บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กรณีคืนเงินภาษีให้ลูก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ใช่ปัญหา... แต่คือหายนะ

  by กนิษฐ์ ,

นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร
สรรพากรโมเดล (สารส้ม)



กรณีคืนเงินภาษีให้ลูก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ใช่ปัญหา...

แต่ถ้าไม่เก็บภาษีหมื่นล้านจากลูกของทักษิณทั้งสองคน แล้วก็ดันผ่าไม่เก็บภาษีจากใครเลย...

ทั้งๆ ที่ มีรายได้ก้อนโตเกิดขึ้นจากการขายหุ้นชินฯ นอกตลาดหลักทรัพย์ ปรากฏทนโท่อยู่ขนาดนั้นละก็ มันคงไม่ใช่ปัญหาสำหรับสรรพากร แต่จะกลายเป็น หายนะ เลยทีเดียว...

ประเด็นของเรื่อง... คุณกรณ์ จาติกวนิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อธิบายความไว้อย่างกระชับ ชัดเจน และตรวจสอบแล้วเห็นว่าแม่นยำในข้อเท็จจริง แถมยังตอบข้อสงสัยด้วยว่า สมัยตัวแกเป็นรัฐมนตรีคลังนั้น ได้ละเลยหรือซูเอี๋ยกับเขาด้วยหรือเปล่า?

ใจความสำคัญ คุณกรณ์ว่า
1.การ ซื้อขายหุ้น 'ชินคอร์ป' ที่เป็นปัญหานั้นเนื่องมาจากการที่ผู้ขาย (บริษัท Ample Rich Investment Limited ซื่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเจ้าของ) ได้ขายให้ผู้ซื้อ (โอ๊ค-เอม) ในราคาหุ้นละ 1 บาท สามวันก่อนที่จะมีการขายต่อให้เทมาเซคจากสิงคโปร์ โดยที่มูลค่าหุ้นจริงในตลาดขณะนั้น ราคาอยู่ที่ 49 บาท

2. กรมสรรพากร ในชั้นแรกได้ยื่นฟ้องต่อศาลภาษีว่า โอ๊ค-เอมมีภาระภาษี โดยมิได้เกิดจากกรณีที่ขายให้ เทมาเซค แต่เป็นรายได้ที่ได้จากการรับซื้อหุ้นมาจากการตกลงกัน นอก ตลาดหลักทรัพย์ ในราคา 1 บาท เมื่อเทียบกับราคาตลาดที่ 49 บาท ส่วนต่าง 48 บาท ตามกฎหมายนั้นถือเป็นรายได้

3. ต่อมา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาว่า หุ้นดังกล่าวนั้นไม่ได้เป็นของโอ๊ค-เอม แต่เจ้าของตัวจริงคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และให้ถือว่าเป็นการกระทำ นิติกรรมอำพราง (คำพิพากษาลงวันที่ 26 ก.พ. 2553)

4. เมื่อศาลพิพากษาว่ากรณีนี้ถือว่าเป็น 'นิติกรรมอำพราง ตัวผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น มีความเห็นขัดแย้งกับกรมสรรพากร โดยผมเห็นว่าเราควรจะตามไปเก็บภาษีจากเจ้าของบัญชีตัวจริงคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่เบื้องต้น กรมสรรพากรมีความเห็นว่า กรณีนี้ควรถือว่า เป็น โมฆะ ทั้งหมด เพราะศาลได้ชี้ชัดแล้วว่าเป็น นิติกรรมอำพราง ดังนั้น จึงไม่ควรไปตามเก็บภาษีจากใครอีก

5. สิ่งที่ผมบอกกับ กรมสรรพากร คือ การขายหุ้นจาก Ample Rich กลับมาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ (โดยมีโอ๊ค-เอมเป็นตัวแทน)นั้น เป็นการขายระหว่าง บริษัท กับ ตัวบุคคล ซึ่งถึงแม้ว่าบุคคลคนนั้นเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท การซื้อขายก็ยังมีผลอยู่ดี และถ้าจะถือว่าความเกี่ยวข้องต่างๆ กับ นิติกรรมอำพราง จะต้องเป็น โมฆะ ทั้งหมด การซื้อขายหุ้นให้เทมาเซค จากบัญชีนั้นก็จะต้องเป็น โมฆะ ไปด้วย แต่นี่การซื้อขายหุ้นดังกล่าว ก็เป็นไปอย่างเสร็จสมบูรณ์ทุกประการ ผู้ซื้อได้หุ้น ผู้ขายได้เงิน และเป็นการซื้อขาย นอกตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีกฎระบุชัดเจนว่า จะต้องมีการจัดเก็บภาษี

6. ถ้ากรมสรรพากร จะไม่เรียกเก็บภาษีจากกรณีนี้ โดยอ้างว่าเป็น นิติกรรมอำพราง นั้น ก็จะต้องตอบคำถามด้วยว่า เหตุใดกรณีนี้จึงเป็น โมฆะ เฉพาะในส่วนของเรื่องการ จัดเก็บภาษี ในขณะที่ การ ซื้อขายหุ้นให้เทมาเซคในกรณีนี้ ไม่ได้เป็น โมฆะ ไปด้วย

ในส่วนคำ ถามที่มีต่อตัวผมว่า ช่วงที่ผมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการอย่างไรในเรื่องนี้บ้าง ก็ขอเรียนว่า เมื่อความเห็นของผมและทางกรมสรรพากรไม่ตรงกัน กรมสรรพากรจึงต้องพิจารณาหาข้อเท็จจริง และคดีก็ยังอยู่ในอายุความ แต่ทางกรมสรรพากรก็ต้องระวังไม่ให้มีการถ่วงเวลา จนหมดอายุความ มิเช่นนั้น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อาจติดคุกติดตะรางกันได้...

ประการที่หนึ่ง... ใจความสำคัญของข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ เป็นไปตามข้างต้นทุกประการ

ประการที่สอง... เห็นด้วยกับความเห็นของคุณกรณ์ ที่ว่าจะต้องเรียกกเก็บภาษีจากเจ้าของหุ้นตัวจริง คือ ทักษิณ ชินวัตร เพราะเมื่อบริษัทแอมเพิลริชขายหุ้นให้ทักษิณ โดยที่ทักษิณเอาชื่อลูกมาบังหน้า (โอ๊ค-เอม) คนที่มีรายได้แท้จริงคือทักษิณ ทักษิณก็ควรจะต้องเป็นผู้เสียภาษี มิใช่ผลักภาระไปให้ลูก และสรรพากรก็ไม่ควรจะไปเก็บจากโอ๊ค-เอม

ประการที่สาม... เป็นที่น่าเสียดาย หากคุณกรณ์พ้นตำแหน่งไปในขณะที่ยังมีความเห็นไม่ตรงกันกับกรมสรรพากร โดยไม่ได้สั่งสอนให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้รับผิดชอบได้ตระหนักถึงความสำคัญของ การเรียกเก็บภาษีก้อนนี้ หรือแม้แต่จะโยกย้ายตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้อ่อนวินิจฉัย ไร้ประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี เพื่อให้คนเก่งกล้าสามารถ วินิจฉัยดำเนินการในทางที่ถูกที่ควรตามแนวทางข้างต้นต่อไป

ประการที่สี่... อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้รับฟังได้ว่า ยังอยู่ในอายุความ หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งผู้บริหารกรมสรรพากรพึงสำเหนียกให้จงดี ตระหนักให้ถ้วนถี่ เพราะถ้าหากวินิจฉัย ดำเนินการ หรือปล่อยปละละเลย กระทั่งคลังแผ่นดินสูญเสียผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้มูลค่าหมื่นกว่าล้านบาท งานนี้ก็จะต้องมีคนเอาคอมาพาดเขียง เพื่อรับผิดชอบอย่างแน่นอน หวังว่าคงไม่คิดอยากได้ดิบได้ดีอย่างอดีตเลขาฯ กลต. เพราะเรื่องนี้ สุ่มเสี่ยงเอามากๆ

ประการที่ห้า... กรณีที่เกิดขึ้นในกรมสรรพากรข้างต้น นับเป็นกรณีแรกรับการเข้ามามีอำนาจของคนตระกูลชินฯ อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสังคมไทยจะต้องเฝ้าระวัง และจับตามองว่าจะมีกรณีอื่นๆ ตามมาอีกหรือไม่

อย่าให้ สรรพากรโมเดล เยี่ยงนี้ กลายเป็นแบบอย่างสำหรับหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ต้องปกป้องผลประโยชน์แผ่นดิน อีกหลายๆ แห่ง โดยเฉพาะกรณีซึ่งยังเป็นประเด็นปัญหาพัวพันกับผลประโยชน์ของชินฯ อีกหลายเรื่อง ในหลายหน่วยงาน เช่น กรณีดาวเทียมสำรองของไทยคม และดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกระทรวงไอซีที เป็นต้น

กรณีไอซีที เท่าที่ติดตามตลอดมา พบว่า รัฐมนตรีไอซีทีคนก่อนได้เดินหน้าทวงคืนผลประโยชน์ของแผ่นดินอย่างเต็มที่ คืบหน้าไปไกลแล้ว โดยมีการประเมินออกมาหมดว่ารัฐต้องเรียกค่าเสียหายเท่าใด แถมดำเนินการให้หน่วยงานรัฐฟ้องร้องเอกชนไปแล้วด้วยซ้ำ หรืออย่างกรณีดาวเทียม ก็เจรจาตกลงกับเอกชนแล้วว่าจะต้องชดเชยความเสียหายแก่รัฐเท่าใด อย่างไร ฯลฯ 

หวังว่า พอเปลี่ยนรัฐบาล จะไม่กลับตาลปัตรกันไปหมด
อย่า ลืมว่า นักการเมืองนั้นมาแล้วก็ไป... ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐรายใด ยอมทำเพื่อรับใช้ผลประโยชน์ของส่วนตัวของใคร ก็อย่าหวังว่าหนีผลกรรมพ้น!

วันที่ 12/8/2011

ขอขอบคุณ : http://www.naewna.com/news.asp?ID=274974

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง