สวค.เสนอ 4 แนวทาง แก้ไขหนี้กองทุนฟื้นฟู คาด 6 ปีลดหนี้ได้ 3.38
แสนล้านบาท และประหยัดดอกเบี้ยได้ 1.69 หมื่นล้านบาท "ณรงค์ชัย"
ชี้ป้องกันทุจริตจำนำข้าวทำได้ยาก ห่วงงบบาน
นายคณิศ แสงสุพรรณ
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) กล่าวว่า
การแก้ไขปัญหาหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF)
จำนวน 1.14 ล้านล้านบาท เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ
เพราะเป็นภาระงบประมาณจ่ายดอกเบี้ยปีละ 6.6 หมื่นล้านบาท
เนื่องธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่มีกำไรจากการดำเนินงานมาจ่ายเงินต้น
ทั้ง
นี้ สวค.ได้ศึกษาแนวทางการแก้ไข โดยเห็นว่ารัฐบาลควรเร่งดำเนินการใน 4
เรื่อง เพื่อแก้ไขเรื่องดังกล่าว ได้แก่ 1.ทำให้
ธปท.บริหารสินทรัพย์ต่างประเทศให้มีผลตอบแทนมากขึ้น โดยให้ทั้ง
ธปท.บริหารเอง หรือมีการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติขึ้นมาบริหารช่วย
ธปท.ก็ได้ 2.แก้ปัญการลงบัญชีของ ธปท.ที่มีปัญหาขาดทุนทางบัญชี
ให้มีผลกำไรมีเงินมาใช้หนี้ 3.ให้
ธปท.โอนสินทรัพย์ของกองทุนฟื้นฟูที่มีทั้งเงินสดและหุ้นของธนาคารกรุงไทยมา
ให้คลังบริหารต่อ และ 4.โอนสินทรัพย์ที่อยู่กับ บสท.เข้าคลัง
นายคณิศก
ล่าวว่า ทั้ง 4 แนวทางหากดำเนินการทั้งหมด จะทำให้มีรายได้เพิ่มปีละประมาณ 4
หมื่นล้านบาท มาชำระหนี้เงินต้นให้ลดลง ลดภาระดอกเบี้ยได้มาก ทั้งนี้
จากการประเมินของ สศค. หากดำเนินการทั้งหมดได้ตั้งแต่ปี 2554-2559
จะทำให้ยอดหนี้ของกองทุนฟื้นฟูลดลง 3.38 แสนล้านบาท
และภาระหนี้ดอกเบี้ยจ่ายที่มาจากเงินงบประมาณลดลง 1.69 หมื่นล้านบาท
นาย
คณิศกล่าวว่า แนวทางดังกล่าว นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง
ได้ยกขึ้นมาหารือกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.
ก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งหลายเรื่อง ธปท.เห็นด้วย
และคงเอาเรื่องเหล่านี้เสนอต่อกระทรวงการคลังอีกครั้ง
ด้านนายณรงค์ชัย
อัครเศรณี ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
(สวค.) อดีต รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ในฐานะที่เคยทำงานอยู่กระทรวงพาณิชย์มาก่อน
รู้สึกเป็นห่วงโครงการรับจำนำข้าวที่รัฐบาลชุดนี้ประกาศรับจำนำทุกเม็ด
ซึ่งก็ไม่รู้ว่าภาระจากการรับจำนำครั้งนี้จะไปสิ้นสุดที่เท่าไหร่
และเงินที่รัฐบาลประกาศไว้ว่าจะใช้ถึง 4.3 แสนล้านบาทนั้น
จะเพียงพอหรือไม่และนำเงินตรงนี้มาจากไหน
นอกจากนี้ยังเป็นห่วงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากโครงการครั้งนี้ว่าจะมีมาก
แค่ไหน
ทั้งนี้
สิ่งที่เป็นห่วงมากที่สุดคือการควบคุมเรื่องทุจริตในการรับจำนำนั้นจะทำได้
มากน้อยแค่ไหน แม้ว่ารัฐบาลชุดนี้จะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อดูแลการรับจำนำ
และตั้งคณะกรรมการเพื่อมาดูแลการทุจริตในโครงการ
พร้อมทั้งได้ดึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มาช่วยดูแลการทุจริต
แต่เชื่อว่าการควบคุมไม่ให้เกิดทุจริตขึ้นมาในโครงการเป็นการยาก
สิ่งที่จะควบคุมได้คือคนในสังคมต้องช่วยกันสอดส่องดูแลและใช้สื่อโซเชีย
ลเน็ตเวิร์กอย่างเฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ในการช่วยตรวจสอบโครงการนี้
“เชื่อ
ว่าผู้จะทุจริตในโครงการนี้จะต้องกลัวเฟสบุ๊กมากกว่าดีเอสไอ
เพราะถ้าเจอข้อมูลทุจริต ผู้ที่เจอโพสต์ข้อมูลแฉได้ทันที
ยอมรับว่าโครงการนี้สามารถโกงง่าย แต่การควบคุมทำได้ยาก” นายณรงค์ชัยกล่าว.
Thaipost
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น