Siam Intelligence
ประเด็นทางการเมืองที่ร้อนแรงที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ข้อเสนอ 4 ประเด็นของ “คณะนิติราษฎร์” กลุ่มอาจารย์ด้านกฎหมายจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่แถลงข่าวเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554 ในโอกาสครบรอบ 5 ปีเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน
ข้อเสนอนี้ถูกจับตาจากสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก เพราะหนึ่งในสี่ประเด็นที่นิติราษฎร์เสนอ มีประเด็น “การลบล้างผลจากการทำรัฐประหาร” โดยเฉพาะคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข (คปค.) ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2549เสียเปล่าและถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย ซึ่งสื่อหลายแหล่งมองว่านี่คือข้อเสนอ “ล้างผิดให้ทักษิณ” นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอของนิติราษฎร์ ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะประเด็นล้างผิดให้ทักษิณเท่านั้น ยังมีการถกเถียงกันในประเด็นอื่นๆ เช่น การแก้ไขมาตรา 112 หรือการแก้รัฐธรรมนูญด้วย
ผู้ร่วมถกเถียงข้อเสนอครั้งนี้ก็มีหลากหลายเป็นประวัติการณ์ ไม่ว่าจะเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิก คมช. คตส. สสร. สนช. สื่อมวลชน และนักวิชาการอีกมาก นี่ยังไม่รวมความเห็นจาก “บุคคลทั่วไป” ที่ไม่มีชื่อเสียงทางสังคมมากนัก ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นสภากาแฟหรือเฟซบุ๊ก
ไม่ว่าจะคัดค้าน สนับสนุน เห็นด้วย ตั้งคำถาม ข้อเสนอของนิติราษฎร์ครั้งนี้ ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง
เหตุเพราะข้อเสนอนี้จะเป็น “ตัวกระตุ้น” ให้คนไทยคิด ตั้งคำถาม อภิปราย ในข้อเสนอเหล่านี้อย่างเป็นวิชาการ หักล้างโต้เถียงกันด้วยเหตุผลและหลักการ ซึ่งย่อมจะมีผลดีต่อประเทศไทยในอนาคตอย่างแน่นอน
เราขอตั้งชื่อปรากฎการณ์นี้ว่า “นิติราษฎร์ Effect” ซึ่งถ้าเราอยู่ในอนาคตเบื้องหน้า แล้วหันมามองเหตุการณ์ช่วงเวลานี้ ก็คงจะเป็น “ช่วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์” อีกครั้งหนึ่ง
เพื่อให้ง่ายแก่การติดตาม SIU ขอนำเสนอ “เรื่องราว” และ “ปฏิกิริยา” ต่อข้อเสนอของนิติราษฎร์ จากบุคคลกลุ่มต่างๆ ในสังคมโดยสังเขป ผู้ที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมตามลิงก์ไปยังต้นฉบับที่ให้ไว้ และได้จัดทำ “แผนภาพ” (diagram) เพื่อช่วยทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของเรื่องราวด้วย
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา และอดีตหัวหน้าสำนักงานเลขาณุการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการ “สภาท่าพระอาทิตย์” ออกอากาศทางเอเอสทีวี เมื่อเช้าวันที่ 20 ก.ย. (ต้นฉบับจาก Manager) ว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์เป็นการลบล้างความผิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่อยู่ระหว่างการหลบหนีคดีเท่านั้น
นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ จัดรายการ “คนเคาะข่าว” ทาง ASTV เมื่อวันที่ 23 กันยายน (ต้นฉบับ) โดยบอกว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์นั้น “ตื้น แคบ อคติ ขาดความฉลาดและลุ่มลึก” และบอกว่านิติราษฎร์ไม่ควรใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่แถลงข่าว
นายถาวร เสนเนียม ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเงา” ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 19 กันยายนว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์อาจมีประเด็นแอบแฝง และรับงานจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมา นอกจากนี้ยังตั้งประเด็นว่าอาจารย์จากกลุ่มนิติราษฎร์ เตรียมจะเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ที่มีนายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธาน (ข่าวจาก MCOT)
นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตเลขาธิการ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เขียนบทความชื่อ การเมืองไทยกำลังแปลงร่างเป็นระบอบทักษิณใหม่ ลงพิมพ์ในเว็บไซต์ Prasong.com ของนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ อดีตบรรณาธิการในเครือมติชน เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 โดยบอกว่าความเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ เป็นหนึ่งในแผน 4 ขั้นของระบอบทักษิณใหม่ ซึ่งอยู่ในแผนส่วนที่ 4 คือสถาปนาระบอบใหม่ผ่านรัฐธรรมนูญใหม่ และใช้ คณะกรรมการองค์กรอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) และเครือข่ายนิติราษฎร์ ช่วยสนับสนุน
เปลว สีเงิน บรรณาธิการและคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ เขียนถึงในบทความ ”วรเจตน์เพื่อวรเชษฐาทักษิณ” เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554
ทางคณะนิติราษฎร์จึงประกาศจัดเวทีให้วิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอ และตอบข้อซักถามต่างๆ ในวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งคณะนิติราษฎร์ก็แถลงการณ์ชี้แจงเพิ่มเติมอีก 7 ประเด็น (อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็ม)
ด้านนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา ในฐานะรมว.ยุติธรรมเงา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ออกมาท้าให้ไปแสดงวิสัยทัศน์ต่อเวทีสาธารณะว่า คนอย่างนายวรเจตน์ไม่มีค่าพอ เพราะจากคำพูดและพฤติกรรมที่แสดงออกก็ชัดเจนว่าเป็นการทำเพื่อใคร และคิดหวังถึงประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร ทำไมต้องเสนอให้ล้างมลทินแค่ปี 49 ทำไมไม่ย้อนกลับไปทั้งหมดที่มีการปฏิวัติรัฐประหาร มีเจตนาที่จะช่วยคดีความของใครเป็นการเฉพาะหรือไม่ ถ้าอยากแสดงวิสัยทัศน์กับตนหรือพรรคประชาธิปัตย์จริง ก็ขอให้ไปบอกรัฐบาลให้จัดการแสดงวิสัยทัศน์ผ่านฟรีทีวี ตนพร้อมที่จะไป ขณะนี้สังคมต่างเคลือบแคลงว่า ข้อเสนอที่กลุ่มนิติราษฎร์เสนอมา โดยอ้างความเป็นนักวิชาการว่ามีความสุจริต ถูกต้องในความเป็นนักวิชาการหรือไม่อย่างไร (ข่าวจากเดลินิวส์)
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวเมื่อ 25 กันยายน 2554 ไม่ได้พูดถึงข้อเสนอของนิติราษฎร์โดยตรง แต่โจมตีความเคลื่อนไหวของฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และนายถาวร เสนเนียม โดยบอกว่ากลุ่มนิติราษฎร์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อไทย และบอกว่านายอภิสิทธิ์ไม่มีความกล้าไปเชิญหน้ากับคณะนิติราษฎร์ (ข่าวจากเดลินิวส์)
วันที่ 27 ก.ย. นายสัก กอแสงเรือง อดีต คตส.และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ส.ว.สรรหา ในฐานะนายกสภาทนายความ พร้อมคณะ เปิดแถลงการณ์ต่อกรณีของคณะนิติราษฎร์ โดยบอกว่าไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ครอบงำองค์กรอื่น (ข่าวจากเดลินิวส์)
นายสกลธี ภัททิยกุล ส.ส. กทม. เขต 4 และรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (บุตรชายของพลเอกวินัย ภัททิยกุล อดีตเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 26 กันยายน ว่ากลุ่มนิติราษฎร์ควรฟังเสียงส่วนรวม และจับตามองว่านิติราษฎร์อาจได้ปูนบำเหน็จได้ (ข่าวจาก Manager)
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตประธานกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญปี 50 (ส.ส.ร.) ให้สัมภาษณ์เมื่อ วันที่ 27 ก.ย. ว่าอาจารย์บางคนในกลุ่มนิติราษฎร์ ทำงานรับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณมาโดยตลอด และข้อเสนอมีจุดประสงค์เพื่อช่วยทักษิณคนเดียว (ไทยรัฐออนไลน์)
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เขียนแสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ @chaturon (รวบรวมโดยมติชนออนไลน์)
สุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปิน แห่งชาติ นักประวัติศาสตร์ โบราณคดี บรรณาธิการนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ในเครือมติชน แต่งกลอนตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน 25 กันยายน 2554 (ต้นฉบับจากมติชนออนไลน์)
ใบตองแห้ง คอลัมนิสต์อิสระ เขียนบทความ “ทางสองแพร่งนิติรัฐ” เผยแพร่ 27 ก.ย. 2554 บนเว็บไซต์ Voice TV ในประเด็นเรื่องความรู้ความเข้าใจของสื่อมวลชน
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์คัดค้าน “แถลงการณ์ของสภาทนายความ” ย้ำการรัฐประหารถือเป็นอาชญากรรมต่อประชาธิปไตยและความมั่นคงของรัฐ (เผยแพร่บนเว็บไซต์ประชาไท 28 ก.ย. 54)
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ตอบคำถามนักศึกษาผ่าน Facebook ส่วนตัว โดยเสนอคำถาม 15 ข้อให้ช่วยกันตอบ (นำเสนอโดยประชาไท และคมชัดลึก)
นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนแสดงความคิดเห็น ตั้งชื่อเรื่องว่า ‘สิ่งที่คล้ายกันพึงได้รับการปฏิบัติอย่างเดียวกัน แต่ไม่พึงปฏิบัติอย่างเดียวกันกับสิ่งที่ต่างกัน’ (สำเนาจาก คมชัดลึก และ Manager) บอกว่าชื่นชมความกล้าหาญของนิติราษฎร์ แต่ก็ตะขิดตะขวงใจในหลักการ และตรรกะในการนำเสนอของนิติราษฎร์
ทีมงาน SIU ขอขอบคุณข้อมูลจากทุกท่าน และนำมารวมไว้ในที่นี้ เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเด็นการสนทนาเรื่องข้อเสนอของนิติราษฎร์ (อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไป จะลงเฉพาะลิงก์ไปยังบทความต้นฉบับเท่านั้น)
ประเด็นทางการเมืองที่ร้อนแรงที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ข้อเสนอ 4 ประเด็นของ “คณะนิติราษฎร์” กลุ่มอาจารย์ด้านกฎหมายจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่แถลงข่าวเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554 ในโอกาสครบรอบ 5 ปีเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน
ข้อเสนอนี้ถูกจับตาจากสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก เพราะหนึ่งในสี่ประเด็นที่นิติราษฎร์เสนอ มีประเด็น “การลบล้างผลจากการทำรัฐประหาร” โดยเฉพาะคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข (คปค.) ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2549เสียเปล่าและถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย ซึ่งสื่อหลายแหล่งมองว่านี่คือข้อเสนอ “ล้างผิดให้ทักษิณ” นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอของนิติราษฎร์ ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะประเด็นล้างผิดให้ทักษิณเท่านั้น ยังมีการถกเถียงกันในประเด็นอื่นๆ เช่น การแก้ไขมาตรา 112 หรือการแก้รัฐธรรมนูญด้วย
ผู้ร่วมถกเถียงข้อเสนอครั้งนี้ก็มีหลากหลายเป็นประวัติการณ์ ไม่ว่าจะเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิก คมช. คตส. สสร. สนช. สื่อมวลชน และนักวิชาการอีกมาก นี่ยังไม่รวมความเห็นจาก “บุคคลทั่วไป” ที่ไม่มีชื่อเสียงทางสังคมมากนัก ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นสภากาแฟหรือเฟซบุ๊ก
ไม่ว่าจะคัดค้าน สนับสนุน เห็นด้วย ตั้งคำถาม ข้อเสนอของนิติราษฎร์ครั้งนี้ ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง
เหตุเพราะข้อเสนอนี้จะเป็น “ตัวกระตุ้น” ให้คนไทยคิด ตั้งคำถาม อภิปราย ในข้อเสนอเหล่านี้อย่างเป็นวิชาการ หักล้างโต้เถียงกันด้วยเหตุผลและหลักการ ซึ่งย่อมจะมีผลดีต่อประเทศไทยในอนาคตอย่างแน่นอน
เราขอตั้งชื่อปรากฎการณ์นี้ว่า “นิติราษฎร์ Effect” ซึ่งถ้าเราอยู่ในอนาคตเบื้องหน้า แล้วหันมามองเหตุการณ์ช่วงเวลานี้ ก็คงจะเป็น “ช่วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์” อีกครั้งหนึ่ง
เพื่อให้ง่ายแก่การติดตาม SIU ขอนำเสนอ “เรื่องราว” และ “ปฏิกิริยา” ต่อข้อเสนอของนิติราษฎร์ จากบุคคลกลุ่มต่างๆ ในสังคมโดยสังเขป ผู้ที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมตามลิงก์ไปยังต้นฉบับที่ให้ไว้ และได้จัดทำ “แผนภาพ” (diagram) เพื่อช่วยทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของเรื่องราวด้วย
แผนผังความสัมพันธ์ของ “ปฏิกิริยา” ต่อข้อเสนอนิติราษฎร์ (คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม)
หมายเหตุ: เพื่อไม่ให้บทความยาวจนเกินไป SIU จะขอคัดเฉพาะข้อความหรือคำพูดบางส่วนมาแสดงเท่านั้น (ตัวเน้นโดย SIU)ข้อเสนอนิติราษฎร์ รอบแรก 18 กันยายน 2554
เรื่องราวเริ่มขึ้นจาก กลุ่มนิติราษฎร์ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ใช้เวที “5 ปี รัฐประหาร 1 ปี นิติราษฎร์” เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554 แถลงข้อเสนอ 4 ประเด็นใหญ่ ได้แก่- ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
- แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
- กระบวนการยุติธรรมของผู้ต้องหาหรือจำเลย และเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายหลังรัฐประหาร
- ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
หลากหลายปฏิกิริยาต่อข้อเสนอของนิติราษฎร์ ในสัปดาห์แรก
กลุ่มนายทหารพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา และอดีตหัวหน้าสำนักงานเลขาณุการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการ “สภาท่าพระอาทิตย์” ออกอากาศทางเอเอสทีวี เมื่อเช้าวันที่ 20 ก.ย. (ต้นฉบับจาก Manager) ว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์เป็นการลบล้างความผิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่อยู่ระหว่างการหลบหนีคดีเท่านั้น
ได้อ่านแถลงการณ์ดังกล่าวแล้ว สรุปได้อย่างเดียวว่า เป็นไปเพื่อลบล้างคำพิพากษาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่อยู่ระหว่างหลบหนีคดีเท่านั้นพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์เมื่อ 23 กันยายน 2554 ว่าเป็นเสรีภาพในการคิด แต่จะทำอะไรต้องระมัดระวังว่าจะเกิดความแตกแยกขึ้นหรือไม่ (ข่าวจาก Nation)
…
อดีตหัวหน้าสำนักงานเลขาฯ คมช.กล่าวต่อว่า ถ้าหากมีการเดินหน้าตามคำแถลงของคณะนิติราษฎร์จะเกิดกลียุคขึ้นอย่างแน่นอนซึ่ง ไม่ใช่การรัฐประหาร เมื่อก่อนถ้ามีการบริหารประเทศผิดพลาด มันเป็นเรื่องของความชอบกับไม่ชอบของประชาชน แต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเรื่องของความรักกับความเกลียด หากทำตามคำแถลงของ คณะนิติราษฎร์คนที่รักทักษิณก็จะพอใจ แต่คนที่เกลียดทักษิณก็จะไม่พอใจ แล้วคนสองกลุ่มนี้จะออกมาปะทะกันเข้า อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศ จึงคิดว่าน่าจะทำให้เกิดกลียุคขึ้นอีกครั้งในแผ่นดินไทย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงข้อเสนอของนิติราษฎร์ที่ให้รัฐประหารเป็นโมฆะ พร้อมทั้งให้แก้ไขม.112 ของประมวลกฎหมายอาญาว่า เป็นแนวคิดของบรรดานักวิชาการ เพราะท่านมีเสรีในการคิด แต่เวลาจะพูดหรือทำอะไรก็ตาม ต้องระวังว่า จะทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นมาหรือไม่ ซึ่งวันนี้บ้านเมืองกำลังเดินทางไปสู่การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำ ท่วม ดังนั้นเรื่องอื่นๆ ขอให้หยุดไว้ก่อนได้หรือไม่ แล้วค่อยมาหารือกัน เพราะทุกอย่างต้องเป็นเรื่องกระบวนการยุติธรรม ต้องใช้กระบวนการยุติธรรมแก้ไขปัญหา การพูดโต้ตอบไปมาไม่เกิดประโยชน์ ตนก็ไม่โต้ตอบดีกว่ากลุ่มพันธมิตร-ผู้จัดการ
นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ จัดรายการ “คนเคาะข่าว” ทาง ASTV เมื่อวันที่ 23 กันยายน (ต้นฉบับ) โดยบอกว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์นั้น “ตื้น แคบ อคติ ขาดความฉลาดและลุ่มลึก” และบอกว่านิติราษฎร์ไม่ควรใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่แถลงข่าว
นายพิภพได้กล่าวในช่วงหนึ่งว่า ต้องเข้าใจว่าคณะนิติราษฎร์เป็นการรวมตัวของนักวิชาการไม่กี่คน แต่เผอิญเป็นอาจารย์นิติศาสตร์ธรรมศาสตร์ แล้วไปแถลงที่คณะ อันนี้ไม่ยุติธรรมเพราะภาพออกมาว่านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์เห็นด้วยกับข้อเสนอของกลุ่ม อันนี้ต้องระวัง ขอฝากถึงอาจารย์วรเจตน์ถ้าจะแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ไม่ควรแถลงการณ์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งเป็นกลุ่มนิติราษฎร์ก็ได้แต่ควรเสนอข้างนอก เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยไทยคลุมเครือในเรื่องนี้มาก ใช้ฐานะอาจารย์ ฐานะคณะ ฐานะของมหาวิทยาลัย ทำประหนึ่งเหมือนกับว่าเป็นฉันทานุมัติของมหาวิทยาลัย อันนี้ทำให้สังคมสับสนนายคำนูณ สิทธิสมาน คอลัมนิสต์ของเครือผู้จัดการ อดีตสมาชิก สนช. และ ส.ว. สรรหา เขียนบทความ “คณะนิติราษฎร์ รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม 2555 ??!” ในคอลัมน์ หน้ากระดานเรียงห้า บนเว็บไซต์ผู้จัดการ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2554 (ต้นฉบับ) พูดถึงประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ที่คณะนิติราษฎร์เสนอให้นำมาใช้เป็นฐานในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ประเด็นที่ 4 ของนิติราษฎร์) ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์
นายพิภพกล่าวอีกว่า ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ตื้น แคบ อคติ ขาดความฉลาดและลุ่มลึก ขัดแย้งกันในตัว เพราะเริ่มต้นการมองปัญหาก็มองผิดแล้ว ที่บอกว่ารัฐประหารปี 2549 เป็นการที่กระทำที่ผิดกฎหมาย ใช่เป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรนูญปี 2540 มีการบัญญัติไว้ว่าให้ประชาชนสามารถรวมกลุ่มต่อต้านการรัฐประหาร และนำไปสู่การฟ้องศาลได้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
ที่บอกว่ารัฐประหารเป็นการทำลายนิติรัฐประชาธิปไตย และยังเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งทางการเมืองต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ตน ขอถามอาจารย์วรเจตน์หน่อยว่าลืมไปแล้วหรือว่าต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริงมา จากคำพิพากษาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดีซุกหุ้นภาค 1 เมื่อตุลาการบางคนรับเงิน เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง เพราะพฤติกรรมที่ออกมาบอกมติของตุลาการก่อนเวลาปิดตลาดหุ้น ทำให้มีผลต่อตลาดหุ้นทันที เป็นการกระทำที่เห็นถึงความผิดชัดเจน
แม้คณะนิติราษฎร์ไม่ได้ระบุออกมาตรง ๆ ว่ารัฐธรรมนูญใหม่ควรจะต้องร่างอย่างนี้ แต่การหยิบยกให้นำแต่เฉพาะรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร 3 ฉบับ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ 27 มิถุนายน 2475 ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างออกไปจากรัฐธรรมนูญทุกฉบับ มาเป็นต้นแบบ โดยลดความสำคัญของรัฐธรรมนูญ 2540 ลงไป มันชวนให้คิดชวนให้คาดการณ์ได้ไม่ใช่หรือ ?นายประพันธ์ คูณมี อดีตสมาชิก สนช. และนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา ร่วมคุยในรายการ “คนเคาะข่าว” เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 ทาง ASTV (ต้นฉบับ) ว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์เป็นการล้มล้างกระบวนการยุติธรรม
คำถามก็คือคนพรรคเพื่อไทยทั้งในฟากสภาและฟากรัฐบาลที่ออกมาสนับสนุนน่ะ ได้อ่านแถลงการณ์คณะนิติราษฎร์ครบถ้วนแล้วหรือยัง ? และมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่คณะนักวิชาการที่ตั้งชื่อกลุ่มให้ล้อกับ “คณะราษฎร” คณะนี้ดีพอแล้วหรือยัง ??
นายประพันธ์กล่าวว่า แถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ ดูเจตนารมณ์แล้วไม่ใช่เพื่อราษฎร แต่หลักๆ ต้องการล้มล้างกระบวนการยุติธรรม ล้มล้างกระบวนการตรวจสอบยุคพ.ต.ท.ทักษิณ ผลพวงรัฐประหาร 19 กันยายน และรัฐธรรมนูญ 2550 ตนยังไม่เห็นมีประชาชนคนไหนตกเป็นเหยื่อของรัฐประหารเลย นอกจากมีราษฎรคนเดียวที่ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทีนี้คณะนิติราษฎร์มาเสนอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกประกาศ คปค. (คณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ประกาศให้การปฏิวัติเป็นโมฆะ คำวินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นไม่มีผล สรุปมันก็ไม่ได้มีผลดีต่อราษฎร ยกเว้น พ.ต.ท.ทักษิณคนเดียวพรรคประชาธิปัตย์
มีรัฐธรรมนูญไหนบ้างที่ไม่ได้มาจากปฏิวัติ แล้วจะเอาหลักอะไรเป็นที่ตั้ง เอา หลักของนายวรเจตน์ (ภาคีรัตน์) หรือ ทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นนายวรเจตน์ทำอะไรให้บ้านเมืองเลย บรรพบุรุษวางรากฐานมาก็จะมารื้อทั้งหมด แล้วบอกไม่นิรโทษอันนี้มันยิ่งกว่านิรโทษอีก
ถ้าเป็นนักกฎหมายที่ดีต้องคิดว่ามีผลกระทบราษฎรตรงไหน แม้กระทั่งเยียวยาพวกเผาบ้านเผาเมือง ควรเยียวยาผู้เสียหาย ไม่ใช่เยียวยาคนกระทำผิด ถ้าจะเอาหลักต้องเอาหลักยุติธรรมของบ้านเมือง แต่คนพวกนี้ไม่เคยคิดให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา กลับต้องการรื้อกฎหมายเพื่อช่วยคนผิด
นายตวงกล่าวว่า ข้อเรียกร้องของคณะนิติราษฎร์ขัดกับตัวเอง เช่น เรียกร้องให้ปฏิรูปการเมือง ให้เป็นการเมืองสมัยใหม่ แต่กลับเรียกร้องให้ใช้รัฐธรรมนูญปี 2475 ต้องถามก่อนว่ามันคืออะไร คนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่าเป็นนักกฎหมายหัวใหม่ เอาเข้าจริงวิธีคิดก็เป็นแบบนักปฏิวัติ
ถ้าเราคิดย้อนหลังไปเรื่อยๆอย่างนี้สังคมมันอยู่ไม่ได้หรอก ถ้าขึ้นมามีอำนาจก็แก้กฎหมายแก้ความผิด ถามว่าแล้วยุติธรรมต่อประชาชนหรือเปล่า หากจะคิดสามารถทำได้ แต่ต้องกลับไปสู่ความเป็นจริง หากอ้างว่าทำเพื่อการปรองดอง อย่าลืมว่าเพื่อไทยเป็นรัฐบาลตอนนี้ แล้วคนเป็นนายกฯจะบริหารบ้านเมืองอย่างไร ถ้าไม่สามารถควบคุมคนของพรรค หรือเครือข่ายตัวเองได้ ควบคุมไม่ได้ก็ไม่สามารถทำเรื่องปรองดองได้
นายถาวร เสนเนียม ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเงา” ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 19 กันยายนว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์อาจมีประเด็นแอบแฝง และรับงานจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมา นอกจากนี้ยังตั้งประเด็นว่าอาจารย์จากกลุ่มนิติราษฎร์ เตรียมจะเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ที่มีนายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธาน (ข่าวจาก MCOT)
“ขอตั้งคำถามกลับไปยังกลุ่มอาจารย์กลุ่มดังกล่าวที่ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ ว่าได้รับงานจากใคร กลุ่มใดหรือไม่ และมีผลประโยชน์อะไรหรือไม่ อย่างไร ทั้งหมดเพื่อเป็นการย้ำเตือนให้สังคมและสาธารณชนได้ฉุกคิดให้รอบคอบถึงข้อ เสนอดังกล่าว เพราะที่สุดแล้วอาจจะเป็นการทำลายหลักนิติรัฐ นิติธรรมของชาติได้ เช่นเดียวกันกรณีที่บุตรและภริยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะได้ประโยชน์จากการยกเลิกกรณีดังกล่าวหรือไม่ และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ” นายถาวร กล่าวในวันเดียวกัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่าไม่เข้าใจแนวคิดของกลุ่มนิติราษฎร์ และดูเหมือนจะเจาะจงผลประโยชน์แก่คนบางกลุ่ม (ข่าวจาก Manager)
เมื่อถามกรณีกลุ่มนักวิชาการนิติราษฎร์ เสนอให้มีการรื้อระบบจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ใหม่ทั้งหมด เพื่อล้างผลปฏิวัติ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่เข้าใจว่าจะผูกโยงไป ไกลกันทำไม ถ้าคิดว่ารัฐธรรมนูญเป็นปัญหาควรเสนอแก้ไขในประเด็นที่เป็นปัญหา แต่การก้าวล่วงถึงขนาดให้ลบล้างคำพิพากษาตนไม่เข้าใจ ดูเหมือนเป็นการเจาะจงเพื่อประโยชน์คนบางกลุ่มเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของคอป.เขียนไว้ชัดในเรื่องประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ระบุถึงการบังคับใช้กฎหมาย การรักษาหลักนิติรัฐ นิติธรรม การทำอะไรที่โปร่งใส ตรงไปตรงมายังเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่ง นายกิตติพงษ์ (กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม) รู้ดีอดีต คตส.
นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตเลขาธิการ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เขียนบทความชื่อ การเมืองไทยกำลังแปลงร่างเป็นระบอบทักษิณใหม่ ลงพิมพ์ในเว็บไซต์ Prasong.com ของนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ อดีตบรรณาธิการในเครือมติชน เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 โดยบอกว่าความเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ เป็นหนึ่งในแผน 4 ขั้นของระบอบทักษิณใหม่ ซึ่งอยู่ในแผนส่วนที่ 4 คือสถาปนาระบอบใหม่ผ่านรัฐธรรมนูญใหม่ และใช้ คณะกรรมการองค์กรอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) และเครือข่ายนิติราษฎร์ ช่วยสนับสนุน
แผน๑ แผนมวลชนแดง ต้องปลุกให้พร้อมต่อไป เช่นจัดชุมนุม ๑๙กันยาเป็นต้นสื่อมวลชน-คอลัมนิสต์
แผน๒ แผนการเมือง เป็นรัฐบาลแล้วเข้ายึด สตช.และ ราชทัณฑ์ เตรียมอภัยโทษ
แผน๓ แผนสร้างภาพ เปิดญี่ปุ่นให้ผู้นำเข้า, ผู้นำกอดฮุนเซ็นได้ภาพนำสันติภาพ , จับมือเชฟรอนได้พันธมิตรยักษ์
แผน ๔ แผนสถาปนาระบอบใหม่ ใช้อำนาจรัฐบาลตั้ง คอ.นธ.เพื่อลงมือปูความคิด
“นิติธรรมแห่งชาติ”แล้วหล่อลื่นด้วยเครือข่าย“นิติราษฎร์”ในนิติธรรมศาสตร์
เปลว สีเงิน บรรณาธิการและคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ เขียนถึงในบทความ ”วรเจตน์เพื่อวรเชษฐาทักษิณ” เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554
สรุปข้อเสนอจากกลุ่ม “วรเจตน์เพื่อวรเชษฐาทักษิณ” หรือเรียกตามสามัญศัพท์ว่า “กลุ่มอาจารย์เพี้ยนท่าพระจันทร์” ก็คือ เขา จะให้เขียนลงไปในรัฐธรรมนูญที่กำลังจะตั้ง “สภาร่าง” กันขึ้นมานั้น โดยให้ระบุลงไปในเนื้อหาเลยว่า ทุกคดี-ทุกเรื่อง ที่ทักษิณและคณะถูกดำเนินคดีจากกฎหมาย คมช.เป็นโมฆะหมด!
เหตุผลของเขาคือ อะไรที่เป็นผลพวงของรัฐประหาร ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบธรรม ต้องล้างให้หมด!
นี่ ดีนะที่ “เพี้ยนท่าพระจันทร์” ขีดวงล้างเฉพาะกฎหมายจากปฏิวัติ ๑๙ กันยา ๔๙ พออ้างกับลูกศิษย์ในการสอนได้ว่า “ทักษิณเป็นบุคคลเลวโดยสุจริต ฉะนั้น กฎหมายใดที่ไม่เป็นคุณกับทักษิณ ถือว่าชั่วร้าย-ไม่เป็นธรรม ต้องล้างให้หมด”
ดีไม่เพี้ยนไปถึงขั้นให้ล้างกฎหมายทุกฉบับที่มาจาก ปฏิวัติ-รัฐประหาร ซึ่งมีทั้งหมด ๑๑-๑๒ ครั้ง ถ้าถึงขั้นนั้นกฎหมายที่เกิดจาก “คณะราษฎร” ปี ๒๔๗๕ ก็นับเป็นผลพวงจากสิ่งชั่วร้าย ไม่ถูกต้อง-ไม่ชอบธรรม ต้องล้างให้หมดไปด้วยเช่นกัน
‘จารย์เพี้ยนว่างั้นมั้ย!?
พรรคเพื่อไทยสนับสนุนข้อเสนอนิติราษฎร์
นายเฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อ 19 กันยายน 2554 ว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์มีเหตุผล แต่ก็ยอมรับว่าเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ (ข่าวจากเดลินิวส์)อาจารย์กลุ่มนี้มีความรู้ความสามารถ โดยความเป็นจริงไม่มีครูที่ไหนเห็นด้วยกับการปฏิวัติ และการปฏิวัติเป็นผลพวงทำให้เกิดความยุ่งยากของบ้านเมือง ถ้าพูดในนามส่วนตัวของตนเห็นว่าอาจารย์มีเหตุผล แล้วใครไปตอบเขาได้หรือไม่ที่เขาพูดในแต่ละข้อ อาจารย์คณะนี้กล้าวิเคราะห์คำพิพากษาของศาลในหลายฉบับ ซึ่งตนอ่านและได้ติดตามอยู่แม้ส่วนตัวจะไม่รู้จักก็ตามนางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวเมื่อ 21 กันยายน 2554 บอกว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์สะท้อนถึงประชาธิปไตย และสมควรเผยแพร่ในสังคม (ข่าวจาก INN)
ถามว่าข้อเรียกร้องดังกล่าวมีความเป็นไปได้หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เป็นไปได้ยาก เรื่องมันแล้วไปแล้ว อาจเป็นการแสดงความเห็นเชิงวิชาการ แต่ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ทั้งนั้นถ้าประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศเห็นด้วย
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวถึงข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ที่เสนอแนวคิดมุ่งไปสู่การวางรากฐานของประชาธิปไตย ที่ไม่ยอมรับการรัฐประหาร และสมควรได้รับการเผยแพร่ในสังคม โดยมีมุมมองที่ตรงกับจุดยืนของรัฐบาล ที่อยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งมีที่มาจากการทำรัฐประหาร จึงไม่มีความเป็นประชาธิปไตย และทางรัฐบาลได้ยืนหยัดคัดค้านการรัฐประหารมาตั้งแต่ต้น ส่วนการที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาวิจารณ์คณะนิติราษฎร์ ที่ระบุว่า ทำเพื่อใครคนใดคนหนึ่ง และเป็นข้อเสนอที่ทำลายหลักนิติรัฐนั้น รัฐบาลเห็นว่าเป็นการกล่าวหาที่เลวร้ายเกินไป และแนวคิดดังกล่าว ตรงกับข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง แห่งชาติ (คอป.) จึงเสนอให้พรรคประชาธิปัตย์ เสนอบทความทางวิชาการของตัวเอง ที่จะโต้แย้งแนวคิดของคณะนิติราษฎร์ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ ว่ามีความเห็นต่อรัฐประหารอย่างไร
นิติราษฎร์แถลงชี้แจงรอบสอง 25 กันยายน 2554
หลังจากกลุ่มนิติราษฎร์เปิดข้อเสนอ 4 ประเด็นเพื่อลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และกลายเป็นประเด็นถกเถียงอย่างมากตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการวิจารณ์จากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตนายกรัฐมนตรี รวมถึงนายถาวร เสนเนียม แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ทางคณะนิติราษฎร์จึงประกาศจัดเวทีให้วิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอ และตอบข้อซักถามต่างๆ ในวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งคณะนิติราษฎร์ก็แถลงการณ์ชี้แจงเพิ่มเติมอีก 7 ประเด็น (อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็ม)
- คณะนิติราษฎร์เห็นว่าสื่อมวลชนบางสำนัก และนักการเมืองจำนวนหนึ่งเข้าใจข้อเสนอคลาดเคลื่อน ทั้งโดยเจตนา และไม่เจตนา โดยไปมุ่งเน้นประเด็นการลบล้างความผิด (ประเด็นแรกของแถลงการณ์ชิ้นแรก) เพียงประเด็นเดียว
- การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรม หรือการอภัยโทษ หากจะเริ่มดำเนินคดีกับบุคลดังกล่าวใหม่ก็สามารถกระทำไปตาม กระบวนการทางกฎหมายปกติได้
- คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้นำเอาประกาศ คปค. มาใช้บังคับแก่คดี จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคำวินิจฉัยของหน่วยงานข้างต้นเป็นผลจากรัฐประหาร
- คณะนิติราษฎร์ไม่ได้เสนอให้ลบล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เป็นการทั่วไป แต่เลือกเฉพาะบางมาตรา (เฉพาะมาตรา ๓๖-๓๗) เพื่อไม่ให้ส่งกระทบต่อคนทั่วไปในวงกว้าง
- การลบล้างผลพวงของรัฐประหารสามารถทำได้ในทางกฎหมาย ดังตัวอย่างที่ปรากฏให้เห็นในนานาอารยประเทศ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ กรีซ
- เหตุที่คณะนิติราษฎร์เสนอให้ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ในเบื้องต้นก่อนนั้น ก็เพราะว่าผลพวงของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ยังคงดำรงอยู่ และเป็นต้นตอของความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยในขณะนี้
- คณะนิติราษฎร์ขอยืนยันว่า แถลงการณ์ของเราเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปฏิเสธรัฐประหารอย่างถึงที่สุด
อภิสิทธิ์-ถาวร ปฏิเสธไม่ร่วมซักถาม พร้อมพงศ์ อัด “ไม่กล้า”
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ไปร่วมงานแถลงข่าวและแลกเปลี่ยนความเห็นกับกลุ่มคณะนิติราษฎร์วันที่ 25 ก.ย.ว่า ถือเป็นเรื่องปกติที่นายอภิสิทธิ์จะไม่ไป หากกลุ่มคนดังกล่าวต้องการแลกเปลี่ยนความเห็นก็มาพบได้ที่พรรคประชาธิปัตย์ หรือโทรศัพท์นัดมาที่ตน ซึ่งจะประสานงานหาสถานที่ที่เหมาะสม เนื่องจากเห็นว่ากลุ่มคณะนิติราษฎร์ยังคงใช้เวทีของมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงอยากให้เลิกใช้มหาวิทยาลัยในการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวหรือส่วน กลุ่ม เพราะยังมีบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยจำนวนมาก ที่ไม่ได้เห็นด้วยกับการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ ถ้าแน่จริงเลิกใช้หมวกมหาวิทยาลัยและหมวกนักวิชาการเคลื่อนไหวด้านนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา ในฐานะรมว.ยุติธรรมเงา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ออกมาท้าให้ไปแสดงวิสัยทัศน์ต่อเวทีสาธารณะว่า คนอย่างนายวรเจตน์ไม่มีค่าพอ เพราะจากคำพูดและพฤติกรรมที่แสดงออกก็ชัดเจนว่าเป็นการทำเพื่อใคร และคิดหวังถึงประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร ทำไมต้องเสนอให้ล้างมลทินแค่ปี 49 ทำไมไม่ย้อนกลับไปทั้งหมดที่มีการปฏิวัติรัฐประหาร มีเจตนาที่จะช่วยคดีความของใครเป็นการเฉพาะหรือไม่ ถ้าอยากแสดงวิสัยทัศน์กับตนหรือพรรคประชาธิปัตย์จริง ก็ขอให้ไปบอกรัฐบาลให้จัดการแสดงวิสัยทัศน์ผ่านฟรีทีวี ตนพร้อมที่จะไป ขณะนี้สังคมต่างเคลือบแคลงว่า ข้อเสนอที่กลุ่มนิติราษฎร์เสนอมา โดยอ้างความเป็นนักวิชาการว่ามีความสุจริต ถูกต้องในความเป็นนักวิชาการหรือไม่อย่างไร (ข่าวจากเดลินิวส์)
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวเมื่อ 25 กันยายน 2554 ไม่ได้พูดถึงข้อเสนอของนิติราษฎร์โดยตรง แต่โจมตีความเคลื่อนไหวของฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และนายถาวร เสนเนียม โดยบอกว่ากลุ่มนิติราษฎร์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อไทย และบอกว่านายอภิสิทธิ์ไม่มีความกล้าไปเชิญหน้ากับคณะนิติราษฎร์ (ข่าวจากเดลินิวส์)
หลากหลายปฏิกิริยาคัดค้านนิติราษฎร์ สัปดาห์ที่สอง
สภาทนายความวันที่ 27 ก.ย. นายสัก กอแสงเรือง อดีต คตส.และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ส.ว.สรรหา ในฐานะนายกสภาทนายความ พร้อมคณะ เปิดแถลงการณ์ต่อกรณีของคณะนิติราษฎร์ โดยบอกว่าไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ครอบงำองค์กรอื่น (ข่าวจากเดลินิวส์)
การที่คณะนิติราษฎร์ออกแถลงการณ์ให้แก้ไขมาตรา 112 นั้น ทางสภานายความไม่เห็นด้วย รวมทั้งข้อเสนอยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เนื่องจากมีการนิรโทษกรรมการรัฐประหาร ทางสภาทนายความเห็นว่าเป็นการเลือกใช้หลักการที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มที่ตนเองต้องการสนับสนุนเท่านั้น มิได้ยึดถือหลักการทั่วไป สำหรับ การที่คณะนิติราษฎร์นำเสนอว่าเคยมีกรณีลบล้างคำพิพากษาและการกระทำที่เสีย เปล่าในต่างประเทศนั้น เห็นว่าระบบการเมืองไทยกับต่างประเทศนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง การนำแนวคิดต่างประเทศที่มีเหตุการณ์รุนแรงมาเผยแพร่ จะต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความแตกแยกในสังคมได้ รวมทั้งมีนักการเมืองบางคนสืบทอดเจตนารมณ์ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยทุจริตมิชอบต่อทรัพย์สินของรัฐจนทำให้เกิดรัฐประหารพรรคประชาธิปัตย์
โดยสภาทนายความตั้งข้อสังเกตว่า คณะนิติราษฎร์เสนอให้ส่วนที่ เป็นผลร้ายต่อนักการเมืองในอดีตเป็นอันสูญเปล่า แต่กลับเป็นประโยชน์ต่ออดีตนักการเมืองมากกว่าการแสวงหาความยุติธรรมให้แก่ สังคม การฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศ ซึ่งไม่มีนักการเมืองคนใดที่จะทำให้สังคมไทยรับรู้ว่าการโกงบ้านโกงเมือง นั้นเลวร้ายยิ่งกว่ารัฐประหาร ซึ่งมุ่งทำลายความเลวของนักการเมืองบางคน และกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
นายสกลธี ภัททิยกุล ส.ส. กทม. เขต 4 และรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (บุตรชายของพลเอกวินัย ภัททิยกุล อดีตเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 26 กันยายน ว่ากลุ่มนิติราษฎร์ควรฟังเสียงส่วนรวม และจับตามองว่านิติราษฎร์อาจได้ปูนบำเหน็จได้ (ข่าวจาก Manager)
นายสกลธี ภัททิยกุล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นักวิชาการของกลุ่มนิติราษฎร์ ออกมาแถลงการณ์ เป็นฉบับที่ 2 นั้น ซึ่งเห็นว่ากลุ่มนิติราษฎร์ควรที่จะรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ ของส่วนรวมมากกว่านี้ และควรที่จะยกเลิกการใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเวทีในการแถลงข่าว เพื่อไม่สร้างความสับสนให้แก่ประชาชน พร้อมทั้งขอให้กลับไปย้อนดูข่าวก่อนการรัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน 2549 ว่า มีการแทรกแซงองค์กรอิสระอย่างไรบ้าง รวมถึงการศึกษาคดีต่างๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และสุดท้ายย้ำว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่คู่กรณีของกลุ่มนิติราษฎร์ประสงค์ สุ่นศิริ
นอกจากนี้ นายสกลธี ยังกล่าวอีกว่า อยากให้จับตามอง นักวิชาการของกลุ่มนิติราษฎร์ ต่อไปว่า อนาคตจะได้รับการปูนบำเหน็จเป็น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) หรือไม่ ถ้าได้ ก็แสดงว่าเป็นการทำเพื่อตนเอง และ พ.ต.ท.ทักษิณ
น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตประธานกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญปี 50 (ส.ส.ร.) ให้สัมภาษณ์เมื่อ วันที่ 27 ก.ย. ว่าอาจารย์บางคนในกลุ่มนิติราษฎร์ ทำงานรับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณมาโดยตลอด และข้อเสนอมีจุดประสงค์เพื่อช่วยทักษิณคนเดียว (ไทยรัฐออนไลน์)
สำหรับนักวิชาการพวกนี้ หากดูจากการทำงานของอาจารย์บางคน ที่ผ่านมาก็ได้รับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมาตลอด เพราะฉะนั้นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของคนกลุ่มนี้ ที่มีแนวทางตรงกันกับรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งนำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คือ ต้องการปลดเปลื้องพันธนาการให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ เพียงคนเดียวเท่านั้น ไม่ได้มองสาเหตุของการปฏิวัติรัฐประหาร ทั้งนี้วิธีการต่าง ๆ ที่กลุ่มนิติราษฎร์นำมาออกมาเผยแพร่ ก็เพื่อเป็นการสร้างกลยุทธ์ที่ทำให้ประชาชนเกิดสงสัยและความเข้าใจผิด อย่างไรก็ตามคณะนิติราษฎร์ก็เป็นเพียงกลุ่มที่ทำงานรับใช้อดีตนายกรัฐมนตรี มันไม่มีอะไรมากกว่านั้น
“รัฐประหารที่ผ่านมา มันมีเหตุผล จะมาลบล้างทั้งหมดได้อย่างไร พวกนักวิชาการ ทำไมไม่มองที่ต้นเหตุ ส่วนข้อเรียกร้องที่ออกมาประกาศนั้น ดูกันดี ๆ ก็เพื่อช่วยเหลือทักษิณเพียงคนเดียว แต่ไม่เคยย้อนกลับไปว่า ทักษิณ ทำอะไรไว้บ้าง” น.ต.ประสงค์ กล่าว
หลากหลายปฏิกิริยาสนับสนุนนิติราษฎร์ สัปดาห์ที่สอง
นักการเมืองจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เขียนแสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ @chaturon (รวบรวมโดยมติชนออนไลน์)
มีความเห็นสั้นๆ อีกหน่อยครับเรื่องวิวาทะเกี่ยวกับข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์นักวิชาการ
เห็นกลุ่มนิติราษฎร์ออกมาชี้แจงเทียบกับคำวิพากษ์วิจารณ์ของปชป.แล้วก็ให้รู้สึกวังเวงเสียจริงๆ
กลุ่มนิติราษฎร์เขาชี้แจงอย่างมวยหลัก เต็มไปด้วยเนื้อหาสาระและเหตุผล ที่สำคัญคือมีความกล้าที่จะยืนยันหลักการและจิตวิญญาณของประชาธิปไตย
กลุ่มนิติราษฎร์ได้จุดประกายให้เห็นทางสว่างสำหรับสังคมไทยในการที่จะต่อต้านคัดค้านการรัฐประหารที่จะมีผลในระยะยาวต่อไป
ขณะที่ปชป.รวมทั้งคุณอภิสิทธิ์โจมตีเขาอย่างสะเปะสะปะ ไม่มีหลักการและยังกล่าวหาแบบมุ่งลดความน่าเชื่อถือด้วยการโยงเข้ากับคนๆ เดียวตามที่ถนัดตลอดมา
ปชป.และคุณอภิสิทธิ์ไม่ได้พูดถึงหลักการเกี่ยวกับประชาธิปไตยหรือการรัฐ ประหารซึ่งเป็นสาระสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเลยแม้แต่น้อย
ที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือไม่มีนักวิชาการฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายที่สนับสนุนการรัฐประหารที่ผ่านมาออกมาโต้แย้งหรือให้ความเห็นกันเลย
น่าสงสารประเทศไทยยิ่งขึ้นไปอีก
ที่ควรออกมาพูดแล้วไม่ออกมาพูดกันเลยก็รวมถึงนักกฎหมายมหาชนและคนใน กระบวนการยุติธรรมด้วย เข้าใจว่าถ้าออกมาก็จะสู้เหตุผลไม่ได้ พูดไปก็มีแต่เข้าเนื้อเปล่าๆ
ผมจึงเสนอว่าสังคมไทยน่าจะให้ความสนใจกรณีข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์กัน ต่อไป ส่งเสริมให้ฝ่ายต่างๆ ออกมาแสดงจุดยืน ความเห็นกันให้มากขึ้น
สุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปิน แห่งชาติ นักประวัติศาสตร์ โบราณคดี บรรณาธิการนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ในเครือมติชน แต่งกลอนตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน 25 กันยายน 2554 (ต้นฉบับจากมติชนออนไลน์)
นิติรัฐเลือกสนองผองอำนาจรองศาสตราจารย์ สุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง บอก “เห็นด้วยที่สุด” (Voice TV)
นิติราษฎร์เลือกมวลชนคนส่วนใหญ่
นิติรัฐประหารเหี้ยนอธิปไตย
นิติราษฎร์ไล่รัฐประหารนั้นฯ
การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คือข้อเสนอในใจของ รศ.สุขุม นวลสกุล มานานแล้ว แต่เมื่อคณะนิติราษฎร์ออกแถลงการณ์เรียกร้องข้อเสนอนี้ ทำให้นักรัฐศาสตร์วัย 68 ปีท่านนี้ พูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “เห็นด้วยที่สุด” เพราะถือว่าเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ที่ดีกว่าการนิรโทษกรรม หรือขอพระราชทานอภัยโทษสื่อมวลชน
เนื่องจากการลบล้างผลพวงรัฐประหาร คือการนำคดีมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายปกติ ซึ่งจะทำให้จำเลยได้รับความเป็นธรรม มากกว่าการใช้กระบวนการพิเศษเหมือนในสมัยที่คณะรัฐประหารมีอำนาจ พร้อมย้ำว่าหากคนผิดขึ้นศาลไหนก็ผิด
สำหรับข้อเรียกร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น รศ.สุขุม ไม่ติดใจเรื่องที่จะนำรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาปรับแก้ เพราะล้วนมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่ประเด็นสำคัญคือการทำอย่างไร ให้จำเลยจากการรัฐประหาร 2549 ได้รับความเป็นธรรมมากที่สุด และจะต้องยืนยันว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน พร้อมเปิดเผยว่า หากมีการลงโทษคณะรัฐประหารได้จริง อาจเป็นปมขัดแย้งรอบใหม่
ส่วนข้อเสนอเรื่องการจัดทำคำประกาศ เพื่อป้องกันการก่อรัฐประหารในอนาคตนั้น รศ.สุขุม เชื่อมั่นว่าวิธีนี้ไม่ได้ผล เพราะแม้จะบัญญัติข้อห้ามไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ยังเกิดการรัฐประหารอยู่เป็นระยะ สิ่งสำคัญจึงน่าจะอยู่อุดมการณ์ของประชาชน เพราะหากทุกคนเชื่อมั่นและยึดถือแนวทางประชาธิปไตยอย่างแท้จริง การก่อรัฐประหารก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป
ใบตองแห้ง คอลัมนิสต์อิสระ เขียนบทความ “ทางสองแพร่งนิติรัฐ” เผยแพร่ 27 ก.ย. 2554 บนเว็บไซต์ Voice TV ในประเด็นเรื่องความรู้ความเข้าใจของสื่อมวลชน
ผมไม่ได้ไปฟัง อ.วรเจตน์และนิติราษฎร์เมื่อวันอาทิตย์ เพราะเดาไว้แล้วว่าประชาธิปัตย์ไม่กล้าไป พออภิสิทธิ์ถอยฉาก ถูกเย้ยหยันนินทา ถาวรก็ออกมาแก้เกี้ยว อ้างว่าวรเจตน์ไม่มีราคาทนายความ-นักกฎหมาย
โห ไม่มีราคาแล้วพวกท่านจะสะดุ้งกันขนาดนี้หรือ ออกมาเต้นตั้งแต่หัวหน้าพรรคยันหางแถว วันก่อนผมเห็นข่าวแล้วหัวร่อกลิ้ง สกลธี ภัททิยกุล รองโฆษก ปชป.หาว่านิติราษฎร์เล่นปาหี่ทางการเมือง ไปถามบิดาคุณดูสิ ปาหี่จริงเป่า? ถ้าไม่สะดุ้ง 18 ตลบ ทำไมต้องออกมาเต้นตั้งแต่ลูก คมช.ยัน ผบ.ทบ.
สื่อโง่หรือสื่อแกล้งโง่
เท่าที่ทราบ นอกจาก ปชป.ไม่ไปแล้ว สื่อตัวดียังไม่ส่งคนไปซักถาม ว่ามีข้อข้องใจตรงไหนกับข้อเสนอของนิติราษฎร์ ทำยังกะเข้าใจหมดแล้ว แต่ความจริงเปล่า เอ๊ะ หรือว่าเข้าใจแต่แกล้งทำเป็นไม่เข้าใจ
สื่อโง่ หรือสื่อแกล้งโง่ ต่อข้อเสนอของนิติราษฎร์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติควรตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาสอบสวนสักชุด (เผื่อจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่าโง่จริงๆนะ ไม่ได้แกล้งโง่-ฮา)
คำวิจารณ์ของสื่อไม่เป็นธรรมต่อนิติราษฎร์ ผมกล้าพูดเช่นนั้น แน่นอน เราต้องขีดเส้นแบ่งว่าสื่อมีเสรีภาพที่จะวิพากษ์วิจารณ์ แต่ก่อนวิจารณ์คุณต้องเสนอข่าวคำแถลงนิติราษฎร์ให้ครบถ้วนทุกประเด็น ตีความ ทำการบ้าน แยกแยะให้ชัดเจนว่ามีสาระอย่างไรบ้าง แล้วค่อยบอกว่าเห็นด้วยไม่เห็นด้วย หรือจะด่าว่ากันอย่างไรก็ตามแต่
นี่คือจรรยาบรรณสื่อ ไม่ว่าคุณจะวิจารณ์ใคร คุณต้องทำการบ้าน ทำความเข้าใจความคิดเห็น ประวัติความเป็นมาของเขา ไม่ใช่ด่าเอามัน เอาใจคนอ่าน หรือเอาตามกระแส
แต่นี่เปล่าเลย เวลาเสนอข่าว สื่อส่วนใหญ่เสนอแต่ “ล้างผิดทักษิณ” แล้วพวกคอลัมนิดคอลัมหน่อย ก็อ่านจากข่าวเอาไปวิจารณ์ ไม่ได้อ่านรายละเอียด ไม่ทำความเข้าใจ หรือเข้าใจแล้วแกล้งทำเป็นไม่เข้าใจ
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์คัดค้าน “แถลงการณ์ของสภาทนายความ” ย้ำการรัฐประหารถือเป็นอาชญากรรมต่อประชาธิปไตยและความมั่นคงของรัฐ (เผยแพร่บนเว็บไซต์ประชาไท 28 ก.ย. 54)
ตามที่สภาทนายความได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2/2554 ขอแสดงความคิดเห็นต่อข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ ความละเอียดปรากฏตามที่อ้างถึงนั้น
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายดังปรากฏรายนามท้ายแถลงการณ์นี้ ซึ่งเป็นสมาชิกสภาทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2548 และนักกฎหมายที่ทำงานด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยมีความวิตก กังวลต่อสาระสำคัญของแถลงการณ์ดังกล่าว ที่อาจนำความเสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิของทนายความโดยรวม โดยเหตุที่สภาทนายความมี 2 สถานภาพทางสังคมกล่าวคือ สภาทนายความเป็นสถาบันวิชาชีพที่ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ที่จะเป็นทนายความ ซึ่งทนายความถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินการเพื่อส่ง เสริมหลักนิติธรรม (Rule of Law) ร่วมค้นหาความจริงกับอัยการและผู้พิพากษาต่อการกระทำของผู้ต้องหาหรือจำเลย ในคดีอาญาเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย และยังมีหน้าที่ “ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ และปฏิบัติตน ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติทนายความ”[1] อีกสถานภาพหนึ่ง สภาทนายความพึงเป็นสถาบันของสังคมในการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สภาทนายความเป็นแถวหน้าของผู้เรียกร้องการปกครองระบอบประชาธิปไตย ต่อต้านอำนาจนิยมและผลักดันให้มีกฎหมายที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สภาทนายความจึงเป็นสถาบันของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและเสาหลักหนึ่งใน สังคมประชาธิปไตย สภาทนายความจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เหมาะสมแก่เกียรติภูมิของสมาชิกและ ประชาชนในสังคมประชาธิปไตย สภาทนายความต้องยึดมั่นในหลักการสำคัญของหลักนิติธรรม หลักสิทธิมนุษยชน และร่วมกันจรรโลงไว้ซึ่งหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันนานาอารยประเทศยึดถือด้วย แต่จากแถลงการณ์ของสภาทนายความ ตามที่อ้างถึง กลุ่มทนายความฯ ขอแสดงความคิดเห็น ดังนี้
ข้อ 1 แถลงการณ์ของสภาทนายความ ข้อ 1 กล่าวว่า “สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารที่ล้มล้างรัฐบาลที่ใช้อำนาจบริหาร โดยชอบธรรม ….สำหรับการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 …สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่ใช้อำนาจบริหารในขณะนั้นได้ใช้อำนาจ เงินครอบงำพรรคการเมืองอื่น จนสามารถรวบรวมเป็นพรรคการเมืองที่มีอำนาจเด็ดขาดในรัฐสภา ใช้อำนาจบริหาร และอำนาจเงินครอบงำสื่อสารมวลชน และองค์กรอิสระ จนทำให้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐไม่บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และมีการทุจริต ประพฤติมิชอบ เพื่อหาประโยชน์แก่ตนเอง และพวกพ้อง จนกระทั่งเป็นเหตุให้มีการรัฐประหาร”
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน มีความเห็นว่า “การรัฐประหารทุกครั้งถือเป็นการทำลายหลักนิติธรรมและทำลายกลไกของระบอบ ประชาธิปไตย” ที่ทุกฝ่ายในสังคมต้องออกมาประณามการกระทำที่ไร้เกียรติ ไร้สติ และมิอาจอ้างมูลอันชอบด้วยหลักการใดๆ ในสังคมรัฐเสรีประชาธิปไตยได้ และต้องถือว่า “การรัฐประหาร” ถือเป็นอาชญากรรมต่อประชาธิปไตยและความมั่นคงของรัฐ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ทั้ง ผู้ก่อการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ต้องรับผิดร่วมกันหรือแทนกันตามความหนักเบาแห่งการกระทำ โดยไม่มีข้อยกเว้น แต่ตามแถลงการณ์ดังกล่าวการที่สภาทนายความยอมรับการรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549 โดยอ้างว่า หากรัฐบาลฉ้อฉล ใช้อำนาจโดยมิชอบ ก็สามารถให้อำนาจนอกระบบล้มล้างรัฐธรรมนูญและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของ ประชาชนได้ ซึ่งเท่ากับสภาทนายความสนับสนุนอาชญากรรมต่อความมั่นคงของรัฐและระบอบ ประชาธิปไตย
ข้อเสนอของสภาทนายความ ในข้อนี้ กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน มีความเห็นว่า เป็นการทำลายหลักนิติธรรม และระบอบประชาธิปไตย อันนำความเสื่อมเสียมาสู่เกียรติภูมิของสภาทนายความ
ข้อ 2 แถลงการณ์สภาทนายความที่เห็นว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ได้ดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรมปกติ คือ เมื่อ คตส. สอบสวนเสร็จแล้ว ต้องส่งแก่อัยการสูงสุด และนำไปสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในที่สุดนั้น
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน เห็นว่า ที่มาของ คตส. มาจากการการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในขณะนั้น คมช. ถือเป็นองค์กรของอาชญากร ที่ยึดอำนาจโดยมิชอบมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง คมช.จึงไม่มีอำนาจในการปกครองประเทศมาตั้งแต่ยึดอำนาจแล้ว ดังนั้น การแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลให้ดำเนินการใด ตามอำนาจที่ได้มาโดยมิชอบ ย่อมไม่มีผลทางกฎหมาย เทียบเคียงได้กับภาษิตกฎหมายที่ว่า “ผลของต้นไม้พิษ (Fruit of the poisonous tree) ย่อมมีพิษ” การดำเนินการของ คตส. โดยมาจากต้นไม้ที่ไม่ชอบ คตส.ย่อมเป็นผลไม้ของต้นไม้ที่ไม่ชอบ จึงไม่มีอำนาจดำเนินการใดๆ ดังนั้น จึงไม่ต้องพิจารณาต่อไปว่า คตส. ได้ดำเนินกระบวนการตามกระบวนการยุติธรรมปกติ หรือไม่ เพราะมีที่มาโดยมิชอบ
ประการต่อมา นายกสภาทนายความ (นายสัก กอแสงเรือง) มิอาจอ้างเหตุผลข้อนี้มาอ้างความชอบธรรมในแถลงการณ์ของสภาทนายความได้ เพราะนายกสภาทนายความมีผลประโยชน์ทับซ้อน จากการได้รับการแต่งตั้งจาก คมช. ให้เป็นหนึ่งในกรรมการ คตส. การปกป้องตนเองที่ทำหน้าที่ โดยมีที่มาจากการแต่งตั้งโดยมิชอบ อาจทำความเสื่อมเสียแก่เกียรติภูมิของทนายความโดยรวม และไม่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนทนายความรุ่นหลัง
ข้อ 3 สภาทนายความไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้แก้ไข มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นั้น
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน เห็นว่า สภาทนายความจำเป็นต้องแสดงจุดยืนในการเคารพต่อหลักนิติธรรม เนื่องจากมีการใช้กฎหมายข้อหานี้ ทำลายผู้มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากตน และเป็นการให้อำนาจแก่ใครก็ได้ในการแจ้งความดำเนินคดีบุคคลอื่น โดยอาศัยกฎหมายข้อหานี้ การแก้ไขสาระสำคัญของกฎหมายอาญา มาตรา 112 ย่อมไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อประเพณีของชาติ หรือขัดแย้งต่อประวัติศาสตร์หรือขนบธรรมเนียมของประเทศ หรือเป็นการลดเกียรติยศของพระมหากษัตริย์แต่ประการใด ตรงกันข้าม การใช้กฎหมายมาตรา 112 ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นการทำลายพระเกียรติ และทำให้สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมถอยลงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ในสังคม ขณะเดียวกัน การใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ย่อมนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างประชาชนในสังคมไทย ซึ่งควรได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง
กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ขอแสดงความคิดเห็นดังกล่าว เพื่อแสดงจุดยืนว่า สังคมใดจะเป็นสังคมที่เจริญและสงบสุขได้นั้น สถาบันต่างๆในสังคมต้องยึดมั่นต่อ หลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน และเคารพต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยต้องร่วมกันแสดงความคิดเห็นคัดค้านอำนาจที่มิชอบ เช่น การรัฐประหาร ดังเหตุผลข้างต้น และขอเรียกร้องให้สภาทนายความ ในฐานะสถาบันหลักสถาบันหนึ่งของสังคม จงเป็นที่พึ่งแก่คนยากไร้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมตามกฎหมาย และเป็นสถาบันที่ธำรงไว้ซึ่ง หลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชน และหลักประชาธิปไตย ตลอดไป
ณ วันที่ 28 กันยายน 2554
วิวาทะนักกฎหมาย-ประชาคมธรรมศาสตร์
ฝั่งความเคลื่อนไหวจากประชาคมธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นต้นสังกัดของกลุ่มนิติราษฎร์ ก็มีการถกเถียงเรื่องข้อเสนอของนิติราษฎร์เช่นกันศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ตอบคำถามนักศึกษาผ่าน Facebook ส่วนตัว โดยเสนอคำถาม 15 ข้อให้ช่วยกันตอบ (นำเสนอโดยประชาไท และคมชัดลึก)
ศ.ดร.สมคิดยังแสดงความเห็นด้วยว่า “คน มธ.ส่วนใหญ่ไม่ได้เห็นด้วยกับความเห็นของอาจารย์นิติกลุ่มนี้หรอกครับ ไม่เว้นแม้แต่อาจารย์ในนิติศาสตร์ส่วนใหญ่ ไม่เชื่อก็ลองถามท่านคณบดีสุรศักดิ์ อ.เอกบุญ อ.อุดม อ.สุรพล อ.วิจิตรา อ.ไพโรจน์ อ.กิตติพงศ์ อ.ทวีเกียรติ อ.สมเกียรติ อ.วีรวัฒน์ อ.กิตติศักดิ์ อ.ปริญญา……………….”
- เราสามารถยกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่ เช่นการยกเลิก รธน. 2549
- ถ้าตำรวจจับคนร้ายที่ทำผิดจริงมาแต่ไม่ได้สอบสวนโดยละเอียด ต่อมาคนร้ายถูกฟ้องศาล มีการโต้แย้งว่ากระบวนการของตำรวจไม่ค่อยถูกต้อง แต่ศาลเห็นว่าไม่เป็นไร ศาลก็พิพากษาไป ตกลงคำพิพากษาของศาลใช้ได้หรือไม่
- ถ้ามีคนเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมในช่วง คมช.ไม่ถูกต้อง ก็ให้ดำเนินการใหม่ คนอีกกลุ่มเห็นว่าการตัดสินคดีซุกหุ้น ศาลตัดสินผิดโดยสิ้นเชิง คนกลุ่มหลังจะขอให้ยกเลิกรธน. 2540 ตั้งศาลรธน.ใหม่ แล้วพิพากษาคดีซุกหุ้นใหม่ จะได้หรือไม่
- ประชาชนจะลงมติแก้รธน.ที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่
- รธน.2550 ได้รับการลงประชามติโดยประชาชน ในทางกฎหมายเราจะพูดได้หรือไม่ว่า ประชาชนลงมติโดยไม่ถูกต้อง หรือรธน. 2550 ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของประชาชน?
- คตส. ตั้งโดยคมช. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ตั้งโดย คมช. ใช่หรือไม่
- การดำเนินการตามแนวคิดของนิติราษฎร์ ไม่มีผลทางกฎหมายต่อนายกทักษิณเลยใช่หรือไม่
- มาตรา 112 ขัดแย้งกับ รธน .จริงหรือ และขัดกับรธน. 2550 ที่จะถูกยกเลิกใช่หรือไม่
- ประเทศทั้งหลายในโลกรวมทั้งเยอรมัน เขาไม่คุ้มครองประมุขของประเทศเป็นพิเศษแตกต่างไปจากประชาชนใช่หรือไม่
- ถ้ามีคนไปโต้แย้งนิติราษฎร์ในที่สาธารณะเขาจะไม่ถูกขว้างปาและโห่ฮาเหมือนกับหมอตุลย์ใช่หรือไม่
- ถ้าเรายกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้ เราจะล้มเลิกการกระทำทั้งหลายและลงโทษคณะรัฐประหารกี่ชุด สุจินดา ถนอม ประภาศ สฤษฏ์ จอมพล ป. อ.ปรีดี หรือจะลงโทษเฉพาะคณะรัฐประหารที่กระทำต่อนายกทักษิณ
- ความเห็นของนักกฎหมายที่เห็นไม่ตรงกับนิติราษฎร์แต่ดีกว่านิติราษฎร์ รัฐบาลนี้จะรับไปใช่หรือไม่
- ศาลรธน. ช่วยนายกทักษิณคดีซุกหุ้นถือว่าใช้ได้ แต่ไม่ช่วยคดียึดทรัพย์ถือว่าใช้ไม่ได้ เป็นตุลาการภิวัตน์ใช่หรือไม่
- บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรธน. 2550 แย่กว่า รธน. 2540, 2475 ที่นิติราษฎร์จะนำมาใช้ใช่หรือไม่
- คมช. เลว สสร.ที่มาจาก คมช.ก็เลว รธน.2550 ที่มาจาก สสร.ก็เลว แต่รัฐบาลที่มาจาก รธน. เลว เป็นรัฐบาลดีใช่หรือไม่สสร.ที่มาจากรัฐบาลชุดนี้ และที่ อ.วรเจตน์จะเข้าร่วม ก็เป็นสสร.ที่ดีใช่หรือไม่”
นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนแสดงความคิดเห็น ตั้งชื่อเรื่องว่า ‘สิ่งที่คล้ายกันพึงได้รับการปฏิบัติอย่างเดียวกัน แต่ไม่พึงปฏิบัติอย่างเดียวกันกับสิ่งที่ต่างกัน’ (สำเนาจาก คมชัดลึก และ Manager) บอกว่าชื่นชมความกล้าหาญของนิติราษฎร์ แต่ก็ตะขิดตะขวงใจในหลักการ และตรรกะในการนำเสนอของนิติราษฎร์
การที่นักวิชาการนำเสนอความเห็นต่อสาธารณชน โดยนำ สิ่งที่ไม่ควรเทียบกันมาเทียบกันประหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่เทียบกันได้ หรือแสดงความเห็นโดยไม่ชี้แจงให้ชัดว่าเป็นความเห็น แต่ทำให้คนเชื่อไปว่าเป็นความรู้โดยมิได้ตั้งแง่คิดให้ผู้อ่านได้ไตร่ตรอง อย่างแจ่มชัดนั้น อาจชวนให้เกิดความหลงทาง หรือเกิดไขว้เขวทางความคิดแก่คนหมู่มากจนยากจะแก้ไข เป็นสิ่งที่นักวิชาการพึงระวังพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีต สสร.รัฐธรรมนูญ 2540 และสว. จากการเลือกตั้งสมัยแรก ตอบคำถาม 15 ข้อของนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ (ต้นฉบับทั้งหมดจากประชาไท)
เรื่องการลบล้างผลคำพิพากษาที่อ้างว่าขัดต่อหลักความยุติธรรมอย่างร้าย แรงโดยอ้างอำนาจประชาชนนั้น ก่อนอื่นต้องพิเคราะห์กันเสียก่อนว่าสิ่งที่เรียกว่า การอ้างอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนขึ้นลบล้างคำพิพากษานั้น ในเชิงหลักการเป็นสิ่งที่ทำได้หรือไม่
หลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ดำรงอยู่ได้ไม่ใช่เพราะตั้งอยู่บนฐานของเสียงข้างมากเฉย ๆ แต่เพราะเป็นเสียงข้างมากที่ยืนยันหลักการถือกฎหมายเป็นใหญ่ หรือที่เรียกกันว่าหลักนิติธรรม นั่นคือนับถือว่า ข้อพิพาททั้งปวงต้องได้รับการวินิจฉัยจากศาลยุติธรรมที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วย กฎหมาย กล่าวอีกอย่างก็คือ อำนาจสูงสุดแม้จะเป็นของประชาชน แต่ก็จำกัดโดยกฎหมายเสมอ และกฎหมายที่ว่านี้มีอยู่อย่างไรก็ต้องตัดสินโดยผู้พิพากษาซึ่งเป็นอิสระ
ที่ว่าเป็นอิสระในที่นี้ก็คือต้องเป็นคนกลาง ที่เข้าสู่ตำแหน่งเพราะมีคุณสมบัติเป็นที่ประจักษ์ทั้งในทางคุณวุฒิ และทางคุณธรรม ไม่ใช่ตั้งกันตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจ แต่ตั้งขึ้นจากบุคคลที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่พอจะทำให้น่าเชื่อได้ว่า บุคคลเหล่านี้ล้วนมีคุณวุฒิเป็นผู้รู้กฎหมาย รู้ผิดชอบชั่วดี และเป็นผู้ทรงคุณธรรมคือวินิจฉัยตัดสินคดีไปตามความรู้และความสำนักผิดถูก ของตน โดยตั้งตนอยู่ในความปราศจากอคติ และมีหลักเกณฑ์ทางจรรยาบรรณคอยควบคุม
ด้วยเหตุนี้แม้ประชาชนจะลงประชามติไว้ว่าอย่างไรก็ตาม หากประชามติซึ่งเป็นการใช้อำนาจสูงสุดของประชาชนนั้นขัดต่อกฎหมาย ศาลซึ่งเป็นคนกลางที่เป็นอิสระก็มีอำนาจชี้ขาดว่าประชามตินั้นขัดต่อกฎหมาย และไม่มีผลบังคับ
1. เราสามารถยกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่ เช่นการยกเลิก รธน. 2549นอกจากนี้ยังมีคำตอบจากบุคคลอีกหลายกลุ่ม ต่อคำถามของนายสมคิดและนายกิตติศักดิ์ ซึ่งผู้สนใจสามารถติดตามได้จากลิงก์ด้านล่าง
ตอบ นิติราษฎร์ไม่ได้เสนอให้ยกเลิกรธน. 2549 แต่ให้ถือว่าการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ทำรัฐประหารตามมาตรา 37 ไม่เกิดผลตามกฎหมาย
2.ถ้าตำรวจจับคนร้ายที่ทำผิดจริงมาแต่ไม่ได้สอบสวนโดยละเอียด ต่อมาคนร้ายถูกฟ้องศาล มีการโต้แย้งว่ากระบวนการของตำรวจไม่ค่อยถูกต้อง แต่ศาลเห็นว่าไม่เป็นไร ศาลก็พิพากษาไป ตกลงคำพิพากษาของศาลใช้ได้หรือไม่
ตอบ ตามป.วิอาญา การสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีผลทำให้การฟ้องคดีของอัยการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ซึ่งโดยหลักการพิจารณาคดีก็ต้องถือว่าไม่ชอบทั้งหมด แต่ศาลไทยบอกไม่เป็นไร หากพิจารณาว่าจำเลยกระทำผิดจริง ก็ลงโทษจำเลยได้ ซึ่งก็เหมือนกับการยอมรับว่าการรัฐประหาร(การกระทำความผิดฐานกบฎ)เป็นการ กระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหากทำสำเร็จนั้นเอง
3.ถ้ามีคนเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมในช่วง คมช.ไม่ถูกต้อง ก็ให้ดำเนินการใหม่ คนอีกกลุ่มเห็นว่าการตัดสินคดีซุกหุ้น ศาลตัดสินผิดโดยสิ้นเชิง คนกลุ่มหลังจะขอให้ยกเลิกรธน. 2540 ตั้งศาลรธน.ใหม่ แล้วพิพากษาคดีซุกหุ้นใหม่ จะได้หรือไม่
ตอบ ศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินคดีซุกหุ้นของทักษิณ เกิดจากรธน. 2540 ที่มิได้มีที่มาจาการรัฐประหารเหมือน รธน.2550 หากมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าศาลตัดสินผิดก็น่าจะมีการออกกฎหมายมาให้รื้อฟื้น คดีใหม่ได้ โดยไม่ต้องยก
เลิกรธน. 2540 ซึ่งมิได้เกิดขึ้นจากการกระทำผิดกฎหมายฐานกบฎ (การทำรัฐประหาร)
4.ประชาชนจะลงมติแก้รธน.ที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้หรือไม่
ตอบ เป็นคำถามประเด็นเดียวกันกับคำถามที่ 1 คำตอบก็คือไม่ใช่การแก้รัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่เป็นการยกเลิกเพิกถอนผลของการกระทำที่เกิดจากรัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงของ การรัฐประหารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
5.รธน.2550 ได้รับการลงประชามติโดยประชาชน ในทางกฎหมายเราจะพูดได้หรือไม่ว่า ประชาชนลงมติโดยไม่ถูกต้อง หรือรธน. 2550 ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของประชาชน?
ตอบ พูดได้ เพราะมีการหลอกลวงขู่เข็ญบังคับให้ประชาชนลงมติ จึงเป็นการลงประชามติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6.ตั้งโดยคมช. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ตั้งโดย คมช. ใช่หรือไม่
ตอบ คตส.ตั้งโดย คมช.แน่นอน ส่วนศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองก็เกิดจากรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่ง คมช.เป็นผู้ให้กำเนิดเช่นกัน ดังนั้น เมื่อการกระทำรัฐประหารของคมช.เป็นการกระทำที่ละเมิดบทบัญญัติมาตรา 63 แห่งรธน. 2540 และเป็นความผิดฐานกบฎตามป.อาญามาตรา 113 ทั้งคตส.และศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองจึงเป็นองค์กรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยกันทั้งคู่
7.การดำเนินการตามแนวคิดของนิติราษฎร์ ไม่มีผลทางกฎหมายต่อนายกทักษิณเลยใช่หรือไม่
ตอบ ตามที่นิติราษฎร์แถลง มีผลโดยตรงแน่นอน คือต้องพิจารณาคดีใหม่โดยกระบวนการยุึติธรรม ที่ชอบด้ยหลักนิติธรรม ถ้ากระทำผิดจริงตามข้อกล่าวหาก็ต้องถูกลงโทษ
8.มาตรา 112 ขัดแย้งกับ รธน .จริงหรือ และขัดกับรธน. 2550 ที่จะถูกยกเลิกใช่หรือไม่
ตอบ ป.อาญา ม.112 เท่าที่มีการตีความและใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีผลขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแน่ นอน เพราะเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนซึ้งเป็นสิทธิขั้น มูลฐานตามรธน.ของประชาชนโดยสิ้นเชิง แต่อาจไม่ขัดแย้งกับรธน.2550 เพราะเจตนารมณ์ของผู้ร่าง (สสร. 2550) ไม่ถือว่าขัดแย้งอยู่แล้ว
9.ประเทศทั้งหลายในโลกรวมทั้งเยอรมัน เขาไม่คุ้มครองประมุขของประเทศเป็นพิเศษแตกต่างไปจากประชาชนใช่หรือไม่
ตอบ ทุกประเทศมีกฎหมายคุ้มครองประมุขของประเทศ แต่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอย่างเช่นเยอรมัน อังกฤษ อเมริกา เขาถือว่าเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามหลักนิติธรรม ประมุขของประเทศจึงอาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ หากมีการกระทำใด ๆที่มีผลต่อการเมืองการปกครองของประเทศไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม
10.ถ้ามีคนไปโต้แย้งนิติราษฎร์ในที่สาธารณะเขาจะไม่ถูกขว้างปาและโห่ฮาเหมือนกับหมอตุลย์ใช่หรือไม่
ตอบ หากท่านคิดจะไปโต้แย้งกับนิติราษฎร์ ท่านอธิการก็จัดเวทีที่ธรรมศาสตร์สิครับ ผมเชื่อว่าไม่มีใครกล้าโห่ฮาท่านแน่นอน
11.ถ้าเรายกเลิกกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้ เราจะล้มเลิกการกระทำทั้งหลายและลงโทษคณะรัฐประหารกี่ชุด สุจินดา ถนอม ประภาศ สฤษฏ์ จอมพล ป. อ.ปรีดี หรือจะลงโทษเฉพาะคณะรัฐประหารที่กระทำต่อนายกทักษิณ
ตอบ การประกาศให้ผลของการรัฐประหาร ไม่เป็นการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำผิดฐานกบฎ โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้ประชาชนลงประชามติตามที่นิติราษฎร์เสนอ เป็นการยกเลิกการนิรโทษกรรมที่กำหนดไว้ใน รธน. 2550 ไม่ใช่ยกเลิกกฎหมายที่ยกเลิกไปแล้ว ส่วนที่ถามว่าทำไมไม่ยกเลิกผลของการกระทำรัฐประหารของสุจินดา ถนอม สฤษดิ์ จอมพล ป. ปรีดี แล้วเอาตัวคนเหล่านี้มาลงโทษฐานกบฎด้วย เห็นด้วยว่าสมควรทำในสิ่งที่ยังพอกระทำได้ เช่นการให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำรัฐประหาร เหล่านั้น (โดยเฉพาะผู้ที่ถูกลงโทษโดยไม่ผ่านการพิจารณาคดีตามกระบวนการยุติธรรม) แต่การนำตัวผู้กระทำรัฐประหารมาลงโทษคงกระทำไม่ได้แล้วเพราะผู้กระทำผิดส่วน ใหญ่ตายไปแล้ว ที่ยังเหลืออยู่คดีก็ขาดอายุความหมดแล้ว
12.ความเห็นของนักกฎหมายที่เห็นไม่ตรงกับนิติราษฎร์แต่ดีกว่านิติราษฎร์ รัฐบาลนี้จะรับไปใช่หรือไม่
ตอบ ช่วยเสนอให้หน่อยว่าความเห็นของท่านที่ดีกว่าของนิติราษฎร์ คือ อย่างไร ถ้าดีกว่าจริงจะขอสนับสนุนเต็มที่เลย ในฐานะที่เป็นนักกฎหมายด้วยกัน
13.ศาลรธน. ช่วยนายกทักษิณคดีซุกหุ้นถือว่าใช้ได้ แต่ไม่ช่วยคดียึดทรัพย์ถือว่าใช้ไม่ได้ เป็นตุลาการภิวัตน์ใช่หรือไม่
ตอบ ตุลาการภิวัตน์ คือตุลาการที่ยอมตนเป็นเครื่องมือและอาวุธให้แก่ผู้มีอำนาจกลุ่มใดกลุ่ม หนึ่งได้ใช้เพื่อประหัตประหารและทำลายล้างศัตรูของตน ตุลาการศาลทั้งในคดีซุกหุ้นและคดียึดทรัพย์ทักษิณ จึงเป็นตุลาการภิวัฒน์ด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าในคดีซุกหุ้นตุลาการภิวัตน์เป็นฝ่ายแพ้
14.บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรธน. 2550 แย่กว่า รธน. 2540, 2475 ที่นิติราษฎร์จะนำมาใช้ใช่หรือไม่
ตอบ บทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพตามรธน.2550 และฉบับอื่นทุกฉบับไม่มีความหมายอะไรเลย ไม่มีฉบับใดดีกว่ากัน เพราะตราบใดที่ตุลาการไทยยังยอมรับว่ารัฏฐาธิปัตย์คือผู้ที่ได้อำนาจอธิปไตย มาโดยรถถังและปืนและอำนาจอธิปไตยไม่ใช่อำนาจของประชาชน
15.คมช. เลว สสร.ที่มาจาก คมช.ก็เลว รธน.2550 ที่มาจาก สสร.ก็เลว แต่รัฐบาลที่มาจาก รธน. เลว เป็นรัฐบาลดีใช่หรือไม่สสร.ที่มาจากรัฐบาลชุดนี้ และที่ อ.วรเจตน์จะเข้าร่วม ก็เป็นสสร.ที่ดีใช่หรือไม่”
ตอบ ไม่ใช่เรื่องใครดีใครเลว แต่เป็นเรื่องของหลักการในทางนิติศาสตร์ ที่จะต้องมีการยืนยันว่าระหว่างอำนาจรัฐกับเสรีภาพของประชาชนและระหว่าง ระบอบเผด็จการกับระบอบประชาธิปไตย นักกฎหมายควรจะยืนอยู่ข้างใดมากกว่า
- พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักศึกษากฎหมาย เขียนตอบนายกิตติศักดิ์ ปรกติ และนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ ข้อโต้แย้งจากนักศึกษากฎหมาย ถึงนักวิชาการรุ่นใหญ่ กรณีข้อเสนอนิติราษฎร์ (เผยแพร่ที่ประชาไท 27 ก.ย. 54)
- กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช จากกลุ่มประชาธิปไตยไม่ใช่แค่กิ๊ก ที่เคยออกมาเคลื่อนไหวต้านรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เขียนตอบกิตติศักดิ์ ปรกติ ตอบโต้ “ข้อตอบโต้ของ กิตติศักดิ์ ปรกติ ที่มีต่อข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์” (เผยแพร่ที่มติชนออนไลน์ 28 ก.ย. 54)
ขอเรื่อง สมคิด นิดนะ พอดี มีข้อหนึ่งที่เขาเขียน เดิมผมเตรียมจะพูดในงานนิติราษฎร์ แต่ไม่มีเวลา นี่เสียดายไม่ได้พูดไป จะได้ไม่ต้องมาเขียน
“ถ้าตำรวจจับคนร้ายที่ทำผิดจริงมา แต่ไม่ได้สอบสวนโดยละเอียด ต่อมาคนร้ายถูกฟ้องศาล มีการโต้แย้งว่ากระบวนการของตำรวจไม่ค่อยถูกต้อง แต่ศาลเห็นว่าไม่เป็นไร ศาลก็พิพากษาไป ตกลงคำพิพากษาของศาลใช้ได้หรือไม่”
ความจริง การเรียบเรียงคำของสมคิดนี้ไม่รัดกุมเลย (เสียทีที่เป็นศาสคราจารย์กฎหมาย) ตอนแรกที่ใช้คำว่า “ไม่ได้สอบสวนโดยละเอียด” นั้น คลุมเครือเกินไป ไม่สอบสวนโดยละเอียด ความจริง ไมใช่ปัญหากระบวนการทางกฎหมาย (due process of law) เสียทีเดียว แต่เป็นเรือ่งการไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีความสามารถ (incompetence) ของพนักงานสอบสวนหรืออัยการ ซึ่งถ้าเช่นนั้น ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ศาลจะบอกว่าเป็นไรหรือไม่เป็นไร และเรื่องนี้ก็ไม่เกี่ยวกับการดีเบตนิติราษฎร์เท่าไร
ถ้าให้ดีสมคิดควรเรียบเรียงคำใหม่ ยกตัวอย่างซึ่งจะเกี่ยวกับกรณีทีกำลังดีเบตนิติราษฎร์อยู่ และเป็นปัญหาสำคัญมากๆ (ทีเดิมผมคิดจะพูด) ในลักษณะนี้ คือ สมมุติว่า
- คนร้ายทำความผิดจริง
[ในตัวอย่างนี้ ผมจะข้ามประเด็นเรื่อง presumed innocent ไปเลย คือ ให้สมมุติกันเลยว่าคนที่โดนดำเนินคดีนี้ ผิดแน่ๆ ใครๆก็เห็น ใครๆก็รู้ เช่น นาย ก ข่มขืน แล้วฆ่าเด็กหญิงคนหนึ่ง ทุกคนรู้ แบบไม่มีข้อโต้แย้งเลยว่า ทำจริงๆ]
- ในระหว่างการสอบสวน พนักงานตำรวจได้ทำหรือใช้วิธีการทีไม่ค่อยชอบมาพากลทางกฎหมาย (คือไม่ใช่แค่ “ไม่ละเอียด” เท่านั้น)
- คดีขึ้นศาล และศาลตัดสินว่าผิด
คำถามคือในกรณีแบบนี้ (ซึ่งนี่คือสิ่งที่สมคิดตั้งเป็นคำถามสมมุติข้างต้น) เราควรถือว่า “คำพิพากษาของศาลใช้ได้หรือไม่” (ขอย้ำว่า ให้สมมุติตกลงร่วมกันเลยว่า หมอนั่นที่ถูกตัดสิน “ทำผิดจริง” (คำของสมคิด) แน่ๆ)
คำตอบที่ถูกต้อง และควรจะเป็น ต่อคำถามของสมคิดว่า “คำพิพากษาของศาลใช้ได้หรือไม่” คือ “ไม่” NO ตัวใหญ่ๆเลย (ในการตั้งคำถามของสมคิดเห็นได้ชัดว่า เขาต้องการจะบอกว่า “ให้ใช้ได้สิ”)
นี่เป็นเรื่องที่คนไทยจำนวนมาก หรืออาจจะส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ ไม่เข้าใจ คือประเด็นเรื่องความสำคัญของ “วิธีการ” ในการดำเนินการเอาผิดคน
ในประเทศอารยะ ที่มีระบบบกฎหมายเข้มงวดนั้น ควรถือว่า “วิธีการ” สำคัญมากๆ สำคัญยิ่งกว่าตัวคำติดสินเสียอีก
ทำไม?
ก็เพราะว่า ถ้าเรายอมรับ “วิธีการ” หรือ “กระบวนการ” ที่ไม่ชอบมาพากล ที่ผิดหลักการแล้ว ต่อให้ในเฉพาะกรณีที่พูดถึง คนที่ถูกตัดสิน “ทำผิดจริง”
ก็จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่คนอื่นๆที่บริสุทธิ์ ที่อาจจะต้องมาผ่าน “กระบวนการ” แบบนี้สักวันหนึ่ง ทั้งยังเป็นการละเมิดสิทธิของคนที่ “ทำผิดจริง” นั้นด้วย (คนทำผิดจริง ก็มีสิทธิบางอย่างที่ละเมิดไม่ได้ เช่นเดียวกับคนทั่วไป – นี่เป็นประเด็นที่ “สังคมไทย” ไม่เข้าใจเช่นกัน การละเมิดสิทธิของ “คนทำผิดจริง” ก็จะเป็นผลเสียต่อบรรทัดฐาน ที่จะต้องใช้ปฏิบัติต่อคนที่ไม่ทำผิดด้วย)
อย่างที่ผมบอกว่า นี่เป็นประเด็นสำคัญ ที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจ เรียกว่า เป็น “วัฒนธรรม” ทางกฎหมายหรือทางสังคมอย่างหนึ่งก็ได้
ทีน่าเศร้าคือ ประเด็นนี้ แม้แต่คนที่ “มีการศึกษา” จบเมืองนอกเมืองนา ก็ไม่เข้าใจ หรือไม่ยอมให้ความสำคัญ
ใครที่ได้อ่านที่ผม “ดีเบต” หรือ “ด่า” สฤณี ทีสนับสนคำตัดสินยึดทรัพย์ทักษิณ คงเห็นว่า นี่คือประเด็นที่กำลังกล่าวถึงนี้แหละ เป็นประเด็นเดียวกับที่สมคิดยกขึ้นมาเป็นคำถามข้างต้นนั่นแหละ http://weareallhuman2.info/index.php?showtopic=42364
ที่ สฤณี ไม่เข้าใจเรื่องประเด็น “วิธีการ” หรือ “กระบวน” เอาผิดคน เป็นเรื่องน่าเศร้าอยู่แล้ว (คนจบเมืองนอกเมืองนามา)
แต่ยิ่งกว่าน่าเศร้า (น่ากลัว น่าห่วงด้วย) คือ คนระดับศาสตราจารย์ทางกฎหมาย อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ที่สำคัญที่สุดในเมืองไทย (นิติ มธ) ก็ยังไม่เข้าใจ ยังอุตส่าห์ ตั้งเป็นคำถามและตอบในลักษณะเดียวกันด้วย
ให้ผมเล่ากรณีสำคัญทางประวัติศาสตร์มากๆในสหรัฐ ที่รู้จักกันในนาม “สิทธิ มิแรนด้า” (Miranda right)
ใครที่ชอบดูหนังฮอลิวู้ด เกี่ยวกับตำรวจหรือศาล (cop show, legal drama) จะต้องเคยเห็นว่า ในระหว่างการจับผู้ต้องหานั้น คำรวจจะต้อง “อ่าน” คือบอกคนถูกจับ ทำนองนี้
“คุณมีสิทธิที่จะเงียบ อะไรที่คุณพูดขึ้นมาต่อจากนี้ สามารถใช้เล่นงานคุณในศาลได้ คุณมีสิทธิที่จะมีทนาย ถ้าคุณไม่สามารถหาทนายได้ เราจะจัดหาทนายให้…”
เรื่องนี้มีความเป็นมา ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นทักษิณ และข้อเสนอนิติราษฎร์ ระหว่างอ่าน ผมขอแนะนำให้ผู้อ่าน ลองนึกในใจ เรื่องคดีทักษิณ (ที่ดินรัชดา, ยึดทรัพย์) และข้อเสนอนิติราษฎร์ (โมฆะคำตัดสิน แต่ให้ฟ้องใหม่ได้) แล้วก็คำถามสมมุติของสมคิดข้างต้น ตามไปด้วย
ในทศวรรษ 1960 นายโกเมซ มิแรนด้า ได้ทำการลักพาตัวหญิงสาวอายุ 18 ปีคนหนึ่ง แล้วข่มขืนเธอ (นีคือ “ทำผิดจริง” ตามคำสมคิด และเป็นการผิดที่แรงมากๆด้วย)
ในระหว่างการสอบสวน 2 ชั่วโมงของตำรวจ มิแรนด้า ไม่ได้รับการบอกเรื่อง “สิทธิในการเงียบ” และ “สิทธิในการมีทนาย”
หลังจาก 2 ชั่วโมงของการสอบสวนของตำรวจผ่านไป มิแรนด้า ได้ลงนามในคำรับสารภาพ ว่าลักพาและข่มขืนจริง
ในเอกสารคำรับสารภาพที่ มิแรนด้า ลงนามไปนั้น ความจริง มีตัวอักษรพิมพ์กำกับอยู่ด้วยว่า “ข้าพเจ้าขอสาบานว่า ข้าพเจ้าลงนามเอกสารสารภาพนี้ ด้วยความสมัคร โดยไม่ได้ถูกข่มขู่ หรือบังคับ … และด้วยความตระหนักเต็มที่ถึงสิทธิทางกฎหมายของข้าพเจ้า…”
ปรากฏว่า เมื่อคดีนี้ขึ้นสู่ศาลที่อริโซน่า ทนายความของนายมิแรนด้า (เป็นทนายที่ศาลตั้งให้) ได้ยื่นต่อศาลว่า คำสารภาพที่ลงนามไปนั้น ใช้ไม่ได้ เพราะระหว่างการสอบสวน ตำรวจไม่เคยบอก มิแรนด้า ว่า เขามีสิทธิจะเงียบ และมีสิทธิจะมีทนายความปรึกษาด้วยระหว่างการให้การกับตำรวจ
ศาลชั้นต้นอริโซน่า ไม่ยอมรับข้ออ้างนี้ (โปรดนึกถึงตัวอย่างของสมคิดในใจ) แล้วตัดสินว่า มิแรนด้า ผิดจริง จากหลักฐานคำให้การรับสารภาพที่ลงนามนี้ ให้จำคุก 20-30 ปี (รวมแล้วหลายๆสิบปี เพราะหลายกระทง ศาลให้นับต่อกัน สมมุติ กระทงหนึ่ง 20 อีกระทงหนึ่ง 30 ก็คือต้องติดคุก 50 ปี)
ฝ่ายจำเลย ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสูงของอริโซน่า ศาลสูงอริโซน่ายืนตามศาลชั้นต้น
(นึกถึงตัวอย่างสมคิด นี่เป็นสิ่งที่เขาสนับสนุน มองในแง่คนไทยทั่วไป ก็คงรู้สึกว่า การตัดสินเช่นนี้ เป็นเรื่อง “ดีแล้ว” เพราะ มิแรนด้า “ทำผิดจริงๆ” มิหนำซ้ำ ยังลงนามในเอกสารคำรับสารภาพด้วยซ้ำ)
แต่ปรากฏว่า เรื่องนี้ จำเลยได้ยื่นให้ ศาลสูงสุดของสหรัฐ (Supreme Court) พิจารณา ….
ในการตัดสินครั้งประวัติศาสตร์ ศาลสูงสุดของสหรัฐ ได้ลงมติ ยกเลิกคำตัดสินของศาลอริโซน่า (โมฆะคำตัดสินนั้น) เพราะถือว่า ตำรวจได้ทำผิด ไม่บอกให้มิแรนด้า รู้อย่างชัดเจนก่อนว่า เขามีสิทธิจะเงียบ และมีสิทธิจะมีทนายอยู่ด้วย ระหว่างให้การ เป็นการละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญสหรัฐ (ข้อแก้ไขที่ 5 และ 6)
ผลคือ คำตัดสินจำคุกหลายสิบปีของมิแรนด้า ถูกยกเลิกไป
มิแรนด้า ถูกดำเนินคดีใหม่ ขึ้นศาลใหม่ และฝ่ายอัยการ ต้องใช้หลักฐานอื่น ไม่สามารถใช้หลักฐานเอกสารคำสารภาพของมิแรนด้า แต่ในที่สุด มิแรนด้า ก็ถูกตัดสินว่าผิดจริง (โทษตามเดิม แต่ในที่สุด ได้รับการปล่อยตัวก่อน หลังจากนั้นไม่นาน ไปมีเรื่องกับคนอื่น แล้วถูกแทงตาย)
นี่คือ ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากๆ ที่เป็น “เบื้องหลัง” ของสิ่งที่เรามาได้เห็นกันในหนังฮอลิวู้ด ที่ตำรวจต้องอ่าน “สิทธิ มิแรนด้า” ให้คนที่ถูกจับก่อนเสมอ และต้องถามเจ้าตัวก่อนว่า “เข้าใจที่บอกนี้ไหม” และถ้าคนถูกจับ เรียกร้องขอมีทนาย จะต้องหาทนายให้ ทำการสอบสวนต่อไม่ได้ ฯลฯ (ผมเล่าแบบคร่าวๆ จริงๆมีรายละเอียดน่าสนใจกว่านี้)
………………………..
ประเด็นที่อยากจะย้ำคือ วิธีการ หรือ “กระบวน” ที่ถูกต้อง (due process) เป็นเรื่องสำคัญมากๆ สำคัญยิ่งกว่า เรื่องที่ว่า “คนทำผิดจริง” (คำของสมคิด และนึกถึงตัวอย่างที่เขายกมา) สำคัญกว่าตัว “เนื้อหา” ของคดี หรือคำตัดสินด้วยซ้ำ
เพราะเรื่อง due process นี่เป็นเรื่องที่จะต้องใช้กับทุกคน ไม่ว่าใครทั้งนั้น ต่อไปอีกในอนาคต รวมทั้งคนทีบริสุทธิ์ ทีจะต้องมีโอกาสเจอด้วย
นี่เป็นเรื่องของ “บรรทัดฐาน” ของสังคมโดยรวมว่า เราต้องการสังคมแบบไหน
แบบที่ไม่คำนึงถึง “วิธีการ” หรือ “กระบวนการ” อะไร ขอแต่ให้ ในเมื่อ “หมอนั่นผิดจริง” ก็ไม่ต้องสนใจว่า ในการนำเขามาขึ้นศาล และมีคำตัดสินนั้น มี วิธีการ ที่ “หละหลวม” หรือ ไม่ชอบมาพากลอย่างไร
หรือ เราต้องการสังคมที่เคารพในสิทธิของทุกคน แม้แต่คนที่เรามั่นใจเต็มที่ว่า “ผิดจริง” (ขอให้นึกถึงกรณี มิแรนด้า ว่า เขาทำผิดร้ายแรงขนาดไหน) สังคมที่สร้าง บรรทัดฐาน หรือ กระบวนการทีถูกต้อง ในการได้มาซึ่งคำตัดสิน เพราะกระบวนการที่ถูกต้องนั้น จะใช้บังคับกับคนอื่นๆทุกคนด้วย
(ในการเล่าเรื่องนี้ ผม “ผ่าน” ประเด็นเรื่อง presumed innocent ไป จริงๆ แล้ว การยืนยันเรื่องทีต้องเคารพและเข้มงวดกับวิธีการที่ถูกต้อง หรือ due process นั้น เป็นอะไรที่เกี่ยวข้องด้วย
ตอนที่ผมวิพากษ์สฤณี นั้น ผมยกตัวอย่างทำนองนี้ด้วยซ้ำว่า ต่อให้ ผู้ต้องหา “รับสารภาพ” ในระหว่างการสอบสวน ถ้าการรับสารภาพนั้น กระทำภายใต้วิธีการที่ไม่ถูกต้อง คำสารภาพนั้น อาจจะไม่จริงก็ได้ เช่น คนอาจจะ รับสารภาพ เพราะโดนแรงกดดันของการสอบสวน หรือไม่ ก็อาจจะ “โทษตัวเอง” อยาก “ลงโทษตัวเอง” (คล้ายคนอยากฆ่าตัวตาย) หรือ ด้วยเหตุอื่นอีกสารพัด ซึ่งเป็นไปได้
นั่นคือ เป็นไปได้ว่า คนที่ innocent อาจจะ “รับสารภาพ” ก็ได้ ภายใต้เหตุผลบางอย่าง ดังนั้น การมี due process หรือ กระบวนการ วิธีการที่ถูกต้อง จึงเป็นการป้องกัน ไม่ให้คนที่ไม่ได้ผิด ต้องรับผิด – แม้จะจากการ “ยอมรับ” ของตัวเองด้วยซ้ำ)
นิติราษฎร์ ขอบคุณทุกความเห็น
วันที่ 28 กันยายน 2554 คณะนิติราษฎร์ ได้โพสต์บทความบนเว็บไซต์ของตัวเอง ชื่อว่า สารถึงผู้อ่าน – ถึงประชาชนผู้รักในนิติรัฐ-ประชาธิปไตย ขอบคุณทุกความเห็นไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสนับสนุนหรือคัดค้านสืบเนื่องจากข้อเสนอทางวิชาการ “5 ปี รัฐประหาร 1 ปี นิติราษฏร์” และคำชี้แจงรายละเอียดของข้อเสนอให้ “ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549″ ซึ่งคณะนิติราษฎร์ ได้เปิดแถลงข้อเสนอต่อประชาชนผู้สนใจ และแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 และ 25 กันยายน 2554 ตามลำดับ
ปรากฎว่ามีผู้เขียนบทความ จดหมาย คำกลอน รวมทั้งส่งอีเมลมาถึงคณะนิติราษฏร์จำนวนมาก ทั้งที่ให้กำลังใจ สนับสนุนข้อเสนอ รวมทั้งเสนอแนะเพิ่มเติม และทั้งที่ตั้งคำถาม แสดงความไม่เห็นด้วย หรือต่อว่าด่าทอ แต่ด้วยสมาชิกของคณะนิติราษฎร์ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือตอบกลับอีเมลเหล่านั้นได้ทั้งหมด จึงขอส่งสารมายังทุกท่านว่า
คณะนิติราษฏร์ ได้รับสารเหล่านั้นทั้งหมดแล้ว และขอขอบคุณในทุกคำให้กำลังใจและสนับสนุนของประชาชนผู้มีใจรักในนิติรัฐ – ประชาธิปไตย และปฏิเสธ ไม่ก้มหัว หรือยอมจำนนต่อรัฐประหารไม่ว่า ณ เวลาใด ๆ ขอขอบคุณและชื่นชมทุกท่านที่พร้อมร่วมกันยืนยันว่า ในที่สุดแล้ว ประชาชนคือรัฐาธิปัตย์ที่แท้จริงในระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ และมีความชอบธรรมอย่างเต็มที่ในการลบล้างผลพวงจากการประกอบอาชญากรรมยึด อำนาจไปจากมือประชาชน
คณะนิติราษฏร์ จะน้อมรับและตอบข้อสงสัยในคำวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอฯ ก็ต่อเมื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเหล่านั้นได้อ่านและทำความเข้าใจทุกถ้อยแถลง ของข้อเสนอฯ อย่างละเอียดเพียงพอแล้ว ด้วยจิตใจที่เปิดกว้าง วิจารณ์อยู่บนพื้นฐานหลักการแห่งกฎหมาย และขอแสดงความเสียดาย แต่ไม่แสดงความท้อใจเมื่อเราพบว่า ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่จำนนต่อรัฐประหาร พร้อมสยบยอมต่ออำนาจอื่นใด เหยียบย่ำหลักการ และมองข้ามหัวประชาชน.
ปรับปรุงข้อมูล: ข้อถกเถียงเพิ่มเติมต่อข้อเสนอของนิติราษฎร์
หลังจากบทความชิ้นนี้เผยแพร่เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 28 กันยายน 2554 ทางทีมงาน SIU ก็ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากท่านผู้อ่าน ถึงบทความ ข้อเขียน ความเห็นอื่นๆ ต่อข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ไม่ถูกรวบรวมไว้ในบทความชิ้นนี้ทีมงาน SIU ขอขอบคุณข้อมูลจากทุกท่าน และนำมารวมไว้ในที่นี้ เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเด็นการสนทนาเรื่องข้อเสนอของนิติราษฎร์ (อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไป จะลงเฉพาะลิงก์ไปยังบทความต้นฉบับเท่านั้น)
- แถลงการณ์ เครือข่ายราษฎรอาสาปกป้องสถาบัน ๒๑ ก.ย. ๕๔ โดย บวร ยสินทร ในฐานะประธานเครือข่ายราษฏรอาสาปกป้องสถาบัน เผยแพร่ 21 ก.ย. ทางเฟซบุ๊ก
- ทำไมเราควรสนใจข้อเสนอของนิติราษฎร์ โดย รุจ ธนรักษ์ เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.ย. (เผยแพร่ซ้ำบนเว็บไซต์ประชาไท)
- บางมุมต่อข้อเสนอ “นิติราษฎร์” อย่าให้การกระทำส่อเจตนา โดย ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ไทยรัฐออนไลน์ 28 ก.ย.
- นิติราษฎร์ล้างรัฐประหาร: รวมเอกสาร โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายระหว่างประเทศ เผยแพร่ในเฟซบุ๊ก 28 ก.ย.
- กลุ่มนิติราษฎร์ กับความกล้าหาญทางจริยธรรม และจุดยืนที่ตรงข้ามกับ “อประชาธิปไตย” กับ “อธรรมศาสตร์” โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่ในเฟซบุ๊ก 28 ก.ย.
- หลักกฎหมายเรื่องผลไม้พิษ จะใช้ลบล้างคำพิพากษาของศาลได้หรือไม่ โดย ศาสตรา โตอ่อน นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น