บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

ขุดรากไพร่ ชี้ตัวอำมาตย์


ขุดรากไพร่ ชี้ตัวอำมาตย์ The Good, The Bad & The Ugly: The Democratically Uninitiated and Uneducated 


 
ประวัติศาสตร์เป็นสิทธิ์ของประชาชนทุกคน
ไม่ใช่ของเล่นที่บิดเบือนกันได้โดยผู้ครองอำนาจอย่างรัฐบาลหรือผู้ล้มล้างสถาบันที่ต้องการชิงอำนาจ
บันทึก ประวัติศาสตร์การเมืองไทย มักอ้างว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นความชอบธรรม เป็นความจำเป็นของชาติ และตำหนิระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชว่าเป็นการปกครองที่ขัดแย้งกับเสรีนิยม ความทัดเทียมและก้าวหน้าในสังคม
ความ ไม่คืบหน้าของการเมืองการปกครอง และความพิกลพิการของประชาธิปไตย ถูกกล่าวหาว่าเกิดจากสาเหตุของระบบเจ้าขุนมูลนาย อำมาตย์ กระทั่งลามถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ว่ากีดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ทุกวันนี้ ประชาชนเห็นว่าการทุจริต โกงกิน เป็นปัญหา
เห็นนักการเมืองเลวเป็นตัวสร้างปัญหา
เห็นคนที่คิดแตกต่างอย่างกลุ่มเสื้อแดงเป็นปัญหา
แต่เราอยู่ในวัฒนธรรมที่ชี้ตัวปัญหา ก่นด่า ปัญหา ได้แล้วก็สุขใจ ไม่ระคายเคืองถึงขั้นตะกายหา หรือ สร้างคำตอบให้เกิดขึ้น เพราะต่างก็รอให้คนอื่นแก้ปัญหาให้
หาก ต้องการหาคำตอบ ก็ต้องหยุดทบทวนปมที่สร้างปัญหามาตั้งแต่ต้นและยอมรับร่วมกันก่อนว่าเหล่า นั้นคือสิ่งที่ต้องแก้ ซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องย้อนกลับไปที่ พ.ศ. ๒๔๗๕ อีกครั้ง
ข้อมูลจากเอกสารของรัฐบาลวิเคราะห์เหตุการณ์บนพื้นฐานว่า ประเทศพร้อมสำหรับการปฏิวัติของคณะราษฎร  ด้วยการอ้างว่าได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นกลาง ซึ่งอ่านออกเขียนได้มากขึ้นมาก ขุนนางที่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ก็ไม่ต่อต้าน
หากยึดหลักการดังกล่าว ก็ไม่ต้องได้พบสาเหตุที่แท้จริง เพราะเมื่อวิเคราะห์ตามหลังเหตุการณ์จะพบว่า
๑. การรู้หนังสือของคนทั่วไปยังมีอยู่น้อยมาก พระราชบัญญัติประถมศึกษาที่ให้ราษฎรอายุ ๗ ปีขึ้นไปเรียนโดยไม่เสียเงิน เพิ่งเกิดขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ประชาชนทั่วไปที่รู้หนังสือจึงไม่มากอย่างที่อ้าง กลุ่มที่มีการศึกษายังจำกัดอยู่ในโรงเรียนหลวง อย่างสวนกุหลาบและเทพศิรินทร์ ที่ได้รับการสถาปนาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๗ – ๒๘
๒. ชนชั้นกลางไม่มีมากพอจริง วิถีชีวิตคนไทยคือสังคมเกษตรกรรมที่เพิ่งเปลี่ยนจากการทำเพื่อกินอยู่ มาเป็นทำเพื่อขาย
๓. ภาวะเศรษฐกิจของชาติถดถอยตามชาติใหญ่ที่ได้รับผลจาก Wall Street Crash (1930) ทำให้เกิดการตัดงบประมาณมาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดรายจ่ายอย่างเข้มงวดเริ่มจากราย จ่ายประจำปีส่วนพระองค์จาก ๙ ล้าน เหลือ ๖ ล้าน และ ๓ ล้านในที่สุด
มี การยุบเลิกมณฑล หน่วยราชการ ปลดคน และตัดเบี้ยเลี้ยง ส่งผลให้ข้าราชการ จำนวนหนึ่งเกิดความไม่พอใจ โดยเฉพาะคนหนุ่มที่เพิ่งสำเร็จการศึกษามาจากประเทศตะวันตก
๔. การใช้คำว่า ปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ไม่ถูกต้องตั้งแต่ต้น เพราะไม่เกิด Mass movement จากคนหมู่มาก ไม่มี consensual participation หรือการร่วมวงจากประชาชนตามนิยามของการปฏิวัติ จึงเป็นได้เพียงรัฐประหาร Coup d’etat อย่างที่เกิดต่อมาอีกหลายครั้ง
๕. ที่คนรุ่นหนุ่มอ้างถึงการปฏิวัติ Revolution ตามแบบฝรั่งเศส ก็มีสิ่งเดียวเท่านั้นที่เข้าข่าย French Revolution คือ ความต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
สอด คล้องกับข้ออ้างของคณะราษฎร ว่าไม่ได้รับการต่อต้าน ก็เมื่อเป็นเพียงรัฐประหารจึงไม่มีใครรู้ตัวร่วมด้วยหรือต่อต้าน คนที่พอรู้หนังสือก็ถูกตีกรอบไว้ไม่ให้เคลื่อนไหว
ประเด็น ผิดพลาดที่สุดของคณะราษฎร คือ ความคิดและอุดมการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาในประเทศฝรั่งเศส ผสมกับวรรณกรรมทางการเมืองที่ผ่านเข้าสู่สมอง นั้นแค่ช่วยให้ตนเองและพวกพ้องเข้าใจและล้มล้างระบอบการปกครองทางการเมือง ของประเทศไทยแบบดั้งเดิมได้สำเร็จ แต่ไม่สามารถสร้างสามัญสำนึกของการมี ส่วนร่วมในการปฏิบัติตาม และเสริมสร้างให้ประชาธิปไตยเจริญขึ้น แม้ในบุคคลระดับรัฐบาลก็ไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้
ไม่ผิดจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่า คนไทยยังไม่พร้อมสำหรับระบบใหม่ และเคยมีรับสั่งว่า คนไทยควรมีจิตสำนึกทางการเมืองเสียก่อน จึงค่อยนำระบอบประชาธิปไตยมาใช้
สามัญ สำนึกและการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่เหมาะสมกับการดำรงอยู่ภายใต้ระบอบ ประชาธิปไตย เป็นเรื่องยากสำหรับคนไทยแม้ในวันนี้ ก็เพราะระบบไพร่ที่หยั่งรากลึกมาช้านาน
ระบบ ไพร่ ในทางกายแม้จะหมดลงตามพระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ.๑๑๔ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ แต่ทางใจนั้นเป็นความคุ้นเคยที่ล้างออกยาก เพราะสถานะของไพร่และมูลนายไม่ได้เป็นแง่ลบเสมอไป
มูลนาย และไพร่อยู่กันด้วยความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ แลกเปลี่ยนกันแบบสมน้ำสมเนื้อ มูลนายให้ความคุ้มครองไพร่ ขณะที่ไพร่ต้องจงรักภักดีและรับใช้แรงงานแก่มูลนาย เดือดร้อนจะร้องทุกข์ต่อราชการก็ทำผ่านมูลนาย หากรู้สึกว่ามูลนายดูแลไม่ดีก็ปันใจไปหาที่พึ่งมูลนายใหม่
นิสัยที่ติดตัวมา จึงเป็นการเกาะพึ่งพิงเยี่ยงปรสิต ขาดความรู้สึกรับผิดชอบต่อตนเอง ด้วยตนเอง
สภาพ ไพร่จึงหมดไปเพียงแค่ชื่อ แต่ระบบอุปถัมภ์แปรรูปสู่ร่างใหม่ในเกือบทุกระดับสังคม สะท้อนออกมาในการยึดถือระบบอาวุโส การทำตัวเป็นผู้ตามที่ดี ไม่โต้แย้งผู้อาวุโสกว่าทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ ส่งผลให้ขาดความคิดสร้างสรรค์และริเริ่ม
การ ยอมรับเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอย่างง่ายๆ ทำให้ขาดสำนึกในการเมืองและหน้าที่พลเมือง ในเวลาเดียวกับที่เปิดโอกาสให้นักการเมืองสามารถเป็นผู้ไร้ความรับผิด เพราะเกิดอะไรขึ้นก็อ้างตัวเองเป็นไพร่ แล้วโทษฟ้า พร้อมกับร้องหาประชาธิปไตยที่กำอยู่ในมือเหมือนไก่ได้พลอยมาตลอด
ระบบอุปถัมภ์แฝงอยู่ในสังคมไทยถึง ๓ ระดับ คือ
ระดับชาวบ้าน เมื่อไพร่และมูลนายจบลง ชาวบ้านก็ย้ายไปพึ่งข้าราชการที่มาแทนที่ขุนนาง แต่ข้าราชการก็อยู่ด้วยเงินเดือนจากรัฐที่ไม่สูงส่ง จึงไม่ใช่ที่พึ่งที่ดีนัก ชาวบ้านก็ย้ายไปพึ่งคนที่มั่นคงกว่า คือ พ่อค้า เครือข่ายระบบอุปถัมภ์ของคนชั้นล่างกับพ่อค้า ซึ่งเมื่อมั่งคั่งได้ที่ ก็กลายเป็นผู้มีอิทธิพล จึงเป็นโฉมใหม่ของระบอบอำมาตยาธิปไตย
ผู้ มีอิทธิพลในท้องถิ่นก็เสริมสร้างความแข็งแรงของระบบอุปถัมภ์ด้วยการช่วย ประชาชนที่มาพึ่งพาต่อไป ถึงวันหนึ่ง ก็เอาคืนกลับเป็นฐานคะแนนในการเลือกตั้ง
ระดับข้าราชการ ทหารและตำรวจ ผู้ใหญ่อุปถัมภ์ผู้น้อย ผู้น้อยก็ตอบแทนด้วยความยำเกรงเกินหน้าที่ ไปถึงขั้นส่งส่วย ผู้ใหญ่คุ้มครองดูแลผู้น้อย จนเกิดเป็นระบบเล่นพรรคเล่นพวก ที่ข้าราชการต้องรับใช้นายมากกว่ารับใช้ประชาชน
ระดับสุดท้าย คือ ที่สุดของอำมาตย์ชั้นล่างที่ไต่ขึ้นถึงระดับบนสุด เมื่อได้เป็นนักการเมืองที่มีตำแหน่งในการบริหารประเทศ และระดับที่เป็นนายทุนพรรค เป็นอำมาตย์ตัวจริง ที่จะชี้ช่องให้ความช่วยเหลือหรือปฏิเสธผู้อยู่ใต้การอุปถัมภ์ หรือไพร่ในร่างใหม่ เป็นทอดลงไป
อำมาตย์ในวันนี้ หาใช่สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งไร้ตำแหน่งและบทบาททางการเมืองมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว
ความล้มเหลวของประชาธิปไตยหลัง พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็มาจากอำมาตย์เหล่านี้
๑. ความล้มเหลวของรัฐบาล ในการสร้างจิตสำนึกและความรู้สึกในการเป็นเจ้าของประเทศร่วมกันในการปกครองตามหลักของระบอบประชาธิปไตย
ครอบ ครัว เป็นสถาบันที่มีอิทธิพลที่สุดในการสร้างพลเมืองรุ่นใหม่ที่รัฐควบคุมไม่ได้ หากครอบครัวส่วนใหญ่ยังไม่หลุดพ้นจากภาวะแวดล้อมของระบบอุปถัมภ์ในสังคมหลาย ระดับ และยึดประเพณีการอบรมเลี้ยงดูเด็กในมุมเดิมด้านเดียว ท่ามกลางสภาพสังคมและโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ให้เชื่อฟังผู้ใหญ่มากกว่ากระตุ้นให้คิด หรือซักถามโต้แย้ง การประคับประคองลูกหลานส่งผลให้เลี้ยงไม่โต ติดอยู่ในกรอบของการพึ่งผู้อื่นมากกว่าตนเอง
อีกทั้งค่านิยมที่ใช้วัตถุบ่งบอกหน้าตา (Conspicuous consumption) การชอบอภิสิทธิ์อำนาจ เชิดได้เหนือชาวบ้าน กลายเป็นตัวแทนระบบเจ้าขุนมูลนายได้อย่างดี
เมื่อ สถาบันครอบครัวเป็นเช่นนี้ มาเจอกับสถาบันการศึกษา ที่สอนให้เด็กรู้ตามสิ่งที่รัฐต้องการฝังใส่หัว ให้จงรักภักดีต่อสถาบันสำคัญของชาติด้วยการท่องจำมากกว่าให้เข้าใจถึงบทบาท ที่แท้จริงและเห็นคุณค่า  ก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านโดยไม่หาเหตุผลที่มา
สุด ท้าย จึงมีแต่การเรียกร้องหาสิทธิ์ โดยไม่ต้องการรับรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของพลเมือง หรือเป็นพลเมืองที่สนใจการเมืองตามกฎกติกาของระบอบประชาธิปไตย
๒.  ความล้มเหลวของสถาบันการเมือง
ความไม่พร้อม ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นตั้งแต่ระดับรัฐบาลเองแล้ว ปรากฏให้เห็นชัดหลังรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๗๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้รัฐบาลอนุญาตให้จัดตั้งพรรคการเมือง การไม่ปฏิบัติตามและไม่เคยเห็นชอบของรัฐบาล คือย่างก้าวแรกที่เริ่มทำลายพื้นฐานของประชาธิปไตย
เมื่อ ไม่มีพรรค ผู้แทนทุกคนจึงเข้ามาแบบอิสระ ไม่มีใครเชื่อหรือไว้ใจใคร ทุกคนรุมทึ้งรัฐบาลจนมักตกเป็นฝ่ายแพ้ในการลงมติ ไม่เกิดความคืบหน้าในการบริหารงาน ในที่สุดรัฐบาลต้องลาออก เช่น พ.ศ. ๒๔๗๗, ๘๑
หลัง สงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงเกิดพรรคการเมืองขึ้นได้ แต่ก็ถูกยุบและจัดตั้งใหม่อีกหลายครั้ง ทั้งคราวรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. ๒๕๐๑ ในแต่ละคราวของรัฐประหาร ที่อยู่บนเส้นบางระหว่างการจัดการสถานการณ์และการครองอำนาจ ล้วนแล้วแต่ทำให้ระบบการเมืองและประชาธิปไตยก้าวถอยหลังในเรื่องความคิดและ จิตสำนึกของทั้งนักการเมือง และประชาชน
พรรคการเมืองเกิดขึ้นอย่างมากมายอีกครั้ง เมื่อเกิดพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๑๗
ปัญหา ที่ตามมา ไม่พ้นจากพื้นฐานของระบบอุปถัมภ์ เมื่อพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นจำนวนมากมาจากผู้ทรงอิทธิพล มีเงิน มากกว่ามีความรู้ความเข้าใจในการบริหารการปกครอง สมาชิกพรรคที่มีอิทธิพล มีประโยชน์กว่าการมีจุดยืนและนโยบายพรรค (Manifesto) ที่ชัดเจนว่าจะทำอะไรให้ประเทศชาติและประชาชน
ผลที่ได้ คือ การเกิดเป็นรัฐบาลผสมอยู่ตลอดเวลา Coalition Government เป็น สภาพน่ากลัวที่สุดสำหรับประเทศที่ระบอบประชาธิปไตยพัฒนาแล้ว เพราะยากที่จะมีนโยบายสอดคล้องไปทางเดียวกัน หากนโยบายเหมือนกันก็คงรวมเป็นพรรคเดียวกันไปแล้ว
เมื่อนโยบายไม่เป็นสาระสำหรับพรรคการเมืองไทย แต่ละยุคสมัยจึงเกิดแต่ พรรคร่วมรัฐบาลและพรรครอร่วมรัฐบาล จะหาพรรคฝ่ายค้านที่ทรงคุณภาพ ทำงานเป็นรัฐบาลเงาตรวจสอบรัฐบาลจริงได้ยากยิ่ง
และทำให้การพัฒนาชาติที่ต้องเกิดจากโครงการระยะยาว ยากขึ้นไปอีก
ภาพ ของนักการเมืองปัจจุบันชัดเจนในรูปของ กลุ่มผลประโยชน์ ผู้ทรงอิทธิพล หรืออำมาตยาธิปไตย แห่งศตวรรษที่ ๒๑ มากกว่าผู้บริหารปกครองประเทศ
กว่าการเมืองการปกครองของประเทศไทยจะมาถึงวันนี้
ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงเลิกทาส ให้อิสระแล้ว
รัชกาลที่ ๗ ทรงพระราชทานอำนาจคืนสู่ประชาชนแล้ว
รัชกาลที่ ๙ ทรงพระราชทานแนวคิดให้ดำรงชีพได้อย่างถาวร ให้อุปกรณ์สานทอเป็นความยั่งยืนของการยังกิน  และยังชีพ
ปัญหาความแตกแยกในชาติไทยวันนี้ ใช้เวลาสะสมก่อกำเนิดมานาน ไม่มีปาฏิหาริย์ Magic จากมูลนายใดจะมาช่วยแก้ไขได้ในพริบตา นอกจากสองมือของประชาชนแต่ละคนเอง
ประชาชนผู้มีอำนาจตัวจริง ที่ถึงเวลาแล้วที่ต้องรู้หน้าที่พลเมือง
เลิกเรียกร้องการทำรัฐประหารกันเสียที ไม่เคยมีรัฐประหารครั้งใดให้คุณแก่ชาติ และไม่ว่าอีกกี่รัฐประหารก็ไม่แก้ปัญหา
เลิกเป็นไพร่ เลิกทำตัวเป็นไก่ได้พลอย ที่ได้อำนาจในการปกครองประเทศชาติมาแล้ว ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร ไม่ใช้ไปในทางที่ถูก
เมื่อไหร่เราจะเริ่มควบคุมนักการเมืองเหล่านี้ ขับเคลื่อนนักการเมืองไปในทางที่เราต้องการเพื่อประโยชน์ของชาติ  ไม่ใช่ถูกจูงเยี่ยงไพร่ไปตามทางที่นักการเมืองขีดเสียที
* * * * * * * * *
ความเดิม
Reference:
ข้อมูลจากสภาพัฒนาการเมือง
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง