บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปมกฎหมายคดีภาษี ​โอ๊ค-​เอม



​แก้วสรร อติ​โพธิ

ถาม ขอคำอธิบายเรื่องคดีภาษีเงินได้จากการขายหุ้นชินคอร์ปให้ทุนสิงค โปร์ ของตระกูลชินวัตร ในคดีที่ คตส.มีมติเสนอให้กรมสรรพากรดำเนินคดีกับลูกคุณทักษิณด้วย

ตอบ ในต้นปี 2549 ตอนที่ชินวัตรขายหุ้นชินคอร์ป 49% ให้เทมาเส็กในราคาเจ็ดหมื่นกว่าล้านบาท โดยไม่มีการเสียภาษีเงินได้เลยนั้น คุณจะพบว่าหุ้นชินคอร์ปชินวัตรก้อนนี้ ถูกแบ่งให้มีชื่อลูกและพี่น้องคุณทักษิณเป็นเจ้าของอยู่ก่อน แล้วถูกนำมาขายในคราวเดียวกัน ราคาเดียวกัน โดยเป็นการขายในตลาดหลักทรัพย์ ในชื่อบุคคลธรรมดา

ด้วยฐานการได้เงินได้อย่างนี้ แม้เราจะพบว่าเขาได้กำไรมากๆ ก็ตาม แต่เงินได้เหล่านี้ก็ไม่ต้องเสียภาษีเพราะเป็นการขายในตลาดหลักทรัพย์ ที่มีกฎหมายยกเว้นไว้ให้ไม่ต้องเสียภาษี

คตส.ที่เข้ามาตรวจในปี 2550 จึงต้องขุดคุ้ยลึกลงไปอีกว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่ ก็ไปพบกรณีหุ้นชินชินวัตรก้อน 11% ที่ถืออยู่ในนามบริษัทแอมเพิลริชว่า มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีติดพันอยู่



ถาม ติดพันอยู่อย่างไรครับ

ตอบ คือก่อนขายหุ้นชินชินวัตร 49% ให้เทมาเส็กนั้น หุ้นก้อนอื่นๆ ถูกใช้ชื่อบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของทั้งสิ้น มีแต่หุ้นก้อน 11% นี้ที่ถืออยู่โดยชื่อบริษัทแอมเพิลริช (ชื่อนี้อาจแปลเป็นไทยได้ว่าบริษัท "รวยเละ") ซึ่งบริษัทนี้คุณทักษิณตั้งขึ้นเมื่อปี 2542 แล้วแบ่งหุ้นชินชินวัตรให้บริษัทซื้อไปในราคาทุนหุ้นละ 1 บาท ครั้นเมื่อคุณทักษิณขึ้นเป็นนายกฯ ในปี 2544 เขาก็อธิบายว่าได้โอนบริษัทนี้ให้ลูกไปแล้ว

พอมาปี 2549 ที่รวมหุ้นชินชินวัตรขายสิงคโปร์หุ้นละ 49.25 บาทนั้น หุ้นชินชินวัตรแอมเพิลริช 11% หรือ 320 ล้านหุ้นนี้ ก็จะขายได้เงินกว่าหนึ่งหมื่นห้าพันล้านบาท มีกำไรหนึ่งหมื่นสองพันล้านบาท ซึ่งเงินได้ก้อนนี้ถ้าเป็นการขายในนามแอมเพิลริช กฎหมายก็จะไม่ยกเว้นภาษีให้เพราะเป็นการขายโดยนิติบุคคล ตรงนี้ถ้าคุณเป็นพวกชินวัตรและไม่อยากเสียภาษีกว่าสองพันเจ็ดร้อยล้านคุณจะ ทำอย่างไรดี?



ถาม เขาทำอย่างไรครับ

ตอบ เขาทำกันดื้อๆ เลยล่ะคุณ คือ 1 วันก่อนขายหุ้นให้เทมาเส็ก เขาก็ทำเป็นว่าให้แอมเพิลริชขายหุ้น 320 ล้านหุ้นนี้ให้โอ๊คกับเอมก่อน ในราคาทุนหุ้นละ 1 บาท พอเปลี่ยนเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาแล้ว คนสองคนนี้ก็เอาหุ้นมาขายให้เทมาเส็กอีกทีในราคาหุ้นละ 49.25 บาท ในวันรุ่งขึ้น กำไรหุ้นละ 48.25 บาท แต่กำไรนี้ก็พ้นภาระภาษีไปได้โดยอ้างว่าเป็นการขายโดยบุคคลธรรมดา รัฐก็ขาดภาษีไปเลยกว่าสองพันเจ็ดร้อยล้านบาท



ถาม นี่มันเลี่ยงกฎหมายชัดๆ เลยนะครับนี่ เจ้าของบริษัทให้บริษัทขายสมบัติให้กับตนเองในราคาทุนอย่างนี้ แล้วก็เอาชื่อตัวเองมาขายต่อให้ผู้ซื้อตัวจริงในวันรุ่งขึ้นอย่างนี้

ตอบ ตรงนี้ต้องยกเครดิตให้ทีมงานภาษีของ คตส.ในการนำของอาจารย์วิโรจน์ เลาหะพันธุ์ ที่ใช้กฎหมายรัษฎากรจัดการจนอยู่หมัดว่า การที่นิติบุคคลขายสมบัติให้พนักงานหรือกรรมการของตนในราคาถูก เช่น ขายหุ้นราคาตลาด 49 บาท ให้กรรมการในราคาหุ้นละ 1 บาทนั้น ต้องถือว่าคนของบริษัทนั้นมีเงินได้เกิดขึ้นไม่ต่างไปจากการให้โบนัส

พอ ได้หลักอย่างนี้ คตส.ก็เลยชี้ว่า โอ๊ค-เอมมีเงินได้จากการซื้อของถูกจากบริษัทตัวเอง มีมติเสนอให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีจากสองคนนี้พร้อมเงินเพิ่มรวมห้าพันสี่ ร้อยล้านบาทถาม ทางกรมไม่เห็นด้วยได้ไหมตอบ ได้ครับ กฎหมาย คตส.ให้เรามีสิทธิแค่เสนอเท่านั้น ปรากฏว่าทางกรมเขารับความเห็นเราไปพิจารณาดำเนินการตามกระบวนการของเขาเอง แล้วก็มีมติตรงกับ คตส.ให้ฟ้องเรียกภาษี พร้อมกับอายัดทรัพย์กว่าพันล้านบาท ที่มีอยู่ในชื่อโอ๊ค-เอมไว้ด้วย คดีก็สู้กันมาในศาลต้นจนศาลพิพากษายกฟ้องกรมสรรพากรไปเมื่อสี่ห้าเดือนมานี้ เอง



ถาม ศาลท่านยกฟ้องตรงไหนครับ

ตอบ คือท่านไม่ได้ตัดสินว่าเป็นเงินได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีนะครับ แต่ท่านตัดฟ้องไปเองเลยว่า เนื่องจากระหว่างสู้คดีกันอยู่นี้ได้มีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาในคดียึดทรัพย์คุณทักษิณว่า หุ้นชินชินวัตรทั้ง 49% แท้จริงยังเป็นของคุณทักษิณและคุณหญิง ลูกและพี่น้องล้วนแต่ถูกใช้ชื่อถือหุ้นแทนทั้งสิ้น

ดังนั้นเมื่อ โอ๊ค-เอมเข้าไปคัดค้านเป็นตัวความอยู่ในคดียึดทรัพย์ด้วย คำพิพากษานี้จึงมีผลผูกพันบุคคลทั้งสองในคดีภาษีนี้ด้วย ศาลท่านก็เลยพิพากษายกฟ้องว่าเงินได้นี้ไม่ใช่ของจำเลย แต่เป็นของคุณทักษิณ ตรงนี้ถ้ากรมสรรพากรไม่เห็นด้วยกับศาลต้น ทางกรมก็ต้องอุทธรณ์ต่อไป



ถาม เป็นอาจารย์ อาจารย์จะอุทธรณ์ไหม?

ตอบ ผมว่าควรจะอุทธรณ์นะครับ เพราะหลักกฎหมายรัษฎากรนั้นใครมีชื่อเป็นเจ้าของเงินได้ก็ต้องฟ้องคนนั้น โอ๊ค-เอมมีชื่อเป็นผู้ซื้อหุ้นจากแอมเพิลริชเราก็ต้องฟ้องเขา เว้นเสียแต่เขาสู้ว่าแท้จริงเขาถูกเชิดถือหุ้นแทนพ่อแม่เท่านั้น เราจึงจะเปลี่ยนไปฟ้องคุณทักษิณได้ ผมว่าคดีภาษีต้องยืนบนหลักนี้ ทางสรรพากรจะเสียเวลาไปสอดส่ายล้วงลึกหาเจ้าของตัวจริงไม่ได้ เพราะเรามุ่งจะเอาภาษีจากเงินได้ก้อนหนึ่งเท่านั้น ใครเป็นเจ้าของแท้จริงไม่ใช่เรื่องของสรรพากร



ถาม แต่ถ้าเจ้าของตัวจริงมีฐานะดีกว่าจำเลยอย่างคดีนี้ ก็น่าเอานะครับ

ตอบ ผมว่าเราต้องดูหลักไม่ใช่ดูกระเป๋านะครับ



ถาม แล้วถ้าสรรพากรโดยความเห็นชอบของกระทรวงคลังเขาตัดสินใจไม่อุทธรณ์ แล้วอย่างนี้ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไรครับ

ตอบ ตรงนี้ต้องเข้าใจให้ดีๆ นะครับว่า ทางกรมสรรพากรยืนยันเดินหน้ามาตลอดว่า นี่คือเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และศาลก็มิได้ปฏิเสธข้อนี้เลย ศาลกับกรมเพียงแต่เห็นต่างกันเท่านั้นว่า ใครคือเจ้าของเงินได้ก้อนนี้ การที่กรมสรรพากรไม่อุทธรณ์ก็หมายความว่ากรมเห็นด้วยกับศาลต้นว่าคุณทักษิณ เป็นเจ้าของเงินได้ แต่กรมสรรพากรยังมีหน้าที่ต้องฟ้องคุณทักษิณต่อไป จะทำหน้าตาเฉยเลิกคดีไปเลยไม่ได้ เพราะประเด็นเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่นี้ ยุติในขั้นตอนของกรมแล้วว่าต้องเสียภาษี และศาลท่านยังมิได้วินิจฉัยเป็นอื่นเลย



ถาม ถ้าทางกรมสรรพากรทำหน้าตาเฉยยุติคดีไปเลยจะว่าอย่างไร?

ตอบ คดีนี้เลี่ยงภาษีชัดเจนมาก ให้บริษัทตัวเองขายหุ้นให้ตัวเองก่อนขายจริง 1 วัน ก็เลี่ยงภาษีสองพันเจ็ดร้อยล้านไปได้ง่ายๆ กฎหมายประเทศไหนมันหมูอย่างนี้
คดีนี้ถ้ายอมเลิกกันไปดื้อๆ เพราะพวกจำเลยได้กลับมาใหญ่เป็นรัฐบาล อย่างนี้ก็เป็นการเก็บภาษีโดยไม่เสมอหน้า แถมยังเอาไปใช้แจกดะอย่างเหลวไหลอีกด้วย...ถ้าเป็นอย่างนี้ผมว่าเราเลิกเสีย ภาษีกันไม่ดีกว่าหรือ.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง