โดย : เรือรบ เมืองมั่น ruarob@hotmail.com
ในห้วงเวลา 10 ปีนับจากนี้ ไทยต้องเผชิญกับความท้าทายในประเด็นเก่าและใหม่ ที่ต้องอาศัยกระบวนคิดใหม่ที่กล้าหาญ
และการปฏิบัติที่ได้รับการสืบสานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ล้ำต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะนำประเทศชาติไปสู่ความวุ่นวาย หากปราศจากการจัดการที่เหมาะควรเพียงพอ ประเด็นที่จะกล่าวถึงนี้เป็นตัวอย่างประเด็นที่สำคัญที่ไทยต้องเผชิญอย่างแน่นอน
ประเด็นแรก ที่ท้าทายจิตสำนึกของชนในชาติมากที่สุด คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ แม้ว่าจะเป็นประเด็นที่คนรุ่นเก่าไม่ต้องการให้มีข้อถกแถลง เนื่องจากธรรมเนียมจารีตถูกระบุไว้อย่างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในรัฐธรรมนูญ แต่คนรุ่นใหม่ที่ไม่มีความผูกพันทางใจกับระบอบ ผู้ที่มีแนวความคิดสมัยใหม่หรือผู้นิยมสาธารณรัฐ กำลัง ทวีจำนวนทั้งประมาณและคุณภาพทั้งบนดินและใต้ดินขึ้นทุกวันในสังคม คำถามมากมายถูกตั้งขึ้นอย่างท้าทายและต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจอย่างมากในการอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์หรือสื่อสารให้เหมาะสมถูกกันกับผู้รับสาร จึงเป็นความท้าทายที่ผู้ทำงานเพื่อรักษาระบอบจะต้องใช้วิธีการที่เป็นเหตุเป็นผลในการปรับแก้โลกทัศน์ของคนเหล่านี้ มากกว่าใช้อำนาจ ซึ่งอย่างหลังจะนำไปสู่การท้าทายที่หนักหน่วงยิ่งขึ้น
ประเด็นที่สอง คือ การรักษาความมั่นคงแบบมีส่วนร่วมทั้งสังคม ขณะที่คนรุ่นก่อนมีแนวคิดแบ่งแยกส่วนราชการในการรักษาความมั่นคงภารกิจต่างๆ แต่ภัยคุกคามที่หลากหลายได้นำให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมมือแก้ไขปัญหากันมากขึ้น เพียงแต่ผู้เป็นเจ้าภาพอาจไม่ชัดเจน อีกทั้งการควบคุมบังคับบัญชาในหลายกรณีเป็นที่ถกเถียง ความมั่นคงยุคใหม่ต้องอยู่ภายใต้การจัดการแบบบูรณาการที่ตัดประเด็นอคติระหว่างองค์กรออกไป ในที่นี้รวมถึงในกองทัพที่จะต้องถูกควบคุมโดยพลเรือนได้มากขึ้น ในอนาคตประเด็นจุดยืนความสัมพันธ์ระหว่างทหารและพลเรือน (Civil-Military Relations) จะเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่และท่าทีของคนในเครื่องแบบ ถ้าไม่ใช่ยอมปรับเปลี่ยนจากภายในกองทัพก่อน ก็ต้องโดนบังคับให้จากภายนอก
หลังจากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติจำนวนมากในรอบไม่กี่ปีมานี้ ประเด็นการรักษาสภาพแวดล้อม เป็นประเด็นที่มิใช่เรื่องไกลตัวประชาชน เพราะมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคนและส่งผลถึงความน่าเชื่อถือขององค์กรผู้แก้ไขปัญหา การเอาชนะประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่เพียงแต่จะต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน แต่จะต้องต่อรองเกี่ยวข้องกับองค์กรและหน่วยงานระหว่างประเทศที่ยังคงยึดถือผลประโยชน์เฉพาะชาติหรือส่วนของตน อีกทั้งการตื่นตัวของประชาชนจะทำให้เกิดข้อจำกัดในการดำเนินการด้านอื่นๆ รวมทั้งความมั่นคง ที่อาจกระทบต่อสภาวะแวดล้อมด้วย
ประเด็นภัยคุกคามตามแบบยังคงเป็นประเด็นที่ไม่ล้าสมัย แม้ว่าสงครามขนาดใหญ่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากในปัจจุบัน แต่การชิงความได้เปรียบเหนือสถานการณ์ขัดแย้งใดๆ ที่เกิดขึ้นยังต้องอาศัยกำลังทหารในการสร้างดุลอำนาจเพื่อต่อรอง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นจะต้องจัดให้มีกำลังทหารที่เหมาะสมไว้ดำเนินการในเชิงยุทธศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตความท้าทายในการเรียกร้องให้ใช้งบประมาณด้านอื่นที่จำเป็นตรงต่อสังคมมากกว่าการทหารจะต้องมีมากขึ้น จึงเป็นความท้าทายของนักยุทธศาสตร์ทหารที่จะต้องจัดทำยุทธศาสตร์ที่ได้ดุลยภาพ ยืนอยู่ทั้งบนความเป็นจริง (Pragmatic) และทั้งรักษาโอกาสของการจัดหาอาวุธในอนาคต
ประเด็นภัยคุกคามจากการก่อการร้ายเป็นเรื่องที่น่ากลัวอยู่เสมอ โดยภัยคุกคามที่ใช้อาวุธและกำลังขนาดเล็กปฏิบัติการเฉพาะกิจทั้งเป็นเครือข่ายและไม่เป็นเครือข่ายยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่จำกัดเฉพาะผู้มีแนวคิดคลั่งศาสนาเท่านั้น แต่ในอนาคตความหลากหลายของผู้ก่อการร้ายจะมีมากขึ้นและเกี่ยวโยงกับกลุ่มต่างๆ ซับซ้อนขึ้น เกี่ยวโยงกับอาชีพแบบข้ามสายงานมากขึ้น ในที่นี้ การแยกออกระหว่างกลุ่มก่อการร้ายกับกลุ่มอาชญากรรมหรือบุคคลโรคจิตแบบ Anders Breivik นั้นจะเป็นไปได้ยาก และจะก่อให้เกิดประเด็นว่าองค์กรใดควรเป็นเจ้าภาพในการรับมือกับปัญหาเฉพาะกรณี
ประเด็นที่หกที่จะขอปิดท้ายภาคแรก ก็คือ เรื่องของอธิปไตยตามเจตจำนงของชนกลุ่มน้อย แม้ว่าในรอบหลายปีหลัง การแยกตัวออกไปเป็นประเทศใหม่อย่างติมอร์หรือโคโซโวนั้นลดลงไป แต่ชนกลุ่มน้อยหลายประเทศมีพื้นที่เจรจามากขึ้น และหลายชาติก็ยอมให้ชนกลุ่มน้อยได้สิทธิ Autonomy มากขึ้นด้วย บางที่เช่น Nanavut หรือ Wallachia ก็ได้เพื่อผลประโยชน์การพัฒนาเศรษฐกิจ บางที่ในอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์ก็เพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงโดยเฉพาะ การรั้งใจคนท้องถิ่นให้ยังผูกพันบ้างกับเป็นรัฐบาลกลางนั้นใช้วิธีปราบปรามน้อยลง เพราะเป็นเรื่องสิ้นเปลืองและอาจไม่ได้ผลในระยะยาว ในไทยคงต้องถกกันอย่างหนักในโมเดลที่จะต้องเกิดขึ้น ตลอดจนการแก้เกมของกลุ่มเรียกร้องแยกดินแดนสายพิราบในต่างแดนด้วย
มนุษย์กำลังเคลื่อนไหวเชื่อมโยงกันอย่างรวดเร็วขึ้น ก่อให้เกิดความซับซ้อนแปรเปลี่ยนอย่างมากมาย พลิ้วอยู่ในบริบทของวันนี้และอนาคต
โลกในอีก 10 ปีข้างหน้าอาจมีทั้งสิ่งที่ไทยกำลังประสบอย่างต่อเนื่อง ไม่เคยพานพบมาก่อน หรือฟื้นกลับมาในรูปโฉมใหม่ ความท้าทายด้านความมั่นคงของไทยก็เป็นเช่นที่ว่านี้ เดือนที่แล้วกล่าวถึง 6 ความท้าทายที่ต้องอาศัยกระบวนคิดใหม่ในการรับมืออย่างเหมาะควร และให้ล้ำต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง นั่นคือ ประเด็นท้าทายด้านสถาบันกษัตริย์ การรักษาความมั่นคงแบบมีส่วนร่วมทั้งสังคม การรักษาสภาพแวดล้อม ภัยคุกคามตามแบบ ภัยก่อการร้าย และอธิปไตยตามเจตจำนงของชนกลุ่มน้อย ในบทจบนี้จะกล่าวถึงอีก 6 ประเด็นที่สำคัญไม่แพ้กัน
ประเด็นผลประโยชน์ทางทะเลจะกลายเป็นปัญหาใหญ่กว่าทางบก เพราะเทคโนโลยีที่เป็นไปได้และปรารถนาที่ไม่สิ้นสุด สนองการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นของแต่ละประเทศ ส่งผลเรียกร้องให้มีการแสวงประโยชน์จากการใช้ทะเลเพื่อการส่งกำลังบำรุงและแสวงหาทรัพยากรมากขึ้น ขีดความสามารถและกฎหมายสากลได้เอื้อประโยชน์ให้มีการเรียกร้องในสิทธิ ซึ่งอาจทับซ้อนหรือขัดกับผลประโยชน์ของประเทศอื่น ในอนาคตไทยต้องเผชิญกับปัญหาทะเลในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการใช้ทะเลทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้าน และความไม่ปลอดภัยในน่านน้ำสากลที่เรือไทยต้องผ่าน ตลอดจนการอาจเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางทะเลอื่น ในฐานะสมาชิกชาติอาเซียนด้วย
ประเด็นความมั่นคงทางเศรษฐกิจยังคงเป็นเรื่องที่กระทบและตระหนักรู้ในทุกคนอยู่เสมอ ความยากจนหรือความรู้สึกว่ายากจนเป็นตัวปรับเร่งปฏิกิริยาที่จะกระทำการใดๆ ด้านลบที่กระทบต่อสังคม นอกเหนือจากความเกี่ยวพันกับปัจจัยภายนอกประเทศที่แนบแน่นขึ้นแล้ว ในอนาคตจะเห็นภาพของการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันทั้งระหว่างชนชั้นภายในประเทศมากขึ้น และจะนำไปสู่การเรียกร้องความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจที่หนักหน่วงรุนแรงขึ้นในทุกระดับ ปัญหานี้จะลามเข้าสู่ความมั่นคงด้านอื่น เช่น รายได้หรือขวัญกำลังใจของผู้ทำหน้าที่รักษาความมั่นคงนี้
ประเด็นการตามไม่ทันเทคโนโลยีนั้นเกิดขึ้นได้ในยุคที่อะไรก็ไวก็ทันสมัยไปเสียทั้งนั้น
เทคโนโลยีขนาดเล็กที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันและการดำเนินอาชีพนั้นเหมือนปีศาจที่สามารถควบคุมได้ถ้าเข้าใจมัน แต่ถ้าไม่เข้าใจหรือควบคุมมันไม่ได้ก็จะสร้างความยากลำบาก ในอนาคตนอกจากจะมีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ยากต่อการตามรอยหรือเอาผิดทางกฎหมายได้แล้ว เทคโนโลยียังสร้างความแตกต่างในคุณค่าระหว่างผู้มีกับไม่มีอย่างประมาณค่าไม่ได้ ดังนั้น ไม่เพียงแต่ไทยจะต้องตามติดเทคโนโลยีให้ทัน แต่ต้องสามารถชิงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เทคโนโลยีนั้นเหนือชาติอื่น และสามารถกระจายเทคโนโลยีให้ทุกภาคส่วนในชาติมีและเข้าใจอย่างทั่วถึงกัน
โลกยังไม่เป็นโลกไร้พรมแดนเสียทีเดียว ความรู้สึกเรื่องอธิปไตยและรัฐชาติยังน่าจะสืบ ต่ออีกหลายทศวรรษ แต่ขณะเดียวกัน การซ้อนทับของการเคลื่อนไหวในลักษณะข้ามชาติหรือเหนือชาติจะมีมากขึ้น และมีผลทั้งทางกฎหมายและจริยธรรมในการบีบบังคับรัฐให้ปฏิบัติตาม "สากล" ซึ่งยังอยู่ควบคุมโดยชาติมหาอำนาจ ประเด็นการแทรกแซงจากต่างประเทศไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่รัฐไทยซึ่งปฏิบัติตามกระแสสากลมาเป็นเวลานานแล้วจะต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวมากขึ้น และจะต้องหาจุดดุลยภาพระหว่างผลประโยชน์ชาติกับผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจที่ขัดแย้งกัน
การตื่นตัวของความเข้าใจสภาพแวดล้อมทางสังคมอย่างต่างทิศทางกันของหลากหลาย
กลุ่มในสังคมเปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มผลประโยชน์เรียกร้องต่อรัฐ ให้สนองตอบต่อสิทธิและความต้องการของตน แน่นอนว่า รัฐไม่สามารถตอบสนองได้ทุกกรณีและประเด็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ภายในประเทศอาจนำไปสู่การขัดแย้งอย่างรุนแรงอย่างกรณีแดง-เหลืองที่ไม่รู้ว่าจะจบอย่างไร การแก้ปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์ภายในประเทศจะต้องไม่อาศัยวิธีแบบเก่า เช่น ปราบปรามหรือละเลย แต่ต้องอาศัยการทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งในแต่ละปัญหา ใช้การเจรจากับผู้เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม และอาศัยเงื่อนไขเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น
ใช่ว่าไทยต้องคอยรับมือแต่ความเสี่ยงเสมอไป โอกาสก็เป็นสิ่งที่แสวงหาได้ เช่น ประเด็นการแสวงหาผลประโยชน์ข้ามพรมแดนแบบพหุภาคี ที่ยุโรปตะวันตกพรมแดนประเทศระหว่างเพื่อนบ้านแทบจะเลือนหายไปแล้ว ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เราจะปรากฏช้ากว่าเขา แต่ทุกวันนี้ แต่ละฝ่ายก็เห็นความสำคัญของความมั่นคงชายแดนร่วมมากขึ้นทุกที สามเหลี่ยมมรกตกำลังพัฒนา โอกาสของความเชื่อมโยงอาเซียนทั้งทางบกตอนบนและทางทะเลตอนล่างกำลังเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายพูดถึง เช่นเดียวกับความวิตกในปัญหาร่วมข้ามพรมแดนแบบการสร้างเขื่อนในจีนแล้วทำให้น้ำโขงในประเทศตอนล่างเหือดแห้ง ความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับท้องถิ่น โดยเกี่ยวข้องกับศูนย์กลางอำนาจรัฐน้อยกว่าเกี่ยวข้องกับรัฐอื่นนี้อาจนำมาซึ่งรูปแบบการบริหารหรือปกครองแบบใหม่ก็เป็นได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
►
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)
-
▼
2011
(1241)
-
▼
กันยายน
(189)
-
▼
22 ก.ย.
(9)
- “แม้ว” สั่งโยกย้าย ขรก.ทุกกระทรวงดั่งใจ ชี้ผู้สวาม...
- เปิดรายงานกรรมการสิทธิ์ฯ ชะตากรรมชาวบ้านแหง! ใต้อุ...
- 12 ความท้าทายด้านความมั่นคงในทศวรรษใหม่ที่ไทยต้องเ...
- ผ่าขบวนการค้าไม้พะยูงจากป่าอนุรักษ์ขุมทรัพย์ 2 หมื...
- แม้วผวากลุ่มอำนาจเก่า ยังจ้องขย่มล้ม'รัฐบาลปู' สไก...
- ทุจริตเชิงนโยบาย เกมล่าขุมทรัพย์ “ทองคำสีดำ”
- ปฎิวัติ-คอรัปชั่น แด่นิติแดงแห่งมธ.
- ครม. เห็นชอบข้อเสนอ คอป. ชะลอคดีการเมือง-ปล่อยตัว-...
- พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระ...
-
▼
22 ก.ย.
(9)
-
▼
กันยายน
(189)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น