วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554
ฮุนเซนโมเดล (สารส้ม)
การเดินทางเข้าไปปรากฏตัวร่วมกับฮุนเซนของ ทักษิณ ชินวัตร เกิดขึ้นในวาระเดียวกันกับการเลี้ยงฉลองของเหล่าบรรดาผู้ร้ายหลบหนีอาญาแผ่น ดินไทยหลายราย
ไม่ว่าจะเป็นนายอริสมันต์ที่ปรากฏกายบนเวทีเคียงข้าง กับนางดารณี หรือไม่เว้นแม้แต่นายจักรภพ เพ็ญแข ผู้ต้องหาในคดีดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ผู้แสดงทัศนะจาบจ้วงอยู่เป็นขาประจำ
ทั้งหมดทั้งมวล เฮฮาร่วมกันกับทักษิณ ชินวัตร และแกนนำเสื้อแดง
แล้ว ยังจะปฏิเสธอยู่หรือ... ว่าทักษิณไม่รู้ไม่เห็นกับขบวนการก่อการร้าย เผาบ้านเผาเมือง และจาบจ้างดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย?
แล้ว ยังจะปฏิเสธได้หรือ... ว่าฮุนเซนไม่ได้รู้เห็นเป็นใจ หรือร่วมขบวนการของทักษิณโจมตีราชอาณาจักรไทยในช่วงที่ผ่านมา? ไม่ว่าจะกรณีโจมตีชายแดน หรือการรับเลี้ยงดูผู้ร้ายหลบหนีอาญาแผ่นดินจากประเทศไทย
1) ฮุนเซนเลือก "ชินวัตร" เหนือกว่า "ประเทศไทย"
นาย อู วิรัค ประธานของศูนย์สิทธิมนุษยชนกัมพูชา บอกว่า ทักษิณมีความสนใจมากในเรื่องการลงทุนในประเทศกัมพูชา เขาต้องการจะสานต่อการลงทุนในเกาะกง และเสริมสร้างการลงทุนในภาคอื่นๆ เช่น น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
นายอู วิรัค ยังตั้งข้อสังเกตอย่างแหลมคมด้วยว่า ฮุนเซนมอบศรัทธาไว้กับพรรคเพื่อไทย และ "เสื้อแดง" ที่สนับสนุนตระกูล "ชินวัตร" มากเกินไป ทั้งๆ ที่ พวกเขาเป็นเพียงด้านหนึ่งของการแบ่งแยกทางการเมืองในประเทศไทย "ผมเห็นว่าการเมืองที่เลือกข้างเช่นนี้เป็นอันตราย เพราะระบอบการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ"
2) ฮุนเซนโมเดล
ถึง เวลานี้ ท่าทีของทักษิณและฮุนเซนทำให้บทวิเคราะห์ว่าด้วย "ฮุนเซนโมเดล" ที่คุณคำนูณ สิทธิสมาน เคยวิพากษ์วิจารณ์ไว้ว่าอาจจะถูกนำมาใช้กับประเทศไทย ดูจะคืบคลานใกล้เข้ามายิ่งกว่าเดิม
ส.ว.คำนูณ วิเคราะห์ไว้ เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2552 ใจความสำคัญบางตอนว่า
"....ฮุนเซนโมเดล หมายรวมถึง แนวทางการเข้าสู่อำนาจ, การหาประโยชน์จากอำนาจ,
การ ต่อสู้เพื่อรักษาอำนาจ ในแบบของสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีตลอดกาลของกัมพูชา ซึ่งอาจจะเป็นที่ปรารถนาใคร่จะลอกเลียนแบบของอดีตผู้นำไทยบางคน อดีตผู้นำไทยบางคนนั้นจะรวมถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรด้วยหรือไม่ ต้องใช้วิจารณญาณตอบเอง
แต่ความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้แล้วในวันนี้ คือ การต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจทางการเมืองกลับคืนมาของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ยกระดับจากการก่อการภายในประเทศมาสู่การดึงเอาอำนาจนอกประเทศมาเป็นส่วน หนึ่งของขบวนการต่อสู้แล้วโดยสมบูรณ์
...ถ้าจะเข้าใจสมเด็จฯ ฮุนเซน ต้องเข้าใจการเมืองของกัมพูชา ที่เดิมมีกษัตริย์ แม้จะเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ก็ยังมีระบอบกษัตริย์ภายใต้อารักขาฝรั่งเศสอยู่ นั่นก็คือเจ้าสีหนุ
สมเด็จฯ ฮุนเซนเกิดเมื่อ 2494 ตอนนั้นกัมพูชาได้เอกราชใหม่ๆ ช่วงหลังสงครามโลก ตอนที่เป็นเด็กอยู่ในช่วงที่เจ้าสีหนุเปิดศึกฟ้องร้องเขาพระวิหารกับไทย เขาเป็นคอมมิวนิสต์คนหนึ่ง จึงแตกฉานในทฤษฎีลัทธิมาร์กซ์-ลัทธิเลนิน และความคิดเหมาเจ๋อตง สันทัดในยุทธศาสตร์ยุทธวิธีคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะระบบการจัดตั้ง ที่เขานำมาใช้กับพรรคการเมืองและการเลือกตั้งในรูปแบบประชาธิปไตยวันนี้
ระบบ สีหนุล่มสลายเพราะพรรคคอมมิวนิสต์ หรือเขมรแดง ภายใต้การนำของนายพอลพต เข้ายึดครองกัมพูชาระหว่างปี 2518 - 2522 สมเด็จฯ ฮุนเซน เดิมเป็นทหารชั้นผู้น้อยในสังกัดเขมรแดง แต่โลกคอมมิวนิสต์ขณะนั้นเกิดความแตกแยกระหว่างจีนกับรัสเซีย เวียดนามที่โดยปกติสนับสนุนเขมรแดง ตัดสัมพันธ์กับเขมรแดงที่นิยมจีน เหมือนกับที่เวียดนามและลาวตัดสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่นิยมจีนใน ช่วงเวลาเดียวกัน สมเด็จฯ ฮุนเซนและพรรคพวกจำนวนหนึ่ง ภายใต้การนำของนายเฮงสัมริน -ที่บัดนี้เป็นสมเด็จเหมือนกัน "สมเด็จอัครมหาปัญญาจักรีเฮง สัมริน" -เลือกยืนข้างเวียดนาม ต่อมาก็หนีไปอยู่กับเวียดนาม ยกเข้ามาไล่ตีเขมรแดงออกจากอำนาจไปเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1978 หรือ พ.ศ.2521 และยึดครองอยู่ 13 ปีเศษ
สมเด็จฯ ฮุนเซนเริ่มต้นเข้าสู่อำนาจทางการเมืองเป็น รมว.ต่างประเทศ เมื่อปี 2522 จวบจนบัดนี้ เขาอยู่ในอำนาจเป็นเวลา 30 ปีพอดี
เมื่อ ปี 2535 เวียดนามถอนตัวออกจากกัมพูชา สหประชาชาติจัดการเลือกตั้งซึ่งมีกลุ่มและฝ่ายต่างๆ กลับเข้ามาสู่สนามการเมือง พรรคประชาชนกัมพูชา CPP แพ้พรรคฟุนซินเปคของเจ้านโรดมรณฤทธิ์ โอรสของเจ้าสีหนุ แต่สมเด็จฮุนเซนก็ยังได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 เพราะประกาศว่าหากไม่ให้อำนาจเขา ประเทศก็จะกลับเข้าสู่สงคราม เนื่องเพราะเขามีกองกำลังทหารเข้มแข็งที่สุด
พูดง่ายๆ ว่าเอาสันติภาพของประเทศเป็นตัวประกัน!
เหมือน ใครครับพี่น้อง.... ประเทศกัมพูชาในยุคนั้นจึงมีกษัตริย์เป็นประมุข และลูกชายกษัตริย์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 ส่วนสมเด็จฮุนเซนเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 จากนั้น สมเด็จฯ ฮุนเซนก็ใช้ยุทธวิธีหลากหลายรูปแบบสลายพรรคฟุนซินเป็ก ทั้งเงิน ทั้งอิทธิพล ส.ส.พรรคฟุนซินเป็คย้ายพรรคมา CPP ไม่น้อย เจ้ารณฤทธิ์ต้องการคานอำนาจทหารสายนิยมเวียดนาม จึงคิดจะดึงกองกำลังเขมรแดงกลับเข้ามาในกองทัพ จึงถูกสมเด็จฮุนเซนรัฐประหารเมื่อปี 2540 มีคนตาย 54 คน บาดเจ็บนับร้อย เจ้ารณฤทธิ์หนีไปต่างประเทศ สมเด็จฯ ฮุนเซนผงาดเป็นผู้นำหนึ่งเดียวที่มีอำนาจมากที่สุดตั้งแต่บัดนั้น เพราะหลังจากนั้นอีก 1 ปี มีการเลือกตั้งรอบใหม่ เขาชนะอย่างถล่มทลาย เป็นนายกรัฐมนตรีหนึ่งเดียวมาตั้งแต่ปี 2541 ถึงปัจจุบัน
ในช่วงแรก เขาขอให้เจ้าสีหนุสถาปนาเป็นสมเด็จฯ ฮุนเซนเฉยๆ แต่ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประมุขเป็นเจ้าสีหมุนีที่อ่อนชั้นอ่อนเชิง กว่ามากนัก เขาจึงได้รับการสถาปนาเป็น "สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุนเซน" เมื่อตุลาคม 2550
...กษัตริย์สีหมุนีแตกต่างกับกษัตริย์สีหนุโดยสิ้น เชิง สมเด็จฯ ฮุนเซนไม่ผิด เพราะสมาทานลัทธิคอมมิวนิสต์มาแต่ต้น ไม่ได้จงรัก ภักดี หรือเห็นความสำคัญของสถาบันกษัตริย์อยู่แล้ว แต่เลือกที่จะไม่โค่นล้มในทันทีแล้วตั้งตนเองเป็นประธานาธิบดี หันมาใช้ยุทธวิธีเลือกเชื้อพระวงศ์ที่ไม่พร้อมด้วยประการทั้งปวงขึ้นมาเป็น กษัตริย์ แล้วอวยยศให้ตนเป็นเจ้า
...นี่แหละคือ ฮุนเซนโมเดล ใช้กองกำลังต่างชาติสนับสนุน, สนับสนุนเชื้อพระวงศ์ที่ไม่พร้อมให้ขึ้นมาเป็นกษัตริย์, ให้กษัตริย์ใหม่สถาปนาตนเป็นเจ้า, ใช้ระบบจัดตั้งแบบคอมมิวนิสต์คุมพรรค คุมประชาชน เพื่อรักษาอำนาจไว้ตลอดกาลภายใต้รูปแบบประชาธิปไตยตะวันตก - การเลือกตั้ง, เนื้อแท้ของระบอบคือเผด็จการรวมศูนย์อำนาจการเมือง-เศรษฐกิจและเปิดประเทศ จับมือกับกลุ่มทุนตะวันตกให้เข้ามาแสวงประโยชน์จากทรัพยากรของชาติในทุกรูป แบบ..."
3) ส.ว.คำนูณ ยังทายทักไว้ตั้งแต่ครั้งกระโน้นด้วยว่า การเคลื่อนไหวของขบวนการทักษิณนั้น "...หวังผลขั้นแรก คือ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยุบสภา, พรรคการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณได้รับเลือกด้วยเสียงข้างมากเกินครึ่ง, นิรโทษกรรมทุกฝ่าย นำประเทศกลับไปสู่ช่วงก่อน 19 กันยายน 2549 หากไม่เป็นผลหรือสถานการณ์เอื้ออำนวย อาจถึงขั้นปฏิวัติประชาชน..."
ถึงวันนี้ เห็นภาพชัดแจ้งแดง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น