เรียน นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานฯ นาย เผดิมชัย สะสมทรัพย์
เรื่อง สนับสนุนนโยบายค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศของรัฐบาลประชาธิปไตย คืน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ”ความยุติธรรม”ให้กับผู้ใช้แรงงาน
สืบเนื่องมาจาก ภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้ทำลายระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทยทำให้สิทธิเสียงของประชาชนไม่มีความหมาย ในทางการเมือง ทำให้สิทธิสียงไม่มีความหมายในการต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีกว่า เพื่อความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันของผู้ใช้แรงงานและสังคมไทย เนื่องเพราะอำนาจตกอยู่ในมือของฝ่ายนอกระบบประชาธิปไตย
ต่อมาเมื่อมีการเรียกร้องให้ยุบสภา จัดการเลือกตั้งใหม่ ทำให้หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงของประชาชนกลับมีความหมายขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ผู้ใช้แรงงานก็เช่นกันได้มีส่วนร่วมทางการเมืองที่จะเลือกพรรคการเมือง นักการเมือง เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน
ในช่วงที่มีการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยได้เสนอนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เป็นผลให้ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ได้สนับสนุนในการเลือกพรรคเพื่อไทย เนื่องเพราะนโยบายนี้จะทำให้ผู้ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ภายหลังจากที่นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาลหลายยุคหลายสมัยนับเป็นเวลาร่วม หลายสิบปีไม่ได้มีนโยบายที่มีจุดยืนเคียงข้างผู้ใช้แรงงานเช่นนี้ แต่กลับเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนเท่านั้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีสภาพความเป็นอยู่อย่างอัตคัต มีหนี้สินล้นพ้นตัว จักมีชีวิตอยู่รอดได้ต้องทำให้หนักขึ้น ต้องทำงานล่วงเวลา ต้องไม่มีวันหยุด เป็นการทำลายความเป็นมนุษย์ของผู้ใช้แรงงาน
นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการคืน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”ให้กับผู้ใช้แรงงาน และคืน “ความยุติธรรม” ให้กับผู้ใช้แรงงาน ในฐานะผู้ใช้แรงงานเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม เป็นผู้สร้างสรรค์ผลิตสรรพสิ่งให้กับสังคม ในฐานะผู้ใช้แรงงานมีส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญ ความมั่งคั่งให้กับประเทศ
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางที่ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่สนับสนุนนโยบายนี้ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย กลับมีนายทุน องค์กรนายจ้าง เครือข่าย สื่อมวลชน นักวิชาการ ของฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ที่ออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว
เราในฐานะผู้ใช้แรงงาน ภาคเหนือ มีความคิดเห็นว่า การคัดค้านนโยบายนี้ ก็เพียงเพื่อยึดผลประโยชน์ที่เห็นแก่ตัวของนายทุนที่สนับสนุนฝ่ายอำมาตยา ธิปไตยมาตลอดเท่านั้นเอง
เราขอเรียกร้องให้
1.รัฐบาลประชาธิปไตยภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ผู้ได้รับคะแนนเสียงข้างมากจากประชาชน ต้องไม่ไหวเอนไปตามการคัดค้านของนายทุนและเครือข่ายอำมาตยาธิปไตย ทั้งหลาย และจงมุ่งมั่นทำตามนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ
จงเชื่อเถิดว่าผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่สนับสนุนนโยบายที่มีจุดยืนเคียงข้างผู้ ใช้แรงงาน เพื่อ คืน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ”ความยุติธรรม”ให้กับผู้ใช้แรงงาน
2. จัดกระบวนการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานต่างๆ ของผู้ใช้แรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและมีความยุติธรรมให้กับผู้ใช้แรงงาน เช่น การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานในปัจจุบันทุกฉบับ การรับรองสัตยบัน ILO มาตราที่ 87 และ 98 ฯลฯ โดยมีตัวแทนผู้ใช้แรงงานทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง เข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาด้วย
ด้วยความเคารพ
(นายอนุชา มีทรัพย์ )
กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ
(นายวิสิษฐ์ ยาสมุทร)
ประธานสหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์
(นายอัครเดช ชอบดี)
ประธานสหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์
สภาองค์การลูกจ้างยื่น 4 มาตรการ 5 ข้อเสนอ 33 วิสัยทัศน์ หนุนรัฐบาลคลอดเป็นนโยบายเพื่อผู้ใช้แรงงาน
สภา องค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ร่วมกับสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ สหพันธ์แรงงานอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย สหพันธ์แรงงานกระดาษและการพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ยื่นเสนอนโยบายแรงงานต่อพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลเพื่อประกอบการจัดทำเป็นนโยบายในการแถลงต่อรัฐสภา ในวันที่ 24 สิงหาคมที่จะถึง ดังนี้
4 มาตรการ 5 ข้อเสนอ 33 วิสัยทัศน์ นโยบายของผู้ใช้แรงงาน
1. มาตรการทางกฎหมาย
2. มาตรการทางเศรษฐกิจ
3. มาตรการทางการเมือง
4. มาตรการการจัดการ
1. มาตรการทางกฎหมาย
1.1 ให้ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานทุกฉบับ
2. มาตรการทางเศรษฐกิจ
- เร่งจัดเก็บภาษีอากรเพื่อจัดงบประมาณเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เช่น ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน ภาษีสำนักทรัพย์สิน
- มาตรการทางภาษี ยกเลิกมาตรการภาษีที่ซ้ำซ้อน ลดดอกเบี้ยเงินกู้ ปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ใช้แรงงาน
3. มาตรการทางการเมือง
- ให้มีการแสดงออกถึงสิทธิ เสรีภาพครบบริบูรณ์ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย ยกเลิกกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
- ให้ยึดหลักประชาธิปไตยอย่างเคร่งครัด เช่น ให้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมทุกฝ่ายและทำข้อตกลงร่วมกัน
- รัฐต้องไม่แทรกแซงและขัดขวางใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อผู้ใช้แรงงานแสดงออกตามวิถีทางประชาธิปไตย หรือเรียกร้องสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้
4. มาตรการจัดการร่วม
- ให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมระหว่าง รัฐ กระทรวง นายจ้าง ลูกจ้าง และศาล เพื่อเป็นมติในการดำเนินการร่วมกัน
- การจัดประชุม 2 ฝ่าย ระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง
- จัดประชุม 3 ฝ่าย หรือ 4 ฝ่าย ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5 ข้อเสนอ
1. เร่งดำเนินการรัฐสวัสดิการ เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล ที่อยู่อาศัย
2. เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าแพงมีผลกระทบต่อผู้บริโภค ให้จัดหาสินค้าราคาถูกไปจำหน่ายในย่านอุตสาหกรรมเพื่อลดค่าครองชีพ เพิ่มมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน เช่น ค่าไฟฟ้าฟรี, ค่าน้ำประปาฟรี, ค่ารถไฟฟรี, ค่ารถเมล์ฟรี ฯลฯ ให้ทั่วถึงและเป็นจริง
3. รับรองอนุสัญญา 87,98
4. การเพิ่มค่าจ้าง
5. การพัฒนาฝีมือแรงงานตอบสนองรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆที่กำลังเกิดขึ้น
33 วิสัยทัศน์ นโยบายแรงงาน
1. * ต้องสร้างความร่วมมือด้วยกันทุกฝ่าย คือ 1) ภาครัฐ กระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) ภาคการลงทุนคือผู้ประกอบการ สถาบันการเงินสมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า และ 3 ) ภาคการผลิตอุตสาหกรรม คือผู้ใช้แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง สหพันธ์แรงงาน สหภาพแรงงาน 4) ภาคเกษตรกรรม ชาวไร่ ชาวนา พ่อค้าแม่ค้าและประชาชนทั่วไป
2. * เร่งจัดตั้งรัฐบาลให้มีเสถียรภาพและเป็นประชาธิปไตย (การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ยกเลิกกลุ่ม หรือคณะบุคคลหรือองค์กรที่ไม่ผ่านการเลือกตั้ง)
3. * จัดระบบค่าจ้าง ความปลอดภัย สวัสดิการ สิทธิทางการเมือง ตามที่บัญญัติไว้ในหลักกฎหมายและบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ
* กระทรวงแรงงานต้องจัดการกระบวนการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด / จัดระบบคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน
* กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ขยายวงเงินให้กับผู้ถูกเลิกจ้าง ปรับปรุงเงื่อนไขให้เหมาะสมและสอดคล้องในการรับสิทธิประโยชน์ให้ลูกจ้างมี สิทธิ กรณีมีการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายเงินค่าชดเชย
4. สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนต้องได้รับการตอบสนองครบถ้วน การเตรียมการจัดตั้งโรงพยาบาลสำหรับผู้ประกันตน
5. * พัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับการลงทุน และการผลิต
* พัฒนาผีมือแรงงานให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี
* จัดทำแผนแม่บทว่าด้วย การทำงานในต่างประเทศ / การใช้แรงงานประเภทต่าง ๆ
* เสริมทักษะด้านการใช้ภาษาพูดและเขียน
6. * ให้ตรากฎหมายจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยขึ้น โดยรัฐต้องรับผิดชอบเป็นการสำคัญ
7. * ให้มีสถานดูแลเด็กอ่อน โดยการทำข้อตกลงระหว่างสถานประกอบการกับลูกจ้าง และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุน
8. * ให้ตรากฎหมายแรงงานต่างด้าว
* สิทธิประโยชน์ให้ได้รับเท่ากับแรงงานไทยในภาคการผลิตเดียวกัน
* จัดตั้งหน่วยงานขึ้นรับผิดชอบอย่างชัดเจน /ควบคุมดูแลไม่ให้เกิดกระทำผิด
9. * นำที่ดินที่ถือครองและไม่ทำประโยชน์ มาจัดสรรให้กับผู้มีรายได้น้อย
10. * ต้องมีที่อยู่อาศัยลดอัตราดอกเบี้ย เพิ่มสิทธิในการเป็นเจ้าของ
* ขยายโครงการรัฐสวัสดิการ
11. *กำหนดแผนปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ใช้แรงงานและประชาชน
12. * เร่งดำเนินการโครงการเม็กกะโปรเจ็ก เช่น ขุดท่าเรือน้ำลึก แลนบิด โครงการผันน้ำโขง ฟื้นฟู 26 ลุ่มน้ำ รถไฟรางคู่
13. * ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร ทำโครงการพลังงานทดแทนทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานถ่านหิน
* โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตรและรักษาสภาพแวดล้อม
14. สนับสนุนสถาบันวิจัยแห่งชาติร่วมเอกชนพัฒนาสินค้า
15. * ให้กระทรวงแรงงานและการท่องเที่ยวร่วมดำเนินการโดยมีคณะกรรมการร่วม
* สร้างความเชื่อมั่นต่อต่างชาติ
16. *กฎหมายแข่งขันทางการค้า ต้องใช้อย่างเคร่งครัด กำหนดกระบวนการขึ้น โดยกระทรวงแรงงานและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
17. * สร้างวัฒนธรรมแลกเปลี่ยนโดยผ่านนักศึกษา เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน และนายจ้าง
18. * พัฒนาระบบคมนาคม เชื่อมทางขนส่งไป ลาว เวียดนาม จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น
* สร้างท่าเรือน้ำลึก และสายการบินขนส่งสินค้า
19. * การค้าเสรีมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลชุดพิเศษ
20. * จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเกษตรกรรม
21. * กำหนดการอุทธรณ์เรื่องภาษีให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 3 เดือน
22. * จัดระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีแผนแม่บทและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
23. * ส่งเสริมพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่องเป็นจริง
24. * กระทรวงแรงงานต้องร่วมมือกับกระทรวง ไอ ซี ที สำนักนายก รัฐสภา พัฒนาระบบและจัดตั้งโครงข่าวสื่อสารพื้นฐาน
* จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ โดยกระทรวงแรงงานดำเนินการ
25. * กำหนดแผนจัดการด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อมในสภาพปัญหาปัจจุบัน
* ให้รับสิทธิประโยชน์ตอบแทนตามมติต่างๆ โดยการประสานงานของกระทรวงแรงงาน กระทรวงทรัพยากรฯ รัฐสภา สำนักนายก
26. * กำหนดแผนรับผู้ใช้แรงงานที่ผ่านการฝึกฝนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
* โครงสร้างการศึกษาของประเทศต้องกำหนดมาตรฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
27. * เร่งรัดการจัดตั้งกองทุนเพื่อสร้างนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
28. * ด้านการต่างประเทศดำเนินการตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัดและให้มีการประชุมร่วมหลายฝ่ายขึ้น
29. * ยกเลิก พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
* รวบรวมจัดทำประมวลกฎหมายแรงงาน โดยจัดตั้งคณะกรรมการร่วม หลายฝ่าย
30. เร่งรัดจัดตั้งองค์กรปฏิรูปกฎหมาย ภายใน 3 เดือนและจัดประชุมหลายฝ่าย
31. * ยกเลิกกฎหมาย พรบ. พรก. ที่ปิดกั้นข้อมูล ข่าวสาร
* ผู้ใช้แรงงานต้องใช้สื่อของรัฐได้
* รัฐและสถานประกอบการต้องร่วมกันจัดตั้งศูนย์กลางรับข้อมูลข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต
32. * ยกเลิก กฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่ควบคุมสื่อของรัฐให้จำกัดอยู่ในเฉพาะเพื่อความมั่นคง
33. * ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และนำรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาบังคับใช้และปรับปรุงแก้ไข
* ยกเลิกกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน
โดย สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย
สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
สหพันธ์แรงงานอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย
สหพันธ์แรงงานกระดาษและการพิมพ์แห่งประเทศไทย
สิงหาคม 2554
สภาองค์การให้สมาชิก6หมื่นคนส่งแบบสำรวจเรื่องค่าครองชีพ เพื่อสนับสนุนนโยบายค่าแรง300
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น