บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

...ด่วน ! ค่าแรง300บาทพ่นพิษทำEU.ส่อตัดGsp.ไทย.....

 by นานาทัศนะ
หวั่นนโยบายค่าแรง300บาททำให้ขีดความสามารถแข่งขันลดลง
ค่าแรง 300 บาทลามการค้า พาณิชย์หวั่นอียูมั่วตัด GSP อ้างรายได้คนไทยดีขึ้น        (ไทยโพสต์)

          "พาณิชย์" ห่วงปัญหาเพิ่มค่าแรงงาน 300 บาท เงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ทำสัดส่วนรายได้ประชากรต่อหัวสูงขึ้น หวั่นสหภาพยุโรปใช้เป็นข้ออ้างตัดจีเอสพีสินค้าไทย ทำขีดความสามารถแข่งขันลดลง ด้าน "สุรศักดิ์" แนะผู้ประกอบการเร่งปรับตัว เชื่อสิทธิพิเศษทางภาษีจะลดลง เหตุสหรัฐ-อียูเจอปัญหาหนี้สาธารณะรุมเร้า

          แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นโยบายของรัฐบาลใหม่ที่กำหนดให้ขั้นค่าแรงงานขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ และการเพิ่มเงินเดือนปริญญาตรีเป็นเดือนละ 15,000 บาทนั้น จะ ทำให้ภาพรวมรายได้ประชาชาติต่อหัวของไทยอยู่ในเกณฑ์สูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อสถานะทางการค้าระหว่างประเทศของไทย โดยเฉพาะสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (จีเอสพี) ของสหภาพยุโรป ที่มีการปรับระเบียบจีเอสพีโครงการใหม่ ระบุการตัดสิทธิเป็นรายประเทศ จะพิจารณาตามสัดส่วนรายได้ต่อหัว

          ทั้งนี้ ตามเกณฑ์นี้ หากรายได้ต่อหัวประชากรไทยเพิ่มขึ้น จะทำให้ไทยถูกตัดสิทธิที่จะได้รับจีเอสพีไปโดยทันที ทั้งที่การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-อียู ยังไม่ได้เริ่มต้นดำเนินการ และอาจไม่ได้ข้อสรุปภายใน 2 ปีที่ไทยได้ต่ออายุจีเอสพี หรือมีกำหนดสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.2556 ทำให้ความสามารถแข่งขันการส่งออกไทยยุโรปของไทยจะเสียแต้มต่อกับคู่แข่ง ทันที

          "การ เพิ่มรายได้ประชากรในประเทศทันที อาจทำให้ไทยถูกจัดเป็นประเทศมีรายได้สูงการช่วยเหลือแบบให้เปล่า อย่างจีเอสพีนั้น ไทยจะไม่ได้รับอีกต่อไป ทั้งที่ผู้ส่งออกไทยไม่ได้มีแต้มต่ออื่นมาชดเชย เช่น เอฟทีเอ ทำให้หลัง 2 ปีจากนี้หากผู้ประกอบการไทยยังไม่ปรับตัวหรือการเจรจาเอฟทีเอยังไม่แล้ว เสร็จ การส่งออกไปตลาดยุโรปของไทยอาจประสบปัญหาขีดความสามารถแข่งขันลดลงได้" แหล่งข่าวระบุ

          ด้านนายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า เศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐที่กำลังประสบปัญหาหนี้สาธารณะสูง จะทำให้การพิจารณาให้สิทธิจีเอสพีจากนี้ไม่ง่ายเหมือนที่ผ่านมา และไทยอาจเป็นประเทศแรก ๆ ที่ถูกพิจารณาตัดสิทธิ ทำให้ผู้ประกอบการควรหันเพิ่มศักยภาพสินค้าและความสามารถการแข่งขันผ่านการ พัฒนาสินค้าให้มูลค่าเพิ่มเพื่อลดการแข่งขันด้านราคาที่จะต้องอาศัยแต้มต่อ ด้านอัตราภาษี ซึ่งไทยยังจำเป็นต้องรักษาฐานลูกค้าและตลาดนี้ไว้ เพราะแม้เศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐจะมีปัญหา แต่จากสัดส่วนการส่งออกไปยุโรปแต่ละปีมีเกือบ 10% ของการส่งออกทุกตลาด และมีมูค่ามากกว่า 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

          ขณะที่ตลาดสหรัฐมีสัดส่วนและมูลค่าการส่งออกใกล้เคียงกันในส่วนการดำเนินการ ของภาครัฐเพื่อรักษาขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยนั้น ได้มีการผลักดันการเจรจาเอฟทีเอ และการใช้เวทีการค้าระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่มีอยู่เพื่อให้ผู้ส่งออกไทยมีแต้มต่อด้านภาษีในตลาดยุโรปอย่างต่อเนื่อง ต่อไป

          ทั้งนี้ ปี 2553 ไทยใช้สิทธิจีเอสพีเพื่อการส่งออกไปยุโรป 7,800 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 59.36% ของการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิทั้งหมด สินค้าที่ใช้สิทธิสูง ได้แก่ ยานยนต์ขนส่ง (ปิกอัพและรถแวน) เครื่องปรับอากาศ ถุงมือยาง ยางนอกรถยนต์ สับปะรดกระป๋อง อาหารปรุงแต่งจากกุ้ง กุ้งสด/แช่เย็น/แช่แข็ง เป็นต้น



ขอขอบคุณข้อมูลจากไทยโพสต์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง