การถวายฎีกาฯร้องทุกข์หรือการถวายทรัพย์สินทุกกรณีต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จ จริงและข้อกฎหมายก่อน : กระดานความคิด โดย พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์
การถวายฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดงเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร เมื่อกลางปี 2552 ซึ่งผ่านพ้นไปนานแล้ว แต่ปัญหาก็ยังไม่จบ
เมื่อมีการนำเรื่องนี้ขึ้นมาพูดกันอีกในปัจจุบันนี้
โดยเฉพาะในประเด็นที่อาจจะสร้างความสับสนให้แก่ประชาชนว่า
เมื่อสำนักพระราชวังรับฎีกาแล้ว ทำไมต้องส่งให้รัฐบาลตรวจสอบอีก
ส่งไปให้กรมราชทัณฑ์ตรวจสอบแล้ว ทำไมยังไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
อะไรทำนองนี้ ผมจึงขอสรุปเหตุผลสั้นๆ
จากประสบการณ์ที่เคยทำการตรวจสอบเรื่องลักษณะนี้มามากกว่า 200 เรื่องขึ้นไป
สรุปได้ว่า
การถวายเรื่องใดๆ ทูลเกล้าฯ ถึงในหลวง
ต้องมีการตรวจสอบก่อนทุกชนิด ไม่ว่าจะยื่นผ่านสำนักพระราชวัง
ยื่นระหว่างที่เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎร ฯลฯ เพราะมีผู้ทูลเกล้าฯ
เรื่องต่างๆ มากมายในแต่ละวัน จึงต้องมีการกลั่นกรองหา “ข้อเท็จจริง”
ของแต่ละเรื่องเสียก่อน ดังนี้
1ฎีการ้องทุกข์ต่างๆ ต้องส่งให้สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, ศรภ., สันติบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบก่อน เพื่อหาข้อเท็จจริงว่า จริง ไม่จริง ไม่เป็นการกลั่นแกล้งใคร เข้าหลักเกณฑ์หรือขัดแย้งกับหลักกฎหมายหรือวัฒนธรรมอะไรหรือเปล่า ธรรมเนียมปฏิบัติเป็นอย่างไร ฯลฯ
2.ส่วนฎีกาขอพระราช ทานอภัยโทษ เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจสอบต่างๆ แล้ว ก็จะส่งให้กระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นต้นสังกัดของกรมราชทัณฑ์นำไปตรวจสอบก่อน ในประเด็นสำคัญว่า “นักโทษรู้สำนึกถึงควมผิดหรือไม่” ซึ่งหมายความว่า “นักโทษที่จะขอพระราชทานอภัยโทษนั้น จะต้องได้รับโทษมาแล้วระยะหนึ่ง จึงจะพิจารณาได้ว่านักโทษมีความประพฤติอย่างไร รู้สำนึกว่าตัวเองทำผิดมาหรือเปล่า”
3.หนังสือขอถวายที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นๆ กรณีนี้ก็ต้องตรวจ สอบว่ามีคดีฟ้องร้องติดมาด้วยหรือเปล่า หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ถวายเต็มใจหรือไม่ ถ้าบริจาคแล้วจะมีฐานะยากจนลงหรือเปล่า ฯลฯ ถ้ามีผู้ไม่เห็นด้วยกับการถวายเพียงคนเดียว หรือบริจาคแล้วผู้บริจาคจะไม่มีความสะดวก สบายในการดำรงชีวิตก็จะทรงไม่รับบริจาค สำหรับที่ดินที่ได้รับเกือบทั้งหมดจะนำไปจัดทำเป็นที่ตั้งของหน่วยงานบริการ สาธารณะทั่วๆ ไป ถ้าที่ดินมาก ก็จะแบ่งให้ประชาชนไปทำมาหากิน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายจังหวัด (ผู้ตรวจสอบ คือ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, ศรภ. และสันติบาล เช่นเดิม)
ทั้ง หมดนี้จะเห็นได้ว่า การถวายฎีกาหรือการส่งจดหมายทุกกรณี ต้องมีการตรวจสอบทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลเป็นผู้นำเข้าขอรับคำปรึกษา จึงมีการนำขึ้นกราบทูล แต่ก็ต้องผ่านการตรวจสอบขององคมนตรีก่อนเช่นกัน
ส่วน การขอรับการพระราชทานอภัยโทษให้คุณทักษิณนั้น ต้องมีหลักเกณฑ์เบื้องต้น ประกอบด้วย (1) ตัวนักโทษร้องขอเองหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร้องขอมา หรือหน่วยงานราชการเป็นผู้ร้องขอมาด้วยเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับ “ประโยชน์สาธารณะ” และ (2.) ผู้ที่ถูกร้องขอนั้นจะต้องรับโทษอยู่ในขณะที่ตัวเองร้องขอ (ยกเว้นโทษยาเสพติด หรือโทษที่มีลักษณะรุนแรงบางเรื่องที่มุ่งกระทำต่อความมั่นคงของชาติ) ดังนั้นกรณีการร้องทุกข์ของคุณทักษิณ โดยกลุ่มคนเสื้อแดงจึงไม่น่าจะเข้าหลักเกณฑ์ หรือแบบธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติกันมาทั้ง 2 ข้อ อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณทักษิณยอมรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ความสุขก็จะเกิดขึ้นกับคุณทักษิณ เอง และเกิดขึ้นกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศด้วย คุณทักษิณก็จะได้รับการยกย่องจากประชาชนส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับนายเนลสัน แมนเดลา หรือนางออง ซาน ซูจี ซึ่งคุณทักษิณมักจะอ้างอิงยกเป็นตัวอย่างอยู่เป็นประจำ
สถาบัน พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยเรานั้น มีวิวัฒนาการในการปกป้องชาติและบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้ราษฎรมาเป็นเวลาที่ยาวนาน จนกลายเป็น “สัญลักษณ์” และ “เกียรติภูมิ” ของชาติไทยและคนไทยไปแล้ว เพราะในหลวงทรงให้ความยุติธรรมต่อประชาชนของพระองค์อย่างเท่าเทียมกันทุกคน ภายใต้กรอบของกฎหมายและจารีตประเพณี ประเทศไทยจึงมีเอกราช มีศักดิ์ศรีและทุนสำรองของชาติที่มั่นคง มาตราบเท่าทุกวันนี้
คม ชัด ลึก
1ฎีการ้องทุกข์ต่างๆ ต้องส่งให้สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, ศรภ., สันติบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบก่อน เพื่อหาข้อเท็จจริงว่า จริง ไม่จริง ไม่เป็นการกลั่นแกล้งใคร เข้าหลักเกณฑ์หรือขัดแย้งกับหลักกฎหมายหรือวัฒนธรรมอะไรหรือเปล่า ธรรมเนียมปฏิบัติเป็นอย่างไร ฯลฯ
2.ส่วนฎีกาขอพระราช ทานอภัยโทษ เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจสอบต่างๆ แล้ว ก็จะส่งให้กระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นต้นสังกัดของกรมราชทัณฑ์นำไปตรวจสอบก่อน ในประเด็นสำคัญว่า “นักโทษรู้สำนึกถึงควมผิดหรือไม่” ซึ่งหมายความว่า “นักโทษที่จะขอพระราชทานอภัยโทษนั้น จะต้องได้รับโทษมาแล้วระยะหนึ่ง จึงจะพิจารณาได้ว่านักโทษมีความประพฤติอย่างไร รู้สำนึกว่าตัวเองทำผิดมาหรือเปล่า”
3.หนังสือขอถวายที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นๆ กรณีนี้ก็ต้องตรวจ สอบว่ามีคดีฟ้องร้องติดมาด้วยหรือเปล่า หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ถวายเต็มใจหรือไม่ ถ้าบริจาคแล้วจะมีฐานะยากจนลงหรือเปล่า ฯลฯ ถ้ามีผู้ไม่เห็นด้วยกับการถวายเพียงคนเดียว หรือบริจาคแล้วผู้บริจาคจะไม่มีความสะดวก สบายในการดำรงชีวิตก็จะทรงไม่รับบริจาค สำหรับที่ดินที่ได้รับเกือบทั้งหมดจะนำไปจัดทำเป็นที่ตั้งของหน่วยงานบริการ สาธารณะทั่วๆ ไป ถ้าที่ดินมาก ก็จะแบ่งให้ประชาชนไปทำมาหากิน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายจังหวัด (ผู้ตรวจสอบ คือ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, ศรภ. และสันติบาล เช่นเดิม)
ทั้ง หมดนี้จะเห็นได้ว่า การถวายฎีกาหรือการส่งจดหมายทุกกรณี ต้องมีการตรวจสอบทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลเป็นผู้นำเข้าขอรับคำปรึกษา จึงมีการนำขึ้นกราบทูล แต่ก็ต้องผ่านการตรวจสอบขององคมนตรีก่อนเช่นกัน
ส่วน การขอรับการพระราชทานอภัยโทษให้คุณทักษิณนั้น ต้องมีหลักเกณฑ์เบื้องต้น ประกอบด้วย (1) ตัวนักโทษร้องขอเองหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร้องขอมา หรือหน่วยงานราชการเป็นผู้ร้องขอมาด้วยเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับ “ประโยชน์สาธารณะ” และ (2.) ผู้ที่ถูกร้องขอนั้นจะต้องรับโทษอยู่ในขณะที่ตัวเองร้องขอ (ยกเว้นโทษยาเสพติด หรือโทษที่มีลักษณะรุนแรงบางเรื่องที่มุ่งกระทำต่อความมั่นคงของชาติ) ดังนั้นกรณีการร้องทุกข์ของคุณทักษิณ โดยกลุ่มคนเสื้อแดงจึงไม่น่าจะเข้าหลักเกณฑ์ หรือแบบธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติกันมาทั้ง 2 ข้อ อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณทักษิณยอมรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ความสุขก็จะเกิดขึ้นกับคุณทักษิณ เอง และเกิดขึ้นกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศด้วย คุณทักษิณก็จะได้รับการยกย่องจากประชาชนส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับนายเนลสัน แมนเดลา หรือนางออง ซาน ซูจี ซึ่งคุณทักษิณมักจะอ้างอิงยกเป็นตัวอย่างอยู่เป็นประจำ
สถาบัน พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยเรานั้น มีวิวัฒนาการในการปกป้องชาติและบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้ราษฎรมาเป็นเวลาที่ยาวนาน จนกลายเป็น “สัญลักษณ์” และ “เกียรติภูมิ” ของชาติไทยและคนไทยไปแล้ว เพราะในหลวงทรงให้ความยุติธรรมต่อประชาชนของพระองค์อย่างเท่าเทียมกันทุกคน ภายใต้กรอบของกฎหมายและจารีตประเพณี ประเทศไทยจึงมีเอกราช มีศักดิ์ศรีและทุนสำรองของชาติที่มั่นคง มาตราบเท่าทุกวันนี้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น