“ยิ่งลักษณ์” ร่ายยาว 44 หน้า เร่งรัดนโยบาย 2 ส่วน เร่งด่วน 1 ปีใน 16 ด้าน และระยะยาว 4 ปี ลั่นขอสร้างความปรอดองสามัคคี แก้ปัญหายาเสพติดให้เป็นวาระแห่งชาติ ขณะเดียวกันเน้นพัฒนาเศรษฐกิจยั่งยืน เดินหน้าปูพรมนโยบายหาเสียงให้เป็นจริง สร้างระบบขนส่งระบบรางทั่วประเทศ ระบุถมทะเลเพื่อรับมือภัยพิบัติธรรมชาติ ย้ำขอให้มั่นใจจะบริหารประเทศด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
วันนี้ (23 ส.ค.) เวลา 09.00 น.ที่รัฐสภา คณะรัฐมนตรี (ครม.) นำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภา และชี้แจงการดำเนินการตามแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญมาตรา 176 ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้อ่านเอกสารแถลงนโยบายทั้งหมด 44 หน้า โดยสรุปว่า จากสถานการณ์และสภาวะแวดล้อมของเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงมีนัยสำคัญได้ส่งผลให้ประเทศไทยอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้างที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1.การเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจ ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงสูงไม่สามารถก้าวพ้นวิกฤตได้อย่างยั่งยืน เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนสูง อยู่ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองไปสู่ศูนย์กลางใหม่ทางทวีปเอเชียในระยะยาว
น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า 2.การเปลี่ยนผ่านทางด้านการเมือง ความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา แม้จะมีผลต่อความเชื่อมมั่นทางเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาผูกโยงกับภาวะเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งดังกล่าวมีผลกระทบต่อการวางพื้นฐานเพื่ออนาคตในระยะยาว และทำให้สูญเสียโอกาสในการเดินหน้าเพื่อพัฒนาประเทศในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เพียง 3.6% ซึ่งต่ำกว่าที่ควรจะเป็น 3.การเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้างประชากรและสังคมไทย โครงสร้างดังกล่าวของไทยกำลังเปลี่ยนไปสู่สังคมผู้สูงอายุจะมีผลต่อปริมาณและคุณภาพของคนไทยในอนาคต
“นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลจะยึดหลักการบริหารที่มีความยืดหยุ่นที่คำนึงพลวัตการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล นโยบายของรัฐบาลมีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ ประการที่ 1 เพื่อนำประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ประการที่ 2 เพื่อนำประเทศไทยไปสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์ และอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันและมีหลักปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อประชาชนคนไทยทุกคน ประการที่ 3 เพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และความมั่นคง นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก และนโยบายตลอดระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการนำนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทยมาไว้ในคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี
สำหรับนโยบายระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรกมี 16 ด้าน แบ่งเป็น 1.สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ และฟื้นฟูประชาธิปไตย เสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางความคิดทางการเมืองและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างอิสระ และได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบหาความจริงกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ความเสียหายทางทรัพย์สิน
น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า 2.กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ 3.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง 4.เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว 5 เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ 6.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 7.ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท
8.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคาอาเซียนในปี 2558 9.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย 10.ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รวมถึงการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร
11.ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ กลาง เล็ก 12. เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยได้ปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิราเคิลไทยแลนด์ เยียร์) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555 13. สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น 14. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค 15.จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแทปเล็ต รวมถึงทำอินเทอร์เน็ตไร้สายในระดับการให้บริหารและในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี 16.เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้าง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ
จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวอีกว่า ขณะที่นโยบายตลอดระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล เช่น นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาระบบรางเพื่อขนส่งมวลชนและการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ ด้วยการศึกษาและพัฒนารถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ กรุงเทพ-นครราชสีมา กรุงเทพ-หัวหิน และเส้นทางอื่นเพื่อเตรียมการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ศึกษาและพัฒนาขยายทางรถไฟสายแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังชลบุรีและพัทยา เร่งรัดโครงการรถไฟฟ้า10สายในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้สามารถเริ่มก่อสร้างได้ครบใน 4 ปี โดยเก็บค่าบริการ 20 บาทตลอดสายทั้งระบบ รวมทั้งเร่งพัฒนาระบบตั๋วร่วมบัตรเดียว และพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อยให้มีโอกาสไดที่อยู่อาศัยในราคาและค่าเช่าถูกตามบริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้า
น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า พัฒนาการขนส่งทางน้ำและกิจการพาณิชยนาวีขนส่งเดินเรือชายฝั่งทะเลทั้ง ฝั่งด้านทะเลอันดามัน และฝั่งด้านทะเลออ่าวไทย โดยพัฒนาท่าเรือน้ำลึก และสะพานเศรษฐกิจเชื่อมสองฝั่งทะเลภาคใต้ พัฒนาท่าอากาศยานสากล ท่าอากาศยานภูมิภาคและอุตสาหกรรมการบินของไทย รวมทั้งเพิ่มความสามารถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้รองรับผู้โดยสารจากปีละ 45 ล้านคน เป็นปีละ 65 ล้านคนขึ้นไป เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน สร้างภูมิคุ้มกันและเตรียมความพร้อมในการรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของของสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติธรรมชาติ ดำเนินการศึกษาอย่างรอบคอบในเรื่องของความจำเป็นของโครงการพัฒนาเขื่อนและเกาะเพื่อป้องกรุงเทพและภาคกลางให้ปลอดภัยจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และจากการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกตามสภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้น
“รัฐบาลขอให้ความเชื่อมั่นต่อรัฐสภาว่า รัฐบาลจะบริหารราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และมีประสิทธิภาพ มุ่งมั่นที่จะให้ประเทศมีความเจริญรุ่งเรือง มีความสามัคคี ปรองดอง และมีความยุติธรรม รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้อย่างมีศักดิ์ศรีในเวทีโลก พร้อมทั้งนำความสุขกลับคืนมาให้พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน” น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
►
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)
-
▼
2011
(1241)
-
▼
สิงหาคม
(263)
-
▼
23 ส.ค.
(14)
- ชำแหละ"ทักษิณ" กลางสภา ! ?
- ว่าด้วยกองทุนมั่งคั่ง ลงทุนด้านพลังงาน เพื่อ "ความ...
- เปิดคลิปสุดฮอตจาก "ชูวิทย์" แฉบ่อนใหญ่กลางกรุง ใกล...
- กลุ่มทุนรับเหมาก่อสร้างกับสายสัมพันธ์ทางการเมือง
- “ปู” ร่ายยาวนโยบายหาเสียงให้เป็นจริง เร่งรัดด่วนปร...
- แกะรอย ขบวนการหมิ่นเบื้องสูง
- "ทักษิณ" ย่องเงียบเข้ากัมพูชา พานักธุรกิจเข้าพบ "ฮ...
- จับโกหกนโยบายหน้าไหว้หลังหลอก ใช้งบติดสินบนขยายหมู...
- จ้อง'รื้อระบบ'เปาบุ้นจิ้น!
- ใต้ขอมีเอี่ยวศพละ 10 ล้าน
- เปิดใจ รมว.กระทรวงพลังงาน
- ศาลปกครองกลางตัดสิน ยกฟ้องคดีสรรหากสทช.
- แกนนำแดงสุรินทร์ โวโทรคุยกับ กีร์ อริสมันต์ ที่เขม...
- นปช.หลังภารกิจ “นั่งร้าน”ให้การกลับมาของทักษิณ
-
▼
23 ส.ค.
(14)
-
▼
สิงหาคม
(263)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น