บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ดีใจจัง...หนูมีบัตร!

 หากยังจำกันได้ เมื่อเราอายุ 15 ปีบริบูรณ์ ในช่วงเวลานั้นไม่ว่าใครก็ต้องตื่นเต้นกับการที่จะได้มีโอกาสไปถ่ายรูปทำ บัตรประชาชนของตัวเองเป็นครั้งแรก
แต่ในวัน 10 ก.ค.2554 ที่จะมาถึงนี้นั้น ได้กลายเป็นอีก 1 วันแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการเปลี่ยนกฎหมายเดิมที่มีมาช้านานอย่างการกำหนดให้คนไทยที่มีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปมาทำบัตรประชาชนใบแรก เปลี่ยนมาเป็นการกำหนดให้คนไทยเริ่มทำบัตรประชาชนใบแรกตั้งแต่อายุ 7 ขวบแทน
 ตามข้อกำหนดของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ระบุว่า  "บัตรประจำตัวประชาชน" เป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้บุคคลที่มีสัญชาติไทย เพื่อพิสูจน์ทราบและยืนยันตัวบุคคล เป็นหลักฐานชิ้นแรกที่จะนำไปสู่การมีสิทธิรับบริการต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน เช่น สิทธิในการรักษาพยาบาล เป็นต้น
ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัว ประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2546 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2554 มีสาระสำคัญ คือ การกำหนดอายุของบุคคลสัญชาติไทยที่จะต้องมีบัตร คือ ให้ผู้มีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์จะต้องยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน (กรณีผู้มีอายุระหว่าง 7 ปีบริบูรณ์จนถึงก่อนครบ 15 ปีบริบูรณ์ ให้ยื่นขอมีบัตรภายใน 1 ปี นับจากวันที่ 10 กรกฎาคม 2554 หรือหากมีความจำเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะขอขยายเวลาออกไปได้ การกำหนดให้บัตรมีอายุ 8 ปี การกำหนดบุคคลที่มีหน้าที่ยื่นคำร้องขอมีบัตร ขอมีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตร ของผู้ที่อายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ เป็นหน้าที่ของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งรับดูแล เป็นผู้ยื่นคำขอ แต่ไม่ตัดสิทธิบุคคลที่จะยื่นคำขอด้วยตนเอง
ในการกำหนดโทษการยื่นคำขอมี บัตรเกินกำหนด กรณีขอมีบัตรครั้งแรก ได้สัญชาติไทย ต่ออายุบัตร บัตรหาย ชำรุด เปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล ไม่ยื่นขอมีบัตรภายใน 60 วัน จะมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท และกรณีผู้ถือบัตรไม่มีบัตรแสดงเมื่อพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ ผู้ถือบัตรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท รวมทั้งกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม กรณีทำบัตรผู้ได้รับการยกเว้น ไม่เสียค่าธรรมเนียม, ทำบัตรหาย ชำรุด แก้ไขชื่อตัว-ชื่อสกุล 100 บาท, ออกใบแทน 10 บาท และขอตรวจคัดสำเนา 10 บาท
เราได้รายละเอียดภาพที่ ชัดเจนจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยคุณจักรี ชื่นอุระ ผู้อำนวยการสำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้เปิดเผยรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบทะเบียนราษฎรครั้งประวัติ ศาสตร์ของไทยว่า ที่มาในการทำบัตรประชาชนให้เด็กมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ได้ทำบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกโรค ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ซึ่งปัญหาการใช้บัตรทองในขณะนั้นคือ คือ เด็กทำบัตรหาย บัตรหมดอายุ รวมทั้งการทำบัตรเหล่านั้นไม่มีรูปยืนยันเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของสิทธิ์ เหมือนบัตรประชาชน ต่อมาจึงได้มีการผลักดันให้กระทรวงมหาดไทยเสนอให้ทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ แก่เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เพื่อให้สามารถยืนยันตัวบุคคลได้ ซึ่งการทำบัตรนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด เพราะฐานข้อมูลตรงนี้ก็มีระบบจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่เกิดอยู่แล้ว
 ในช่วง เวลาราวปี 2546 หลังจากที่ได้มีการส่งเรื่องเข้าสภาแล้ว ก็เกิดเหตุการณ์ยุบสภาเกิดขึ้นเสียก่อน จนกระทั่งในรัฐบาลชุดล่าสุดนี้ การนำเรื่องการทำบัตรประชาชนให้คนตั้งแต่อายุ 7 ขวบขึ้นไป ก็ได้รับการอนุมัติจากการประชุม ครม.ครั้งสุดท้าย ให้กฎหมายนี้ถูกประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 11 พ.ค.54 รวมทั้งสามารถบังคับใช้ได้ในทันทีในวันที่ 10 ก.ค.54 ซึ่งจากการที่ปีนี้เป็นปีแรกที่เริ่มต้นการใช้กฎหมายนี้ ทำให้มีเด็กอายุ 7-14 ปี จำนวน 8 ล้านคน กลายเป็นกลุ่มคนกลุ่มแรกที่อยู่ในช่วงที่ต้องดำเนินการทำบัตรประชาชนใบแรก
 “บัตร ประจำตัวประชาชนที่เด็กต้องทำนั้นก็แบบเดียวกับบัตรของผู้ใหญ่ ไม่มีสิ่งใดแตกต่างกันเลย นอกจากคำนำหน้าที่เป็น ด.ช. หรือ ด.ญ. เท่านั้น ในด้านประโยชน์ ก็จะสะดวกในการใช้แสดงตนเข้ารักษาพยาบาลกับทางรัฐฟรี โดยไม่ต้องพกสูจิบัตรหรือทะเบียนบ้านมาแสดง การขอสิทธิประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต อย่างการแสดงสิทธิ์การขอรับแท็บเลตกับทางรัฐบาล ที่บอกว่าจะแจกฟรีให้เด็ก รวมถึงการป้องกันปัญหาการสวมสิทธิ์จากเด็กต่างด้าว เพราะในวันนี้พวกเด็กๆ เขาไม่มีบัตรอะไรที่มีรูปถ่ายไว้แสดงตนที่เป็นทางการ คงจะดีกว่าถ้าจะมีบัตรสักใบที่เป็นการแสดงตัวเขา ส่วนการทำบัตรนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย แค่เอกสารครบ ทำครั้งเดียวก็ใช้ได้ยาวถึง 8 ปีเลย”
ส่วนปัญหาหน้าตาของเด็กที่อาจจะ อยู่ในช่วงที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว รูปอาจจะเปลี่ยนไม่ตรงกับตัวจริงมากนัก ผู้อำนวยการสำนักบริหารทะเบียน ตอบข้อข้องใจนี้ว่า ตรงนี้เรามีการทำฐานข้อมูลในแบบเดียวกับผู้ใหญ่ ที่ไม่เพียงแต่มีการถ่ายภาพ แต่จะให้ลงบันทึกลายนิ้วมือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ ทั้งซ้ายและขวา ณ จุดนี้จะสามารถยืนยันตัวตนคนคนนั้นได้
"คนเราแม้ใบ หน้าจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ลายนิ้วมือเราจะไม่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งปัญหาในด้านวุฒิภาวะในการเก็บรักษาบัตรของเด็กๆ ที่หลายฝ่ายมองกันว่ายังมีไม่มากพอที่จะเก็บรักษาได้ จุดนี้หากเกิดสูญหายขึ้นมาก็เพียงแค่ไปทำบัตรใหม่ที่จุดรับบริการเท่านั้น เอง"
 ผอ.สำนักบริหารทะเบียน ยังบอกต่อด้วยว่า การมาทำบัตรครั้งแรกที่ต้องมีการถ่ายรูป ประกอบกับการยืนยันตัวบุคคลที่ต้องใช้สูจิบัตร โดยในการที่ต้องยืนยันตัวบุคคลได้ดีที่สุดนอกจากใช้เอกสารสูจิบัตรแล้ว จึงต้องอาศัยตัวบุคคล ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ครู อาจารย์ มาให้การรับรอง ฉะนั้นการที่จะนำเด็กมาทำบัตรประชาชนได้ดีที่สุด คือ การมาทำบัตรเป็นหมู่คณะกับทางโรงเรียน เพราะครูประจำชั้นจะสามารถเป็นคนรับรองได้ดีที่สุดว่าเด็กคนไหนชื่ออะไร อีกทั้งเด็กที่อยู่ในกลุ่มที่ต้องทำบัตรกว่า 100 เปอร์เซ็นต์นั้น เป็นเด็กที่อยู่ในระหว่างการศึกษากับทางโรงเรียน
 ด้วยสาเหตุนี้ ในช่วงแรก กรมการปกครองจึงได้ประสานไปยังจังหวัด แล้วจึงให้ทางจังหวัดประสานต่อไปยังอำเภอ เพื่อให้ทางอำเภอได้ประสานต่อไปยังโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ของโรงเรียนนั้น เพื่อให้ทางโรงเรียนได้จัดส่งนักเรียนพร้อมทั้งใบสูจิบัตรของนักเรียนแต่ละ คนและครูประจำชั้นในการยื่นยันตัวบุคคลมาทำบัตรประจำตัวประชาชนในวันเสาร์ ซึ่งจะเป็นการสะดวกในการทำบัตร และสะดวกในการจัดระเบียบของเด็กในการเข้ารับบริการ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำบัตรที่จะต้องปะปนกับผู้ใหญ่ในวันและเวลาราชการ นอกจากนี้ ในช่วงต่อไปยังได้จัดให้มีชุดเคลื่อนที่หรือชุดโมบายลงพื้นที่ไปทำบัตร ประชาชนให้กับนักเรียนโดยตรงถึงโรงเรียน
 “ตรงจุดนี้อยากจะแจ้งผู้ปกครอง ให้ทราบโดยทั่วกันด้วยว่า ในการทำบัตรไม่ต้องรีบแห่กันไปทำ นอกเสียจากว่ามีเรื่องเร่งด่วนจริงๆ ก็สามารถไปทำบัตรที่อำเภอได้วันและเวลาปกติเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่นอกเหนือจากนี้ ทางเราจะอำนวยความสะดวกให้ โดยจะเป็นฝ่ายประสานงานไปทางจังหวัด อำเภอ และโรงเรียนในการกำหนดวันให้เด็กเข้ามาทำบัตร หรือจัดชุดโมบายลงพื้นที่ไปทำบัตรด้วยตัวเอง”
ส่วนศักยภาพในการทำบัตร ของเครื่องทำบัตรที่มีอยู่ของแต่ละอำเภอจะอยู่ที่ 100 ใบ ต่อ 1 วัน ต่อ 1 เครื่อง ในกรณีนี้ ในบางอำเภอหรือบางเขตที่ใหญ่ ก็จะมีเครื่องทำบัตรมากกว่า 1 เครื่อง โดยหากเปรียบเทียบการทำบัตรให้เด็กเฉพาะวันเสาร์ในโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้มีหน่วยงานทั้งเขต อำเภอ และเทศบาลที่มีจุดรับทำบัตรทั้งประเทศจำนวน 1,078 แห่ง อัตราการทำบัตรแห่งละ 100 ใบ ใน 1 วันจะอยู่ที่ราวๆ 100,000 ใบ หรือปีละ 5 ล้านใบ ในกรณีนี้ยังไม่รวมบางพื้นที่ที่มีเครื่องทำบัตรมากกว่า 1 เครื่อง และชุดโมบายที่จะลงพื้นที่ไปทำบัตรให้ถึงโรงเรียนในวันปกติ
 การเตรียม ตัวและความพร้อมอื่นๆ กรมการปกครองเองก็ได้แจ้งให้ทุกจุดทำบัตรทั่วประเทศได้ปรับแก้อุปกรณ์การทำ บัตร เพื่อรองรับการเข้ามาทำบัตรของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับฉากหลังจาก 100-195 ซม. มาเป็น 50-195 ซม. ปรับขาตั้งกล้องจากที่เป็นแบบสั้นวางบนโต๊ะ ก็เปลี่ยนมาเป็นแบบขายาวที่ใช้วางบนโต๊ะ รวมทั้งในด้านความพร้อมของจำนวนบัตร ขณะนี้มีบัตรอยู่ในการกักเก็บพร้อมใช้งานทันทีแล้วจำนวน 10 ล้านใบ พร้อมทั้งกำลังทยอยมาอีก 26 ล้านใบ ฉะนั้นมั่นใจได้ว่าเด็กจะได้รับบัตรที่มีคุณภาพดีครบถ้วนทุกคน และไม่ต้องมาคอยพกบัตรเหลืองอย่างแน่นอน
 มาดูความเห็นของน้องๆ หนูๆ และผู้ปกครองกันบ้าง จากการที่เด็กๆ จะได้มีโอกาสทำบัตรประชาชนใบแรก เริ่มที่ น้องโปลิส-ด.ช.เอกสิทธิ์ สงศรีอินทร์ อายุ 7 ปี นักเรียนชั้น ป.2 โรงเรียนผ่องสุวรรณวิทยา บอกว่า ตอนนี้มีแต่บัตรนักเรียน ก็อยากมีบัตรประชาชนบ้างจะได้เหมือนผู้ใหญ่ ถ้ามีจริงๆ ก็ต้องฝากแม่ไว้ เพราะกลัวจะทำบัตรหาย เคยทำกระเป๋าตังค์หายแล้ว แต่ถ้าจำเป็นต้องเอาบัตรประชาชนติดตัวไปด้วยก็ต้องเก็บไว้ให้ดีๆ  
 ขณะ ที่คุณแม่น้องโปลิส พรทิพย์ สงศรีอินทร์ แสดงความเห็นต่อการทำบัตรประจำตัวประชาชนของเด็กที่อายุครบ 7 ปีขึ้นไปว่า จะเป็นประโยชน์สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองถ้าลูกหลานมีบัตรประชาชน สะดวกเวลาแสดงสิทธิรับบริการต่างๆ ของเด็ก ไม่ต้องถือสูจิบัตรมาให้ยุ่งยาก เวลาพาน้องขึ้นเครื่องบินก็ใช้บัตรนี้แสดงตัว หรือกรณีเด็กพลัดหลง ถ้ามีบัตรติดตัวอยู่จะช่วยให้ส่งคืนพ่อแม่ได้เร็วขึ้น เพราะมีชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ ก็ตั้งใจจะพาน้องโปลิสลูกชายไปทำบัตรในวันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคมนี้ ที่โรงเรียนวัดสุวรรณบำรุงราชวราราม อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เพราะทราบว่าจะมีหน่วยบริการจัดทำบัตรเคลื่อนที่มาให้บริการทำบัตร    
 น้อง บิ๊ว-ด.ญ.นันทิกานต์ บุญนาด อายุ 13 ปี นักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการลำลูกกา บอกว่า ดีใจที่จะได้ทำบัตรประชาชนเป็นครั้งแรก แล้วจะมีรูปตัวเองอยู่บนบัตรด้วย คิดว่าบัตรนี้เด็กจะใช้ประโยชน์ได้ เป็นบัตรแสดงเวลาไปติดต่อราชการ แต่ถ้ามีบัตรแล้วคงฝากผู้ปกครองดูแล ส่วนใหญ่เด็กจะมีแต่บัตรนักเรียนที่โรงเรียนออกให้
 เรียกได้ว่าพอกฎหมาย นี้ออกมา ทำให้คนไทยทั้งประเทศต้องเปลี่ยนความเข้าใจทั้งหมดเสียใหม่เลยในการทำบัตร ประชาชนใบแรก แต่พอเปลี่ยนแล้วจะดีหรือไม่ดีก็คงต้องปล่อยให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ต่อไป แต่ที่แน่ก็คือ ในปีนี้ เด็กไทยตั้งแต่อายุ 7 ขวบขึ้นไปจะมีบัตรประจำตัวประชาชนใบแรกกันแล้ว...  ////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
 ล้อมกรอบ
                                       ทำบัตรได้ที่ไหน?
การ เตรียมการทำบัตรประชาชนให้เด็ก กรมการปกครองอำนวยความสะดวกและแบ่งเบาภาระด้านเวลาและค่าใช้จ่ายของประชาชน ดังนี้ ในการทำบัตรประชาชนของน้องๆ ที่อยู่ในช่วงอายุ 7-14 ปี กรมการปกครองได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อรองรับกลุ่มบุคคลที่ต้องมีบัตรตามกฎหมายบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่ ด้วยการให้บริการเชิงรุก โดยสำนักบริหารการทะเบียน ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค 9 แห่ง และศูนย์บริหารการทะเบียนภาค สาขาจังหวัด 77 ศูนย์ จัดหน่วยบริการจัดทำบัตรเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ออกไปให้บริการจัดทำบัตรให้กับนักเรียน นักศึกษา ตามสถานศึกษาต่างๆ เดือนละ 3 ครั้ง เริ่มดำเนินการทั่วประเทศ รวมทั้งยังได้จัดวันและเวลาที่เหมาะสมในช่วงวันเสาร์ เชิญโรงเรียนเข้ามาทำบัตรประชาชนที่เขตหรืออำเภอด้วย โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.2554 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 10 ก.ค.2555
สำหรับ ในวันที่ 10-11 กรกฎาคม จะเริ่มประเดิมการทำบัตรประชาชนให้แก่เด็กๆ ในสถานศึกษา 4 แห่ง คือ 1.รร.ราชบพิธ แขวงราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 2.รร.วัดสุวรรณบำรุงราชวราราม ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 3.รร.วัดกู้ (นันทาภิวัฒน์) ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี และ 4.รร.สันติวิทยา อ.เมืองฯ จ.เชียงราย.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง