บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อย่าแก้รัฐธรรมนูญด้วยความกลัวกันอีก

  นักการเมืองส่วนใหญ่จะเริ่มแก้รัฐธรรมนูญกันอีกแล้ว   นักการเมืองส่วนน้อยก็ต้องต่อต้านอย่างแน่นอน      ปัญหาจะบานปลายไปสักแค่ไหน  เป็นความทุกข์ที่พวกนักการเมืองโยนเข้าใส่ประชาชนอีกครั้ง
     เรามาย้อนดูกันว่ารัฐธรรมนูญไทยมีจุดอ่อนตรงไหน ?พลตรี ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช  วิจารณ์การเขียนรัฐธรรมนูญของไทยไว้ว่า  รัฐธรรมนูญไทย “เป็นรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นมาด้วยความกลัวอะไรบางอย่างเสมอ”
     “ รัฐธรรมนูญของเราทุกฉบับ  ตั้งแต่ฉบับ พ.ศ 2475 เป็นต้นมา  เป็นรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นด้วยความกลัวอะไรอย่างหนึ่งเสมอ  เช่นกลัวบุคคลคณะใด  หรือกลัวอะไรต่ออะไรเป็นบางอย่าง 
     ยกตัวอย่างเช่น  รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2475 ที่พระราชทานในรัชกาลที่ 7 นั้น  เป็นรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นด้วยความกลัวพวกเจ้ามาตรา 11  กำหนดว่าผู้ที่มีฐานันดรศักดิ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป  ไม่ให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใดทั้งสิ้น  สมัครเป็นผู้แทนก็ไม่ได้  เป็นอะไรก็ไม่ได้หมด
     ทีนี้ต่อมาก็ถึงรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ 2489  อันนี้ผมมีส่วนร่างด้วย  เป็นเลขานุการคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเลยทีเดียว  ฉบับนี้เมื่อร่างเสร็จ  นำเสนอต่อสภา  ออกจะเป็นฉบับที่ปราศจากความกลัว.... .......แต่อย่างไรก็ตาม   ในการพิจารณารัฐธรรมนูญฉบับ 2489  เมื่อเข้าสู่สภา  ความกลัวปรากฏออกมาให้แลเห็นได้ชัด  ว่าทางฝ่ายผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นกลัวผู้แทนราษฎรประเภทหนึ่ง  คือประเภทที่ราษฎรเลือกตั้งเข้ามาโดยตรง   ว่าจะมาทำร้ายท่านหรือมามีอำนาจเหนือท่าน   เพราะฉะนั้นรัฐธรรมนูญ 2489  ก็ได้รับการแปรญัตติในสภาให้เปลี่ยนรูปไปจากร่างเดิม

     ตามรูปเดิมนั้น (ต้นร่างรัฐธรรมนูญ)สภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นมีสิทธิลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล  และเมื่อสภาผู้แทนราษฎรไม่ไว้ใจแล้ว  รัฐบาลอยู่ไม่ได้  ต้องลาออก  รูปเดิมนี้ถูกแปรญัตติมาเป็นว่า  ต้องให้สภาสูงลงมติด้วย  ไม่ยอมให้สภาผุ้แทนลงมติไม่ไว้วางใจแต่ฝ่ายเดียว  มติที่จะไล่รัฐบาลออกได้ต้องเป็นมติทั้งสองสภา 

     ความกลัวมันเกิดขึ้นตอนนั้น
     พอถึงรัฐธรรมนูญฉบับ 2492  ซึ่งมีการสร้างสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ครั้งแรก)ขึ้น  ในบทรัฐธรรมนูญนี้ก็มีความกลัวปรากฏให้เห็นได้ชัด  รัฐธรรมนูญฉบับ 2492 เป็นรัฐธรรมนูญที่กลัวทหาร  กลัวทหารจะเข้ายึดอำนาจ  กลัวทหารจะก่อการรัฐประหาร  กลัวทหารจะปฏิวัติ  เพราะฉะนั้นจึงมิได้มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับนั้นมากมายหลายประการ  เกี่ยวกับการออกคำสั่งเคลื่อนกำลงของทหาร  การประกาศกฎอัยการศึก   ได้มีบทบัญยัติผูกมัดไว้มากมายไม่ให้ทำได้ง่าย ๆ  เป็นต้นว่าการย้ายกำลังทหารจะต้องมีพระบรมราชโองการ  ผู้บังคับบัญชาทหารจะไปทำเสียฝ่ายเดียวไม่ได้  การประกาศใช้กฎอัยการศึกจะต้องมีเงื่อนไขอย่างนั้นอย่างนี้  ในที่สุดก็แสดงให้เห็นชัดว่า รัฐธรรมนูญฉบับนั้นกลัวทหาร
 
      รัฐธรรมนูญฉบับ 2511  ที่ยกเลิกไป  ก็แสดงให้เห็นชัดว่ามีความกลัวอีก  รัฐธรรมนูญฉบับนี้กลัวผู้แทนราษฎร  กลัวว่าผู้แทนราษฎรจะมาแย่งตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกันแล้วมาก่อกวนความวุ่นวาย  ผู้แทนราษฎรประเภทดาวจะเข้ามาโวยวายในที่ประชุมสภา  แล้วก็กลัวประการอื่น ๆ อีกหลายอย่าง   ผลก็คือว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2511 นี้ตัดอำนาจผู้แทนราษฎรไปมาก  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ยอมให้ผุ้แทนราษฎรได้เข้ารับตำแหน่งการเมือง  ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีหรือแม้แต่เลขานุการรัฐมนตรี

     สรุปแล้วรัฐธรรมนูญของเราทุกฉบับร่างกันขึ้นมาด้วยความกลัวหรือด้วยภยาคติ ทั้งนั้น  ของอะไรที่ทำด้วยภยาคติจะดีไม่ได้   เราทำอะไรด้วยความกลัวหรือความไม่ไว้วางใจกันแล้ว  มันจะให้เป็นผลสำเร็จเรียบร้อย  หรือเป็นที่พอใจของทุกฝ่ายไม่ได้  จะต้องมีคนไม่พอใจ  อาจมีอุปสรรค   มีการขัดข้องในอนาคต
     รัฐธรรมนูญฉบับต่อไปนี้  ผมเห็นว่าเราจะต้องทิ้งความกลัวให้หมด  และจะต้องเชื่อกันเองจริง ๆ สักทีหนึ่ง ( คึกฤทธิ์ ปราโมช  คัดจากหนังสือ “ผลงานและชีวิตทางการเมืองของ ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช กับประชาธิปไตย” ของ สามน  กฤษณะ)
     รัฐธรรมนูญ พ.ศ 2540  กลัวทหารยึดอำนาจ มุ่งส่งเสริมให้ระบบพรรคการเมืองเข้มแข็ง  หวังให้เกิดการเมืองสองขั้วสองพรรคใหญ่
     รัฐธรรมนูญ พ.ศ 2550   กลัว “ทุนยักษ์” ซื้อเสียง  ซื้อประเทศไทยได้   กำหนดโทษนักการเมืองถึงขั้นยุบพรรค
    
     การแก้รัฐธรรมนูญก็คือการ “เขียน” รัฐธรรมนูญใหม่นั่นเอง    และมันก็หนีไม่พ้นบทสรุปที่ว่า  เขา “เขียนกันด้วยความกลังอะไรบางอย่าง” 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง