มีการตั้งวงเสวนา หัวข้อ "แนวคิดของปรีดี พนมยงค์ กับการแก้ไขปัญหาทางการเมืองภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และข้อคิดต่อสังคมไทยในปัจจุบัน"
ทราบข่าวว่ามีงานนี้ แม้ไม่ได้ไปร่วม แต่ก็สะดุดใจกับหัวข้อเสวนาที่ว่า "ข้อคิดต่อสังคมไทยในปัจจุบัน" เพราะชวนให้คิดถึงประวัติชีวิตของบุคคลสำคัญ แสวงหาแง่มุมที่พอจะเป็นบทเรียนต่อสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน
แง่มุมชีวิตที่สำคัญอีกประการหนึ่ง (ในหลายๆ ประการ) สำหรับอาจารย์ปรีดีพนมยงค์ คือ ความเสียสละ
1) ท่านเป็นผู้นำในคณะราษฎร ที่เคยก่อการเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2475 ยึดอำนาจการปกครอง
เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2) ท่านเกิดในครอบครัวชาวนาอยุธยา
ตลอดชีวิต ไม่เคยมีมลทินในเรื่องทุจริตโกงกิน หรือเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจครอบครัว
ทั้งๆ ที่ เคยอยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกรัฐมนตรี หรือแม้แต่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระเจ้าแผ่นดินหากดูให้ดี จะพบว่า ท่านไม่มีธุรกิจส่วนตัวหรือไม่มีครอบครัวที่ทำสัมปทานหรือธุรกิจส่วน ตัว ตรงนี้เอง ทำให้เวลาจะตัดสินใจในเรื่องเกี่ยวกับส่วนรวม ท่านไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวในทางธุรกิจแอบแฝง หรือขัดแย้งกับผลประโยชน์ส่วนรวม
เมื่อไม่มีมูล ใครจะมากล่าวหาอะไรก็ไม่มีน้ำหนัก
การเมืองยุคใหม่ ควรจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เข้มข้นยิ่งขึ้น
เป็นการดีที่นายกฯ คนปัจจุบัน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน (ต่างจากเหมือนนายกของระบอบทักษิณ)3) ประเด็นเรื่องพฤติกรรมของหลังบ้าน หรือภริยาและคนในครอบครัว
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยาของอาจารย์ปรีดี ไม่เคยก้าวก่ายการทำงานของสามี ให้เป็นที่ติฉินนินทาเลยแม้แต่น้อยท่านเป็นผู้ได้ชื่อว่าเป็นแบบอย่างที่พึงประสงค์ของสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นแบบอย่างของภรรยานักการเมืองที่ดี โดยมีชีวิตอยู่อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี สมถะเรียบง่าย
แม้ยามจากโลกไปก็ไม่สร้างความลำบากให้กับลูกหลาน ญาติมิตร โดยทิ้งคำสั่งเสียว่า ไม่ให้จัดพิธีการใดๆ ไม่ยอมรับเกียรติ ไม่รบกวนญาติมิตรทั้งปวง เพียงให้นิมนต์พระภิกษุมาแสดงธรรม งานจัดพิธีไว้อาลัยมีความเรียบง่ายที่สุด โดยมีเพียงภาพท่านผู้หญิงอยู่ในห้องโถงของสถาบันปรีดี และเปิดโอกาสให้ญาติมิตรเข้าแสดงความอาลัยโดยไม่ต้องมีพวงหรีด หรือเงินทำบุญใดๆ เป็นแบบอย่างให้เห็นว่า ไม่มีอะไรจะนำไปสู่ปรโลกได้ เว้นแต่คุณงามความดีที่ได้บำเพ็ญไว้แต่หนหลัง
ท่านผู้หญิงพูนศุข เคยให้สัมภาษณ์ว่า "นายปรีดีไม่เคยให้ของขวัญมีค่าแก่ฉันเช่นสามีหลายท่านกระทำกัน แต่ภายหลังวายชนม์ฉันค้นเอกสารได้พบพินัยกรรมที่นายปรีดีเขียนด้วยลาย มือตนเอง ลงวันที่ 2 มกราคม 2509 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดดิฉัน จึงทำให้ฉันได้รับบำเหน็จตกทอดนายปรีดี เป็นเงิน 123, 960 บาท ขณะที่มีชีวิตอยู่ นายปรีดีได้รับบำนาญเดือนละ 4,123 บาท ดังนั้น ฉันจึงได้รับบำเหน็จตกทอด 30 เท่าของบำนาญ เมื่อฉันรำลึกถึงความหลังคราใดก็รู้สึกซาบซึ้งที่นายปรีดีได้เสียสละ และไม่เห็นแก่ตัว ให้ความไว้วางใจแก่ฉันอย่างเต็มที่ และอดภูมิใจไม่ได้ว่าเป็นภริยานักการเมืองที่มุ่งบำรุงความสุข สมบูรณ์ของราษฎร โดยมิเคยฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือกอบโกยผลประโยชน์เพื่อตัวเองและครอบ ครัวเลย"
เรื่องนี้ น่าจะเป็นข้อคิดที่สำคัญสำหรับนักการเมืองหรือผู้ที่อาสาจะเข้ามาทำงานการเมืองในสมัยนี้
นอกจากตนเองจะต้องเสียสละแล้ว คู่ชีวิตของตนเองและครอบครัว ยังต้องพร้อมที่เสียสละ โดยวางกรอบชีวิตของตนเองอย่างเข้มงวดมากกว่าคนทั่วไปด้วย ไม่ใช่หวังกอบโกย
เป็นการดีที่หลังบ้านของนายกฯ คนปัจจุบัน ไม่มีธุรกิจส่วนตัวที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของรัฐ ไม่เป็นคู่สัญญาหรือสัมปทานกับรัฐ และไม่ปรากฏว่าจะเข้ามาก้าวก่ายงานของสามี
เป็นข้อคิดที่ฝากไปถึงผู้ท้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปทุกๆ คน ว่าควรรักษามาตรฐานนี้เอาไว้
4) พฤติกรรมเมื่อพ้นจากอำนาจไปอยู่ต่างแดน
ประเด็นนี้ สะท้อน "ความเสียสละยิ่งใหญ่" ของท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์
เมื่ออาจารย์ปรีดีพ้นจากตำแหน่งนายกฯ ต้องไปพำนักอาศัยอยู่ต่างประเทศ ท่านไม่เคยปลุกระดม สร้างขบวนการป่วนบ้านป่วนเมือง เพื่อหวังจะได้อำนาจรัฐกลับคืนมาใช้เป็นเครื่องมือในการปกป้องผลประ โยชน์ส่วนตัว ไม่ต้องติดคุกและไม่ถูกยึดทรัพย์อาจารย์ปรีดีไม่เคยโจมตีประเทศไทย ไม่เคยโจมตีทำลายระบบยุติธรรมหรือศาลยุติธรรมของประเทศไทย และที่สำคัญ ไม่เคยพูดจาจาบจ้วงล่วงละเมิด หรือกดดันพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อมุ่งให้เกิดการลบล้างความผิดของตนเอง
แม้จะอยากกลับบ้าน แต่อาจารย์ปรีดีก็นึกถึงส่วนรวมมากกว่าตัวเอง ดังที่ท่านผู้หญิงพูนศุขเขียนไว้ในหนังสือ "ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น" เล่าว่า "อยากกลับบ้าน แต่ถ้าเรากลับมาแล้ว บ้านเมืองวุ่นวาย ต้องมีคนไม่ชอบ แล้วอย่างนี้จะกลับได้ยังไง อยากให้บ้านเมืองสงบ คิดว่าอยู่ต่างประเทศดีกว่า ใจน่ะอยากกลับ ถ้ากลับมาไม่สงบ ก็เป็นคนไม่รักชาติ เราต้องการให้ชาติบ้านเมืองมีความสงบรุ่งเรือง..."
ถึงตรงนี้.... คิดแล้ว มันช่างสะท้อนใจ เพราะมันแตกต่างจากอดีตนายกฯ นักโทษ ผู้ถูกยึดทรัพย์เป็นของแผ่นดินฐานร่ำรวยผิดปกติ หลบหนีอาญาแผ่นดิน ผู้กำลังแหกปากร้องตะโกนปาวๆ จากนอกประเทศว่า "อยากกลับบ้าน" ขอให้มวลชนช่วยพากลับหน่อย แถมสร้างเงื่อนไขให้ตนเองต้องได้ประโยชน์ส่วนตัว ต้องนิรโทษ ต้องล้มล้างความคิดให้ตนเองด้วย
คนแบบนี้ ไม่มีคำว่า "ประโยชน์สุขของมหาชนชาวไทย" อยู่ในหัวใจ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น