บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

เปิดเสรีอาเซียน เรื่องหนักอกเด็กจบใหม่





ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

.....
ดูเหมือนความตื่นตัวในการเปิดเสรี อาเซียนในปี 2558 ของไทยยังอยู่ในวงแคบ ๆ โดยเฉพาะระบบการศึกษาที่ควรจะมีการเสริมวิชาด้านความรู้ เรื่องวัฒนธรรมของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคให้เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม อย่างที่รู้กันว่าเมื่อโลกของอาเซียนเริ่มเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานก็จะ ตามมา และ สิ่งที่ทุกคนเป็นห่วงคือ แรงงานในระดับหัวกะทิของไทยจะหลั่งไหลไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะสิงคโปร์

โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาที่จบใหม่ หรืออีก 4 ปีจะจบพร้อมกับการเปิดเสรีอาเซียนยิ่งต้องเสริมความแข็งแกร่งให้แก่เด็ก กลุ่มนี้ โดย อาจารย์บัญชา พระพล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยอมรับว่า สิ่งหนึ่งที่เราจะหนีความจริงไม่ได้คือการยอมรับว่ามหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีการปรับตัวเพื่อรับกับนโยบายเปิดเสรีอาเซียนช้ากว่าในหลายประเทศ

ที่ผ่านมาหน่วยงานเกี่ยวข้องกับการเปิดเสรีอาเซียนยังไม่ค่อยลงมาให้ความรู้ ในมหาวิทยาลัยเท่าที่ควร ซึ่งที่ผ่านมาหลายมหาวิทยาลัยพยายามกำหนดแนวทางพัฒนาของตนเองแบบต่างคนต่าง ทำ สิ่งที่ต้องยอมรับอีกอย่างคือมหาวิทยาลัยของรัฐค่อนข้างปรับตัวช้ากว่าเอกชน โดยที่ผ่านมาทางมหาวิทยาลัยพยายามส่งเสริมการเรียนด้านภาษาเพื่อเพิ่ม ศักยภาพให้กับนักเรียน เช่น มีการเรียนภาษาเพิ่มเติมหลังจากชั่วโมงเรียน

แต่สิ่งที่ยังขาดคือองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศในอาเซียน เพราะถ้าเด็กได้ไปทำงานในต่างประเทศการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมจึงเป็น เรื่องสำคัญ ดังนั้นการปูพื้นที่ให้รู้จักมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ย่อมเป็นผลดีต่อตัวเด็ก ด้วย ขณะที่อาจารย์เองก็พยายามเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นระบบ

ปีที่ผ่านมา มีนักศึกษาจบจากมหาวิทยาลัยได้งานกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ สาขาวิชาที่ได้งานมากคือ สาขาวิทยา ศาสตร์สุขภาพ รองลงมาคือสาขาสังคม ศาสตร์และศิลปศาสตร์ และด้วยความต้องการของตลาดแรงงานโดยเฉพาะภาคอีสานจึงทำให้หลายบริษัทเข้ามา ทำโครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยในการรับสมัครเด็กที่กำลังจะจบหรือขึ้นชั้นปี ที่ 3 เพื่อคัดเลือกคนที่เหมาะสมในการเป็นพนักงานของบริษัท เพราะเมื่อจบแล้วจะมีงานทำทันทีโดยอนาคตจะมีการแข่งขันในการคัดเลือกเด็ก เพิ่มสูงขึ้นเมื่อไทยเข้าร่วมเปิดเสรีอาเซียน เนื่องจากเด็กที่เป็นระดับหัวกะทิมีสิทธิเลือกว่าจะเข้าทำงานกับบริษัทในไทย หรือจะออกไปทำงานในต่างประเทศ

สิ่งหนึ่งที่นักศึกษาควรเตรียมพร้อมนอกจากฝึกภาษาแล้ว ระหว่างเรียนควรทำผลการเรียนให้ออกมาดีเนื่องจากหลายบริษัทจะเลือกเราก็ต่อ เมื่อผลการเรียนดีจนเป็นที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันการทำกิจกรรมก็เป็นเรื่องจำเป็น เพราะทางมหาวิทยาลัยมีการสำรวจบริษัทที่รับนักศึกษาเข้าทำงานพบว่ามีความ ชื่นชอบเด็กที่ทำกิจกรรมเพราะสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี

ด้านภาคเอกชนอย่าง ปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มองการเปิดเสรีอาเซียนว่า ปัญหาที่ตามมาคือการที่บริษัทในประเทศขาดแรงงานระดับหัวกะทิ เนื่องจากคนเหล่านั้นจะหันไปทำงานกับบริษัทต่างชาติ ดังนั้นภาคเอกชนเองต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสวัสดิการและเงินเดือน โดยทางเครือฯ เตรียมปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เปรียบเทียบเงินเดือนและสวัสดิการกับบริษัทอื่น ในประเทศ แต่ตอนนี้จะต้องมองเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นในอาเซียนมากขึ้น

สำหรับตำแหน่งที่น่าจะขาดแคลนบุคลากรในอนาคตคือ บัญชี เนื่องจากคนที่เป็นระดับหัวกะทิมีแนวโน้มจะไปทำงานกับบริษัทในสิงคโปร์ด้วย ตัวเงินที่จูงใจและสวัสดิการ ซึ่งภาคเอกชนเองต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อเพิ่มการแข่งขันให้ทันกับบริษัท ต่างชาติ ถือเป็นการยกระดับความสามารถของบุคลากรและองค์กรอีกทางหนึ่ง

“ด้านหัวกะทิอย่างคนที่จบวิศวะเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องเร่งแก้ไข เช่นเดียวกับภาครัฐเองส่วนใหญ่จะมองในแง่ของการเพิ่มศักยภาพของคนไทยให้แข่ง ขันได้กับคนต่างชาติซึ่งเป็นเรื่องที่ดี และต้องเร่งส่งเสริมอย่างจริงจัง ขณะเดียวกันภาคเอกชนเองต้องเข้าไปร่วมกับมหาวิทยาลัยเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ กับนักศึกษาที่จะเข้าไปในตลาดแรงงานด้วย”

ในส่วนของแรงงานที่ใช้กำลัง แรงงานต่างด้าวจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเมื่อเปิดเสรีอาเซียน เนื่องจากคนไทยบางส่วนหันไปทำงานในต่างประเทศ ซึ่งภาครัฐเองต้องมีแผนรองรับกับแรงงานต่างด้าวให้มากขึ้น เช่นเดียวกับเอกชนจะเริ่มประสบกับปัญหาแรงงานต่างด้าวมีการเลือกงาน เนื่องจากเมื่อความต้องการแรงงานมากขึ้นนายจ้างจะมีการเพิ่มสวัสดิการเพื่อ จูงใจ ซึ่งแรงงานต่างด้าวก็จะเทกันไปทำในบริษัทเหล่านั้นมากขึ้น

แนวทางแก้ปัญหาอีกทางหนึ่งคือการเปิดโครงการ future career ที่บริษัทเข้าไปร่วมกับสถานศึกษาในการให้ความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมเด็ก ก่อนเข้าไปทำงานและมีการคัดเลือกเด็กเข้ามาทำงานกับทางบริษัทผ่านโครงการนี้ เนื่องจากเด็กรุ่นใหม่ค่อนข้างได้รับการดูแลจากครอบครัวมากกว่าคนรุ่นก่อน ทำให้เด็กหลายคนยังไม่มีความเข้าใจในการทำงานจริง ซึ่งการเข้ามาให้ความรู้และคัดเลือกเด็กเข้ามาทำงานต้องมีการบอกเส้นทางที่ เขาจะต้องทำอย่างชัดเจน เพราะเด็กรุ่นนี้มีความต้องการที่ชัดเจน ขณะเดียวกันด้วยความที่ติดพ่อแม่มากเด็กจะให้ผู้ปกครองเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วย ในการตัดสินใจ ซึ่งการทำความเข้าใจกับผู้ปกครองก็เป็นอีกเรื่องที่เริ่มให้ความสำคัญเช่น กัน

บริษัทจะพยายามคัดเลือกเด็กที่เห็นว่าเหมาะสมกับองค์กรตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 เพื่อพาเด็กไปเรียนรู้งานและฝึกงานจริง โดยช่วงปีที่ 3 หลายคณะจะมีการเลือกเรียนวิชาที่ลงลึกมากขึ้น เช่น เลือกว่าจะเรียนเรื่องสัตว์ใหญ่หรือสัตว์เล็ก ซึ่งการเข้ามาฝึกงานกับบริษัทจะทำให้เด็กเห็นการทำงานจริงมากขึ้น

“โครงการ future career จัดมาเป็นครั้งที่สอง ในปีนี้มีมหาวิทยาลัยที่ร่วมคือ ม.ขอนแก่น ม.สงขลานครินทร์ ม.เชียงใหม่ ซึ่งคาดว่าปีนี้จะได้เด็กจบใหม่เข้ามาร่วมงานในทุกสายงานกว่า 500–600 คน”

ถือเป็นความท้าทายอันใกล้ที่ต้องเร่งวางพื้นฐานอย่างเป็นระบบในระยะยาว.

“สำหรับตำแหน่งที่น่าจะขาดแคลนบุคลากรในอนาคตคือ บัญชี เนื่องจากคนที่เป็นระดับหัวกะทิมีแนวโน้มจะไปทำงานกับบริษัทในสิงคโปร์ด้วย ตัวเงินที่จูงใจและสวัสดิการ ซึ่งภาคเอกชนเองต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อเพิ่มการแข่งขันให้ทันกับบริษัท ต่างชาติ ถือเป็นการยกระดับความสามารถของบุคลากรและองค์กรอีกทางหนึ่ง”

รู้จักอาเซียน

อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งได้ลงนามกันที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศใน ภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

เมื่อแรกก่อตั้งในปี 2510 อาเซียนมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ในเวลาต่อมา บรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 เมื่อปี 2527 เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาวและพม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันเมื่อปี 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542 ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ

สถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปลี่ยนผ่านจากสภาวะแห่งความตึงเครียด และการเผชิญหน้าในยุคสงครามเย็น มาสู่ความมีเสถียรภาพ ความมั่นคงและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในปัจจุบัน ซึ่งทำให้อาเซียนกลายเป็นภูมิภาคที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวด เร็ว และเป็นตัวอย่างของการรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีพลังต่อรองในเวทีการเมือง และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ความก้าวหน้าของอาเซียนมีปัจจัยสำคัญจากความไว้ใจกันระหว่างรัฐสมาชิก อันก่อให้เกิดบรรยากาศที่สร้างสรรค์และเอื้อต่อการเพิ่มพูนความร่วมมือ ระหว่างกัน

(ข้อมูลจาก สมาคมอาเซียน ประเทศไทย http://www.aseanthailand.org/index.php )

โดย ทีมวาไรตี้ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง