เปิด ‘HIA ทวาย’ เดชรัต สุขกำเนิด ชี้ผลกระทบอื้อ ซัลเฟอร์ฯอ่วมปีละกว่า 4 แสนตัน ป่าตะวันตกถูกตัดขาด ถนนบางใหญ่-กาญจน์ ทำน้ำท่วมหนัก
นักวิชาการดังคณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ‘เดชรัต
สุขกำเนิด’เปิดงานวิจัย HIA กับการลงทุนข้ามพรมแดน :
กรณีศึกษาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย
ประเทศพม่าหวังชี้ให้เห็นผลกระทบที่มีเพียบ ระบุ 6 ประเด็นหลักที่น่าห่วง
ตั้งแต่ก๊าซคาร์บอนฯปีละ 30 ล้านตัน ที่จะเกิดจากโรงไฟฟ้า ก๊าซซัลเฟอร์ฯ
จากนิคมอุตสาหกรรม ปีละกว่า 4 แสนตัน ใช้น้ำจืดวันละ 5.9 ล้านลบ.ม.
เถ้าถ่านหินปีละ 1.3 ล้านตัน ขยะอุตสาหกรรมกว่าปีละ 7 แสนตัน
ชุมชนชาวพม่าได้รับผลกระทบกว่า 20 หมู่บ้าน 3.2 หมื่นคน ส่วนในฝั่งไทย
ผืนป่าตะวันตกอาจถูกตัดขาด และแนวถนนสายใหม่จากบางใหญ่
จ.นนทบุรี-นครปฐม-กาญจนบุรี จะขวางทางน้ำหลาก
หวั่นเกิดน้ำท่วมหนักอีกในอนาคต
ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ศูนย์ข่าว TCIJ ถึงงานวิจัย เรื่อง HIA กับการลงทุนข้ามพรมแดน : กรณีศึกษาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า ว่า จุดประสงค์ของการทำงานวิจัยชิ้นนี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับภาคประชาสังคมในประเทศพม่า ซึ่งก่อนหน้านี้ภาคประชาสังคมของพม่าเคยมาอบรมที่เสมสิกขาลัย ประเทศไทย และมีการหารือกันในประเด็นนี้อีกหลายครั้ง ว่าจะทำอย่างไรจึงจะมีการศึกษาถึงผลกระทบบ้าง พร้อมทั้งขอให้ช่วยทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมา และจากนี้ต่อไปตนจะมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษและส่งให้ภาคประชาสังคมของพม่าต่อ ไป
งานวิจัยชิ้นนี้นับว่าเป็นต้นแบบการจัดทำ HIA (Health Impact Assessment) ได้ ในระดับหนึ่ง มีองค์ประกอบการศึกษาเกือบทุกด้าน แต่อาจจะขาดในเรื่องพื้นที่ เนื่องจากไม่ได้เห็นพื้นที่จริง แต่การศึกษาได้ใช้พื้นที่ในประเทศไทยที่ใกล้เคียง เป็นตัวอย่างในการศึกษา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางการของประเทศพม่าจะเชื่อถืองานวิจัยฉบับนี้หรือไม่ ดร.เดชรัตน์กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ภาคประชาสังคมพม่าต้องทำงานต่อไป โดยการนำเสนอกับรัฐบาลพม่า ส่วนบริษัทของไทยที่เข้าไปลงทุนในโครงการนี้ คงจะได้รับทราบเนื้อหาของงานวิจัย จากการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับงานวิจัยดังกล่าว มีทั้งหมด 15 หน้า โดยเบื้องต้นเป็นการกล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นของโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำ ลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ในประเทศพม่า พร้อมคำสัมภาษณ์นักลงทุนและผู้เกี่ยวข้องจากประเทศไทย พร้อมทั้งผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากนั้นเป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
(ฉบับเต็ม)
HIA กับการลงทุนข้ามพรมแดน : กรณีศึกษาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า
บทนำ
ในขณะที่ประเทศทั้ง 10 ประเทศในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ ASEAN กำลังนับถอยหลังเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีพ.ศ.2558 การเชื่อมโยงกันของระบบเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนในประเทศเหล่านี้ก็กำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ตัวเรา และเริ่มปรากฏเป็นรูปเป็นร่างแจ่มชัดขึ้นทุกทีเช่นกัน การลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมเริ่มปรับตัวสู่การ ลงทุนแบบข้ามพรมแดน ซึ่งนำไปสู่การขยายโอกาสใหม่ๆ ทางการค้าและทางเศรษฐกิจ แต่ผลกระทบทางสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่จะเกิดขึ้นจากการขยายพรมแดนการค้าและ การลงทุนในกลุ่มอาเซียน ทั้งทางบวกและทางลบ กลับยังไม่ได้มีการหารือและศึกษากันอย่างจริงจังแต่อย่างใด
โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า เป็นหนึ่งในรูปธรรมของการขยายการลงทุนข้ามพรมแดนจากประเทศไทยสู่ประเทศพม่า เพื่อที่จะนำทรัพยากรพลังงานและผลผลิตต่างๆ กลับมาหล่อเลี้ยงการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ทั้งยังมีแนวคิดที่จะเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมจากประเทศพม่า ผ่านประเทศไทย ไปสู่ประเทศกัมพูชาและเวียดนามอีกด้วย โครงการนี้จึงเป็นเสมือนรูปธรรมที่ชัดเจนอย่างหนึ่งของการเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน โครงการนี้จึงได้รับความสนใจจากผู้ร่วมลงทุนหลายประเทศ และได้รับการสนับสนุนทางนโยบายจากรัฐบาลพม่าและรัฐบาลไทย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่ผ่านมา (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) หรือรัฐบาลปัจจุบัน (รัฐบา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ก็ตาม
บทความนี้จะเริ่มต้นด้วยการประมวลข่าวความคืบหน้าในการลงทุนในโครงการนี้ ทั้งในเชิงภาพรวมของโครงการ และในโครงการย่อยที่สำคัญต่างๆ รวมไปถึงการขยายแนวคิดเรื่องเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาค และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในมุมมองของเจ้าของโครงการ จากนั้น บทความนี้จะเริ่มต้นฉายภาพให้เห็นถึงผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้น และจำเป็นที่จะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงและการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวด ล้อมและสุขภาพในภาพรวมหรือในระดับยุทธศาสตร์ ก่อนที่จะดำเนินการโครงการตามแผนที่วางไว้ สุดท้ายบทความนี้จะเสนอข้อเสนอแนะที่น่าจะเป็นประโยชน์การคุ้มครองและการ สร้างเสริมสุขภาพของประชาชนทั้งสองประเทศ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่เรียกว่า การประเมินผลกระทบทางสุขภาพหรือ HIA นั่นเอง
รูปแบบการลงทุนในภาพรวมของโครงการ
เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย พื้นที่ 250 ตร.กม.ในประเทศพม่ากับสื่อมวลชนว่า บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด หรือ ดีดีซี ซึ่งปัจจุบันอิตาเลียนไทยฯ ถือหุ้น 100% จะเป็นผู้ดำเนินโครงการพัฒนา และจัดหาผู้ร่วมลงทุนในแต่ละโครงการ โดยขณะนี้นักลงทุนพม่าแสดงความจำนงถือหุ้นดีดีซีแล้ว 25% และในระยะต่อไป บ.อิตาเลียนไทยฯ จะลดสัดส่วนหุ้นในดีดีซีเหลือ 51% [1]
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) อ้างว่าได้ใช้เวลา 16 ปี ในการศึกษาโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในประเทศพม่า เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่เหมาะต่อการลงทุน รองรับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอนาคต กระทั่งเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2553 รัฐบาลพม่าได้ลงนามสัญญากับอิตาเลียนไทยฯ เพื่อให้สิทธิในการพัฒนาพื้นที่เป็นเวลา 75 ปี ซึ่งบ. อิตาเลียนไทยฯ ได้จัดตั้งบริษัท ทวาย ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 100 ล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนาโครงการนี้ [2]
นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจว่า บริษัทได้รับอนุญาตจากรัฐบาลพม่าให้พัฒนาโครงการดังกล่าวบนพื้นที่ 250 ตร.กม. หรือประมาณ 2 แสนไร่ ใหญ่กว่านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 10 เท่า[3] ปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้ประกาศให้พื้นที่โครงการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Dawei Special Economic Zone) หรือ DSEZ แล้ว ส่งผลให้เป็นพื้นที่ส่วนราชการแบบเบ็ดเสร็จ (One-Stop Service) เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงานให้เกิดความคล่องตัวมากที่สุด รวมทั้งการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งมาตรการด้านภาษี เพื่อจูงใจนักลงทุน [4]
การลงทุนโครงการระยะแรก ดีดีซีจะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในพื้นที่ 6,100 ไร่ ก่อสร้างถนนจากทวายมายังชายแดนไทย-พม่า บริเวณ จ.กาญจนบุรี ระยะทาง 132 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร รวมทั้งก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด 4,000 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ 2,300 ไร่ และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ [5]
ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการระยะแรกจะใช้เงินลงทุน 2.4 แสนล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 4 ปี 6 เดือน ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุดในโลก รองรับสินค้าคอนเทนเนอร์ปีละ 20 ล้านตัน หรือ 2 เท่าของท่าเรือแหลมฉบัง ระยะต่อไปจะพัฒนาให้รองรับได้ถึงปีละ 100 ล้านตัน [6]
ที่ผ่านมา นายสมเจตน์เล่าว่า บริษัทได้สำรวจพื้นที่โครงการทั้งบนบกและในทะเลแล้ว ทั้งพื้นที่แนวราบและแนวตั้ง ได้ก่อสร้างถนนชั่วคราว เพื่อใช้ขนส่งวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการก่อสร้างจากกาญจนบุรีไปยังทวาย ในอนาคตจะพัฒนาเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร รวมทั้งการสำรวจพื้นที่เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ขนาด 500 ล้านลูกบาศก์เมตร อยู่ห่างจากนิคมฯ 18 กม. ทั้งนี้ SCB เป็นผู้ให้กู้เบื้องต้น 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับสนับสนุนการดำเนินงานปัจจุบันทั้งศึกษาและจ้างที่ปรึกษา [7]
การลงทุนข้ามพรมแดนในโครงการย่อยต่างๆ
การลงทุนโครงการท่าเรือและนิคมฯทวาย ถือเป็นการลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทย หรือ Offshore Investment ซึ่งเป็นแนวนโยบายที่รัฐบาลไทยส่งเสริมและสนับสนุนมาตลอด และยิ่งให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการนำรายได้เข้าประเทศ จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เช่นเดียวกับประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน ก็สนับสนุนให้มีโครงการลงทุนในต่างประเทศเช่นกัน ดังนั้น การลงทุนในโครงการย่อยต่างๆ ในโครงการนิคมอุตสาหกรรมทวาย จึงเป็นการร่วมลงทุนของนักลงทุนรายใหญ่จากหลากหลายประเทศ ดังที่จะนำเสนอรายละเอียดของโครงการย่อยที่สำคัญ ดังนี้
โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและถนน มูลค่าเงินลงทุน 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่ง ญี่ปุ่น (เจบิก) 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ระยะ 20 ปี อัตราดอกเบี้ย 12.3% ผ่านธนาคารขนาดใหญ่ของไทย คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย [8]
โครงการท่าเรือดังกล่าว DDC ถือหุ้นทั้งหมด มีพื้นที่ 6,000 ไร่ ขณะนี้ตั้งบริษัทลูกแล้ว โดยการแปลงที่ดินเป็นทุนและอยู่ระหว่างการหาผู้ร่วมทุน คาดว่าจะเป็นญี่ปุ่น โดยมีต่างชาติ 3 รายแสดงความสนใจเข้ามาแล้ว ส่วนโครงการสร้างรถไฟ มูลค่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ DDC กำลังตัดสินใจว่าจะกู้เงินจากจีนหรือญี่ปุ่น [9]
โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4 พันเมกะวัตต์ พื้นที่ 2,300 ไร่ มูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ จะส่งเข้ามาจำหน่ายในไทยประมาณ 3,600 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือใช้ในพม่า [10] ล่าสุดบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ของประเทศไทย ยืนยันจะร่วมถือหุ้น 30% เพื่อลงทุนโรงไฟฟ้า DDC ถือหุ้น 40 % ที่เหลือเป็นผู้ร่วมทุนเชิงกลยุทธ์ที่คาดว่าจะเป็นญี่ปุ่น [11] ส่วนแหล่งถ่านหิน จะนำมาจากเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย [12]
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง(RATCH) กล่าวว่า ในระยะแรกบริษัทจะลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า SPP ขนาดโรงละ 130 เมกะวัตต์ รวม 3 โรง หรือราว 400 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายภายในนิคมฯ โดยคาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ปี 57 ใช้ถ่านหินเป็นพลังงาน ดังนั้น บริษัทคาดว่าธุรกิจการจัดหาถ่านหินและท่าเทียบเรือในอนาคตน่าจะมีความร่วม มือกันเพิ่มเติม [13]
ส่วนโครงการก่อสร้างโรงเหล็กขนาดใหญ่ 1.3 หมื่นไร่ มีการจดทะเบียนจัดตั้งแล้วเช่นกัน [14] โดยการแปลงที่ดินเป็นทุน และมีบริษัทผู้ผลิตเหล็กชั้นนำของโลกสนใจเข้าร่วมทุนหลายราย อาทิ กลุ่ม Posco จากเกาหลี กลุ่ม Mittal จากอินเดีย และกลุ่ม Nippon Steel จากญี่ปุ่น ปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการเจรจารายละเอียด [15]
ขณะที่โครงการก่อสร้างปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ กำลังเจรจากับนักลงทุนหลายราย เช่น กลุ่มมิตซูบิชิ กลุ่มโตโย กลุ่มโตคิว รวมทั้งบริษัทในคูเวต และกาตาร์ การก่อสร้างโรงงานต่างๆ จะแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการภายใน 3 ปี นับจากเดือนม.ค. 2555 [16] เช่นเดียวกับบริษัทร่วมทุนโรงกลั่นน้ำมันและก๊าซ ประมาณ 4,000-5,000 ไร่ ก็เริ่มมีบริษัทสนใจแล้วเช่นกัน [17]
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า “ปตท.สนใจการลงทุนในพม่า เพราะมีศักยภาพด้านพลังงานน้ำและถ่านหิน รวมถึงพม่ากำลังมีโครงการนิคมอุตสาหกรรมทวาย ที่จะมีการลงทุนในท่าเรือน้ำลึก ขนส่งทางถนน ขนส่งทางท่อ และโรงไฟฟ้า โดยจะมีรูปแบบการลงทุนเช่นเดียวกับโครงการเซาท์เทิร์นซีบอร์ดของไทย ซึ่ง ปตท.สนใจลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจพลังงานในนิคมเหล่านี้” [18]
นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวล้อปเมนท์ จำกัด เจ้าของโครงการย้ำว่า สิ่งที่รัฐบาลไทยควรเร่งจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้นักลงทุนไทย ที่ต้องการลงทุนโครงการในนิคมฯทวาย และการให้สิทธิประโยชน์หรือการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ ต้องเร่งออกกฎหมาย เพื่อให้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น [19]
ท่าเรือชั่วคราวเพื่อใช้ในการขนส่งระหว่างก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย
ยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ของภูมิภาค
นายเปรมชัย กรรณสูตร ประธานกรรมการบริหารบริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวายและนิคมอุตสาหกรรมว่า โครงการดังกล่าวคิดและพัฒนาโดยประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า GMS southern corridor เพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทั้งประเทศจีน เวียดนาม สปป.สาว และ กัมพูชา นายเปรมชัยเชื่อว่า โครงการที่เรือนำลึกทวายจะเป็นฮับคอนเทนเนอร์ ที่สามารถกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆได้ เช่น ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ จนถึงแอฟริกาใต้ได้ ซึ่งสามารถประหยัดเวลา 4-5 วัน จากเดิมที่ต้องผ่านประเทศสิงคโปร์ [20]
นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สาเหตุที่เลือกเขตพื้นที่ทวายเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม คือ ระบบคมนาคมทางถนนจากกรุงเทพมหานครมายังเขตทวายมีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งสอดคล้องกับแผนการพัฒนาระบบทางของรัฐบาล และมีพื้นที่เพื่อสร้างเขื่อนอ่างเก็บน้ำ บริเวณแม่น้ำทวาย รองรับน้ำได้ถึง 400 ล้านลิตร สามารถใช้ได้ทั้งปี [21]
ประเทศไทยจะมีเส้นทางขนส่งออกสู่ทะเลอันดามันเพิ่มขึ้น โดยระยะเวลาการขนส่งจะลดลง เพราะพม่าจะก่อสร้างถนนจากท่าเรือผ่านนิคมฯทวายมายังบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี สอดรับกับแผนงานของกรมทางหลวง ซึ่งมีแผนก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์จากบาง ใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี เชื่อมต่อกับเส้นทางดังกล่าว และเส้นทางนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังกัมพูชา ผ่านเมืองศรีโสภณ เสียมเรียบ พนมเปญ และเชื่อมต่อไปยังเวียดนาม โดยผ่านโฮจิมินห์ เพื่อออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก [22]
นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด ย้ำว่าสิ่งที่รัฐบาลไทยควรเร่งดำเนินการคือ ผลักดันโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์บางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี เพื่อเชื่อมต่อไปยังท่าเรือและนิคมฯทวาย สร้างระบบโลจิสติกส์รองรับการค้าการลงทุนและการขนส่งในอนาคต [23]
ล่าสุด นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า กรมทางหลวงได้สำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการ โดยแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2552 และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวด ล้อมในช่วงบางใหญ่-บ้านโป่ง ตั้งแต่ปี 2541 ส่วนช่วงบ้านโป่ง-กาญจนบุรี ได้รับความเห็นชอบตั้งแต่ปี 2546 ปัจจุบันกรมทางหลวง อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางและรูปแบบการลงทุนโครงการในรูปแบบ Public Private Partnership หรือ PPPs โดยให้เอกชนร่วมลงทุน ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการในการศึกษาจากธนาคารพัฒนาเอเชียหรือเอดีบี คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปี 2555 [24]
ทั้งนี้ เพื่อให้การเชื่อมต่อมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี สามารถเชื่อมต่อไปถึงชายแดนพม่าได้ นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง ระบุว่า กรมทางหลวงได้จ้างบริษัทศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการมอเตอร์เวย์สายกาญจนบุรี-ชายแดนไทย-พม่า ที่บ้านพุน้ำร้อน ระยะทางประมาณ 70 กม. ตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2555 คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 ปี
ผลกระทบในมุมมองของผู้ลงทุน
นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงผลกระทบในด้านบวกจากโครงการดังกล่าวว่า โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายมีแผนการสร้างที่อยู่อาศัยภายใน โครงการกว่า 2 แสนยูนิต สำหรับประชากร 2 ล้านคน ซึ่งหากโครงการแล้วเสร็จท่าเรือน้ำลึกทวายและนิคมอุตสาหกรรม จะสามารถรองรับแรงงานได้ถึง 6 แสนคน [25]
อย่างไรก็ตาม นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวล้อปเมนท์ จำกัด ได้ชี้ให้เห็นข้อควรระวังของการลงทุนในพม่าว่า การลงทุนจะต้องไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่รัฐบาลและประชาชนพม่าให้ความสำคัญมาก นักลงทุนจึงต้องดำเนินการตามกฎระเบียบและกติกาต่างๆ อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการลงทุนอุตสาหกรรมหนัก แม้ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นก็ตาม จะเห็นว่าที่ผ่านมาพม่าสั่งระงับโครงการก่อสร้างเขื่อนมูลค่า 1.2 แสนล้านบาทในแม่น้ำอิระวดี เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน เพราะการสร้างเขื่อนจะมีผลต่อกระแสน้ำในแม่น้ำอิระวดี จึงได้รับการต่อต้านจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพราะฉะนั้น นายสมเจตน์จึงย้ำว่า นักลงทุนและบริษัทจะต้องทำตามกติกาโลก เช่น กลุ่ม Posco ของเกาหลีใช้เวลากว่า 7 ปี กว่าจะได้ก่อสร้างโรงงานเหล็กในนิคมฯโอริสสาของประเทศอินเดีย [26]
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับทวาย
ทวายหรือ Dawei (เดิมเรียกว่า Tavoy) ในภาษาอังกฤษเป็นเมืองหลวงของแคว้นตะนาวศรี (หรือ Tanintharyi region) ในประเทศพม่า มีจำนวนประชากรราว 5 แสนคน มีกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มได้แก่ ทวาย มอญ กระเหรี่ยง และอื่นๆ ภาษาหลักที่ใช้คือ ภาษาทวาย [27]
พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมเรียกว่า Nabule แขวง Yebyu เขตเมืองทวาย ในพื้นที่ 250 ตร.กม. ที่มาทำเป็นนิคมอุตสาหกรรม จะต้องเวนคืนที่ดินและอพยพประชาชนกว่า 20 หมู่บ้าน ประมาณ 4,000 หลังคาเรือน และมีจำนวนประชากรที่จะต้องอพยพประมาณ 32,000 คน ประชาชนเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง เช่น สวนผลไม้ สวนยาง คล้ายกับภาคใต้ของประเทศไทย
ประชาชนในพื้นที่อพยพส่วนใหญ่ทราบเรื่องที่จะต้องอพยพออกจากพื้นที่ แต่จากการบอกเล่าของผู้แทนประชาชนจากประเทศพม่าที่มาประชุมในประเทศไทย เมื่อเดือนธ.ค. 2554 ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบเรื่องการจ่ายค่าชดเชย และความพร้อมของสถานที่รองรับการอพยพ
ขณะเดียวกัน ประชาชนและภาคประชาสังคมในพม่าก็เริ่มแสดงความห่วงกังวลกับผลกระทบทางสิ่ง แวดล้อมและสุขภาพที่จะเกิดขึ้นจากโครงการนี้ และเรียกร้องให้มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมตามาตรฐานสากล และผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่ [28]
ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
การสร้างนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มักจะก่อให้เกิดผลกระทบในหลายด้าน เพื่อที่จะช่วยชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการพัฒนานิคม อุตสาหกรรมทวาย ผู้เขียนจึงได้จำลองอัตราของผลกระทบแต่ละด้านเมื่อเทียบกับพื้นที่และขนาด การผลิต โดยเทียบเคียงจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตและการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมาบตา พุด
ดังนั้น การประมาณการณ์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในบทความนี้จึงเป็นการประมาณอย่าง คร่าวๆ เพื่อจุดประเด็นและจุดประกายให้เห็นถึงความสำคัญในการประเมินผลกระทบทาง สุขภาพในเชิงยุทธศาสตร์อย่างจริงจัง ก่อนที่จะพัฒนาโครงการย่อยต่างๆ ตามที่บริษัทเจ้าของโครงการได้วางแผนไว้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบเช่นเดียวกับที่ประชาชนในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบ ตาพุด (ซึ่งมีพื้นที่เล็กกว่านิคมอุตสาหกรรมทวายมาก) ต้องแบกรับมาเป็นเวลานาน
1) การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมทวาย ย่อมส่งผลกระทบทางลบอย่างมากต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก เพราะถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่เมื่อเผาไหม้แล้วจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่าเชื้อเพลิงอื่นๆ
ทั้งนี้ ประมาณการณ์ในเบื้องต้นว่า เมื่อโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งนี้เดินเครื่องเต็มกำลังการผลิต 4,000 เมกะวัตต์แล้ว โรงไฟฟ้าแห่งนี้จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 30 ล้านตัน/ปี[29] ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศพม่าทั้ง ประเทศในปีพ.ศ. 2551 ถึง 2 เท่า (ปีพ.ศ. 2551 ประเทศพม่าปล่อยก๊าซเรือนกระจก 12.8 ล้านตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์/ปี[30]) และเนื่องจากประมาณร้อยละ 90 ของไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกส่งมายังประเทศไทย โครงการนี้จึงเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการผลักภาระทางด้านสิ่งแวดล้อมให้กับ ประเทศเพื่อนบ้าน
ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้พลังงานเข้มข้นและเป็นต้นเหตุหลักของก๊าซปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเคมี และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงว่า ประเทศพม่าจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4-5 เท่าของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน ภายหลังจากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวายเต็มรูปแบบ
2) มลภาวะทางอากาศ
นอกเหนือจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังนำมาซึ่งการปลดปล่อยมลสารหลายชนิดที่กลาย เป็นมลภาวะทางอากาศด้วย หากเทียบเคียงจากประสบการณ์ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด การพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ถึง 194 ตร.กม.[31] ในเขตทวาย อาจนำไปสู่การปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้มากถึง 442,560 ตัน/ปี[32] ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนได้มากถึง 354,000 ตัน/ปี[33] และฝุ่นละอองขนาดเล็กอีกไม่น้อยกว่า 88,500 ตัน/ปี[34]
ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมถึงการปล่อยมลสารของโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4,000 เมกะวัตต์ ซึ่งในการเผาไหม้ถ่านหินประมาณ 11 ล้านตัน/ปี ก็อาจจะปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้มากถึง 118,000 ตัน/ปี ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนได้มากถึง 119,000 ตัน/ปี รวมทั้ง ฝุ่นละอองขนาดเล็กอีกไม่น้อยกว่า 10,300 ตัน/ปี[35]
การเพิ่มขึ้นของมลสารที่เป็นต้นเหตุของภาวะฝนกรดประมาณ 1 ล้านตัน/ปี และฝุ่นละอองขนาดเล็กอีกกว่า 1 แสนตัน/ปี จะกลายเป็นแรงกดดันสำคัญให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศขึ้นในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยสภาพภูมิประเทศของทวายที่มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นภูเขาสูงขนาบทางทิศ ตะวันออก ทำให้สภาพมลภาวะทางอากาศสะสมอยู่ในพื้นที่ และอาจจะส่งผลกระทบทางลบอย่างมาก ทั้งต่อการทำการเกษตรและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
นอกจากมลสารที่ทำให้เกิดฝนกรดแล้ว การปล่อยมลสารประเภทโลหะหนักเช่น ปรอท จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งอาจจะมีปริมาณสูงถึง 10,000 กิโลกรัมในแต่ละปี โลหะหนักเหล่านี้จะถูกฝนชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ และสะสมในสัตว์น้ำและในห่วงโซ่อาหาร เมื่อมนุษย์นำสัตว์น้ำมาบริโภคก็จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการทางสมอง โดยเฉพาะของเด็ก และทารกในครรภ์
สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นห่วงสำหรับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เช่นนี้คือ การกำหนดและการรักษาพื้นที่กันชนระหว่างเขตอุตสาหกรรมกับเขตชุมชน (หรือ buffer zone) เพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศและอุบัติสารเคมี ดังเช่นที่ทราบกันดีในกรณีของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่กันชนไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และพื้นที่อุตสาหกรรมก็ขยายมาติดพื้นที่ชุมชน จนทำให้มลพิษคุกคามชุมชนโดยตรง และต้องมีการย้ายโรงเรียนและโรงพยาบาลในที่สุด ส่วนในกรณีของนิคมอุตสาหกรรมทวาย จากการศึกษาแผนแม่บทของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ยังไม่ปรากฏพบการจัดเตรียมพื้นที่กันชนไว้แต่อย่างใด
ถนนจากบริเวณชายแดนจ.กาญจนบุรี ไปยังทวาย ประเทศพม่า
3) ทรัพยากรน้ำ
แรงกดดันทางด้านทรัพยากรน้ำ จะเกิดขึ้นทั้งจากความต้องการใช้น้ำของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น การปล่อยมลสารลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงจากมลภาวะทางอากาศที่ถูกฝนชะล้างลงสู่แหล่งน้ำด้วย และภาวะการขาดแคลนน้ำในแง่ของนิคมอุตสาหกรรม หากนิคมอุตสาหกรรมทวายมีการเติบโตเต็มพื้นที่ 194 ตร.กม. ตามแผนที่วางไว้ ก็อาจจะมีความต้องการน้ำจืดสูงถึง 5.9 ล้านลบ.ม./วัน [36] หรือประมาณ 2,150 ล้านลบ.ม./ปี เพราะฉะนั้น อ่างเก็บน้ำขนาด 400-500 ล้านลบ.ม. ที่บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด วางแผนก่อสร้างไว้จึงยังคงไม่เพียงพอ และคงต้องมีการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่อื่นๆ อีกไม่น้อยกว่า 2 แห่ง การสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่รอบๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และสังคมตามมา นอกจากนั้น ยังอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในบางช่วงเวลาด้วย
ในส่วนของน้ำเสีย หากเทียบเคียงจากอัตราการปล่อยน้ำเสียที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมทวายที่มีขนาดใหญ่กว่าก็จะปล่อยน้ำเสียมากถึง 1.5 ล้านลบ.ม./วัน หรือประมาณ 550 ล้านลบ.ม./ปี เมื่อรวมกับความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะฝนกรดจากมลภาวะทางอากาศที่ได้กล่าวไป แล้วข้างต้น ผลกระทบทางด้านคุณภาพน้ำก็นับเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ต้องมีการประเมินและ ศึกษาให้รอบคอบก่อนที่จะดำเนินโครงการจริง
ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวายแห่งนี้จะตั้งอยู่ ทางตอนเหนือของเมืองทวาย ฉะนั้น หากเกิดภาวะน้ำเสีย หรือโลหะหนักปนเปื้อน หรือภาวะน้ำขาดแคลนจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน ในเมืองทวาย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทรัพยากรน้ำในพื้นที่จึงเป็นประเด็นปัญหาที่จะต้อง ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
นอกเหนือแหล่งน้ำจืดแล้ว โรงไฟฟ้าถ่านหินยังมีการนำน้ำทะเลเข้ามาใช้ในการหล่อเย็นอีกไม่น้อยกว่า 20 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน หรือประมาณ 6,700 ล้านลบ.ม./ปี [37] แม้ว่า การนำน้ำทะเลเข้ามาใช้ในการหล่อเย็นจะไม่ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรประมงทางชายฝั่ง ซึ่งเป็นฐานทรัพยากรหลักของอาชีพประมงได้เช่นกัน
4) กากของเสีย
ผลกระทบอีกประการหนึ่งที่ติดตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้คือ กากของเสียจำนวนมหาศาลจากภาคอุตสาหกรรม โดยในการเผาไหม้ถ่านหินของโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4,000 เมกะวัตต์ จะทำให้เกิดเถ้าถ่านหินถึงประมาณ 1.3 ล้านตัน/ปี นิคมอุตสาหกรรมขนาด 194 ตร.กม. จะทำให้เกิดกากของเสียอุตสาหกรรมถึง 757,000 ตัน/ปี [38] และมีกากของเสียอันตรายที่จะต้องกำจัดอีกประมาณ 45 ตัน/ปี[39] นอกจากนั้น ยังมีของเสียครัวเรือนในพื้นที่พักอาศัยอีกไม่น้อยกว่า 101,000 ตันต่อปี[40] รวมแล้วมีกากของเสียที่จะต้องจัดการไม่น้อยกว่า 2 ล้านตันในแต่ละปี
หากการจัดการกากของเสียไม่เป็นไปอย่างรอบคอบ และเข้มงวด ก็จะเกิดการลักลอบทิ้งกากของเสีย และเกิดการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม เช่นน้ำใต้ดิน ดังที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด
5) ผลกระทบต่อชุมชนและวิถีชีวิต
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินขนาดใหญ่จะส่งผลกระทบโดยตรงกับชุมชนไม่น้อยกว่า 20 หมูบ้าน และประชากรกว่า 32,000 คน ที่จะต้องโยกย้ายถิ่นฐาน และเริ่มต้นอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่ใหม่ โดยเฉพาะชาวสวนที่ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่ต้นไม้จะให้ผลผลิตที่เป็นราย ได้แก่ครัวเรือน
นอกจากนั้น การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังอาจส่งผลกระทบกับชุมชนที่อยู่รอบๆ นิคม ทั้งโดยตรง (เช่น มลภาวะทางอากาศและมลภาวะทางน้ำ) และทางอ้อม (เช่น การขาดแคลนทรัพยากรน้ำ การปนเปื้อนของมลสารในห่วงโซ่อาหาร ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของประชากรในพื้นที่กับประชากรที่อพยพเข้ามา และความไม่เพียงพอของบริการสาธารณะในพื้นที่) ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงเมืองทวายที่อยู่ทางตอนล่างด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะหากเกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำทวาย
จุดก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย
6) ผลกระทบในฝั่งประเทศไทย
แน่นอนว่า เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมนั้นตั้งขึ้นที่ชายฝั่งประเทศพม่า ประกอบกับพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่าในบริเวณนี้ มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นภูเขาสูงกั้นอยู่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทางฝั่งไทยจึงน้อยมาก เมื่อเทียบกับที่ประชาชนชาวพม่าที่จะต้องกลายเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงที่จะ เกิดผลกระทบทางลบขึ้นในพื้นที่
อย่างไรก็ดี การสร้างเส้นทางคมนาคมขนส่งขนาดใหญ่ทั้งถนน ทางรถไฟ ท่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และสายส่งไฟฟ้าแรงสูงพาดจากกรุงเทพ ผ่านนครปฐม กาญจนบุรี ไปยังทวาย ก็ทำให้มีผู้ห่วงกังวลกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในฝั่งไทยอย่างน้อย 2 ประเด็นด้วยกันคือ
• การตัดขาดพื้นที่ผืนป่าตะวันตก ที่เคยเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ทอดยาวจากอ.อุ้มผาง จ.ตาก ไปจนถึงเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ด้วยเส้นทางขนส่งขนาดใหญ่ ทำให้ความสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าอาจลดน้อยลงไป
• แนวทางหลวงใหม่ที่จะตัดผ่านจากบางใหญ่ไปจนถึงนครปฐม อาจกั้นขวางเส้นทางการไหลของน้ำในพื้นที่ทุ่งพระพิมลในยามที่น้ำหลาก และกลายเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการจัดการน้ำในช่วงที่มีน้ำมากหรือเกิด อุทกภัย
สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
เนื่องจากโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายเป็นโครงการขนาด ใหญ่ ที่มีประเทศผู้ลงทุนและผู้ได้รับผลประโยชน์ในหลายประเทศ ขณะเดียวกัน ก็เป็นโครงการที่มีโครงการย่อยๆ หลายโครงการ ซึ่งอาจสร้างผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก เช่นกัน การเติบโตและความเชื่อมโยงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงไม่ควรมุ่งหวังแต่ผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเพิกเฉยต่อข้อห่วงกังวลของประชาชน รวมถึงไม่ควรละเลยความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดผลกระทบทางลบขึ้นในพื้นที่
ดังนั้น ก่อนที่จะดำเนินโครงการนี้ในลำดับต่อไป ผู้ลงทุนและรัฐบาลทุกประเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ โดยเฉพาะรัฐบาลและผู้ลงทุนจากประเทศไทย ซึ่งมีบทเรียนที่ชัดเจนเกี่ยวกับปัญหามลภาวะและสุขภาพที่มาบตาพุด จึงควรให้ความสำคัญกับการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยในเบื้องต้น ผู้เขียนจะขอเสนอแนะแนวทางเบื้องต้นดังต่อไปนี้
1) การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการนี้ จะต้องกระทำในลักษณะของการประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์หรือ Strategic Environmental Assessment (SEA) มิใช่การประเมินผลกระทบเป็นรายโครงการย่อย เนื่องจากการประเมินผลกระทบเป็นรายโครงการย่อยจะแยกส่วน และมองไม่เห็นผลกระทบสะสมหรือผลกระทบภาพรวม (หรือ cumulative impacts) ที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เลย การประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์ที่ดีจะช่วยให้เกิดการปรับปรุงแผนแม่บทของ โครงการนี้ (รวมถึงการเลือกโครงการย่อยต่างๆ) ให้สอดคล้องกับสภาพทรัพยากร ระบบนิเวศ และระบบวัฒนธรรมของพื้นที่ได้
2) การศึกษาเรื่องขีดความสามารถของทรัพยากรในการรองรับการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการรองรับมลพิษ (หรือ Carrying capacity) ทั้งทางทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรน้ำ คุณภาพอากาศ และทรัพยากรป่าไม้ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ในการวางแผนและประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ มิฉะนั้น จะเกิดปัญหาที่ตามมา คือ มีความต้องการใช้ทรัพยากร และมีการปล่อยมลสาร จนเกินกว่าขีดความสามารถที่จะรองรับได้ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นที่มาบตาพุด
3) เพื่อมิให้ประชาชนในพื้นที่เสียโอกาสในการพัฒนาที่ยั่งยืน การประเมินผลกระทบต่างๆ ทั้งการประเมินผลกระทบในระดับยุทธศาสตร์ และการประเมินผลกระทบในโครงการย่อยควรพิจารณาแนวทางเลือกต่างๆ ที่มีอยู่ให้รอบด้าน ตั้งแต่การเลือกพื้นที่โครงการ การเลือกประเภทของอุตสาหกรรม (เช่นอุตสาหกรรมเหล็ก หรืออุตสาหกรรมอาหาร) การเลือกเทคโนโลยีที่ใช้ (เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน) มิใช่เป็นการประเมินผลกระทบตามกรอบของแผนแม่บทหรือแนวทางที่เจ้าของโครงการ พัฒนาขึ้นแต่เพียงด้านเดียว
4) การดำเนินโครงการย่อยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเทศไทย หรือที่เป็นประเทศไทยเป็นผู้รับประโยชน์โดยตรง เช่น โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ควรเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกับที่ถือปฏิบัติในประเทศไทยเช่น มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เปิดให้ประชาชนในพื้นที่เข้า ถึงข้อมูลและนำเสนอความคิดเห็นได้โดยตรง เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบทางลบกับประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน จากโครงการที่ทำขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
5) การประเมินผลกระทบจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทางสังคม และทางสุขภาพที่จะเกิดขึ้น จากการอพยพโยกย้ายของประชาชน ทั้งการโยกย้ายประชาชนในพื้นที่เดิม และการอพยพของแรงงานและสมาชิกในครัวเรือนเข้ามาทำงานในนิคมอุตสาหกรรม โดยจะต้องมีแผนพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับระบบนิเวศและระบบวัฒนธรรม รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตสำหรับประชากรทั้งสองกลุ่ม ขณะเดียวกัน ก็ต้องเตรียมแผนป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากมลภาวะและอุบัติภัยที่ ชัดเจน และควรมีการกำหนดพื้นที่กันชนระหว่างนิคมอุตสาหกรรมและพื้นที่ชุมชนให้ ชัดเจน
6) เพื่อให้การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพตามข้อ 5) เป็นไปอย่างถูกต้องและรัดกุม รวมถึงสามารถให้ประชาชนได้เข้าถึงและนำเสนอข้อมูล ความคิดเห็นต่างๆ ตามข้อ 4) เจ้าของโครงการจะต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ ทั้งในภาพรวมและในแต่ละโครงการย่อย โดยข้อมูลที่เปิดเผยจะต้องครอบคลุมถึงความเสี่ยงและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าวด้วย
7) ภาคประชาชนในพื้นที่และภาคประชาสังคมในพม่าจะมีบทบาทสำคัญในการผลัก ดันข้อห่วงกังวลและข้อเสนอแนะต่างๆ ให้แปลงเป็นรูปธรรมในการดำเนินการที่จะคุ้มครองและสร้างเสริมสุขภาพของ ประชาชนในพม่า ภาคประชาชนในพื้นที่จึงควรศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตและความ ห่วงกังวลของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงความมุ่งหวังและทางเลือกในการพัฒนาของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาคมอาเซียนได้รับทราบ และร่วมกันสนับสนุนแนวทางการพัฒนาที่จะเอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน ในทุกๆ ประเทศ และทุกๆ พื้นที่ โดยอาจดำเนินการในลักษณะของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน (หรือ Community HIA) ที่มีการดำเนินการในประเทศไทย ในการนี้ ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในประเทศไทย ซึ่งมีประสบการณ์ในการพยายามแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมาเป็นเวลากว่า สองทศวรรษแล้ว จะมีส่วนสำคัญในการแลกเปลี่ยนบทเรียนและประสบการณ์กับภาคประชาชนในพื้นที่ และภาคประชาสังคมในพม่า
8) การดำเนินโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพในระยะยาว หน่วยงานของรัฐบาลกลางและหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่จึงจำเป็นต้องเตรียมความ พร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการประเมินผลกระทบ การเฝ้าระวังมลพิษและอุบัติภัย การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ การตอบโต้อุบัติภัย ความพร้อมของโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพต่างๆ ดังนั้น หากรัฐบาลไทยเห็นว่าโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐภายใต้กรอบของ ประชาคมอาเซียนจริง ก็ควรให้การสนับสนุนรัฐบาลพม่าในการสร้างกลไกและทรัพยากรบุคคลที่เพียงพอต่อ การรับมือความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว
กรณีศึกษาการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายเป็น ตัวอย่างสำคัญที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การลงทุนในโครงการพัฒนาในอนาคตจะเป็นไปในลักษณะข้ามพรมแดน ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านในประชาคมอาเซียนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การคุ้มครองและสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในอาเซียนก็จำเป็นต้องก้าวข้าม พรมแดนด้วยเช่นกัน ผ่านกลไกการเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเป็นเครื่องมือสำคัญ ทั้งในระดับยุทธศาสตร์การพัฒนาในภาพรวม ไปจนถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาในแต่ละพื้นที่
ความท้าทายจึงขึ้นอยู่กับว่า การพัฒนาการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของภาคประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน ปัจจุบัน จะก้าวทันย่างก้าวอันรวดเร็วของผู้ลงทุนข้ามชาติได้มากน้อยเพียงใด และสามารถประสานข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เข้าสู่การปรับทิศทางการพัฒนา หรือแนวทางการวางแผนในโครงการลงทุนข้ามชาติเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใด เป็นสำคัญ
________________________________________
[1] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “เจบิคเล็งปล่อยกู้3พันล.ดอลล์ สร้างท่าเรือ-นิคมฯทวายพม่า”
[2] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[3] พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 5 นิคมรวมกัน 31 ตร.กม.
[4] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[5] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “เจบิคเล็งปล่อยกู้3พันล.ดอลล์ สร้างท่าเรือ-นิคมฯทวายพม่า”
[6] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[7] โพสต์ทูเดย์ 27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[8] โพสต์ทูเดย์ 27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[9] โพสต์ทูเดย์ 27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[10] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[11] โพสต์ทูเดย์ 27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[12] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[13] สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) 14 พฤศจิกายน 2554. “RATCH เซ็น MOU ร่วมมือ ITD สร้างโรงไฟฟ้ารวม 4 พันเมกะวัตต์ในนิคมฯทวาย”
[14] โพสต์ทูเดย์ 27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[15] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[16] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[17] โพสต์ทูเดย์ 27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[18] ไทยรัฐออนไลน์ 22 ธันวาคม 2554. “ปตท.เล็งลงทุนธุรกิจพลังงานนิคมอุตฯทวายในพม่า”
[19] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[20] กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 26 ธันวาคม 2554 “อิตาเลี่ยนไทยเชื่อนิคมฯทวายเป็นฮับคอนเทนเนอร์”
[21] กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 26 ธันวาคม 2554 “อิตาเลี่ยนไทยเชื่อนิคมฯทวายเป็นฮับคอนเทนเนอร์”
[22] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[23] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[24] กรุงเทพธุรกิจ. 26 ธันวาคม 2554 “ทล.เล็งผุดมอเตอร์เวย์4.5หมื่นล.เชื่อมทวาย”
[25] กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 26 ธันวาคม 2554 “อิตาเลี่ยนไทยเชื่อนิคมฯทวายเป็นฮับคอนเทนเนอร์”
[26] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[27] Dawei Development Association. 15 December 2011. Press Release Disclosing the Desires of Local People on the Dawei Deep Seaport and Special Economic Zone.
[28] Dawei Development Association. 15 December 2011. Press Release Disclosing the Desires of Local People on the Dawei Deep Seaport and Special Economic Zone.
[29] คำนวณจากค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เท่ากับ 0.96 กก./kWh
[30] ข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_carbon_dioxide_emissions
[31] ไม่รวมพื้นที่ชุมชนและพื้นที่อยู่อาศัย
[32] คำนวณจากอัตราการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของภาคอุตสาหกรรมที่ 6.25 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, ฝัน ร่าง สร้าง ทำ: ผังเมืองทางเลือกเพื่อสุขภาวะ)
[33] คำนวณจากอัตราการปล่อยก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนจากภาคอุตสาหกรรมที่ 5.0 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[34] คำนวณจากอัตราการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กของภาคอุตสาหกรรมที่ 1.25 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[35] คำนวณจากค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
[36] คำนวณจากอัตราการใช้น้ำของภาคอุตสาหกรรมที่ 30,000 ลบ.ม./ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[37] คำนวณจากข้อมูลรายการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการ Gheco-one
[38] คำนวณจากอัตราการเกิดกากของเสียอุตสาหกรรมที่ 10.69 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[39] คำนวณจากอัตราการเกิดกากของเสียอันตรายที่ 0.64 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[40] คำนวณจากอัตราการเกิดขยะชุมชนที่ 1.43 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
ขอบคุณภาพจาก Google, Greenpeace, salweennews.org,
ปรากฏในหน้าแรกที่:
ข่าวเจาะพาดหัว (สไลด์โชว์)
เปิด ‘HIA ทวาย’ เดชรัต สุขกำเนิด ชี้ผลกระทบอื้อ ซัลเฟอร์ฯอ่วมปีละกว่า 4 แสนตัน ป่าตะวันตกถูกตัดขาด ถนนบางใหญ่-กาญจน์ ทำน้ำท่วมหนัก
นักวิชาการดังคณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ‘เดชรัต
สุขกำเนิด’เปิดงานวิจัย HIA กับการลงทุนข้ามพรมแดน :
กรณีศึกษาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย
ประเทศพม่าหวังชี้ให้เห็นผลกระทบที่มีเพียบ ระบุ 6 ประเด็นหลักที่น่าห่วง
ตั้งแต่ก๊าซคาร์บอนฯปีละ 30 ล้านตัน ที่จะเกิดจากโรงไฟฟ้า ก๊าซซัลเฟอร์ฯ
จากนิคมอุตสาหกรรม ปีละกว่า 4 แสนตัน ใช้น้ำจืดวันละ 5.9 ล้านลบ.ม.
เถ้าถ่านหินปีละ 1.3 ล้านตัน ขยะอุตสาหกรรมกว่าปีละ 7 แสนตัน
ชุมชนชาวพม่าได้รับผลกระทบกว่า 20 หมู่บ้าน 3.2 หมื่นคน ส่วนในฝั่งไทย
ผืนป่าตะวันตกอาจถูกตัดขาด และแนวถนนสายใหม่จากบางใหญ่
จ.นนทบุรี-นครปฐม-กาญจนบุรี จะขวางทางน้ำหลาก
หวั่นเกิดน้ำท่วมหนักอีกในอนาคต
ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ศูนย์ข่าว TCIJ ถึงงานวิจัย เรื่อง HIA กับการลงทุนข้ามพรมแดน : กรณีศึกษาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า ว่า จุดประสงค์ของการทำงานวิจัยชิ้นนี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับภาคประชาสังคมในประเทศพม่า ซึ่งก่อนหน้านี้ภาคประชาสังคมของพม่าเคยมาอบรมที่เสมสิกขาลัย ประเทศไทย และมีการหารือกันในประเด็นนี้อีกหลายครั้ง ว่าจะทำอย่างไรจึงจะมีการศึกษาถึงผลกระทบบ้าง พร้อมทั้งขอให้ช่วยทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมา และจากนี้ต่อไปตนจะมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษและส่งให้ภาคประชาสังคมของพม่าต่อ ไป
งานวิจัยชิ้นนี้นับว่าเป็นต้นแบบการจัดทำ HIA (Health Impact Assessment) ได้ ในระดับหนึ่ง มีองค์ประกอบการศึกษาเกือบทุกด้าน แต่อาจจะขาดในเรื่องพื้นที่ เนื่องจากไม่ได้เห็นพื้นที่จริง แต่การศึกษาได้ใช้พื้นที่ในประเทศไทยที่ใกล้เคียง เป็นตัวอย่างในการศึกษา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางการของประเทศพม่าจะเชื่อถืองานวิจัยฉบับนี้หรือไม่ ดร.เดชรัตน์กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ภาคประชาสังคมพม่าต้องทำงานต่อไป โดยการนำเสนอกับรัฐบาลพม่า ส่วนบริษัทของไทยที่เข้าไปลงทุนในโครงการนี้ คงจะได้รับทราบเนื้อหาของงานวิจัย จากการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับงานวิจัยดังกล่าว มีทั้งหมด 15 หน้า โดยเบื้องต้นเป็นการกล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นของโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำ ลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ในประเทศพม่า พร้อมคำสัมภาษณ์นักลงทุนและผู้เกี่ยวข้องจากประเทศไทย พร้อมทั้งผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากนั้นเป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
(ฉบับเต็ม)
HIA กับการลงทุนข้ามพรมแดน : กรณีศึกษาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า
บทนำ
ในขณะที่ประเทศทั้ง 10 ประเทศในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ ASEAN กำลังนับถอยหลังเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีพ.ศ.2558 การเชื่อมโยงกันของระบบเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนในประเทศเหล่านี้ก็กำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ตัวเรา และเริ่มปรากฏเป็นรูปเป็นร่างแจ่มชัดขึ้นทุกทีเช่นกัน การลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมเริ่มปรับตัวสู่การ ลงทุนแบบข้ามพรมแดน ซึ่งนำไปสู่การขยายโอกาสใหม่ๆ ทางการค้าและทางเศรษฐกิจ แต่ผลกระทบทางสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่จะเกิดขึ้นจากการขยายพรมแดนการค้าและ การลงทุนในกลุ่มอาเซียน ทั้งทางบวกและทางลบ กลับยังไม่ได้มีการหารือและศึกษากันอย่างจริงจังแต่อย่างใด
โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า เป็นหนึ่งในรูปธรรมของการขยายการลงทุนข้ามพรมแดนจากประเทศไทยสู่ประเทศพม่า เพื่อที่จะนำทรัพยากรพลังงานและผลผลิตต่างๆ กลับมาหล่อเลี้ยงการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ทั้งยังมีแนวคิดที่จะเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมจากประเทศพม่า ผ่านประเทศไทย ไปสู่ประเทศกัมพูชาและเวียดนามอีกด้วย โครงการนี้จึงเป็นเสมือนรูปธรรมที่ชัดเจนอย่างหนึ่งของการเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน โครงการนี้จึงได้รับความสนใจจากผู้ร่วมลงทุนหลายประเทศ และได้รับการสนับสนุนทางนโยบายจากรัฐบาลพม่าและรัฐบาลไทย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่ผ่านมา (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) หรือรัฐบาลปัจจุบัน (รัฐบา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ก็ตาม
บทความนี้จะเริ่มต้นด้วยการประมวลข่าวความคืบหน้าในการลงทุนในโครงการนี้ ทั้งในเชิงภาพรวมของโครงการ และในโครงการย่อยที่สำคัญต่างๆ รวมไปถึงการขยายแนวคิดเรื่องเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาค และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในมุมมองของเจ้าของโครงการ จากนั้น บทความนี้จะเริ่มต้นฉายภาพให้เห็นถึงผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้น และจำเป็นที่จะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงและการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวด ล้อมและสุขภาพในภาพรวมหรือในระดับยุทธศาสตร์ ก่อนที่จะดำเนินการโครงการตามแผนที่วางไว้ สุดท้ายบทความนี้จะเสนอข้อเสนอแนะที่น่าจะเป็นประโยชน์การคุ้มครองและการ สร้างเสริมสุขภาพของประชาชนทั้งสองประเทศ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่เรียกว่า การประเมินผลกระทบทางสุขภาพหรือ HIA นั่นเอง
รูปแบบการลงทุนในภาพรวมของโครงการ
เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย พื้นที่ 250 ตร.กม.ในประเทศพม่ากับสื่อมวลชนว่า บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด หรือ ดีดีซี ซึ่งปัจจุบันอิตาเลียนไทยฯ ถือหุ้น 100% จะเป็นผู้ดำเนินโครงการพัฒนา และจัดหาผู้ร่วมลงทุนในแต่ละโครงการ โดยขณะนี้นักลงทุนพม่าแสดงความจำนงถือหุ้นดีดีซีแล้ว 25% และในระยะต่อไป บ.อิตาเลียนไทยฯ จะลดสัดส่วนหุ้นในดีดีซีเหลือ 51% [1]
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) อ้างว่าได้ใช้เวลา 16 ปี ในการศึกษาโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในประเทศพม่า เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่เหมาะต่อการลงทุน รองรับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอนาคต กระทั่งเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2553 รัฐบาลพม่าได้ลงนามสัญญากับอิตาเลียนไทยฯ เพื่อให้สิทธิในการพัฒนาพื้นที่เป็นเวลา 75 ปี ซึ่งบ. อิตาเลียนไทยฯ ได้จัดตั้งบริษัท ทวาย ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 100 ล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนาโครงการนี้ [2]
นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจว่า บริษัทได้รับอนุญาตจากรัฐบาลพม่าให้พัฒนาโครงการดังกล่าวบนพื้นที่ 250 ตร.กม. หรือประมาณ 2 แสนไร่ ใหญ่กว่านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 10 เท่า[3] ปัจจุบันรัฐบาลพม่าได้ประกาศให้พื้นที่โครงการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Dawei Special Economic Zone) หรือ DSEZ แล้ว ส่งผลให้เป็นพื้นที่ส่วนราชการแบบเบ็ดเสร็จ (One-Stop Service) เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงานให้เกิดความคล่องตัวมากที่สุด รวมทั้งการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งมาตรการด้านภาษี เพื่อจูงใจนักลงทุน [4]
การลงทุนโครงการระยะแรก ดีดีซีจะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในพื้นที่ 6,100 ไร่ ก่อสร้างถนนจากทวายมายังชายแดนไทย-พม่า บริเวณ จ.กาญจนบุรี ระยะทาง 132 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร รวมทั้งก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด 4,000 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ 2,300 ไร่ และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ [5]
ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการระยะแรกจะใช้เงินลงทุน 2.4 แสนล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 4 ปี 6 เดือน ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุดในโลก รองรับสินค้าคอนเทนเนอร์ปีละ 20 ล้านตัน หรือ 2 เท่าของท่าเรือแหลมฉบัง ระยะต่อไปจะพัฒนาให้รองรับได้ถึงปีละ 100 ล้านตัน [6]
ที่ผ่านมา นายสมเจตน์เล่าว่า บริษัทได้สำรวจพื้นที่โครงการทั้งบนบกและในทะเลแล้ว ทั้งพื้นที่แนวราบและแนวตั้ง ได้ก่อสร้างถนนชั่วคราว เพื่อใช้ขนส่งวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการก่อสร้างจากกาญจนบุรีไปยังทวาย ในอนาคตจะพัฒนาเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร รวมทั้งการสำรวจพื้นที่เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ขนาด 500 ล้านลูกบาศก์เมตร อยู่ห่างจากนิคมฯ 18 กม. ทั้งนี้ SCB เป็นผู้ให้กู้เบื้องต้น 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับสนับสนุนการดำเนินงานปัจจุบันทั้งศึกษาและจ้างที่ปรึกษา [7]
การลงทุนข้ามพรมแดนในโครงการย่อยต่างๆ
การลงทุนโครงการท่าเรือและนิคมฯทวาย ถือเป็นการลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนไทย หรือ Offshore Investment ซึ่งเป็นแนวนโยบายที่รัฐบาลไทยส่งเสริมและสนับสนุนมาตลอด และยิ่งให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการนำรายได้เข้าประเทศ จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เช่นเดียวกับประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน ก็สนับสนุนให้มีโครงการลงทุนในต่างประเทศเช่นกัน ดังนั้น การลงทุนในโครงการย่อยต่างๆ ในโครงการนิคมอุตสาหกรรมทวาย จึงเป็นการร่วมลงทุนของนักลงทุนรายใหญ่จากหลากหลายประเทศ ดังที่จะนำเสนอรายละเอียดของโครงการย่อยที่สำคัญ ดังนี้
โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและถนน มูลค่าเงินลงทุน 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่ง ญี่ปุ่น (เจบิก) 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ระยะ 20 ปี อัตราดอกเบี้ย 12.3% ผ่านธนาคารขนาดใหญ่ของไทย คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย [8]
โครงการท่าเรือดังกล่าว DDC ถือหุ้นทั้งหมด มีพื้นที่ 6,000 ไร่ ขณะนี้ตั้งบริษัทลูกแล้ว โดยการแปลงที่ดินเป็นทุนและอยู่ระหว่างการหาผู้ร่วมทุน คาดว่าจะเป็นญี่ปุ่น โดยมีต่างชาติ 3 รายแสดงความสนใจเข้ามาแล้ว ส่วนโครงการสร้างรถไฟ มูลค่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ DDC กำลังตัดสินใจว่าจะกู้เงินจากจีนหรือญี่ปุ่น [9]
โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4 พันเมกะวัตต์ พื้นที่ 2,300 ไร่ มูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ จะส่งเข้ามาจำหน่ายในไทยประมาณ 3,600 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือใช้ในพม่า [10] ล่าสุดบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ของประเทศไทย ยืนยันจะร่วมถือหุ้น 30% เพื่อลงทุนโรงไฟฟ้า DDC ถือหุ้น 40 % ที่เหลือเป็นผู้ร่วมทุนเชิงกลยุทธ์ที่คาดว่าจะเป็นญี่ปุ่น [11] ส่วนแหล่งถ่านหิน จะนำมาจากเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย [12]
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง(RATCH) กล่าวว่า ในระยะแรกบริษัทจะลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า SPP ขนาดโรงละ 130 เมกะวัตต์ รวม 3 โรง หรือราว 400 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายภายในนิคมฯ โดยคาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ปี 57 ใช้ถ่านหินเป็นพลังงาน ดังนั้น บริษัทคาดว่าธุรกิจการจัดหาถ่านหินและท่าเทียบเรือในอนาคตน่าจะมีความร่วม มือกันเพิ่มเติม [13]
ส่วนโครงการก่อสร้างโรงเหล็กขนาดใหญ่ 1.3 หมื่นไร่ มีการจดทะเบียนจัดตั้งแล้วเช่นกัน [14] โดยการแปลงที่ดินเป็นทุน และมีบริษัทผู้ผลิตเหล็กชั้นนำของโลกสนใจเข้าร่วมทุนหลายราย อาทิ กลุ่ม Posco จากเกาหลี กลุ่ม Mittal จากอินเดีย และกลุ่ม Nippon Steel จากญี่ปุ่น ปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการเจรจารายละเอียด [15]
ขณะที่โครงการก่อสร้างปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ กำลังเจรจากับนักลงทุนหลายราย เช่น กลุ่มมิตซูบิชิ กลุ่มโตโย กลุ่มโตคิว รวมทั้งบริษัทในคูเวต และกาตาร์ การก่อสร้างโรงงานต่างๆ จะแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการภายใน 3 ปี นับจากเดือนม.ค. 2555 [16] เช่นเดียวกับบริษัทร่วมทุนโรงกลั่นน้ำมันและก๊าซ ประมาณ 4,000-5,000 ไร่ ก็เริ่มมีบริษัทสนใจแล้วเช่นกัน [17]
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า “ปตท.สนใจการลงทุนในพม่า เพราะมีศักยภาพด้านพลังงานน้ำและถ่านหิน รวมถึงพม่ากำลังมีโครงการนิคมอุตสาหกรรมทวาย ที่จะมีการลงทุนในท่าเรือน้ำลึก ขนส่งทางถนน ขนส่งทางท่อ และโรงไฟฟ้า โดยจะมีรูปแบบการลงทุนเช่นเดียวกับโครงการเซาท์เทิร์นซีบอร์ดของไทย ซึ่ง ปตท.สนใจลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจพลังงานในนิคมเหล่านี้” [18]
นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวล้อปเมนท์ จำกัด เจ้าของโครงการย้ำว่า สิ่งที่รัฐบาลไทยควรเร่งจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้นักลงทุนไทย ที่ต้องการลงทุนโครงการในนิคมฯทวาย และการให้สิทธิประโยชน์หรือการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ ต้องเร่งออกกฎหมาย เพื่อให้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น [19]
ท่าเรือชั่วคราวเพื่อใช้ในการขนส่งระหว่างก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย
ยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ของภูมิภาค
นายเปรมชัย กรรณสูตร ประธานกรรมการบริหารบริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวายและนิคมอุตสาหกรรมว่า โครงการดังกล่าวคิดและพัฒนาโดยประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า GMS southern corridor เพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทั้งประเทศจีน เวียดนาม สปป.สาว และ กัมพูชา นายเปรมชัยเชื่อว่า โครงการที่เรือนำลึกทวายจะเป็นฮับคอนเทนเนอร์ ที่สามารถกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆได้ เช่น ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ จนถึงแอฟริกาใต้ได้ ซึ่งสามารถประหยัดเวลา 4-5 วัน จากเดิมที่ต้องผ่านประเทศสิงคโปร์ [20]
นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สาเหตุที่เลือกเขตพื้นที่ทวายเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม คือ ระบบคมนาคมทางถนนจากกรุงเทพมหานครมายังเขตทวายมีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งสอดคล้องกับแผนการพัฒนาระบบทางของรัฐบาล และมีพื้นที่เพื่อสร้างเขื่อนอ่างเก็บน้ำ บริเวณแม่น้ำทวาย รองรับน้ำได้ถึง 400 ล้านลิตร สามารถใช้ได้ทั้งปี [21]
ประเทศไทยจะมีเส้นทางขนส่งออกสู่ทะเลอันดามันเพิ่มขึ้น โดยระยะเวลาการขนส่งจะลดลง เพราะพม่าจะก่อสร้างถนนจากท่าเรือผ่านนิคมฯทวายมายังบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี สอดรับกับแผนงานของกรมทางหลวง ซึ่งมีแผนก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์จากบาง ใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี เชื่อมต่อกับเส้นทางดังกล่าว และเส้นทางนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังกัมพูชา ผ่านเมืองศรีโสภณ เสียมเรียบ พนมเปญ และเชื่อมต่อไปยังเวียดนาม โดยผ่านโฮจิมินห์ เพื่อออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก [22]
นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด ย้ำว่าสิ่งที่รัฐบาลไทยควรเร่งดำเนินการคือ ผลักดันโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์บางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี เพื่อเชื่อมต่อไปยังท่าเรือและนิคมฯทวาย สร้างระบบโลจิสติกส์รองรับการค้าการลงทุนและการขนส่งในอนาคต [23]
ล่าสุด นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า กรมทางหลวงได้สำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการ โดยแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2552 และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวด ล้อมในช่วงบางใหญ่-บ้านโป่ง ตั้งแต่ปี 2541 ส่วนช่วงบ้านโป่ง-กาญจนบุรี ได้รับความเห็นชอบตั้งแต่ปี 2546 ปัจจุบันกรมทางหลวง อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางและรูปแบบการลงทุนโครงการในรูปแบบ Public Private Partnership หรือ PPPs โดยให้เอกชนร่วมลงทุน ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการในการศึกษาจากธนาคารพัฒนาเอเชียหรือเอดีบี คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปี 2555 [24]
ทั้งนี้ เพื่อให้การเชื่อมต่อมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี สามารถเชื่อมต่อไปถึงชายแดนพม่าได้ นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง ระบุว่า กรมทางหลวงได้จ้างบริษัทศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการมอเตอร์เวย์สายกาญจนบุรี-ชายแดนไทย-พม่า ที่บ้านพุน้ำร้อน ระยะทางประมาณ 70 กม. ตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2555 คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 ปี
ผลกระทบในมุมมองของผู้ลงทุน
นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงผลกระทบในด้านบวกจากโครงการดังกล่าวว่า โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายมีแผนการสร้างที่อยู่อาศัยภายใน โครงการกว่า 2 แสนยูนิต สำหรับประชากร 2 ล้านคน ซึ่งหากโครงการแล้วเสร็จท่าเรือน้ำลึกทวายและนิคมอุตสาหกรรม จะสามารถรองรับแรงงานได้ถึง 6 แสนคน [25]
อย่างไรก็ตาม นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวล้อปเมนท์ จำกัด ได้ชี้ให้เห็นข้อควรระวังของการลงทุนในพม่าว่า การลงทุนจะต้องไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่รัฐบาลและประชาชนพม่าให้ความสำคัญมาก นักลงทุนจึงต้องดำเนินการตามกฎระเบียบและกติกาต่างๆ อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการลงทุนอุตสาหกรรมหนัก แม้ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นก็ตาม จะเห็นว่าที่ผ่านมาพม่าสั่งระงับโครงการก่อสร้างเขื่อนมูลค่า 1.2 แสนล้านบาทในแม่น้ำอิระวดี เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน เพราะการสร้างเขื่อนจะมีผลต่อกระแสน้ำในแม่น้ำอิระวดี จึงได้รับการต่อต้านจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพราะฉะนั้น นายสมเจตน์จึงย้ำว่า นักลงทุนและบริษัทจะต้องทำตามกติกาโลก เช่น กลุ่ม Posco ของเกาหลีใช้เวลากว่า 7 ปี กว่าจะได้ก่อสร้างโรงงานเหล็กในนิคมฯโอริสสาของประเทศอินเดีย [26]
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับทวาย
ทวายหรือ Dawei (เดิมเรียกว่า Tavoy) ในภาษาอังกฤษเป็นเมืองหลวงของแคว้นตะนาวศรี (หรือ Tanintharyi region) ในประเทศพม่า มีจำนวนประชากรราว 5 แสนคน มีกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มได้แก่ ทวาย มอญ กระเหรี่ยง และอื่นๆ ภาษาหลักที่ใช้คือ ภาษาทวาย [27]
พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมเรียกว่า Nabule แขวง Yebyu เขตเมืองทวาย ในพื้นที่ 250 ตร.กม. ที่มาทำเป็นนิคมอุตสาหกรรม จะต้องเวนคืนที่ดินและอพยพประชาชนกว่า 20 หมู่บ้าน ประมาณ 4,000 หลังคาเรือน และมีจำนวนประชากรที่จะต้องอพยพประมาณ 32,000 คน ประชาชนเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง เช่น สวนผลไม้ สวนยาง คล้ายกับภาคใต้ของประเทศไทย
ประชาชนในพื้นที่อพยพส่วนใหญ่ทราบเรื่องที่จะต้องอพยพออกจากพื้นที่ แต่จากการบอกเล่าของผู้แทนประชาชนจากประเทศพม่าที่มาประชุมในประเทศไทย เมื่อเดือนธ.ค. 2554 ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบเรื่องการจ่ายค่าชดเชย และความพร้อมของสถานที่รองรับการอพยพ
ขณะเดียวกัน ประชาชนและภาคประชาสังคมในพม่าก็เริ่มแสดงความห่วงกังวลกับผลกระทบทางสิ่ง แวดล้อมและสุขภาพที่จะเกิดขึ้นจากโครงการนี้ และเรียกร้องให้มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมตามาตรฐานสากล และผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่ [28]
ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
การสร้างนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มักจะก่อให้เกิดผลกระทบในหลายด้าน เพื่อที่จะช่วยชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการพัฒนานิคม อุตสาหกรรมทวาย ผู้เขียนจึงได้จำลองอัตราของผลกระทบแต่ละด้านเมื่อเทียบกับพื้นที่และขนาด การผลิต โดยเทียบเคียงจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตและการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมาบตา พุด
ดังนั้น การประมาณการณ์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในบทความนี้จึงเป็นการประมาณอย่าง คร่าวๆ เพื่อจุดประเด็นและจุดประกายให้เห็นถึงความสำคัญในการประเมินผลกระทบทาง สุขภาพในเชิงยุทธศาสตร์อย่างจริงจัง ก่อนที่จะพัฒนาโครงการย่อยต่างๆ ตามที่บริษัทเจ้าของโครงการได้วางแผนไว้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบเช่นเดียวกับที่ประชาชนในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบ ตาพุด (ซึ่งมีพื้นที่เล็กกว่านิคมอุตสาหกรรมทวายมาก) ต้องแบกรับมาเป็นเวลานาน
1) การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมทวาย ย่อมส่งผลกระทบทางลบอย่างมากต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก เพราะถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่เมื่อเผาไหม้แล้วจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่าเชื้อเพลิงอื่นๆ
ทั้งนี้ ประมาณการณ์ในเบื้องต้นว่า เมื่อโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งนี้เดินเครื่องเต็มกำลังการผลิต 4,000 เมกะวัตต์แล้ว โรงไฟฟ้าแห่งนี้จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 30 ล้านตัน/ปี[29] ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศพม่าทั้ง ประเทศในปีพ.ศ. 2551 ถึง 2 เท่า (ปีพ.ศ. 2551 ประเทศพม่าปล่อยก๊าซเรือนกระจก 12.8 ล้านตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์/ปี[30]) และเนื่องจากประมาณร้อยละ 90 ของไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกส่งมายังประเทศไทย โครงการนี้จึงเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการผลักภาระทางด้านสิ่งแวดล้อมให้กับ ประเทศเพื่อนบ้าน
ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้พลังงานเข้มข้นและเป็นต้นเหตุหลักของก๊าซปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเคมี และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงว่า ประเทศพม่าจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4-5 เท่าของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน ภายหลังจากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวายเต็มรูปแบบ
2) มลภาวะทางอากาศ
นอกเหนือจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังนำมาซึ่งการปลดปล่อยมลสารหลายชนิดที่กลาย เป็นมลภาวะทางอากาศด้วย หากเทียบเคียงจากประสบการณ์ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด การพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ถึง 194 ตร.กม.[31] ในเขตทวาย อาจนำไปสู่การปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้มากถึง 442,560 ตัน/ปี[32] ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนได้มากถึง 354,000 ตัน/ปี[33] และฝุ่นละอองขนาดเล็กอีกไม่น้อยกว่า 88,500 ตัน/ปี[34]
ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมถึงการปล่อยมลสารของโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4,000 เมกะวัตต์ ซึ่งในการเผาไหม้ถ่านหินประมาณ 11 ล้านตัน/ปี ก็อาจจะปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้มากถึง 118,000 ตัน/ปี ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนได้มากถึง 119,000 ตัน/ปี รวมทั้ง ฝุ่นละอองขนาดเล็กอีกไม่น้อยกว่า 10,300 ตัน/ปี[35]
การเพิ่มขึ้นของมลสารที่เป็นต้นเหตุของภาวะฝนกรดประมาณ 1 ล้านตัน/ปี และฝุ่นละอองขนาดเล็กอีกกว่า 1 แสนตัน/ปี จะกลายเป็นแรงกดดันสำคัญให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศขึ้นในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยสภาพภูมิประเทศของทวายที่มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นภูเขาสูงขนาบทางทิศ ตะวันออก ทำให้สภาพมลภาวะทางอากาศสะสมอยู่ในพื้นที่ และอาจจะส่งผลกระทบทางลบอย่างมาก ทั้งต่อการทำการเกษตรและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
นอกจากมลสารที่ทำให้เกิดฝนกรดแล้ว การปล่อยมลสารประเภทโลหะหนักเช่น ปรอท จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งอาจจะมีปริมาณสูงถึง 10,000 กิโลกรัมในแต่ละปี โลหะหนักเหล่านี้จะถูกฝนชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ และสะสมในสัตว์น้ำและในห่วงโซ่อาหาร เมื่อมนุษย์นำสัตว์น้ำมาบริโภคก็จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการทางสมอง โดยเฉพาะของเด็ก และทารกในครรภ์
สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นห่วงสำหรับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เช่นนี้คือ การกำหนดและการรักษาพื้นที่กันชนระหว่างเขตอุตสาหกรรมกับเขตชุมชน (หรือ buffer zone) เพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศและอุบัติสารเคมี ดังเช่นที่ทราบกันดีในกรณีของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่กันชนไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และพื้นที่อุตสาหกรรมก็ขยายมาติดพื้นที่ชุมชน จนทำให้มลพิษคุกคามชุมชนโดยตรง และต้องมีการย้ายโรงเรียนและโรงพยาบาลในที่สุด ส่วนในกรณีของนิคมอุตสาหกรรมทวาย จากการศึกษาแผนแม่บทของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ยังไม่ปรากฏพบการจัดเตรียมพื้นที่กันชนไว้แต่อย่างใด
ถนนจากบริเวณชายแดนจ.กาญจนบุรี ไปยังทวาย ประเทศพม่า
3) ทรัพยากรน้ำ
แรงกดดันทางด้านทรัพยากรน้ำ จะเกิดขึ้นทั้งจากความต้องการใช้น้ำของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น การปล่อยมลสารลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงจากมลภาวะทางอากาศที่ถูกฝนชะล้างลงสู่แหล่งน้ำด้วย และภาวะการขาดแคลนน้ำในแง่ของนิคมอุตสาหกรรม หากนิคมอุตสาหกรรมทวายมีการเติบโตเต็มพื้นที่ 194 ตร.กม. ตามแผนที่วางไว้ ก็อาจจะมีความต้องการน้ำจืดสูงถึง 5.9 ล้านลบ.ม./วัน [36] หรือประมาณ 2,150 ล้านลบ.ม./ปี เพราะฉะนั้น อ่างเก็บน้ำขนาด 400-500 ล้านลบ.ม. ที่บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด วางแผนก่อสร้างไว้จึงยังคงไม่เพียงพอ และคงต้องมีการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่อื่นๆ อีกไม่น้อยกว่า 2 แห่ง การสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่รอบๆ ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และสังคมตามมา นอกจากนั้น ยังอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในบางช่วงเวลาด้วย
ในส่วนของน้ำเสีย หากเทียบเคียงจากอัตราการปล่อยน้ำเสียที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมทวายที่มีขนาดใหญ่กว่าก็จะปล่อยน้ำเสียมากถึง 1.5 ล้านลบ.ม./วัน หรือประมาณ 550 ล้านลบ.ม./ปี เมื่อรวมกับความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะฝนกรดจากมลภาวะทางอากาศที่ได้กล่าวไป แล้วข้างต้น ผลกระทบทางด้านคุณภาพน้ำก็นับเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ต้องมีการประเมินและ ศึกษาให้รอบคอบก่อนที่จะดำเนินโครงการจริง
ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์ที่พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวายแห่งนี้จะตั้งอยู่ ทางตอนเหนือของเมืองทวาย ฉะนั้น หากเกิดภาวะน้ำเสีย หรือโลหะหนักปนเปื้อน หรือภาวะน้ำขาดแคลนจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน ในเมืองทวาย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทรัพยากรน้ำในพื้นที่จึงเป็นประเด็นปัญหาที่จะต้อง ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
นอกเหนือแหล่งน้ำจืดแล้ว โรงไฟฟ้าถ่านหินยังมีการนำน้ำทะเลเข้ามาใช้ในการหล่อเย็นอีกไม่น้อยกว่า 20 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน หรือประมาณ 6,700 ล้านลบ.ม./ปี [37] แม้ว่า การนำน้ำทะเลเข้ามาใช้ในการหล่อเย็นจะไม่ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรประมงทางชายฝั่ง ซึ่งเป็นฐานทรัพยากรหลักของอาชีพประมงได้เช่นกัน
4) กากของเสีย
ผลกระทบอีกประการหนึ่งที่ติดตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้คือ กากของเสียจำนวนมหาศาลจากภาคอุตสาหกรรม โดยในการเผาไหม้ถ่านหินของโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4,000 เมกะวัตต์ จะทำให้เกิดเถ้าถ่านหินถึงประมาณ 1.3 ล้านตัน/ปี นิคมอุตสาหกรรมขนาด 194 ตร.กม. จะทำให้เกิดกากของเสียอุตสาหกรรมถึง 757,000 ตัน/ปี [38] และมีกากของเสียอันตรายที่จะต้องกำจัดอีกประมาณ 45 ตัน/ปี[39] นอกจากนั้น ยังมีของเสียครัวเรือนในพื้นที่พักอาศัยอีกไม่น้อยกว่า 101,000 ตันต่อปี[40] รวมแล้วมีกากของเสียที่จะต้องจัดการไม่น้อยกว่า 2 ล้านตันในแต่ละปี
หากการจัดการกากของเสียไม่เป็นไปอย่างรอบคอบ และเข้มงวด ก็จะเกิดการลักลอบทิ้งกากของเสีย และเกิดการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม เช่นน้ำใต้ดิน ดังที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด
5) ผลกระทบต่อชุมชนและวิถีชีวิต
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินขนาดใหญ่จะส่งผลกระทบโดยตรงกับชุมชนไม่น้อยกว่า 20 หมูบ้าน และประชากรกว่า 32,000 คน ที่จะต้องโยกย้ายถิ่นฐาน และเริ่มต้นอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่ใหม่ โดยเฉพาะชาวสวนที่ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่ต้นไม้จะให้ผลผลิตที่เป็นราย ได้แก่ครัวเรือน
นอกจากนั้น การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังอาจส่งผลกระทบกับชุมชนที่อยู่รอบๆ นิคม ทั้งโดยตรง (เช่น มลภาวะทางอากาศและมลภาวะทางน้ำ) และทางอ้อม (เช่น การขาดแคลนทรัพยากรน้ำ การปนเปื้อนของมลสารในห่วงโซ่อาหาร ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของประชากรในพื้นที่กับประชากรที่อพยพเข้ามา และความไม่เพียงพอของบริการสาธารณะในพื้นที่) ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงเมืองทวายที่อยู่ทางตอนล่างด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะหากเกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำทวาย
จุดก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย
6) ผลกระทบในฝั่งประเทศไทย
แน่นอนว่า เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมนั้นตั้งขึ้นที่ชายฝั่งประเทศพม่า ประกอบกับพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่าในบริเวณนี้ มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นภูเขาสูงกั้นอยู่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทางฝั่งไทยจึงน้อยมาก เมื่อเทียบกับที่ประชาชนชาวพม่าที่จะต้องกลายเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงที่จะ เกิดผลกระทบทางลบขึ้นในพื้นที่
อย่างไรก็ดี การสร้างเส้นทางคมนาคมขนส่งขนาดใหญ่ทั้งถนน ทางรถไฟ ท่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และสายส่งไฟฟ้าแรงสูงพาดจากกรุงเทพ ผ่านนครปฐม กาญจนบุรี ไปยังทวาย ก็ทำให้มีผู้ห่วงกังวลกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในฝั่งไทยอย่างน้อย 2 ประเด็นด้วยกันคือ
• การตัดขาดพื้นที่ผืนป่าตะวันตก ที่เคยเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ทอดยาวจากอ.อุ้มผาง จ.ตาก ไปจนถึงเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ด้วยเส้นทางขนส่งขนาดใหญ่ ทำให้ความสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าอาจลดน้อยลงไป
• แนวทางหลวงใหม่ที่จะตัดผ่านจากบางใหญ่ไปจนถึงนครปฐม อาจกั้นขวางเส้นทางการไหลของน้ำในพื้นที่ทุ่งพระพิมลในยามที่น้ำหลาก และกลายเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการจัดการน้ำในช่วงที่มีน้ำมากหรือเกิด อุทกภัย
สรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
เนื่องจากโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายเป็นโครงการขนาด ใหญ่ ที่มีประเทศผู้ลงทุนและผู้ได้รับผลประโยชน์ในหลายประเทศ ขณะเดียวกัน ก็เป็นโครงการที่มีโครงการย่อยๆ หลายโครงการ ซึ่งอาจสร้างผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก เช่นกัน การเติบโตและความเชื่อมโยงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงไม่ควรมุ่งหวังแต่ผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเพิกเฉยต่อข้อห่วงกังวลของประชาชน รวมถึงไม่ควรละเลยความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดผลกระทบทางลบขึ้นในพื้นที่
ดังนั้น ก่อนที่จะดำเนินโครงการนี้ในลำดับต่อไป ผู้ลงทุนและรัฐบาลทุกประเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ โดยเฉพาะรัฐบาลและผู้ลงทุนจากประเทศไทย ซึ่งมีบทเรียนที่ชัดเจนเกี่ยวกับปัญหามลภาวะและสุขภาพที่มาบตาพุด จึงควรให้ความสำคัญกับการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยในเบื้องต้น ผู้เขียนจะขอเสนอแนะแนวทางเบื้องต้นดังต่อไปนี้
1) การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการนี้ จะต้องกระทำในลักษณะของการประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์หรือ Strategic Environmental Assessment (SEA) มิใช่การประเมินผลกระทบเป็นรายโครงการย่อย เนื่องจากการประเมินผลกระทบเป็นรายโครงการย่อยจะแยกส่วน และมองไม่เห็นผลกระทบสะสมหรือผลกระทบภาพรวม (หรือ cumulative impacts) ที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เลย การประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์ที่ดีจะช่วยให้เกิดการปรับปรุงแผนแม่บทของ โครงการนี้ (รวมถึงการเลือกโครงการย่อยต่างๆ) ให้สอดคล้องกับสภาพทรัพยากร ระบบนิเวศ และระบบวัฒนธรรมของพื้นที่ได้
2) การศึกษาเรื่องขีดความสามารถของทรัพยากรในการรองรับการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการรองรับมลพิษ (หรือ Carrying capacity) ทั้งทางทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรน้ำ คุณภาพอากาศ และทรัพยากรป่าไม้ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ในการวางแผนและประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ มิฉะนั้น จะเกิดปัญหาที่ตามมา คือ มีความต้องการใช้ทรัพยากร และมีการปล่อยมลสาร จนเกินกว่าขีดความสามารถที่จะรองรับได้ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นที่มาบตาพุด
3) เพื่อมิให้ประชาชนในพื้นที่เสียโอกาสในการพัฒนาที่ยั่งยืน การประเมินผลกระทบต่างๆ ทั้งการประเมินผลกระทบในระดับยุทธศาสตร์ และการประเมินผลกระทบในโครงการย่อยควรพิจารณาแนวทางเลือกต่างๆ ที่มีอยู่ให้รอบด้าน ตั้งแต่การเลือกพื้นที่โครงการ การเลือกประเภทของอุตสาหกรรม (เช่นอุตสาหกรรมเหล็ก หรืออุตสาหกรรมอาหาร) การเลือกเทคโนโลยีที่ใช้ (เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน) มิใช่เป็นการประเมินผลกระทบตามกรอบของแผนแม่บทหรือแนวทางที่เจ้าของโครงการ พัฒนาขึ้นแต่เพียงด้านเดียว
4) การดำเนินโครงการย่อยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเทศไทย หรือที่เป็นประเทศไทยเป็นผู้รับประโยชน์โดยตรง เช่น โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ควรเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกับที่ถือปฏิบัติในประเทศไทยเช่น มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เปิดให้ประชาชนในพื้นที่เข้า ถึงข้อมูลและนำเสนอความคิดเห็นได้โดยตรง เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบทางลบกับประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน จากโครงการที่ทำขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
5) การประเมินผลกระทบจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทางสังคม และทางสุขภาพที่จะเกิดขึ้น จากการอพยพโยกย้ายของประชาชน ทั้งการโยกย้ายประชาชนในพื้นที่เดิม และการอพยพของแรงงานและสมาชิกในครัวเรือนเข้ามาทำงานในนิคมอุตสาหกรรม โดยจะต้องมีแผนพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับระบบนิเวศและระบบวัฒนธรรม รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตสำหรับประชากรทั้งสองกลุ่ม ขณะเดียวกัน ก็ต้องเตรียมแผนป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากมลภาวะและอุบัติภัยที่ ชัดเจน และควรมีการกำหนดพื้นที่กันชนระหว่างนิคมอุตสาหกรรมและพื้นที่ชุมชนให้ ชัดเจน
6) เพื่อให้การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพตามข้อ 5) เป็นไปอย่างถูกต้องและรัดกุม รวมถึงสามารถให้ประชาชนได้เข้าถึงและนำเสนอข้อมูล ความคิดเห็นต่างๆ ตามข้อ 4) เจ้าของโครงการจะต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ ทั้งในภาพรวมและในแต่ละโครงการย่อย โดยข้อมูลที่เปิดเผยจะต้องครอบคลุมถึงความเสี่ยงและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าวด้วย
7) ภาคประชาชนในพื้นที่และภาคประชาสังคมในพม่าจะมีบทบาทสำคัญในการผลัก ดันข้อห่วงกังวลและข้อเสนอแนะต่างๆ ให้แปลงเป็นรูปธรรมในการดำเนินการที่จะคุ้มครองและสร้างเสริมสุขภาพของ ประชาชนในพม่า ภาคประชาชนในพื้นที่จึงควรศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตและความ ห่วงกังวลของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงความมุ่งหวังและทางเลือกในการพัฒนาของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาคมอาเซียนได้รับทราบ และร่วมกันสนับสนุนแนวทางการพัฒนาที่จะเอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน ในทุกๆ ประเทศ และทุกๆ พื้นที่ โดยอาจดำเนินการในลักษณะของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน (หรือ Community HIA) ที่มีการดำเนินการในประเทศไทย ในการนี้ ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในประเทศไทย ซึ่งมีประสบการณ์ในการพยายามแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมาเป็นเวลากว่า สองทศวรรษแล้ว จะมีส่วนสำคัญในการแลกเปลี่ยนบทเรียนและประสบการณ์กับภาคประชาชนในพื้นที่ และภาคประชาสังคมในพม่า
8) การดำเนินโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพในระยะยาว หน่วยงานของรัฐบาลกลางและหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่จึงจำเป็นต้องเตรียมความ พร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการประเมินผลกระทบ การเฝ้าระวังมลพิษและอุบัติภัย การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ การตอบโต้อุบัติภัย ความพร้อมของโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพต่างๆ ดังนั้น หากรัฐบาลไทยเห็นว่าโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐภายใต้กรอบของ ประชาคมอาเซียนจริง ก็ควรให้การสนับสนุนรัฐบาลพม่าในการสร้างกลไกและทรัพยากรบุคคลที่เพียงพอต่อ การรับมือความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว
กรณีศึกษาการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายเป็น ตัวอย่างสำคัญที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การลงทุนในโครงการพัฒนาในอนาคตจะเป็นไปในลักษณะข้ามพรมแดน ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านในประชาคมอาเซียนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การคุ้มครองและสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในอาเซียนก็จำเป็นต้องก้าวข้าม พรมแดนด้วยเช่นกัน ผ่านกลไกการเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเป็นเครื่องมือสำคัญ ทั้งในระดับยุทธศาสตร์การพัฒนาในภาพรวม ไปจนถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาในแต่ละพื้นที่
ความท้าทายจึงขึ้นอยู่กับว่า การพัฒนาการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของภาคประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน ปัจจุบัน จะก้าวทันย่างก้าวอันรวดเร็วของผู้ลงทุนข้ามชาติได้มากน้อยเพียงใด และสามารถประสานข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เข้าสู่การปรับทิศทางการพัฒนา หรือแนวทางการวางแผนในโครงการลงทุนข้ามชาติเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใด เป็นสำคัญ
________________________________________
[1] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “เจบิคเล็งปล่อยกู้3พันล.ดอลล์ สร้างท่าเรือ-นิคมฯทวายพม่า”
[2] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[3] พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 5 นิคมรวมกัน 31 ตร.กม.
[4] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[5] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “เจบิคเล็งปล่อยกู้3พันล.ดอลล์ สร้างท่าเรือ-นิคมฯทวายพม่า”
[6] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[7] โพสต์ทูเดย์ 27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[8] โพสต์ทูเดย์ 27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[9] โพสต์ทูเดย์ 27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[10] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[11] โพสต์ทูเดย์ 27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[12] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[13] สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) 14 พฤศจิกายน 2554. “RATCH เซ็น MOU ร่วมมือ ITD สร้างโรงไฟฟ้ารวม 4 พันเมกะวัตต์ในนิคมฯทวาย”
[14] โพสต์ทูเดย์ 27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[15] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[16] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[17] โพสต์ทูเดย์ 27 ธันวาคม 2554 . “ITDทุนอื้อไม่เพิ่มทุน”
[18] ไทยรัฐออนไลน์ 22 ธันวาคม 2554. “ปตท.เล็งลงทุนธุรกิจพลังงานนิคมอุตฯทวายในพม่า”
[19] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[20] กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 26 ธันวาคม 2554 “อิตาเลี่ยนไทยเชื่อนิคมฯทวายเป็นฮับคอนเทนเนอร์”
[21] กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 26 ธันวาคม 2554 “อิตาเลี่ยนไทยเชื่อนิคมฯทวายเป็นฮับคอนเทนเนอร์”
[22] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[23] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[24] กรุงเทพธุรกิจ. 26 ธันวาคม 2554 “ทล.เล็งผุดมอเตอร์เวย์4.5หมื่นล.เชื่อมทวาย”
[25] กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 26 ธันวาคม 2554 “อิตาเลี่ยนไทยเชื่อนิคมฯทวายเป็นฮับคอนเทนเนอร์”
[26] กรุงเทพธุรกิจ. 27 ธันวาคม 2554. “ทุนข้ามชาติทะลักเข้าทวาย”
[27] Dawei Development Association. 15 December 2011. Press Release Disclosing the Desires of Local People on the Dawei Deep Seaport and Special Economic Zone.
[28] Dawei Development Association. 15 December 2011. Press Release Disclosing the Desires of Local People on the Dawei Deep Seaport and Special Economic Zone.
[29] คำนวณจากค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เท่ากับ 0.96 กก./kWh
[30] ข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_carbon_dioxide_emissions
[31] ไม่รวมพื้นที่ชุมชนและพื้นที่อยู่อาศัย
[32] คำนวณจากอัตราการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของภาคอุตสาหกรรมที่ 6.25 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, ฝัน ร่าง สร้าง ทำ: ผังเมืองทางเลือกเพื่อสุขภาวะ)
[33] คำนวณจากอัตราการปล่อยก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนจากภาคอุตสาหกรรมที่ 5.0 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[34] คำนวณจากอัตราการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กของภาคอุตสาหกรรมที่ 1.25 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[35] คำนวณจากค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
[36] คำนวณจากอัตราการใช้น้ำของภาคอุตสาหกรรมที่ 30,000 ลบ.ม./ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[37] คำนวณจากข้อมูลรายการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการ Gheco-one
[38] คำนวณจากอัตราการเกิดกากของเสียอุตสาหกรรมที่ 10.69 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[39] คำนวณจากอัตราการเกิดกากของเสียอันตรายที่ 0.64 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
[40] คำนวณจากอัตราการเกิดขยะชุมชนที่ 1.43 ตัน/ตร.กม./วัน (มูลนิธินโยบายสุขภาวะ, 2554, อ้างแล้ว)
ขอบคุณภาพจาก Google, Greenpeace, salweennews.org,
ปรากฏในหน้าแรกที่:
ข่าวเจาะพาดหัว (สไลด์โชว์)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น