บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ผ่าขบวนการค้าไม้พะยูงจากป่าอนุรักษ์ขุมทรัพย์ 2 หมื่นล้าน

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง

วิกฤตไม้พะยูงในป่าอนุรักษ์ เผยขบวนการค้าไม้เถื่อนลักลอบตัดส่งจีนสูญเสียปีละ 2 หมื่นล้านบาท ราคาพุ่งลูกบาศก์เมตรละ 80,000-100,000 บาท ด้านกรมอุทยานหวั่นหมดป่าเตรียมผลักดันขึ้นบัญชีไซเตสปี 2556
แม้ไม้พะยูงจะเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ.2484 เช่นเดียวกับไม้ประดู่ ไม้สัก ไม้ยาง ที่จะต้องมีการขออนุญาตทำไม้ก่อน แต่หลังจากรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อาศัยมติคณะรัฐมนตรีให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น คือ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ มีอำนาจสั่งยกเลิกสัมปทานป่าไม้ทั่วประเทศ หรือมีคำสั่งประกาศปิดป่า จึงส่งผลให้ไม่มีการให้สัมปทานทำไม้อีกต่อไป
แต่กระนั้นปัญหาการลักลอบตัดไม้ก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลักลอบตัดไม้พะยูง ซึ่งตามกฎหมายถือว่ามีความผิด แต่โทษจากการลักลอบตัดไม้เหล่านี้ก็ยังไม่ใช่โทษหนัก เพียงแค่ปรับ 10,000 บาทหรือจำคุก 2-5 ปี แล้วแต่ความผิด จึงทำให้ชาวบ้านและพ่อค้าไม้กล้าเสี่ยงเข้ามาทำผิดกันมาก จนทำให้ผืนป่าพะยูงสุดท้ายของเอเชียตะวันออกซึ่งเหลืออยู่เฉพาะในแถบเทือก เขาภูพานและพนมดงรักเข้าสู่ขั้นวิกฤติ
หากไม่นับรวมเทือกเขาพนมดงรักทางอีสานใต้ เฉพาะเขตพื้นที่อีสานเหนือซึ่งประกอบด้วยเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน อุทยานแห่งชาติภูผายล เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน ซึ่งผืนป่าดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด ทั้งสกลนคร กาฬสินธุ์ นครพนม เลยและมหาสารคาม พบว่าป่าพะยูงซึ่งมีรวมกันมากว่า 30-40เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมดถูกลักลอบตัดในช่วง 4-5ปีที่ผ่านมามาถึง 20 เปอร์เซ็นต์
ศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) กล่าว ว่า นับตั้งแต่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศจีนในปี 2551ทางการจีนมีความต้องการไม้พะยูงเพื่อนำไปซ่อมแซมพระราชวังต้องห้ามเป็น จำนวนมาก และหลังจากนั้นเป็นต้นมาในพื้นที่ป่าของประเทศไทยก็มีปัญหาการลักลอบตัดไม้ พะยูงสูงมาก เนื่องจากประเทศในแถบเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็น ลาว กัมพูชาหรือพม่าไม่มีไม้พะยูงอีกแล้ว โดยขณะนี้ไม้พะยูงที่ถูกลักลอบตัดจากป่าอนุรักษ์ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมามีมูลค่าความสูญเสียมากกว่าปีละ 20,000 ล้านบาท
“มีข่าวว่าปีนี้มีออเดอร์จากจีนต้องการนำเข้าไม้พะยูงสูงถึง 140 ล้านตัน เราจึงต้องระวังกันอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามแม้อุทยานต่างๆจะจัดชุดเฉพาะกิจลาดตระเวนในพื้นที่ และตั้งจุดตรวจตามด่านสำคัญๆแต่ก็ยังมีการลักลอบขนไม้ออกแทบทุกวัน”ศักดิ์ดา กล่าว
และย้ำว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถปราบปรามขบวนการลักลอบทำไม้และค้าไม้พะยูงใน เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้อย่างเด็ดขาดเนื่องจากเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งรู้เห็น เป็นใจกับกลุ่มผู้ลักลอบตัดไม้ บางครั้งพยายามจะหามาตรการป้องกัน เช่น จัดชุดเฉพาะกิจตามจับแต่กลายเป็นว่าข้อมูลรั่ว จนทำให้ต้องยกเลิกไปโดยปริยายแต่ต้องหันมาใช้วิธีการหารือกันวงในเฉพาะเจ้า หน้าที่ที่ไว้ใจได้จริงๆเพราะไม่เช่นนั้น จะกลายเป็นส่งมอบชั้นความลับให้โดยไม่รู้ตัว
วิมล อึ้งพรหมบันฑิตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูผายล เล่าว่า ปัจจุบันมีนายทุนนอกพื้นที่ไปจ้างชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านรอบๆอุทยานฯ ให้เข้ามาลักลอบตัดไม้ในพื้นที่ โดยได้รับค่าจ้างตัดและค่าจ้างขนไม้ออกจากป่าในราคาแพง โดยได้รับค่าจ้างขนออกจากป่าท่อนละ 5,000-6,000บาท
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ข้อมูลของกรมป่าไม้ระบุว่า ไม้พะยูงมีราคาสูงจากเดิมราคารับซื้อจากประเทศจีนอยู่ที่ลูกบาศก์เมตรละ 40,000 บาท แต่ปัจจุบันราคารับซื้ออยู่ที่ลูกบาศก์เมตรละ 80,000-100,000 บาท
อนุ  คำวงศ์ษาพนักงานลาดตระเวนอุทยาน แห่งชาติภูผายล กล่าวว่า การลักลอบค้าไม้พะยูงจะมีวิธีการไม่แตกต่างจากขบวนการค้ายาบ้า โดยมีการตัดตอนผู้ที่ร่วมกลุ่มขบวนการเป็นทอดๆโดยเจ้าหน้าที่ไม่สามารถตรวจ พบพบความเชื่อมโยงได้ ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านรอบอุทยานจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ การลักลอบไม้และเป็นผู้ค้าไม้รายย่อยเสียเอง โดยผู้หญิงจะทำหน้าที่เข้าไป “ชี้เป้า”หรือ “ชี้พิกัด วัดรอบ”ว่ามีไม้พะยูงอยู่บริเวณใดบ้าง และจะได้รับค่าตอบราคาต้นละ 500-10,000 บาท ตามขนาด เมื่อ “แจ้งพิกัด”แล้วจะมี “มือเลื่อย”เข้ามารับหน้าที่ต่อ
ปัจจุบันพื้นที่ที่มีการทำไม้พะยูงมากที่สุดอยู่ที่ ต.บ้านแก้ง ต.ก้านเหลือง ต.คำพี้ อ.นาแก จ.นครพนม เขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติภูผายล ที่บ้านนาผือ หมู่ 8บ้านจอมศรี หมู่ 2หมู่ 3บ้านโพนตูม บ้านจำปาศรี บ้านจำปาทอง บ้านคำพี้ บ้านดงขวาง และบ้านโพนงาม
ประสิทธิ์ ดวงศรีจันทร์พนักงานที่พิทักษ์ป่าอุทยานแห่ง ชาติภูผายลประจำจุดตรวจบ้านแก้งกะอาม ให้ข้อมูลว่า ในบางพื้นที่พบว่า ชาวบ้านจะเข้าป่าหาไม้พะยูงเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 10-15คน เดินป่าเพื่อกระจายกันออกหาไม้พะยูงทั้งที่ยังยืนต้นอยู่หรือที่ล้มแล้ว โดยทำเครื่องหมายไว้ ในกรณีที่นำเลื่อยยนต์ไปด้วย ก็จะแปรรูปกันตรงจุดที่พบทันที
ยศ(นามสมมุติ) ชาวอำเภอบุ่งคล้า ผู้ต้องหารับจ้างขนไม้รับสารภาพหลังจากถูกเจ้าหน้าตำรวจ สภ.เต่างอย จ.สกลนครซึ่งตั้งจุดตรวจค้นบ้านกวนบุ่กนว่า เขาได้รับการติดต่อจากนายหน้าว่าจ้างให้ไปส่งไม้พะยูงที่ชายแดนไทยฝั่ง จ.กาฬสินธุ์  โดยให้ขนไม้จำนวน 9 ท่อนและให้ค่าจ้างท่อนละ 1,000 บาท รวมทั้งหมดเป็นเงิน 9,000 บาท โดยผู้ว่าจ้างอ้างว่าเคลียร์เส้นทางไว้แล้ว
“ผมวิ่งรถไปรับไม้ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง พอขนไม้เสร็จก็โทรแจ้งรถนำ เพราะรถนำจำทำหน้าที่เคลียร์ตามด่านต่างๆ แต่ไปไม่รอด เพราะถูกจับได้เสียก่อน”ยศให้ข้อมูล
ส่วนแสวง (นามสมมุติ) ผู้มากับรถปิกอัพเลขทะเบียน จ.ชลบุรีนำและทำหน้าที่เคลียร์ตามด่าน ชี้แจงหลังถูกจับว่า เขาไม่ใช่พ่อค้าไม้แต่ถูกว่าจ้างจาก “ออร์เดอร์”ให้มาช่วยรับไม้อีกทอดหนึ่ง โดยเขาถือเงินอยู่จำนวนกว่า 100,000 บาท
 “ผมตกลงซื้อไม้ 9 ท่อนในราคา 60,000 บาท ส่วนอีก 20,000 บาทก็จะจ่ายให้กับนายหน้าที่ทำหน้าที่ติดต่อหารถกระบะขนไม้ ส่วนที่เหลืออีก 20,000 บาท จะใช้เพื่อเคลียร์ตามด่านต่างๆที่ผ่านมาผมเคยเคลียร์ได้ ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่ที่รู้จักก็จ่ายด่านละ 4,000-5,000 บาท ถ้าด่านไหนยากๆหน่อยก็ 7,000 บาท ครั้งนี้ไม่คิดว่าเจ้าหน้าที่จะซ้อนแผนต้องเสียเงินเพิ่มเป็น 30,000 บาท”แสวงกล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการจับกุมผู้ลักลอบนำไม้ออกจากผืนป่าอนุรักษ์ได้แทบทุกวัน แต่เจ้าหน้าที่ก็ยอมรับว่าบรรดาผู้ที่รับจ้างเป็นมือขนนั้นใช้เล่ห์กลสารพัด วิธีเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ในกรณีที่ไม่สามารถใช้เงินเคลียร์เส้นทางที่จุด ตรวจ
 เจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจบ้านส่านแว้ เล่าให้ฟังว่าง รถปิกอัพยังคงเป็นพาหนะชั้นนำในการใช้ขนส่งไม้พะยูง แต่รถรับจ้างเหล่านี้และผู้ว่าจ้างมักนำรถไปดัดแปลง เช่น การเจาะกระบะแล้วเอาถังน้ำมันวางไว้ด้านล่างเพื่อให้สามารถบรรจุไม้ขนาดหน้า 4 แผ่นเหลี่ยมให้ได้จำนวนมาก ใช้รถตู้ขนโดยถอดเบาะออกทั้งหมด ใช้รถห้องเย็นติดสติกเกอร์ยี่ห้อขนม ใช้รถบัสที่มีลักษณะเป็นรถห้องเย็น รถขนไอศกรีม หรือรถบรรทุกสินค้าชนิดอื่น แต่วางไม้ไว้ข้างใต้ หรือแม้แต่รถขายกับข้าว รถที่ใช้วิ่งขายของในตลาดนัด
“รถพวกนี้ไม่ว่าจะติดสติกเกอร์อำพรางยังไงแต่เราก็รู้ เพราะเขาจะเสริมแหนบอีกชั้นหนึ่งเพื่อเตรียมรับน้ำหนัก คนพวกนี้ไม่กลัวเพราะถ้าขนไม้ผ่านด่านไปได้ เขาจะได้ค่าจ้างเที่ยวละ 20,000 บาท”เจ้าหน้าที่คนเดิมกล่าว
เขาให้ข้อมูลว่า จากการจับกุมพบว่าไม้ที่ลักลอบนำออกจากอุทยานฯภูผายล จะสามารถนำออกไปได้ 3 เส้นทาง คือ เข้าไปที่ จ.สกลนคร-หนองคาย –บุ่งคล้า-จ.บึงกาฬ หรือจาก จ.กาฬสินธุ์-วิ่งอ้อมกลับมาที่ จ.หนองคาย และจากสกลนคร เข้าไปที่ จ.มุกดาหาร-วิ่งอ้อมกลับมาที่ ต.ท่าอุเทน จ.นครพนม
ฃขณะที่แหล่งข่าวจากกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี ให้ข้อมูลว่า เมื่อไม้พะยูงถูกขนข้ามโขงมาถึงฝั่งลาวแล้วก็จะมีกรรมวิธีในการนำสวมเข้า โควตาเป็นไม้ลาว จากนั้นบรรทุกใส่ตู้คอนเทนเนอร์ส่งไปยังประเทศจีน ผ่านเส้นทางหมายเลข 12 ในลาวเข้าไปยัง”ด่านจาลอ”ของประเทศเวียดนามทางตอนกลางของประเทศผ่าน”เมือง วิง”แล้วมุ่งหน้าขึ้นทางเหนือสู่ชายแดนจีนที่เมืองหนานหนิง และบางส่วนก็แยกเส้นทางเข้าไปที่มณฑลเสฉวนของประเทศจีน
แหล่งข่าวยังระบุอีกว่า การลักลอบทำไม้พะยูงใหญ่มีการทำเป็นขบวนการใหญ่มาก มีนักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่นเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ 3 จังหวัดรอยต่อ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร นอกจากนี้ยังมีนักธุรกิจ ซึ่งเป็นเสี่ยชื่อดังในจ.นครพนมเป็นนายหน้ารายใหญ่ติดต่อกับทางจีนโดยตรง
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้านั้น สุนันต์ อรุณนพรัตน์ อดีตอธิบดีกรมอุทยานพรรณพืชและสัตว์ป่า เคยให้สัมภาษณ์ก่อนจะถูกย้ายเข้ากรุผู้ตรวจฯว่า กรมอุทยานฯ จะพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการขึ้นทะเบียนไม้พะยูงไว้บัญชีอนุสัญญาว่า ด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (ไซเตส) เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายและการค้าระหว่างประเทศ โดยกรมอุทยานฯจะผลักดันเรื่องนี้ให้ได้ในการประชุมไซเตส ครั้งที่ 16ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในปี 2556โดยในระหว่างนี้ได้ให้เร่งสำรวจและศึกษาวิจัยความสำคัญของไม้พะยูงเพื่อ ให้นานาชาติเห็นถึงความสำคัญ
และการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่อุทยานฯสามารถจับ กุมผู้ค้าไม้รายใหญ่และรายย่อยได้เกือบทุกวัน คงพอจะเป็นคำตอบที่ชี้ให้เห็นอนาคตของไม้พะยูงในผืนป่าสุดท้ายของเอเชียได้ เป็นอย่างดี

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง