เวลาที่ฟังนักการเมืองให้สัมภาษณ์หรือตอบคำถามในสภาฯ คุณเคยรู้สึกสับสนบ้างหรือไม่ว่า "เอ๊ะ! ท่าน ส.ส. ตอบไม่ตรงคำถามหรือคนถามถามไม่ตรงคำตอบท่านกันแน่" งานวิจัยล่าสุดได้เผยวิธีการเลี่ยงตอบคำถามที่นักการเมืองนิยมใช้ ซึ่งง่ายๆ เลยก็คือการตอบคำถามด้วยคำตอบที่ดูเหมือนจะใกล้เคียงกับเรื่องนั้น
ทีมนักวิจัยแห่ง Analyst Institute ได้ทดลองให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาสาสมัครมานั่งฟังคลิปโต้วาทีของนักการ เมือง โดยนักวิจัยบอกกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรกว่านี่คือนักการเมืองที่กำลังตอบคำ ถามเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพ และบอกกับกลุ่มที่สองว่าคำถามเป็นเรื่องสงครามยาเสพย์ติด นักการเมืองในคลิปตอบคำถามด้วยคำตอบบทเดียวกันคือคำตอบเกี่ยวกับเรื่องระบบ ประกันสุขภาพผลปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างรู้สึกพอใจกับคำตอบที่ได้รับ โดยไม่เกี่ยวว่าคำตอบของนักการเมืองจะตรงกับคำถามหรือไม่ แถมกลุ่มตัวอย่างที่ได้ยินคำถามเกี่ยวกับสงครามยาเสพย์ติดในตอนแรกส่วนใหญ่ ยังจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่านักการเมืองคนนี้กำลังตอบคำถามเรื่องอะไรอยู่ มีเพียง 39% เท่านั้นที่จำได้
นักวิจัยจึงลองเปลี่ยนคำถามดู โดยหลอกให้กลุ่มตัวอย่างคิดว่านักการเมืองกำลังโต้กันเรื่องสงครามกับผู้ก่อ การร้าย และเอาคลิปอันเดิมที่นักการเมืองเจื้อยแจ้วเรื่องระบบประกันสุขภาพให้ฟัง ผลปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จับได้ว่านักการเมืองกำลังเลี่ยงคำถาม และรู้สึกเหม็นขี้หน้านักการเมืองคนนั้นขึ้นมาทันทีทันควัน
การทดลองอีกอัน นักวิจัยใช้คำถามและคำตอบชุดเดิมกับการทดลองแรก คือ คำถามเรื่องเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพหรือสงครามยาเสพย์ติด, และคำตอบเรื่องระบบประกันสุขภาพ แต่คราวนี้ข้างใต้จอภาพมีข้อความระบุถึงคำถามในตอนแรกไว้ด้วย ผลกลับกลายเป็นว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รู้สึกถึงการเลี่ยงคำถามของนักการ เมืองได้แทบจะในทันที หากคำตอบที่ได้รับไม่ตรงกับคำถาม
นักวิจัยคิดว่าผลลักษณะนี้คงเป็นธรรมชาติของการแปลผลของสมองมนุษย์ ในขณะที่เราฟังนักการเมืองตอบคำถาม เราจะแบ่งความคิดส่วนหนึ่งไปประเมินว่านักการเมืองคนนี้มีท่าทางน่าเชื่อถือ หรือไม่ หากนักการเมืองเลี่ยงคำถามโดยการยกประเด็นที่ใกล้เคียงกันขึ้นมาตอบ สมองเราก็จะตามไม่ทัน ยิ่งถ้าเป็นนักการเมืองที่มากประสบการณ์ในเรื่องนี้ด้วยแล้ว การพูดที่ไหลลื่นและท่าทางที่น่าเลื่อมใสก็ยิ่งทำให้เราเคลิ้มหนักขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม อาสาสมัคร 333 คนที่เข้าร่วมในการทดลองนี้เป็นผู้หญิงถึงกว่า 70% ดังนั้นมันก็ยังไม่แน่ว่าเพศและวุฒิภาวะของผู้ฟังมีผลในเรื่องนี้ด้วยหรือ ไม่
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น