บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปชป.-พท.วังวนประชานิยม น้ำผึ้งอาบยาพิษ

ข้อ เสนอของ คณะกรรมการปฏิรูปที่มีอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน  และ ชุดคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ของ นพ.ประเวศ วะสี” ที่ทยอยออกสู่สาธารณะ จนเป็นมติ “สมัชชาปฏิรูปประเทศไทย” ที่ “ลดความเหลื่อมล้ำ-สร้างความเป็นธรรม” ให้กับสังคม  รวม 8 ประเด็น
เช่น จัดสรรที่ดินให้เป็นธรรมด้วยการจำกัดการถือครองที่ดินไม่เกินรายละ 50 ไร่ เกินกว่านั้นให้มีระบบอัตราภาษีก้าวหน้าที่เหมาะสม  จัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่งให้เป็นสาธารณะของชาติ ที่ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงโดยชอบ ปฏิรูประบบยุติธรรมที่เกี่ยวกับคดีที่ดินและทรัพยากร ปฏิรูประบบประกันสังคม สร้างหลักประกันและการสร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ
ข้อ เสนอเหล่านี้เปิดให้พรรคการเมืองช็อบได้เสรีในโอกาสทองช่วงเลือกตั้ง ทว่า การขับเคี่ยวด้านนโยบายหาเสียงของสองพรรคใหญ่ พรรคเพื่อไทยกับ พรรคประชาธิปัตย์   กลับมองข้ามข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปไปหมด
พรรคประชาธิปัตย์ ใช้นโยบาย  อาทิ “ประกันสังคมทั่วหน้า”ขยายประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ โดยจ่ายเงินสมทบไม่เกิน 100 บาทต่อเดือน   “สินเชื่อทั่วถึง” ให้แก่แท็กซี่เพื่อสามารถเป็นเจ้าของรถเองได้ และให้ผู้ค้าหาบเร่ได้เข้าถึงแหล่งทุนที่เป็นธรรม  “มอเตอร์ไซค์รับจ้างทำกินเป็นธรรม”ขึ้น ทะเบียนมอเตอร์ไซค์รับจ้างเพื่อไม่ให้กลุ่มอิทธิพลเข้ามารีดไถหาผลประโยชน์  เพิ่มจุดผ่อนผันให้ผู้ค้าหาบเร่ ลดภาระกองทุนน้ำมัน ตรึงราคาก๊าซแอลพีจีในภาคครัวเรือนและขนส่ง แต่ปล่อยลอยตัวในภาคอุตสาหกรรม ขึ้นค่าแรง 250 บาทต่อวัน  รวมถึง จัดตั้งกองทุนเงินออมแห่งชาติ ขยายไปที่ผู้สูงอายุ นโยบายเรียนฟรี เบี้ยยังชีพ เบี้ย อสม. ที่ออกมาก่อนหน้านี้
พรรคเพื่อไทย  พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศนโยบายล่าสุดเมื่อวันที่ 23 เม.ย. หลากหลายข้อ  เช่น  ให้มี “30 บาท รักษาทุกโรค”  เพิ่ม กองทุนหมู่บ้าน 2 ล้านบาท กองทุน S M L 3-4-5 แสนบาท  พักหนี้ครัวเรือนต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปีจำนำข้าวเปลือกเจ้า 15,000 บาทต่อตัน จำนำข้าวเปลือกหอมมะลิ 20,000 บาทต่อตัน ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแรงจูงใจ  แรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อ วัน โดยมีการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแรงจูงใจ
ส่วน เมกกะโปรเจคท์มีมาก โดยเฉพาะการถมเกาะ สร้างเมืองใหม่ บริเวณ สมุทรปราการ สมุทรสาคร เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ หรือ  การปรุบปรุงโครงการรถไฟฟ้าทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 10 สาย ค่าโดยสาร  20 บาทตลอดสาย

นโยบายแยกส่วน ไม่มององค์รวม 
“วิทยากร เชียงกูล” คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต มองว่า นโยบายขอพรรคการเมืองที่ออกมา แยกเป็นส่วนๆ มุ่งเน้นที่กลุ่มประชาชน ที่พรรค ต้องการคะแนนเสียง  โดยที่พรรคการเมือง ไม่ได้มองโครงสร้างเศรษฐกิจในภาพรวม แต่มองเป็นส่วนๆ แยกเป็นเรื่องๆ ออกไป เพื่อจะกระจายรายได้ให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และคนกลุ่มไหนจะได้ประโยชน์ เพื่อให้คนกลุ่มนั้นเลือกพรรค ฉะนั้น โครงการจึงมีลักษณะแตกกระจาย และยังมีลักษณะ ”ประชานิยม” คือ เน้นการช่วยเหลือมากกว่าที่จะส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้มแข็งและยืนอยู่ได้ใน ระยะยาวจริง 
ส่วนนโยบายของประชาธิปัตย์ “วิทยากร” มองว่า เป็นการทุ่มเงินที่เปล่าประโยชน์ เพราะไม่ได้แก้ปัญหาตรงส่วนของโครงสร้าง
              “การช่วยเรื่องการศึกษาก็เห็นด้วย แต่บางทีมันก็ไม่ค่อยคุ้ม คือการให้การศึกษาฟรีแต่ไม่ได้เพิ่มคุณภาพ การสอนก็ไม่มีประโยชน์ มันอาจไปช่วยลดค่าใช้จ่ายได้บ้าง แต่ไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพขึ้นมา อันนี้มันเป็นการลงทุนที่เสียเปล่า มันกลายเป็นการแก้ปัญหาแบบเป็นส่วนๆ โดยไม่ได้แก้ในเชิงภาพรวม” เช่นเดียวกับนโยบายของพรรคเพื่อไทย ที่จะให้มีการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทเกทับพรรคประชาธิปัตย์ที่ให้ 250 บาทว่าเป็นการ “ขายฝัน” มากกว่าจะทำได้จริง
“ความเป็นจริงก็คือ คนงานได้รับค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ฉะนั้น ที่ประกาศไปก็อาจจะไม่มีความหมายเพราะว่า มันจ่ายไม่ได้ เนื่องจากมีแรงงานเยอะ ต่อไปคนไทยจะไม่มีงานทำเพราะเขาไปจ้างพม่าแทน เพราะว่าแรงงานพม่ายอมรับค่าจ้างต่ำกว่า ก็มองว่าบางทีหาเสียงมากเกินไป โดยไม่ดูความเป็นจริง” 
สำหรับ นโยบาย “กองทุนเงินออมแห่งชาติ” ของ พรรคประชาธิปัตย์ที่หลายฝ่ายมองว่า เป็นการสร้างหลักประกันอย่างยั่งยืน  วิทยากร เห็นด้วยว่าหลักการเป็นเรื่อง ดี แต่คนที่จะทำได้ ต้องมีรายได้ที่แน่นอน  ซึ่งคนจนจะออมลำบาก  ความจริงเรื่องนี้ ทุกพรรคต้องย้อนไปที่หลักการปฏิรูป ที่มีการเก็บภาษีคนรวย ไปช่วยคนจน  คือถ้าพูดแต่การรับสวัสดิการ การช่วยคนจน แต่ไม่กล้าพูดเรื่องการเก็บภาษีคนรวยก็คงช่วยอะไรไมได้ อย่างไรก็ตามเห็นว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์เป็นผู้จัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมา   แต่น่าเสียดายที่ไม่สนใจถึงข้อเสนอหรือแนวทางที่ให้มีการปฏิรูปเชิงโครง สร้างซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ม่ก
“วิทยากร” กล่าว ว่า เวลานี้น่าเสียดายเพราะพรรคการเมืองไทยไม่มีทางเลือกมานำเสนอ  การแข่งเรื่องนโยบายก็แค่เป็นไปตามกระแสเท่านั้น  ส่วนพรรคใหม่ที่นำเสนอนโยบายใหม่ๆ เป็นทางออกก็หายาก  การเมืองวันนี้ จึงเป็นการแข่งกันทางตัวบุคคลเท่านั้น
“การ เปิดนโยบายของพรรคการเมืองยังเป็นจุดด้อย  ความจริงควรจะมีพรรคการเมืองอื่น ที่เป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก ที่บอกว่า สนใจข้อเสนอเหล่านี้ (คปร.) มาแข่งขันกันมันก็จะเป็นสิ่งที่ดี แต่พรรคการเมืองก็ไม่มีการพูดถึงเลย กลับไปมองว่าเศรษฐกิจจะโตหรือไม่โต  เพราะเน้นไปในทางเศรษฐกิจมากกว่าปัญหาชาวบ้าน ทั้งที่จริงแล้วถ้าชาวบ้านเข้มแข็งเศรษฐกิจโดยรวมก็จะไปได้”
“การ เน้นประชานิยมมาก จะทำให้ประชาชนมึนชา คอยแต่จะได้ โดยไม่คิดว่าตัวเองจะต้องจัดตั้งองค์กร และต้องทำอะไรมากขึ้น ในแง่หนึ่งมันก็พัฒนายากเหมือนกัน และก็จะแข่งกันในเชิงประชานิยมต่อไป รัฐบาลก็จะเป็นหนี้มากขึ้นในระยะยาว ก็จะสร้างปัญหามากขึ้น ประชาชนจะแย่ลงไปอีกหากไม่รีบหาทางแก้ปัญหาแต่ต้น”
เขา บอกว่า   ทุกฝ่ายต้องพยายามให้ประชาชนรู้ปัญหามากขึ้น จะได้ไปผลักดันนักการเมืองต่อไป แต่วันนี้นี้ ประชาชนชอบ  ประชานิยม มากกว่าเพราะเห็นผลในระยะสั้น แต่ด้านการปฏิรูปนั้น มันจะเห็นผลได้ในระยะยาว เพราะการเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง กว่าจะได้มาก็เป็นทางอ้อม ประชาชนก็ไม่เห็นชัดเจนเพราะยังไม่เห็นเงิน

ประโยชน์ระยะสั้น ให้ประชาชนแบมือ
“สุริยันต์ ทองหนูเอียด” เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์ประชาธิปไตย หรือ ครป.  มองการเปิดนโยบายของพรรคการเมืองว่า  พอใกล้เลือกตั้ง  นโยบายการช่วยเหลือคนจนก็จะถูกเสนอเข้าเป็นนโยบายหาเสียงทุกครั้ง เช่น  เรื่องแก้จน เรื่องลงทะเบียน แต่ไม่มีใครพูดในระยะยาวที่เกี่ยวกับการสร้างระบบ สำคัญที่เป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาคอรัปชั่น เรื่องความสามารถในการทำงานของผู้บริหารที่สงสัยว่าทำงานไม่เป็นบ้าง หรือความโปร่งใสในเรื่องการโยกย้ายแต่งตั้ง ทั้งหลาย อันนี้ชัดเจนว่า ทุกพรรคไม่มีใครนำเสนอในเรื่องนี้
เขา บอกว่า  การที่เพื่อไทยเปิดนโยบายล่าสุดมาก็ไม่ได้ต่างจาก นโยบายเดิมที่มาจากพรรคไทยรักไทยในอดีต หากแต่เป็นการสานต่อปรับแต่งให้มากขึ้น เช่น กองทุนหมู่บ้าน ต่อยอดของนโยบายประชานิยม   โดยไม่สรุปบทเรียนในเชิงคุณภาพของนโยบาย จึงเป็นการหาเสียงแย่งกันใช้ ประชานิยมในการทำงานมวลชนกับชาวบ้านเท่านั้น
“เพื่อ ไทยและประชาธิปัตย์ เหมือนกันตรงที่ ไม่ได้ไปปรับแก้โครงสร้างระบบในการแก้ปัญหาในเชิงยั่งยืนถาวร  เขาใช้นโยบายหาเสียงฉาบฉวยเฉพาะหน้าที่หวังหาคะแนนกับชาวบ้านมากกว่า”
ที่ จะเป็นผลเสียในระยะยาวจากนโยบายประชานิยมเหล่านี้ คือประชาชนจะไม่รู้จักการพึ่งพาตนเอง และจะคอยเป็นผู้รับจากรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว  เหมือนการวางยาหอมให้ประชาชนได้วาดฝันไว้ ซึ่งในความเป็นจริงการที่จะพัฒนาให้ยั่งยืนจะต้องปรับแก้ที่เชิงโครงสร้าง แต่ประชานิยมมันจะทำให้กิดผลเสียเรื่องหนี่สินตามมา
“การ ที่พรรคการเมืองประกาศนโยบายเชิงฉาบฉวยก็จะเป็นเหมือนน้ำผึ้งอาบยาพิษที่ไม่ ได้นำพาไปสู่การแก้ปัญหาในระยะยาว เป็นเพียงการเคลือบนโยบาย มันดูเหมือนดี แต่ที่จริงไม่มีคุณภาพในเชิงความยั่งยืนของประชาชน  วันนี้แม้ว่า ประชาชนต้องการให้นักการเมืองไปแก้ปัญหาของเขา แต่เขาก็อยากได้นโยบายที่เชื่อมโยงกับปัญหาปากท้องนำไปสู่การแก้ปัญหาในโครง สร้างอย่างเป็นระบบ”
นโยบาย ที่เปิดกันออกมา ที่สุดแล้วเป็นแค่การเบี่ยงเบนกระแส เพราะวันนี้การเมืองมันไกลจากปากท้องชาวบ้านมากเกินไปทั้งประชาธิปัตย์ ทั้งเพื่อไทย อย่างเพื่อไทยก็จะเอาทักษิณกลับมาอย่างเดียว จึงไม่ใช่การเมืองเพื่อมวลชน แต่เป็นการเมืองเพื่อบุคคล
ดัง นั้น ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาล สุดท้ายจะไม่สามารถผลักนโยบายการปฏิรูปได้  เพราะต้องพะว้าพะวง หรือติดอยู่กับความขัดแย้งทางการเมืองเหมือนเดิม
“นโยบายประชานิยม” ของทั้งสองพรรคการเมืองหลักอย่างประชาธิปัตย์ และ เพื่อไทย ก็อาจกลายป็น “ยาขม” ที่จะส่งผลให้ประชาชนมึนเมากับเงินทุนและกลยุทธ์ มากกว่าที่จะแก้ปัญหาให้กับปากท้องของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง