สุริยันต์ ทองหนูเอียด
“เรา
มีนโยบายชัดเจนทุกอย่าง จะเป็นไปตามหลักนิติธรรม
และความเสมอภาคของทุกคนเท่าเทียมกัน ฉะนั้น
ไม่ว่าจะเป็นด้านของพี่ชายของตนที่จะได้รับ ก็ต้องได้รับเหมือนทุกคน
เท่าเทียมกัน”
นี่คือ คำสัมภาษณ์ของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา กรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะระบุว่ามีแผนบันได 4 ขั้นเพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับการนิรโทษกรรม โดยบอกว่าไม่ทราบว่าแผนบันได 4 ขั้น
คืออะไรแต่ขอเรียนว่าพรรคเพื่อไทยเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชน
เป็นอย่างแรกส่วนการทำอะไรเพื่อคนๆ เดียวตนและพรรคคงไม่ยอมทำอย่างนั้น
ซึ่งเมื่อสื่อมวลชนถามว่า การนิรโทษกรรม ต้องทำหลังแก้ไขปัญหาให้ประชาชน ใช่หรือไม่
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้สมัคร สส.บัญชีรายชื่อหมายเลข 1 พรรค
เพื่อไทยในขณะนั้นกล่าวว่า ใช่ ตรงนี้ยังไม่อยากให้พูด
ถึงเรื่องนิรโทษกรรมในวันนี้
อยากให้มองว่าจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองเข้าสู่ความสามัคคี
เกือบ
หนึ่งเดือนที่ผ่านมา หลังจากที่พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลแล้ว
ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่หนักที่สุด คือ
ปัญหาน้ำท่วมในหลายในพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคกลาง กทม. และปริมณฑล
แต่
สิ่งที่เราเห็นจากสื่อมวลชนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล
ก็คือความล่าช้าที่ไม่สามารถรับมือกับวิกฤติของปัญหาขนาดใหญ่ได้
รัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่ได้มีมาตรการเชิงรุกเหมือนเดิม
ซึ่งการจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็จ่ายครัวเรือนละ 5,000 บาท
เหมือนเดิม ก็ไม่ต่างอะไรกับการช่วยเหลือของรัฐบาลที่แล้ว
และไม่อาจเยียวยาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ขณะที่
นักการเมืองบางคนก็ยังฉวยโอกาสหาประโยชน์จากสถานการณ์น้ำท่วมเหมือนเดิม
ทั้งการโฆษณาสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม
และการของบประมาณช่วยเหลือต่างๆ เป็นต้น
ใน
ขณะที่ประชาชนกำลังสาละวนอยู่กับปัญหาน้ำท่วม นักการเมือง พรรคร่วมรัฐบาล
กลับคิดถึงทักษิณ บ้างจัดคนไปให้กำลังใจที่ต่างประเทศ
บ้างก็คิดชวนทักษิณมาเตะฟุตบอลกระชับมิตรไทย-กัมพูชา
สถานการณ์ที่น่ากังวลของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ประกาศว่า “แก้ไข ไม่แก้แค้น” กลับเป็นกระแสโยกย้ายข้าราชการระดับสูง โดยอ้างการไม่รับความเป็นธรรมของคนเครือญาติและล้างคนในระบบเดิม
รวมไปถึงปูนบำเหน็จให้คนเสื้อแดงในตำแหน่งอำมาตย์ทางการเมือง และการแต่งตั้งคนเก่าของนายใหญ่อย่างพลตำรวจตรีสุรสิทธิ์ สังขพงศ์ เป็นกรรมการในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น
ในสถานการณ์จากภัยพิบัติและกระแสข่าวโยกย้ายข้าราชการระดับสูง ก็เกิดกระแสนิรโทษกรรมให้กับทักษิณเกิดขึ้น โดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์กรณีการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 ที่ผ่านมาว่า
“เรื่องนี้มีประชาชน ดำเนินการมาเกือบ 3 ปี มีรายชื่อ 3.6 ล้านรายชื่อ ไปยื่นที่สำนักพระราชวัง จากนั้นสำนักพระราชวังส่งกลับมาให้กรมราชทัณฑ์ตรวจสอบ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ใช้เวลาตรวจสอบ 2 ปีเศษ ข่าวก็ออกมาว่า 1.6 ล้านรายชื่อไม่ตรง ตรงแค่ 2 ล้านรายชื่อ ซึ่งเป็นเรื่องเก่า ส่วนผู้ที่ออกมาแสดงความเห็นเรื่องกฎหมายนั้น พูดไม่รู้เรื่องเลย ถ้าอยากรู้ให้มาหาตน เดี๋ยวจะอบรมให้”
ซึ่ง
เมื่อสื่อมวลชนถามถึง กรณีโฆษกกระทรวงยุติธรรมระบุว่า
หากเป็นผู้หนีคดีต้องรับโทษก่อนที่จะยื่นฎีกาขอ พระราชทานอภัยโทษ
ร.ต.อ.เฉลิมตอบว่า นั่นเป็นแนวทางหนึ่ง ตนไม่ขออธิบาย
ผู้
สื่อข่าวรายงานว่า ร.ต.อ.เฉลิม
ได้แจกเอกสารชี้แจงเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษ
ระบุกฎหมายที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สามารถทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา คือ ผู้ต้องโทษคำพิพากษา ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง และคณะรัฐมนตรี รวม
ทั้งชี้แจงกรณีข้อถกเถียงที่ผู้หลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา
และศาลได้อ่านคำพิพากษาลับหลังให้ลงโทษจำคุก
มีสิทธิได้พระราชทานอภัยโทษหรือไม่ โดยระบุว่า
1.ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามผู้หลบหนีตามคำพิพากษาศาลยื่นถวายฎีกา, 2.ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องถูกจำคุกจริงๆนานเท่าใด จึงจะถวายฎีกาได้, 3.การ
พระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจเฉพาะพระองค์
ไม่มีกฎหมายบัญญัติกรอบอำนาจพระมหากษัตริย์ว่าจะอภัยโทษในกรณีใดบ้าง
คดีประเภทใดอภัยโทษได้ คดีประเภทใดอภัยโทษไม่ได้
หรือการอภัยโทษจะต้องมีเงื่อนไขใดบ้าง ต้องจำคุกมาแล้วนานเท่าใด, 4.เมื่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอภัยโทษมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การแปลกฎหมายว่า “ผู้หลบหนีจะต้องมามอบตัวและรับโทษจำคุกเสียก่อน จึงขออภัยโทษได้” นั้น เป็นการแปลกฎหมายตามความคิดเห็นส่วนตัว หรือเป็นการเข้าใจเอาเอง ทั้งๆ ที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้
การเคลื่อนไหวดังกล่าว นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เรียกร้องไปยัง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
รองนายกรัฐมนตรี ว่าให้ยุติการบิดเบือนประเด็น
การให้ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงกับประชาชน และอ้างกฎหมายมหาชน
เพื่อนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 291 และ 309 โดยเฉพาะความพยายามของรัฐบาลที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
การ
ปูนบำเหน็จคนใหม่และโยกย้ายเอาคนเก่าที่รับใช้นายใหญ่เข้าสู่อำนาจรัฐ
นี่เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการแทรกแซงข้าราชการประจำ
ไปสู่องค์กรอิสระอื่นๆ หลังจากที่ยึดกุมรัฐสภาและพรรคได้แล้ว
นี่คือการฟื้นฟูระบบทักษิณใหม่ ผ่านสถานการณ์โลกรอบล้อมเรา คนเสื้อแดงและรัฐบาลเพื่อไทย
----------------------------------------
หมายเหตุตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์แทบลอยด์ไทยโพสต์
คอลัมน์ชานชาลาประชาชนฉบับวันที่ 11– 17 กันยายน 2554
ขอขอบคุณภาพจาก tnews.co.th
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น