให้ชาวนาไม่ได้รับประโยชน์จริง ส่วนการประกันรายได้แม้ทำให้ชาวนาได้เงินอย่างแท้จริง แต่มีความเสี่ยงที่เจ้าของที่ดินจะเป็นผู้เข้ามาใช้สิทธินี้เอง เพื่อหวังส่วนต่างเงินชดเชย โดยไม่ได้ตรวจสอบว่าทำนาจริงหรือไม่ เพราะไม่ต้องนำข้าวมาแสดงให้เห็น ไม่เหมือนโครงการรับจำนำที่ต้องนำข้าวมาส่งให้โรงสีจริง ๆ ชี้ให้เห็นว่ามีช่องว่างการทุจริตได้ทั้งสองโครงการ
ใช้ทั้งสองนโยบาย
เหมือนกับความเห็นของ ’ปราโมทย์ วานิชานนท์“ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย เช่นกัน ที่มองว่า ทั้งสองนโยบายมีข้อเสียทั้งคู่ ซึ่งรัฐบาลใหม่ควรนำข้อดีของนโยบายทั้ง 2 มาปรับใช้ด้วยกัน เช่นรัฐบาลใหม่อาจใช้วิธีประกันรายได้ เพราะไม่เป็นการแทรกแซงตลาด จึงไม่มีผลต่อราคาตลาด ช่วยให้ไทยสามารถส่งออกข้าวไปต่างประเทศในราคาตลาดโลกได้ แต่ในกรณีที่ข้าวราคาตกต่ำรัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรใช้นโยบายรับ จำนำได้
หนุนประกันรายได้
ส่วนคนในวงการค้าข้าวไทยอย่าง ’ชูเกียรติ โอภาสวงศ์“ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย มองเห็นว่าทั้งสองโครงการมีข้อดีข้อเสียต่างกัน โดยการประกันรายได้ เป็นการชดเชยแบบไม่ส่งสินค้าเข้าคลังรัฐบาล ทำให้กลไกตลาดยังเดินได้ต่อไป เพราะปริมาณของในตลาดยังมีเท่าเดิม ส่วนโครงการรับจำนำเป็นการดึงปริมาณของในตลาดไปไว้ที่รัฐบาล เพื่อดึงราคาให้สูงขึ้น แต่ถ้าทั้งสองโครงการหากบิดเบือนกลไกราคามากเกินไป จะทำให้ราคาภายในสูงและการส่งออกแข่งขันไม่ได้ ไทยตกที่นั่งลำบากในการส่งออกข้าวในเวทีโลก
รับจำนำมีแต่เสียเงิน
ส่วน ’เอ็นนู ซื่อสุวรรณ“ อดีตรองผู้จัดการธ.ก.ส. ที่คลุกคลีกับทั้งโครงการประกันรายได้และรับจำนำ มาโดยตลอดระบุว่า ข้อดีของนโยบายประกันรายได้คือ ภาครัฐใช้งบประมาณดำเนินการไม่มากเพราะมีภาระรับผิดชอบแค่ส่วนต่างราคาอ้าง อิงกับราคาประกัน ขณะที่กลไกการค้ากลับคืนสู่ภาวะปกติ โดยภาครัฐไม่ใช่เจ้ามืออีกต่อไปและยังสร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรได้ว่า จะมีรายได้ที่ชัดเจนจากการปลูกพืช โดยดูจากราคาอ้างอิงที่กำหนดตามกลไกตลาดจากเดิมที่เกษตรกรไม่เคยได้รับรู้ ราคาเหล่านี้ ส่วนข้อเสียคือ อาจมีปัญหากรณีราคาสินค้าประกันมีปัญหาราคาตลาดโลกตกต่ำผิดปกติ จะทำให้พ่อค้าสามารถกดราคาซื้อขายได้ และทำให้ภาครัฐต้องรับภาระจากส่วนต่างราคามากขึ้น แต่ข้อเสียของนโยบายจำนำ รัฐบาลจะมีภาระงบประมาณจำนวนมาก
ฟังอย่างนี้แล้วไม่ว่า…จะเป็นการ ประกันรายได้หรือรับจำนำ รัฐบาลก็ต้องใช้เม็ดเงินภาษีของคนทั้งประเทศเข้าไปอุ้มชู เพื่อให้นโยบายของตัวเองโดนใจเกษตรกรให้ได้มากที่สุดเท่านั้น เพราะนั่นหมายถึงคะแนนเสียงที่จะชี้ชะตาให้เป็นผู้บริหารประเทศในชุดต่อไป ที่กำลังจะเข้ามาถึงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า !!!.
เทียบนโยบายรับจำนำ VS ประกันรายได้
รับจำนำ-บัตรเครดิตเกษตรของ พท.
นโยบายรับจำนำพืชผลทางการเกษตร ของพรรคเพื่อไทย ที่แคนดิเดตนายกฯคนที่ 28 อย่าง “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ได้ประกาศไว้ตั้งแต่วันแรกหลังจากที่ตัดสินใจเข้าชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการ ว่าพรรคเพื่อไทยจะยกเลิกนโยบายประกันรายได้ทันทีหากเข้ามาเป็นรัฐบาล เพราะได้จัดเตรียมโครงการรับจำนำไว้ให้กับเกษตรกรทุกคนอยู่แล้ว
แคมเปญของพรรคเพื่อไทยได้กำหนดให้ชาวนาขายข้าวเปลือกเจ้า ที่ความชื้นไม่เกิน 25% ได้ไม่ต่ำกว่าตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิตันละ 20,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 18,000 บาท โดยมองว่ารัฐบาลต้องเข้ามาแทรกแซงกลไกราคาข้าว เพื่อทำให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้ไม่เดือดร้อนแต่มีรายได้เพิ่ม พร้อมกันนี้พรรคเพื่อไทยยังได้ชูนโยบายบัตรเครดิตให้กับชาวนาที่ออกโดย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อให้เงินกู้กับชาวนาไปซื้อปัจจัยการผลิต ทั้ง ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ โดยไม่ต้องจ่ายเงินก่อนเมื่อผลผลิตออกมาก็ขายคืนให้ ธ.ก.ส. เสร็จแล้ว จะหักเงินกู้ที่เคยให้ยืมไปคืนกลับมา
พรรคเพื่อไทยยืนยันว่า “จะรับซื้อข้าวทั้งหมดที่ชาวนาผลิตได้ เพื่อกุมสภาพตลาดไว้ในมือบริหารราคาได้เอง” โดยเกษตรกรที่ปลูกข้าว สามารถเข้าร่วมโครงการได้ทุกคน ผ่านการขึ้นทะเบียน และรับจำนำก่อนการเพาะปลูก ชาวนาจะได้เครดิต 70% ของผลผลิตเพื่อนำไปซื้อปัจจัยการผลิตเพื่อผลิตข้าวในอนาคต ขณะเดียวกันพรรคเพื่อไทย การันตีด้วยว่า การแจกบัตรเครดิตนั้นจะไม่ทำให้เกษตรกรเป็นหนี้เพราะบัตรนี้ไม่สามารถใช้ เบิกเงินสดได้ แต่เป็นวงเงินที่ให้นำไปซื้อปัจจัยการผลิตและในแต่ละปีรัฐบาลจะเคลียร์วง เงินกู้นี้โดยหักลบกลบหนี้กับราคาข้าวที่เกษตรกรนำมาขายในโครงการรับจำนำ ขณะเดียวกันจะมีการตั้งธนาคารข้าวระดับอำเภอเพื่อรองรับข้าวของชาวนาที่นำมา ขายหรือจำนำไว้ก่อนตันละ 15,000 บาทและให้องค์การคลังสินค้าเข้ามาผลิตข้าวธงฟ้าขายให้คนในประเทศในราคาถูก ขณะที่ข้าวที่ธนาคารรับซื้อไว้ก็จะนำบางส่วนไปขายต่างประเทศในราคาสูงที่ตัน ละ 22,000 บาทต่อไป
ประกันรายได้เกษตรกรของ ปชป.
“อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ การันตีว่า การใช้นโยบายประกันรายได้เกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกข้าว ในช่วง 2 ปีเศษ ที่เป็นรัฐบาลถือว่าเป็นนโยบายที่เดินมาถูกทางแล้ว เพราะทำให้เกษตรกรถึง 4 ล้านครัวเรือนได้รับเงินชดเชยส่วนต่างราคาข้าวจากการเข้าโครงการประกันราย ได้ ประมาณ 58,000 ล้านบาท ทำให้ชาวนาไม่ขาดทุนและปลดหนี้ได้เพราะเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 187% ที่สำคัญยังทำให้กลไกตลาดสามารถทำงานได้ปกติ
นอกจากนี้ประชาธิปัตย์ยังอธิบายให้เห็นถึงหลักคิดของโครงการประกันรายได้ คือทำอย่างไรให้ชาวนาทำนาแล้วไม่ขาดทุน โดยการกำหนดราคาประกันรายได้คิดจากต้นทุนบวกกำไรที่ประมาณ 40% ที่สำคัญยังได้ให้สัญญากับชาวนาทั่วประเทศด้วยว่าหากมีโอกาสกลับมาเป็น รัฐบาลอีกครั้งก็จะบวกกำไรเพิ่มให้อีก 25% ของ 40% หรือเพิ่มขึ้น 10% เป็น 50% นอกจากนี้ยังเพิ่มค่าขนส่งข้าวเปลือกไปยังโรงสีให้อีกตันละ 200-600 บาทแล้วแต่ระยะทาง
ที่สำคัญที่นโยบายนี้ทำให้รัฐบาลไม่แบกรับภาระเรื่องของสต๊อกข้าวเป็นล้าน ๆ ตันซึ่งนำไปสู่การทุจริตในการประมูลขาย และรัฐบาลไม่ทำอาชีพแข่งกับพ่อค้าด้วยการเป็นพ่อค้าขายข้าวเสียเอง ขณะเดียวกันยังมีนโยบายตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวในราคาตลาดควบคู่กันไปด้วย เพื่อทำให้ราคาข้าวในตลาดไม่ตกต่ำจนเกินไป รวมทั้งยังมีโครงการประกันภัยพืชผลเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับพืชผลของ เกษตรกรเมื่อถูกภัยพิบัติทางธรรมชาตินอกเหนือไปจากที่รัฐบาลได้ให้อยู่แล้ว ไร่ละ 606 บาทแต่จะเพิ่มให้เป็น 2,000 บาทต่อไร่ รวมไปถึงการลงทุนสร้างระบบชลประทาน การเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าว การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การใช้ปุ๋ย เพื่อให้เกษตรกรมีต้นทุนที่ต่ำ
แม้ ว่านโยบายประกันรายได้จะทำให้เกษตรกรได้รับเงินส่วนต่างอย่างทั่วถึง แต่นโยบายนี้ไม่ได้ทำให้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นหายไป เพราะเมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริง ๆ การสวมสิทธิ การแจ้งพื้นที่เพาะปลูกเกินความเป็นจริง หรือแม้แต่การจ่ายเงินให้ชาวนาก็ล่าช้า ซึ่งประชาธิปัตย์ก็รู้ปัญหาดีและเตรียมแก้ไขหากได้เป็นรัฐบาล
ทีมเศรษฐกิจเดลินิวส์
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น