บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สสร. ... อรหันต์รัฐธรรมนูญ?"


รายการคมชัดลึกจัดถก "สสร. ... อรหันต์รัฐธรรมนูญ?" ประธานวิปรัฐบาลยันไม่มีใครแตะหมวดพระมหากษัตริย์แน่ เตรียมหาช่อง"ทักษิณ"แสดงความเห็น "ธิดา" ยัน นปช.ทำหน้าที่กระตุ้นพรรคการเมืองที่ค้านแก้เตรียมจัดม็อบกระทุ้ง พันธมิตรห่วงล้างความผิด
27ก.พ.2555 รายการคมชัดลึกทางเนชั่นทีวี จัดรายการเรื่อง สสร. ... อรหันต์รัฐธรรมนูญ? โดยมีผู้ร่วมรายการประกอบด้วยนายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย นายเดโช สวนานนท์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ สสร. พ.ศ.2540 และ 2550 นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีต สสร. พ.ศ.2540 และ 2550 นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ


นายอุดมเดช กล่าวว่า กระบวนการเลือก สสร.เป็นเรื่องของประชาชนที่จะเลือกในแต่ละจังหวัด แต่ขณะนี้กรรมาธิการยังไม่มีการถกเถียงว่าใครเป็นประธาน ใครเป็นโฆษก ที่หลายคนกังวลว่าจะมีการซื้อเสียงเป็นสสร.นั้น ตนเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ เพราะที่ได้ร่างไว้คือ ทำงานแค่ 160 วัน แล้วใครจะใช้เงิน 6 แสนเพื่อย้อนไปซื้อเสียง ซึ่งทั้ง 3 ร่างมีเวลาใกล้เคียงกันคือ 130 วัน ซึ่งก็มีผู้แสดงความเป็นว่าน้อยเกินไป ควรเป็น 180 วัน ซึ่งกมธ.ก็คงฟังโดยยึดร่างของรัฐบาลเป็นหลัก และไปทำประชามติ ส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนาที่บอกว่าเมื่อร่างเสร็จแล้วให้นำเข้าสภาให้ความเห็นชอบ หากไม่เห็นชอบจึงทำประชามติ ซึ่งในร่างของพรรคเพื่อไทยใน ม.291/11 ว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ก็ให้ตกไป แต่หากกังวลก็ให้กมธ.ไปร่างเลยว่าห้ามแตะในส่วนนี้ แต่ถ้าไปเขียนป้องกันไว้หมดก็ไม่ต้องแก้กันแล้ว ส่วนกฎหมายจะผ่านสภาเมื่อใดนั้น หาก กมธ.ใช้เวลา 1 เดือนหากเสร็จก็ส่งกลับเข้ามาในวาระ 2 หลังจากนั้นทิ้งไว้อีก 15 วัน จึงลงมติในวาระ 3 โดยใช้เวลาเกือบ 2 เดือน แต่กมธ.ใช้เวลาเกิน 1 เดือนแน่นอน เพราะให้มีการแปรญัตติ ดังนั้นสิ่งที่กังวลยังมีเวลาพิจารณาอีกเยอะ

"ความเห็นอะไรที่สังคมรับได้ กมธ.ก็พร้อมจะทำ เพราะต้องการให้กระบวนการแก้รธน.เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ ที่อ้างว่า รธน.50 มีการทำประชามตินั้น เราจึงกำหนดว่าเมื่อรธน.ที่ร่างมาแล้วต้องทำประชามติด้วย ถ้าเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยก็มาว่ากัน ไม่ใช่บีบบังคับว่าต้องเป็นไปตามที่ สสร.ร่างมา สำหรับในหมวดพระมหากษัตริย์นั้น ไม่มีใครไปแตะต้องอยู่แล้ว แต่หยิบยกมาพูดเพื่อให้เกิดกระแสต่อต้าน ให้เกิดแนวร่วม ซึ่งสสร.ที่จะเกิดขึ้น จะร่างอย่างไรให้สังคมยอมรับ เพราะยังมีการทำประชามติอยู่ ส่วนจะแก้มาตราไหนก็ว่ากันไป" อุดมเดช กล่าวและว่า
ตนคิดว่ามีหลายมาตราที่จะผ่าน โดยหลังจากมีการเลือกตั้ง สสร. ในการทำประชาพิจารณ์ทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็น ส่วนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นได้หรือไม่นั้น ตนยังไม่ได้คุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ

นายเดโช กล่าวว่า เป็นภารกิจของสสร. ซึ่งปี 2540 ก็มีการกล่าวหาว่า ส.ส.ร.เป็นคนของพรรคการเมืองนั้นพรรคการเมืองนี้ โดยมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม ซึ่งต่างจากสสร.ครั้งนี้ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง และก็ไม่พ้นข้อครหาว่าเป็นคนของพรรคการเมือง จึงอยู่ที่กกต.ว่าจะตรวจสอบอย่างไร ซึ่งคนที่เคยเลือกตั้งแล้วจะรู้ดีว่าไม่มีใครที่จะสุ่มเสี่ยง หากไม่เป็นที่รู้จักของชาวบ้าน ก็คงไม่ลง จึงอย่าไปคิดว่าประชาชนเลือกไม่เป็น เช่น ในการเลือก ส.ว. ที่ห้ามให้หาเสียงให้ใช้วิธีแนะนำตัว จึงอยู่ที่กกต.จะกำหนด คนที่ไม่เป็นที่รู้จัก แล้วโดดสมัครหวังฟลุคก็คงยาก เพราะไม่ได้เป็นผู้แทนราษฎร ตัวรธน.ไม่ใช่วิชาชีพ แต่นี่คือกติกาของประชาชน เป็นอำนาจของประชาชน คนจะลงหรือไม่ลงต้องประเมินสถานะตัวเอง หากแพ้ร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ลงแน่นอน ต้องรู้ตัวเอง
นายเสรี กล่าวว่า การเลือกตั้ง สสร.ในครั้งนั้นไม่มีความขัดแย้งเหมือนปัจจุบัน เพราะทุกคนเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง ให้มีการแก้ไขการเมือง เพราะการบริหารไม่นิ่ง ตำแหน่งนายกฯอยู่ในภาวะแวดล้อมของหลายพรรคการเมือง ทำให้ไม่มีเสถียรภาพ มีการทุจริตคอรัปชั่นเยอะ ทำให้หลายองค์กรต่างๆ เกิดขึ้นจากปัญหาหลายสภาวะในขณะนั้น ส่วนจะประชาธิปไตยหรือไม่อยู่ที่การเลือกตั้ง ส่วนวิธีการเลือกตั้งอยู่ที่เหตุผลว่าทำไมต้องการอย่างนี้ แต่การเลือกตั้งโดยตรงก็ถือว่าน่าลอง เพราะต้องยอมรับว่าเวลาเลือกตั้งฐานเสียงมาจากพรรค แต่เมื่อดูตัวบุคคลที่ถูกเลือกเข้ามาหลายคนก็ไม่ได้มาจากพรรค แม้แต่ในกทม.มี 18 คน ประชาชนเลือกโดยตรงคนละ 1 คะแนนก็ไม่ใช่คนของพรรคการเมือง แต่ก็ยอมรับว่าในต่างจังหวัด คนที่ถูกเลือกเข้ามาก็ผูกพันกับพรรคการเมือง ดังนั้นต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้เกิดน้อยที่สุด เช่น ทำอย่างไรใช้เงินให้น้อยที่สุด หากเลือกตั้งในจังหวัด คนที่เคยอยู่ในสายตาประชาชน ทำคุณความดีมา ก็เป็นปกติที่คนจะเลือก ใครที่ประชาชนเลือกแสดงว่ามีต้นทุน

"สิ่งที่ห่วงกังวลคือ หากเข้ามาแล้วไปเป็นตัวแทนใคร ไปรักษาผลประโยชน์ในการออกกฎหมาย เช่น ออกสัมปทาน การแทรกแซงการดำรงตำแหน่งส.ส.ที่เป็นผู้ช่วยรมต. เลขา ที่ปรึกษา ซึ่งครั้งที่แล้ว ส.ว. ส.ส. ก็ถูกวินิจฉัยเรื่องสัมปทาน ดังนั้นต้องสร้างระบบให้แข็งแรง หากเอาข้อยกเว้นมาเป็นหลักจะเสียหายหมด ประเทศไทยที่มีความสับสนแตกแยกเพราะมีการต่อสู้ ดิ้นรนให้พ้นจากคดีความ และเวลาต่อสู้ก็ดึงเสียงสนับสนุนจากประชาชนเข้ามา ทำให้เกิดการแยกกลุ่มออกเป็นฝ่าย ดังนั้นการแก้รธน.ควรจะดูว่าจะแก้ความแตกแยกได้อย่างไร นักการเมืองบ้านเราคือต้นตอทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้" เสรี กล่าว

นางธิดา กล่าวว่า นปช.ไม่ได้ยอมใคร เราทำหน้าที่ของเราดีที่สุด แม้ต้องการจะแก้รธน. แต่กติกาในการแก้รธน.ต้องใช้เวลานาน การทำงานของเราเป็นการกระตุ้นพรรคการเมืองที่ไม่ต้องการแก้ทั้งหลาย จึงถือว่าเราทำงานของเราดีที่สุด ตอนแรกเราจะเขียนเองก็ได้ หรือจะเอาม็อบไปกระทุ้งก็ได้ ทั้งนี้กระบวนได้มาของสสร. ของเรายังไม่จบ หวังว่ากมธ.จะนำข้อเสนอของเราไปพิจารณา ส่วนเนื้อหาหากจะให้สสร.เป็นผู้ร่างก็ไม่ควรไปกำหนดอะไร เพราะเท่ากับเป็นการตั้งธง ถามว่าอาจจะมีความเห็นว่าไม่ควรมีตำแหน่งทางการเมือง 4 ปี แต่หากบอกว่าห้ามเกี่ยวข้องการเมืองถือว่าไม่ถูกต้อง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ควรกลัว หรือขี้ขลาดทางการเมืองเกินไป ที่เราแสดงออกคือ ต่อต้านรัฐประหาร และต้องการให้มี รธน.ใหม่ที่เป็นของประชาชน ให้มีเหตุมีผล หากจะรักษา รธน.50 ก็ควรบอกว่าประเด็นไหน และดีตรงไหน
"ดิฉันไม่ต้องการเป็น สสร. ขอทำงาน นปช.เพราะยังมีภาระมากมาย ยังมีคนที่ถูกกระทำจากรัฐประหาร และต้องระวังว่าใครคิดที่จะรัฐประหาร และระหว่างเวลาที่มีสสร.ไปแล้ว เราก็จะส่งสัญญาณว่าประชาชนอยากให้แก้ไขประเด็นใดบ้าง" ประธานนปช. กล่าว
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ กล่าวว่า วันที่ 10 ก.พ. เป็นการประชุมแกนนำเพื่อพูดคุยกันระหว่างแกนนำ และนำมาเป็นมติว่าเราจะดำเนินมาตรการอย่างไรต่อการแก้ไขรธน. สิ่งที่พันธมิตรเป็นห่วงคือ การล้างความผิด และการกระชับฝ่ายทุนที่ใกล้ชิดการเมืองให้มีอำนาจมากขึ้น โดยเฉพาะ สสร. 92 คนที่บอกว่ามาจากการเลือกตั้ง แต่ที่จริงมีที่มาจากพรรคการเมือง การคัดเลือกสสร.จึงเป็นเพียงนิติกรรมอำพราง จะสังเกตได้ว่า ส.ส. มาจากส.ส. โดยมีนามสกุลเด่ยวกัน โดยส.ว.เลือกตั้งส่วนใหญ่ไม่มีบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาล และการแก้รธน. ครั้งนี้ถือเป็นการล้มรธน.ทั้งฉบับ เจตนารมย์ของรธน.ให้แก้ไขบางมาตรา แต่ครั้งนี้เป็นการล้มทั้งฉบับ เพราะไม่ได้นำหัวข้อของรธน.แต่ละประเด็นมาว่าจะแก้ไขเพื่ออะไร ดังนั้นกระบวนการจึงเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางเท่านั้น

คมชัดลึก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง