บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โฉมหน้ารัฐบาล-การเมืองไทยหลังเลือกตั้ง 3 ก.ค.



  • เขียนโดย ธวานันทภัทร ตั๋นไชยวงค์

นักรัฐศาสตร์ จุฬาฯ  ยันชอบ-ไม่ชอบ การเลือกตั้งคือทางออก ให้ประชาธิปไตยทำหน้าที่ได้  ขณะที่ดร.ณรงค์  หมดความคาดหวัง ได้อะไรจากการเลือกตั้ง  ยันเลือกพรรคไหนเข้าไปก็ต้องจับมือกับอำนาจทุนอยู่ดี..
วันที่ 18 มิถุนายน มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และเครือข่ายองค์กรแรงงาน ญาติอดีตผู้นำแรงงานผู้วายชนม์ ร่วมจัดงาน รำลึก 20ปี ทนง โพธิ์อ่าน อดีตวุฒิสมาชิกสายแรงงานและผู้นำแรงงาน ที่หายตัวไปอย่างลึกลับ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 หลังจากออกมาคัดค้านการยุบเลิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ และต่อต้านการรัฐประหารของ รสช. โดยมีการจัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับ นายทนง พร้อมด้วยอดีตผู้นำแรงงานที่เสียชีวิต ณ ห้องประชุมมูลนิธิ 14 ตุลาฯ สี่แยกคอกวัว ถ.ราชดำเนิน
ศาสตราภิชานแล  ดิลกวิทยรัตน์  คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ปาฐกถานำ “20 ปีการหายสาบสูญของทนง โพธิ์อ่าน  กับภาพสะท้อนอำนาจเถื่อนของรัฐต่อผู้ใช้แรงงาน” ตอนหนึ่งว่า ระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เรื่องราวการหายไปของนายทนง เริ่มจะเลือนหายไปจากสังคม ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นว่า แม้บ้านเมืองจะดูดีขึ้น ทั้งในเรื่องการเมือง เรื่องสิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญ มีองค์กรยุติธรรมมากขึ้น หรือการมีหน่วยงานของกระบวนการยุติธรรมเพิ่มขึ้น แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณ โดยไม่มีหลักประกันในสิทธิและเสรีภาพว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับทนงจะไม่เกิดขึ้นอีก ขณะที่ปัจจุบันขบวนการแรงงานในทางการเมืองก็ยังไร้ซึ่งอำนาจการต่อรอง มีสาเหตุมาจากการขาดความเป็นอันหนึ่งเดียวกันของผู้ใช้แรงงานเอง
"ก่อนการหายตัวไปของทนง เขาได้ลั่นวาจาว่าหากคณะรสช. ยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำ จะนำแรงงานมาประท้วงให้เต็มสนามหลวง  แล้วก็กลายเป็นเรื่อง เวลานี้ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นประเด็นหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึง ดูเหมือนคนจะลืมไปแล้วว่าผู้ที่พยายามปกป้องให้การจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำดำรง อยู่ได้หายไปและไม่มีใครพูดถึง"
จากนั้นดร.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึง “โฉมหน้ารัฐบาลและการเมืองไทยหลังเลือกตั้ง3กรกฎาคม” ว่า ในสายตาในประเทศอื่น การเลือกตั้งไทยมีความรุนแรงมาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก แต่อยู่ที่ว่า แรงแบบไหน การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นทำให้ประชาธิปไตยไทยกลับมาอยู่ในร่องรอยหรือไม่ และขบวนการแรงงานอยู่ตรงไหน และทำอะไร ได้อย่างไรตรงนี้ คือ ประเด็น
“การเลือกตั้งครั้งนี้ จะสะท้อนอะไรหลายอย่างที่อยู่ใต้พรมมานาน แต่ใครที่คิดว่า การเลือกตั้งจะแก้ปัญหาทุกอย่างได้ ก็ไม่เสมอไป  เพราะส่วนตัวไม่ได้คิดว่า ประชาธิปไตยเท่ากับการเลือกตั้ง ทั้งนี้ทั้งนั้น จะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม การเลือกตั้งคือทางออกความขัดแย้งโดยไม่ใช้ทหารหรือกำลัง และทำให้ประชาธิปไตยทำหน้าที่ได้ แทนที่จะสู้บนถนนอย่างเดียว”
ด้านรศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และกรรมการสมัชชาปฏิรูป กล่าวว่า โครงสร้างแห่งอำนาจของสังคมไทยเปลี่ยนไปแล้วในการขับเคี่ยวเพื่อครองอำนาจ รัฐ ไม่มีใครกล้าพูดถึงโครงสร้างอำนาจ ถ้าเราต้องเปลี่ยนหรือปฏิรูป สิ่งที่ต้องทำคือการปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ถ้าไม่มี ก็แปลว่า นายจ้างผู้กุมทุนก็อยู่เหนือคนงานตลอดไป พ่อค้ามีอำนาจเหนือชาวนา ชายก็ได้เปรียบหญิง มหาอำนาจเหนือประเทศเล็ก รัฐเหนือประชาชน
“ เมื่อไม่มีพรรคใดพูดเรื่องนี้ จึงไม่คาดหวังอะไรจากการเลือกตั้ง  เลือกไปพรรคไหนเข้ามาก็ต้องอาศัยอำนาจทุนทั้งหมด ถ้าเราไม่เข้าใจทุน เราก็ทำอะไรไม่ได้ ฉะนั้น หลังการเลือกตั้งจึงคิดว่า ทิศทางใหญ่ของการขับเคลื่อนไม่มีอะไรเปลี่ยน ความขัดแย้งหลักๆ ก็ต้องขับเคลื่อนกันต่อไป”
ดร.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า  ถ้าวันนี้ยังมีพลังไม่พอ ต้องสะสมพลังไว้แก้ไขปัญหาต่อไปในภายภาคหน้า ขึ้นอยู่กับทุกคนและกับผู้ใช้แรงงาน ที่จะคอยนั่งบนพูลดูหมากัดกัน ถ้าเลือกหมา (นักการเมือง) ไม่ดีแล้วค่อยเอาค้อนตีหมา ส่วนการเลือกตั้งอย่างไรจึงจะเหมาะสม  เลือกกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง กลุ่มยุทธศาสตร์ หรือจะเลือกพรรคเล็ก เขกหัวพรรคใหญ่  ก็แล้วแต่ดุลยพินิจ
ขณะที่นายก่อเขตต์ จันทเลิศลักษณ์ บรรณาธิการรายการข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าว ว่า ในหลายๆ สถานการณ์ที่ผ่านมาการเลือกตั้งจะเป็นทางออกสุดท้าย แต่ขณะนี้เริ่มไม่แน่ใจแล้วว่า เป็นจุดจบของปัญหาหรือไม่ เป็นทางออกหรือทางแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่
การรัฐประหาร เป็นเหมือนยาสเตียรอยด์ ให้ตอนแรกก็ดีขึ้น แต่ถ้ากินมากๆก็จะมีผลข้างเคียง แต่ที่ผ่านมากินแล้วแม้มีผลข้างเคียงก็รักษาโรคไม่ได้ การปฏิวัติที่ว่า แก้ปัญหาได้ คงไม่ใช่แล้ว อีกทางหากใครได้เสียงข้างมาก จัดตั้งรัฐบาลไปก็จบ แต่เชื่อว่าก็ยังมีการเผชิญหน้ากันอย่างไม่รู้จบ หรือมีการเลือกตั้งมาแล้ว สถานการณ์อาจจะแย่กว่าเดิม” นายก่อเขตต์  กล่าว และว่า  เป็นเรื่องที่แปลกมากที่หลายฝ่ายเห็นตรงกัน เช่น นักธุรกิจขาดความมั่นใจว่าการเลือกตั้งแล้วเรื่องจะจบ แม้มีความพยายามที่จะถอดสลักความขัดแย้ง แต่ก็ถูกปฏิเสธจากคู่ขัดแย้ง กลายเป็นว่า นอกจากไม่มีความจริงใจแล้ว ยังเพิ่มระดับความขัดแย้งขึ้นไปอีก
ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง นายก่อเขตต์ กล่าวว่า การเมืองแบ่งเป็น 2 ขั้วขัดแย้ง  มองไม่เห็นความปรองดอง เห็นแต่ความตีบตัน แต่ก็ไม่ได้แปลว่า ไม่มีทางออก หากเรายังไม่ยอมจำนน ประเทศมีภารกิจที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้ผ่านพ้นไป ก้าวข้ามไปแล้ว ซึ่งต้องค่อยๆคลี่ที่ละจุดทีละปัญหา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง