บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทักษิณและมาร์กอส : การวางรากฐานอำนาจ

Century Fox:
 
ทักษิณและมาร์กอส : การวางรากฐานอำนาจ

Thaksin & Ferdinand Marcos  : Launching of Enforcement


รัฐบาล ภายใต้การนำของนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลของประธานาธิบดี เฟอร์ดินาล มาร์กอส นอกจากจะมีความเหมือนกันในแง่ของความพยายามแก้ไขกฎหมาย เพื่อเพิ่มอำนาจและรักษาอำนาจให้กับตนเอง ตลอดจนมีความพยายามแทรกแซงและครอบงำ สื่อสารมวลชนแล้ว รัฐบาลคู่แฝดแต่อยู่คนละประเทศยังมีความเหมือนกันในแง่ของ การสร้างคะแนนนิยมจากประชาชนและการสร้างฐานอำนาจ

แนวคิดนโยบายประชานิยม
เฟอร์ดินาล มาร์กอส มีนโยบายสร้างสังคมใหม่ (New Society) เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าที่สุดในอาเซียน  โดยออกนโยบาย
ปฏิรูป เศรษฐกิจรากหญ้า การพัฒนาคนจนในท้องถิ่นห่างไกล การอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร การจัดสรรสวัสดิการให้ประชาชน รวมถึงการสร้าง โครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก ซึ่งนโยบายต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ประเทศเป็นหนี้เป็นจำนวนมาก

ส่วน รัฐบาลไทยรักไทยมีแนวนโยบายที่คล้ายคลึงกัน คือ “คิดใหม่ ทำใหม่” โดยกำหนดชุดของนโยบายประชา นิยมจำนวนมาก ที่พยายามเอาใจประชาชนระดับรากหญ้า อาทิ โครงการพักชำระหนี้เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน โครงการเอื้ออาทรต่าง ๆ การปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน การทำสงครามกับความยากจน โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ รวมทั้งรัฐบาลยังมี แผนลงทุนในโครงการ
เมกะโปรเจกต์ เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก ซึ่งโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ประชาชนเป็นหนี้มากขึ้น และอาจจะทำให้ประเทศเป็นหนี้จำนวนมาก หากรีบเร่งลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์

การสร้างเครือข่ายกับกลุ่ม ผลประโยชน์ต่าง ๆ
รัฐ บาลมาร์กอสยังพยายามสร้างเครือข่าย กับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการเกื้อหนุนเสถียรภาพของรัฐบาล 12 คน (12 Rolex) เพื่อให้ทหารหนุนหลังรัฐบาล เช่น การแต่งตั้งกลุ่มมุสลิม เข้ามาดำรงตำแหน่งในรัฐบาล การให้ผลประโยชน์แก่นายทหารในกองทัพ โดยกรณีที่เป็นที่โจษจันกันมากคือ การให้นาฬิกาโรเล็กซ์แก่นายทหารชั้นผู้ใหญ่

รัฐบาลทักษิณได้พยายาม สร้างเครือข่ายการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์สำคัญ ๆ “คนเดือนตุลา”มาเป็นแกนนำในรัฐบาล เพื่อให้ได้ฐานเสียงจากกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ การดูด ส.ส.ของ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นชาวมุสลิม เข้ามาเป็นสมาชิกของพรรค หรือความพยายามสร้าง สัมพันธ์กับนายพลในกองทัพ โดยเฉพาะการแนะนำให้เลขาของภริยานายกฯแต่งงานกับผู้บัญชาการทหารอากาศ

วางเครือญาติและพวกพ้องในตำแหน่งสำคัญ
รัฐบาลมาร์กอสได้วางเครือญาติและพวกพ้องในตำแหน่ง สำคัญทางการเมือง และหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้รัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายและ
บริหาร ประเทศ ที่เอื้อประโยชนต่อธุรกิจของประธานาธิบดีและพวกพ้อง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การแต่งตั้งญาติของ อิเมลด้า มาร์กอส เป็นผู้คุมกรมสรรพากร ซึ่งทำให้ดำเนินธุรกิจของครอบครัวมาร์กอสได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษี

ขณะ ที่รัฐบาลทักษิณได้ใช้วิธีการเดียวกันเช่น การแต่งตั้งพลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร ลูกพี่ลูกน้องผู้พี่ของนายกฯ เป็นผู้บัญชาการทหารบก เพื่อควบคุมกำลังทหาร การแต่งตั้งพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งเป็นพี่เขย เป็นผู้บัญชาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อดูแล ควบคุมกำลังตํารวจ ตลอดจนการแต่งตั้งพล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ซึ่งเป็นสามีของเลขาฯ คนสนิทของคุณหญิง พจมาน ชินวัตร เป็น รมว.มหาดไทย มากไปกว่านั้นการแต่งตั้งพล.ต.ต.สุรสิทธ์  สังขพงศ์ เพื่อนนักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 26 ควบคุมดูแลกองสลากกินแบ่งรัฐบาล ฯลฯ โดย แต่งตั้งเครือญาติและพวก พ้องของผู้มีอำนาจในรัฐบาลให้เป็นใหญ่ในหน่วยงานสำคัญ ๆ

เราจะเห็น ได้ว่า รัฐบาลคู่แฝดใช้วิธีการเดียวกันในการวางรากฐานอำนาจ เพื่อที่จะให้อำนาจของตนเองนั้นยั่งยืน ด้วยการใช้นโยบายเอาใจคนระดับรากหญ้า การสร้างเครือข่ายกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ โดยการแบ่งสรรประโยชน์ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ตลอดจนการสร้างฐานอำนาจในองค์กรสำคัญของรัฐ
 
ทักษิณและมาร์กอส  : การละเมิดสิทธิมนุษยชน
Thaksin & Ferdinand Marcos  : The Violation of Human Rights


ความ เหมือนระหว่างรัฐบาลของประธานธิบดีเฟอร์ดินาล มาร์กอสในอดีต กับการบริหารงานของรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลทั้งสองยุคนอกจากจะมีความเหมือนในด้าน การวางรากฐานอำนาจ การออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้อง รวมไปถึงการแทรกแซงสื่อ ทั้งสองรัฐบาลยังมีความเหมือนกันอีกประการหนึ่ง คือ การกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

เมื่อมองย้อนกลับไปในยุคของรัฐบาล มาร์กอส ได้ใช้อำนาจรัฐเพื่อปรับปรุงและจัดระบบระเบียบสังคมในประเทศ ฟิลิปปินส์ในเวลานั้น โดยการประกาศใช้กฎอัยการศึก ซึ่งทำให้ประชาชนฝ่ายต่อต้านนับพันคนถูกคุมขัง รวมไปถึงการหายสาบสูญของผู้ต่อต้านจำนวนหนึ่งที่ ถูกอุ้มฆ่าโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัยที่อยู่ภายใต้การนำของมาร์ กอส

นอก จากนี้ มาร์กอสยังระงับใช้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องส่งตัวผู้ต้องหาไปฟ้องร้องต่อศาล อีกทั้งอนุญาตให้ตำรวจจับใครก็ได้ โดยไม่ต้องมีหมายจับ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนในประเทศ ทำให้และประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิอย่างที่ตนเองมีภายใต้ระบอบประชาธิปไตยได้ ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ เหตุการณ์ในเดือนมกราคม ปี 1970 ที่ประธานาธิบดีอนุญาตให้ใช้กำลังสลาย กลุ่มนักศึกษาที่มาชุมนุมประท้วง ทำให้นักศึกษา 6 คนเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก

การละเมิด สิทธิมนุษยชนได้ เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในรัฐบาลทักษิณ อาทิ การประกาศทำสงครามยาเสพติดจน ทำให้มีการวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องหาค้ายาเสพติดจำนวน 2,849 ศพ การเข้าสลายการชุมนุมม็อบท่อ ก๊าซไทย-มาเลย์รุนแรงเกินความจำเป็น โดยที่ตำรวจ 500 นาย ใช้ไม้กระบองไล่ตีกลุ่มผู้ชุมนุมที่หน้าโรงแรมเจบี หาดใหญ่ ขณะที่ทำละหมาด การสังหารหมู่ผู้ก่อความไม่สงบ ที่หนีเข้าไปหลบในมัสยิดกรือเซะ 106 ศพ รวมไปถึงการใช้กำลังเข้าปราบ ปรามผู้ชุมนุมที่ สภอ.ตากใบ จนทำให้มีผู้เสีย ชีวิต 85 รายจากการขนย้ายผู้ต้องหาที่ผิดวิธี

มาตรการสำคัญที่ทำให้เกิดการ ละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างรุนแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้ คือ การประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งต่อมารัฐบาลได้เปลี่ยนเป็นพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการตรวจสอบและจับกุมผู้ต้องสงสัยได้เลยทันที กฎหมายดังกล่าวมีส่วนทำให้เกิดคดีที่ประชาชนสูญหายโดยไร้ร่องรอยเป็น จำนวนมาก ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าอาจจะถูกอุ้มฆ่าโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ตัวอย่างที่ชัดเจนและโด่งดังที่สุด คือ การหายสาบสูญไป ของทนายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งมีความชัดเจนในชั้นศาลแล้วว่า ตำรวจ เป็นผู้พาตัวทนายสมชายไป เพียงแต่ยังไม่พบหลักฐานการตายของทนายสมชายเท่านั้น

การใช้นโยบายของ รัฐบาลทักษิณนับเป็นการลิดรอน สิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจนและรุนแรง จนทำให้องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยและต้องการเข้ามาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณี ต่าง ๆ รวมทั้งองค์การสหประชาชาติยังได้จัดอันดับความรุนแรงในการละเมิดสิทธิมนุษย ชนของประเทศไทยให้อยู่ในอันดับที่แย่ลง

หากรัฐบาลของประธานาธิบดี มาร์กอส ถูกจัดให้เป็นรัฐบาลที่ปกครอง ด้วยระบอบเผด็จการ อำนาจนิยม โดยมีดัชนีชี้วัดสำคัญ คือการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้นการที่รัฐบาลทักษิณที่มีพฤติกรรม ที่คล้ายคลึงกันในการละเมิดสิทธิมนุษยชน เราจึงอาจจะจัดให้รัฐบาลนี้อยู่ในพวกเผด็จการ อำนาจนิยมได้เช่นกัน

ทักษิณและมาร์กอส : ผลประโยชน์ทับซ้อน
Thaksin & Ferdinand Marcos  : The Conflicts of Interest


ประธานาธิบดี มาร์กอสนั้นมีผล งานที่โดดเด่นเป็นที่จดจำ คือ การคอร์รัปชันอย่างมโหฬารติดอันดับโลก มาร์กอสดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อญาติพี่น้องและพวกพ้องของ ตนเอง โดยเฉพาะการให้บริษัทฯในเครือญาติชนะการประมูลโครงการ สำคัญของรัฐ เช่น โครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านไฟฟ้า ประปา โทรคมนาคม การส่งออกน้ำตาล หนังสือพิมพ์ และน้ำมัน ซึ่งบางโครงการได้รับการยกเว้นเก็บภาษีเข้ารัฐ

มาร์ก อสยังใช้อำนาจรัฐครอบงำและทำลายธุรกิจที่เป็นคู่แข่งทางการ เมือง เพื่อทำให้ธุรกิจของครอบครัวและพวกพ้องสามารถครอบ ครองอุตสาหกรรมหลักของประเทศไว้ได้ทั้งหมด ซึ่งในสมัยที่ประธานาธิบดีมาร์กอสดำรงตำแหน่ง มีเพียงไม่กี่ตระกูล เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายรัฐและครอบครองเศรษฐกิจของ ฟิลิปปินส์ ได้แก่ ตระกูลโลเปซ โรมัวล์เดช ตัน โคฮวงโก อายาลา และโซริยาโน

เมื่อ หันมาพิจารณา ระบอบทักษิณจะพบลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือการกำหนดนโยบายที่ทำให้ธุรกิจของ ตนเองและพวกพ้องได้รับผลประโยชน์ เช่น การแก้ไขกฎหมายสรรพสามิตโทรคมนาคมเพื่อให้ธุรกิจบริการโทรศัพท์มือถือของ ครอบครัวนายกฯได้รับประโยชน์ การให้สัมปทานพัฒนาพื้นที่อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินแก่บริษัทของลูกชายนายกฯ การให้ EXIM Bank อนุมัติเงินกู้ให้แก่รัฐบาล พม่า 4,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินดังกล่าวมาจ้างบริษัทชินแซทฯ รับงานเครือข่ายดาวเทียม ตลอดจนการยกเว้นภาษีให้กับโครงการดาวเทียม IP Star ของบริษัทชินแซทฯ เป็นต้น

แนวนโยบายของรัฐบาล ทักษิณยังมีความพยายามครอบงำหรือทำลายกิจการของรัฐ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นคู่แข่งกับธุรกิจของคนในรัฐบาล อาทิ การขายหุ้นกิจการพลังงานของรัฐแล้วให้พวกพ้องของตนเข้าไปถือหุ้นโดยหวังผล ประโยชน์จากการผูกขาดในกิจการนั้น การทำให้สายการบินไทยอ่อนแอเพื่อให้สายการบินต้นทุนต่ำของตนเองได้ประโยชน์ การทำให้โรงพยาบาลของรัฐมีคุณภาพต่ำด้วยการดำเนินนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคทั้ง ๆ ที่ไม่มีความพร้อม จนทำให้คนหันไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนที่ตนเองเข้าไปครอบงำกิจการ หรือการทำให้รัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคมและการสื่อสารอ่อนแอจนมีการครหาว่า เพื่อที่จะไม่ขึ้นมาเป็นคู่แข่งกับธุรกิจมือถือของตน หรือแม้แต่การจัดการกับเจ้าหนี้นอกระบบแต่กลับไม่จัดการกับบริษัทเงินด่วน ของตนเองที่คิดดอกเบี้ยสูง ฯลฯ

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในรัฐบาลทักษิณ มีตระกูลใหญ่เพียง 10 ตระกูลเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ โดยรัฐบาลได้กำหนดนโยบายที่ให้เอื้อ ประโยชน์ต่อกลุ่มทุนที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ซึ่งมีความพยายามแลกผลประโยชน์ของธุรกิจที่ใกล้ชิดรัฐบาลกับความเสียหายของ ภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น เอฟทีเอไทย-ออสเตรเลียที่แลกผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมยานยนต์กับความเสียหาย ของอุตสาหกรรมโคเนื้อและโคนม เป็นต้น หรือการกำหนดอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ 5 ด้าน (Global Niche) โดยปราศจากผลการศึกษาวิจัยอย่างรอบคอบ

จากการ ศึกษาประวัติศาสตร์ พบว่า รัฐบาลเผด็จการแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามเป้าหมายของรัฐบาล รัฐบาลเผด็จการประเภทแรก เป็นรัฐบาลที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายเผด็จการ ตั้งแต่การรวบอำนาจ การแทรกแซงองค์กรต่าง ๆ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมีเป้า หมายเพื่อการสร้างชาติให้เข้มแข็ง ส่วนรัฐบาลเผด็จการประเภทที่สอง คือรัฐบาลที่มีพฤติกรรมเผด็จการเช่นกัน แต่กลับมีเป้าหมายเพื่อ แสวงหาผลประโยชน์เข้ากระเป๋าของตนเองและพวกพ้อง รัฐบาลประเภทนี้ เราเรียกว่า “รัฐบาล เผด็จการทรราชย์”

ทักษิณกับมาร์กอส
Taksin & Ferdinand Marcos


จากการ ศึกษาประวัติศาสตร์ ของประเทศฟิลิปปินส์ ในยุคของประธานาธิบดี เฟอร์ดินาล มาร์กอส ได้พบความคล้ายคลึงกันของผู้นำประเทศต่างยุคต่างสมัยกัน ระหว่างรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ และรัฐบาลไทยในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเด็น อาทิแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มและรักษาอำนาจให้กับตนเอง

ในช่วง ที่ครองอำนาจ ประธานาธิบดีมาร์กอสได้ความพยายามเพิ่มและรักษาอำนาจของตนเอง โดยเฉพาะความพยายาม แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปี 1971 เพื่อให้ ตนเองสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้ ซึ่งได้มีข่าวอื้อฉาวว่ามากอร์ส พยายามติดสินบนให้ผู้เข้าร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญ โหวตแก้ไขให้ประธานาธิบดีสามารถดำรงตำแหน่งเกินกว่า 8 ปี หรือ 2 สมัย แต่ความพยายามดังกล่าวไม่สำเร็จ มาร์กอสจึงประกาศกฎอัยการศึกใน วันที่ 21 ก.ย.1972 หลังจากนั้นอีก 14 ปีต่อมา เขาปกครองฟิลิปปินส์ในแบบเผด็จการ

พฤติกรรม ดังกล่าวคล้ายกับสิ่งที่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร พยายามทำในช่วงที่ผ่านมา เช่น การออกพระราชกำหนดการบริหารราชการ แผ่นดินในภาวะฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อเพิ่มอำนาจเด็ดขาดให้กับนายกฯ การผลักดันร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุม เพื่อให้นายกฯและรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงพิจารณาและถือเป็นมติคณะรัฐมนตรี โดยไม่จำเป็นต้องประชุม ครม.ทั้งคณะ และล่าสุดคือการออก พ.ร.ฎ.ยุบสภา ซึ่งกำหนดวันเลือกตั้งอย่างกระชั้นชิด เพื่อให้พรรคไทยรักไทยได้เปรียบในการเลือกตั้ง และประเด็นที่เราต้องติดตามต่อไป คือ จะมีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อรักษาอำนาจให้ตนเองหรือไม่

แทรก แซงและปิดกั้นสื่อ ในยุคของประธานาธิบดีมาร์กอส เป็นยุคที่สื่อสารมวลชนของฟิลิปปินส์ขาดเสรีภาพ เพราะสถานีวิทยุมี กลุ่มทุนที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลเป็นเจ้าของ และมาร์กอสยังได้ให้เครือ ญาติรวมไปถึงเพื่อนของตนควบคุมหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ แต่ หลังจากการตายของเบนิญโญ อาร์คีโน ผู้นำฝ่ายค้านของฟิลิปปินส์ จากการถูกลอบสังหาร ซึ่งมีการครหาว่าเป็นการบงการของประธานาธิบดี หนังสือพิมพ์ในฟิลิปปินส์จึงเริ่มปลอดจากการเมืองมากขึ้น

ในยุคสมัย ของรัฐบาลทักษิณ  ชินวัตร สื่อสารมวลชนในประเทศไทยถูก แทรกแซงและปิดกั้นไม่แตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถสื่อสารความจริงให้ประชาชนได้อย่างเต็มที่ ดังตัวอย่างของกรณีที่ชินคอร์ปเข้าถือหุ้นใหญ่ในไอทีวี และย้าย บรรณาธิการข่าวของไอทีวี เพราะไปวิจารณ์การแก้ปัญหาไข้หวัดนกของนายกฯ รวมทั้งการปลดผู้สื่อข่าวไอทีวี 23 คน การปลด บรรณาธิการและบรรณาธิการข่าวสายความมั่นคงของหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ การฟ้องร้องหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ที่ เสนอข่าววิพากษ์วิจารณ์ธุรกิจครอบครัวของนายกฯ การปิดวิทยุชุมชนที่ วิจารณ์รัฐบาล รวมไปถึงการแทรกแซงสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง แต่หลังจากการ ชุมนุมขับไล่นายกฯ มีความเข้มข้นมากขึ้น การเสนอข่าวของโทรทัศน์และ หนังสือพิมพ์จึงเริ่มมีความเป็นกลางมากขึ้น

นี่คือบางส่วนของความเหมือนของผู้นำทั้งสองประเทศซึ่งใช้วิธีการที่ไม่แตกต่างกัน ในการรักษาอำนาจของตนเองให้ได้นานที่สุด
-------------

นี่ คือบทความที่ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้เขียนไว้ก่อนทักษิณจะถูกยึดอำนาจครับ ไม่ต้องมาปั้นแต่งใส่ร้ายเหมือน นปช. ในปัจจุบัน 


ซูฮาร์โต+มาร์กอส=ทักษิณ

เราคงไม่ต้องไปประเมินว่า สินทรัพย์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเครือญาติมีอยู่เท่าไหร่ เมื่อไม่นานมานี้ หนังสือ พิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ ได้เลื่อนการจัดอันดับให้นายกฯ ของเราเป็นมหาเศรษฐีที่ทรงอำนาจที่สุดคนหนึ่งในโลก จากอันดับที่ 21 มาอยู่อันดับที่ 14 เลื่อนขึ้นมา 7 อันดับ ด้วยทรัพย์สิน 56,000 ล้านบาท

แน่ นอนว่า การประสบความสำเร็จทางธุรกิจของพ.ต.ท.ทักษิณ นี่เองที่ทำให้ประชาชนมีความคาดหวัง หลังจากเขาตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้นมาพร้อมนโยบายที่เป็นรูปธรรม

เมื่อ ได้เข้ามาบริหารประเทศ รัฐบาลทักษิณมีนโยบายประชานิยมออกมาเป็นชุดๆเพื่อเอาอกเอาใจคนทั้งประเทศ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปกลับพบว่า นโยบายเหล่านี้ไม่ต่างกับการทำโปรโมชันเพื่อส่งเสริมการขายสินค้า ซึ่งในฐานะการเมืองก็คือ การส่งเสริมฐานะของพ.ต.ท.ทักษิณเอง

นโยบาย และวาทกรรมของพ.ต.ท.ทักษิณ หลายครั้ง ได้สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ ยึดมั่นในแนวทางการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเกินตัว สนับสนุนการบริโภคนิยมแบบสุดลิ่มทิ่มประตู ซึ่งตรงข้ามกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ดัง นั้นเมื่อสมัยที่ 2 ของรัฐบาลผ่านมาเพียงไม่กีเดือน สังคมและสื่อมวลชนก็เริ่มออกมาตั้งคำถามต่อแนวนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ เพราะนโยบายหลายอย่างเริ่มเห็นความล้มเหลว และสะท้อนให้เห็นว่า เอื้อที่จะตอบแทนผลประโยชน์ให้แก่บริษัทวงศ์วานว่านเครือ และรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นผลประโยชน์ของชาติก็ถูกนำมาแปรรูปเพื่อแบ่งปันกันใน หมู่พวกพ้อง

ความชัดเจนในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนที่หลายฝ่ายเคยตั้งคำถามและกังขาเริ่มปรากฏขึ้น

หลาย คนจึงเริ่มนึกถึงอดีตประธานาธิบดี แห่งอินโดนีเซีย และอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส แห่งฟิลิปปินส์ ราวกับว่า สามคนนี้มีความละม้ายคล้ายคลึงกัน

อย่างไรก็ตามมีคนบอกว่า ซูฮาร์โต ก็คือ ซูฮาร์โต มาร์กอส ก็คือ มาร์กอส ทั้งสองคนมีความต่างกันอยู่ เพียงแต่ทักษิณเองที่ดันไปเหมือนกับมาร์กอสบวกกับซูฮาร์โตเข้าอย่างช่วยไม่ ได้

ก่อนหน้านี้องค์การเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ(ทีไอ)เคยระบุ ว่า อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต แห่งอินโดนีเซีย ครองอันดับหนึ่งผู้นำที่โกงกินมากที่สุดในโลก ทั้งนี้ตามบัญชีจัดอันดับ 10 ผู้นำทุจริตคอร์รัปชันที่สุดของโลกในรอบ 20 ปีที่ โดยมาร์กอส อดีตผู้นำของฟิลิปปินส์มาเป็นอันดับ 2

รายงานดังกล่าวประเมินว่า ตระกูลซูฮาร์โต(1967-98)โกงกินประเทศชาติไปราว 15,000-35,000 ล้านดอลลาร์ ระหว่างที่เขากุมอำนาจปกครองประเทศนานถึง 32 ปี นับตั้งแต่ปี 1967

ผู้ ที่ติดอันดับที่ 2 ได้แก่ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส อดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์(1972-86) ซึ่งก้าวเข้ามาสู่อำนาจเมื่อปี 1972 ด้วยการคอร์รัปชันประเทศชาติไป 5,000-10,000 ล้านดอลลาร์

แต่เราต้อง ยอมรับว่า ความร่ำรวยของพ.ต.ท.ทักษิณนั้น มาจากการทำธุรกิจของเขา แม้ว่า การได้มาของธุรกิจนั้นจะถูกมองว่า เป็นการวิ่งเต้นจากผู้มีอำนาจในยุคเผด็จการรสช.

ในระหว่างที่มีอำนาจ นั้น ประธานาธิบดีซูฮาร์โต ก็ถือเป็นหนึ่งในสิบอภิมหาเศรษฐีรวยที่สุดของโลกด้วยสินทรัพย์ส่วนตัว 16,000 ล้านดอลลาร์

นิตยสารฟอร์บส์ เคยรายงานไว้ว่า แหล่งสร้างความร่ำรวยให้แก่ประธานาธิบดีซูฮาร์โตคือหุ้นที่ซูฮาร์โตถือครอง ในบรรดาบริษัทธุรกิจระดับยักษ์ของอินโดนีเซีย โดยมีข้อมูลว่า รัฐบาลอินโดนีเซียจะเอื้อประโยชน์สูงสุด แก่บริษัทที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับท่านประธานาธิบดี

บรรดาเครือข่าย ธุรกิจที่สร้างรายได้ปันส่วนแบ่งป้อนให้แก่ซูฮาร์โต จะได้รับสิทธิผูกขาดในหลายหลากธุรกิจภายใต้รูปแบบ ใบอนุญาต-สัมปทาน แต่เพียงผู้เดียว หรือเพียงสองสามราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังปี 1982 รัฐบาลอินโดนีเซียบังคับใช้ระบบ "เทรดเดอร์รับอนุญาต" เพื่อผูกขาดการนำเข้าและการจัดจำหน่ายสินค้านำเข้าให้อยู่ในอำนาจของหน่วย งานรัฐเพียงบางหน่วย สิทธิผูกขาดเหล่านั้นจะทยอยถ่ายโอนสู่เครือข่ายธุรกิจในอุปถัมภ์

ประธานาธิบดี ซูฮาร์โต สามารถพลิกฐานะจากลูกชาวนามาเป็นอภิมหาเศรษฐีของโลก เช่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ที่สามารถพลิกชีวิตจากการวิ่งแลกเช็คขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐีในระยะเวลาไม่กี่ปี แต่ความจริงแล้วซูฮาร์โตไม่ได้ลงแรงประกอบการธุรกิจด้วยตัวเอง แต่เขาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากตัวแทนธุรกิจใกล้ชิดที่โอบอุ้มคุ้มครองจาก อำนาจรัฐนั่นเอง

ฮูโตโม มันดาลา บุตรา บุตรคนที่ 5 ของประธานาธิบดีซูฮาร์โต ก็มีธุรกิจหลายอย่างที่ร่ำรวยมาจากการได้สิทธิพิเศษ สัมปทานผูกขาด จากการอิงแอบอำนาจของบิดา

หลังซูฮาร์โต ผูกขาดตำแหน่งผู้นำอินโดนีเซียมา 32 ปี อินโดนีเซียเจอพิษเศรษฐกิจในปี 1998 การลุกฮือครั้งใหญ่ของประชาชนจึงปะทุขึ้น ทหารและตำรวจใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรง แต่ยิ่งปราบเหมือนยิ่งปลุก การจลาจลลุกลามไปทั่ว จนซูฮาร์โตจำต้องประกาศสละเก้าอี้ในที่สุด

และในช่วงปลายปีนั้น นักศึกษาอิเหนาได้ลุกฮือขึ้นเรียกร้องรัฐบาลให้ดำเนินคดีโกงชาติกับอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต

ส่วน ยุคสมัยแห่งการเรืองอำนาจของ มาร์กอสแห่งฟิลิปปินส์นั้น ประชาชนฟิลิปปินส์ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของเผด็จการเสียงข้างมาก มาร์กอสก็เช่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เขาเริ่มต้นด้วยความคาดหวังของประชาชน ด้วยชัยชนะจากการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น มาร์กอสบริหารประเทศผสมผสานความก้าวหน้า แต่แฝงไปด้วยผลประโยชน์ในการคอร์รัปชัน และการลิดรอนสิทธิมนุษยชน

ขณะ ที่บ้านเมืองระส่ำระสาย อีเมลด้า เริ่มบทบาทหน้าที่สตรีหมายเลข 1 เธอออกเดินทางไปทั่วโลกพบปะผู้นำประเทศ และจับจ่ายซื้อสินค้าอย่างฟุ่มเฟือย เธอเข้ามามีบทบาทในการบงการทางการเมืองทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง

มาร์ก อสก็ไม่ต่างกับผู้มีอำนาจบางคน เขาอาศัยประชาธิปไตยเป็นฉากบังหน้ายุคของเขาถูกมองว่าเป็นยุคโคตรอภิมหาโกง ด้วยอิทธิพล “ปืน-เงินทอง-อันธพาล (gun-gold-goon)” ช่วงแห่งการเสวยอำนาจของเขาเต็มไปด้วยการกดขี่ข่มเหงฝ่ายตรงข้าม และประชาชน การทุจริตคอร์รัปชันระบาดไปทั่วทุกหย่อมหญ้า

ความฮึกเหิมของมาร์กอสมาจากการมีฐานเสียงสนับสนุนในสภาและในกองทัพอย่างล้นหลาม

ใน ระยะหลัง ชาวฟิลิปปินส์เริ่มตั้งคำถามต่อรัฐบาลมาร์กอส แต่ชนวนของการลุกฮือก็ยังไม่เกิดขึ้น เพราะพวกเขามัวแต่ตั้งคำถามว่าไม่เอามาร์กอสแล้วจะเอาใคร จนกระทั่งเบนินโย่ อาคิโน่ นักโทษการเมืองที่ลี้ภัยออกจากฟิลิปปินส์เดินทางกลับมาบ้านเกิด ทันทีที่ลงจากเครื่องบินและเท้าสัมผัสแผ่นดินเกิด อาคิโน่ ก็ถูกลอบสังหาร

ความ ตายของอาคิโน่นี่เองที่เป็นชนวนให้ประชาชนลุกฮือขึ้นมาขับไล่ระบอบมาร์ก อส จนในที่สุดเขายอมปิดฉากอำนาจของตนลง แม้จะจัดให้มีการเลือกตั้ง มาร์กอสก็พ่ายแพ้อย่างหมดรูป เขา และ อีเมลด้า ถูกชาวฟิลิปปินส์ขับไล่ออกจากประเทศ ยุคสมัยแห่งอำนาจของ เฟอร์ดินานด์ และ อีเมลด้า สิ้นสุดลงตั้งแต่บัดนั้น

ไม่น่าเชื่อว่า เมื่อย้อนกลับไปมองมาร์กอสและซูฮาร์โตแล้วหันกลับมามองบ้านเรา ก็เริ่มเห็นเค้าลางแล้วใช่ไหมว่า รัฐบาลทักษิณจะมีจุดจบอย่างไร

1 ความคิดเห็น:

คิดแบบบ้านๆ กล่าวว่า...

ขอแบ่งให้เพื่อนๆอ่านกันบ้างนะครับ คิดเหมือนกันครับ

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง