บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปฏิรูปความเป็นเจ้าของทรัพยากรแร่ร่วมกัน

ยากยิ่งจะหาความยุติธรรมได้ในช่วงชีวิตวีรชนคนกล้าที่หาญต่อกรกับความ อยุติธรรมปกป้องผืนแผ่นดินถิ่นเกิดจากประมวลกฎหมาย และแนวนโยบายรัฐที่ผสานกับอำนาจทุนตราตักตวง กอบโกย แก่งแย่งทรัพยากรแร่ที่เป็นทุนชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชน เพราะจวบจนสิ้นลมหายใจจากอิทธิพลเถื่อนผู้หาญกล้าเป็นปฏิปักษ์อำนาจก็ยังยาก จะประสบความยุติธรรมเบื้องปลาย ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะเจ้าหน้าที่รัฐลุอำนาจหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ยาม กลุ่มทุนหนุนหลังเท่านั้น ทว่าปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญยังเป็นโครงสร้างสังคมอยุติธรรมที่สัมพันธภาพทาง อำนาจระหว่างรัฐ ทุน กับประชาชน ไม่ใกล้เคียงกันสักนิดด้วย

แม้ผลต่อต้านคัดค้านโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหมืองแร่ หลายคราจะไม่ถึงขั้นภาคประชาชนจบชีวิต แต่ความพ่ายแพ้แก่รัฐที่บริหารจัดการทัพยากรแร่โดยเน้นแต่ผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจตามฐานคิดหลักที่มองว่า ‘ทรัพยากรแร่เป็นของรัฐ’ มีมูลค่าต้องเร่งขุดขึ้นมาทำประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยไม่เคยคำนึงถึงผลกระทบ ด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และสังคมที่จะตามมา หรือมีบ้างก็เพียงกำหนดมาตรการบรรเทาแก้ไขด้วยเทคโนโลยี หรือจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น และเยียวยาชดเชย ก็ทำให้หลายหลากชุมชนแตกพ่ายด้านวัฒนธรรม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม จนอยู่อาศัยทำมาหากินไม่ได้

ดังกรณีวิกฤตการณ์การรั่วไหลของสารแคดเมียมที่แม่ตาว จ.ตากจากการทำเหมืองแร่สังกะสี ลุ่มน้ำคลิตี้ตอนล่างจากการทำเหมืองตะกั่ว และการทำเหมืองทองคำใน จ.พิจิตร หรือความขัดแย้งรุนแรงจากโครงการทำเหมืองโพแทสใน จ.อุดรธานี และอีกมากกรณีขัดแย้งที่ส่วนใหญ่ตั้งต้นจากฐานคิดกอบโกยทรัพยากรแร่ที่มีค่า จากแม่ธรณีโดยไม่เคยคำนึงถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้คนในท้องถิ่นแต่อย่าง ใด ไม่ต้องกล่าวถึงกระบวนการประชาพิจารณ์ (public hearing) ที่การคัดเลือกผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) ไม่กระจายไปตามสัดส่วนแท้จริง ให้ข้อมูลดีด้านเดียว ที่สำคัญผู้บริหารมักผลักดันโครงการให้สำเร็จก่อนทำประชาพิจารณ์จนไม่ได้นำ ข้อคิดเห็นที่แตกต่างของการประชาคมมาประกอบการตัดสินใจใดๆ

ด้วยเหตุนี้การประชาพิจารณ์ที่ไม่ได้คำนวณเหตุผลและผลประโยชน์ของเสียงที่ แตกต่างไว้ในสมการการตัดสินใจว่าจะเดินหน้าหรือยับยั้งโครงการจึงอ้างความ ชอบธรรมไม่ได้ ในทำนองเดียวกันการคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยไม่ได้ประเมินต้นทุน สุขภาพและธรรมชาติที่สูญเสียไป ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศหรือมลพิษสิ่งแวดล้อม ภายใต้กลไกกำกับดูแลการพัฒนาทรัพยากรแร่ที่ด้อยประสิทธิภาพ ก็ทำให้ไม่เพียงจะประเมินความคุ้มค่าของโครงการเหมืองแร่ผิดพลาดทั้งในส่วน ผลตอบแทนและค่าใช้จ่าย หากแต่ยังละทิ้งทางเลือกในการเก็บแร่ไว้ก่อนเพื่อจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกมาก ในอนาคตด้วย

การที่รัฐไม่ได้ประเมินต้นทุนค่าเสียโอกาส (opportunity cost) ทำให้สูญเสียผลตอบแทนที่ดีที่สุดจากการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่มี อยู่อย่างจำกัดด้วยการส่งออกแร่เป็นวัตถุดิบราคาถูก แทนที่จะผลิตเพื่อใช้ประโยชน์ในประเทศเป็นหลักและส่งออกแร่ที่แปรรูปแล้ว เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมๆ กับการปฏิรูปนโยบายจัดเก็บค่าภาคหลวงให้เหมาะสมกับมูลค่าและประโยชน์ที่ ประเทศชาติพึงจะได้รับมากกว่านี้

กล่าวอีกนัยหนึ่งการส่งออกแร่ราคาถูกขายต่างประเทศเท่ากับส่งออกต้นทุน สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และสังคมที่ประเทศชาติต้องสูญเสียไป และในเม็ดเงินรายได้ของรัฐเกือบ 130 ล้านบาทจากการเก็บค่าภาคหลวงแร่ตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 ทั้งแร่ทองคำ แร่เงิน แร่ทองแดง และแร่ชนิดอื่นๆ ประจำไตรมาสที่สามของปีนี้แม้จะเป็นตัวเลขที่แสดงว่าอุตสาหกรรมเหมืองแร่ สร้างผลประโยชน์เศรษฐกิจมหาศาล หากในทางกลับกันก็ไม่อาจลบเลือนภาพผลกระทบสาหัสต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ ท้องถิ่นต้องแบกรับได้!

ดังนั้นเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยยังคงใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรแร่ได้อย่างคุ้มค่า จึงจำเป็นที่รัฐจะต้องปรับฐานคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรแร่โดยยึด หลักความเป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างรัฐ ท้องถิ่น และสาธารณะ รวมทั้งนำต้นทุนทางธรรมชาติ สังคม และค่าเสียโอกาสมาประเมินความคุ้มค่าของการทำเหมืองแร่ทุกชนิดที่จะต้องไม่ ทำลายทุนฐานที่มีอยู่เดิม ตามข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ด้วยฐานคิดหลักและกฎหมายที่ถ่ายโอนความเป็นเจ้าของแร่แต่ผู้เดียวของรัฐมา เป็นเจ้าของทรัพยากรแร่ร่วมกันระหว่าง ‘รัฐ-ท้องถิ่น-สาธารณะ’ จะสร้างความเป็นธรรมทางสังคมได้

ด้วยในความไม่เป็นธรรมทางสังคมมีมิติการเข้าไม่ถึงข้อมูลและทรัพยากรเป็น สำคัญ ข้อเสนอ คปร.ที่ให้รัฐดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 57 ด้วยการเปิดเผยแหล่งแร่และศักยภาพแหล่งแร่ต่อชุมชนท้องถิ่นเป็นการสาธารณะ และปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค 2 ที่พิจารณาให้โครงการเหมืองแร่ที่รวมถึง ‘เหมืองแร่ทองคำ-เหมืองแร่ใต้ดิน’ เป็นหนึ่งในโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง รวมถึงออกกฎหมายสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่จัดการทรัพยากรแร่ด้วย นั้นจะทำให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ไม่สามารถกอบโกยทรัพยากรมีค่าของท้องถิ่น โดยทิ้งผลกระทบเลวร้ายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้อีกต่อไป

ด้วยในแนวทางเช่นนี้ท้องถิ่นจะมีอำนาจกำกับกิจการเหมืองแร่ให้มีความรับผิด ชอบต่อสังคมสูงขึ้นได้ในลักษณะของ ‘Mining Watch’ ไม่เท่านั้นข้อเสนอ ‘หลักการความเป็นเจ้าของทรัพยากรแร่ร่วมกัน’ ก็เป็นแรงผลักดันสำคัญให้รัฐต้องปรับกระบวนการขอประทานบัตรและอาชญาบัตร โดยจัดตั้งระบบรับรองมาตรฐานการดำเนินการสำหรับพิจารณาต่ออายุสัมปทานหรือ การขออาชญาบัตร หรือประทานบัตรใหม่ โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และภาคประชาสังคมในท้องถิ่น ร่วมตรวจสอบทั้งในระดับพื้นที่และนโยบาย ภายในขณะเดียวกันก็ให้แบ่งรายได้จากทรัพยากรแร่อย่างเป็นธรรมระหว่างรัฐกับ ท้องถิ่น นำรายได้จากทรัพยากรแร่ไปใช้ในกิจการที่เป็นการลงทุนที่ให้ผลประโยชน์ระยะ ยาว และกระจายผลประโยชน์จากทรัพยากรแร่ให้ทั่วถึงทั้งประเทศ เช่น การออมระยะยาว และการลงทุนอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ

นอกจากนั้นก็จัดตั้งกองทุนเยียวยาหรือฟื้นฟูพื้นที่โดยเรียกเก็บเงินประกัน ความเสี่ยงจากกิจการเหมืองแร่เหมือนดังหลายประเทศเพื่อเป็นกลไกแก้ไขปัญหาผล กระทบจากการทำเหมืองแร่ด้วย

ดังนั้นความเป็นเจ้าของทรัพยากรแร่ร่วมกันระหว่างรัฐ ท้องถิ่น และสาธารณะ จะเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างความเป็นธรรมทางสังคม เพราะนอกจากจะทลายแบบแผนปฏิบัติของรัฐที่ค่อยหาทางเยียวยาบรรเทาภายหลังจาก ต้นทุนสังคม (social cost) ทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเสียหายรุนแรงจากการทำเหมืองแร่แล้ว ยังไม่ต้องเพิ่มรายชื่อวีรชนพลีชีพปกป้องผืนแผ่นดินถิ่นเกิดจากกลุ่มทุนที่ ใช้กฎหมายและนโยบายรัฐเป็นเครื่องมืออีกด้วย เพราะการคัดค้านโครงการเหมืองแร่กระทำได้ตั้งแต่ต้นธารจากการมีส่วนร่วมของ ผู้คนในท้องถิ่นในฐานะเจ้าของแร่ตัวจริง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง