บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กลุ่มทุนรับเหมาก่อสร้างกับสายสัมพันธ์ทางการเมือง


 by TCIJ
          เรื่องเล่าของกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง กับการเมือง เป็นสิ่งที่ได้ยินกันมานานมาก กลุ่มทุนรับเหมา เป็นทั้งผู้รับประโยชน์ จากนโยบายและโครงการภาครัฐ และผู้ให้ประโยชน์ ในฐานะกลุ่มทุนสนับสนุนพรรคการเมือง หรือ ถุงเงิน
           
            ทุนรับเหมาก่อสร้างในบัญชีเงินบริจาค
ถุงเงินและพรรคการเมือง เป็นของคู่กันมาโดยตลอด โดยเฉพาะกลุ่มทุนรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งถือว่า เป็นฐานการเงินสำคัญของพรรคการเมืองหลายพรรคมาเป็นเวลานาน สำรวจรายชื่อผู้บริจาคเงินให้พรรคการเมือง ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตั้งแต่ก่อนพรรคไทยรักไทยจะเข้ามาบริหารประเทศ จนหลังเหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549 เรื่อยมาถึงต้นปี 2554 กลุ่มทุนรับเหมา ทั้งรายใหญ่ รายเล็ก ต่างมีชื่อปรากฎ เป็นผู้บริจาค หรือ เคยเป็นผู้บริจาคเงินสนับสนุนพรรคการเมืองอย่างเนืองแน่น ดังรายชื่อต่อไปนี้

ในรายชื่อผู้บริจาคเงินให้กับพรรคประชาธิปัตย์ พบรายชื่อที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มทุนรับเหมา หรือบริจาคในนามบริษัท อาทิ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน)บริษัท บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็ม บี เค พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) บมจ. ซีฟโก้(SEAFCO) บริษัท คริสเตียนี และนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ประยูรวิศว์ จำกัด บริษัท กรุงธน เอนยิเนียร์ จำกัด บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด เอ็ม.ซี.คอนสตรักชั่น บริษัทสระหลวงก่อสร้าง บริษัท ธาราวัญ คอนสตรัคชั่น จำกัด
นอกจากนี้ ยังมีบริษัท ดอนเมืองการช่าง จำกัด บริษัท ซีวิล เอนจิเนียริ่ง จำกัด บมจ. แอสคอน คอนสตรัคชั่น หจก.นภาก่อสร้าง บริษัท เสริมสงวนก่อสร้าง บริษัท พีระมิดคอนกรีต จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดโชคชัยการโยธา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.รุ่งเรืองคอนกรีต บริษัท นำโชค ก่อสร้าง จำกัด
บริษัท ศุภผลการโยธา จำกัด บริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด และ
บริษัท ไทยวัฒน์วิศวการทาง จำกัด
ทนก่อสร้าง ยังกระจายบริจาคเงินให้กับพรรคการเมืองอื่น ด้วย อาทิ พรรคชาติไทย มี ช.การช่าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัท รัตนวันก่อสร้าง จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด สมบูรณ์พัฒนาก่อสร้าง(1970)
พรรคภูมิใจไทย มีบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง และบริษัทเชียงใหม่ คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นบิ๊กเนมที่จ่ายหนัก ขณะที่พรรคเพื่อไทย ได้บริษัท ซีวิล เอนจิเนียริ่ง จำกัดที่เคยเป็นถุงเงินพรรคประชาธิปัตย์มาก่อน แบ่งใจมาบริจาคให้ด้วย แม้แต่พรรคเก่าในอดีต อย่าง พรรคราษฎร ก็มีทุนรับเหมาก่อสร้าง อย่าง บริษัท เอส.อินเตอร์แอนด์แอสโซซิเอทส์ จำกัด เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุน

@ ผู้รับประโยชน์
ด้วยมูลค่าโครงการแต่ละโครงการ มีตัวเลขที่สูงมหาศาล เป็นธรรมดาที่จะถูกจับจ้องตรวจสอบจากนักวิชาการ และสื่อมวลชน ถึงสายสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้ อาทิ พรรคการเมือง หรือ รัฐมนตรีในกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และผู้รับ คือ ตัวบริษัทรับเหมาก่อสร้าง นั่นเอง
อ้างงานวิจัยเรื่อง "ก่อสร้างการเมือง-การเมืองก่อสร้าง" ศึกษาโดย “นพนันท์ วรรณเทพสกุล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ” ให้กับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พบสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นมากขึ้น ระหว่างทุนก่อสร้างกับการเมือง โดยเฉพาะ “ผลจากการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง ตั้งแต่ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจจนถึงยุค "ทักษิณ" มีนักธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเข้ามาอยู่ในพรรคการเมืองไทยถึง 75 ตระกูล”
  งานวิจัยชิ้นนี้ ได้สังเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจรายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี และเลขานุการรัฐมนตรีใน ครม.ทักษิณ 1 ( พ.ศ.2544-2547) เพื่อตรวจสอบบุคคล ที่มีนามสกุลเดียวกับผู้เป็นเจ้าของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในปัจจุบัน โดยเทียบกับรายชื่อผู้รับเหมาก่อสร้างที่เป็นสมาชิกในสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ปี พ.ศ.2544-2546 และผู้รับเหมาก่อสร้างที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ปี 2546 พบว่า 75 ตระกูลกลุ่มทุนรับเหมาก่อสร้าง ที่ฝังตัวอยู่ในพรรคการเมือง
แยกเป็น พรรคไทยรักไทย 36 ตระกูล พรรคชาติไทย 13 ตระกูล พรรคชาติพัฒนา ( ขณะนั้น) 6 ตระกูล พรรคความหวังใหม่ก่อนรวมกับไทยรักไทยมีอยู่ 5 ตระกูล พรรคเสรีธรรมก่อนรวมกับไทยรักไทย มี 3 ตระกูล พรรคประชาธิปัตย์ มี 13 ตระกูล
นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับเหมาก่อสร้างกับการเมืองอีกลักษณะ ในรูปของการทำธุรกิจร่วมกัน เช่น กลุ่มสี่แสงการโยธาของตระกูลวงศ์สิโรจน์กุลซึ่งเคยทำธุรกิจร่วมกับตระกูลศิลปอาชา กลุ่มวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้างของตระกูลชวนะนันท์มีการร่วมลงทุนกับตระกูลลิปตพัลลภ กลุ่มวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้างมีธุรกิจร่วมกับตระกูลสะสมทรัพย์ เป็นต้น
ในยุคของพรรคไทยรักไทย มีการริเริ่มโครงการก่อสร้างใหม่ๆ ซึ่งงานวิจัยพบว่า ระหว่าง ปี พ.ศ.2544-2546 โครงการเหล่านั้นตกอยู่ในมือกลุ่มทุนก่อสร้างบางกลุ่มเป็นพิเศษ เช่น กลุ่มอิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเมนท์ ได้รับงานทั้งหมดไม่น้อยกว่า 6.5 หมื่นล้านบาท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้างได้รับงานประมาณ 6 พันล้านบาท งานส่วนใหญ่เป็นงานที่เกี่ยวกับการก่อสร้างในสนามบินสุวรรณภูมิ
งานวิจัยระบุว่า ในช่วงปี 2545-2546 อิตาเลียนไทยฯได้รับการคัดเลือกให้ทำสัญญาโครงการก่อสร้างในสนามบินสุวรรณภูมิ รวมเป็นมูลค่ากว่า 65,921 ล้านบาท และเมื่อสำรวจสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของอิตาเลียนไทยฯในช่วงนั้น พบว่า มีชื่อนายทวีฉัตร จุฬางกูร หลายชายนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคมในคณะรัฐบาลช่วงเวลานั้นถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวอยู่จำนวน 2 ล้านหุ้น
ตัดภาพจากอดีตสู่การเมืองยุคประชาธิปัตย์เป็นแกน และพรรคร่วมเป็นแบ็คอัพ โดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทย พบการได้รับประโยชน์จากสายสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างทุนรับเหมาและการเมือง อย่างเห็นได้ชัด ไม่แพ้กัน
          โครงการรถไฟฟ้าหลากสี ซึ่งเป็นเมกะโปรเจ็กต์มูลค่ามหาศาล ที่กลุ่มทุนรับเหมามากหน้าหลายตา ปรารถนาจะคว้าสัญญาโครงการมาไว้ในมือ แต่พบว่า งานส่วนใหญ่จะกระจุกอยู่ในมือ 3 กลุ่มทุนรับเหมาแถวหน้าของประเทศ ประกอบด้วย ช.การช่าง ซิโน-ไทยฯ และ อิตาเลียนไทย
            ยกตัวอย่างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่)  และสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค) พบว่า กลุ่มช.การช่าง ได้งานสีม่วง 1 สัญญา และสีน้ำเงิน 2 สัญญา รวมเม็ดเงิน 30,051 ล้านบาท กลุ่ม ซิโน-ไทยฯ ได้งาน 26,480 ล้านบาท มีงานสีม่วงและน้ำเงินสายละ 1 สัญญา   ขณะที่อิตาเลียนไทย ได้ 1 สัญญา เป็นโครงการรถไฟสายสีน้ำเงิน 11,490 ล้านบาท
            นอกจากนี้ กลุ่มทุนทั้ง3 ยังสามารถคว้างานในหน่วยงาน หรือกระทรวงอื่นๆ มาทำได้ด้วย เช่น งานก่อสร้างโรงงานยาสูบใหม่ ที่โรจนะ ของกระทรวงการคลัง พบว่า กลุ่มช.การช่าง ได้งานก่อสร้างไป 4,620 ล้านบาท  ส่วนกลุ่มซิโน-ไทยฯ ร่วมกับ เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) ได้งานส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส (ตากสิน-บางหว้า) 5,799 ล้านบาท เช่นเดียวกับ อิตาเลียนไทย ที่มีงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณรถไฟฟ้าบีทีเอส (อ่อนนุช-แบริ่ง) 1,575 ล้านบาท เป็นต้น
            หากรัฐบาลเดิม กลับมาจัดตั้งได้อีกครั้ง งานใหญ่ๆ ที่รออยู่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำ อาคารรัฐสภาใหม่ สะพานเมืองนน์ จนถึงรถไฟฟ้าสายสีเขียว คาดว่า จะตกอยู่ในมือทุนรับเหมากลุ่มเดิม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง