บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

ล้วงลึก “วรเจตน์” สะท้อนตัวตน “คณะนิติราษฎร์” เคลียร์ใจข้อครหา “ล้างผิดเพื่อทักษิณ”


“สื่อมวลชนไปตีความเขียนข่าวว่าเป็นการล้างผิดให้กับพ.ต.ท .ทักษิณ ชินวัตร เป็นความเท็จ คือมันไม่จริงวันนี้เรายืนยันข้อเสนอของเรา และเพิ่มเติมบางประเด็นที่ยังไม่เคลียร์ให้เข้าใจมากขึ้น  ส่วนที่มีการพูดถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีเพราะ ได้มาซักถามว่าเป็นการทำเพื่อคนๆเดียว เราจะได้รู้ว่าไม่ใช่การทำเพื่อคนๆเดียว แต่เป็นการทำเพื่อหลักการ  เราจะได้มาคุยกัน จะได้อธิบาย เหมือนกับที่แถลงไปวันที่ 25 ก.ย.ที่ผ่านมา ว่าไม่ได้ทำเพื่อคนๆเดียว ปกติคนจะมองว่าเป็นการทำเพื่อคนๆเดียวเป็นการลดน้ำหนักข้อเสนอโจมตีส่วนตัว ซึ่งผมไมได้มีอะไร ผมก็สอนหนังสืออยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”

ไม่บ่อยครั้งนักมีข้อเสนอในทางกฎหมายออกมาสู่สาธารณะแล้วกลายเป็นประเด็น ที่คนส่วนใหญ่พูดถึงกันในสังคมอย่างกว้างขวาง ขณะนี้ ประเด็นของ “ข้อเสนอการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” ของคณะนิติราษฎร์ ทำให้สังคมเกิดความสงสัยในหลายประเด็น  วันนี้ทางศูนย์ข้อมูล& ข่าวสืบสวนฯ www.tcijthai.com ได้มี โอกาสพูดคุยกับ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในกลุ่มคณะนิติราษฎร์ ภายหลังการแถลงจุดยืนและชี้แจงทำความเข้าใจต่อข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ที่ ได้นำเสนอในวันที่ 19 ก.ย. 54 ครบรอบ 5 ปีรัฐประหาร โดยเสนอให้ “ลบล้างผลพวงจากรัฐประหาร 19 ก.ย.49”  ซึ่งมีหลากประเด็นที่คาใจคนในสังคมจำนวนมาก วันนี้ทางศูนย์ข้อมูล& ข่าวสืบสวนฯ จึงมาคลี่คลายข้อสงสัยเหล่านั้น

อยากให้อธิบายตามที่คณะนิติราษฎร์เสนอให้มีการลบล้างคำพิพากษาที่มีผลพวงมาจากรัฐประหาร 19 ก.ย.49 ในส่วนของคดีที่ดินรัชดา ?
ต้องเริ่มกันใหม่ หมายความว่าต้องลบล้างคำพิพากษา และพิจารณาคดีขึ้นมาใหม่ ไม่ได้หมายความว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะพ้นผิด ส่วนใหญ่คนเข้าใจว่าลบล้างคือพ้นผิด เราบอกว่า  ยังไม่ใช่การดำเนินคดีกับเขา ซึ่งเขาเป็นผู้ถูกกล่าวหาอยู่ ก็ต้องเริ่มกันใหม่ เหมือนกับคดียึดทรัพย์ ก็ต้องคืนเงินไปก่อนและเริ่มกระบวนการพิจารณากันใหม่

ในทางปฏิบัติกระบวนการยุติธรรมจะทำอย่างไร?
ขึ้นอยู่กับหลักที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญที่จะทำกันขึ้นมา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเป็นเรื่องใหม่จะทำครั้งแรก ต้องมีการบัญญัติขึ้นครั้งแรก เหมือนกับการล้มล้างรัฐประหาร ในหมวดนี้จะระบุไว้ว่า จะลบล้างอะไรบ้าง มันจะเข้าสู่ระบบกระบวนการยุติธรรมปกติที่เกิดขึ้นมาใหม่

ตามกระบวนการทางกฎหมายคือร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ บัญญัติมาตราขึ้นใหม่?
ใช่เราต้องร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ แต่มันจะมีอยู่หลายเรื่อง ต้องประกาศลบล้างคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)อะไรต่างๆ  ลบล้างไป มันจะเกิดกระบวนการหลายอย่างขึ้นพร้อมกัน เช่น การดำเนินคดีกับคนซึ่งทำรัฐประหารภายหลังจากรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้กระทำโดยอำนาจของประชาชน และรัฐธรรมนูญ

 หากการลบล้างผลพวงจากรัฐประหารนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง?
ไม่น่าจะวุ่นวาย ไม่ใช่การนิรโทษกรรม แต่มันทำให้เขาสู่กระบวนการพิจารณาใหม่ที่เป็นธรรม และยุติธรรมไม่เกี่ยวกับการตั้งปรปักษ์มาสอบสวน

กฎหมายที่ก่อให้เกิดประโยชน์จากผลของการรัฐประหาร รวมถึงกฦหมายอื่นที่ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) จะทำอย่างไร ?
 อันนี้ไม่กระทบอยู่แล้ว ไม่กระทบเลย หลายคนพยายามเสนอแล้วบอกว่าเราเสนอลบล้างผลการรัฐประหารทั้งหมด จะกระทบ แต่ทางคณะนิติราษฎร์ เราดูไม่ได้เสนอไปมั่วๆ เราเสนอให้ล้างทั้งหมดแต่เราก็ดูว่าจะกระทบอะไรไม่ได้เสนอแบบมั่วๆ เสนอเฉพาะเรื่อง จะล้างคำประกาศของคปค. รัฐประหารโดยตรง ส่วนกฎหมายที่ออกมาเป็นเรื่องๆ ที่มันก่อตั้งสิทธิไม่ได้กระทบ ไม่กระทบอยู่แล้ว คนที่พูดพยายามทำให้มันรู้สึกว่าน่ากลัวมากๆ  แต่เราเสนอเพื่อให้สามารถเอาผิดกับคนที่ทำรัฐประหารได้ ประเด็นในสังคมมันเป็นแบบนี้ ก็เลยมองว่าเราสุดโต่งไป แต่ความจริงไม่ใช่ เราคัดเลือก (Selected)  ว่าคนที่สุจริตก็จะไม่ได้รับผลกระทบ แต่สำหรับคนที่ไม่สุจริตจะได้รับผลกระทบแน่ เพราะเขาทำผิด

กระบวนการท้ายที่สุดคือนำตัวของพล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน ประธานคปค.(คมช.) มาลงโทษ ?
ก็หลายคนนะ คนเหล่านั้นก็ต้องมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ผิดหรือไม่ผิดก็เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณากฎหมายว่ากฎหมายใดควรยกเลิกหรือไม่
ใช่ เอาในทางหลักการเรายอมรับว่ามีการลบล้างผลพวงที่มาจากรัฐประหาร มันจะทำขึ้นในชั้นของการร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร. จะต้องบัญญัติเรื่องนี้เอาไว้ เสร็จแล้วเราจะคัดเลือกแต่ละเรื่อง ซึ่งผมคิดว่ามันไม่น่าจะยาก เพราะมันจำกัดผลอยู่ อะไรที่เป็นกฎหมายที่มาจากผลพวงรัฐประหารที่เป็นประโยชน์ก็ไม่น่าจะลบล้าง ด้วย เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวหรอก  คนที่บอกว่าลบล้างหมด คือ เขากลัวว่าจะไปเอาผิดกับคนที่ทำรัฐประหาร ประเด็นมันเป็นอย่างนี้


ที่มาของคนที่จะมาทำหน้าที่คณะกรรมการพิจารณากฎหมาย มาจากไหน ?
 มันต้องมาจากส.ส.ร.ในการร่างรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าส.ส.ร.จะมาจากไหน จะใช้ระบบการสรรหาแบบรัฐธรรมนูญ ปี 2540 หรือไม่  ส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง ส่วนหนึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิใช่หรือไม่  ก็มีหลายแนวทาง อีกแนวทางคือ ให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อ ตามโควตาของพรรค และเป็นไปตามสัดส่วนของส.ส.ในสภา ซึ่งมีหลายแนวทางในการได้มาของส.ส.ร. ตามรัฐธรรมนูญ แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายอยู่ที่ประชาชน ออกเสียงประชามติ

หลายประเด็นที่เป็นข้อกังวลกันมากโดยเฉพาะประเด็นในการแก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112  ทางกลุ่มนิติราษฎร์จะอธิบายตัวบทกฎหมายให้ชัดเจนได้อย่างไร?
มาตรา 112  ทางคณะนิติราษฎร์ได้เสนอร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาไปแล้ว ขณะนี้เงียบไป เพราะบรรยากาศในการพูดถึงประเด็นแก้ไขมาตรา 112 มันไม่ค่อยเอื้อเท่าไหร่ คนไม่ค่อยพูดกัน หวังว่าต่อไปทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน จะพูดถึงกันเยอะขึ้น ส่วนตัวบทที่ทางคณะนิติราษฎร์ เสนอให้แก้ไข  (อ่านต่อในlink  http://www.enlightened-jurists.com/)   ทางคณะนิติราษฎร์ไม่เสนอให้ยกเลิกมาตรา 112  แต่มีการประนีประนอมกับสถาบันทางจารีตอยู่ เพียงแต่ว่าให้มันสมเหตุสมผล คือโทษที่มีโทษจำคุก 3-5 ปีมันไม่สมเหตุสมผล เมคเซ็นซ์(Make sense) กับความผิด เรื่องโทษถือเป็นเรื่องแรกที่จำเป็นต้องแก้ไขก่อน เพราะโทษมันหนักจนเกินไป


คดีของพ.ต.ท.ทักษิณ มันเริ่มต้นมาจากการรัฐประหาร หากทำให้มันเสียเปล่า แล้วเริ่มต้นใหม่แล้วประชาชนทั่วไปจะไว้วางใจได้อย่างไรว่าจะไม่มีการตัด ตอน?

“เป็นเรื่องซึ่งต้องทำขึ้นมา ไม่ใช่เรื่องง่ายต้องถามก่อนว่าการตั้งคำถามแบบนี้เป็นการปฏิเสธการลบล้างคำ พิพากษาหรือไม่ หมายความว่า เราต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า เราปฏิเสธรัฐประหาร ส่วนจะเริ่มต้นใหม่อย่างไร ปฏิรูปองค์กรกระบวนการยุติธรรมอย่างไรต้องทำต่อมาอีก  เราจะมาบอกว่าเริ่มต้นใหม่อย่างไรไม่รู้ แต่ให้คงไว้ ก็ไม่ถูก Logic ใน ทางกลับกันมันไม่ถูกต้องล้างไป แล้วไปว่ากันข้างหน้า อย่าบอกว่าข้างหน้าไม่แน่ใจ ไม่รู้แล้ว ยังคงประกาศของคปค.ไว้ เป็นตรรกะที่ไม่ถูกต้อง”


การลบล้างคำพิพากษาในคดีที่ดินรัชดามันเริ่มต้นดำเนินการมาก่อน 19 ก.ย.49 แล้วใช่หรือไม่ ?
ไม่ใช่ คดีที่ดินรัชดามีการตั้งข้อกล่าวหาและเริ่มกระบวนการฟ้องร้องโดยคตส.เป็นคน ทำ คตส.ดึงคดีนี้ขึ้นมา แต่ยอมรับว่าการกล่าวหาในคดีมันมีอยู่ก่อน เขาดึงขึ้นมา แต่คำพิพากษามันมีขึ้นมาจากผลพวงจากตัวรัฐประหารนั่นเอง

นอกจากนี้มีคดีใดอีกบ้างที่ต้องลบล้างคำพิพากษา?
 คดีหวยบนดิน, คดีกล้ายาง  แต่ในคดีกล้ายางมีการปล่อยตัว ก็ต้องมาว่ากันใหม่ คดียึดทรัพย์ฯ ถ้าผมจำไม่ผิดอย่างน้อยมี 4 คดี ส่วนคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาตอนนี้ยังมีอยู่  ซึ่งคดีเหล่านี้ต้องเริ่มใหม่ซึ่งไม่ใช่เป็นผลที่มาจากรัฐประหาร  คือเข้าใจไหมว่า การรัฐประหารมีตำหนิตรงที่ตั้งคนเข้ามาและดำเนินกระบวนการพิจารณาส่งฟ้อง ศาล  คือถ้าไม่มีรัฐประหารกระบวนการจะไม่เกิดขึ้นแบบนี้

มุมของนิติราษฎร์ก็ต้องพิจารณาถึงกรณีที่คนเสื้อแดงเสียชีวิตจาก การกระชับพื้นที่เข้าสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 53 ที่มีผู้เสียชีวิต 91 ศพด้วยใช่หรือไม่ ?
ถูกต้อง ต้องทำอย่างนั้น เราต้องการให้สังคมไทยเรียนรู้ความจริง และกลับไปสู่ความเป็นจริง เพียงแต่ว่าข้อเสนอนี้มันทำให้ใครหลายๆคนเสียประโยชน์ เขาต้องตำหนิ โจมตี เป็นเรื่องปกติ

ทำไมทางกลุ่มนิติราษฎร์ถึงกลับมาพูดอีกรอบหลังจากออกแถลงการณ์ครบ 1 ปี นิติราษฎร์ในวันที่ 19 ก.ย. 54 ที่ผ่านมา?

“ประเด็นคือ พบว่าสื่อมวลชนไปตีความเขียนข่าวว่าเป็นการล้างผิดให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นความเท็จ คือมันไม่จริงวันนี้เรายืนยันข้อเสนอของเรา และเพิ่มเติมบางประเด็นที่ยังไม่เคลียร์ให้เข้าใจมากขึ้น  ส่วนที่มีการพูดถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีเพราะ ได้มาซักถามว่าเป็นการทำเพื่อคนๆเดียว เราจะได้รู้ว่าไม่ใช่การทำเพื่อคนๆเดียว แต่เป็นการทำเพื่อหลักการ  เราจะได้มาคุยกัน จะได้อธิบาย เหมือนกับที่แถลงไปวันที่ 25 ก.ย.ที่ผ่านมา ว่าไม่ได้ทำเพื่อคนๆเดียว ปกติคนจะมองว่าเป็นการทำเพื่อคนๆเดียวเป็นการลดน้ำหนักข้อเสนอโจมตีส่วนตัว ซึ่งผมไมได้มีอะไร ผมก็สอนหนังสืออยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”

ทำไมคณะนิติราษฎร์ถึงเลือกใช่ช่วงเวลาช่วงนี้มาประกาศเจตนารมณ์และยื่นข้อเสนอ?
ก็มันครบ 5 ปี รัฐประหารและเป็นช่วงเวลาที่พูดกันถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่มีจังหวะไหนเหมาะสมในการทำให้ข้อเสนอนี้เป็นที่พูดถึงในสังคมเท่ากับตอน นี้

ทำไมในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ ทางคณะนิติราษฎร์จึงไม่เสนอข้อเสนอดังกล่าว
“ก็ไม่มีวี่แววว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเลย คือ เสนอไปก็หายไป แต่ตอนนี้มีวี่แววว่าจะจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์มันจึงรับพอดีกับการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าเรื่อง นี้จะบรรจุในรัฐธรรมนูญใหม่ ทำไมไม่ถามล่ะว่าไม่เสนอในรัฐบาลสมัคร รัฐบาลสมชาย ทำไมถามถึงรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ล่ะ ก็ตอบเลยว่าตอนนั้นยังไม่มีวี่แววแก้รัฐธรรมนูญ”

ขณะนั้นคณะนิติราษฎร์ยังไม่ก่อตั้งด้วยใช่หรือไม่
ก็ใช่ ถูกต้อง แต่เราก็เป็นกลุ่ม 5 อาจารย์นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์  นิติราษฎร์ มันก็ต่อเนื่องมาจากกลุ่ม 5 อาจารย์ฯ  ต่อเนื่องมาตั้งแต่หลังรัฐประหาร มีแถลงการณ์ตั้งหลายสิบฉบับออกไป
แนวทางที่จะเสนอสู่ คณะกรรมการองค์กรอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ(คอนธ.)บ้าง?
 สิ่งที่เราเสนอคงเป็นส่วนหนึ่งซึ่งคอนธ.จะนำไปพิจารณา ส่วนประเด็นจะฟื้นฟูหลักนิติธรรมขึ้นมาก็ยังไม่ทราบในเชิงรูปธรรมจะทำอะไร ขึ้นบ้าง  เราคนละส่วนกันแน่นอนว่าในทางความคิดบางอย่างอาจตรงกันเป็นเรื่องปกติ แต่ยืนยันว่าจะทำงานทางวิชาการอยู่อย่างนี้ไม่ได้ไปทำอะไรที่ไหน ทีนี้มีคนมาถามเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเราตอบไม่ได้ ตอบได้เพียงว่า ถ้าผม หรือคณะนิติราษฎร์เข้าไปแล้วสามารถทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าทำอะไรไม่ได้เราก็อยู่ตรงนี้ ถือว่าเอาประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับคนหมู่มากเป็นใหญ่ ไม่ใช่เพื่อตัวผมเอง  ผมไม่ได้เดือดร้อนอะไร ก็สอนหนังสือไปเพียงแต่อยากเห็นสังคมพัฒนาไปในทางที่ดี และผมเข้าใจว่าคนในสังคมตื่นตัวขึ้นเยอะมาก  อย่างข้อเสนอนี้ทางคณะนิติราษฎร์ก็ไม่คิดว่าจะทำให้คนตื่นตัวได้มากขนาด นี้  ซึ่งก็เป็นนิมิตรหมายที่ดีว่า เกิดการเรียนรู้ไปด้วยกัน ส่วนการโจมตีเป็นเรื่องปกติ

“เราถือว่าเราทำด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ๆไม่มีใครมีผลประโยชน์  ถ้ามีเรื่องผลประโยชน์ป่านนี้ก็คงสบายกันไปแล้ว ไม่ต้องมาทำแบบนี้ ไม่มีความจำเป็นที่เราต้องเอาเกียรติยศ ศักดิ์ศรีของเราไปแลก เราเป็นนักวิชาการซึ่งไม่ได้อยู่ค่ายไหนอยู่แล้ว  ส่วนก้าวต่อไปจากนี้อาจจะเสนอประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญและอาจจะทำรัฐธรรมนูญ บางหมวด เป็นต้นแบบข้อเสนอ อย่างเช่นการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112  ที่เราทำเป็นตัวบทชัดเจนแล้วเสนอออกไป  สิ่งที่เราจะทำคือการให้ความรู้กับประชาชน เช่นถ้าเราทำหมวดรัฐสภา ส.ส.ต้องสังกัดพรรคหรือไม่สังกัดพรรคการเมือง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไป ได้ เหล่านี้คือ ฐานสำคัญของพัฒนาการทางประชาธิปไตย แต่เราจะทำเท่าที่กำลังเรามี เราไม่ได้มีผลประโยชน์อะไร”

สิ้นคำให้สัมภาษณ์นายวรเจตน์ ถูกบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงห้อมล้อมขอถ่ายรูปทันที !คลี่คลายความสงสัยเรื่องประเด็นการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ไปได้พอสมควร ต่อจากนี้ไปก็คงต้องมาดูกันว่า ข้อเสนอที่ทางคณะนิติราษฎร์ จะนำไปสู่ผลพวงทางนิตินัย อย่างไรกับเรื่องนี้โดยเฉพาะข้อเสนอในการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ.  2550 และมีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดขึ้น...ไม่รู้ว่า “นักการเมือง” จะสนับสนุนข้อเสนอนี้อย่างไร คงต้องติดตาม เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ภายใต้มติของประชาชนทั่ว ประเทศอย่างที่ใครหลายคนคิดไว้!

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง