ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ)
ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดเสวนาในหัวข้อเรื่อง
"ขุมทรัพย์นักการเมือง" โดยเชิญ 3 วิทยากร ได้แก่ ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช
อดีตกรรมการปฏิรูปประเทศ, ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์
นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ นวลน้อย ตรีรัตน์
อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) สรุปสาระสำคัญมานำเสนอดังนี้
นวลน้อย ตรีรัตน์
“เวลาที่เราพูดถึงขุมทรัพย์นักการเมือง
เราจะพบว่าข้อที่หนึ่งรูปแบบที่จะเอาทรัพยากรส่วนรวมไปเป็นของตัวเองมันมี
รูปแบบที่หลากหลาย ถ้าเราย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์จะพบว่ามีอยู่ 2
เรื่องเท่านั้น หนึ่งทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศว่าไปทางไหนอย่างไร
โครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร
เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นแหล่งที่มาของเงินที่เข้าไปฉกฉวยกัน อันที่ 2
คือนโยบายของรัฐบาลซึ่งมักจะสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจนั่นเอง
เพราะฉะนั้นถ้าเราเห็นสองอันนี้เราก็จะเข้าใจแหล่งที่มาของเงินของพรรคการ
เมืองทั้งหลาย
“ถ้าเรามองกลับไปจุดที่เราเริ่มพัฒนาประเทศตั้งแต่เรามีแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เราก็จะพบคำถามว่ายุคนั้นการคอร์รัปชั่นเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้าง
การคอร์รัปชั่นที่ใหญ่ๆ ในสมัยนั้นซึ่งยังมีสงครามเย็น
มีเรื่องของงบราชการลับเยอะ
เพราะฉะนั้นการเบียดบังเงินงบประมาณโดยตรงจะมีเยอะมาก
แล้วก็จะมีการเบียดบังเงินงบประมาณในโครงการก่อสร้าง
เพราะเรามีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเยอะแยะ
“อีกเรื่องที่เป็นเรื่องใหญ่คือการยึดทรัพย์สินสาธารณะมาเป็นของตัวเอง
มีการยึดที่ดิน ยึดป่า เป็นจำนวนมาก และเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ
หลังจากที่ศึกษาเรื่องพวกนี้มาพอสมควร เราคิดว่ามันน่าจะหมดไป
แต่น่าประหลาดใจว่าการยึดทรัพย์สินสาธารณะมาเป็นของตัวเอง
ยังเป็นเรื่องที่มีการต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
จึงไม่ประหลาดใจเลยที่จะเห็นว่า การเปิดเผยเรื่องที่ดินสาธารณะ
การบุกรุกที่ป่า ไม่ว่าจะที่สวนผึ้ง วังน้ำเขียว หรือที่ไหนก็ตาม
เราจะพบเลยว่าตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นนักการเมือง แล้วก็จะมีผู้มีอำนาจอื่นๆ
เข้าไปผสมโรง แล้วก็จะมีธุรกิจ ชนชั้นกลาง ชาวบ้าน ผสมโรงเป็นเครือข่าย
ซึ่งทรัพย์สินสาธารณะก็จะถูกยึดครองกันไปเรื่อยๆ
“ถามว่าแล้วยุคต่อๆ มา เช่นยุค 80-90
การเบียดบังงบประมาณหรืองบลับไม่ค่อยมีแล้ว
เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะมาแทนคือการโครงการพัฒนา
ในโครงการพัฒนาทั้งหลายค่าหัวคิวต่างๆ ก็จะออกมา
ค่าหัวคิวเมื่อก่อนอาจจะสัก 10-15 เปอร์เซ็นต์ แต่ยุคสมัยนี้สูงมากเลย
20-30 เปอร์เซ็นต์ จนทำให้พบว่า ยิ่งการเมืองไม่มีเสถียรภาพมากเท่าไหร่
เปอร์เซ็นต์พวกนี้จะยิ่งสูง
“และเมื่อเรายิ่งเข้าสู่สมัยใหม่ที่เรามีการพัฒนา
เคสก็จะมีเพิ่มมากขึ้น การใช้แหล่งระดมเงินในเศรษฐกิจสมัยใหม่
ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นก็จะเป็นกรณีที่ทำกันอยู่มากมาย
แล้วหลายคนก็มีการตั้งข้อสมมติฐานว่าทุกครั้งที่จะมีการเลือกตั้ง
ตลาดหุ้นก็จะมีความผันผวนมากหน่อย คำถามว่าเป็นเพราะอะไร
มีความพยายามที่จะพิสูจน์
แต่ก็ต้องยอมรับว่าการพิสูจน์ในตลาดหุ้นซึ่งมีการซื้อขายเยอะมาก
บางทีมันจับไม่ง่าย แต่ถามว่ามีร่องรอยมั้ย มี
ซึ่งมันต้องการการตรวจสอบกันไป
“อย่างกรณีปิกนิคถือว่าเป็นรายที่ทำกันอย่างโจ๋งครึ่ม
จับไม่ยากเท่าไหร่ แต่ก็มีหลายกรณีที่มีแต่ข่าวลือ
แต่ถ้าไปถามคนในวงการตลาดหุ้นเขาก็จะให้ข้อมูลที่เขาค่อนข้างมั่นใจ
แต่ก็ลำบากเหมือนกันที่จะตรวจสอบ ตลาดหุ้นเอง นอกจากที่คุณประสงค์พูด
มันมีงานศึกษาอันหนึ่งซึ่งกำลังจะเสร็จแล้ว เขาไปศึกษาการฟื้นฟูกิจการ ในปี
40 เรามีกิจการที่ล้มเยอะ เขาดูว่ากิจการประเภทไหนที่ฟื้นฟูสำเร็จ
ก็พบว่ากิจการใดที่มีการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง
มีเครือญาติที่เกี่ยวข้องกับการเมือง กับกลุ่มที่ไม่อิงการเมือง
ข้อเท็จจริงประการหนึ่งคือกลุ่มแรกใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูเร็วกว่า
แต่ว่าการถือครองไว้จะถือครองสั้นกว่า ปั่นหุ้น รีบขาย แล้วก็ออก
“เราก็จะเห็นว่าการเมืองเข้าไปแทรกในทุกๆ เรื่อง
หรือมีงานศึกษาที่พูดชัดเจนที่พบว่าในประเทศกำลังพัฒนา
บริษัทใดที่มีการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องจะเป็นบริษัทซึ่งสามารถเข้าถึงแหล่ง
เงินทุนได้ง่ายกว่าบริษัททั่วไป
“เหล่านี้ก็เป็นตัวอย่าง ทีนี้อาจจะมีตัวอย่างอื่นๆ อีก
เราจะพบว่าในช่วงหลังจะมีโครงการแปลกและพิสดาร
เรามักจะคุยกันในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ว่าจะดูยังไง
ก็คิดว่าเรามีข้อสันนิษฐานข้อหนึ่งคือว่าโครงการประเภทไหนที่ทำแล้วผลตอบแทน
ทางเศรษฐกิจใช้ไม่ได้ มีปัญหามาก
โครงการนั้นพูดได้เลยว่ามักจะมีร่องรอยของการคอร์รัปชั่นแน่นอน
มักจะมีคำพูดคำหนึ่งที่นักการเมืองจะติดปากเลยคือ
โครงการนี้ทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน
แต่ถามว่าสิ่งที่ประชาชนได้กับสิ่งที่สังคมต้องจ่าย
ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของงบประมาณหรืออะไรก็ตามมันเท่ากันหรือเปล่า
มันเป็นสิ่งที่ประชาชนได้ไปทั้งหมดหรือเปล่า
ถ้าอันไหนเป็นสิ่งที่ประชาชนได้ไปทั้งหมดก็แปลว่าโครงการนั้นไม่มีปัญหา
ใช้ได้ แต่โครงการไหนที่ประชาชนไม่ได้ ต้องจ่ายเงินเยอะ
ก็รู้ไว้เถอะว่ามีการรั่วไหล
“แม้กระทั่งโครงการรับจำนำข้าวก็ได้มีงานวิจัยได้ตีแผ่ว่าใครเป็นผู้
ได้บ้าง คำตอบที่ได้คือผู้ที่ได้คือผู้ส่งออกรายใหญ่ ชาวนารายใหญ่
แต่ชาวนารายย่อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ได้น้อยมากหรือเข้าไม่ถึงเลย
นอกจากนั้นแล้ว
เมื่อเอาผลประโยชน์มารวมกันจากสิ่งที่รัฐต้องจ่ายมันขาดทุนทุกขั้นตอน
ตั้งแต่ขั้นตอนการรับจำนำ การขาย ค่าเช่าโกดัง
เพราะฉะนั้นสุดท้ายแล้วเงินที่ใช้ในโครงการรับจำนำไปอยู่ที่ใคร
นั่นคือสิ่งที่เสียไป ชาวบ้านได้เงินหรือเปล่า ก็ไม่ได้ แล้วใครได้
“แล้วก็เรื่องท้องถิ่น คือโดยทั่วไปในทางวิชาการ
เราถามว่าขุมทรัพย์ที่เกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น มันมีแหล่งที่มายังไง
เราจะพบว่ามี 2 ส่วนเท่านั้นเอง ประเภทหนึ่งคือส่วย จัดซื้อจัดจ้าง หัวคิว
ส่วยจากธุรกิจผิดกฎหมาย คำถามคือแล้วไปเกี่ยวข้องยังไง
ส่วนหนึ่งก็คือว่าเป็นเครือข่ายของนักการเมืองเอง
อีกส่วนหนึ่งเป็นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่
แต่ถามว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ในการหาเงินจากธุรกิจที่ผิดกฎหมาย
นักการเมืองมีเอี่ยวมั้ย นักการเมืองก็จะมีเอี่ยวโดยผ่านการซื้อขายตำแหน่ง
เพราะฉะนั้นในหน่วยงานใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผิดกฎหมายเยอะ
เราก็จะพบว่าการซื้อขายตำแหน่งในหน่วยงานนั้นจะสูงมากๆ
“อันที่สอง ตามหลักเศรษฐศาสตร์เราเรียกว่าค่าเช่าทางเศรษฐกิจ
คือการใช้นโยบายเพื่อหาส่วนเกินทางเศรษฐกิจนั่นเอง
ตรงนี้จะพบว่ามาจากนโยบายที่เอื้อประโยชน์ รวมถึงสัมปทานด้วย
นโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่างๆ
ถ้าอ่านในคำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง
แม้ว่าในทางกฎหมายยังถกเถียงกัน กระบวนการกฎหมายมีปัญหาหรือไม่
อะไรก็แล้วแต่
เพราะเมื่อนักกฎหมายบางท่านเข้มงวดว่าถ้ากระบวนการบางส่วนไม่ถูกต้องก็ทำไม่
ได้เลย แต่ดิฉันเป็นนักเศรษฐศาสตร์ไม่ได้มองตรงนั้น
ดิฉันมองว่าในแต่ละกรณีมันใช่หรือเปล่า
ในคำตัดสินเราจะเห็นว่ามันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ธุรกิจเพื่อให้ได้รับ
ผลประโยชน์ส่วนเกินที่มากกว่าธุรกิจทั่วไปจะได้รับ
สิ่งเหล่านี้แหละเราเรียกว่าค่าเช่าทางเศรษฐกิจ
ซึ่งเราจะพบว่าในช่วงหลังมันมีเรื่องเกิดขึ้นมากมาย
แต่การคอร์รัปชั่นประเภทกินหัวคิวไม่ได้หมดไป
“อีกอย่างที่คุณประสงค์พูดถึงงบท้องถิ่น เป็นที่น่าประหลาดใจนะคะว่า
มีการกำหนดว่าเงินที่จะจัดสรรให้ท้องถิ่นจะต้องมีเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของราย
ได้งบประมาณ ต้องไม่ต่ำกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ และต้องมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น
ดูเหมือนกับว่าเวลาที่จะตัดสินใจงบประมาณในสภาก็ไม่ควรจะไปแตะเพราะเป็นส่วน
ที่กำหนดไว้แล้ว แต่ในข้อเท็จจริงมันก็มีวิธีการ
ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเสนอขึ้นมาว่ารายได้ของท้องถิ่นต้องเป็นเท่านี้
รายได้ของท้องถิ่นก็จะประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นภาษี ภาษีท้องถิ่น
ภาษีที่รัฐบาลแบ่งให้ และก็มีอีกส่วนหนึ่งเราเรียกว่า เงินอุดหนุน
เพราะว่าส่วนของภาษีอาจจะไม่ถึง 25 เปอร์เซ็นต์
เพราะฉะนั้นจึงต้องมีเงินอุดหนุนใส่เข้าไป
เมื่อใส่เข้าไปเขาก็จะพยายามทำให้เป็นเงินอุดหนุนประเภททั่วไป
เพื่อให้เป็นอำนาจของท้องถิ่น แต่เวลาเข้าไปในสภา หลายๆ ปีที่ผ่านมา
สภาก็ตัดงบเงินอุดหนุนลง เมื่อตัดลงประเด็นก็เกิดขึ้นว่าสัดส่วนไม่ได้
ทำยังไง ก็มีการแปรญัติไปเพิ่มเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
ประเด็นคือเงินอุดหนุนเฉพาะกิจเป็นเงินที่ต้องเสนอโครงการเข้ามา
เพราะฉะนั้นก็มีกระบวนการวิ่งกัน
คิดดูแล้วกันว่าใครที่มาดูตรงนี้จะได้เท่าไหร่
มีข่าวลือกระทั่งว่ามีการตกลงกันว่าถ้าจะเอาอันนี้เสนอเข้ามาต้องมีค่าหัว
คิวเท่าไหร่ มันแสดงให้เห็นว่าแม้จะมีการกระจายอำนาจ
นักการเมืองก็สามารถเข้าไปแทรกได้อยู่ดี
“การคอร์รัปชั่นในภายภาคหน้าที่เราจะเจอมากมีอยู่ 3 เรื่องด้วยกันคือ
หนึ่ง การเสนอทำโครงการขนาดใหญ่ เช่น พวกโครงการรถไฟฟ้าทั้งหลาย
ซึ่งต้องใช้เงินกู้ เมื่อเป็นอย่างนี้ระเบียบก็ไม่เหมือนเดิม
ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องติดตาม ประเด็นที่ 2
คือโครงการประชานิยมที่บอกว่าแก้ปัญหาความเดือดร้อน
เราจะพบเลยว่าการประกาศภัยพิบัติจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ
แล้วตอนหลังจะเป็นแบบนี้
คือในพื้นที่จำนวนหนึ่งของประเทศไทยเคยทำเกษตรล็อตเดียว
เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้วนะคะ เดี๋ยวได้รับคำบอกเล่าให้ทำไปเถอะ
เพราะจะทำรอบหนึ่งก็ประกาศภัยแล้งได้รอบหนึ่ง คือไปถามชาวบ้านว่าทำได้ยังไง
อดีตก็ไม่เคยทำ มาทำแล้วจะคุ้มเหรอ เขาบอกว่าไม่เป็นไรก็ทำแล้วทิ้งไง
เดี๋ยวประกาศภัยแล้งก็ได้เงินมา คิดต่อไร่ไป ซึ่งก็มีการกินหัวคิว
เพราะฉะนั้นจะมีโครงการประเภทช่วยประชาชน
ซึ่งเราก็เห็นตัวอย่างมาหลายอันแล้ว
อย่างโครงการชุมชนพอเพียงที่เมื่อก่อนก็เรียกว่าเอสเอ็มแอล
พอมาสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ก็แก้เป็นชุมชนพอเพียง
แล้วก็พบร่องรอยการทุจริตเพราะเล่นเอาแคตตาล็อกไปให้ชุมชนดูเลยว่าคุณจะทำ
อะไร แล้วก็จะมีโครงการเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ
เพราะว่าตอนนี้นักการเมืองแข่งกันว่าจะเสนออะไรที่ช่วยเหลือประชาชน
ซึ่งเราต้องรู้ให้ทัน
“แล้วที่ตอนนี้เป็นวิวาทะกันเยอะคือการแทรกแซงตลาด
แล้วสุดท้ายเราก็จ่ายแพงขึ้นเยอะ อย่างกรณีน้ำมันปาล์ม
ในการแทรกแซงตลาดก็จะพูดถึงการช่วยเหลือประชาชนไม่ต้องจ่ายแพง
แต่เมื่อถามว่ามีความสมเหตุสมผลมั้ย ทำไมเราต้องเผชิญกรณีน้ำมันปาล์ม
สุดท้ายแล้วใครได้ประโยชน์ แล้วก็คงมีโครงการอื่นๆ อีกเยอะ
เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่รัฐบาลพยายามจะช่วยประชาชนโดยฝืนกลไกตลาด
ไม่มีทางหรอก เพราะหนึ่งรัฐบาลไม่มีทางข้อมูลที่ครบถ้วน
มีการพิสูจน์แล้วว่าโดยทั่วไปภาครัฐมักจะมีข้อมูลทางเศรษฐกิจน้อยกว่าภาค
เอกชน เมื่อมีข้อมูลน้อยกว่าการจะทำให้ได้ดีมันก็ยากแล้วในตัวมันเอง
แต่ประเด็นที่สองก็คืออาศัยจุดนี้เพื่อไปฉกฉวยผลประโยชน์ต่างๆ
เป็นสิ่งที่เราคงต้องจับตามอง
“คำถามก็คือหลังจากเราพูดเรื่องนี้ไปแล้ว ควรจะทำอย่างไร
ดิฉันยังเชื่อว่าการเปิดเผยข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก
และวันนี้ที่มาก็เพราะอยากจะสนับสนุนการทำเว็บไซต์นี้
การที่ต้องมีฐานข้อมูลจะต้องทำอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ
ถามว่าความสำเร็จในการต่อสู้กับคอร์รัปชั่นในประเทศเกาหลีอยู่ที่ไหน
ทั้งหมดตอบได้ตรงกันเลย เพราะว่ามีการทำผังข้อมูลทางการเมือง
ผังข้อมูลระบบศาล มีการทำผังข้อมูลหลายเรื่อง ทำกันอย่างลึกเลย
แล้วมันตรวจสอบได้ โดยเฉพาะในสังคมไทยที่มักจะพูดว่าทุกคนลืมง่าย
เพราะฉะนั้นการทำฐานข้อมูลไว้จะเป็นการทำให้การตรวจสอบทำได้ดีขึ้น
ถามว่าฐานข้อมูลนั้นควรจะเป็นอะไรบ้าง ดิฉันคิดว่าการทำฐานข้อมูล เช่น
ผู้บริจาคให้พรรคการเมืองอาจจะไม่มีอะไรก็ได้หรืออาจจะมีก็ได้
การทำฐานข้อมูลเพื่อให้เราสอบย้อนหลังได้ ฐานข้อมูลที่ปรึกษา
กลุ่มธุรกิจที่มีความใกล้ชิด
“การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นไม่ใช่แก้ปีสองปี
ดิฉันคิดว่าคงต้องแก้กันสิบยี่สิบปี
ถ้าเรายิ่งเริ่มช้าเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องใช้เวลาในการแก้นานเท่านั้น
เพราะฉะนั้นการทำฐานข้อมูลเหล่านี้เอาไว้มันจะเป็นประโยชน์
ถ้าเราเชื่อในเรื่องการสืบสวนสอบสวน
ใครทำอะไรไว้จะต้องทิ้งร่องรอยใช่มั้ยคะ ก็เก็บไปเถอะ
ร่องรอยเหล่านี้จะปรากฏ ทีนี้ถ้ามีคนทำตรงนี้ก็คิดว่าจะเป็นประโยชน์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชนบ้านเราแข่งกันด้วยความเร็ว
แต่ไม่ได้แข่งกันด้วยคุณภาพ อันนี้ต้องยอมรับนะคะ
เพราะฉะนั้นสื่อมวลชนจะเผชิญอยู่สองอย่าง อันที่หนึ่ง
ด้วยความเร็วสื่อต้องรีบรายงาน สอง สื่อก็กลายเป็นเครื่องมือ
ใครอยากจะปล่อยข่าวอะไรก็ได้เลย เพราะสื่อกลัวจะตกข่าว
แต่ไม่มีการตรวจสอบข้อมูล การที่จะมีฐานข้อมูลต่างๆ
ไว้มันก็จะเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อมวลชนสามารถตรวจสอบและทำข่าวเชิงลึกได้
อย่างรวดเร็ว
เพราะดิฉันจะบอกว่าเธอต้องพัฒนาคุณภาพโดยไม่มีการสร้างเครื่องมือที่มีต้น
ทุนต่ำ เราก็ไม่สามารถไปถึงตรงนั้นเพราะสื่อมวลชนเองก็มีข้อจำกัดเยอะ
เพราะเรายังไม่ได้ลงแรงในการสร้างฐานบางอย่าง สร้างเครื่องมือบางอย่าง
เพื่อให้สื่อมวลชนเข้าถึงง่าย
คือถ้ามีเครื่องมือเหล่านี้ดิฉันเชื่อเลยว่าสื่อจะทำข่าวได้เร็วอย่างที่
ต้องการและก็มีคุณภาพขึ้น
“อีกฐานข้อมูลหนึ่งที่สำคัญ ทรัพย์สิน หนี้สิน
ถึงแม้ว่าเดี๋ยวนี้นักการเมืองจะฉลาดขึ้น เก็บไปก็ไม่มีอะไร ไม่แน่อีก 4
ปีข้างหน้าเขาอาจจะหลุดอะไรไว้ก็ได้
ถ้าเราเชื่อว่าใครทำอะไรไว้ต้องมีร่องรอย
“ประเด็นต่อมาที่อยากพูดกับสื่อมวลชน
ดิฉันเข้าใจว่าเรื่องคอร์รัปชั่นตอนนี้เป็นเรื่องใหญ่ของโลกด้วย
ถ้าเราเปิดเข้าไปดูในเว็บไซต์ของธนาคารโลกปรากฏว่าเรื่องการต่อต้าน
คอร์รัปชั่นเป็นเรื่องใหญ่มาก
เพราะเป็นเรื่องที่สะท้อนถึงอำนาจผูกขาดทางการเมือง
เมื่อมีอำนาจผูกขาดทางการเมืองก็จะสามารถแสวงหาผลประโยชน์ต่างๆ ได้
คอร์รัปชั่นจึงเป็นเรื่องใหญ่ และจะเป็นว่าเรามีการประกวดข่าว
ข่าวส่วนใหญ่ที่ส่งเข้าประกวดคือข่าวคอร์รัปชั่นเกือบทั้งนั้นและก็เป็น
อย่างนี้มาหลายสิบปีแล้ว
แต่ดิฉันก็อยากจะตั้งคำถามว่าคุณมีเซ็คชั่นของข่าวคอร์รัปชั่นมั้ยในสื่อ
ต่างๆ ดิฉันเข้าใจว่าไม่มี ส่วนใหญ่ก็เป็นโต๊ะการเมือง โต๊ะเศรษฐกิจ
เพราะฉะนั้นเราอาจต้องคิดอะไรที่แตกต่าง
เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่แล้วต้องการคนที่มีความเชี่ยวชาญชำนาญและทำ
อย่างต่อเนื่อง เป็นข้อเสนอนะคะว่าน่าจะทำเรื่องนี้ขึ้นมา
“ข้อเสนอการปราบคอร์รัปชั่นมีเยอะ แต่หลักๆ คือการเมืองต้องแก้
โดยเฉพาะเมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดอำนาจรวมศูนย์
คือถ้าเราเชื่อว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงอำนาจต้องไม่รวมศูนย์
ตรงนี้จะเป็นตัวที่ช่วยได้
แต่เมื่อไหร่ที่อำนาจรวมศูนย์เราก็จะพบว่าคอร์รัปชั่นก็จะสูงไปด้วย
ตรงนี้เองเขาถึงบอกว่าต้องแก้เรื่องการเมืองด้วย
แก้เรื่องเศรษฐกิจคือต้องแก้นโยบายเศรษฐกิจ
ส่วนที่หนึ่งคือทำยังไงให้ระบบเศรษฐกิจมีการแข่งขันกัน
ไม่ใช่เป็นระบบผูกขาด ซึ่งเป็นปัญหามาก
เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสร้างกติกาให้เกิดการผูกขาดมันก็จะมีคนที่มีอำนาจที่จะ
จัดสรรทรัพยากร
เพราะธุรกิจที่ผูกขาดมักจะมีกำไรมากกว่าธุรกิจที่ต้องแข่งขัน
เมื่อเป็นอย่างนี้ทุกคนก็อยากจะทำธุรกิจผูกขาดก็แสวงหา
นักการเมืองก็จะอาศัยโอกาสนี้คอร์รัปชั่น แบ่งปันกัน
“ประเด็นที่ 2
คือเมื่อไหร่ก็ตามที่โครงสร้างเศรษฐกิจมีความเหลื่อมล้ำเยอะๆ
มันก็จะกลายเป็นปมเงื่อนหนึ่งที่ทำให้เกิดการคอร์รัปชั่น
และลักษณะสังคมอุปถัมภ์ก็จะเป็นสาเหตุอันหนึ่ง
“แต่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ต้องแก้แบบมีความเป็นหุ้นส่วนของทุกภาคสังคม
ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจซึ่งตอนนี้ก็พยายามเคลื่อนไหวมาก แต่ว่าไม่ง่าย
เพราะในแง่ของธุรกิจเอง
คอร์รัปชั่นเป็นทั้งต้นทุนและโอกาสคือบางคนสู้คนอื่นไม่ได้หรอก
แต่คอร์รัปชั่นทำให้ได้กำไร ดังนั้น คอร์รัปชั่นจึงกลายเป็นโอกาส
แต่ขณะเดียวกันก็เป็นต้นทุนด้วย
เมื่อไหร่ก็ตามที่โอกาสมีมากกว่าต้นทุนเขาก็คอร์รัปชั่น
ตรงนี้จึงทำให้การเข้าร่วมของภาคธุรกิจไม่สม่ำเสมอและยังไม่สามารถเป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกันได้ อย่างกรณีที่เขาเคยจะสู้กับเงินใต้โต๊ะของศุลกากร
เขาก็จับมือกันว่าจะไม่มีใครจ่ายเงินใต้โต๊ะ ปรากฏว่าทำได้ไม่กี่วัน
เพราะไม่จ่ายก็ไม่เป็นไร แต่ของออกช้า
ปรากฏว่าคำนวณแล้วถ้าของค้างอยู่ต้นทุนเป็นเท่าไหร่ๆ ก็จ่ายดีกว่า
เราจะอาศัยนักธุรกิจเป็นหลักก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้นจึงต้องมีกลไกประชาสังคมเพื่อเป็นหุ้นส่วนด้วยในการตรวจสอบการทำ
งานของภาครัฐต่างๆ
“ดังนั้น
การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นจึงเป็นเรื่องของการเป็นหุ้นส่วนของทุกภาคส่วนใน
สังคม ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่มีการพูดกันทั่วโลก
เพียงแต่ว่าประเทศไหนจะสามารถสร้างหุ้นส่วนได้
ถ้าประเทศไหนสร้างหุ้นส่วนได้ดี การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นก็จะแก้ไขได้ดี
แต่ถามว่าหายไปมั้ย ไม่หายไปหรอกเพราะจะมีกรณีในอังกฤษ
เขาอุตส่าห์มีนโยบายดีๆ ส.ส.
จะได้สะดวกสบายแต่ปรากฏว่ามีการเบิกเงินไปซ่อมบ้าน แล้วเอาให้คนอื่นเช่า
แล้วก็เอาบ้านอีกหลังไปซ่อมใหม่ คอร์รัปชั่นมันเหมือนถ้าจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน
มันก็ต้องไล่จับกันไปเรื่อยๆ”
ภาพจากสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น