บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

รฟท. รถไฟไทย

     ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช     ฝรั่งยุโรปสนใจที่จะสร้างทางรถไฟในราชอาณาจักรสยามกันมาก  โดยเฉพาะอังกฤษ   วันนี้ขอเสนอเนื้อความจากบทความเรื่อง  “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาของรถไฟไทย”  โดยข้าพเจ้าตัดต่อเอง   ต้องขออภัยท่านผู้เขียนด้วยครับ   ข้าพเจ้าเก็บมาจากเว็บโดยลืมจดว่าโพสต์มาจากไหน  กราบขออภัยที่มิได้ลงนามให้เกียรติท่านผู้เขียนครับ
         
     “หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากประพาสอินเดีย และทรงว่าราชการด้วยพระองค์เองแล้ว เกิดมีข่าวแพร่สะพัดว่ารัฐบาลไทยดำริจะสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปนครราชสีมา จึงมีชาวยุโรปหลายชาติมาติดต่อเสนอขอรับเหมาก่อสร้างทางรถไฟ แต่เนื่องจากฐานะเศรษฐกิจของประเทศขณะนั้นยังไม่อำนวย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงยังไม่ทรงโปรดให้รับข้อเสนอดังปรากฏความบางตอนในจดหมายเหตุพระราชกิจประจำวัน ดังนี้
      "…วันศุกร์ แรม 11 ค่ำ เดือน 4 ปีฉลู นพศกจุลศักราช 1239… หนังสือกงลุศอเมริกันถวายหนังสือว่า มีคนยุโรปคนหนึ่งที่ลอนดอนมีหนังสือมาว่าได้รู้ว่าไทยจะทำรถไฟ จะขอรับเหมาส่งสำเนาคำแปลมาด้วยฉบับ 1…"
      "…วันเสาร์ แรม 12 ค่ำ เดือน 4 ปีฉลู นพศกจุลศักราช 1239… พระราชหัตถเลขาตอบกงสุลอเมริกันว่า ขอบพระทัยที่นำผู้ที่จะรับทำทางรถไฟในเมืองไทยมาถวาย ขอแจ้งให้ทราบว่า ทางที่จะไปโคราช คอเวอเมนต์ของเรายังไม่ได้คิดจะทำทางรถไฟแน่ทีเดียว เพราะยังไม่ทราบชัดว่า การจะมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ทุนรอนที่จะทำการรถไฟก็กลัวจะไม่มีพอ จึงได้ให้ขึ้นไปตรวจดู ควรจะตัดเป็นทางการหรือตรัมเวประการใด จึงปรึกษากันดูเพื่อต่อไปมีประโยชน์อย่างใด จึงจะเป็นทางรถไฟ ตามกำลังที่จะทำได้ แต่เวลานี้ยังไม่ต้องการจะคิดในเรื่องรถไฟก่อน"
     จนถึงปี พ.ศ. 2426 อังกฤษแผ่อิทธิพลเข้ามาทางด้านเหนือของไทย โดยขอทำสัญญาเกี่ยวกับ อำนาจทางศาลและการพาณิชย์ ระหว่างพม่ากับเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พร้อมกับขอตั้งสถานกงสุลประจำไว้ที่เชียงใหม่แห่งหนึ่งด้วย เมื่ออังกฤษตั้งสถานกงสุลที่เชียงใหม่แห่งหนึ่งด้วย เมื่ออังกฤษตั้งสถานกงสุลที่เชียงใหม่ขึ้นแล้ว ก็มุ่งหวังจะขยายอิทธิพลให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อผลประโยชน์ของอังกฤษในดินแดน ภาคเหนือของไทย ในการนี้รัฐบาลอังกฤษได้ส่งวิศวกรเข้ามาทำการสำรวจทางรถไฟถึงเชียงแสน และต่อมาได้ส่งวิศวกรชื่อ โกลคูน (Colquhoun) และฮอลต์ ฮัลเลต (Holt Hallet) รวม 2 นาย เข้ามาเจรจากับรัฐบาลไทยเมื่อปี พ.ศ. 2428 ขอสร้างทางรถไฟระหว่างพม่าติดต่อกับประเทศจีนผ่านทางภาคเหนือของประเทศไทย ทางจังหวัดตาก (ระแหง) เพื่อใช้เป็น เส้นทางขนส่งสินค้าจากประเทศจีนมายังอินเดียให้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้นไปอีก แต่รัฐบาลไทยได้ พิจารณาแล้วเห็นว่า ถ้ายอมให้อังกฤษสร้างทางรถไฟ สายนี้ขึ้นแล้วก็จะแบ่งประเทศไทยออกเป็น 2 ส่วน อาจ เป็นเหตุให้ไทยต้องเสียดินแดนภาคเหนือประกอบกับผลประโยชน์ที่จะได้รับจะตกอยู่กับอังกฤษแต่ผู้เดียว เพราะไม่ผ่านกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของไทย ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงปฏิเสธที่จะให้สัมปทานทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดเชียงใหม่และเชียงแสนเอง ถ้ารัฐบาลอังกฤษรับว่าจะสร้างทางรถไฟจากมะละแหม่งมาที่ชายแดนไทย รัฐบาลไทยก็ยินดีจะให้มีทางแยกไปเชื่อมต่อกันที่จังหวัดตาก (ระแหง)
     ในการเจรจาขอสร้างทางรถไฟของอังกฤษครั้งนี้ ปรากฏว่า เมื่อรัฐบาลไทยปฏิเสธไม่อนุมัติสัมปทานให้แก่อังกฤษแล้ว มิสเตอร์โกลคูน ก็ได้เสนอให้ไทยกู้เงินเพื่อสร้างทางรถไฟสายนี้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 แต่รัฐบาลไทยเห็นว่าไทยอาจหาแหล่งเงินกู้จากที่อื่นในอัตราดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 6 ได้โดยไม่ยากนักและตามข้อเท็จจริงแล้ว ประโยชน์ในการสร้างทางรถไฟจากระแหงเข้าไปในดินแดนพม่าจะทำให้เมืองมะละแหม่งเจริญรุ่งเรืองขึ้น โดยอังกฤษเพียงแต่สร้างทางรถไฟจากมะละแหม่งมายังพรมแดนไทย ยาวเพียง 100 กิโลเมตร ในขณะที่ไทยจะต้องสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่และเชียงแสน และสร้างทางแยกไปจังหวัดตาก (ระแหง) ยาวถึง 1,200 - 1,500 กิโลเมตร
     
      แม้ว่าบริษัทชาวเดนมาร์กจะได้รับอนุมัติสัมปทานสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ ระยะทาง 21 กิโลเมตรแล้วก็ตาม แต่บริษัทฯ ก็ยังไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้เนื่องจากขาดทุนทรัพย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยมทุนทรัพย์ไปสมทบด้วยส่วนหนึ่งนับเป็นพระปรีชาสามารถลึกซึ้งที่รัฐสนับสนุนให้กู้ยืมเป็นครั้งแรก ในโครงการอุตสาหกรรมขนส่งที่เอกชนลงทุนและจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศ.............

       ดังที่ทราบแล้วว่า ยุคสมัยนั้นชาติมหาอำนาจตะวันตกต่างมุ่งแสวงหาอาณานิคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคาบสมุทรอินโดจีน ในระยะนั้นนักสำรวจชาวฝรั่งเศสชื่อ ลาเกรอะ (Lagre) และการ์นีเอร์ (Garnier) ซึ่งเข้ามาสำรวจดินแดนในแถบนี้ ได้ทำรายงานเปรียบเทียบไว้ว่า แหลมอินโดจีนมีลักษณะคล้ายฝ่านิ้วมือทั้ง 5 ได้แก่ แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำแดง ในตังเกี๋ยและได้กล่าวสรุปไว้ในรายงานว่า ดินแดนเหล่านี้ควรต้องตกอยู่ในอำนาจของฝรั่งเศสเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำโขง ซึ่งไหลมาจากประเทศจีนนั้น ถ้าสามารถเข้าควบคุมไว้ในอำนาจของฝรั่งเศลทั้งหมดได้แล้วก็จะเป็นอดิเรกลาภ และเป็นลู่ทางที่จะพัฒนาเกาะแก่งใช้เป็นทางเดินเรือติดต่อกับประเทศจีนทางมณฑลยูนนาน และสิบสองปันนา ได้โดยง่าย ดังนั้น รัฐบาลฝรั่งเศสจึงพยายามดำเนินการทุกวิถีทางที่จะยึดครองดินแดนของไทยผนวกเข้าเป็นอาณานิคมให้จงได้ทั้งรัฐสภาฝรั่งเศสเองก็รบเร้าให้รัฐบาลดำเนินการกับประเทศไทยเพื่อผนวกดินแดนฝั่งซ้ายตลอดแนว แม่น้ำโขงของไทยมาเป็นฝรั่งเศสให้จงได้
      พฤติการณ์ของฝรั่งเศสดังกล่าวทำให้รัฐบาลไทยตระหนักชัดว่า ราชอาณาจักรที่อุดมสมบูรณ์ของไทยเป็นที่ปรารถนาของบรรดาชาติมหาอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษ และฝรั่งเศสประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงล้วนต้องตกเป็นอาณานิคมของทั้ง 2 ชาติ ดังกล่าว โดยสิ้นเชิงแล้ว เอกราชของประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤติ การคมนาคมของไทยซึ่งมีแต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลอง เป็นพื้นนั้นไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต เฉพาะอย่างยิ่งภูมิประเทศของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นทางทุรกันดาร ต้องผ่านป่าที่มีความไข้และสัตว์ร้ายชุกชุม ราษฏรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจแนวโน้มไปทางชาติใกล้เคียงสมควรที่จะสร้างทางรถไฟรัฐขึ้นในประเทศ เพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนเหล่านี้ ก่อนอื่นเพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกราน เป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่รกร้างว่างเปล่าให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศและเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารสินค้า ไปมาถึงกันโดยง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เซอร์ แอนดรู คลาก (Sir Andrew Clark) และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ (Messrs Punchard Mac Taggart , Lowther & Co.) ทำการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรีถึงเมืองนครราชสีมาสายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ถึงตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอน ๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 10 ปอนด์”


สยามรัฐ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง