บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เหตุใดนักการเมืองจึงไม่กล้าชูนโยบายปราบโกง


เสียงปี่เสียงกลองกำลังดังกระหึ่ม เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่โหมดการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว หลังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาเมื่อค่ำวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 พร้อมๆ กับกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป 3 กรกฎาคม 2554
ขณะเดียวกันสารพัดโพล ที่จัดทำโดยสถาบันการศึกษาเพื่อหยั่งคะแนนความนิยมพรรคการเมืองก่อนหน้านี้ ผลก็ออกมาโชว์ตัวเลขที่เฉือนกันแบบเฉียดฉิว ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถกุมคะแนนนิยมสูงสุดจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลแบบพรรค เดียวได้ แม้กระทั่งพรรคการเมืองหน้าใหม่ก็ยังไม่ใช่ทางเลือก
ยิ่งเมื่อมาดู “นโยบาย” ที่พรรคการเมืองต่างโหมประชาสัมพันธ์ และเข็นออกมาขายนั้น ส่วนใหญ่ก็เน้นไปที่การเอาใจคนรากหญ้า ทั้งลด แลก แจก แถม แทบเหมือนกันทั้งสิ้น
นี่คือการเมือง
และเท่าที่ติดตามอ่านนโยบายพรรคการเมืองอยู่ห่างๆ การทุจริตคอร์รัปชั่น กลับกลายเป็นประเด็นที่ยังไม่มีพรรคการเมืองใดให้ความสนใจมากเท่าใดนัก
แม้ว่าล่าสุดจะมีงานวิจัยเรื่อง “ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงการธุรกิจเอกชนไทย” เผยแพร่ออกสู่สาธารณะ โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เมื่อ เร็วๆ นี้ ซึ่งก็ระบุชัด การที่ประเทศไทยไปฝากความหวังไว้ที่ฝ่ายการเมืองให้เป็นผู้ริเริ่มการ เปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ น่าจะเป็นไปได้น้อย เนื่องจากการทุจริตมี “รากเหง้า” จากภาคการเมืองนั่นเอง
มีความเป็นไปได้สูงด้วยว่า ถึงแม้รัฐบาลจะยุบสภา และมีการเลือกตั้งใหม่ ไม่ว่าได้พรรคการเมืองไหนมาเป็นรัฐบาล ก็คาดการณ์กันว่า การทุจริตก็ยังคงอยู่เช่นเดิม พูดแบบทำให้ใครต่อใครหลายคนหมดความหวัง แต่สำหรับ ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ หัวหน้าคณะผู้วิจัย งานชิ้นข้างต้น มองว่า เป็นธรรมดาที่พรรคการเมืองต้องคิดเรื่องอะไรที่ประชาชนให้ความสำคัญมากที่ สุดก่อน ซึ่ง ณ ขณะนี้คงหนีไม่พ้น เรื่องของแพง ที่เป็นเบอร์หนึ่ง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำรงชีพ
กอรปกับช่วงที่ผ่านมา นโยบายประชานิยม ตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ “เวิร์ค” ทำ ให้นโยบายของพรรคการเมืองส่วนใหญ่จึงเทไปทางนี้กันหมด จึงไม่แปลกใจ หากประเด็นการทุจริตคอร์รัปชั่น พรรคการเมืองไทยไม่เคยหยิบขึ้นมาชูเป็นโยบาย “เด่น” เลย
นัก วิชาการจากทีดีอาร์ไอ ขอให้เราลองย้อนกลับไปถามคนที่จะไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงด้วยว่า ใช้ประเด็นใดในการตัดสินใจกากบาทลงในบัตรเลือกตั้ง…?
เพราะในเมื่อคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน และมองเป็นเรื่องไกลตัว ฉะนั้น พรรคการเมือง “โฆษณา” ไปก็ไร้ประโยชน์
แล้วนับประสาอะไรกับการไปสัญญากันไว้ล่วงหน้า ต่อมาทำตามไม่ได้  พรรคนั้นๆ ก็เสี่ยงถูกโวย เสียเครดิต
สรุปตรงนี้เลยว่า หยิบประเด็นทุจริตขึ้นมาทำเป็นนโยบายหาเสียงแล้วมันไม่คุ้ม ทำไปก็ไม่รู้ว่าจะได้คะแนนเสียงหรือเปล่าด้วย
ต่างกันอย่างชัดเจนกับกรณีเกาหลีใต้ ที่มีแรงกดดันมาจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คนเกาหลีจะให้ความสำคัญกับการทุจริตคอร์รัปชั่น ด้วยเชื่อว่า การทุจริตคอร์รัปชั่น ระหว่างรัฐบาลกับเอกชน ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเขาเสียหาย
กระทั่งในที่สุดความเชื่อดังกล่าว ทำให้รัฐบาลต่อๆ มาจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เพราะมิเช่นนั้น ก็จะไม่ได้ใจคนเกาหลี
นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของเสียงสะท้อนที่มาจากประชาชนแท้ๆ กับการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่ยั่งยืนมาจากประชาชน แต่ทว่าจะถึงจุดนั้นได้ ดร.เดือนเด่น ชี้ว่า การเข้าถึงข้อมูลต้องมาก่อน โดยสังคมต้องมีข้อมูล เพื่อให้เห็นว่า คอร์รัปชั่นมันเกิดความเสียหายอย่างไร มีตัวอย่างให้ดูว่า คนที่ทุจริต ต้องเข้าคุกจริง
น่าเสียดาย.... เมืองไทยมีปัญหาตรงที่ว่า เรายังพิสูจน์ไม่ได้ว่า มีการทุจริตจริงหรือไม่ ก่อนที่จะลงโทษเขา เพราะถ้าเผื่อเราไม่มีการลงโทษ เราก็ไม่รู้ว่าใครทุจริต มีแต่คนที่ฟ้องร้องเรื่องการทุจริต สุดท้ายแล้ว ก็หลุด !!
“มีรัฐมนตรีกี่คนที่ติดคุกในประเทศไทย  ฉะนั้นคนไทยจึงยังไม่รู้สึกว่า ทุจริตจริงหรือ หรือว่าเป็นการกล่าวหา ไม่มีบทเรียน เพราะว่ามันไม่มีการดำเนินการทางกฎหมาย ไม่มีกรณีตัวอย่าง เราจึงไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย” ดร.เดือนเด่น ให้ทรรศนะไว้อย่างนั้น
ในมุมนักการเมืองที่รู้ซึ้ง เจอมากับตัวต้องหลุดจากเก้าอี้รัฐมนตรี สนองกฎเหล็ก 9 ข้อของพรรค  อย่างนายวิทยา แก้วภราดัย  รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ บอกว่า การทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องที่พรรคการเมืองทุกพรรคมีนโยบายอยู่แล้ว แต่จะเอามาพูดมากหรือน้อย จะมีการเผยแพร่ หรือโฆษณามากน้อยแค่ไหน ก็เท่านั้น
“การทุจริตคอร์รัปชั่นไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิด เพียงแต่ว่าการทุจริตคอรัปชั่นในวันนี้มีการตรวจสอบไล่ทัน”
“องค์กรตรวจสอบภาคประชาชน ภาคสื่อ และองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นมา มีการตรวจสอบเปิดเผยมากขึ้นๆ จนคนรู้สึกว่า มาก เพราะได้ยินบ่อยขึ้น”
“ทั้งที่จริงก็ไม่ได้แตกต่างจากยุคอดีตที่ผ่านมาเลย ไม่ได้ต่างจากในยุคเผด็จการที่เราไม่เคยได้ยิน แต่เราก็รู้ว่า การคอร์รัปชั่นมันเต็มบ้าน เต็มเมืองในยุคคอร์รัปชั่นมากที่สุด ยิ่งกว่ายุคเลือกตั้งเสียอีก”
นักการเมือง ผู้เคยแสดงสปิริต ขอลาออกจากตำแหน่ง รมว.สธ. กรณีการทุจริตในโครงการไทยเข้มแข็ง แม้ต่อมาผลการสอบสวนที่ออกมาในภายหลัง สรุปว่า เขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง เล่าย้อนให้ฟังอย่างน้อยอกน้อยใจ ถึงช่วงเวลานั้นว่า
“ช่วงนั้น ผมก็ลาออกทันที แต่ไม่เห็นมีใครรับผิดชอบ และกรรมการที่นายกฯ ตั้งมาสอบผมก็ไม่เห็นรับผิดชอบอะไร อยู่กันได้สบายทุกคน โดยการโจมตีนักการเมืองว่า บกพร่อง มันกลายเป็นเรื่องง่ายที่เอานักการเมืองมาเป็นเครื่องสังเวย”
นายวิทยา ยังย้ำด้วยว่า แม้ปัจจุบัน เราอาจจะได้ยินนโยบาย 30 บาท นโยบายหมู่บ้านละ 20 ล้าน และเรื่องค่าแรงมากกว่า จนกลบนโยบายต่อต้านคอรัปชั่นไปหมด สิ่งสำคัญกว่า ที่น่าจับตา คือ หากพรรคการเมือง ออกนโยบายปราบโกงออกมาแล้ว คนไทยจะเชื่อมั่นในนโยบายนี้กันมากน้อยขนาดไหน
“เพราะนอกจากกนโยบายทุจริตคอรัปชั่น มันไม่โดนใจใครแล้ว คนยังไม่มีสนใจ ไม่มีใครเชื่อเรื่องคอรัปชั่น และต่อให้รณรงค์ให้ตาย ถ้าคนไม่เชื่อก็จบ  ยิ่งหากพรรคไหนประกาศเน้นการปราบทุจริตคอรัปชั่น ก็จะมีคำถามต่อว่า “แล้วจะปราบยังไง” ในเมื่อขณะนี้เรามีองค์กรอิสระเพื่อปราบคอรัปชั่นอย่างน้อย 4-5 องค์กรแล้ว” อดีต รมว.สธ. ให้บทสรุปสั้นๆ ทิ้งท้าย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง