บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กลไก "โหวตโน" ฉบับสมบูรณ์

โดยดร.ไก่ Tanond เมื่อ 5 มิถุนายน 2011 เวลา 10:43 น.
เพื่อเป็นการชี้ชัดให้เห็นว่า โหวตโน เป็นกลไกที่เป็นสากล มีใช้กันอย่าง
แพร่หลายในต่างประเทศ และยังชอบด้วยกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงจำเป็นที่จะต้องนำเสนอทุกองคาพยพของโหวตโน ให้เห็นภาพรวมดังนี้-

ความสำคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆของโหวตโน

1.ทุกองค์ประกอบของโหวตโน มีอยู่ในส่วนของโครงสร้างทางการเมือง

1.1โหวตโน คือ การแสดงสิทธิผ่านการเลือกตั้ง input(3)โดยประชาชาน
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง[12] รณรงค์ขับเคลื่อนมาอยู่ที่กลุ่มกดดัน[8] เพื่อปฏิเสธ
และไม่ยอมรับวิธีการเข้าสู่อำนาจของพรรคและนักการเมือง ให้เข้าสู่ระบบ
การเมือง ตามกล่องที่[3 - 4] ของโครงสร้างส่วนบน

1.2โดยจะมีคะแนนเสียงของข้อ1.1เป็นตัวชี้วัด "ความชอบธรรมทางการเมือง"

>>>>>>>>>[1.สถาบันพระมหากษัตริย์]<<<<<<<<<
                                  [2. รัฐธรรมนูญ ]

                                โครงสร้างส่วนบน

input >>>  [3.บริหาร] [4.นิติบัญญัติ] [5.ตุลาการ] >>> out put
(1)ข้อเรียกร้อง           [6.ข้าราชการส่วนกลาง]         (1) นโยบาย
(2)ข้อสนับสนุน                        |                             (2) พรบ /พรก/พรฏ
(3)การเลือกตั้ง       [7.ทหาร]   |                             (3) คำพิพากษา
                                               |                             (4) กฏกระทรวง/กรม
                              โครงสร้างส่วนกลาง

           [8.กลุ่มกดดัน] [9.กลุ่มผลประโยชน์] [10.สื่อมวลชน]
                   [11.องคืกรปกครอง / ข้าราชการส่วนภูมิภาค]
                                               |
                                               |
                                   [12.ประชาชน]
               [13.องค์กรปกครอง / ข้าราชการส่วนท้องถิ่น]

                            โครงสร้างสร้างส่วนล่าง

2.โหวตโน ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา๓.
2.1 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
- อำนาจที่ฝ่ายการเมืองคืนให้แก่ประชาชน จึงขึ้นกลับไปอยู่ที่พระมหากษัตริย์ในฐานะเป็นประมุขแห่งรัฐ เพื่อทรงใช้อำนาจนี้ผ่าน โครงสร้างส่วนบนกล่องที่[3 - 5]ที่เป็นไปแบบ"ในระบบ" และในบางเหตุการณ์ที่เกิดการเข้าสู่อำนาจของทหาร แบบ"นอกระบบ" จากการรัฐประหาร คณะผู้ก่อการฯเองที่ผ่านมาทุกครั้ง ก็ได้ยึดถือรูปแบบของอำนาจ 3 ฝ่ายตามโครงสร้างส่วนบนนี้ (ไม่นับรวมเมื่อพ.ศ.2475) เช่นนี้แล้วเป้าหมายของ "การปฏิเสธเพื่อปฏิรูปการเมือง"ของเสียงโหวตโนนั้น จะอยู่ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญว่าด้วย อำนาจ 3 ฝ่ายนี้เช่นเดียวกัน

3.โหวตโน เพื่อเรียกหา ความชอบธรรมทางการเมือง
3.1ความ ชอบธรรมทางการเมือง หมายถึง ความชอบธรรมที่เกี่ยวพันกับความสามารถของระบบที่จะก่อให้เกิด และรักษาไว้ซึ่งความเชื่อที่ว่า การคงอยู่ของสถาบันในระบบเป็นความพึงพอใจสูงสุดของสังคม หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่าในระบบการเมืองใดก็ตาม ที่สามารถสร้างประสิทธิภาพสูงสุดให้กับสังคมและประชาชน ระบบการเมืองนั้นก็ย่อมมีความชอบธรรมทางการเมืองทั้งสิ้น
โดยไม่ว่าจะ เป็นระบบการปกครองแบบกษัตริย์ เผด็จการ คอมมิวนิสต์ หรือ ประชาธิปไตย ปัจจัยสำคัญในการคงอยู่ของความชอบธรรมทางการเมือง จึงมาจากการยอมรับในตัวระบอบการปกครองนั้นๆของประชาชน ซึ่งมีรากฐานมาจากประสิทธิภาพในการดำเนินงานและทำหน้าที่ของกลไกภายในตัว ระบบเอง

3.2 หากผลของโหวตโน มีเกินกึ่งหนึ่ง ของผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งไม่ว่าจะในแบบแบ่งเขต หรือ บัญชีรายชื่อ ประชาชนผู้ใช้สิทธิโหวตโนจะสามารถใช้สิทธิ์จากผลที่ได้นี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ดำเนินการตามความในพรบ.เลือกตั้งพ.ศ.2550 มาตรา๘๘.หรือ

3.3ปฏิเสธผลลัพธ์จากการเลือกตั้ง ตามความหมายของความชอบธรรมทางการเมืองนี้ได้ แบบในระบบ ยื่นดำเนินการตามพระราชประเพณี ด้วยการยื่นถวายฎีกา ถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงใช้พระราชอำนาจ พระราชวินิจฉัยตามแต่ที่พระองค์ท่านจะทรงเห็นสมควร ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา๗

4. พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ในส่วนที่เกี่ยวข้อง) ประกอบด้วย -
4.1สิทธิของพระองค์ท่านที่จะได้รับการปรึกษาหารือ The right to be consulted
4.2สิทธิของพระองค์ท่านที่จะได้รับการสนับสนุนส่งเสริม The right to be encourage และ
4.3สิทธิของพระองค์ท่านที่จะได้รับการแจ้งเตือน The right to be warn.

5.โหวตโน ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา๗.
5.1ใน เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5.2 ที่ผ่านๆมา เมื่อเกิดปฏิวัติ รัฐประหารเพื่อยึดอำนาจจากฝ่ายการเมือง คณะผู้ยึดอำนาจจึงเป็นองค์รัฐาธิปัตย์แทนฝ่ายการเมือง และจัดตั้งรัฐบาลเอง ในรูปแบบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มีอำนาจ 3 ฝ่าย กล่อง[3 - 5]ไว้คงเดิม ซึ่งที่ผ่านมา ถือได้ว่ามีความชอบธรรมทางการเมืองเพราะส่วนใหญ่ที่ผ่านมา ปราศจากการต่อต้านที่นำพาไปสู่ความรุนแรงทางการเมือง(ยกเว้นในปี2516 และ2535) อีกทั้งยังมีคำพิพากษาของศาลฎีกาเมื่อพ.ศ.2490 ที่มีต่อการยึดอำนาจในช่วงนั้น ก็ได้ตัดสินให้ไม่มีความผิด เนื่องเำพราะมีความชอบธรรมทางการเมือง ที่ประชาชนยอมรับต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนั้น
5.3 หัวใจสำคัญในส่วนนี้ ก็คือ การระมัดระวังมิให้มีการกระทำใดๆ อยู่นอกเหนืออำนาจ 3 ฝ่ายตามความในมาตรา๓ หรือ ที่จะก้าวล่วงต่อพระราชอำนาจ(ข้อ4.ข้างต้น) ของพระองค์ท่าน

6.ผลลัพธ์ของโหวตโน กับ "ความชอบธรรมทางการเมือง"
6.1ใน เมื่อคณะผู้ก่อการยึดอำนาจ จัดตั้งรัฐบาลภายใต้สภานิติบัญญัติ ที่ประกอบด้วยอำนาจ 3 ฝ่ายนี้ได้ การจะมีจะเกิดขึ้นของ รัฐบาลโดยภาคประชาชน ก็น่าที่จะอยู่ในวิสัย อยู่ภายใต้บริบทของหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ไม่แตกต่างกัน ใน"รูปแบบ"ของสภานิติบัญญัติฯเพื่อเปิดโอกาสเป็นการชั่วคราวให้ภาคประชาชน ได้เข้ามาปรับเปลี่ยน แก้ไขในทุกองคาพยพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้เป็น ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง  ก่อนที่จะคืนอำนาจ และกลับเข้าสู่ระบบตัวแทนดังเดิม

7.บทสรุป -
7.1ความไม่ชอบธรรมทางการเมือง ของฝ่ายการเมือง สะท้อนให้เห็นได้จากคะแนนโหวตโน ที่เกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
7.2 ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น สะท้อนให้เห็นได้จากเหตุผลที่อ้างอิงจากโครงสร้างทางการเมือง ตัวบทกฎหมาย และตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา๓ มาตรา๗ มาตรา ๖๙ และตามความในพระราชบัญญัติเลือกตั้งฯ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา๖๗ ๘๒ ๘๔ และ๘๘
7.3การ โหวตโนจึงมีที่มาที่เป็นสากล จากประเทศต้นแบบประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้ใช้สิทธิที่จะไม่เลือก ที่จะต่อต้าน มาเป็นเวลานานมากแล้ว ส่วนในประเทศได้บรรจุให้ชอบด้วยกฎหมายเมื่อ พ.ศ.2530
7.4โหวตโน จึงเป็นกลไก เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบการเลือกตั้ง ระบบตัวแทน ของระบอบประชาธิปไตย

8.Vote No Process กระบวนการโหวตโน
โหวตโน > สิทธิตาม พรบ.เลือกตั้ง ม.๖๗ > กลไกตามรัฐธรรมนูญ ม.๖๙ > การเลือกตั้ง > ไม่ประสงค์
< หากคะแนนเกินกึ่งหนึ่ง < หากคะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่ง (ปฏิรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป)  << ลงคะแนน<<<
> พระราชวินิจฉัย ตามม.๗ > (ภาคประชาชนปฏิรูปประเทศชั่วคราว > แก้ปัญหา / จัดวาง 3 เสาหลักใหม่)

9.พรบ.เลือกตั้ง พ.ศ.2550 ที่เกี่ยวข้องกับการโหวตโน
มาตรา ๖๗
การ ลงคะแนนเลือกตั้ง ให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในช่องทำเครื่องหมาย ของหมายเลขผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองในบัตรเลือกตั้ง และในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ประสงค์ จะลงคะแนนเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเครื่องหมายกากบาทในช่องทำเครื่องหมายไม่ประสงค์ลง คะแนนเลือกตั้งในบัตรเลือกตั้ง

มาตรา ๘๒
ให้มีการนับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเครื่องหมายไม่ประสงค์ จะลงคะแนนเลือกตั้ง และให้ประกาศจำนวนบัตรดังกล่าวด้วย

มาตรา ๘๔
เมื่อการนับคะแนน ณ ที่เลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ให้คณะกรรมการประจำหน่วย
เลือก ตั้งประกาศผลการนับคะแนนของหน่วยเลือกตั้งนั้น จำนวนบัตรเลือกตั้งที่มีอยู่ทั้งหมด จำนวนบัตรเลือกตั้งที่ใช้ และจำนวนบัตรเลือกตั้งที่เหลือจากการลงคะแนนเลือกตั้ง ทั้งนี้ ให้กระทำโดยเปิดเผย และรายงานผลการนับคะแนนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งโดยเร็ว
เมื่อ คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งดำเนินการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเก็บเอกสารและสิ่งของต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ใส่ในหีบบัตรเลือกตั้ง แต่ละประเภทการเลือกตั้ง
(๑) บัตรเลือกตั้งที่นับเป็นคะแนนแล้ว บัตรที่มีการทำเครื่องหมายลงในช่องไม่ประสงค์
จะลงคะแนนเลือกตั้ง และบัตรเสีย โดยแยกแต่ละประเภทบรรจุในถุงวัสดุใส
(๒) แบบกรอกคะแนนที่ได้ใช้ในการกรอกคะแนนทั้งหมด
(๓) รายงานผลการนับคะแนน
(๔) ประกาศผลการนับคะแนน

มาตรา ๘๘
ใน เขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่ากับหรือ น้อยกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ ยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง ในกรณีที่ผู้สมัครผู้ใดได้รับคะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น หรือไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เฉพาะ ตำแหน่งที่ได้รับคะแนนน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือ ไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้ง และให้นำความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับในการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคหนึ่ง

ถ้า มีจำนวนผู้สมัครเท่ากับหรือ น้อยกว่าจำนวนตำแหน่งที่ต้องเลือกตั้งใหม่ ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และถ้ามีผู้สมัครผู้ใดได้คะแนน เลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง นั้นอีกหรือ ได้ไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยดำเนินการตามวรรคหนึ่งอีกครั้งหนึ่ง

จัดทำโดย : ศูนย์ปฏิบัติการณ์การเมืองภาคประชาชน บนFACEBOOK / 14.05.54
ประมาณ 10ล้านกว่าคน เรียกเพื่อนๆมากันเยอะๆนะครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง