รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านคงจะคุ้นเคยกับคำว่า ‘แลนด์บริดจ์’ ที่ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นในจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งเป็นแผนเก่าเก็บราว 30 ปีก่อนที่ถูกหยิบมาปัดฝุ่นใหม่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และสานต่อด้วยรัฐบาลอภิสิทธิ์ และสืบเนื่องมาจนกระทั่งรัฐบาลชุดปัจจุบัน
แผนพัฒนาดังกล่าวนอกจากจะมีการก่อสร้าง ท่าเรือน้ำลึกที่ปากบารา อ.ละงู จ.สตูล ยังรวมไปถึง การก่อสร้างรถไฟรางคู่ระหว่างสงขลาและสตูล การวางท่อขนส่งน้ำมันและก๊าซระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน คลังน้ำมันขนาด 5,000 ไร่ การขุดเจาะอุโมงค์เชื่อมเส้นทางหลวงสตูล-เปอร์ลิส (ไทย-มาเลเซีย) ยังไม่รวมถึงพื้นที่อุตสาหกรรมหลากชนิด ที่กรีฑาทัพมาเพื่อริดรอนสิทธิและผลประโยชน์ที่มีมาแต่ดั้งเดิมของประชาชนในพื้นที่ และได้มีการดำเนินการไปแล้วบางส่วน โดยแทบจะไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงในการพัฒนาดังกล่าวให้คนในพื้นที่รับรู้
ทะเลสตูล : ทรัพยากรธรรมชาติที่ยากจะตีค่าเป็นตัวเงิน
การสร้างท่าเรือปากบารา อาจจำเป็นต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญตั้งแต่การใช้พื้นที่กว่า 4,700 ไร่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำตามธรรมชาติ การระเบิดภูเขาถึง 8 ลูก ที่อาจส่งผลกระทบถึงสภาวะอากาศและเป็นการเปิดช่องทางให้ฝุ่นควันและสารพิษจากเขตอุตสาหกรรมเข้ามาในเมืองสตูล
นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องใช้ทรายกว่า 20 ล้านคิวเพื่อถมทะเล และทรายเหล่านั้นก็มาจากชุมชนใกล้เคียงนั่นเอง ยังไม่นับการเวนคืนที่ดินอีกมหาศาลและการสูญเสียแหล่งทำกินที่ประชาชนต้องเผชิญ
อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ประจำสาขาภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้เป็นหัวหน้าในโครงการจัดทำเอกสารนำเสนอพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน จ.สตูล เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ได้กล่าวถึงความอุดมสมบูรณ์และความสำคัญของทะเลสตูลไว้อย่างหลากหลายมิติ
‘ทะเลสตูลเป็นแหล่งสะสมอาหารที่มาจากทั้งทางบกและทางทะเล เป็นพื้นที่ที่มีธาตุอาหารสูง เป็นแหล่งหญ้าทะเล แหล่งปะการังอุดมสมบูรณ์ และเป็นรอยต่อช่องแคบมะละกา ระหว่างคาบสมุทรอินเดียและคาบสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมระบบนิเวศน์ทางทะเลคือ ป่าชายเลน หาดหิน หาดทราย หาดโคลน แหล่งปะการัง และหญ้าทะเล ครบถ้วนสมบูรณ์’
นอกจากความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติแล้ว อาจารย์ศักดิ์อนันต์ยังเสริมว่าบริเวณชายฝั่งแถบอันดามันตอนล่าง มีลักษณะที่มีภูเขาอยู่ด้านหลัง ซึ่งหากเกิดมลพิษหรือขยะ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ไม่ได้ถูกพัดพาไปไหน แต่จะตกตะกอนหรือลอยอยู่ในบริเวณดังกล่าว จึงเป็นพื้นที่ที่อ่อนไหวต่อมลภาวะ แตกต่างจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ที่มลภาวะทุกอย่างจะถูกคลื่นพัดพาไปหมด
แต่อย่างไรก็ดี จากรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA กลับได้ผลว่าปากบาราเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม ซึ่งออกจะขัดจากความเป็นจริงที่ปากบารานั้นอุดมไปด้วยสัตว์ทะเลนานาชนิด เช่น หอยนางรม หอยปากเป็ด หอยเสียบ อีแปะทะเล หอยมะระ ไส้เดือนทะเล และปูทหาร ซึ่งสัตว์ทะเลเหล่านี้มีปริมาณค่อนข้างมากและกระจายอยู่ตามหน้าดิน
การประเมินต้นทุนทางธรรมชาติ : ตัวเลขที่นักเศรษฐศาสตร์ไม่อยากพูดถึง
แทบทุกครั้งในการประเมินมูลค่าโครงการ โดยเฉพาะโครงการที่จำเป็นต้องทำลายทรัพยากรธรรมชาติ นักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปมักมองต้นทุนทางธรรมชาติเพียงผิวเผิน และประเมินอย่างฉาบฉวยเป็นตัวเงินง่ายๆ ที่มีมูลค่าน้อยนิดเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเมกะโปรเจกต์มูลค่ามหาศาล เช่นที่ปากบารา นักเศรษฐศาสตร์เพื่อการพัฒนามักมองเพียงว่า บนหาดนั้นมีสัตว์ทะเลเศรษฐกิจกี่ตัว คิดเป็นมูลค่ากี่บาท หรือการทำแบบสอบถามถึงผู้มีอาชีพประมง และประเมินเงินได้ที่ได้จากการประกอบอาชีพดังกล่าว โดยลืมมองไปว่า ธรรมชาตินั้นทรงคุณค่ามากกว่าต้นทุนทางเศรษฐกิจ
หากเรามองปากบาราใหม่ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม จะพบว่าสัตว์ทะเลเช่นปูทหาร ที่ดูเหมือนจะไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ แต่เป็นตัวแปรสำคัญในเชิงนิเวศ ซึ่งปูทหารนั้นนอกจากจะทำหน้าที่คุ้ยดินเพื่อกินเศษซากอินทรีย์ ยังขุดดินเพื่อเพิ่มคุณภาพดิน ทำให้เหมาะแก่การอยู่อาศัยของชีวิตอื่นๆ และสัตว์หน้าดินเหล่านั้นเองก็จะเติบโตเป็นอาหารในห่วงโซ่แก่สัตว์อื่นต่อไป
แม้แต่หอยนางรมเอง ก็เปรียบเสมือนเครื่องกรองน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งหากมองในแง่นี้แล้ว ทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อสร้างเครื่องจักรมาทดแทนหน้าที่ของเหล่าสัตว์ทะเลตามธรรมชาติ
นอกจากนี้ หอยปากเป็ด ก็ถือเป็นสัตว์ทะเลโบราณที่หายาก และแทบจะไม่มีการพบเห็นในพื้นที่อื่นของประเทศไทย ซึ่งถึงแม้จะไม่มีมูลค่าในตลาด ก็กลับมีมูลค่าสูงมากในเชิงนิเวศวิทยา ยังไม่นับผลกระทบต่อทะเลที่เป็นแหล่งหญ้า และแนวปะการัง ซึ่งผลกระทบเหล่านั้นอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของมรดกอาเซียน อย่างอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตรุเตา
สิทธิชุมชนกับข้อมูลข่าวสารที่ถูกบิดเบือน
ท่าเรือปากบารา และสารพัดแผนพัฒนาที่รัฐหยิบยื่นให้ประชาชน ไม่ต่างอะไรจากนโยบาย ‘ขายฝัน’ ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์ในการตะล่อมให้ประชาชนในพื้นที่ยินยอมให้เกิดการ ‘พัฒนา’ ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวอ้างถึงเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่จะไหลเวียนสู่จังหวัดสตูล การเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งตลาดแรงงานที่จะมีการขยายตัว คนสตูลจะมีงานทำ และนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับชาติ แต่หากประชาชนเชื่อภาพที่รัฐพยายามสร้างขึ้น สุดท้ายสตูลก็คงไปหนีไม่พ้นชะตากรรมที่จะกลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ ไม่ต่างจากมาบตาพุด
น้อยนักที่จะมีคนจากส่วนกลางไปพูดความจริง ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน ที่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างถิ่น ที่พร้อมจะเบียดบังแรงงานไร้ฝีมือที่ช่ำชองในการประมงหรือการทำเกษตรกรรมให้ไม่มีอาชีพ และโครงการดังกล่าวย่อมไม่จบลงแค่เพียงท่าเรือ สิ่งที่จะตามมาคือระบบขนส่งน้ำมัน
การสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อป้อนพลังงานให้โรงงานเหล่านั้น และการควบคุมแบบไทยๆ ที่ทำให้ทะเลปนเปื้อนไปด้วยสารพิษ ตามมาด้วยการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ และการล่มสลายของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่ในมุมกลับกัน ผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการลงทุนก็จะไหลเข้าสู่กระเป๋าของนายทุน กลายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จะมีก็เพียงเศษเงินที่ปันส่วนให้กับประชาชนผู้มีถิ่นฐานในพื้นที่ และสุดท้ายผลกรรมทั้งหมดก็จะตกอยู่กับประเทศชาติ อยู่กับธรรมชาติ ที่ยากจะฟื้นคืน
สุดท้าย ผู้เขียนขอเตือนว่า GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศนั้น เป็นเพียงมาตรวัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงคร่าวๆ และมีข้อจำกัดมากมาย แต่ที่สำคัญที่สุดคือ GDP ที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้ชี้วัดการกระจายรายได้หรือความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ได้บอกว่าทรัพยากรธรรมชาติของเรายังคงอุดมสมบูรณ์ และที่สำคัญที่สุด มันไม่ได้รับรองว่าประชาชนชาวไทยจะมีความสุขจากตัวเลขที่เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม
inShare
ข้อมูลบทความ
วันที่: 31/03/2012
หมวดหมู่: headline, headline3, Practical Report, เศรษฐกิจ
ป้ายคำ: ทะเลสตูล, ท่าเรือน้ำลึกปากบารา สตูล, ท่าเรือปากบารา, รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์, ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง, หอยปากเป็ด, แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้
วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555
ประวัติศาสตร์ไทย” : การสร้างชาติและอัตลักษณ์
การพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าย่อมเป็นเรื่องดียิ่ง หากทว่า ปัญหาสำคัญคือ จะพัฒนาอะไรและพัฒนาอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อทรัพยากรและเวลามีจำกัด
หากถือตามประเทศมหาอำนาจเป็นแม่แบบ ก็จะพบปัญหาเดียวกันว่า อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซีย และจีน แม้ว่าบางประเทศจะดูเหมือนมีความคล้ายคลึงกัน แต่เมื่อลงลึกในรายละเอียดแล้วต่างก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว
ความสำเร็จในการพัฒนาของแต่ละชาติ ส่วนหนึ่งย่อมเกิดจากการลอกเลียนและหยิบยืมกัน หากทว่าส่วนสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่า คือ การนำแนวคิดจากภายนอกมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของตนที่ผ่านการสั่งสมมายาวนาน
การค้นหาลักษณะเฉพาะของประเทศ จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่บรรพบุรุษของชาติได้ร่วมกันสร้างขึ้น
ประเทศไทยที่เราคุ้นเคยและอาศัยหายใจอยู่ในปัจจุบัน ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่สืบรากมาจากอดีตกาลที่ไกลโพ้น โดยอาจต้องนับย้อนไปถึงสมัยอาณาจักรอยุธยา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างชาติและรวมเขตแดนทั้งหลายให้เป็นปึกแผ่น
ความได้เปรียบด้านชัยภูมิของอยุธยา ไม่ใช่เพียงเป็นแหล่งเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น หากยังมีสิ่งที่สำคัญกว่า นั่นคือ ทางออกทะเล ซึ่งทำให้สามารถติดต่อค้าขายกับอาณาจักรเพื่อนบ้านและชาวต่างชาติได้สะดวก จึงเป็นเหตุให้อยุธยาสั่งสมความมั่งคั่งและวิทยาการได้ดีกว่าหัวเมืองเหนือ ไม่ว่าจะเป็นสุโขทัย พิษณูโลก หรือเชียงใหม่
ยิ่งอยุธยาสามารถครอบครองและเรียกบรรณาการจากหัวเมืองเหนือได้มากเท่าไร อยุธยาก็จะยิ่งมีสินค้าไปขายให้กับพ่อค้าชาวต่างชาติได้หลากหลายมากขึ้นเท่านั้น จึงยิ่งทำให้อำนาจและความมั่งคั่งสามารถสั่งสมแปรเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาระบบการปกครองให้เข้มแข้งยิ่งขึ้น
“เมืองลูกหลวง” เป็นกลไกเริ่มต้นในการขยายขอบเขตอำนาจของอยุธยาให้กว้างไกลออกไป โดยอาศัยสายสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ใกล้ชิดให้ไปปกครอง ซึ่งทำให้อาณาจักรอยุธยาสามารถขยายอิทธิพลออกไปครอบงำหัวเมืองที่อยู่ทางเหนือได้ดียิ่งขึ้น
ระบบนี้แม้ว่าจะมีจุดอ่อนที่ทำให้เชื้อพระวงศ์ซึ่งครอบครองเมืองลูกหลวงสามารถยกทัพเข้ามาแย่งชิงอำนาจในราชสำนักที่อยุธยาได้ แต่ก็เป็นเพียงการเปลี่ยนตัวกษัตริย์องค์ใหม่เท่านั้น ไม่ได้กระทบกับระบบการปกครองที่สถาปนาไว้มากมายนัก ที่สำคัญยังถือเป็นการคัดเลือกผู้เข้มแข็งกว่าให้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไปด้วย
หลังจากพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาในปี 1893 อาณาจักรแห่งนี้ก็ได้ขยายอำนาจตัวเองออกไปครอบครองดินแดนทางเหนือทีละเล็กทีละน้อย โดยการเปลี่ยนแปลงสถานะจากเมืองประเทศราชให้กลายเป็นเมืองลูกหลวงได้สำเร็จ
100 ปีต่อมา ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ระบบราชการก็ยิ่งได้รับการสถาปนาให้เข้มแข็งขึ้น โดยเฉพาะการจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งทำให้ระบบเมืองลูกหลวงที่เคยเป็นประโยชน์ในช่วงเวลาหนึ่ง เริ่มลดบทบาทความสำคัญลง ขอบเขตของรัฐบาลที่กรุงศรีอยุธยาได้ขยายออกไปกว้างขวางกว่าบริเวณรอบแม่น้ำเจ้าพระยา
จนกระทั่ง สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (2077-2089) หัวเมืองทางเหนือก็ถูกควบคุมได้จากระบบราชการส่วนกลาง โดยอาศัยขุนนางทองถิ่นซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์เก่าของดินแดนประเทศราชเหล่านี้ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลไกบริหาร
ระบบราชการที่สั่งสมขึ้นมาทีละน้อยนี้ แม้ว่าจะทำให้อาณาจักรอยุธยาสามารถขยายเขตแดนอิทธิพลได้เข้มแข็งกว้างไกลยิ่งขึ้น หากทว่าก็กลับทำให้เกิดกลุ่มอำนาจใหม่ที่จะสั่นคลอนกลไกการปกครองในเวลาต่อมา
เหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่ 1 ส่วนหนึ่งก็มาจากความขัดแย้งของระบบราชการและกษัตริย์ แต่กระนั้นอยุธยาก็สามารถฟื้นตัวจากภาวะสงครามได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งย่อมเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าระบบราชการที่สร้างขึ้นนี้มีความเข้มแข็งกว่าระบบเมืองลูกหลวงและสายสัมพันธ์ในเชิงสายเลือด
นับจากนี้ เราจะไม่พบเหตุการณ์ที่เจ้าเมืองยกกำลังเข้ามาช่วงชิงอำนาจได้อีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะเกิดขึ้นภายในระบบราชการมากกว่า แม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะมีกษัตริย์ที่เข้มแข็งอย่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หากทว่าก็เพียงสามารถสะกดข่มขุนนางได้ชั่วคราวเท่านั้น สุดท้าย ระบบราชการก็จะเติบโตขึ้นมาเป็นขุมกำลังสำคัญในการบริหารบ้านเมืองและช่วงชิงอำนาจวาสนา
หลังจากเสียกรุงครั้งที่ 2 และการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ดูเหมือนว่าระบบกระจายอำนาจโดยให้ขุนนางที่ไว้วางใจแยกตัวไปปกครองหัวเมืองจะกลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง หากทว่า เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ก็ได้รื้อฟื้นระบบราชการส่วนกลางที่เข้มแข็งของอาณาจักรอยุธยาขึ้นมาอีกครั้ง โดยปรับให้เหมาะสมกับกาลสมัยยิ่งขึ้น
การเติบโตทางการค้ากับต่างประเทศตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยมีพ่อค้าและนักแสวงโชคจากทั้งโปรตุเกส ฮอลันดา และญี่ปุ่นได้เดินทางเข้ามาสร้างธุรกิจการค้า ทั้งหมดนี้ได้ส่งผลให้รัฐบาลที่ส่วนกลางทั้งพระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง ล้วนแต่มั่งคั่งขึ้นมาโดยถ้วนหน้า เมื่อมาถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ การค้าขายก็ได้ขยายตัวกว้างขวางออกไป โดยเฉพาะเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชได้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมและแรงจูงใจให้ชาวจีนอพยพเข้ามาทำมาหากินมากขึ้นกว่าในสมัยปลายอยุธยา
ระบบราชการที่ได้พัฒนาเติบโตขึ้นมาตลอดช่วงเวลา 417 ปีของอาณาจักรอยุธยา ได้ส่งผลให้รัฐบาลสมัยรัตนโกสินทร์สามารถรวบรวมทรัพยากรเพื่อใช้ในการค้าขายสั่งสมความมั่งคั่งได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ภัยคุกคามจากการแยกตัวของเจ้าเมืองทั้งหลายก็มีน้อยลง ซึ่งเท่ากับเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ในที่สุด
ลัทธิล่าอาณานิคมของตะวันตก ได้ถูกกล่าวหามาโดยตลอดว่าเป็นตัวการที่ทำให้ไทยสูญเสียดินแดน หากทว่า สิ่งที่ลืมนึกกันไปก็คือ หากไม่มีประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส ไทยก็อาจต้องโดนคุกคามจากพม่าและเวียดนาม ที่มีแนวโน้มว่าจะร่วมมือกันมารุกรานไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ สนธิสัญญาเบอร์นี ได้ทำให้ไทยเริ่มปรับตัวในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยการพัฒนาช่องทางการเก็บภาษีแบบใหม่ แทนที่จะใช้วิธีการผูกขาดทางการค้าแบบเดิม ยิ่งเมื่อมีการทำสนธิสัญญาบาวริ่ง ก็ยิ่งทำให้ไทยต้องเร่งปรับตัวขนานใหญ่ มีการขุดคลองและพัฒนาที่ดินเพื่อใช้ในการปลูกข้าว
รัชกาลที่ 5 ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาในรัชกาลก่อน จึงเป็นเหตุให้การพัฒนาประเทศสามารถก้าวกระโดดไกลได้ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม
ระบบการรถไฟและกองทัพสมัยใหม่ ได้ทำให้รัชกาลที่ 5 มีความมั่นใจในการประกาศปฏิรูปการปกครองในปี 2535 อย่างไรก็ตาม แม้จะได้พยายามกระทำการอย่างละมุนละม่อม แต่ก็ยังเกิดกบฎของหัวเมืองขึ้นมากมาย หากทว่า รัฐบาลกลางก็สามารถปราบปรามได้โดยง่ายดาย จึงทำให้ภารกิจการรวมชาติที่ได้เริ่มต้นไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยาสามารถกระทำสำเร็จลงได้ในรัชกาลนี้
การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ส่วนหนึ่งก็มาจากกลไกการปกครองแบบใหม่ที่รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสถาปนาไว้ หากทว่าการยึดอำนาจโดยระบบราชการก็ยังไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ประการใด หากเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว และเป็นต้นทุนที่ต้องจ่ายสำหรับผู้ปกครองทั้งหลายที่ต้องการสร้างชาติบ้านเมืองให้เจริญรุดหน้า
สิ่งที่ต่างออกไปก็คือ เหตุการณ์ในปี 2475 ได้เป็นจุดเริ่มต้นให้สามัญชนที่เริ่มหลุดพ้นจากความเป็นไพร่และทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีโอกาสในการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
เราย่อมเห็นความคล้ายคลึงในการพัฒนาชาติไทยที่มีจุดร่วมกับประเทศทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบราชการและระบบรัฐสภา หากทว่าสิ่งที่ต่างออกไปก็ยังมีอยู่มากมายนัก
เริ่มจากว่า ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในบริเวณที่มีผืนแผ่นดินขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน จึงไม่สามารถเป็นต้นกำเนิดอารยธรรมเหมือนดั่งประเทศจีน อินเดีย หรือแม้กระทั่งยุโรปและอเมริกา
ประเทศไทยทำได้เพียงการพัฒนาตัวเองให้ดีจากภายใน และหยิบยืมนวัตกรรมจากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่การสร้างระบบราชการในสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งได้หยิบยืมต่อยอดรูปแบบส่วนหนึ่งมาจากอินเดีย การพัฒนาเมืองท่าค้าขายในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่เกิดจากการเข้ามาแสวงหาอาณานิคมและผลประโยชน์ของชาติตะวันตก ซึ่งจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญที่ไทยจะเก็บเกี่ยวความเจริญก้าวหน้าและความมั่งคั่งจากชาวต่างชาติ
การปฏิสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศทั้งที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันและภูมิภาคที่ไกลโพ้น ก็ไม่ได้มีแต่ด้านดีเสมอไป หากยังเต็มไปด้วยการต่อสู้ช่วงชิงหรือแม้กระทั่งสงคราม ซึ่งไทยก็สามารถกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเอาตัวรอดได้ดีเสมอมา
ตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราช ที่หยิบยืมมือของประเทศฝรั่งเศสมาถ่วงดุลอิทธิพลกับฮอลันดาและอังกฤษ แม้ว่าจะนำไปสู่การยึดอำนาจของพระเพทราชาในเวลาต่อมา หากประเทศไทยก็อยู่รอดปลอดภัยมาจนกระทั่งการเสียกรุงครั้งที่ 2
ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ก็มีการหยิบยืมกำลังจากชาวต่างชาติในการแสวงหาอาวุธและข้าวปลาอาหาร เพื่อเอาตัวรอดจากภาวะข้าวยากหมากแพงภายหลังสงครามได้สำเร็จ แม้ว่าต้องแลกกับทรัพยากรธรรมชาติบนผืนแผ่นดินไทย โดยเฉพาะแร่ดีบุกจากทางภาคใต้ แต่ก็นับเป็นวิธีการเอาตัวรอดที่คุ้มค่ายิ่ง
รัชกาลที่ 4 ก็ทรงปรีชาสามารถในการโอนอ่อนผ่อนตามให้กับอังกฤษ แล้วจึงแปรความเสียเปรียบให้กลายเป็นการเร่งพัฒนาประเทศไทยให้สามารถรับมือกับระบบทุนนิยม ที่บีบบังคับให้รัฐบาลไม่สามารถใช้ยุทธศาสตร์ผูกขาดการค้าแบบเดิมได้อีกต่อไป
ในยุคใกล้นี้ ไทยก็ยังแสวงหาประโยชน์จากการเข้ามาของต่างชาติได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการย้ายฐานการผลิตของญี่ปุ่น ที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตขึ้นอีกระดับหนึ่ง แม้ว่าจะถูกโจมตีว่าไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตัวเองก็ตาม
หากทว่า สิ่งที่ไทยได้รับโดยทางอ้อมก็มีคุณค่าไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการเข้ามาตั้งโรงงานของคนญี่ปุ่น ก็ย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายด้านอาหารและค่าที่พัก ยังไม่นับการท่องเที่ยวและช้อปปิ้ง ที่สำคัญ ยังอาจดึงดูดชาวญี่ปุ่นที่เหลือให้เข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มเติมมากขึ้นกว่าเดิมได้
ยุทธศาสตร์การเป็นเมืองท่าของประเทศไทย จากอดีตสู่ปัจจุบันก็ยังใช้ได้ดีไม่เปลี่ยนแปลง หากทว่าก็ยังมีการปรับปรุงรูปแบบให้ซับซ้อนยิ่งขึ้นตามบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
อัตลักษณ์ของคนไทย
ประเทศไทยในอดีตมีลักษณะที่แตกต่างจากในปัจจุบัน นั่นคือ จำนวนประชากรที่เบาบางเมื่อเทียบกับที่ดินทำกิน จึงทำให้ผู้ปกครองในอดีตต้องคิดค้นวิธีการในการควบคุมกำลังแรงงานไม่ให้หลบหนีเข้าป่าหรือไปเป็นพลเมืองของประเทศอื่น นี่จึงเป็นต้นกำเนิดของระบบไพร่
หากทว่า ชัยภูมิของอยุธยาที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้ชนะในการรวมชาติ ก็ยังมีลักษณะพิเศษสำคัญ นั่นคือ การเป็นเมืองท่าค้าขาย จึงทำให้ศูนย์กลางการปกครองแห่งนี้ มีความยืดหยุ่นในการระดมทรัพยากรจากดินแดนทั้งหลาย โดยไม่ต้องใช้เพียงการเกณฑ์แรงงานผ่านระบบไพร่เพียงอย่างเดียว หากยังเปิดช่องให้มีการส่งส่วยและสินค้าหายากเข้ามาทดแทนได้
การสร้างชาติไทย จึงมีลักษณะประนีประนอมกันมากกว่า เพราะมีระบบที่หลากหลายให้ผู้คนในสังคมได้เลือกสรร ในระยะแรกระบบราชการเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด หากทว่าในเวลาต่อมา อาชีพค้าขายและทำนาเพื่อส่งออกก็เป็นทางเลือกที่ดีไม่แพ้กัน หากคนผู้นั้นมียุทธศาสตร์ในการดำเนินชีวิตที่เฉลียวฉลาด
ในเมื่อที่ดินและทรัพยากรก็มีมากมาย ชนชั้นปกครองไทยจึงไม่มีความรู้สึกรังเกียจหรือกีดกันคนต่างชาติ ยิ่งกว่านั้น ยังกลับพัฒนายุทธศาสตร์ที่ชาญฉลาดในการดึงดูดคนต่างชาติให้มาร่วมพัฒนาความมั่งคั่งให้ผืนแผ่นดินไทย
หลายครั้งอาจมีการกระทบกระทั่งระหว่างคนไทยและคนต่างชาติบ้าง หากทว่าความหลากหลายยืดหยุ่นในการวางยุทธศาสตร์ของชนชั้นปกครองไทย จึงทำให้สามารถหลอมกลืนคนต่างชาติที่อยู่อาศัยมาเป็นเวลานานให้กลายเป็นคนไทยและรักเมืองไทยได้สำเร็จ ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มพูนความเข้มแข็งให้กับการพัฒนาประเทศให้เติบโตยิ่งใหญ่ต่อไป
นี่คือ ภูมิปัญญาในการบริหารจัดการคนที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งสืบทอดกันมาจนกระทั่งตกผลึกเป็นวัฒนธรรมไทยซึ่งสามารถสนิทสนมกับคนแปลกหน้าได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งพัฒนาเป็นความสัมพันธ์ในการหาประโยชน์ร่วมกันได้ โดยแทบไม่มีข้อจำกัดด้านเชื้อชาติภูมิหลัง
อัตลักษณ์ของคนไทย จึงอาจไม่ได้เป็นผู้ทรงภูมิปัญญาทางปรัชญาและวิศวกรรมอย่างคนเยอรมัน ไม่ได้ฉลาดในการคิดค้นนวัตกรรมแบบคนอเมริกา และไม่ได้มีระเบียบวินัยยอดเยี่ยมเฉกเช่นคนญี่ปุ่น หากทว่า สิ่งที่เป็นคุณค่าแท้จริงของคนไทยก็คือ ความยืดหยุ่นและประนีประนอมในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ทำให้สามารถแสวงหาประโยชน์ร่วมกันได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปมาได้ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่งโดยเฉพาะในศตวรรษที่ 21 ที่เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนยิ่งกว่ายุคสมัยใด
บางคนอาจรู้สึกว่านี่เป็นข้อเสียที่ทำให้เมืองไทยไม่พัฒนาก้าวหน้า หากทว่าสิ่งที่ลืมคิดไปก็คือ อัตลักษณ์ของทุกชาติก็ล้วนแต่มีทั้งข้อดีและข้อเสียทั้งสิ้น หากเราจะพัฒนาคนไทยให้เป็นเหมือนชาติอื่นที่เราฝันไว้ นอกจากจะเป็นไปได้ยากเพราะขัดแย้งกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานฝังลึกแล้ว หากแม้ว่าทำได้จริง ก็จะต้องมีข้อเสียอย่างอื่นขึ้นมาให้แก้ไขไม่สิ้นสุด
อย่าลืมว่า คุณภาพและมาตรฐานแบบเยอรมัน ก็ยังเคยนำไปสู่ระบบเผด็จการแบบฮิตเลอร์มาแล้ว
ทางออกที่ดีกว่า คือ การพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ไทย แล้วเมื่อด้านดีที่แข็งแกร่งได้พัฒนาอย่างเต็มที่แล้ว ด้านที่ไม่ดีก็จะน้อยลงไปเอง เปรียบเสมือนร่างกายของคนที่แข็งแรง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโรคภัยเบียดเบียน เพียงแต่ว่าเมื่อเจ็บป่วยแล้วก็สามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าคนทั่วไป
ในยุคสมัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่ความมั่งคั่งไม่จำเป็นต้องพัฒนามาจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น ประเทศไทยก็มีแนวโน้มที่จะใช้อัตลักษณ์ความเป็นไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
ระบบราชการไทยที่พัฒนาขึ้นมาพร้อมกับการเป็นเมืองท่าค้าขาย จึงทำให้คนไทยมีความยืดหยุ่นสูงในการระดมทรัพยากรเพื่อใช้พัฒนาประเทศ แสวงหาประโยชน์และแข่งขันกับคนต่างชาติ
การเจริญเติบโตของห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน หากเป็นผลมาจากอัตลักษณ์ไทย ที่มีความยืดหยุ่นและผ่อนปรน ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมีความสนุกสบายในการจับจ่ายใช้สอยในเมืองไทย แม้ว่าอาจจะไม่ได้มีชายหาดที่สวยที่สุดในโลก ไม่ได้มีผลงานศิลปะและโบราณวัตถุที่ยิ่งใหญ่ในจักรวาล
ประเทศไทยยังสามารถพัฒนามูลค่าทางเศรษฐกิจได้อีกมากมาย โดยอาศัยอัตลักษณ์และความถนัดเฉพาะของคนไทย โดยเฉพาะการวางยุทธศาสตร์ประเทศให้เป็น “สถานที่ (Where)” ซึ่งผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาใช้ชีวิต ทำงาน ช้อปปิ้ง และพักผ่อน ได้อย่างรื่นรมย์ใจ
ยุคสมัยที่ How เป็นใหญ่ในการคิดค้นเทคโนโลยีได้จบสิ้นไปแล้ว ยุคสมัยที่ What เป็นใหญ่ในการคิดค้นนวัตกรรมได้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว หากทว่ายุคสมัยที่ Where เป็นใหญ่ในการค้นหาสถานที่สำหรับการอยู่อาศัยกำลังเริ่มต้นขึ้น
“หาบเร่และแผงลอย” บางคนอาจมองว่าผิดกฎหมาย แต่หากไม่ยึดถือจริงจังเกินไป ก็จะพบว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของสินค้าและบริการแบบไทย ซึ่งนอกจากทำให้ราคาสินค้าและอาหารไทยมีราคาถูกได้อย่างยาวนานแล้ว ยังเป็นทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศอีกด้วย
ประเทศที่มีกฎหมายเคร่งครัดเกินไป ก็ย่อมทำให้ชีวิตผู้คนเต็มไปด้วยความน่าเบื่อ ที่สำคัญยังมีต้นทุนในชีวิตที่แพงเป็นพิเศษอีกด้วย ในขณะเดียวกัน ประเทศที่ไร้ระเบียบขื่อแป ก็ย่อมนำไปสู่สภาพอนารยะที่ผู้คนฉกชิงวิ่งราวไร้ความปลอดภัย ซึ่งก็ทำให้ต้นทุนในการใช้ชีวิตสูงแพงไม่แพ้กัน
โชคดีที่ประเทศไทยไม่ได้อยู่ใน 2 ประเภทนี้ หากทว่าเป็นดินแดนที่มีกฎหมายบังคับใช้ให้คนอยู่ร่วมกันได้ แต่กระนั้นก็มีความยืดหยุ่นให้มากพอที่จะใช้ชีวิตกันอย่างมีสีสัน ซึ่งแม้จะกลายเป็นช่องว่างให้บางคนแสวงหาประโยชน์ได้ แต่คุณค่าจากการมีที่ว่างให้คนได้เลือกสรรก็มีมากมายเพียงพอที่จะชดเชยกันไปได้
ในยุคที่สินค้าและบริการมีคุณภาพหลากหลายล้นทะลักโลก ประเทศไทยจึงสามารถสร้างอัตลักษณ์และความได้เปรียบในการเป็นเมืองท่าค้าขายสินค้าได้ โดยผู้บริโภคอาจไม่ได้มีความนิยมสินค้าที่วางขายในประเทศไทยเป็นพิเศษ หากทว่าเมื่อเลือกที่จะมาท่องเที่ยวและใช้ชีวิตในเมืองไทยแล้ว ก็ย่อมถูกบังคับให้เลือกซื้อสินค้าไปโดยปริยาย ที่สำคัญ ประเทศไทยยังฉลาดในการคัดสรรสินค้าที่หลากหลายจากทั่วทุกมุมโลกให้มารวมอยู่ในที่เดียวกัน โดยมีการจำแนกประเภทให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าที่แตกต่าง ซึ่งก็จะเลือกไปเดินในสถานที่แตกต่างอีกด้วย นี่คือ หน้าที่ในการจับคู่ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารล้นทะลัก แต่เราก็กลับยุ่งยากในการพบเจอสิ่งที่ต้องการท่ามกลางสิ่งที่ไม่ต้องการซึ่งมีมากล้นกว่า
ประเทศไทยไม่เคยยิ่งใหญ่ และก็อาจไม่มีวันก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ได้เลย หากทว่า คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมีความสุขรื่นรมย์ในชีวิตได้ในทุกฤดูกาล นั่นเพราะเราสามารถพัฒนาประเทศให้เป็นสถานที่น่าอยู่อาศัยและเต็มไปด้วยชีวิตชีวาได้เสมอมา ไม่ใช่ด้วยการปิดกั้นตัวเองให้ล้าหลัง หากทว่าเปิดใจปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามาอย่างเป็นตัวของตัวเอง (Originality)
http://www.siamintelligence.com/
หากถือตามประเทศมหาอำนาจเป็นแม่แบบ ก็จะพบปัญหาเดียวกันว่า อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซีย และจีน แม้ว่าบางประเทศจะดูเหมือนมีความคล้ายคลึงกัน แต่เมื่อลงลึกในรายละเอียดแล้วต่างก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว
ความสำเร็จในการพัฒนาของแต่ละชาติ ส่วนหนึ่งย่อมเกิดจากการลอกเลียนและหยิบยืมกัน หากทว่าส่วนสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่า คือ การนำแนวคิดจากภายนอกมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของตนที่ผ่านการสั่งสมมายาวนาน
การค้นหาลักษณะเฉพาะของประเทศ จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่บรรพบุรุษของชาติได้ร่วมกันสร้างขึ้น
ประเทศไทยที่เราคุ้นเคยและอาศัยหายใจอยู่ในปัจจุบัน ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่สืบรากมาจากอดีตกาลที่ไกลโพ้น โดยอาจต้องนับย้อนไปถึงสมัยอาณาจักรอยุธยา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างชาติและรวมเขตแดนทั้งหลายให้เป็นปึกแผ่น
ความได้เปรียบด้านชัยภูมิของอยุธยา ไม่ใช่เพียงเป็นแหล่งเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น หากยังมีสิ่งที่สำคัญกว่า นั่นคือ ทางออกทะเล ซึ่งทำให้สามารถติดต่อค้าขายกับอาณาจักรเพื่อนบ้านและชาวต่างชาติได้สะดวก จึงเป็นเหตุให้อยุธยาสั่งสมความมั่งคั่งและวิทยาการได้ดีกว่าหัวเมืองเหนือ ไม่ว่าจะเป็นสุโขทัย พิษณูโลก หรือเชียงใหม่
ยิ่งอยุธยาสามารถครอบครองและเรียกบรรณาการจากหัวเมืองเหนือได้มากเท่าไร อยุธยาก็จะยิ่งมีสินค้าไปขายให้กับพ่อค้าชาวต่างชาติได้หลากหลายมากขึ้นเท่านั้น จึงยิ่งทำให้อำนาจและความมั่งคั่งสามารถสั่งสมแปรเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาระบบการปกครองให้เข้มแข้งยิ่งขึ้น
“เมืองลูกหลวง” เป็นกลไกเริ่มต้นในการขยายขอบเขตอำนาจของอยุธยาให้กว้างไกลออกไป โดยอาศัยสายสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ใกล้ชิดให้ไปปกครอง ซึ่งทำให้อาณาจักรอยุธยาสามารถขยายอิทธิพลออกไปครอบงำหัวเมืองที่อยู่ทางเหนือได้ดียิ่งขึ้น
ระบบนี้แม้ว่าจะมีจุดอ่อนที่ทำให้เชื้อพระวงศ์ซึ่งครอบครองเมืองลูกหลวงสามารถยกทัพเข้ามาแย่งชิงอำนาจในราชสำนักที่อยุธยาได้ แต่ก็เป็นเพียงการเปลี่ยนตัวกษัตริย์องค์ใหม่เท่านั้น ไม่ได้กระทบกับระบบการปกครองที่สถาปนาไว้มากมายนัก ที่สำคัญยังถือเป็นการคัดเลือกผู้เข้มแข็งกว่าให้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไปด้วย
หลังจากพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาในปี 1893 อาณาจักรแห่งนี้ก็ได้ขยายอำนาจตัวเองออกไปครอบครองดินแดนทางเหนือทีละเล็กทีละน้อย โดยการเปลี่ยนแปลงสถานะจากเมืองประเทศราชให้กลายเป็นเมืองลูกหลวงได้สำเร็จ
100 ปีต่อมา ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ระบบราชการก็ยิ่งได้รับการสถาปนาให้เข้มแข็งขึ้น โดยเฉพาะการจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งทำให้ระบบเมืองลูกหลวงที่เคยเป็นประโยชน์ในช่วงเวลาหนึ่ง เริ่มลดบทบาทความสำคัญลง ขอบเขตของรัฐบาลที่กรุงศรีอยุธยาได้ขยายออกไปกว้างขวางกว่าบริเวณรอบแม่น้ำเจ้าพระยา
จนกระทั่ง สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (2077-2089) หัวเมืองทางเหนือก็ถูกควบคุมได้จากระบบราชการส่วนกลาง โดยอาศัยขุนนางทองถิ่นซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์เก่าของดินแดนประเทศราชเหล่านี้ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลไกบริหาร
ระบบราชการที่สั่งสมขึ้นมาทีละน้อยนี้ แม้ว่าจะทำให้อาณาจักรอยุธยาสามารถขยายเขตแดนอิทธิพลได้เข้มแข็งกว้างไกลยิ่งขึ้น หากทว่าก็กลับทำให้เกิดกลุ่มอำนาจใหม่ที่จะสั่นคลอนกลไกการปกครองในเวลาต่อมา
เหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่ 1 ส่วนหนึ่งก็มาจากความขัดแย้งของระบบราชการและกษัตริย์ แต่กระนั้นอยุธยาก็สามารถฟื้นตัวจากภาวะสงครามได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งย่อมเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าระบบราชการที่สร้างขึ้นนี้มีความเข้มแข็งกว่าระบบเมืองลูกหลวงและสายสัมพันธ์ในเชิงสายเลือด
นับจากนี้ เราจะไม่พบเหตุการณ์ที่เจ้าเมืองยกกำลังเข้ามาช่วงชิงอำนาจได้อีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะเกิดขึ้นภายในระบบราชการมากกว่า แม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะมีกษัตริย์ที่เข้มแข็งอย่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หากทว่าก็เพียงสามารถสะกดข่มขุนนางได้ชั่วคราวเท่านั้น สุดท้าย ระบบราชการก็จะเติบโตขึ้นมาเป็นขุมกำลังสำคัญในการบริหารบ้านเมืองและช่วงชิงอำนาจวาสนา
หลังจากเสียกรุงครั้งที่ 2 และการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ดูเหมือนว่าระบบกระจายอำนาจโดยให้ขุนนางที่ไว้วางใจแยกตัวไปปกครองหัวเมืองจะกลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง หากทว่า เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ก็ได้รื้อฟื้นระบบราชการส่วนกลางที่เข้มแข็งของอาณาจักรอยุธยาขึ้นมาอีกครั้ง โดยปรับให้เหมาะสมกับกาลสมัยยิ่งขึ้น
การเติบโตทางการค้ากับต่างประเทศตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยมีพ่อค้าและนักแสวงโชคจากทั้งโปรตุเกส ฮอลันดา และญี่ปุ่นได้เดินทางเข้ามาสร้างธุรกิจการค้า ทั้งหมดนี้ได้ส่งผลให้รัฐบาลที่ส่วนกลางทั้งพระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง ล้วนแต่มั่งคั่งขึ้นมาโดยถ้วนหน้า เมื่อมาถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ การค้าขายก็ได้ขยายตัวกว้างขวางออกไป โดยเฉพาะเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชได้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมและแรงจูงใจให้ชาวจีนอพยพเข้ามาทำมาหากินมากขึ้นกว่าในสมัยปลายอยุธยา
ระบบราชการที่ได้พัฒนาเติบโตขึ้นมาตลอดช่วงเวลา 417 ปีของอาณาจักรอยุธยา ได้ส่งผลให้รัฐบาลสมัยรัตนโกสินทร์สามารถรวบรวมทรัพยากรเพื่อใช้ในการค้าขายสั่งสมความมั่งคั่งได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ภัยคุกคามจากการแยกตัวของเจ้าเมืองทั้งหลายก็มีน้อยลง ซึ่งเท่ากับเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ในที่สุด
ลัทธิล่าอาณานิคมของตะวันตก ได้ถูกกล่าวหามาโดยตลอดว่าเป็นตัวการที่ทำให้ไทยสูญเสียดินแดน หากทว่า สิ่งที่ลืมนึกกันไปก็คือ หากไม่มีประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส ไทยก็อาจต้องโดนคุกคามจากพม่าและเวียดนาม ที่มีแนวโน้มว่าจะร่วมมือกันมารุกรานไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ สนธิสัญญาเบอร์นี ได้ทำให้ไทยเริ่มปรับตัวในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยการพัฒนาช่องทางการเก็บภาษีแบบใหม่ แทนที่จะใช้วิธีการผูกขาดทางการค้าแบบเดิม ยิ่งเมื่อมีการทำสนธิสัญญาบาวริ่ง ก็ยิ่งทำให้ไทยต้องเร่งปรับตัวขนานใหญ่ มีการขุดคลองและพัฒนาที่ดินเพื่อใช้ในการปลูกข้าว
รัชกาลที่ 5 ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาในรัชกาลก่อน จึงเป็นเหตุให้การพัฒนาประเทศสามารถก้าวกระโดดไกลได้ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม
ระบบการรถไฟและกองทัพสมัยใหม่ ได้ทำให้รัชกาลที่ 5 มีความมั่นใจในการประกาศปฏิรูปการปกครองในปี 2535 อย่างไรก็ตาม แม้จะได้พยายามกระทำการอย่างละมุนละม่อม แต่ก็ยังเกิดกบฎของหัวเมืองขึ้นมากมาย หากทว่า รัฐบาลกลางก็สามารถปราบปรามได้โดยง่ายดาย จึงทำให้ภารกิจการรวมชาติที่ได้เริ่มต้นไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยาสามารถกระทำสำเร็จลงได้ในรัชกาลนี้
การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ส่วนหนึ่งก็มาจากกลไกการปกครองแบบใหม่ที่รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสถาปนาไว้ หากทว่าการยึดอำนาจโดยระบบราชการก็ยังไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ประการใด หากเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว และเป็นต้นทุนที่ต้องจ่ายสำหรับผู้ปกครองทั้งหลายที่ต้องการสร้างชาติบ้านเมืองให้เจริญรุดหน้า
สิ่งที่ต่างออกไปก็คือ เหตุการณ์ในปี 2475 ได้เป็นจุดเริ่มต้นให้สามัญชนที่เริ่มหลุดพ้นจากความเป็นไพร่และทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีโอกาสในการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
เราย่อมเห็นความคล้ายคลึงในการพัฒนาชาติไทยที่มีจุดร่วมกับประเทศทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบราชการและระบบรัฐสภา หากทว่าสิ่งที่ต่างออกไปก็ยังมีอยู่มากมายนัก
เริ่มจากว่า ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในบริเวณที่มีผืนแผ่นดินขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน จึงไม่สามารถเป็นต้นกำเนิดอารยธรรมเหมือนดั่งประเทศจีน อินเดีย หรือแม้กระทั่งยุโรปและอเมริกา
ประเทศไทยทำได้เพียงการพัฒนาตัวเองให้ดีจากภายใน และหยิบยืมนวัตกรรมจากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่การสร้างระบบราชการในสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งได้หยิบยืมต่อยอดรูปแบบส่วนหนึ่งมาจากอินเดีย การพัฒนาเมืองท่าค้าขายในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่เกิดจากการเข้ามาแสวงหาอาณานิคมและผลประโยชน์ของชาติตะวันตก ซึ่งจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญที่ไทยจะเก็บเกี่ยวความเจริญก้าวหน้าและความมั่งคั่งจากชาวต่างชาติ
การปฏิสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศทั้งที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันและภูมิภาคที่ไกลโพ้น ก็ไม่ได้มีแต่ด้านดีเสมอไป หากยังเต็มไปด้วยการต่อสู้ช่วงชิงหรือแม้กระทั่งสงคราม ซึ่งไทยก็สามารถกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเอาตัวรอดได้ดีเสมอมา
ตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราช ที่หยิบยืมมือของประเทศฝรั่งเศสมาถ่วงดุลอิทธิพลกับฮอลันดาและอังกฤษ แม้ว่าจะนำไปสู่การยึดอำนาจของพระเพทราชาในเวลาต่อมา หากประเทศไทยก็อยู่รอดปลอดภัยมาจนกระทั่งการเสียกรุงครั้งที่ 2
ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ก็มีการหยิบยืมกำลังจากชาวต่างชาติในการแสวงหาอาวุธและข้าวปลาอาหาร เพื่อเอาตัวรอดจากภาวะข้าวยากหมากแพงภายหลังสงครามได้สำเร็จ แม้ว่าต้องแลกกับทรัพยากรธรรมชาติบนผืนแผ่นดินไทย โดยเฉพาะแร่ดีบุกจากทางภาคใต้ แต่ก็นับเป็นวิธีการเอาตัวรอดที่คุ้มค่ายิ่ง
รัชกาลที่ 4 ก็ทรงปรีชาสามารถในการโอนอ่อนผ่อนตามให้กับอังกฤษ แล้วจึงแปรความเสียเปรียบให้กลายเป็นการเร่งพัฒนาประเทศไทยให้สามารถรับมือกับระบบทุนนิยม ที่บีบบังคับให้รัฐบาลไม่สามารถใช้ยุทธศาสตร์ผูกขาดการค้าแบบเดิมได้อีกต่อไป
ในยุคใกล้นี้ ไทยก็ยังแสวงหาประโยชน์จากการเข้ามาของต่างชาติได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการย้ายฐานการผลิตของญี่ปุ่น ที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตขึ้นอีกระดับหนึ่ง แม้ว่าจะถูกโจมตีว่าไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตัวเองก็ตาม
หากทว่า สิ่งที่ไทยได้รับโดยทางอ้อมก็มีคุณค่าไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการเข้ามาตั้งโรงงานของคนญี่ปุ่น ก็ย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายด้านอาหารและค่าที่พัก ยังไม่นับการท่องเที่ยวและช้อปปิ้ง ที่สำคัญ ยังอาจดึงดูดชาวญี่ปุ่นที่เหลือให้เข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มเติมมากขึ้นกว่าเดิมได้
ยุทธศาสตร์การเป็นเมืองท่าของประเทศไทย จากอดีตสู่ปัจจุบันก็ยังใช้ได้ดีไม่เปลี่ยนแปลง หากทว่าก็ยังมีการปรับปรุงรูปแบบให้ซับซ้อนยิ่งขึ้นตามบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
อัตลักษณ์ของคนไทย
ประเทศไทยในอดีตมีลักษณะที่แตกต่างจากในปัจจุบัน นั่นคือ จำนวนประชากรที่เบาบางเมื่อเทียบกับที่ดินทำกิน จึงทำให้ผู้ปกครองในอดีตต้องคิดค้นวิธีการในการควบคุมกำลังแรงงานไม่ให้หลบหนีเข้าป่าหรือไปเป็นพลเมืองของประเทศอื่น นี่จึงเป็นต้นกำเนิดของระบบไพร่
หากทว่า ชัยภูมิของอยุธยาที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้ชนะในการรวมชาติ ก็ยังมีลักษณะพิเศษสำคัญ นั่นคือ การเป็นเมืองท่าค้าขาย จึงทำให้ศูนย์กลางการปกครองแห่งนี้ มีความยืดหยุ่นในการระดมทรัพยากรจากดินแดนทั้งหลาย โดยไม่ต้องใช้เพียงการเกณฑ์แรงงานผ่านระบบไพร่เพียงอย่างเดียว หากยังเปิดช่องให้มีการส่งส่วยและสินค้าหายากเข้ามาทดแทนได้
การสร้างชาติไทย จึงมีลักษณะประนีประนอมกันมากกว่า เพราะมีระบบที่หลากหลายให้ผู้คนในสังคมได้เลือกสรร ในระยะแรกระบบราชการเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด หากทว่าในเวลาต่อมา อาชีพค้าขายและทำนาเพื่อส่งออกก็เป็นทางเลือกที่ดีไม่แพ้กัน หากคนผู้นั้นมียุทธศาสตร์ในการดำเนินชีวิตที่เฉลียวฉลาด
ในเมื่อที่ดินและทรัพยากรก็มีมากมาย ชนชั้นปกครองไทยจึงไม่มีความรู้สึกรังเกียจหรือกีดกันคนต่างชาติ ยิ่งกว่านั้น ยังกลับพัฒนายุทธศาสตร์ที่ชาญฉลาดในการดึงดูดคนต่างชาติให้มาร่วมพัฒนาความมั่งคั่งให้ผืนแผ่นดินไทย
หลายครั้งอาจมีการกระทบกระทั่งระหว่างคนไทยและคนต่างชาติบ้าง หากทว่าความหลากหลายยืดหยุ่นในการวางยุทธศาสตร์ของชนชั้นปกครองไทย จึงทำให้สามารถหลอมกลืนคนต่างชาติที่อยู่อาศัยมาเป็นเวลานานให้กลายเป็นคนไทยและรักเมืองไทยได้สำเร็จ ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มพูนความเข้มแข็งให้กับการพัฒนาประเทศให้เติบโตยิ่งใหญ่ต่อไป
นี่คือ ภูมิปัญญาในการบริหารจัดการคนที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งสืบทอดกันมาจนกระทั่งตกผลึกเป็นวัฒนธรรมไทยซึ่งสามารถสนิทสนมกับคนแปลกหน้าได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งพัฒนาเป็นความสัมพันธ์ในการหาประโยชน์ร่วมกันได้ โดยแทบไม่มีข้อจำกัดด้านเชื้อชาติภูมิหลัง
อัตลักษณ์ของคนไทย จึงอาจไม่ได้เป็นผู้ทรงภูมิปัญญาทางปรัชญาและวิศวกรรมอย่างคนเยอรมัน ไม่ได้ฉลาดในการคิดค้นนวัตกรรมแบบคนอเมริกา และไม่ได้มีระเบียบวินัยยอดเยี่ยมเฉกเช่นคนญี่ปุ่น หากทว่า สิ่งที่เป็นคุณค่าแท้จริงของคนไทยก็คือ ความยืดหยุ่นและประนีประนอมในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ทำให้สามารถแสวงหาประโยชน์ร่วมกันได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปมาได้ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่งโดยเฉพาะในศตวรรษที่ 21 ที่เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนยิ่งกว่ายุคสมัยใด
บางคนอาจรู้สึกว่านี่เป็นข้อเสียที่ทำให้เมืองไทยไม่พัฒนาก้าวหน้า หากทว่าสิ่งที่ลืมคิดไปก็คือ อัตลักษณ์ของทุกชาติก็ล้วนแต่มีทั้งข้อดีและข้อเสียทั้งสิ้น หากเราจะพัฒนาคนไทยให้เป็นเหมือนชาติอื่นที่เราฝันไว้ นอกจากจะเป็นไปได้ยากเพราะขัดแย้งกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานฝังลึกแล้ว หากแม้ว่าทำได้จริง ก็จะต้องมีข้อเสียอย่างอื่นขึ้นมาให้แก้ไขไม่สิ้นสุด
อย่าลืมว่า คุณภาพและมาตรฐานแบบเยอรมัน ก็ยังเคยนำไปสู่ระบบเผด็จการแบบฮิตเลอร์มาแล้ว
ทางออกที่ดีกว่า คือ การพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ไทย แล้วเมื่อด้านดีที่แข็งแกร่งได้พัฒนาอย่างเต็มที่แล้ว ด้านที่ไม่ดีก็จะน้อยลงไปเอง เปรียบเสมือนร่างกายของคนที่แข็งแรง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโรคภัยเบียดเบียน เพียงแต่ว่าเมื่อเจ็บป่วยแล้วก็สามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าคนทั่วไป
ในยุคสมัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่ความมั่งคั่งไม่จำเป็นต้องพัฒนามาจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น ประเทศไทยก็มีแนวโน้มที่จะใช้อัตลักษณ์ความเป็นไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
ระบบราชการไทยที่พัฒนาขึ้นมาพร้อมกับการเป็นเมืองท่าค้าขาย จึงทำให้คนไทยมีความยืดหยุ่นสูงในการระดมทรัพยากรเพื่อใช้พัฒนาประเทศ แสวงหาประโยชน์และแข่งขันกับคนต่างชาติ
การเจริญเติบโตของห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน หากเป็นผลมาจากอัตลักษณ์ไทย ที่มีความยืดหยุ่นและผ่อนปรน ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมีความสนุกสบายในการจับจ่ายใช้สอยในเมืองไทย แม้ว่าอาจจะไม่ได้มีชายหาดที่สวยที่สุดในโลก ไม่ได้มีผลงานศิลปะและโบราณวัตถุที่ยิ่งใหญ่ในจักรวาล
ประเทศไทยยังสามารถพัฒนามูลค่าทางเศรษฐกิจได้อีกมากมาย โดยอาศัยอัตลักษณ์และความถนัดเฉพาะของคนไทย โดยเฉพาะการวางยุทธศาสตร์ประเทศให้เป็น “สถานที่ (Where)” ซึ่งผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาใช้ชีวิต ทำงาน ช้อปปิ้ง และพักผ่อน ได้อย่างรื่นรมย์ใจ
ยุคสมัยที่ How เป็นใหญ่ในการคิดค้นเทคโนโลยีได้จบสิ้นไปแล้ว ยุคสมัยที่ What เป็นใหญ่ในการคิดค้นนวัตกรรมได้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว หากทว่ายุคสมัยที่ Where เป็นใหญ่ในการค้นหาสถานที่สำหรับการอยู่อาศัยกำลังเริ่มต้นขึ้น
“หาบเร่และแผงลอย” บางคนอาจมองว่าผิดกฎหมาย แต่หากไม่ยึดถือจริงจังเกินไป ก็จะพบว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของสินค้าและบริการแบบไทย ซึ่งนอกจากทำให้ราคาสินค้าและอาหารไทยมีราคาถูกได้อย่างยาวนานแล้ว ยังเป็นทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศอีกด้วย
ประเทศที่มีกฎหมายเคร่งครัดเกินไป ก็ย่อมทำให้ชีวิตผู้คนเต็มไปด้วยความน่าเบื่อ ที่สำคัญยังมีต้นทุนในชีวิตที่แพงเป็นพิเศษอีกด้วย ในขณะเดียวกัน ประเทศที่ไร้ระเบียบขื่อแป ก็ย่อมนำไปสู่สภาพอนารยะที่ผู้คนฉกชิงวิ่งราวไร้ความปลอดภัย ซึ่งก็ทำให้ต้นทุนในการใช้ชีวิตสูงแพงไม่แพ้กัน
โชคดีที่ประเทศไทยไม่ได้อยู่ใน 2 ประเภทนี้ หากทว่าเป็นดินแดนที่มีกฎหมายบังคับใช้ให้คนอยู่ร่วมกันได้ แต่กระนั้นก็มีความยืดหยุ่นให้มากพอที่จะใช้ชีวิตกันอย่างมีสีสัน ซึ่งแม้จะกลายเป็นช่องว่างให้บางคนแสวงหาประโยชน์ได้ แต่คุณค่าจากการมีที่ว่างให้คนได้เลือกสรรก็มีมากมายเพียงพอที่จะชดเชยกันไปได้
ในยุคที่สินค้าและบริการมีคุณภาพหลากหลายล้นทะลักโลก ประเทศไทยจึงสามารถสร้างอัตลักษณ์และความได้เปรียบในการเป็นเมืองท่าค้าขายสินค้าได้ โดยผู้บริโภคอาจไม่ได้มีความนิยมสินค้าที่วางขายในประเทศไทยเป็นพิเศษ หากทว่าเมื่อเลือกที่จะมาท่องเที่ยวและใช้ชีวิตในเมืองไทยแล้ว ก็ย่อมถูกบังคับให้เลือกซื้อสินค้าไปโดยปริยาย ที่สำคัญ ประเทศไทยยังฉลาดในการคัดสรรสินค้าที่หลากหลายจากทั่วทุกมุมโลกให้มารวมอยู่ในที่เดียวกัน โดยมีการจำแนกประเภทให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าที่แตกต่าง ซึ่งก็จะเลือกไปเดินในสถานที่แตกต่างอีกด้วย นี่คือ หน้าที่ในการจับคู่ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารล้นทะลัก แต่เราก็กลับยุ่งยากในการพบเจอสิ่งที่ต้องการท่ามกลางสิ่งที่ไม่ต้องการซึ่งมีมากล้นกว่า
ประเทศไทยไม่เคยยิ่งใหญ่ และก็อาจไม่มีวันก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ได้เลย หากทว่า คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมีความสุขรื่นรมย์ในชีวิตได้ในทุกฤดูกาล นั่นเพราะเราสามารถพัฒนาประเทศให้เป็นสถานที่น่าอยู่อาศัยและเต็มไปด้วยชีวิตชีวาได้เสมอมา ไม่ใช่ด้วยการปิดกั้นตัวเองให้ล้าหลัง หากทว่าเปิดใจปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามาอย่างเป็นตัวของตัวเอง (Originality)
http://www.siamintelligence.com/
วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555
กางเอกสารปมหุ้นฟรี-ค่าตัว3หมื่น "เต้น"
'
กางเอกสารคำให้การ“ณัฐวุฒิ”ปมตั้ง บ.เคลียร์ท่อก๊าซ-นอมินี “ได้หุ้นฟรี-ค่าตัว 3 หมื่น” : สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org)
เปิดคำชี้แจง“ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ”ปมตั้ง บ.รับงานเคลียร์มวลชน ปตท. ยัน“เพื่อน”ชวนนั่งบริหาร ได้หุ้นฟรี ค่าตอบแทนจิ๊บๆ 3 หมื่นบาท ก่อนโอนต่อให้พี่ชายจัดการ พบข้อมูลใหม่ “ไทย คอนซัลแตนท์” ใช้ผู้สอบบัญชีร่วม2 บ.เครือข่าย ช่วงประมูลงาน
จากกรณีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ร่วมกับนายสนธยา ทิพย์อาภากุล ก่อตั้ง บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ แอนด์ พับบลิค รีเลชั่น จำกัด ต่อมาได้โอนหุ้นต่อให้นายเจตนันท์ ใสยเกื้อ พี่ชาย และปรากฎว่าบริษัทดังกล่าวเป็นคู่สัญญาโครงการเป็นที่ปรึกษามวลชนสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซ ของ ปตท.หลายโครงการซึ่งบางโครงการมีบริษัทที่เป็นเครือข่ายของบริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ แอนด์ พับบลิค รีเลชั่นเข้าร่วมประมูลด้วย
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำเอกสารคำชี้แจงของนายณัฐวุฒิต่อกรรมาธิการพลังงานซึ่งมีนายมนตรี ปาน้อยนนท์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 หลังจากถูก น.ส. มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นเรื่องร้องเรียนก่อนหน้านี้
นายณัฐวุฒิได้ชี้แจงใน 2 ประเด็นหลัก คือ
1.ความเกี่ยวข้องระหว่างนายณัฐวุฒิ กับ บริษัท ไทยคอนซัคแตนท์ฯ ทั้งในเรื่องความเป็นเจ้าของ และการโอนหุ้นให้พี่ชาย
2. การร่วมประมูลงานในโครงการจ้างที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ ของ บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ บริษัท แอคทีฟ คอนสตรัคชั่นฯ และบริษัท แม็ส มีเดียฯ
•เพื่อนให้หุ้นฟรี –ชวนนั่งบริหาร
นายณัฐวุฒิ ได้ชี้แจงว่า บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ จดทะเบียน จัดตั้งเมื่อปี 2544 โดยมีนายสนธยา ทิพย์อาภากุล เป็นกรรมการบริษัทเพียงคนเดียว ซึ่งนายสนทยา เคยประกอบธุรกิจเป็นที่ปรึกษามวลชนสัมพันธ์ ในโครงการท่อส่งก๊าซไทยมาเลเซียมาก่อน ในช่วงต้นปี 2544 นายสนธยา ซึ่งคบกันในฐานะเพื่อนได้ชักชวน ให้มาดำเนินธุรกิจร่วมกัน โดยให้มีตำแหน่งเป็นกรรมการ และมีอำนาจร่วมกัน พร้อมให้ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ ประมาณ 20,000 หุ้น จึงได้ดำเนินการบริหารธุรกิจร่วมกันมา ซึ่งในขณะนั้น ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติพัฒนา แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จนกระทั้งในเวลาต่อมา เริ่มเข้าสู่การเมืองมากขึ้น จึงได้แจ้งนายสนธยา ว่า จะลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท เพื่อมาทำงานการเมืองเต็มตัว ในตำแหน่งโฆษกรัฐบาล และหลังจากลาออก ในปี 2550 ก็ไม่เคยเข้าติดต่องานกับ ปตท.
“หลังจากที่ผมลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ แล้ว นายสนธยา ได้ชวนนายเจตนันท์ พี่ชายของผม และเพื่อนสมัยเรียนคนอื่น เข้าร่วมทำธุรกิจต่อไป และในช่วงที่ลาออกมาแล้ว ก็ไม่เคยเข้าไป บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ ร่วมถึงยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท แต่อย่างใด” นายณัฐวุฒิระบุ
•ได้ค่าตอบแทนแค่เดือนละ 3 หมื่น
นายณัฐวุฒิ ยังระบุด้วยว่า ในช่วงเวลาที่บริหารงานบริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน ค่าสวัสดิการ เป็นจำนวนแค่ 20,000-30,000 บาท เท่านั้น และก่อนหน้าที่จะลาออกได้ทำหนังสือยินยอมให้บริษัทดำเนินการเกี่ยวกับหุ้นที่ได้ถือครองอยู่ และไม่ทราบถึงการบริหารจัดการหุ้นของบริษัท ในส่วนที่ตนเคยถืออยู่แต่อย่างใด
นายณัฐวุฒิ ยังกล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีที่มีการร้องเรียนว่า บริษัท ทั้ง 3 ราย มีความสัมพันธ์กัน และเข้าร่วมประมูลงานโครงการจาก ปตท. พร้อมกัน เนื่องจากตนได้ลาออกจากการเป็นกรรมการ บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ แล้ว จึงไม่สามารถให้ข้อมูลแทนได้
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2555 นายมนตรี ปาน้อยนนท์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews) ถึงความคืบหน้าการสอบสวนเรื่องนี้ ว่า ภายหลังจากที่ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มาชี้แจงข้อมูล นับตั้งแต่รับเรื่องร้องเรียนจาก น.ส.มัลลิกา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 21มีนาคม 2555 นายณัฐวุฒิ ได้เดินทางเข้าชี้แจงข้อมูลกับ กมธ.พลังงานเรียบร้อยแล้ว
“คุณณัฐวุฒิ ชี้แจงว่า ออกไปจากบริษัทตั้งแต่ปี 2550 ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวอะไร ส่วนการเข้ามาบริหารงานบริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ ก็บอกว่า เพื่อนชวนมาทำ เพราะเห็นว่า คุณณัฐวุฒิ มีความสามารถพูดเก่ง เจรจาเก่ง เขาก็เลยเอาคุณณัฐวุฒิเข้ามา ในนามเพื่อนกัน ซึ่งเรียนมาจากนครศรีธรรมราชด้วยกัน เป็นกลุ่มบริษัทคนใต้ ให้นั่งทำงานเป็นผู้จัดการ พอออกไปก็โอนหุ้นให้พี่ชาย”
นายมนตรี กล่าวต่อไปว่า ในระหว่างการชี้แจง คณะกรรมาธิการ ได้ซักถามว่า แล้วหลักฐานการโอนหุ้นอยู่ที่ไหน นายณัฐวุฒิ ตอบว่า ไม่ค่อยรู้ไม่มั่นใจว่าอยู่ตรงไหน
“คุณณัฐวุฒิ หมายความว่า เขาก็มาทำงาน แต่ก็ไม่รู้รายละเอียด ถ้าเขารู้ว่ามันมีเรื่องที่จะมีปัญหาแบบนี้ เขาคงไม่รับตั้งแต่ต้น แต่มันไม่ได้แล้ว เพราะเขารับไปแล้ว ทุกอย่างทำไปแล้ว เป็นเอกสารอะไรแบบนี้ เรื่องการโอนหุ้นต้องตามดูตรงนี้ให้ได้”
•ปธ.กมธ.ยันรับโอนหุ้นต้องเสียภาษี
เมื่อถามว่า การรับโอนหุ้น มาต้องเสียภาษีหรือไม่ นายมนตรี ระบุว่า “คุณนายณัฐวุฒิ บอกว่าไม่เสีย เขาได้หุ้นมาก็ไม่ต้องเสียตังค์ ซึ่งเขาบอกว่า เขาไม่รู้เรื่องอะไรเลย ขอไปดูรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง อะไรแบบนั้น เพราะตอนที่มาชี้แจงข้อมูลกับคณะกรรมาธิการ ไม่ได้เอาเอกสารอะไรมาเลย มาแต่ตัว แต่เราก็ให้เจ้าหน้าที่กรรมาธิการบอกไปแล้ว ว่าขอให้ส่งกรรมการ”
เมื่อถามว่า การโอนหุ้นให้ นายเจตนันท์ พี่ชาย และนายมฆวัต กาญวัฒนะกิจ ต้องเสียภาษีหรือไม่ นายมนตรี กล่าวว่า “เรื่องนี้คุณณัฐวุฒิ แกบอกแกไม่รู้เหมือนกัน ซึ่งเรื่องนี้ คงต้องให้ คุณณัฐวุฒิ ไปชี้แจง ป.ป.ช.อีกที”
เมื่อถามย้ำว่า ยืนยันว่าโอนหุ้นต้องเสียภาษี นายมนตรี กล่าวว่า “ เรื่องโอนหุ้น มันต้องเสียภาษีนะ ไม่ใช่แบบหุ้นเทมาเส็ก นะที่จะโอนแล้วไม่เสียภาษีได้ (หัวเราะ)”
นายมนตรี กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องหุ้นของนายณัฐวุฒิ กมธ.พลังงาน ได้มีมติสรุปให้ส่งเรื่องนี้ ไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการสอบสวนต่อไป โดยจะแจ้งให้ น.ส.มัลลิกา เป็นผู้ดำเนินการยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช.เอง
•“เต้น”ยังไม่ส่งเอกสาร กมธ.
เมื่อถามว่า เหตุผลที่คณะกรรมาธิการพลังงาน ต้องส่งเรื่องนี้ให้ ป.ป.ช. สอบสวนต่อ คืออะไร นายมนตรี ระบุว่า “ต้องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการต่อ เพราะว่ามันมีเรื่องการโอนหุ้น อะไรพวกนี้อยู่ เรื่องการเซ็นใบโอนหุ้น ซึ่งยังไม่ได้รายละเอียดที่ชัดเจน และในการเข้าชี้แจงข้อมูลต่อกรรมาธิการฯ คุณณัฐวุฒิ ยังไม่ได้ นำมามอบให้ด้วย เบื้องต้นกรรมาธิการฯ ได้ร้องขอไป ทางคุณณัฐวุฒิ ก็รับปาก ว่าจะเอาเอกสารมาให้ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้นำมาส่งมอบให้”
“เรื่องหุ้นก็คงจะให้ ป.ป.ช. สอบต่อ เพราะเป็นมติที่ประชุมกรรมาธิการแล้ว โดยให้คุณมัลลิกา เป็นผู้ร้องไปยัง ป.ป.ช. ต่อไป ซึ่งคณะกรรมาธิการ ฝั่งพรรคเพื่อไทย หลายคน เห็นว่า ควรให้ตัดประเด็นนี้ออกไป พร้อมแสดงความเห็นว่า เรื่องการฮั้วประมูล ก็ไม่ถึงคุณณัฐวุฒิเช่นกัน เพราะเขาออกไปจากบริษัทก่อนแล้ว ซึ่งถ้าจะดูเรื่องนี้ต่อไป ให้ละเอียดก็ควรส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ไปเลย”
เมื่อถามว่า มองอย่างไร เกี่ยวกับประเด็นเรื่องการฮั้วประมูลของ 3 บริษัท นายมนตรี กล่าวว่า “ถ้าพูดกันข้างนอก มันก็น่าจะมีปัญหานี้ เพราะมันเหมือนกับการจัดสรรกันอยู่ และยังเรื่องที่อยู่ การถือหุ้นไขว้สลับกันไปกันมา แต่มันก็ต้องดูรายละเอียดให้มากกว่านี้ ก่อนจะไปตัดสินว่าเขาผิดอะไร และงานเคลียร์มวลชน มันก็ต้องใช้บริษัท ที่เก่งพอสมควร จะให้ใครไปเคลียร์ธรรมดาไม่ได้ ต้องมีทหาร มีตำรวจ อย่างประจวบคิรีขันธ์ หรือเชียงใหม่ ก็ต้องให้ระดับ ส.ส.ไปช่วยเคลียร์ มันยากไม่ล่ะ งานแบบนี้”
•ตั้งกก. ชุดเล็กลุยสอบปมฮั้วประมูล
นายมนตรี กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ประเด็น เรื่องการฮั้วประมูลของ 3 บริษัท คณะกรรมาธิการฯ จะมีการตั้งคณะทำงานชุดเล็ก เพื่อไล่ตามต่อ โดยมอบหมายให้ นางอานิก อัมระนันทน์ รองประธานกรรมาธิการ เป็นผู้รับผิดชอบ
เมื่อถามว่า ข้อมูลเรื่องการฮั้วประมูล ที่คณะกรรมาธิการตรวจสอบในช่วงที่ผ่านมา เป็นอย่างไรบ้าง นายมนตรี กล่าวว่า ในจำนวน 13 โครงการ ที่ ปตท. เปิดประมูล ส่วนใหญ่ ก็มีบริษัท 3 ราย นั้นแหละที่หมุนเวียนเปลี่ยนกันเข้ามารับงาน และก็มีรายเดียวที่ได้รับงานไปคือ บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ พอได้ตัวผู้ชนะมา ก็มีการต่อรองราคากัน”
เมื่อถามว่า เท่าที่พิจารณาข้อมูลที่ได้รับมา มองประเด็นเรื่องการฮั้วประมูลอย่างไรบ้าง นายมนตรี กล่าวว่า “เขา (ปตท.) ให้ข้อมูลว่า ต้องเอาคนที่มีความสามารถพิเศษจริงๆ ในการที่จะเคลียร์มวลชนสัมพันธ์ ถ้าจะคนอื่นมาทำมันก็ไม่ได้ เอาบริษัทก่อสร้างมาเคลียร์มันก็ไม่ได้ แต่รายนี้ (บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์) เคยทำแล้วประสบความสำเร็จ ปตท.ก็เชื่อใจ เอาแบบนั้น ดีกว่า”
นายมนตรี ยังกล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม เรื่องโครงการเคลียร์มวลชน ของ ปตท. มันไม่ได้ มีแค่ บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ เท่านั้น มีหลายที่ทั่วประเทศที่ทำ ซึ่งบริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ ได้สัดส่วนในรอบกทม. ส่วนพื้นที่อื่นเป็นบริษัทอื่นๆ ทำแบบแบ่งโซนพื้นที่กัน
เมื่อถามว่า ลักษณะการเข้ามารับงานเป็นเหมือนกันหรือไม่ นายมนตรี กล่าวว่า “มันก็คงเป็นลักษณะเดียวกันผมว่านะ”
•“มัลลิกา”บี้เตรียมยื่นสอบ ป.ป.ช.
น.ส. มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) เช่นกันว่า ในเร็วๆ นี้ จะเข้ายื่นเรื่องต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบประเด็นเรื่องการโอนหุ้นของนายณัฐวุฒิ และการเข้าประมูลงานว่าจ้างที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ ของ บริษัทเอกชน 3 ราย จาก ปตท. ซึ่งขณะนี้ทีมงานฝ่ายกฎหมายอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้มีหนักฐานแน่นหนามากที่สุด โดยประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทเอกชนทั้ง 3 ราย นอกเหนือจากการปรากฏข้อมูลกรรมการ ถือหุ้นไขว้สลับกันไปมาแล้ว ในการจัดทำบัญชีงบดุลบริษัท ทั้ง 3 รายที่ยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ยังใช้ผู้สอบบัญชี คนเดียวกันอีกด้วย
• พบ 3 บ.ใช้ผู้สอบบัญชีคนเดียวกัน
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า นับตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2551 บริษัท แม็ส มีเดีย แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ได้ส่งงบดุลบริษัท 3 ครั้ง คือ ปี 2551, 2552 และ 2553 โดยใช้ผู้สอบบัญชี คนเดียวกันทั้ง 3 ครั้ง คือ นายมนตรี ฉายสิริสัมพันธ์ หมายเลขผู้สอบบัญชี ที่ 5726
ส่วนบริษัท แอคทีฟ คอนสตรัคชั่น ทีม จำกัด นับตั้งแต่จดทะเบียนตั้งบริษัท วันที่ 17 มิถุนายน 2551 ได้ส่งงบดุลบริษัท 3 ครั้ง คือ ปี 2551, 2552 และ 2553 โดยใช้ผู้สอบบัญชี คนเดียวกันทั้ง 3 ครั้ง คือ นายมนตรี ฉายสิริสัมพันธ์ หมายเลขผู้สอบบัญชี ที่ 5726
ขณะที่บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ แอนด์ พับบลิค รีเลชั่น จำกัด นับตั้งแต่ จดทะเบียน เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2544 ได้ส่งงบดุลบริษัท 10 ครั้ง คือ ปี 2544, 2545 , 2546 , 2547, 2548 , 2549 , 2550 , 2551, 2552 และ 2553
ทั้งนี้ การจัดทำงบดุล ปี 2544 ใช้ผู้สอบบัญชี คือ นายเกียรติพงษ์ บริหารกิจอนันต์ หมายเลขผู้สอบบัญชี 5603
ปี 2545-2548 ใช้ผู้สอบบัญชี คือ นางรัชฎากร รามจันทร์ หมายเลขผู้สอบบัญชี 5843
ขณะที่ปี 2549-2553 ใช้ผู้สอบบัญชี คือ นายมนตรี ฉายสิริสัมพันธ์ เช่นเดียวกับ บริษัท แม็ส มีเดีย แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และ บริษัท แอคทีฟ คอนสตรัคชั่น ทีม จำกัด
ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาปี 2551-2553 เป็นช่วงเวลาที่บริษัท เอกชน ทั้ง 3 แห่ง เข้าประมูลงาน จาก ปตท. ด้วย
................
(หมายเหตุ : กางเอกสารคำให้การ“ณัฐวุฒิ”ปมตั้ง บ.เคลียร์ท่อก๊าซ-นอมินี “ได้หุ้นฟรี-ค่าตัว 3 หมื่น” : สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org/))
กางเอกสารคำให้การ“ณัฐวุฒิ”ปมตั้ง บ.เคลียร์ท่อก๊าซ-นอมินี “ได้หุ้นฟรี-ค่าตัว 3 หมื่น” : สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org)
เปิดคำชี้แจง“ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ”ปมตั้ง บ.รับงานเคลียร์มวลชน ปตท. ยัน“เพื่อน”ชวนนั่งบริหาร ได้หุ้นฟรี ค่าตอบแทนจิ๊บๆ 3 หมื่นบาท ก่อนโอนต่อให้พี่ชายจัดการ พบข้อมูลใหม่ “ไทย คอนซัลแตนท์” ใช้ผู้สอบบัญชีร่วม2 บ.เครือข่าย ช่วงประมูลงาน
จากกรณีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ร่วมกับนายสนธยา ทิพย์อาภากุล ก่อตั้ง บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ แอนด์ พับบลิค รีเลชั่น จำกัด ต่อมาได้โอนหุ้นต่อให้นายเจตนันท์ ใสยเกื้อ พี่ชาย และปรากฎว่าบริษัทดังกล่าวเป็นคู่สัญญาโครงการเป็นที่ปรึกษามวลชนสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซ ของ ปตท.หลายโครงการซึ่งบางโครงการมีบริษัทที่เป็นเครือข่ายของบริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ แอนด์ พับบลิค รีเลชั่นเข้าร่วมประมูลด้วย
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำเอกสารคำชี้แจงของนายณัฐวุฒิต่อกรรมาธิการพลังงานซึ่งมีนายมนตรี ปาน้อยนนท์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 หลังจากถูก น.ส. มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นเรื่องร้องเรียนก่อนหน้านี้
นายณัฐวุฒิได้ชี้แจงใน 2 ประเด็นหลัก คือ
1.ความเกี่ยวข้องระหว่างนายณัฐวุฒิ กับ บริษัท ไทยคอนซัคแตนท์ฯ ทั้งในเรื่องความเป็นเจ้าของ และการโอนหุ้นให้พี่ชาย
2. การร่วมประมูลงานในโครงการจ้างที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ ของ บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ บริษัท แอคทีฟ คอนสตรัคชั่นฯ และบริษัท แม็ส มีเดียฯ
•เพื่อนให้หุ้นฟรี –ชวนนั่งบริหาร
นายณัฐวุฒิ ได้ชี้แจงว่า บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ จดทะเบียน จัดตั้งเมื่อปี 2544 โดยมีนายสนธยา ทิพย์อาภากุล เป็นกรรมการบริษัทเพียงคนเดียว ซึ่งนายสนทยา เคยประกอบธุรกิจเป็นที่ปรึกษามวลชนสัมพันธ์ ในโครงการท่อส่งก๊าซไทยมาเลเซียมาก่อน ในช่วงต้นปี 2544 นายสนธยา ซึ่งคบกันในฐานะเพื่อนได้ชักชวน ให้มาดำเนินธุรกิจร่วมกัน โดยให้มีตำแหน่งเป็นกรรมการ และมีอำนาจร่วมกัน พร้อมให้ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ ประมาณ 20,000 หุ้น จึงได้ดำเนินการบริหารธุรกิจร่วมกันมา ซึ่งในขณะนั้น ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติพัฒนา แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จนกระทั้งในเวลาต่อมา เริ่มเข้าสู่การเมืองมากขึ้น จึงได้แจ้งนายสนธยา ว่า จะลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท เพื่อมาทำงานการเมืองเต็มตัว ในตำแหน่งโฆษกรัฐบาล และหลังจากลาออก ในปี 2550 ก็ไม่เคยเข้าติดต่องานกับ ปตท.
“หลังจากที่ผมลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ แล้ว นายสนธยา ได้ชวนนายเจตนันท์ พี่ชายของผม และเพื่อนสมัยเรียนคนอื่น เข้าร่วมทำธุรกิจต่อไป และในช่วงที่ลาออกมาแล้ว ก็ไม่เคยเข้าไป บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ ร่วมถึงยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท แต่อย่างใด” นายณัฐวุฒิระบุ
•ได้ค่าตอบแทนแค่เดือนละ 3 หมื่น
นายณัฐวุฒิ ยังระบุด้วยว่า ในช่วงเวลาที่บริหารงานบริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน ค่าสวัสดิการ เป็นจำนวนแค่ 20,000-30,000 บาท เท่านั้น และก่อนหน้าที่จะลาออกได้ทำหนังสือยินยอมให้บริษัทดำเนินการเกี่ยวกับหุ้นที่ได้ถือครองอยู่ และไม่ทราบถึงการบริหารจัดการหุ้นของบริษัท ในส่วนที่ตนเคยถืออยู่แต่อย่างใด
นายณัฐวุฒิ ยังกล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีที่มีการร้องเรียนว่า บริษัท ทั้ง 3 ราย มีความสัมพันธ์กัน และเข้าร่วมประมูลงานโครงการจาก ปตท. พร้อมกัน เนื่องจากตนได้ลาออกจากการเป็นกรรมการ บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ แล้ว จึงไม่สามารถให้ข้อมูลแทนได้
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2555 นายมนตรี ปาน้อยนนท์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews) ถึงความคืบหน้าการสอบสวนเรื่องนี้ ว่า ภายหลังจากที่ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มาชี้แจงข้อมูล นับตั้งแต่รับเรื่องร้องเรียนจาก น.ส.มัลลิกา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 21มีนาคม 2555 นายณัฐวุฒิ ได้เดินทางเข้าชี้แจงข้อมูลกับ กมธ.พลังงานเรียบร้อยแล้ว
“คุณณัฐวุฒิ ชี้แจงว่า ออกไปจากบริษัทตั้งแต่ปี 2550 ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวอะไร ส่วนการเข้ามาบริหารงานบริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ ก็บอกว่า เพื่อนชวนมาทำ เพราะเห็นว่า คุณณัฐวุฒิ มีความสามารถพูดเก่ง เจรจาเก่ง เขาก็เลยเอาคุณณัฐวุฒิเข้ามา ในนามเพื่อนกัน ซึ่งเรียนมาจากนครศรีธรรมราชด้วยกัน เป็นกลุ่มบริษัทคนใต้ ให้นั่งทำงานเป็นผู้จัดการ พอออกไปก็โอนหุ้นให้พี่ชาย”
นายมนตรี กล่าวต่อไปว่า ในระหว่างการชี้แจง คณะกรรมาธิการ ได้ซักถามว่า แล้วหลักฐานการโอนหุ้นอยู่ที่ไหน นายณัฐวุฒิ ตอบว่า ไม่ค่อยรู้ไม่มั่นใจว่าอยู่ตรงไหน
“คุณณัฐวุฒิ หมายความว่า เขาก็มาทำงาน แต่ก็ไม่รู้รายละเอียด ถ้าเขารู้ว่ามันมีเรื่องที่จะมีปัญหาแบบนี้ เขาคงไม่รับตั้งแต่ต้น แต่มันไม่ได้แล้ว เพราะเขารับไปแล้ว ทุกอย่างทำไปแล้ว เป็นเอกสารอะไรแบบนี้ เรื่องการโอนหุ้นต้องตามดูตรงนี้ให้ได้”
•ปธ.กมธ.ยันรับโอนหุ้นต้องเสียภาษี
เมื่อถามว่า การรับโอนหุ้น มาต้องเสียภาษีหรือไม่ นายมนตรี ระบุว่า “คุณนายณัฐวุฒิ บอกว่าไม่เสีย เขาได้หุ้นมาก็ไม่ต้องเสียตังค์ ซึ่งเขาบอกว่า เขาไม่รู้เรื่องอะไรเลย ขอไปดูรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง อะไรแบบนั้น เพราะตอนที่มาชี้แจงข้อมูลกับคณะกรรมาธิการ ไม่ได้เอาเอกสารอะไรมาเลย มาแต่ตัว แต่เราก็ให้เจ้าหน้าที่กรรมาธิการบอกไปแล้ว ว่าขอให้ส่งกรรมการ”
เมื่อถามว่า การโอนหุ้นให้ นายเจตนันท์ พี่ชาย และนายมฆวัต กาญวัฒนะกิจ ต้องเสียภาษีหรือไม่ นายมนตรี กล่าวว่า “เรื่องนี้คุณณัฐวุฒิ แกบอกแกไม่รู้เหมือนกัน ซึ่งเรื่องนี้ คงต้องให้ คุณณัฐวุฒิ ไปชี้แจง ป.ป.ช.อีกที”
เมื่อถามย้ำว่า ยืนยันว่าโอนหุ้นต้องเสียภาษี นายมนตรี กล่าวว่า “ เรื่องโอนหุ้น มันต้องเสียภาษีนะ ไม่ใช่แบบหุ้นเทมาเส็ก นะที่จะโอนแล้วไม่เสียภาษีได้ (หัวเราะ)”
นายมนตรี กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องหุ้นของนายณัฐวุฒิ กมธ.พลังงาน ได้มีมติสรุปให้ส่งเรื่องนี้ ไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการสอบสวนต่อไป โดยจะแจ้งให้ น.ส.มัลลิกา เป็นผู้ดำเนินการยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช.เอง
•“เต้น”ยังไม่ส่งเอกสาร กมธ.
เมื่อถามว่า เหตุผลที่คณะกรรมาธิการพลังงาน ต้องส่งเรื่องนี้ให้ ป.ป.ช. สอบสวนต่อ คืออะไร นายมนตรี ระบุว่า “ต้องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการต่อ เพราะว่ามันมีเรื่องการโอนหุ้น อะไรพวกนี้อยู่ เรื่องการเซ็นใบโอนหุ้น ซึ่งยังไม่ได้รายละเอียดที่ชัดเจน และในการเข้าชี้แจงข้อมูลต่อกรรมาธิการฯ คุณณัฐวุฒิ ยังไม่ได้ นำมามอบให้ด้วย เบื้องต้นกรรมาธิการฯ ได้ร้องขอไป ทางคุณณัฐวุฒิ ก็รับปาก ว่าจะเอาเอกสารมาให้ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้นำมาส่งมอบให้”
“เรื่องหุ้นก็คงจะให้ ป.ป.ช. สอบต่อ เพราะเป็นมติที่ประชุมกรรมาธิการแล้ว โดยให้คุณมัลลิกา เป็นผู้ร้องไปยัง ป.ป.ช. ต่อไป ซึ่งคณะกรรมาธิการ ฝั่งพรรคเพื่อไทย หลายคน เห็นว่า ควรให้ตัดประเด็นนี้ออกไป พร้อมแสดงความเห็นว่า เรื่องการฮั้วประมูล ก็ไม่ถึงคุณณัฐวุฒิเช่นกัน เพราะเขาออกไปจากบริษัทก่อนแล้ว ซึ่งถ้าจะดูเรื่องนี้ต่อไป ให้ละเอียดก็ควรส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ไปเลย”
เมื่อถามว่า มองอย่างไร เกี่ยวกับประเด็นเรื่องการฮั้วประมูลของ 3 บริษัท นายมนตรี กล่าวว่า “ถ้าพูดกันข้างนอก มันก็น่าจะมีปัญหานี้ เพราะมันเหมือนกับการจัดสรรกันอยู่ และยังเรื่องที่อยู่ การถือหุ้นไขว้สลับกันไปกันมา แต่มันก็ต้องดูรายละเอียดให้มากกว่านี้ ก่อนจะไปตัดสินว่าเขาผิดอะไร และงานเคลียร์มวลชน มันก็ต้องใช้บริษัท ที่เก่งพอสมควร จะให้ใครไปเคลียร์ธรรมดาไม่ได้ ต้องมีทหาร มีตำรวจ อย่างประจวบคิรีขันธ์ หรือเชียงใหม่ ก็ต้องให้ระดับ ส.ส.ไปช่วยเคลียร์ มันยากไม่ล่ะ งานแบบนี้”
•ตั้งกก. ชุดเล็กลุยสอบปมฮั้วประมูล
นายมนตรี กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ประเด็น เรื่องการฮั้วประมูลของ 3 บริษัท คณะกรรมาธิการฯ จะมีการตั้งคณะทำงานชุดเล็ก เพื่อไล่ตามต่อ โดยมอบหมายให้ นางอานิก อัมระนันทน์ รองประธานกรรมาธิการ เป็นผู้รับผิดชอบ
เมื่อถามว่า ข้อมูลเรื่องการฮั้วประมูล ที่คณะกรรมาธิการตรวจสอบในช่วงที่ผ่านมา เป็นอย่างไรบ้าง นายมนตรี กล่าวว่า ในจำนวน 13 โครงการ ที่ ปตท. เปิดประมูล ส่วนใหญ่ ก็มีบริษัท 3 ราย นั้นแหละที่หมุนเวียนเปลี่ยนกันเข้ามารับงาน และก็มีรายเดียวที่ได้รับงานไปคือ บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ฯ พอได้ตัวผู้ชนะมา ก็มีการต่อรองราคากัน”
เมื่อถามว่า เท่าที่พิจารณาข้อมูลที่ได้รับมา มองประเด็นเรื่องการฮั้วประมูลอย่างไรบ้าง นายมนตรี กล่าวว่า “เขา (ปตท.) ให้ข้อมูลว่า ต้องเอาคนที่มีความสามารถพิเศษจริงๆ ในการที่จะเคลียร์มวลชนสัมพันธ์ ถ้าจะคนอื่นมาทำมันก็ไม่ได้ เอาบริษัทก่อสร้างมาเคลียร์มันก็ไม่ได้ แต่รายนี้ (บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์) เคยทำแล้วประสบความสำเร็จ ปตท.ก็เชื่อใจ เอาแบบนั้น ดีกว่า”
นายมนตรี ยังกล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม เรื่องโครงการเคลียร์มวลชน ของ ปตท. มันไม่ได้ มีแค่ บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ เท่านั้น มีหลายที่ทั่วประเทศที่ทำ ซึ่งบริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ ได้สัดส่วนในรอบกทม. ส่วนพื้นที่อื่นเป็นบริษัทอื่นๆ ทำแบบแบ่งโซนพื้นที่กัน
เมื่อถามว่า ลักษณะการเข้ามารับงานเป็นเหมือนกันหรือไม่ นายมนตรี กล่าวว่า “มันก็คงเป็นลักษณะเดียวกันผมว่านะ”
•“มัลลิกา”บี้เตรียมยื่นสอบ ป.ป.ช.
น.ส. มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) เช่นกันว่า ในเร็วๆ นี้ จะเข้ายื่นเรื่องต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบประเด็นเรื่องการโอนหุ้นของนายณัฐวุฒิ และการเข้าประมูลงานว่าจ้างที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ ของ บริษัทเอกชน 3 ราย จาก ปตท. ซึ่งขณะนี้ทีมงานฝ่ายกฎหมายอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้มีหนักฐานแน่นหนามากที่สุด โดยประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทเอกชนทั้ง 3 ราย นอกเหนือจากการปรากฏข้อมูลกรรมการ ถือหุ้นไขว้สลับกันไปมาแล้ว ในการจัดทำบัญชีงบดุลบริษัท ทั้ง 3 รายที่ยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ยังใช้ผู้สอบบัญชี คนเดียวกันอีกด้วย
• พบ 3 บ.ใช้ผู้สอบบัญชีคนเดียวกัน
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า นับตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2551 บริษัท แม็ส มีเดีย แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ได้ส่งงบดุลบริษัท 3 ครั้ง คือ ปี 2551, 2552 และ 2553 โดยใช้ผู้สอบบัญชี คนเดียวกันทั้ง 3 ครั้ง คือ นายมนตรี ฉายสิริสัมพันธ์ หมายเลขผู้สอบบัญชี ที่ 5726
ส่วนบริษัท แอคทีฟ คอนสตรัคชั่น ทีม จำกัด นับตั้งแต่จดทะเบียนตั้งบริษัท วันที่ 17 มิถุนายน 2551 ได้ส่งงบดุลบริษัท 3 ครั้ง คือ ปี 2551, 2552 และ 2553 โดยใช้ผู้สอบบัญชี คนเดียวกันทั้ง 3 ครั้ง คือ นายมนตรี ฉายสิริสัมพันธ์ หมายเลขผู้สอบบัญชี ที่ 5726
ขณะที่บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ แอนด์ พับบลิค รีเลชั่น จำกัด นับตั้งแต่ จดทะเบียน เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2544 ได้ส่งงบดุลบริษัท 10 ครั้ง คือ ปี 2544, 2545 , 2546 , 2547, 2548 , 2549 , 2550 , 2551, 2552 และ 2553
ทั้งนี้ การจัดทำงบดุล ปี 2544 ใช้ผู้สอบบัญชี คือ นายเกียรติพงษ์ บริหารกิจอนันต์ หมายเลขผู้สอบบัญชี 5603
ปี 2545-2548 ใช้ผู้สอบบัญชี คือ นางรัชฎากร รามจันทร์ หมายเลขผู้สอบบัญชี 5843
ขณะที่ปี 2549-2553 ใช้ผู้สอบบัญชี คือ นายมนตรี ฉายสิริสัมพันธ์ เช่นเดียวกับ บริษัท แม็ส มีเดีย แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และ บริษัท แอคทีฟ คอนสตรัคชั่น ทีม จำกัด
ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาปี 2551-2553 เป็นช่วงเวลาที่บริษัท เอกชน ทั้ง 3 แห่ง เข้าประมูลงาน จาก ปตท. ด้วย
................
(หมายเหตุ : กางเอกสารคำให้การ“ณัฐวุฒิ”ปมตั้ง บ.เคลียร์ท่อก๊าซ-นอมินี “ได้หุ้นฟรี-ค่าตัว 3 หมื่น” : สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org/))
วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555
เปิดคำวินิจฉัย ป.ป.ช.คดี“เสธ.หนั่น”กู้เท็จ 45 ล้านเทียบ 30 ล้านปริศนา!ปูตายน้ำตื้น?
เขียนโดย เสนาะ สุขเจริญ Isara news
เปิดคำวินิจฉัย ป.ป.ช.และศาลรัฐธรรมนูญคดีเงินกู้เท็จ 45 ล้าน พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เทียบกรณี เงินให้กู้บ.สามีนอกสมรส ปริศนา 30 ล้าน เหมือน-แตกต่างระหว่าง“ลูกหนี้”กับ“เจ้าหนี้” นายกฯปู-ยิ่งลักษณ์ ซ้ำรอย“ตายน้ำตื้น”หรือไม่?
มีข้อมูลหลายอย่างที่ชี้ให้เห็นว่ากรณี “เงินให้กู้ยืม” 30 ล้านบาทของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และกรณีเงินกู้ 45 ล้านบาทของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ อดีตรองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คล้ายคลึงและแตกต่างกัน
อย่างน้อยก็ข้อมูลที่ว่า
น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี มีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” ขณะที่ บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด ของนายอนุสรณ์ อมรฉัตร สามีนอกสมรส มีสถานะเป็น “ลูกหนี้”
ขณะที่ กรณีเงินกู้ 45 ล้านบาท พล.ต.สนั่น มีสถานะเป็น “ลูกหนี้” บริษัท เอ เอ เอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งคนใกล้ชิด พล.ต.สนั่นถือหุ้นใหญ่ มีสถานะเป็น “เจ้าหนี้”
แต่ทว่าถ้าพลิกเนื้อหาคำวินิจฉัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในคดีเงินกู้ 45 ล้านบาท จะพบข้อมูลที่น่าสนใจ
พล.ต.สนั่น แจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่ามีรายการหนี้สินกู้ยืมเงิน 45 ล้านบาทจากบริษัท เอ เอ เอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด โดยแสดงสำเนา “สัญญากู้ยืม” 3 ฉบับไว้เป็นหลักฐาน
สัญญากู้เงินฉบับแรกอ้างว่าทำขึ้นวันที่ 11 มกราคม 2540 จำนวน 20 ล้านบาท
สัญญากู้เงินฉบับที่สองอ้างว่าทำขึ้นวันที่ 20 มีนาคม 2540 จำนวน 15 ล้านบาท
สัญญากู้เงินฉบับที่สามอ้างว่าทำขึ้นวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 จำนวน 10 ล้านบาท
สัญญาทั้ง 3 ฉบับอ้างว่าทำขึ้นที่บ้านสนามบินน้ำของ พล.ต.สนั่น
คณะกรรมการ ป.ป.ช.วินิจฉัยว่าเป็นการกู้เท็จ เนื่องจาก บริษัท เอ เอ เอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัดไม่มีการลงบัญชีงบดุลว่ามีเงินให้ พล.ต.สนั่นกู้ยืมเงิน บริษัท บริษัท เอ เอ เอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัดมีผลประกอบการขาดทุนหลายปีติดต่อกันจำนวนหลายสิบล้านบาท
ประการสำคัญ ป.ป.ช.ไม่เชื่อว่ามีการกู้ยืมเงินกันจริงเพราะ พยานที่ลงลายมือในสัญญากู้ยืมเงิน 45 ล้านบาทเมื่อถูกเรียกตัวมาสอบปากคำให้การรวมทั้งตัว พล.ต.สนั่นเอง ต่างให้การยืนยันว่า สัญญากู้เงินทั้ง 3 ฉบับ (ลงวันที่ต่างกัน) แท้จริงแล้วลงนามในวันเดียวกันในเดือนมกราคมที่บ้านสนามบินน้ำของ พล.ต.สนั่นและวันนั้นก็ไม่มีการส่งมอบเงินกันจริงตามจำนวนและวันเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา
นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม กรรมการ ป.ป.ช. (ขณะนั้น) ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวใต้อาคารสำนักงาน ป.ป.ช.ถนนพิษณุโลก วันที่ 28 มีนาคม 2543 ว่า “ไม่คิดเลยว่า พล.ต.สนั่นจะต้องมาตายน้ำตื้น เพราะตัวท่านเองยอมรับว่าสัญญาทำขึ้นที่บ้านสนามบินน้ำ”
ศาลรัฐธรรมนูญก็ใช้ข้อเท็จจริงดังกล่าวไปใช้เป็นเหตุผลในการวินิจฉัยว่า พล.ต.สนั่นจงใจปกปิดบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วยเหมือนกัน
กรณี“เงินให้กู้ยืม”ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ซึ่งแจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินระบุว่ามี “เงินให้กู้ยืม” บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด จำนวน 30 ล้านบาท แบ่งเป็นออก “ตั๋วสัญญาใช้เงิน” 3 ฉบับ
ฉบับแรกเลขที่ 01/2549 วันที่ 6 ตุลาคม 2549 ออกตั๋ว ณ สำนักงานเลขที่ 73 ถนนสุขุมวิท 62 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ (อาคารเอ็มลิงค์) ผู้ออกตั๋ว บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด โดย น.ส.สุมิตรา อิงคผาติ กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม สัญญาจะจ่ายเงิน จำนวน 20,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากประจำ 1 ปี ของธนาคารงกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินตามตั๋วให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อทวงถาม สถานที่ใช้เงิน ณ บ้านเลขที่ 38/9 หมู่ที่ 9 แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ
ฉบับที่ 2 เลขที่ 01/2550 วันที่ 9 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท มีรายละเอียดเหมือนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรก
ฉบับที่ 3 เลขที่ 02/2550 วันที่ 13 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท มีรายละเอียดเหมือนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรกและฉบับที่สอง
อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบพบว่า บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด (มีฐานะขาดทุนหลายปีติดต่อกัน) ไม่ได้ลงในบัญชีงบดุล ปี 2549 (ตามที่อ้างว่ามีการออกตั๋วสัญญาใช้เงินวันที่ 6 ตุลาคม 2549 จำนวน 20 ล้านบาท) หากแต่มีการนำมาในบัญชีงบดุลปี 2550 จำนวน 30 ล้านบาทแทน
กรณีนี้ ถ้าพิสูจน์ได้ว่า “วันเวลา”ที่บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด อ้างว่าได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 3 ฉบับ ได้แก่ วันที่ 6 ตุลาคม 2549 ,วันที่ 9 มีนาคม 2550 และ วันที่ 13 มีนาคม 2550 แท้จริงแล้วทำขึ้นวันเดียวกัน และการกู้ยืมดังกล่าวก็มิได้ตรงกับที่ระบุในตั๋วสัญญาใช้เงิน (ในกรณีอ้างว่ามีการกู้ยืมกันจริง) เหมือนกรณีเงินกู้ 45 ล้านบาทของ พล.ต.สนั่น
น.ส.ยิ่งลักษณ์จะเข้าข่ายแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยถ้อยคำและข้อความอันเป็นเท็จต่อ ป.ป.ช. และจะต้อง“ตายน้ำตื้น”เหมือน เสธ.หนั่นหรือไม่?
เปิดคำวินิจฉัย ป.ป.ช.และศาลรัฐธรรมนูญคดีเงินกู้เท็จ 45 ล้าน พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เทียบกรณี เงินให้กู้บ.สามีนอกสมรส ปริศนา 30 ล้าน เหมือน-แตกต่างระหว่าง“ลูกหนี้”กับ“เจ้าหนี้” นายกฯปู-ยิ่งลักษณ์ ซ้ำรอย“ตายน้ำตื้น”หรือไม่?
มีข้อมูลหลายอย่างที่ชี้ให้เห็นว่ากรณี “เงินให้กู้ยืม” 30 ล้านบาทของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และกรณีเงินกู้ 45 ล้านบาทของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ อดีตรองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คล้ายคลึงและแตกต่างกัน
อย่างน้อยก็ข้อมูลที่ว่า
น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี มีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” ขณะที่ บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด ของนายอนุสรณ์ อมรฉัตร สามีนอกสมรส มีสถานะเป็น “ลูกหนี้”
ขณะที่ กรณีเงินกู้ 45 ล้านบาท พล.ต.สนั่น มีสถานะเป็น “ลูกหนี้” บริษัท เอ เอ เอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งคนใกล้ชิด พล.ต.สนั่นถือหุ้นใหญ่ มีสถานะเป็น “เจ้าหนี้”
แต่ทว่าถ้าพลิกเนื้อหาคำวินิจฉัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในคดีเงินกู้ 45 ล้านบาท จะพบข้อมูลที่น่าสนใจ
พล.ต.สนั่น แจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่ามีรายการหนี้สินกู้ยืมเงิน 45 ล้านบาทจากบริษัท เอ เอ เอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด โดยแสดงสำเนา “สัญญากู้ยืม” 3 ฉบับไว้เป็นหลักฐาน
สัญญากู้เงินฉบับแรกอ้างว่าทำขึ้นวันที่ 11 มกราคม 2540 จำนวน 20 ล้านบาท
สัญญากู้เงินฉบับที่สองอ้างว่าทำขึ้นวันที่ 20 มีนาคม 2540 จำนวน 15 ล้านบาท
สัญญากู้เงินฉบับที่สามอ้างว่าทำขึ้นวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 จำนวน 10 ล้านบาท
สัญญาทั้ง 3 ฉบับอ้างว่าทำขึ้นที่บ้านสนามบินน้ำของ พล.ต.สนั่น
คณะกรรมการ ป.ป.ช.วินิจฉัยว่าเป็นการกู้เท็จ เนื่องจาก บริษัท เอ เอ เอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัดไม่มีการลงบัญชีงบดุลว่ามีเงินให้ พล.ต.สนั่นกู้ยืมเงิน บริษัท บริษัท เอ เอ เอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัดมีผลประกอบการขาดทุนหลายปีติดต่อกันจำนวนหลายสิบล้านบาท
ประการสำคัญ ป.ป.ช.ไม่เชื่อว่ามีการกู้ยืมเงินกันจริงเพราะ พยานที่ลงลายมือในสัญญากู้ยืมเงิน 45 ล้านบาทเมื่อถูกเรียกตัวมาสอบปากคำให้การรวมทั้งตัว พล.ต.สนั่นเอง ต่างให้การยืนยันว่า สัญญากู้เงินทั้ง 3 ฉบับ (ลงวันที่ต่างกัน) แท้จริงแล้วลงนามในวันเดียวกันในเดือนมกราคมที่บ้านสนามบินน้ำของ พล.ต.สนั่นและวันนั้นก็ไม่มีการส่งมอบเงินกันจริงตามจำนวนและวันเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา
นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม กรรมการ ป.ป.ช. (ขณะนั้น) ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวใต้อาคารสำนักงาน ป.ป.ช.ถนนพิษณุโลก วันที่ 28 มีนาคม 2543 ว่า “ไม่คิดเลยว่า พล.ต.สนั่นจะต้องมาตายน้ำตื้น เพราะตัวท่านเองยอมรับว่าสัญญาทำขึ้นที่บ้านสนามบินน้ำ”
ศาลรัฐธรรมนูญก็ใช้ข้อเท็จจริงดังกล่าวไปใช้เป็นเหตุผลในการวินิจฉัยว่า พล.ต.สนั่นจงใจปกปิดบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วยเหมือนกัน
กรณี“เงินให้กู้ยืม”ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ซึ่งแจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินระบุว่ามี “เงินให้กู้ยืม” บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด จำนวน 30 ล้านบาท แบ่งเป็นออก “ตั๋วสัญญาใช้เงิน” 3 ฉบับ
ฉบับแรกเลขที่ 01/2549 วันที่ 6 ตุลาคม 2549 ออกตั๋ว ณ สำนักงานเลขที่ 73 ถนนสุขุมวิท 62 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ (อาคารเอ็มลิงค์) ผู้ออกตั๋ว บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด โดย น.ส.สุมิตรา อิงคผาติ กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม สัญญาจะจ่ายเงิน จำนวน 20,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากประจำ 1 ปี ของธนาคารงกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินตามตั๋วให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อทวงถาม สถานที่ใช้เงิน ณ บ้านเลขที่ 38/9 หมู่ที่ 9 แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ
ฉบับที่ 2 เลขที่ 01/2550 วันที่ 9 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท มีรายละเอียดเหมือนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรก
ฉบับที่ 3 เลขที่ 02/2550 วันที่ 13 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท มีรายละเอียดเหมือนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรกและฉบับที่สอง
อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบพบว่า บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด (มีฐานะขาดทุนหลายปีติดต่อกัน) ไม่ได้ลงในบัญชีงบดุล ปี 2549 (ตามที่อ้างว่ามีการออกตั๋วสัญญาใช้เงินวันที่ 6 ตุลาคม 2549 จำนวน 20 ล้านบาท) หากแต่มีการนำมาในบัญชีงบดุลปี 2550 จำนวน 30 ล้านบาทแทน
กรณีนี้ ถ้าพิสูจน์ได้ว่า “วันเวลา”ที่บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด อ้างว่าได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 3 ฉบับ ได้แก่ วันที่ 6 ตุลาคม 2549 ,วันที่ 9 มีนาคม 2550 และ วันที่ 13 มีนาคม 2550 แท้จริงแล้วทำขึ้นวันเดียวกัน และการกู้ยืมดังกล่าวก็มิได้ตรงกับที่ระบุในตั๋วสัญญาใช้เงิน (ในกรณีอ้างว่ามีการกู้ยืมกันจริง) เหมือนกรณีเงินกู้ 45 ล้านบาทของ พล.ต.สนั่น
น.ส.ยิ่งลักษณ์จะเข้าข่ายแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยถ้อยคำและข้อความอันเป็นเท็จต่อ ป.ป.ช. และจะต้อง“ตายน้ำตื้น”เหมือน เสธ.หนั่นหรือไม่?
วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555
เอกสารผังประเทศ พ.ศ.๒๖๐๐ กรมโยธาธิการและผังเมือง
Amy Wong
สำคัญ
เอกสารผังประเทศ พ.ศ.๒๖๐๐ เล่มนี้มีสามร้อยกว่าหน้า เป็นเล่มที่ไม่มีบนเวบ เป็นเล่มสำคัญเล่มหนึ่ง
...แผนที่ปิโตรเลียม ที่พบจนตามไปถึง บ่อน้ำมันทวีวัฒนา ก็มาจากร่องรอยในเล่นนี้ ---เป็นเอกสารของกรมโยธาธิการและผังเมือง จัดทำตามติ ครม.9กค2545 โดยบริษัทที่รปึกษา ปัญญา คอท และ ทีม
หากไม่มีเวลาอ่านจริงจัง อย่างน้อยขอให้ผ่านตาทุกหน้า สักครั้ง ...
สำคัญ
เอกสารผังประเทศ พ.ศ.๒๖๐๐ เล่มนี้มีสามร้อยกว่าหน้า เป็นเล่มที่ไม่มีบนเวบ เป็นเล่มสำคัญเล่มหนึ่ง
...แผนที่ปิโตรเลียม ที่พบจนตามไปถึง บ่อน้ำมันทวีวัฒนา ก็มาจากร่องรอยในเล่นนี้ ---เป็นเอกสารของกรมโยธาธิการและผังเมือง จัดทำตามติ ครม.9กค2545 โดยบริษัทที่รปึกษา ปัญญา คอท และ ทีม
หากไม่มีเวลาอ่านจริงจัง อย่างน้อยขอให้ผ่านตาทุกหน้า สักครั้ง ...
Open publication - Free publishing
Open publication - Free publishing
Open publication - Free publishing
Open publication - Free publishing
Open publication - Free publishing
Open publication - Free publishing
Open publication - Free publishing
Open publication - Free publishing
"สมศักดิ์ เจียมฯ" วิเคราะห์บทสัมภาษณ์ "นพดล" ยุทธศาสตร์พท.-นปช. คือเอา "ทักษิณ" กลับบ้าน
คุณทักษิณ ใช้คำใน คลิป "โฟนอิน" ถึง 2 ครั้งว่า "ผมเป็นผู้ที่ถูกกระทบเยอะที่สุด"..ผมเคยเขียนไปหลายครั้งแล้วว่า ผมไม่คิดว่า วิธีคิดเช่นนี้ถูกต้อง คนที่เดือดร้อนที่สุดจริงๆ ในขณะนี้ คือ คนที่ติดคุก (และญาติมิตรของคนที่ตายไป)
ที่มา มติชนออนไลน์
นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนวิเคราะห์บทสัมภาษณ์ "นพดล" พูดแทนใจ "ทักษิณ" "ถ้ามาแบบต้องไปคลองเปรม (คุก) จะมาทำไม" โดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว มีเนื้อหาบางส่วน ดังต่อไปนี้
----------
คำให้สัมภาษณ์ของคุณนพดล ปัทมะ ในประชาชาติธุรกิจ นี้ สำคัญและมีความน่าสนใจมาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1332634691&grpid=09&catid&subcatid
ขอบคุณไทยอีนิวส์ที่ขึ้นเป็นกระทู้ รวมทั้งเอาคลิป "โฟนอิน" ของทักษิณเมื่อวันเสาร์มาประกบ ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญเช่นกัน ... http://thaienews.blogspot.com/2012/03/blog-post_26.html
คลิป"โฟนอิน" ใน YouTube http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=Fv3VTXCmeJ0#!
คำให้สัมภาษณ์คุณนพดลมีความน่าสนใจที่ผมเสนอให้อ่านทั้งหมดแต่ส่วนสำคัญและน่าสนใจที่สุด ในความเห็นผม คือ ตรงนี้ ...............
[ถาม] คิดว่าปัจจัยอะไรที่เป็นกับดัก ทำให้แนวร่วมเพื่อไทย ไม่สามารถช่วยคุณทักษิณได้
[นพดล] ความไว้วางใจของฝ่ายอนุรักษนิยม หรือคนที่มีอำนาจในสังคม ที่เป็นคนธรรมดา ไม่ได้หมายถึงสถาบัน เขาอาจมองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ หรือเพื่อไทยเป็นภัยคุกคามต่อความคงอยู่ของฝ่ายอนุรักษนิยม แต่ พ.ต.ท.ทักษิณไม่มีนโยบายเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจประเทศ ฉะนั้น จึงอยากให้เขาไว้วางใจ
[ถาม] รูปธรรมของการไว้วางใจต้องทำอย่างไร
[นพดล] ทำให้เห็นว่าเราไม่เป็นภัยคุกคามต่อสถานะปัจจุบันของฝ่ายเขา เราไม่ทำอะไรที่กระทบถึงสถาบันหลักของชาติ ไม่แสดงความกระเหี้ยนกระหือรือแก้ไข พ.ร.บ.กลาโหม ไม่แทรกแซงการโยกย้ายทหาร ไม่แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112
[ถาม] เวลานี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ทอดไมตรีไปแล้ว
[นพดล] ใช่ครับ ตอนนี้ได้แต่เห็นว่าบรรยากาศดีขึ้น แต่ยังไม่เห็นอะไรชัดเจนในทางรูปธรรมที่จะยื่นมาจากฝ่ายอนุรักษนิยม หรือบางทีมือที่มองไม่เห็นอาจไม่ต้องยื่นมาก็ได้นะ เพียงแต่ไม่ยื่นไปที่อื่น (หัวเราะ) ..............
ผมมีข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยดังนี้
(1) ที่คุณนพดลกล่าว (ประกอบกับ โฟนอิน ของทักษิณ ที่ต้อง "อ่านระหว่างบรรทัด" หรือ ดูที่นัยยะที่ไม่ได้พูดออกมาตรงๆ) ผมคิดว่า เป็นการสรุปรวบยอด "วิธีคิด" เรื่อง "ยุทธศาสตร์ปรองดอง" ของทักษิณ ได้ชัดเจน มากๆ ไอเดียคือ ทำยังไงจะให้เกิด
"ความไว้วางใจของฝ่ายอนุรักษนิยม หรือคนที่มีอำนาจในสังคม" ...
การไม่แตะต้องเรื่องตัว กม. 112 เรื่องโยกย้ายทหาร ที่นพดลพูดถึง (หรือที่ผมขอเสริมว่า แม้แต่กรณีนักโทษ 112 หรือ แม้แต่นักโทษเสื้อแดงธรรมดาๆ ที่ ไม่ไป "ก้าวก่าย" อำนาจศาล เรื่องประกัน อย่าว่าแต่เรื่องนิรโทษกรรม ในกรณีหลังนี้ อย่างน้อยจนกว่าจะสามารถนิรโทษกรรมทักษิณเองได้) ทั้งหมดนี้ ก็มาจาก "วิธีคิด" แบบนี้ ที่ ประชาชาติ ใช้คำ (และนพดลเห็นด้วย) ว่า "ทอดไมตรี"
(2) ถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่มวลชนเสื้อแดง และผู้รักประชาธิปไตย ควรตั้งคำถามกับคุณทักษิณ กับ นปช. กับเพื่อไทย คือ "ยุทธศาสตร์" หรือ "วิธีคิด" นี้ มี จุดเริ่มต้น มาจากอะไร? จาก เอาคุณทักษิณ กลับบ้าน เป็นอันดับหนึ่ง (priority) หรือ จากการพยายามช่วยเหลือเสื้อแดงที่เดือดร้อนอยู่ เป็นอันดับหนึ่ง (ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เป้าหมายเพื่อ "ประชาธิปไตย" ในระยะยาว)
คุณทักษิณ ใช้คำใน คลิป "โฟนอิน" ถึง 2 ครั้งว่า "ผมเป็นผู้ที่ถูกกระทบเยอะที่สุด" (ปริบทของการพูด คือ พยายามชวนให้คนที่ยัง ติดใจ คับแค้นใจ ต่อความยุติธรรมที่ได้รับ ยอม "กลืนเลือด" ให้อภัยอะไรทำนองนั้น โดยบอกว่าคุณทักษิณเอง "ถูกกระทำเยอะที่สุด" ยังสามารถ "ให้อภัย" ได้)
ผมเคยเขียนไปหลายครั้งแล้วว่า ผมไม่คิดว่า วิธีคิดเช่นนี้ถูกต้อง คนที่เดือดร้อนที่สุดจริงๆ ในขณะนี้ คือ คนที่ติดคุก (และญาติมิตรของคนที่ตายไป)
(3) ต่อเนื่องจาก (2) - ตลอดเวลาที่ผ่านมา ที่ คนที่ออกมาดีเฟนด์ ยุทธศาสตร์ เช่นนี้ ของ นปช. - เพื่อไทย มักจะอ้างว่า การที่ รบ. ไม่ทำอะไร ในเรื่องนักโทษเสื้อแดง (อย่าว่าแต่ 112, องคมนตรี ฯลฯ) ก็เพราะ "ไม่มีอำนาจ" "ทำไม่ได้" อะไรทำนองนั้น
ผมกลับมองว่า คำสัมภาษณ์ของคุณนพดล และคลิป โฟนอิน นี้ ยืนยันว่า จริงๆ แล้ว ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่เรื่อง "ทำไม่ได้" อะไรแบบนั้น แต่อยู่ที่การตั้ง priority หรือ เรื่องสำคัญที่เป็นเป้าหมายต้องทำอันดับแรก
ในเมื่อคุณทักษิณ เพื่อไทย นปช. ตั้ง priority เรื่องคุณทักษิณกลับ เรื่องอื่นๆ ก็เลยกลายเป็นเรื่องที่เอามา "ขึ้นต่อ" priority เรื่องเอาคุณทักษิณกลับนี้ ตัวอย่างชัดๆ คือเรื่องนิรโทษกรรม คนเสื้อแดงธรรมดาๆ หลายสิบคน ที่ความจริง สามารถทำได้แน่ๆ และจริงๆ ก็ไม่ถึงกับจะมีผลกระทบต่อการพยายามสร้าง "ความไว้ใจ" ให้กับพวกอนุรักษ์นิยม ...
แต่ที่ไม่ทำ ก็เพราะเอาเรื่องนี้ไปขึ้นต่อเรื่อง เอาคุณทักษิณกลับ กระทั่ง กลัวว่า ถ้าทำอะไร แม้แต่เรื่องนี้ ... ก็จะทำให้อีกฝ่าย ไม่ยอม "วางใจ" และไม่ยอมเรื่องคุณทักษิณกลับ คือ จะต้องเอาเรื่องคุณทักษิณกลับ ให้ได้ชัวร์ก่อน ค่อยมาว่ากันเรื่องอื่นๆ
นี่คือ ประเด็นการตั้ง priority ที่ผมว่านั่นเอง
(ประเด็นรูปธรรมอื่นๆ ก็ทำนองเดียวกัน เช่น เรื่องการโยกย้ายทหาร หรือ แก้ พ.ร.บ.กลาโหม ไม่ต้องพูดถึงเรื่อง 112 - ทั้งหมด "ไม่แตะ" เลย เพื่อที่จะทำเรื่อง คุณทักษิณกลับ คือ ต้องเอาไปขึ้นกับเรื่องนั้น)
*******
ไทยอีนิวส์
วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555
จดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 3 มาร์คยัน ถอนผล วิจัยพระปกเกล้า
จดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 3 ว่าด้วยการปรองดอง
โดย Abhisit Vejjajiva เมื่อ 25 มีนาคม 2012
ก่อนอื่นต้องผมขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องกับการจัดงานเวทีเสวนาที่โรงแรมมิราเคิล เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ที่เปิดโอกาสให้ผมได้แสดงความคิดเห็น และท้วงติงรายงานการวิจัย ที่สำคัญที่สุดผมขอขอบคุณที่คณะผู้วิจัยได้ยืนยันชัดเจนว่าข้อเสนอ ของคณะผู้วิจัยนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่จะต้องนำไปสานเสวนาระดับชาติเพื่อ สร้างบรรยากาศการปรองดอง และหาข้อยุติร่วมกัน มิใช่การหยิบส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วนำไปลงมติใช้เสียงข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นโดยกรรมาธิการ โดยสภาฯ หรือโดยรัฐบาล
ต่อมา รศ.วุฒิสาร ตันไชย หัวหน้าคณะผู้วิจัยและรองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าได้ออกแถลงการณ์ยืนยัน ว่า "หากคณะกรรมาธิการฯ หรือสภาฯ มีการลงมติเลือกแนวทางหนึ่งแนวทางใดอย่าง รวบรัดด้วยเสียงข้างมาก โดยเฉพาะในประเด็นการให้อภัยผ่านกระบวนการนิรโทษกรรม และการเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม โดยมิได้ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะผู้วิจัยในส่วนของกระบวนการดังกล่าวที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วเสียก่อน คณะผู้วิจัยจะขอถอนรายงานวิจัยที่ได้เสนอต่อคณะกรรมาธิการฯ เพื่อมิให้มีการ นำผลการวิจัยไปใช้ในการอ้างอิงเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองที่ไม่เอื้อต่อการสร้างความปรองดองในชาติได้อีกต่อไป"
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้มีการออกแถลงการณ์ดังกล่าว และหลังจากที่คณะกรรมาธิการฯ ของพรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมาธิการฯ ให้มีการประชุมเพื่อสรุปทบทวนรายงานของคณะกรรมาธิการ ซึ่งในขณะนี้ มีการหยิบข้อเสนอ เรื่องการนิรโทษกรรมคดีทั้งหมด และล้มคดี คตส. ไปลงมติด้วยวิธีการส่งแบบสอบถาม และนำผลไปสรุปเป็นข้อเสนอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการนิรโทษกรรมคดีทุกคดี ล้มคดี คตส. โดยไม่มีการนำคดีมาดำเนินการใหม่ ล่าสุดมีการแจ้งมายังกรรมาธิการฯ ว่า จะไม่มีการประชุมอีก และ นายชวลิต วิชยสุทธิ์ เลขานุการ คณะกรรมาธิการ บอกเพียงว่า จะนำตัวเลขจากแบบสอบถามออกจากรายงาน ซึ่งน่าจะหมายความ ข้อเสนอ และข้อสรุป ในรายงานของคณะกรรมาธิการ จะยังคงเหมือนเดิม สอดคล้องกับที่นายกรัฐมนตรี กล่าวรับลูกว่าจะให้ปัญหาการปรองดองยุติที่สภาฯ
ผมเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า รศ.วุฒิสาร และคณะ มีความตั้งใจดีที่จะร่วมหาทางออกให้แก่บ้านเมือง แต่อาจลืมมองถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่า หากคณะผู้วิจัยปล่อยให้มีการนำงานวิจัยนี้เข้าสู่สภาฯ จนนำไปสู่การลงมติ ย่อมสายเกินกว่าที่จะถอนรายงานวิจัยออกมา และเมื่อถึงเวลานั้นแม้คณะผู้วิจัยจะอ้างว่าได้ทำข้อโต้แย้งเป็นลายลักษณ์อักษร ไปยังกรรมาธิการฯ แล้ว ก็คงไม่สามารถหนีสภาพที่ต้องตกเป็นจำเลยร่วมกับเสียงข้างมาก ที่กำลังลากความปรองดองไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ได้
ในฐานะที่ผมเป็นกรรมการ สภาสถาบันพระปกเกล้า และเป็นหนึ่งในผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะผู้วิจัยกรุณามาสัมภาษณ์ถามความเห็น เกี่ยวกับแนวทางปรองดอง ผมมีข้อเสนอ มายังผู้เกี่ยวข้องดังนี้
ข้อเสนอคือคณะผู้วิจัย
ถอนรายงานวิจัยออกจากคณะกรรมาธิการฯ ทันที เพื่อดำเนินการยืนยันตามเจตนารมณ์ของคณะผู้วิจัยที่ได้ประกาศไว้ และทบทวนรายงานในประเด็นดังต่อไปนี้
1. กรณี ข้อเท็จจริง เมื่อคณะผู้วิจัยเสนอให้การตรวจสอบข้อเท็จจริงของ คอป. และเสริมความเขื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการปรองดอง ก็ควรจะเริ่มต้นจากคณะผู้วิจัยเอง ที่ควรนำเอาข้อสรุปของ คอป. เกี่ยวกับต้นตอของวิกฤติ คือ คดีซุกหุ้น พ.ต.ท. ทักษิณมาเป็นส่วนหนึ่งของรายงาน แทนการเขียนถึงเรื่องนี้เพียง 2-3 ประโยค ในลักษณะที่สวนทางกับข้อสรุปของ คอป. นอกจากนั้นยังสมควรเอาคำพิพากษาของศาลในหลายๆ คดีที่เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรง การเผาศาลากลาง และสถานที่สำคัญ มาบรรจุไว้ มิใช่กล่าวลอยๆ ว่าขณะนี้ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันว่าอะไรเกิดขึ้นในช่วงเดือน เม.ย. – พ.ค. ปี 2553
2. ทบทวนข้อเสนอที่สุดโต่ง และนำมาสู่ความขัดแย้ง คือการยกเลิกคดี คตส. ทั้งหมด และห้ามไม่ให้มีการนำมาพิจารณาใหม่ ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ของผู้ต้องการหลุดคดี และเป็นการเสนอโดยกลุ่มคนดังกล่าวโดยคณะผู้วิจัยก็ยอมรับว่าเป็นข้อเสนอที่จะทำให้ “การสร้างความปรองดองเป็นไปได้ยาก เพราะบางกลุ่มเห็นว่าถ้ากระทำผิดยังลอยนวล ไม่มีการพิสูจน์ข้อกล่าวหาว่ากระทำผิดหรือไม่” ขณะที่คณะผู้วิจัยกลับไม่ยอมรับข้อเสนอของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนมากที่ไม่มีส่วน ได้เสียในคดีที่ให้คดี คตส. เดินหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่อไป โดยอ้างว่าไม่ตอบโจทย์การปรองดอง
หากไม่มีการทบทวนเรื่องนี้ รัฐบาลก็จะหยิบทางเลือกนี้ไปเริ่มดำเนินการตามรายงานของกรรมาธิการ ทำให้กระบวนการปรองดองถูกแปรเป็นการตอบโจทย์ผู้กระทำความผิด โดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรมกับความถูกต้องของบ้านเมือง ไปสู่สภาพ “ความยุติธรรมของผู้ชนะ” เช่นเดียวกับข้อเสนอนิรโทษกรรมที่คุณนิชา ธุวธรรม ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553 ระบุว่า
"ได้อ่านรายงานของคณะผู้วิจัยหลายครั้ง พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเราเหมือนกับคณะผู้วิจัยบอกไว้ ท่านตั้งธงว่าเป็นรายงานที่จะนำไปสู่ความปรองดอง และไม่ต้องการให้เกิดการเสียชีวิตขึ้นมาอีก หรือต้องการความรุนแรงอีก เป็นรายงานที่เกิดจากความรู้สึกของคนที่สูญเสีย แต่เราอ่านรายงานฉบับนี้แล้ว ยอมรับได้ยาก แต่ถ้าเป็นคนอ่านที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้พ้นจากความผิด รายงานฉบับนี้ตอบโจทย์ มีหลายประเด็นที่ขัดแย้งกันเอง ในเรื่องตรรกะรวมถึงปรัชญาที่รายงานนำมาใช้อ้างอิง"
1. คณะผู้วิจัยควรใช้โอกาสการทบทวนนี้ประสานกับ คอป. ซึ่งกำลังทำรายงานฉบับที่ 3 ส่งให้รัฐบาลภายในสิ้นเดือนนี้ เพื่อนำมาประกอบการวิจัย เพราะแม้แต่นายคณิต ณ นคร ประธาน คอป. ยังให้ความเห็นว่า
"ผมคงไม่บังอาจไปวิจารณ์ กมธ.ปรองดอง เพราะเป็นการเมืองแต่ คอป.เป็นงานวิชาการเพื่อความปรองดองทุกด้าน เป็นการทำงานคนละบทบาท แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่า ในข้อเสนอต่างๆ ของ กมธ.ปรองดองไม่ปรากฏข้อเสนอแนะของ คอป.อยู่เลย จึงสงสัยว่า คอป.ทำงานไม่ดีหรืออย่างไร และการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ 47 คน ของสถาบันพระปกเกล้า ใช้เทียบเคียงกับงานสำรวจความคิดเห็นได้หรือไม่ เพราะมองว่าสัดส่วนน้อยมาก"
ผมจึงเรียกร้อง ให้คณะผู้วิจัยถอนรายงานที่กำลังถูกบิดเบือนไปใช้เพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม ซึ่งจะสร้างความขัดแย้ง และทำลายความถูกต้องในบ้านเมือง อันจะส่งผลให้คณะผู้วิจัยและสถาบันพระปกเกล้าถูกครหาว่าเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องการกระทำเช่นนี้ด้วย
ข้อเสนอถึงประธานและเลขานุการกรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า
ผมเรียกร้องให้มีการเรียกประชุมคณะกรรมการสภาฯ โดยด่วน เพื่อพิจารณาปัญหาทั้งหมดนี้ เพราะกรรมการสภาฯ เป็นผู้อนุมัติให้มีการจัดทำงานวิจัยนี้ จึงหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบไม่ได้ การประชุมเพื่อการกำหนดท่าทีที่ชัดเจน จะเป็นการปกป้องชื่อเสียงของสถาบันฯ
ข้อเสนอถึงประธานคณะกรรมาธิการฯ
ผมเรียกร้องให้มีการเรียกประชุมคณะกรรมาธิการฯ โดยด่วน เพราะการไม่เรียกการประชุมในขณะนี้เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการปล่อยให้รายงานของคณะกรรมาธิการฯ เขียนโดยกรรมาธิการคนเดียวหรือกลุ่มเดียว ทั้งๆ ที่มีการทักท้วงจากกรรมาธิการอีกจำนวนหนึ่ง
หากปล่อยไปเช่นนี้ ประธานคณะกรรมาธิการฯ จะต้องรับผิดชอบกับกระบวนการบิดเบือนข้อเสนอของผู้วิจัย และการสร้างความขัดแย้งในสังคมรอบใหม่ ทั้งๆ ที่การเข้ามาเป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ ในครั้งนี้ ต้องการเข้ามาแก้ไขความขัดแย้ง ที่ตนมีส่วนร่วมในการสร้างขึ้นด้วย
ขณะนี้ความสำเร็จเรื่องการปรองดอง แขวนอยู่บนเส้นด้าย รายงานของคณะผู้วิจัย สามารถนำไปใช้เป็นจุดเริ่มต้น ในการหาข้อยุติร่วมกัน เพื่อสร้างความปรองดองได้ จะเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก หากรายงานชิ้นนี้ ต้องกลายเป็นเพียงเครื่องมือของผู้มีอำนาจ ในการฉกฉวยผลประโยชน์ และสร้างความขัดแย้งรอบใหม่ ส่งผลให้ความหวังของสังคมในเรื่องการปรองดองต้องล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง
ผมจึงหวังว่าข้อเสนอในจดหมายฉบับนี้เพื่อให้กระบวนการปรองดองเดินหน้าต่อไปได้ จะได้รับการพิจารณาด้วยดี จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง.
ไทยรัฐ
วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555
บ.ลูกหนี้นายกฯหายล่องหนจากตึกเอ็มลิงค์
บ.ลูกหนี้นายกฯหายล่องหนจากตึกเอ็มลิงค์–คนในปูดตัดขาดสามีนอกสมรส“ปู”นานแล้ว : สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org)
ชักพิกล!บ.แอ็ด อิเด็กซ์ “ลูกหนี้”นายกฯหายล่องหนจากตึกเอ็มลิงค์ นักข่าว“อิศรา”บุกพิสูจน์ไม่พบที่ตั้ง ป้ายชื่อตามแจ้งข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า-เปิดคลิปคนในปูดตัดขาด“อนุสรณ์ อมรฉัตร”สามีนอกสมรสนานแล้ว
อีกข้อมูลหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าการที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ระบุมี “เงินให้กู้ยืม” 2 รายการรวม 110,301,369.86 บาท ปรากฏว่า 1 ใน 2 รายการเป็น บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด (มีนายอนุสรณ์ อมรฉัตร สามีนอกสมรสและเครือญาติถือหุ้นใหญ่) มีเงื่อนงำหรือไม่? ก็คือไม่พบบริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด ซึ่งมีสถานะ “ลูกหนี้”ของนายกรัฐมนตรี ตั้งอยู่ในชั้น 5 ของตึกเอ็มลิงค์ตตาม ที่แจ้งข้อมูลไว้ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2555 ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้เดินทางไปยังบริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ คือ เลขที่ 73 อาคารเอ็มลิงค์ ชั้น 5 ซอยสุขุมวิท 62 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ พบว่า อาคารดังกล่าวเป็นสถานที่ตั้งของ บริษัท เอ็ม ลิงค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน ) ที่มีนางมณฑาทิพย์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท
..อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า บริเวณพื้นที่ชั้น 5 อาคารเอ็มลิงค์ เป็นสถานที่ตั้งบริษัท พอร์ทัลเน็ท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัท เอ็ม ลิงค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน ) ไม่ปรากฏป้ายชื่อบริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ แต่อย่างใด
ภายหลังแจ้งข้อมูลกับเจ้าหน้าที่นั่งทำงานในชั้น 5 รายหนึ่ง ว่า ต้องการมาพบนายอนุสรณ์ ได้รับแจ้งว่าขอให้ไปติดต่อที่ชั้น 3 ซึ่งเป็นสถานที่ทำงานของผู้บริหาร ซึ่งนายอนุสรณ์ นั่งทำงานอยู่ที่นั้น
เมื่อผู้สื่อข่าวได้ไปสอบถามข้อมูลที่ชั้น 3 ตามคำแนะนำ ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่รายหนึ่ง ว่า นายอนุสรณ์ ไม่ได้ทำงานที่บริษัท เอ็ม ลิงค์ อีกแล้ว
“ไม่สามารถให้ข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับบริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด ร่วมถึงนายอนุสรณ์ อมรฉัตร ได้ เนื่องจากนายอนุสรณ์ ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท เอ็ม ลิงค์ ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาแล้ว”
เมื่อถามว่า จะสามารถติดนายอนุสรณ์ได้อย่างไร พนักงานบริษัทรายนี้ ระบุว่า “ไม่มีใครสามารถติดต่อกับคุณอนุสรณ์ได้ คุณอนุสรณ์ ไม่ได้เข้ามาที่นี้นานแล้ว และไม่แน่ใจว่าคุณอนุสรณ์ จะให้ข้อมูลอะไรได้หรือเปล่า ”
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า บริษัท พอร์ทัลเน็ท จำกัด จดทะเบียนวันที่ 24 มกราคม 2543 ทุน 100 ล้านบาท ระบุที่ตั้ง 73 อาคารเอ็มลิงค์ ชั้น 5 ซอยสุขุมวิท 62 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ประกอบธุรกิจประมูลงานเพื่อรับจ้างทำของให้แก่หน่วยงานรัฐและเอกชน ปรากฏชื่อ นางมณฑาทิพย์ ชินวัตร นางสาวผาณิต วงศ์นาถ นายพิเชษฐ์ บุญยภักดี เป็นกรรมการผู้มีอำนาจบริษัท
มีผู้ถือหุ้น 4 ราย ประกอบไปด้วย 1.บริษัท เอ็ม ลิงค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 99.9940% 2.นางมณฑาทิพย์ ชินวัตร 0.004% 3.นางสาว ผาณิต วงศ์นาถ 0.0010% 4.นาย สมชัย โกวิทเจริญกุล 0.0010%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเดินทางไปตรวจสอบข้อมูลที่อาคารเอ็มลิงค์ ครั้งนี้ ยังได้พบเห็น นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ภริยาอดีตนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และน้องสาวคนรองของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตกรรมการบริษัทพรรคไทยรักไทย หนึ่งในสมาชิกบ้าน 111 ซึ่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ในฐานะผู้ก่อตั้ง บริษัท เอ็ม ลิงค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด เข้ามาที่บริษัท เอ็ม ลิงค์ฯ ด้วย โดยพนักงานบริษัทแห่งนี้ ยังคงเรียกใช้คำเรียก นางเยาวภาว่า “นาย” อยู่ตลอด
ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในหนังสือรับรองจัดตั้งบริษัทที่ยื่อเอกสารเพิ่มปี 2554 บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด ได้แจ้งเพิ่มสำนักงานสาขา 2 แห่ง แห่งแรก เลขที่ 200 หมู่ที่ 7 ถนนบาง- ตราด ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ แห่งที่สอง เลขที่ 61/1 หมู่ ที่ 7 ถนนบาง- ตราด ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ โดยไม่ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ (อาคารเอ็มลิงค์) ซึ่งสำนักข่าวอิศราจะรายงานความคืบหน้าต่อไป
..........
(หมายเหตุ : บ.ลูกหนี้นายกฯหายล่องหนจากตึกเอ็มลิงค์–คนในปูดตัดขาดสามีนอกสมรส“ปู”นานแล้ว : สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org/)
วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555
เสนอปลดแอก มท.ตั้ง “สภาปกครองท้องถิ่น”- ปชช.ถอดถอนผู้บริหาร อปท.ได้
. เขียนโดย กสานต์ คำสวัสดิ์ ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน สำนักข่าวอิศรา
คกก.ปฏิรูป กม. เสนอร่าง กม.ท้องถิ่น ให้ประชาชนมีอำนาจถอดถอนผู้บริหาร อปท.จริง เสนอตั้ง “สภาปกครองท้องถิ่น” ปลดล็อค มท.ขึ้นตรงนายกฯ เก็บภาษีเองเพื่อพัฒนาพื้นที่เต็มร้อย
วันที่ 22 มี.ค.55 ที่โรงแรมทีเคพาเลซ กรุงเทพฯ คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย ด้านการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดย ผศ.ดร.อรทัย ก๊กผล สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะกรรมการคณะกรรมการฯ นำเสนอร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกล่าวว่ามุ่งเน้นให้ประชาชนมีอำนาจถอดถอนสภาฯและผู้บริหารท้องถิ่นได้ทั้งนี้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 285-287
ทั้งนี้รัฐธรรมนูญระบุว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งองค์กรปกครองถิ่นมีสิทธิ์ลงคะแนนถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นได้ โดยการเข้าชื่อออกบทบัญญัติท้องถิ่น และร้องขอให้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น จัดทำประชามติ แต่ปัญหาคือบทบัญญัติดังกล่าวไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ และบางเรื่องไม่เหมาะสม จึงต้องมีการบัญญัติใหม่โดยเฉพาะมาตรา 287 เรื่องการถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นนั้นจำเป็นต้องผลักดันให้เป็นจริง
“การกระจายอำนาจที่เป็นจริงประชาชนต้องมีส่วนร่วมทุกกระบวนการ องค์กรท้องถิ่นต้องกำหนดวิธีการและช่องทางให้ อย่างน้อยต้องเปิดโอกาสเรื่องการจัดทำแผนพัฒนา ทำงบประมาณ การประชุมสภา กำหนดหลักเกณฑ์ประเมินภาษี การกระทำที่เกิดผลกระทบต่อประชาชนอย่างรุนแรง รวมทั้งการมีส่วนได้ส่วนเสียของชุมชน ซึ่งกฎหมายฉบับใหม่ที่เสนอนี้ได้ผลักดันไปยังคณะกรรมการกระจายอำนาจแล้ว ซึ่งมาตรา 287 เป็นเรื่องใหม่ ระบุรายละเอียดการยื่นถอดถอนชัดเจน จะมีการเร่งรัดต่อไป” ผศ.ดร.อรทัย กล่าว .
ด้าน ศ.อุดม ทุมโฆสิต อาจารย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในฐานะกรรมการคณะกรรมการฯ เสนอให้มีการจัดตั้งสภาปกครองท้องถิ่นแห่งชาติ (ส.ท.ช.) โดยเป็นไปตามร่าง พ.ร.บ.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่คณะกรรมการฯเสนอ เพื่อผลักดันให้การปกครองท้องถิ่นเข้มแข็ง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยปลดแอกจากกระทรวงมหาดไทย ให้ ส.ท.ช.เป็นองค์กรสูงสุดด้านการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของชาติ และบูรณาการการปกครองท้องถิ่นให้สอดคล้องกับส่วนกลาง และให้สำนักงาน ส.ท.ช.เป็นนิติบุคคล ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีโดยตรง
ทั้งนี้กรรมการสภาปกครองท้องถิ่นฯจะประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการฯ มีกรรมการโดยตำแหน่งคือรัฐมนตรีว่าการ(รมว.)กระทรวงมหาดไทย,รมว.กระทรวงการคลัง ,รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,รมว.กระทรวงศึกษาธิการ,รมว.กระทรวงสาธารณสุข ,รมว.กระทรวงคมนาคม ,รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ, รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ, เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, เลขาธิการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) 2คน, ผู้แทนเทศบาล 3 คน,ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต). 6 คน และผู้แทนองค์กรท้องถิ่นรูปแบบอื่น 1 คน และมีผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คน
“การกำกับดูแลโดยมหาดไทย ทำให้กระจายอำนาจไม่เป็นจริง จึงจำเป็นต้องออกจากวังวนอำนาจส่วนกลาง รวมทั้งเรื่องการจัดเก็บรายได้ที่ทำให้องค์กรท้องถิ่นมีอิสระซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของเงิน รู้สึกอยากเสียภาษีเพราะภาษีเพราะที่จ่ายไปจะกลับมาหาเขาโดยตรง ไม่ใช่รอรับจากรัฐบาล” ศ.อุดม ทุมโฆสิต กล่าว
นายวรยุทธ ช่วยณรงค์ อนุกรรมการป้องกันการทุจริตด้านการเมืองการปกครอง คณะกรรมการป้องการและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่าที่ผ่านมาองค์กรท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของข้าราชการ จึงไม่ตอบสนองประชาชน การมี ส.ท.ช.ทำให้บทบาทท้องถิ่นครอบคลุมงานทุกกระทรวง ทำให้ท้องถิ่นเป็นกลไกแก้ปัญหาประชาชนจริงๆ
เช่น การจัดเก็บรายได้ซึ่งปัจจุบันท้องถิ่นเก็บเอง 10 % นอกเหนือจากนั้นมีการจัดเก็บจากส่วนกลาง แต่ถ้าให้ท้องถิ่นจัดเก็บเองทั้งหมด ประชาชนจะรับรู้ที่มาที่ไปของเงิน ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมตรวจสอบองค์กรท้องถิ่นให้โปร่งใสโดยประชาชนในท้องถิ่นในฐานะเจ้าของเงิน
“องค์กรท้องถิ่นก็จะนำเงินไปใช้สุรุ่ยสุร่ายไม่ได้อีกแล้ว เพราะประชาชนจะตื่นตัวมากขึ้นในการกำกับดูแล ตรงนี้เป็นการลดอำนาจภาครัฐ เพิ่มอำนาจตรวจสอบให้ประชาชน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาทุจริตคอรับชั่นได้ด้วย” นายวรยุทธ กล่าว .
คกก.ปฏิรูป กม. เสนอร่าง กม.ท้องถิ่น ให้ประชาชนมีอำนาจถอดถอนผู้บริหาร อปท.จริง เสนอตั้ง “สภาปกครองท้องถิ่น” ปลดล็อค มท.ขึ้นตรงนายกฯ เก็บภาษีเองเพื่อพัฒนาพื้นที่เต็มร้อย
วันที่ 22 มี.ค.55 ที่โรงแรมทีเคพาเลซ กรุงเทพฯ คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย ด้านการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดย ผศ.ดร.อรทัย ก๊กผล สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะกรรมการคณะกรรมการฯ นำเสนอร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกล่าวว่ามุ่งเน้นให้ประชาชนมีอำนาจถอดถอนสภาฯและผู้บริหารท้องถิ่นได้ทั้งนี้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 285-287
ทั้งนี้รัฐธรรมนูญระบุว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งองค์กรปกครองถิ่นมีสิทธิ์ลงคะแนนถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นได้ โดยการเข้าชื่อออกบทบัญญัติท้องถิ่น และร้องขอให้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น จัดทำประชามติ แต่ปัญหาคือบทบัญญัติดังกล่าวไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ และบางเรื่องไม่เหมาะสม จึงต้องมีการบัญญัติใหม่โดยเฉพาะมาตรา 287 เรื่องการถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นนั้นจำเป็นต้องผลักดันให้เป็นจริง
“การกระจายอำนาจที่เป็นจริงประชาชนต้องมีส่วนร่วมทุกกระบวนการ องค์กรท้องถิ่นต้องกำหนดวิธีการและช่องทางให้ อย่างน้อยต้องเปิดโอกาสเรื่องการจัดทำแผนพัฒนา ทำงบประมาณ การประชุมสภา กำหนดหลักเกณฑ์ประเมินภาษี การกระทำที่เกิดผลกระทบต่อประชาชนอย่างรุนแรง รวมทั้งการมีส่วนได้ส่วนเสียของชุมชน ซึ่งกฎหมายฉบับใหม่ที่เสนอนี้ได้ผลักดันไปยังคณะกรรมการกระจายอำนาจแล้ว ซึ่งมาตรา 287 เป็นเรื่องใหม่ ระบุรายละเอียดการยื่นถอดถอนชัดเจน จะมีการเร่งรัดต่อไป” ผศ.ดร.อรทัย กล่าว .
ด้าน ศ.อุดม ทุมโฆสิต อาจารย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในฐานะกรรมการคณะกรรมการฯ เสนอให้มีการจัดตั้งสภาปกครองท้องถิ่นแห่งชาติ (ส.ท.ช.) โดยเป็นไปตามร่าง พ.ร.บ.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่คณะกรรมการฯเสนอ เพื่อผลักดันให้การปกครองท้องถิ่นเข้มแข็ง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยปลดแอกจากกระทรวงมหาดไทย ให้ ส.ท.ช.เป็นองค์กรสูงสุดด้านการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของชาติ และบูรณาการการปกครองท้องถิ่นให้สอดคล้องกับส่วนกลาง และให้สำนักงาน ส.ท.ช.เป็นนิติบุคคล ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีโดยตรง
ทั้งนี้กรรมการสภาปกครองท้องถิ่นฯจะประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการฯ มีกรรมการโดยตำแหน่งคือรัฐมนตรีว่าการ(รมว.)กระทรวงมหาดไทย,รมว.กระทรวงการคลัง ,รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,รมว.กระทรวงศึกษาธิการ,รมว.กระทรวงสาธารณสุข ,รมว.กระทรวงคมนาคม ,รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ, รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ, เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, เลขาธิการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) 2คน, ผู้แทนเทศบาล 3 คน,ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต). 6 คน และผู้แทนองค์กรท้องถิ่นรูปแบบอื่น 1 คน และมีผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คน
“การกำกับดูแลโดยมหาดไทย ทำให้กระจายอำนาจไม่เป็นจริง จึงจำเป็นต้องออกจากวังวนอำนาจส่วนกลาง รวมทั้งเรื่องการจัดเก็บรายได้ที่ทำให้องค์กรท้องถิ่นมีอิสระซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของเงิน รู้สึกอยากเสียภาษีเพราะภาษีเพราะที่จ่ายไปจะกลับมาหาเขาโดยตรง ไม่ใช่รอรับจากรัฐบาล” ศ.อุดม ทุมโฆสิต กล่าว
นายวรยุทธ ช่วยณรงค์ อนุกรรมการป้องกันการทุจริตด้านการเมืองการปกครอง คณะกรรมการป้องการและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่าที่ผ่านมาองค์กรท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของข้าราชการ จึงไม่ตอบสนองประชาชน การมี ส.ท.ช.ทำให้บทบาทท้องถิ่นครอบคลุมงานทุกกระทรวง ทำให้ท้องถิ่นเป็นกลไกแก้ปัญหาประชาชนจริงๆ
เช่น การจัดเก็บรายได้ซึ่งปัจจุบันท้องถิ่นเก็บเอง 10 % นอกเหนือจากนั้นมีการจัดเก็บจากส่วนกลาง แต่ถ้าให้ท้องถิ่นจัดเก็บเองทั้งหมด ประชาชนจะรับรู้ที่มาที่ไปของเงิน ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมตรวจสอบองค์กรท้องถิ่นให้โปร่งใสโดยประชาชนในท้องถิ่นในฐานะเจ้าของเงิน
“องค์กรท้องถิ่นก็จะนำเงินไปใช้สุรุ่ยสุร่ายไม่ได้อีกแล้ว เพราะประชาชนจะตื่นตัวมากขึ้นในการกำกับดูแล ตรงนี้เป็นการลดอำนาจภาครัฐ เพิ่มอำนาจตรวจสอบให้ประชาชน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาทุจริตคอรับชั่นได้ด้วย” นายวรยุทธ กล่าว .
วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555
จากฟูจิโมริกับทักษิณถึงลูกฟูจิโมริกับน้องทักษิณ
ข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์แนวหน้า
สองตระกูลนี้ ไม่รู้ใครเลียนแบบใคร และไม่รู้จะมีพฤติกรรมแนวเดียวกันไปถึงชาติไหน
นั่นก็คือ พวกของ "ทักษิณ ชินวัตร" กับพวกของ "ฟูจิโมริ" แห่งประเทศเปรู
1) นายฟูจิโมริ อดีตประธานาธิบดี ประเทศเปรู กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ประเทศไทย มีความคล้ายคลึงกันอยู่หลายอย่าง หนึ่งในนั้น คือ การเป็นนักการเมืองที่เคยใช้อำนาจรัฐสร้างคะแนนนิยมทางการเมืองในหมู่ประชาชน ก่อนจะทำการฉ้อฉล กระทำผิดกฎหมายบ้านเมือง กระทั่งถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก หลบหนีอยู่นอกประเทศ
แต่ในความเหมือนนั้น ก็มีความต่าง
สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกัน คือ ขณะนี้ นายฟูจิโมริได้ถูกจับกุมตัว ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน กลับเข้าไปรับกรรม รับโทษ อยู่ในคุกของประเทศเปรูแล้ว แต่ฝ่ายทักษิณยังอยู่ระหว่างหลบหนีคดี หนีโทษจำคุกที่ศาลฎีกาฯ ได้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดไปแล้ว
2) คดีแรกที่นายฟูจิโมริ ถูกศาลเปรูพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 6 ปี คือความผิดในฐานสั่งการให้ลูกน้องบุกบ้านของผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง เพื่อขโมยเอกสารและวิดีโอบันทึกภาพการคอร์รัปชั่นในยุครัฐบาลของเขา
พูดง่ายๆ ว่า ผิดในฐานใช้ลูกน้องเป็นเครื่องมือไปกระทำผิด
นอกจากคดีดังกล่าวแล้ว ฟูจิโมริยังความผิดอีกหลายกระทง เช่น คดีที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน สั่งการให้กองกำลังสังหารประชาชนกว่า 25 คน คดีนี้ ล่าสุด ศาลเปรูพิพากษาแล้ว สั่งให้จำคุก 25 ปี
ส่วนทักษิณถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิด คดีถึงที่สุดไปแล้ว 2 กรณี ได้แก่คดีที่ดินรัชดาฯ กระทำผิดกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ให้ภรรยาเข้ามาประมูลซื้อที่ดินรัฐที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของตน ทำให้รัฐเสียหาย และคดีร่ำรวยผิดปกติ ได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบ ออกมาตรการรัฐเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตนเอง จึงถูกยึดกลับเป็นของแผ่นดิน 46,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ทักษิณก็ยังถูกกล่าวหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน การฆ่าตัดตอน การทุจริตคอรัปชั่นมโหฬาร การใช้อำนาจโดยมิชอบ เอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจพวกพ้อง ฯลฯ
3) ก่อนจะถูกจับมาขึ้นศาล และเข้าคุก นายฟูจิโมริก็เคยหลบหนีอยู่นอกประเทศ และใช้วิธีแก้ตัวผ่านสื่อมวลชน สร้างภาพว่าตนเองเป็นผู้บริสุทธิ์ ถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง
ทักษิณก็อ้างเหมือนกัน
แต่ทักษิณสุดๆ ยิ่งกว่า
เพราะทักษิณถึงขั้นปลุกระดมผู้คน พูดจาใส่ใส่ร้ายป้ายสีสถาบันเบื้องสูง ก่อเหตุ ก่อการ
ในที่สุด ก็เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในประเทศไทย มีการเผาบ้านเผาเมือง ก่อการร้ายในบ้านเมือง
ถ้าจะพูดให้เข้ากระแส ก็ต้องบอกว่า นายฟูจิโมริกลับบ้านแล้ว แต่ทักษิณ ชินวัตร ยังไม่ยอมกลับบ้าน!
4) น่าอัศจรรย์ใจที่สุด...
เมื่อนางเคอิโกะ ฟูจิโมริ ลูกสาวของนายฟูจิโมริ ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเปรู ซึ่งกำลังจะมีการเลือกตั้งรอบสอง ในวันที่ 5 มิถุนายน 2554 นี้ เธอประกาศว่า หากชนะเลือกตั้ง จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมฟูจิโมริ ที่กำลังติดคุกในข้อหาคอร์รัปชั่นและกฎหมายอาญา
ปรากฏว่า ที่ประเทศไทยของเรา... พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่หลบหนีคดีความและโทษจำคุกอยู่ต่างประเทศ ได้ประกาศผลักดันน้องสาวของตนลงสนามเลือกตั้ง เพื่อแย่งชิงอำนาจรัฐ
มีการประกาศว่า หากชนะเลือกตั้งจะทำการนิรโทษกรรม ลบล้างคดีความผิดทั้งหลายทั้งปวงให้กับทักษิณ ชินวัตร
โดยชูสโลแกน "ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ" และ "พาทักษิณกลับบ้าน"
เหมือนกันอย่างกับลอกข้อสอบ
5) แต่ที่แตกต่างกันบ้าง คือ
หนึ่ง ฟูจิโมริอาศัยลูกสาว แต่ทักษิณอาศัยน้องสาวและลูกจ้าง
สอง ฟูจิโมริกลับมาติดคุกแล้ว แต่ทักษิณยังลอยนวล หลบหนีอยู่นอกประเทศ และก่อการเคลื่อนไหวทางการการเมืองอยู่เป็นระยะๆ
เพราะฉะนั้น น้องสาวของทักษิณและพลพรรคลูกจ้างของทักษิณ จึงงัดสโลแกน "พาทักษิณกลับบ้าน" ออกมา หวังจะเรียกร้องความเห็นใจ ขอคะแนนสงสารจากประชาชน
ทั้งๆ ที่ ประเทศเปรู มีตัวอย่างฟูจิโมริ "กลับบ้านโดยไม่ต้องเดือดร้อนประชาชน"
"กลับบ้านโดยไม่ต้องทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย หรือเสียโอกาสพัฒนาประเทศ"
คือ กลับมาติดคุก และต่อสู้คดีในศาล
ไม่เหมือนทักษิณที่กำลังจะฉวยโอกาสเลือกตั้ง ฟอกความผิดของตนเอง และบ่อนทำลายระบบศาลยุติธรรมของบ้านเมือง
ก็ไม่รู้ว่า... ภารกิจแหกคุกช่วยพ่อ กับ ล้มล้างความผิดช่วยพี่ อย่างไหนจะสร้างตราบาปให้กับประเทศชาติได้มากกว่ากัน!
สารส้ม
สองตระกูลนี้ ไม่รู้ใครเลียนแบบใคร และไม่รู้จะมีพฤติกรรมแนวเดียวกันไปถึงชาติไหน
นั่นก็คือ พวกของ "ทักษิณ ชินวัตร" กับพวกของ "ฟูจิโมริ" แห่งประเทศเปรู
1) นายฟูจิโมริ อดีตประธานาธิบดี ประเทศเปรู กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ประเทศไทย มีความคล้ายคลึงกันอยู่หลายอย่าง หนึ่งในนั้น คือ การเป็นนักการเมืองที่เคยใช้อำนาจรัฐสร้างคะแนนนิยมทางการเมืองในหมู่ประชาชน ก่อนจะทำการฉ้อฉล กระทำผิดกฎหมายบ้านเมือง กระทั่งถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก หลบหนีอยู่นอกประเทศ
แต่ในความเหมือนนั้น ก็มีความต่าง
สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกัน คือ ขณะนี้ นายฟูจิโมริได้ถูกจับกุมตัว ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน กลับเข้าไปรับกรรม รับโทษ อยู่ในคุกของประเทศเปรูแล้ว แต่ฝ่ายทักษิณยังอยู่ระหว่างหลบหนีคดี หนีโทษจำคุกที่ศาลฎีกาฯ ได้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดไปแล้ว
2) คดีแรกที่นายฟูจิโมริ ถูกศาลเปรูพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 6 ปี คือความผิดในฐานสั่งการให้ลูกน้องบุกบ้านของผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง เพื่อขโมยเอกสารและวิดีโอบันทึกภาพการคอร์รัปชั่นในยุครัฐบาลของเขา
พูดง่ายๆ ว่า ผิดในฐานใช้ลูกน้องเป็นเครื่องมือไปกระทำผิด
นอกจากคดีดังกล่าวแล้ว ฟูจิโมริยังความผิดอีกหลายกระทง เช่น คดีที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน สั่งการให้กองกำลังสังหารประชาชนกว่า 25 คน คดีนี้ ล่าสุด ศาลเปรูพิพากษาแล้ว สั่งให้จำคุก 25 ปี
ส่วนทักษิณถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิด คดีถึงที่สุดไปแล้ว 2 กรณี ได้แก่คดีที่ดินรัชดาฯ กระทำผิดกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ให้ภรรยาเข้ามาประมูลซื้อที่ดินรัฐที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของตน ทำให้รัฐเสียหาย และคดีร่ำรวยผิดปกติ ได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบ ออกมาตรการรัฐเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตนเอง จึงถูกยึดกลับเป็นของแผ่นดิน 46,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ทักษิณก็ยังถูกกล่าวหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน การฆ่าตัดตอน การทุจริตคอรัปชั่นมโหฬาร การใช้อำนาจโดยมิชอบ เอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจพวกพ้อง ฯลฯ
3) ก่อนจะถูกจับมาขึ้นศาล และเข้าคุก นายฟูจิโมริก็เคยหลบหนีอยู่นอกประเทศ และใช้วิธีแก้ตัวผ่านสื่อมวลชน สร้างภาพว่าตนเองเป็นผู้บริสุทธิ์ ถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง
ทักษิณก็อ้างเหมือนกัน
แต่ทักษิณสุดๆ ยิ่งกว่า
เพราะทักษิณถึงขั้นปลุกระดมผู้คน พูดจาใส่ใส่ร้ายป้ายสีสถาบันเบื้องสูง ก่อเหตุ ก่อการ
ในที่สุด ก็เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในประเทศไทย มีการเผาบ้านเผาเมือง ก่อการร้ายในบ้านเมือง
ถ้าจะพูดให้เข้ากระแส ก็ต้องบอกว่า นายฟูจิโมริกลับบ้านแล้ว แต่ทักษิณ ชินวัตร ยังไม่ยอมกลับบ้าน!
4) น่าอัศจรรย์ใจที่สุด...
เมื่อนางเคอิโกะ ฟูจิโมริ ลูกสาวของนายฟูจิโมริ ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเปรู ซึ่งกำลังจะมีการเลือกตั้งรอบสอง ในวันที่ 5 มิถุนายน 2554 นี้ เธอประกาศว่า หากชนะเลือกตั้ง จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมฟูจิโมริ ที่กำลังติดคุกในข้อหาคอร์รัปชั่นและกฎหมายอาญา
ปรากฏว่า ที่ประเทศไทยของเรา... พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่หลบหนีคดีความและโทษจำคุกอยู่ต่างประเทศ ได้ประกาศผลักดันน้องสาวของตนลงสนามเลือกตั้ง เพื่อแย่งชิงอำนาจรัฐ
มีการประกาศว่า หากชนะเลือกตั้งจะทำการนิรโทษกรรม ลบล้างคดีความผิดทั้งหลายทั้งปวงให้กับทักษิณ ชินวัตร
โดยชูสโลแกน "ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ" และ "พาทักษิณกลับบ้าน"
เหมือนกันอย่างกับลอกข้อสอบ
5) แต่ที่แตกต่างกันบ้าง คือ
หนึ่ง ฟูจิโมริอาศัยลูกสาว แต่ทักษิณอาศัยน้องสาวและลูกจ้าง
สอง ฟูจิโมริกลับมาติดคุกแล้ว แต่ทักษิณยังลอยนวล หลบหนีอยู่นอกประเทศ และก่อการเคลื่อนไหวทางการการเมืองอยู่เป็นระยะๆ
เพราะฉะนั้น น้องสาวของทักษิณและพลพรรคลูกจ้างของทักษิณ จึงงัดสโลแกน "พาทักษิณกลับบ้าน" ออกมา หวังจะเรียกร้องความเห็นใจ ขอคะแนนสงสารจากประชาชน
ทั้งๆ ที่ ประเทศเปรู มีตัวอย่างฟูจิโมริ "กลับบ้านโดยไม่ต้องเดือดร้อนประชาชน"
"กลับบ้านโดยไม่ต้องทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย หรือเสียโอกาสพัฒนาประเทศ"
คือ กลับมาติดคุก และต่อสู้คดีในศาล
ไม่เหมือนทักษิณที่กำลังจะฉวยโอกาสเลือกตั้ง ฟอกความผิดของตนเอง และบ่อนทำลายระบบศาลยุติธรรมของบ้านเมือง
ก็ไม่รู้ว่า... ภารกิจแหกคุกช่วยพ่อ กับ ล้มล้างความผิดช่วยพี่ อย่างไหนจะสร้างตราบาปให้กับประเทศชาติได้มากกว่ากัน!
สารส้ม
วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555
เปิดบทวิเคราะห์การเมืองธีรยุทธฉบับเต็ม
เปิดบทวิเคราะห์การเมืองไทย ท่ามกลางความขัดแย้ง 'ธีรยุทธ บุญมี ' ฉบับเต็ม
นายธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์การเมืองไทย ท่ามกลางความขัดแย้ง ดังนี้
1.ยุคของการเมืองปัจจุบันยุคของทักษิณ-การเมืองรากหญ้า ประชานิยม
1. การเมืองยุคของทักษิณ ช่วงเกือบ 15 ปีที่พรรคการเมืองของทักษิณชนะการเลือกตั้งทั่วไป ได้เสียงข้างมากติดต่อกัน รวมทั้งสามารถขยายฐานรากหญ้า เสื้อแดง ระดมพลไปเลือกตั้งและชุมนุมประท้วงได้อย่างกว้างขวาง สะท้อนว่าทักษิณกลายเป็น 1 ใน 3 ของผู้มีบารมีทางการเมืองในช่วงหลัง พ.ศ. 2500 ที่มีบทบาทเปลี่ยนโฉมการเมืองไทย ซึ่งได้แก่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ทักษิณจะช่วยให้การเมืองไทยดีขึ้นหรือประเทศล่มจมยังเป็นสิ่งต้องพิสูจน์อีกยาวนาน
2. เกิดการเมืองรากหญ้า-ประชานิยม วิกฤติการเมืองไทยรุนแรง เพราะการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ที่รุนแรงที่สุดคือการไม่ยอมรับการดำรงอยู่ของอีกฝ่าย เพราะมองว่าไม่ใช่ของจริง ไม่ต้องสนใจจริงจัง เช่น ฝ่ายอนุรักษ์มองว่า เสื้อแดงไม่มีตัวตนเพราะถูกจ้างมา โง่จึงถูกหลอกมา ไร้การศึกษาจึงถูกชักจูงโดยทักษิณ แต่ชาวรากหญ้าเสื้อแดงกลับมองว่า ทักษิณมีบุญคุณล้นเหลือคือ (ก) นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ช่วยผ่อนเบารายจ่ายของคนจนอย่างมาก
นอกจากแก้การเจ็บไข้ร่างกายแล้ว ยังแก้เจ็บใจที่แต่ก่อนไปสถานพยาบาลแล้วถูกดูถูกปฏิเสธ (ข) ชาวบ้านมองกองทุนและโครงการช่วยคนจนต่างๆ ว่าเป็นก้าวแรกที่มีการช่วยเหลือทางวัตถุโดยตรงและจริงจังแก่ชาวบ้าน (ค) ชาวบ้านชอบความรวดเร็วและเด็ดขาดเอาจริงเอาจังของทักษิณ โดยเฉพาะในการปราบปรามยาเสพติด (ผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่า ปัญหายาเสพติดกระทบโดยตรงต่อครอบครัวคนชั้นกลางล่าง ชั้นล่าง หรือคนจนในเขตเมืองมากกว่าที่คิด และลดลงมากในช่วงทักษิณ) ส่วนเสื้อแดงก็ไม่ยอมรับเสื้อเหลือง มองเป็นพวกไม่มีเหตุผล ความคิด เพราะคลั่ง “ชาติ” คลั่ง “เจ้า”
3. การเมืองรากหญ้ามีความสำคัญต่อประชาธิปไตย ถ้าจะมองพัฒนาการการเมืองไทยในด้านสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้ว ในช่วงราชาธิปไตยชาวบ้านไม่มีทั้งเสรีภาพและศักดิ์ศรี ต่อมาในช่วงเผด็จการทหารมีบางส่วนได้มีศักดิ์ศรีแต่ไม่มีเสรีภาพ ชนชั้นกลางในสังคมไทยเพิ่งจะมีเสรีภาพก็ในช่วงหลัง 14 ตุลาคม 2516 และชาวบ้านระดับรากหญ้าเองก็มามีเสรีภาพในการแสดงออกหลัง 19 กันยายน 2549 การเมืองรากหญ้าจึงเป็นดัชนีบ่งชี้พัฒนาการของสิทธิเสรีภาพในสังคมไทย แม้จะเป็นช่วงเริ่มต้นก็ตาม อย่างไรก็ตาม ประชานิยมน่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงในอนาคต อย่างไรก็ตาม พลังรากหญ้า เสื้อแดงมีลักษณะเฉพาะ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการชุมนุมเป็นคราวๆ ยังไม่เป็นขบวนการการเมือง ไม่มีเป้าหมายอุดมการณ์ที่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองแต่อย่างใด
2.รากเหง้าของวิกฤติ
1. เรารวมศูนย์มากเกินไป ท้ายที่สุดศูนย์กลางเอาไม่อยู่
ก่อน รัตนโกสินทร์ไทยไม่ได้ปกครองแบบรวมศูนย์เบ็ดเสร็จ มีความหลากหลายของรูปแบบการปกครอง ขนบ วัฒนธรรม เพิ่งมีการรวมศูนย์เบ็ดเสร็จทุกด้านในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยรัฐเป็นเจ้าของและผู้ใช้ทรัพยากรทุกอย่าง เชิดชูส่วนกลาง กดเหยียดของเดิม จึงเกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ความน้อยเนื้อต่ำใจในหลาย ๆ ด้านฝังลึกอยู่ เนื่องจากทุกอย่างรวมศูนย์ที่รัฐ ทั้งอำนาจและทรัพยากร ชนชั้นนำที่เข้ามามีอำนาจการเมืองล้วนหยิบฉวยใช้ประโยชน์จากรัฐทั้งสิ้น
ส่วนชาวบ้านเกือบไม่เคยได้อะไรจากรัฐ จึงตำหนิชาวบ้านเต็มที่ไม่ได้ เมื่อประเทศต้องการให้มาลงคะแนนเป็นรากฐานให้ประชาธิปไตย พวกเขาจึงถือเป็นอำนาจต่อรองในการซื้อ-ขายเสียง ขอโครงการเข้าหมู่บ้าน ชาวบ้านตื้นตันใจกับทักษิณที่ใช้ประชานิยมผันเอาเงินของรัฐไปช่วยชาว บ้านอย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง แม้ตัวเองจะไม่ยอมจ่ายแม้แต่สตางค์แดงเดียวก็ตาม
ตัวอย่างความไม่ชอบธรรมอันเนื่องมาจากการรวมศูนย์มากเกินไป ซึ่งต้องร่วมกันแก้ไข คือ
(ก) ความเหลื่อมล้ำในเรื่องรายได้ คุณภาพชีวิต อำนาจในการใช้และควบคุมทรัพยากรพื้นฐาน ตั้งแต่ ดิน น้ำ ลม ไฟ แร่ธาตุ ป่าไม้ การสื่อสาร โครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพอนามัย ฯลฯ มีอยู่มากและได้พูดกันมากแล้ว
(ข) ประวัติศาสตร์เป็นความภาคภูมิใจของคน ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน เราเน้นประวัติศาสตร์แบบกษัตริย์นิยมเป็นรัชกาลๆ ไป เกือบไม่มีเรื่องราวของคน อาชีพ สถานะอื่น ไม่มีประวัติศาสตร์สังคมโดยรวม
ไม่มีการเขียนประวัติศาสตร์ว่าคนอาชีพต่างๆ มีส่วนสร้างสังคมอย่างไร ราวกับว่าไม่มีพวกเขาอยู่ ความรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของประเทศจึงเกิดน้อย สถานที่สาธารณะของเรามีรูปปั้น มีชื่อถนน สะพาน อาคาร สวนสาธารณะ ฯลฯ ตามพระนามพระมหากษัตริย์ เกือบไม่มีชื่อของปราชญ์ชาวไทย พระ ทูต นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร สถาปนิก นายแพทย์ นักสำรวจ นักเศรษฐศาสตร์ นักแต่งเพลง กวี ศิลปิน ดารา นักกีฬา เช่น ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ปรีดี พนมยงค์ พระยาอนุมานราชธน พุทธทาสภิกขุ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ กุหลาบ สายประดิษฐ์ สุนทราภรณ์ มิตร ชัยบัญชา สุรพล สมบัติเจริญ ปรีดา จุลละมณฑล รวมทั้งบุคคลสำคัญของท้องถิ่นต่างๆ ในต่างประเทศเช่นราชสำนักอังกฤษให้อิสริยาภรณ์กับหลากหลายอาชีพ แม้แต่ชาวต่างประเทศ เปเล่ เอลตัน จอห์น บิล เกทส์ เดวิด เบคแฮม ฯลฯ ในขณะที่เรามีให้กับข้าราชการทหาร พลเรือน และภริยา กับนักธุรกิจเป็นส่วนใหญ่
(ค) ภาษา ขนบประเพณี วัฒนธรรม ของท้องถิ่นถูกทอดทิ้งละเลยไปมาก เช่น มีการรื้อถอนคุ้มจวนเจ้าเมือง ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมดั้งเดิมที่สวยงาม แล้วสร้างศาลากลางที่อัปลักษณ์แบบไทยภาคกลางลงไปแทน วัดวาจำนวนมากก็ถูกเปลี่ยนเป็นแบบวัดภาคกลางแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีการใช้ภาษาบาลี ไปเป็นชื่อถนน อำเภอ ตำบล แทนชื่อท้องถิ่น ฯลฯ ยิ่งสร้างความแปลกแยก แทนที่จะสร้างความเข้าใจ เคารพซึ่งกันและกัน
ชาวบ้านรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความยุติธรรมมาตลอดชีวิต ถูกดูหมิ่นดูแคลน ไม่มีศักดิ์ศรีของตัวเองให้เกิดความเคารพความรับผิดชอบตัวเอง เมื่อชนชั้นกลางในเมืองต่อต้านคนที่มีบุญคุณเช่นทักษิณ จนเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน ขึ้น พวกเขาจึงรู้สึกว่ายิ่งถูกซ้ำเติม ไม่ได้รับความเป็นธรรม ศูนย์กลางใช้ 2 มาตรฐานต่อพวกเขา จึงเกิดการไม่ยอมรับอำนาจของศูนย์กลางขยายตัวกว้างขวางขึ้น
2. ความต่างในค่านิยม ความคิดพื้นฐานระหว่างรากหญ้ากับชนชั้นนำ ตอกย้ำความไม่เข้าใจกันเพิ่มมากขึ้น
ชาวบ้านอยู่กับความยากจนมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย จึงชอบวัตถุจับต้องได้อย่างเห็นชัดๆ ชอบความไวทันใจแบบปาฏิหาริย์ ชาวบ้านจึงชอบตะกรุด หลวงพ่อคูณ (กูให้มึงรวย) แทงหวย ชอบทองคำ ซึ่งบ่งบอกถึงความรวยชัดๆ (มวยไทยเก่งๆ ได้แจกสร้อยทองคำ) ชาวบ้านยังมีค่านิยมแบบนักเลง มีน้ำใจให้กัน พึ่งพากันได้ ชอบฮีโร่หรือวีรบุรุษที่สร้างความหวัง (ส่วนใหญ่ไม่สมหวัง) ให้กับตน ชอบผู้นำที่ฉับไว กล้าได้กล้าเสีย ไม่ต้องยกแม่น้ำทั้งห้า ส่วนคนชั้นสูงชอบระเบียบ ความสงบ เรียบร้อย เพราะเท่ากับว่าคนที่ต่ำกว่ายอมรับโครงสร้างอำนาจเดิม และมองว่าระเบียบเป็นสิ่งเดียวกับประสิทธิภาพ
แต่เมื่อใช้กับระบบราชการที่มีอยู่มานานจึงเชื่องช้า (นี่เป็นค่านิยมหลักของประชาธิปัตย์ที่ถูกวิจารณ์หนักมาตลอด) ชนชั้นสูงชั้นกลางเน้นการพึ่งตนเองและระบบ เน้นวัตถุเหมือนชาวบ้านเช่นกันแต่พยายามมีคำอธิบาย พวกเขาเน้นนามธรรม และชอบเทศนาคุณธรรม ความดี จึงเป็นที่มาของความต่างระหว่างประชาธิปไตยกินได้ของชาวบ้านกับประชาธิปไตย ดูได้ของชนชั้นสูง
ความแตกต่างในค่านิยมระหว่างชนชั้นล่าง และชนชั้นสูง/กลาง
ชั้นล่าง ค่านิยมชีวิตทั่วไป ชอบความง่าย สนุกสนาน รู้สึกชีวิตไม่เป็นธรรม ชอบวัตถุจับต้องได้ เน้นการพึ่งพา ช่วยเหลือกัน ใจกว้างใจนักเลง
ชั้นสูง/กลาง ชอบระเบียบ กระบวนการ ความสงบเรียบร้อย มารยาท ชีวิตเป็นโอกาส ช่องทางเปิดกว้าง ชอบนามธรรม เน้นคุณธรรม ความดี (แต่ก็ชอบวัตถุ) เน้นการพึ่งตนเอง ช่วยตนเอง
ค่านิยมทางการเมือง
ชั้นล่างชอบ ผู้นำวีรบุรุษ นโยบายประชานิยม ประชาธิปไตยกินได้
สำหรับนักการเมือง ประชาธิปไตย (กู) ได้กิน
ชั้นสูง/กลาง ไม่ชอบทักษิณที่ไม่เคารพกติกา ไม่ชอบประชานิยม เพราะทำให้คนไม่รับผิดชอบตนเอง ชอบ
ประชาธิปไตยคนดี (เพราะพวกเราเป็นคนดี) หรือประชาธิปไตยดูได้ เผด็จการคนดีก็รับได้
3.มุมมองใหม่ของปรากฏการณ์ของ การเมืองรากหญ้า ขบถ”คนเล็กคนน้อย”
1. จะเข้าใจปรากฏการณ์เสื้อแดงได้ดีขึ้น ถ้ามามองทฤษฎีวงจรอุบาทว์หรือทฤษฎีสองนคราฯ ให้ลึกลงในระดับโครงสร้าง เราเคยอธิบายว่าการเมืองไทยเป็นสองนคราธิปไตย คือคนชนบทตั้งรัฐบาล คนเมืองล้มรัฐบาล หรือคนชนบทซื้อ-ชายเสียงเลือกตั้ง นักการเมืองถอนทุน ชนชั้นกลางไม่พอใจ ทหารรัฐประหารเลือกตั้งใหม่
แต่นี่เป็นการมองเชิงปรากฏการณ์ ถ้ามองเชิงโครงสร้างเราจะมองเห็นวงจรของการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจการ เมืองซ้อนทับอยู่ คือ ชนบทเป็นแหล่งที่มาของทรัพยากร แรงงานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็นแหล่งที่มาที่ชอบธรรมให้กับประชาธิปไตย (ซึ่งก็คือการเลือกตั้ง) ส่วนเมืองเป็นแหล่งผลิตใช้ทรัพยากร และเป็นผู้ใช้อำนาจประชาธิปไตย และเพื่อให้วงจรนี้ดำรงต่อไปได้ก็มีการครอบงำชาวบ้าน โดยวาทกรรมความสำคัญของศูนย์กลาง ของประชาธิปไตยคนดี และมาตรการสุดท้ายคือรัฐประหาร
ประเทศตะวันตกไม่เกิดวงจรอุบาทว์นี้ เพราะเขาทำให้ประชาชนทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของประเทศ มีส่วนร่วมรับผิดชอบ กล้าใช้สิทธิเสรีภาพของตน ประชาธิปไตยในต่างประเทศไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ ต้องมีการลงทุนด้านสังคม การศึกษา ค่านิยม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม รับผิดชอบ กลุ่มธุรกิจ ธนาคาร อุตสาหกรรม และภาคสังคมเป็นตัวหลักในการสร้างมหาวิทยาลัย โรงเรียน พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ ที่ประชุม ชุมชน หอศิลป์ ที่ฟังดนตรี สร้างสังคมที่ดี สวยงาม น่าอยู่ น่ารับผิดชอบร่วมกัน ฯลฯ
ชนชั้นนำไทยละเลยภารกิจนี้โดยสิ้นเชิง กลับโยนความไม่เป็นประชาธิปไตยไปที่ชาวบ้าน ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 ชนชั้นสูงของไทยสร้างค่านิยม อุดมการณ์แบบนิยมกษัตริย์ ทหารเน้นอุดมการณ์ความมั่นคง ส่วนกลุ่มทุน ธุรกิจต่างๆ ไม่เคยแสดงความรับผิดชอบหรือร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย หรือสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยขึ้นเลย ชนบทจึงเป็นแหล่งที่มาของทรัพยากร แรงงานสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็นผู้ลงคะแนนเสียง หรือแหล่งที่มาของความชอบธรรม (legitimacy) ของประชาธิปไตยที่ดึงดูดเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยที่ตัวเองเกือบไม่ได้อะไร
อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านก็รู้ดีว่าอำนาจต่อรองทำให้เกิดผลประโยชน์ได้ เมื่อคนเมืองต้องการให้พวกเขาลงคะแนนเลือกตั้ง การซื้อ-ขายเสียงอย่างเป็นระบบ การของบโครงการเข้าหมู่บ้านจึงเริ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2521 และขยายตัวเรื่อยมา สังคมทั่วไปประณามว่าเป็นเหมือนมะเร็งร้ายของประชาธิปไตย แต่ถ้าจะมองว่าเป็นการแบ่งปัน ขอคืน ของชาวชนบทก็ได้เช่นกัน
การเกิดขึ้นของการเมืองรากหญ้าจึงเสมือนเป็นกระบวนการย้อนกลับที่จะดึงเอา อำนาจ ความมั่งคั่ง ศักดิ์ศรี ความภูมิใจ กลับคืนสู่ชนบท จะเป็นสิ่งที่ดีมากและเกิดผลยั่งยืนแก่ประชาธิปไตยถ้ากระบวนการนี้ยั่งยืน แล้วสร้างความเป็นธรรมในที่สุด เพราะความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำต่างๆ เป็นรากเหง้าลึกที่สุดที่ทำให้เกิดปัญหาเหลือง-แดง การเมืองรากหญ้า-ประชานิยม (ดูแผนภาพประกอบ)
2. เกิดการเมืองแบบ 2 ขั้วอำนาจ เมืองไทยยุค 2 ก๊ก ก๊ก “คนเลว” โจโฉ จะชนะก๊ก “คนดี” เล่าปี่-ขงเบ้ง ขณะที่การเมืองไทยกำลังก่อรูปเป็น 2 ศูนย์อำนาจ คือ ศูนย์อำนาจฝ่ายอนุรักษนิยมกับศูนย์อำนาจรากหญ้า ซึ่งเป็นภาวะที่ทั้งน่าสนใจและน่าเป็นห่วงมากที่สุดเมื่อเทียบกับการเปลี่ยน แปลงการเมืองทั้งหมดที่ผ่านมา ภาวะ 2 ศูนย์อำนาจจะแบ่งประเทศออกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนมีฐานที่มั่น ที่มาความชอบธรรม (legitimacy) ควบคุมอำนาจที่ต่างกันชัดเจน
(ก)จากนโยบายประชานิยม ซึ่งจะหลากหลายขึ้น ทั้งประชานิยม เศรษฐกิจ อาชีพ สังคม (กองทุนสตรี การแจกคอมพิวเตอร์แทบเล็ตให้เด็กนักเรียน[3]) ประชานิยมด้านอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี
(ข) จากคนเล็กคนน้อย จากหลากหลายอาชีพ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเหยียด เช่น ตำรวจ อัยการ พ่อค้า แม่ค้า (ไม่จำเป็นต้องเป็นคนจนหรือยศชั้นต่ำ)
จะเห็นได้ว่าฝ่ายเสื้อแดง-รากหญ้าอยู่ในสถานะได้เปรียบ ฝ่ายอนุรักษ์เสียเปรียบ เพราะ (ก) แนวทางและวาทกรรมในการต่อสู้ของเสื้อแดงจูงใจคนเล็กคนน้อย (แต่เป็นคนส่วนใหญ่ได้) ส่วนของความคิดอนุรักษ์จำกัดอยู่ในเรื่องชาติและพระมหากษัตริย์ (ข) เสื้อแดงมีความชอบธรรมในเรื่องประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความชอบธรรมสากลของโลกปัจจุบัน
ส่วนความชอบธรรมของฝ่ายอนุรักษ์เป็นเชิงประวัติศาสตร์ประเพณีซึ่งเกาแก่และ สึกกร่อนได้ (ค) วิสัยทัศน์ของพลังอนุรักษ์ตีบตันจึงเป็นฝ่ายตั้งรับ ในขณะที่ฝ่ายรากหญ้าเส้นทางเปิดกว้างเพราะสามารถคิดสิ่งใหม่ๆ มาให้กับชาวบ้านได้ โดยมีงบประมาณ ทรัพยากรรองรับ
ภาวะ 2 ศูนย์กลางไม่เป็นผลดีในที่สุดต้องเหลือเพียงศูนย์เดียว ในระยะยาวโอกาสของพลังฝ่ายรากหญ้ามีมากกว่า
4.บทสรุป
ไม่มีทางออกในระยะใกล้ มีแต่สิ่งที่ต้องทำเพื่อทางออกระยะยาว
1. ไม่มีทางออกจากการรอมชอมในระยะสั้น เพราะปัญหาฝังลึกมานาน ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าตัวเองถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่มีปากเสียงมานาน อีกฝ่ายศรัทธาในสถาบันที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมานาน ต่างเชื่อว่าอีกฝ่ายจะล้มล้างหรือซ้ำเติมฝ่ายตน
2. การขยายตัวของขั้วทักษิณ-รากหญ้า มีโอกาสทำให้เกิดการแตกร้าวระดับโครงสร้างและสถาบันมากขึ้น ดังที่กล่าวว่า วงจรการเมืองเป็นเสมือนการย้อนเอาอำนาจ รายได้ ศักดิ์ศรี ความภูมิใจ ความยุติธรรมกลับคืน เส้นแบ่งระหว่าง 2 ศูนย์อำนาจนอกจากจะเป็นความเสียเปรียบ/ได้เปรียบ คนต่ำต้อย/คนชั้นสูง มีแนวโน้มขยายเป็นเรื่องอัตลักษณ์ (คนอีสาน เหนือ ใต้ กรุงเทพฯ) วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องดีสำหรับการเมืองประชาธิปไตยในแง่ที่จะเกิดความหลากหลายทางอัตลักษณ์ วัฒนธรรม การตระหนักในอำนาจ ศักดิ์ศรีของตนเองกับคนไทยอย่างกว้างขวางที่สุด เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีต แต่ถ้าเป็นวงจรการเมืองแบบเอาคืนหรือทีใครทีมันอย่างสุดขั้ว ก็จะเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อได้ และจะเป็นเรื่องเสียหายเกิดความเสียหายร้ายแรงที่สุดถ้าเส้นแบ่งขั้วขัดแย้งขยายเข้าไปสู่สถาบันกองทัพ ศาล เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม บ้านเมืองจะผ่านความรุนแรงไปได้อย่างน้อยช่วงหนึ่งถ้าทักษิณและเพื่อไทยมองเห็นว่า เวลาอยู่กับฝ่ายตน ไม่จำเป็นต้องกดดันให้มีการเผชิญหน้าของมวลชน และใช้เวลาดังกล่าวแก้ไขความไม่ถูกต้อง ซึ่งมีมาช้านานให้ดีขึ้น แต่ก็ควรมุ่งเชิงโครงสร้างและค่านิยมที่ควรมากกว่า
3. ต้องมีการปรับกระบวนทัศน์หรือแม่บทความคิดใหม่ว่า ประเทศไทยควรเป็นอย่างไร ทั้งในด้านการเมืองการปกครอง การปฏิรูปปรับปรุงสถาบัน องค์กร สำคัญๆ ต่างๆ ทั้งหมด อาทิ
รูปแบบการปกครองประเทศควรเป็นอย่างไร ควรจะกระจายอำนาจการตัดสินใจในทางเศรษฐกิจ การศึกษาในระดับภูมิภาค การพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร
เป็นที่ประจักษ์ชัดจากความขัดแย้งปัจจุบันว่า ได้ลุกลามไปถึงการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ นักวิชาการรวมทั้งนักคิดที่ใกล้ชิดราชสำนัก เช่น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
นพ.ประเวศ วะสี นายอานันท์ ปันยารชุน ควรสร้างการศึกษาค้นคว้า สร้างความรู้ที่ถูกต้องว่า สถาบันกษัตริย์ควรจะดำรงอยู่ในระบบเสรีประชาธิปไตยและโลกาภิวัตน์อย่างไร โดยส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการอนุรักษ์สุดขั้วบางส่วน ที่พยายามจะหวนกลับมายกย่องให้พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ มีพระราชอำนาจทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการย้อนยุค สถาบันพระมหากษัตริย์จะดำรงอยู่ในสังคมเสรีประชาธิปไตยและโลกยุคข่าวสารได้ยั่งยืน ก็ต้องเป็นสถาบันที่มีสถานะเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอย่างแท้จริง
นอกจากจะมีหน้าที่ ภารกิจตามรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแล้ว ยังมีภารกิจตามขนบประเพณี ทางศาสนา วัฒนธรรม และที่สังคมคาดหวัง เช่น เป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นแหล่งที่มาของเกียรติยศ จริยธรรม คุณธรรม พิธีกรรมต่างๆ เป็นต้น
นักเศรษฐศาสตร์สำคัญทั่วโลกล้วนสรุปว่า นโยบายประชานิยมแม้จะมีส่วนดีในหลายด้านแต่ก็ล้มเหลวในที่สุดในทุกประเทศที่เคยใช้มา เพราะเกิดปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนและเงินเฟ้อรุนแรง สังคมต้องช่วยกันกดดัน วิพากษ์ วิจารณ์ทักษิณและพรรคเพื่อไทยทีจะพัฒนาเปลี่ยนรูปนโยบายนี้ให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง
ผู้ที่ควรร่วมคิด ผลักดันประเด็นข้างต้นควรเป็น นักวิชาการเสื้อเหลือง แดง และนักวิชาการทั่วไปที่ไม่ยึดแนวสุดขั้วจนปฏิเสธอีกฝ่ายหนึ่ง ภาคธุรกิจ กลุ่มทุนใหญ่ ซึ่งอยู่ตรงกลางมากที่สุด แต่ก็มีผลได้ผลเสียจากความขัดแย้งปัจจุบันมากที่สุด ควรมีบทบาทชดเชยสิ่งที่ควรทำแล้วไม่ได้ทำ ด้วยการลงทุนสร้างความยุติธรรม บรรยากาศ ค่านิยมประชาธิปไตยให้กว้างขวางที่สุด
4.การเกิดขั้วทางอำนาจนี้ คงดำเนินต่อไปอีกยาวนาน มีโอกาสเกิดการชุมนุมประท้วงรุนแรงขึ้นได้อีก จำเป็นที่เราต้องยกระดับให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยเข้มแข็ง (strong democracy) ที่ใช้ทั้งสิทธิและเสรีภาพและตามลักษณะที่เข้มแข็งทั้ง 3 ด้าน (strong right, strong freedom, strong responsibility) คือเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ขณะเดียวกันก็รักษาสิทธิของตน รับผิดชอบต่อสิทธิเสรีภาพของตนเต็มที่
5.สิ่งที่ต้องทำ
1. ต้องปรับกระบวนทัศน์หรือแม่บทความคิดว่าประเทศไทยควรเป็นอย่างไรใหม่ ประเทศไทยเราคงไม่อยู่ ดำรงอยู่ และก้าวหน้าต่อไปด้วยแนวคิดง่ายๆ ว่าไทยเป็นเมืองสงบ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำไม่มีใครอดตาย เป็นประเทศที่ยึดมั่นใน “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” เพราะมีความซับซ้อนทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม โลกาภิวัตน์ การปฏิวัติทางเทคโนโลยีสื่อสาร ฯลฯ เกิดขึ้น เราต้องตั้งคำถามต่อปัญหาใหญ่ๆ ของประเทศใหม่ทั้งหมด เช่น
เราจะมีประชาธิปไตยแบบไหน จะมีประชาธิปไตยรากหญ้าที่มีการตรวจสอบ สกัดกั้นการคอร์รัปชั่นของนักการเมืองได้ไหม จะพัฒนาองค์กรตรวจสอบอย่างไร
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มองบทเรียนประวัติศาสตร์ว่า ประชานิยมที่ถูกนำมาใช้ล้มเหลวในที่สุด แต่บางส่วนมองว่ามีด้านที่ดีในเชิงการเมือง สังคม ความยุติธรรม และอื่นๆ นักเศรษฐศาสตร์ไทยต้องเพิ่มการถกเถียง ถ่ายทอดความรู้ทัศนะในประเด็นดังกล่าวแก่สังคมให้กว้างขวางที่สุด
2. ทุกฝ่ายทั้งเหลือง-แดง ทุกสถาบันของประเทศ ควรปรับตัวให้เข้ากับสภาวการณ์ใหม่ด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเสียหน้าเสียศักดิ์ศรี หรือเป็นการยอมรับแรงกดดันจากอีกฝ่าย
3. ทุกฝ่ายต้องเคารพสิทธิของผู้อื่น ขณะเดียวกันก็เคารพสิทธิ กล้าใช้สิทธิของตนเอง เช่น ไม่ควรยินยอมให้พลังฝ่ายใดทำรุนแรงเกินเหตุ เช่น การยึดทำเนียบ การขับไล่ล้มการประชุมนานาชาติ การยึดสนามบินสุวรรณภูมิ การยึดราชประสงค์ จนเกิดการปราบปรามและการเผาราชประสงค์อีกต่อไป แต่ละฝ่ายควรรักษาสิทธิของตนเองอย่างจริงจัง เพราะการกระทำดังกล่าวแม้จะอ้างว่าทำด้วยเจตนามุ่งหมายที่ดี แต่เมื่อเกิดผลเสียหายขึ้นแล้วก็ต้องมีผู้รับผิดชอบ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเท่าเทียมกัน เพื่อรักษาระบบยุติธรรมของประเทศเอาไว้ ส่วนจะมีการนิรโทษกรรมหรือไม่ เป็นเรื่องที่สังคมทั้งหมดจะช่วยกันพิจารณา
4. โดยส่วนตัวผู้เขียนยังเชื่อว่าทักษิณไม่ได้เชื่อมั่นการสร้างประชาธิปไตยรากหญ้าจริงๆ จะเห็นได้จากการปราศรัยกับชาวบ้าน ไม่ได้เห็นประเด็นที่เป็นโครงสร้างยั่งยืน นอกจากอ้อนวอนขอกลับมาเมืองไทย ทักษิณมีลักษณะเป็นผู้นำการตลาดมากกว่าผู้นำประชาธิปไตย ทักษิณมุ่งหวังรากหญ้าเป็นลูกค้าซื้อสินค้าของตนเป็นประจำสม่ำเสมอ มากกว่าจะให้รากหญ้าเป็นรากฐานที่ยั่งยืนมั่นคงของระบบเศรษฐกิจการเมืองไทย อนาคตการเมืองไทยจึงจะยังเป็นเครื่องหมายคำถามที่จะอยู่กับคนชื่อทักษิณอยู่อีกต่อไปนานพอสมควร
5. โดยส่วนตัวผู้เขียนยังเชื่อว่าทักษิณไม่ได้เชื่อมั่นการสร้างประชาธิปไตยรากหญ้าจริงๆ จะเห็นได้จากการปราศรัยกับชาวบ้าน ไม่ได้เห็นประเด็นที่เป็นโครงสร้างยั่งยืน นอกจากอ้อนวอนขอกลับมาเมืองไทย ทักษิณมีลักษณะเป็นผู้นำการตลาดมากกว่าผู้นำประชาธิปไตย ทักษิณมุ่งหวังรากหญ้าเป็นลูกค้าซื้อสินค้าของตนเป็นประจำสม่ำเสมอมากกว่าจะให้รากหญ้าเป็นรากฐานที่ยั่งยืนมั่นคงของระบบเศรษฐกิจการเมืองไทย หรือเป็นขบวนการการเมืองที่มีเป้าหมาย อุดมการณ์การเมืองที่มีความสามารถชี้ทางออกที่เหมาะสมให้สังคมไทยได้ ซึ่งเท่ากับประเทศเราแตกแยก ด่าทอกันเอง ใช้ความรุนแรงต่อกันเพียงเพื่อแก้ปัญหาการซุกหุ้น หนีภาษี ความไม่รู้จักอิ่มในทรัพย์สิน อำนาจของทักษิณเท่านั้น
คมชัดลึก
ระบอบนายกรัฐมนตรีคู่ – ยิ่งลักษณ์ออกหน้า ทักษิณคุมหลัง
Siam Intelligence
อีกแง่มุมในแวดวงการเมืองไทยที่น่าสนใจก็คือ “สถาปัตยกรรมเชิงอำนาจ” ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่ตอนนี้ดูจะลงตัวกับ “ระบอบนายกคู่” ที่มียิ่งลักษณ์คุมงานเบื้องหน้า และทักษิณคอยดูแลอยู่เบื้องหลัง
ไม่ว่าจะสนับสนุนหรือต่อต้าน เราต้องยอมรับว่า ศูนย์กลางของการเมืองไทยนับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมาจนถึงบัดนี้เกินสิบปี อยู่ที่คนๆ เดียวคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ไม่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะอยู่ในฐานะนายกรัฐมนตรีหรืออดีตนายกรัฐมนตรีผู้โดนรัฐประหารก็ตาม เขาก็ยังมีบทบาทอย่างเด่นชัด และเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้งตลอดมา
ปฎิเสธไม่ได้ว่า “นวัตกรรมทางการเมือง” ของพรรคไทยรักไทยที่สร้างขึ้นในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ หาเสียงเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก เปลี่ยนโฉมวงการการเมืองไทยไปอย่างสิ้นเชิง
และมาถึงบัดนี้ปี 2555 เราก็ยังไม่สามารถหาคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกับ พ.ต.ท.ทักษิณได้เลย ทำให้เขายังมีบทบาทอย่างสูงต่อการเมืองไทยมาจนถึงทุกวันนี้
แต่เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะผู้มีอำนาจตัวจริงของรัฐบาลไทยหลายสมัย กลับไม่สามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ ทำให้เขาต้องหาลู่ทาง สร้างระบบการปกครองประเทศมาจากภายนอก
ป้ายหาเสียงพรรคเพื่อไทย "ยิ่งลักษณ์เป็นนายก"
ระบอบที่ว่านี้เริ่มขึ้นในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ตัดสินใจใช้ “ระบอบนอมินี” มอบหมายให้นายสมัคร สุนทรเวช เป็นตัวแทนในการบริหารประเทศในฐานะนายกรัฐมนตรี และมี พ.ต.ท.ทักษิณ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายอยู่เบื้องหลัง
แต่ระบอบนี้ก็มีจุดอ่อนที่ว่านายสมัครมีความเป็นตัวของตัวเองสูงจนเกินไป จนสุดท้ายเกิดสภาวะ “แก๊งสี่คน” ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่สามารถควบคุมสั่งการได้ แถมในช่วงนั้นรัฐบาลสมัครก็ถูกรุมเร้าจากปัญหาภายนอกคือการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และคดีทำกับข้าว จนสุดท้ายรัฐบาลสมัครก็ต้องล่มสลายลง
พ.ต.ท.ทักษิณ แก้จุดอ่อนเรื่องการควบคุมนายกรัฐมนตรีอย่างรวดเร็ว โดยใช้ “ระบบเครือญาติ” ส่งน้องเขยอย่างนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่น่าจะควบคุมได้ง่ายกว่านายสมัคร (ผ่านนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ หรือ “เจ๊แดง” น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณเอง) เพียงแต่สถานการณ์การเมืองในช่วงนั้นก็ยังร้อนแรง บวกกับ “บารมี” ของนายสมชายที่ภาพลักษณ์ดูอ่อนแอ แถมยังไม่ได้รับการยอมรับจากสาธารณชนมากนัก ก็ทำให้รัฐบาลพลังประชาชนล้มลงไปอีกครั้งจากกรณียุบพรรคพลังประชาชน
อย่างไรก็ตาม ความพยายามครั้งที่สามของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ดูจะประสบความสำเร็จ เมื่อ “นอมินี” คนใหม่เป็น “สายตรง” หรือ “โคลนนิ่ง” ของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เองก็ยอมรับว่า “พี่ทักษิณมีบุญคุณเปรียบเสมือนพ่อคนที่สอง” ยิ่งแสดงให้เห็นสายสัมพันธ์อันเหนียวแน่นของบุคคลทั้งสอง ที่การันตีว่า พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถบัญชาการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ดั่งใจ
นอกจากจุดอ่อนเรื่องการควบคุมนายกรัฐมนตรีแล้ว การใช้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังแก้ปัญหาเรื่อง “บารมีทางการเมือง” ที่ล้มเหลวในสมัยรัฐบาลสมชายมาก่อนได้สำเร็จ เพราะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ร่วมหาเสียงในฐานะ “ผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี” มาตั้งแต่ต้น และเสน่ห์ส่วนตัวของเธอเอง ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตา บุคลิกความเป็นผู้หญิง ประสบการณ์การทำงานในภาคเอกชน ก็ทำให้เกิดกระแส “ยิ่งลักษณ์ฟีเวอร์” ชนะเลือกตั้งได้อย่างถล่มทลาย
ความเป็นหญิงและวัยวุฒิ-คุณวุฒิที่ถือว่า “เด็กมากในทางการเมือง” กลับกลายเป็นเกราะป้องกันรัฐบาลยิ่งลักษณ์จากศัตรูทางการเมือง ถึงแม้ว่าคนชั้นกลางจำนวนไม่น้อยจะไม่พอใจกับการอ่านสคริปต์แบบนกแก้วของ การตอบคำถามที่ผิดพลาดหลายครั้ง หรือการเลี่ยงที่จะตอบปัญหาในประเด็นสำคัญๆ จนถูกวิจารณ์อยู่บ่อยๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่ายุทธศาสตร์หลีกเลี่ยงการปะทะของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีประโยชน์ต่อรัฐบาลเพื่อไทยตรงที่ลดความร้อนแรงทางการเมืองลง ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ผิดพลาดมาก่อนในรัฐบาลไทยรักไทยสมัยที่สอง
พ.ต.ท.ทักษิณ เลือกที่จะคุมเกมการเมืองภายในพรรคเพื่อไทยเอาไว้เองทั้งหมด ดังที่เราเห็นข่าว ส.ส. ของพรรคเดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต่างประเทศอยู่เป็นประจำ ยุทธศาสตร์นี้จะช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคนคุมเกมในสภาและในพรรคแบบเบ็ดเสร็จ ป้องกันความผิดพลาดในรัฐบาลสมัครที่กลายเป็นรัฐอิสระในพรรคพลังประชาชน และป้องกันปัญหา “งูเห่า” แบบกรณีของนายเนวินในการตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ลงไปได้
ถึงแม้รัฐบาลเพื่อไทยจะขลุกขลักไปบ้างในช่วง 4-5 เดือนแรก เพราะต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ของประเทศไทย แต่หลังจากผ่านการปรับแต่งแก้ไขอยู่หลายครั้ง รัฐบาลเพื่อไทยก็เริ่มมั่นคงและมีเสถียรภาพมากกขึ้น ดุลย์อำนาจระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มลงตัว เกิดเป็นสภาวะ “นายกรัฐมนตรีคู่” ที่อาจไปได้ดีและตอบโจทย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้อย่างตรงประเด็น
ใน “ระบอบนายกรัฐมนตรีคู่” จะแบ่งงานออกเป็น 2 ส่วน ให้กับนายกรัฐมนตรี 2 ระดับ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการของประเทศไทย รับผิดชอบงานบริหารราชการแผ่นดินทั่วไปผ่านการทำงานของคณะรัฐมนตรี (โดยมี “มือดี” ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่งเข้ามาช่วยมากมาย) และงานพิธีการต่างๆ ตามหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเนื้องานบริหารมากนัก จุดสำคัญคือภาพลักษณ์ “รอมชอม” ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ค้ำจุนรัฐบาลเอาไว้ และได้เสียงสนับสนุนจากคนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่อยากเห็นความขัดแย้งทางการเมืองอีกแล้ว
ส่วน พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะ “นายกรัฐมนตรีเงา” จะดูแลเกมการเมืองภายในพรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล และกลุ่มคนเสื้อแดง (ผ่านระบบการสื่อสารต่างๆ) ดูแลยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ (ดังจะเห็นได้จากการเดินทางเยือนประเทศนั้นๆ ก่อนหรือหลังการเยือนอย่างเป็นทางการของ น.ส.ยิ่งลักษณ์) และนโยบายระดับมหภาคหรือเมกะโปรเจคต์ทั้งหลาย (ตามสโลแกน “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” ที่ให้ไว้ตอนหาเสียง)
ระบอบนายกคู่มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันอย่างชัดเจน โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะรับงานที่ต้องออกหน้าและติดต่อกับประชาชนโดยทั่วไป ดึงเสียงสนับสนุนการปรองดองจากประชาชนส่วนใหญ่ ส่วน พ.ต.ท.ทักษิณ จะทำงานเบื้องหลังที่มีความสำคัญในระดับ “ขาดไม่ได้” เพื่อให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น จุดอ่อนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่สร้างศัตรูได้ง่าย ถูกแก้ไขโดยไม่ออกมาเป็นคนเบื้องหน้าคอยปะทะโดยตรง
ความเข้มแข็งของ “ระบอบนายกคู่” เวอร์ชัน 3.0 นั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาการบริหารงานของรัฐบาล และถ้าในปี 2555 นี้ ประเทศไทยสามารถหลีกเลี่ยงภาวะน้ำท่วมใหญ่แบบปี 2554 ได้สำเร็จ สถานะของรัฐบาลเพื่อไทยภายใต้ “นายกคู่” จะยิ่งแข็งแกร่งขึ้น เมื่อประกอบกับความอ่อนแอของภัยคุกคามภายนอก ทั้งจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ยังติดในวังวนการเมืองแบบเดิมๆ และกลุ่มพันธมิตรที่พลังเสื่อมถอยลงไปมาก ทำให้โอกาสที่รัฐบาลเพื่อไทยจะอยู่ยาวยิ่งมีสูง
อย่างไรก็ตาม “ระบอบนายกคู่” อันเกิดขึ้นจากข้อจำกัดทางกายภาพของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไม่ได้มีแต่จุดแข็งเสมอไป
การคงอยู่ของระบอบนายกคู่ เกิดจากการที่มีนายกรัฐมนตรีอยู่ในประเทศเพียงคนเดียว และมี “ระยะห่าง” ระหว่างกลุ่มก๊วนทางการเมืองในประเทศกับตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่อยู่นอกประเทศไทย
การสั่งงานต่างๆ ถึงจะขาดประสิทธิภาพไปบ้างเพราะเจ้าตัวไม่ได้อยู่คุมเอง แต่ก็ตรงไปตรงมาเพราะมาตามสายการบังคับบัญชาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ วางเอาไว้แล้ว และการการันตีด้วยสายเลือดว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะไม่มีวันทรยศพี่ชายอย่างแน่นอน
แต่สุดท้ายแล้ว ปลายทางของ “ระบอบนายกคู่” ก็คือการเตรียมความพร้อมทางการเมือง เพื่อให้ “นายกตัวจริง” ได้กลับบ้านอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นความฝันสูงสุดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา 2549
แต่การกลับเมืองไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะทำให้ “ดุลยภาพ” ของระบอบนายกคู่สูญเสียไป เพราะสถานภาพของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะหมดความหมายลง เหลือเพียงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียงในนามเท่านั้น อำนาจที่แท้จริงจะถูกรวบไปอยู่ในมือของ “นายกตัวจริง” ที่ไม่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่นั่งบัญชาการอยู่ในบ้านจันทร์ส่องหล้า
คำถามคือ ความสัมพันธ์ของ “นายกรัฐมนตรีคู่” จะเป็นอย่างไรต่อไป และมันจะกลายเป็น “จุดเริ่มต้นของการล่มสลาย” ของระบอบนายกคู่หรือไม่
และหลังจากนั้น การเมืองไทยจะกลับเข้าสู่วังวนเดิมๆ เหมือนกับตอนปี 2548-2549 อีกครั้งหรือเปล่า?
อีกแง่มุมในแวดวงการเมืองไทยที่น่าสนใจก็คือ “สถาปัตยกรรมเชิงอำนาจ” ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่ตอนนี้ดูจะลงตัวกับ “ระบอบนายกคู่” ที่มียิ่งลักษณ์คุมงานเบื้องหน้า และทักษิณคอยดูแลอยู่เบื้องหลัง
ไม่ว่าจะสนับสนุนหรือต่อต้าน เราต้องยอมรับว่า ศูนย์กลางของการเมืองไทยนับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมาจนถึงบัดนี้เกินสิบปี อยู่ที่คนๆ เดียวคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ไม่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะอยู่ในฐานะนายกรัฐมนตรีหรืออดีตนายกรัฐมนตรีผู้โดนรัฐประหารก็ตาม เขาก็ยังมีบทบาทอย่างเด่นชัด และเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้งตลอดมา
ปฎิเสธไม่ได้ว่า “นวัตกรรมทางการเมือง” ของพรรคไทยรักไทยที่สร้างขึ้นในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ หาเสียงเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก เปลี่ยนโฉมวงการการเมืองไทยไปอย่างสิ้นเชิง
และมาถึงบัดนี้ปี 2555 เราก็ยังไม่สามารถหาคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกับ พ.ต.ท.ทักษิณได้เลย ทำให้เขายังมีบทบาทอย่างสูงต่อการเมืองไทยมาจนถึงทุกวันนี้
แต่เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะผู้มีอำนาจตัวจริงของรัฐบาลไทยหลายสมัย กลับไม่สามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ ทำให้เขาต้องหาลู่ทาง สร้างระบบการปกครองประเทศมาจากภายนอก
ป้ายหาเสียงพรรคเพื่อไทย "ยิ่งลักษณ์เป็นนายก"
ระบอบที่ว่านี้เริ่มขึ้นในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ตัดสินใจใช้ “ระบอบนอมินี” มอบหมายให้นายสมัคร สุนทรเวช เป็นตัวแทนในการบริหารประเทศในฐานะนายกรัฐมนตรี และมี พ.ต.ท.ทักษิณ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายอยู่เบื้องหลัง
แต่ระบอบนี้ก็มีจุดอ่อนที่ว่านายสมัครมีความเป็นตัวของตัวเองสูงจนเกินไป จนสุดท้ายเกิดสภาวะ “แก๊งสี่คน” ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่สามารถควบคุมสั่งการได้ แถมในช่วงนั้นรัฐบาลสมัครก็ถูกรุมเร้าจากปัญหาภายนอกคือการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และคดีทำกับข้าว จนสุดท้ายรัฐบาลสมัครก็ต้องล่มสลายลง
พ.ต.ท.ทักษิณ แก้จุดอ่อนเรื่องการควบคุมนายกรัฐมนตรีอย่างรวดเร็ว โดยใช้ “ระบบเครือญาติ” ส่งน้องเขยอย่างนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่น่าจะควบคุมได้ง่ายกว่านายสมัคร (ผ่านนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ หรือ “เจ๊แดง” น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณเอง) เพียงแต่สถานการณ์การเมืองในช่วงนั้นก็ยังร้อนแรง บวกกับ “บารมี” ของนายสมชายที่ภาพลักษณ์ดูอ่อนแอ แถมยังไม่ได้รับการยอมรับจากสาธารณชนมากนัก ก็ทำให้รัฐบาลพลังประชาชนล้มลงไปอีกครั้งจากกรณียุบพรรคพลังประชาชน
อย่างไรก็ตาม ความพยายามครั้งที่สามของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ดูจะประสบความสำเร็จ เมื่อ “นอมินี” คนใหม่เป็น “สายตรง” หรือ “โคลนนิ่ง” ของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เองก็ยอมรับว่า “พี่ทักษิณมีบุญคุณเปรียบเสมือนพ่อคนที่สอง” ยิ่งแสดงให้เห็นสายสัมพันธ์อันเหนียวแน่นของบุคคลทั้งสอง ที่การันตีว่า พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถบัญชาการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ดั่งใจ
นอกจากจุดอ่อนเรื่องการควบคุมนายกรัฐมนตรีแล้ว การใช้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังแก้ปัญหาเรื่อง “บารมีทางการเมือง” ที่ล้มเหลวในสมัยรัฐบาลสมชายมาก่อนได้สำเร็จ เพราะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ร่วมหาเสียงในฐานะ “ผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี” มาตั้งแต่ต้น และเสน่ห์ส่วนตัวของเธอเอง ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตา บุคลิกความเป็นผู้หญิง ประสบการณ์การทำงานในภาคเอกชน ก็ทำให้เกิดกระแส “ยิ่งลักษณ์ฟีเวอร์” ชนะเลือกตั้งได้อย่างถล่มทลาย
ความเป็นหญิงและวัยวุฒิ-คุณวุฒิที่ถือว่า “เด็กมากในทางการเมือง” กลับกลายเป็นเกราะป้องกันรัฐบาลยิ่งลักษณ์จากศัตรูทางการเมือง ถึงแม้ว่าคนชั้นกลางจำนวนไม่น้อยจะไม่พอใจกับการอ่านสคริปต์แบบนกแก้วของ การตอบคำถามที่ผิดพลาดหลายครั้ง หรือการเลี่ยงที่จะตอบปัญหาในประเด็นสำคัญๆ จนถูกวิจารณ์อยู่บ่อยๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่ายุทธศาสตร์หลีกเลี่ยงการปะทะของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีประโยชน์ต่อรัฐบาลเพื่อไทยตรงที่ลดความร้อนแรงทางการเมืองลง ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ผิดพลาดมาก่อนในรัฐบาลไทยรักไทยสมัยที่สอง
พ.ต.ท.ทักษิณ เลือกที่จะคุมเกมการเมืองภายในพรรคเพื่อไทยเอาไว้เองทั้งหมด ดังที่เราเห็นข่าว ส.ส. ของพรรคเดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต่างประเทศอยู่เป็นประจำ ยุทธศาสตร์นี้จะช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคนคุมเกมในสภาและในพรรคแบบเบ็ดเสร็จ ป้องกันความผิดพลาดในรัฐบาลสมัครที่กลายเป็นรัฐอิสระในพรรคพลังประชาชน และป้องกันปัญหา “งูเห่า” แบบกรณีของนายเนวินในการตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ลงไปได้
ถึงแม้รัฐบาลเพื่อไทยจะขลุกขลักไปบ้างในช่วง 4-5 เดือนแรก เพราะต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ของประเทศไทย แต่หลังจากผ่านการปรับแต่งแก้ไขอยู่หลายครั้ง รัฐบาลเพื่อไทยก็เริ่มมั่นคงและมีเสถียรภาพมากกขึ้น ดุลย์อำนาจระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มลงตัว เกิดเป็นสภาวะ “นายกรัฐมนตรีคู่” ที่อาจไปได้ดีและตอบโจทย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้อย่างตรงประเด็น
ใน “ระบอบนายกรัฐมนตรีคู่” จะแบ่งงานออกเป็น 2 ส่วน ให้กับนายกรัฐมนตรี 2 ระดับ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการของประเทศไทย รับผิดชอบงานบริหารราชการแผ่นดินทั่วไปผ่านการทำงานของคณะรัฐมนตรี (โดยมี “มือดี” ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่งเข้ามาช่วยมากมาย) และงานพิธีการต่างๆ ตามหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเนื้องานบริหารมากนัก จุดสำคัญคือภาพลักษณ์ “รอมชอม” ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ค้ำจุนรัฐบาลเอาไว้ และได้เสียงสนับสนุนจากคนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่อยากเห็นความขัดแย้งทางการเมืองอีกแล้ว
ส่วน พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะ “นายกรัฐมนตรีเงา” จะดูแลเกมการเมืองภายในพรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล และกลุ่มคนเสื้อแดง (ผ่านระบบการสื่อสารต่างๆ) ดูแลยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ (ดังจะเห็นได้จากการเดินทางเยือนประเทศนั้นๆ ก่อนหรือหลังการเยือนอย่างเป็นทางการของ น.ส.ยิ่งลักษณ์) และนโยบายระดับมหภาคหรือเมกะโปรเจคต์ทั้งหลาย (ตามสโลแกน “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” ที่ให้ไว้ตอนหาเสียง)
ระบอบนายกคู่มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันอย่างชัดเจน โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะรับงานที่ต้องออกหน้าและติดต่อกับประชาชนโดยทั่วไป ดึงเสียงสนับสนุนการปรองดองจากประชาชนส่วนใหญ่ ส่วน พ.ต.ท.ทักษิณ จะทำงานเบื้องหลังที่มีความสำคัญในระดับ “ขาดไม่ได้” เพื่อให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น จุดอ่อนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่สร้างศัตรูได้ง่าย ถูกแก้ไขโดยไม่ออกมาเป็นคนเบื้องหน้าคอยปะทะโดยตรง
ความเข้มแข็งของ “ระบอบนายกคู่” เวอร์ชัน 3.0 นั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาการบริหารงานของรัฐบาล และถ้าในปี 2555 นี้ ประเทศไทยสามารถหลีกเลี่ยงภาวะน้ำท่วมใหญ่แบบปี 2554 ได้สำเร็จ สถานะของรัฐบาลเพื่อไทยภายใต้ “นายกคู่” จะยิ่งแข็งแกร่งขึ้น เมื่อประกอบกับความอ่อนแอของภัยคุกคามภายนอก ทั้งจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ยังติดในวังวนการเมืองแบบเดิมๆ และกลุ่มพันธมิตรที่พลังเสื่อมถอยลงไปมาก ทำให้โอกาสที่รัฐบาลเพื่อไทยจะอยู่ยาวยิ่งมีสูง
อย่างไรก็ตาม “ระบอบนายกคู่” อันเกิดขึ้นจากข้อจำกัดทางกายภาพของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไม่ได้มีแต่จุดแข็งเสมอไป
การคงอยู่ของระบอบนายกคู่ เกิดจากการที่มีนายกรัฐมนตรีอยู่ในประเทศเพียงคนเดียว และมี “ระยะห่าง” ระหว่างกลุ่มก๊วนทางการเมืองในประเทศกับตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่อยู่นอกประเทศไทย
การสั่งงานต่างๆ ถึงจะขาดประสิทธิภาพไปบ้างเพราะเจ้าตัวไม่ได้อยู่คุมเอง แต่ก็ตรงไปตรงมาเพราะมาตามสายการบังคับบัญชาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ วางเอาไว้แล้ว และการการันตีด้วยสายเลือดว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะไม่มีวันทรยศพี่ชายอย่างแน่นอน
แต่สุดท้ายแล้ว ปลายทางของ “ระบอบนายกคู่” ก็คือการเตรียมความพร้อมทางการเมือง เพื่อให้ “นายกตัวจริง” ได้กลับบ้านอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นความฝันสูงสุดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา 2549
แต่การกลับเมืองไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะทำให้ “ดุลยภาพ” ของระบอบนายกคู่สูญเสียไป เพราะสถานภาพของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะหมดความหมายลง เหลือเพียงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียงในนามเท่านั้น อำนาจที่แท้จริงจะถูกรวบไปอยู่ในมือของ “นายกตัวจริง” ที่ไม่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่นั่งบัญชาการอยู่ในบ้านจันทร์ส่องหล้า
คำถามคือ ความสัมพันธ์ของ “นายกรัฐมนตรีคู่” จะเป็นอย่างไรต่อไป และมันจะกลายเป็น “จุดเริ่มต้นของการล่มสลาย” ของระบอบนายกคู่หรือไม่
และหลังจากนั้น การเมืองไทยจะกลับเข้าสู่วังวนเดิมๆ เหมือนกับตอนปี 2548-2549 อีกครั้งหรือเปล่า?
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
▼
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)