บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ไขปมประธานศาล ปค.สูงสุดส่งศาล รธน.ตีความ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีอำนาจหรือไม่?








โดย ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์


ประด็นหนึ่งที่การร้องเรียนอดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)คือ อดีต ผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดอ้างอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ในการส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มาตรา 16 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือ ไม่ โดย มาตรา 16 ระบุว่า ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตาม พ.ร.ก.ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองฯ
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 211 บัญญัติว่า ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด  ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 (ขัดต่อรัฐธรรมนูญ) และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณา วินิจฉัย
จากบทบัญญัติดังกล่าว “ศาล” ตาม มาตรา 211 ย่อมหมายถึง “องค์คณะตุลาการหรือองค์คณะผู้พิพากษา“ที่พิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าว มิได้หมายถึง ตัวหรือตำแหน่ง “หัวหน้าศาล”อธิบดีศาล”หรือ “ประธานศาล” ที่มิได้ร่วมหรือนั่งพิจารณาคดีแต่อย่างใด
ดังนั้น ถ้าองค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะตุลาการ ผู้พิพากษาหรือตุลาการที่พิจารณาคดีมิได้มีคำสั่งให้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแล้ว หัวหน้าศาล  อธิบดีศาลหรือ ประธานศาล ย่อมไม่มีอำนาจในการส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยพลการ
ตามข้อกล่าวหาระบุว่า คดีดังกล่าวนายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยื่นฟ้องนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี(ในขณะนั้น)ต่อศาลปกครองสูงสุดขอให้เพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุก เฉินในเขต กทม.ลงวันที่ 2 กันยายน 2551
จากนั้นมีการจ่ายสำนวนให้แก่องค์คณะที่มีนายจรัญ หัตถกรรม เป็นหัวหน้าคณะและเป็นเจ้าของสำนวน ตุลาการอีก 4 คน ประกอบด้วย นายชาญชัย แสวงศักดิ์   นายเกษม คมสัตย์ธรรม นายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา และนายธงชัย ลำดับวงศ์
ปรากฏว่า องค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากไม่รับคดีไว้พิจารณาเพราะ เห็นว่า มาตรา 16 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ประกาศ คำสั่งที่ออกตาม พ.ร.ก.ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ
แต่มี“มือดี”ส่งคำร้องในคดีดังกล่าวให้ศาลรัฐ ธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 โดยแนบคำฟ้องของนายนิติธร ล้ำเหลือไปในคำร้องดังกล่าว แต่ไม่มีคำสั่งขององค์คณะตุลาการที่ระบุว่า ให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแต่อย่างใด
พราะองค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมาก ไม่รับคดีการขอให้เพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไว้พิจารณา คดีย่อมตกไป แต่ทำไมยังมี “มือดี”ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้อีก
จากการตรวจสอบเอกสารและขั้นตอนของศาลปกครองในการส่งคำร้องให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 211 พบว่า
หนึ่ง เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองหรือผู้ปฏิบัติ หน้าที่เลขาธิการทำหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ อ้างถึงคำสั่งของศาลปกครองว่า ให้ส่งคำร้องในคดีให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
สอง ในการส่งคำร้องดังกล่าวตามหนังสือนำของเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ต้องมีเอกสารสำคัญแนบไปด้วยคือ 1.รายงานกระบวนพิจารณาคดีดังกล่าว 2.คำสั่งขององค์คณะตุลาการที่มีความเห็นให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐรรมนูญ วินิจฉัย
ในการตรวจสอบยังพบอีกว่า มีคำร้องที่ศาลปกครองสงสุดส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในเรื่องบทบัญญัติตาม มาตรา 16 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน 3 คำร้องซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันและมีคำสั่งให้จำหน่าย คดีได้แก่ เรื่องพิจารณาที่ 34/2551,47/2551 และ 63 /2551 ตามลำดับ
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบคำร้องเรื่องพิจารณาที่ 34/2551ซึ่งเป็นกรณีที่มีการร้องเรียนว่า อดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดใช้อำนาจโดยมิชอบในการส่งคำร้องศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยพบว่า แตกต่างจากเรื่องพิจารณาอีก 2 คำร้องกล่าว คือ คำร้องที่มีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ที่ลงนามในหนังสือนำส่ง(ลงวันที่ 3 กันยายน 2551)คำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคือ “ศาสตราจารย์ ดร.อักขราทร จุฬารัตน” ประธานศาลปกครองสูงสุด(ในขณะนั้น)โดยหนังสือดังกล่าวส่งถึง(กราบเรียน)ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
นอกจากนั้นในการส่งคำร้องดังกล่าว ไม่มีรายงานกระบวนการพิจารณาคดี และคำสั่งขององค์คณะตุลาการที่พิจารณาคดีดังกล่าว
อย่างไรก็ตามในหนังสือนำส่งคำร้องดังกล่าวที่ลงนามโดยศาสตรจารย์ ดร.อักขราทรมี ข้อความที่ระบุว่า “ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ประกาศดังกล่าว(สถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร)เป็นการกระทำทางปกครอง ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากการประกาศดังกล่าวจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองตาม รัฐธรรมนูญฯมาตรา 223 ประกอบกับมาตรา 9 แพ่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯอำนาจในการพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทจึงเป็นอำนาจของ องค์กรตุลาการตามหลักกฎหมายทั่วไปและหลักการแบ่งแยกอำนาจ การที่มาตรา 16 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯกำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นการขัดกับหลักกฎหมายทั่วไปและจำกัดอำนาจการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล ปกครองตามมาตรา 223 ของรัฐธรรมนูญ….บทบัญญัติของมาตรา 16ฯ จึงไม่ชอบและไม่มีผลบังคับตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ…”
ขณะที่อีก 2 คำร้อง เป็นหนังสือนำส่งคำร้องลงนามโดยเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง “เรียน” เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ  มีเอกสารแนบคือรายงานกระบวนพิจารณาคดีและคำสั่งขององค์คณะตุลาการซึ่งเป็นไป ตามขั้นตอนการส่งคำร้องของศาลปกครองให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมาตั้งแต่ต้นจน ถึงปัจจุบัน
คำถามคือ ทำไมคำร้องเรื่องพิจารณาที่ 34/2551 ศาสตราจารย์ ดร.อักขราทรต้องเป็นผู้ลงนามในหนังสือส่งคำร้องเอง ไม่ให้เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองส่งไปตามขั้นตอนปกติ
นอกจากนั้น ไม่มีคำสั่งขององค์คณะตุลาการแนบไปด้วย(หายไปไหน?) มีเพียงคำฟ้องของนายนิติธร ล้ำเหลือแนบไปเท่านั้น
ประเด็นนี้ เมื่อได้รับคำร้องครั้งแรก ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนก็ตั้งข้อสงสัยเช่นเดียวกัน แต่เมื่อมีการประสานเป็นการภายในจากสำนักงานศาลปกครองว่า จะมีการส่งคำร้องในลักษณะเดียวกันมาให้ศาลรัฐรรมนูญวินิจฉัย จึงรอเรื่องไว้ และเมื่อมีการส่งคำร้องมาเพิ่มเติม จึงรวมการพิจารณาเป็นคราวเดียว ทำให้”ข้อสงสัย”ดังกล่าวไม่มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณา
แต่ที่น่าขำ(สมเพช?)กว่านั้นคือ เมื่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้รับเรื่องร้องเรียนว่าอดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดใช้อำนาจ หน้าที่โดยมิชอบส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย  แทนที่จะแสวงหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นให้ได้ครบถ้วน กลับมีการชงเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ยุติเรื่อง
ทำให้สงสัยว่า ต้องการอุ้มกันน่าตาเฉยเลยหรือ?
(อ่าน จริยธรรม 3 ตุลาการคดีเปลี่ยนองค์คณะศาล ปค.สูงสุดภูมิคุ้มกันกระบวนการยุติธรรม)
ป.ป.ช.หงอศาลปกครองสูงสุด ดองคดีแทรกกระบวนการยุติธรรม?

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง