บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

เปิดร่าง พ.ร.ก.ซุกหนี้กว่า1ล้านล้านบาทให้อำนาจ ครม.ล้วงสินทรัพย์ -ทองคำหลวงตาบัว

หมาย เหตุ-คณะรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีมติเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 เห็นชอบในหลักการ ร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)  4 ฉบับ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาว่า ควรตราเป็น พ.ร.ก. หรือ พระราชบัญญัติ( พ.ร.บ.)
ร่าง พ.ร.ก.ทั้ง 4 ฉบับดังกล่าว ประกอบด้วย
1.ร่าง พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ...ซึ่งมีสาระสำคัญในการแก้ไข พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยให้สามารถปล่อยเงินกู้อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน(ซอฟท์ โลน) วงเงิน 300,000 ล้านบาท เพื่อในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 ให้สถาบันการเงินปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อยและประชาชนผู้ ประสบอุทกภัย
2.ร่าง พ.ร.ก.ปรับปรุงการ บริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน การเงิน พ.ศ. ....มีสาระสำคัญในการโอนหนี้ 1.14 ล้านล้านบาทของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่กระทรวงการ คลังเคยรับภาระดอกเบี้ยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท. )รับผิดชอบทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น
3.ร่าง พ.ร.ก.ให้กระทรวงการคลังกู้เงินวงเงิน 350,000 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูประเทศหลังประสบอุทกภัย
และ 4.ร่าง พ.ร.ก.จัดตั้งกองทุนประกันภัย วงเงิน 50,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.ก.ที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดคือ ร่าง พ.ร.ก.ปรับปรุงการ บริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน การเงิน พ.ศ… เพราะ นอกจากจะเป็นการเป็นการซุกหนี้กว่า 1 ล้านล้านบาทมิให้ปรากฏในบัญชีหนี้สาธารณะแล้ว ยังเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจ ครม. แทรกแซงการทำงานของ ธปท. รวมถึงการเปิดช่องให้ ครม.มีอำนาจล้วงสินทรัพย์ของ ธปท.ซึ่งอาจรวมถึงทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ทองคำและเงินตราต่างประเทศที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัโน(พระธรรมวิสุทธิมงคล) วัดป่าบ้านตาดมอบให้ ธปท.ดูแลรักษาในช่วงงวิกฤตการเงินมาใช้หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯได้ด้วย ตามมาตรา 7 (3) ที่บัญญัติว่า
“ในระหว่างการชำระหนี้ต้นเงินกู้ตามมาตรา 4(หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ) ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (3) ให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ตามจำนวนที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
สำหรับ ร่าง พ.ร.ก.ปรับปรุงการ บริหารหนี้เงินกู้ ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน การเงิน พ.ศ. …. มีรายละเอียด ดังนี้
หลักการ และ เหตุผล
เนื่องจากในปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดอุทกภัยอย่างร้ายแรงในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย ทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากแก่โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคและ สาธารณูปการ รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการบูรณะและฟื้นฟูประเทศที่ได้รับความ เสียหาย รวมทั้งลงทุนหรือก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ สมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลัง กู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยกำหนดให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีหน้าที่และรับ ผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคืนค้นเงินกู้และการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ ในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้
เพื่อช่วยเหลือการจัดการและฟื้นฟูสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาวิกฤติทาง การเงินเมื่อปี พ.ศ. 2540 และให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินการของกองทุนดังกล่าวใน การชำระคืนตัวเงินกู้ การชำระต้นดอกเบี้ยเงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารหนี้เงินกู้ดังกล่าว และไม่เป็นภาระต่องบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลอีกต่อไปซึ่งทำให้รัฐบาลมีวงเงิน งบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการบูรณะ และฟื้นฟูประเทศได้ทันเหตุการณ์ อีกทั้งยังเป็นการสร้างเสถียรภาพต่อระบบการเงินการคลังของประเทศโดยรวมด้วย และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดฉบับนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ ที่ กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการ เงิน พ.ศ. ….”
มาตรา 2 พระราชกำหนดฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ในพระราชกำหนดฉบับนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 4 ให้กองทุนมีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคืนต้นเงินกู้และการชำระ ดอกเบี้ยเงินกู้ ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินกู้ดังต่อไปนี้
(1)หนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการ คลังกู้ เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 ที่ยังคงมีอยู่
(2) หนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้ เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 ระยะที่สอง ที่ยังคงมีอยู่
การจัดลำดับการชำระหนี้ต้นเงินกู้ หรือดอกเบี้ยเงินกู้ และการกำหนดจำนวนเงินที่จะต้องชำระตามพระราชกำหนดนี้ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังแจ้งให้กองทุนทราบ
หนี้เงินกู้ตามมาตรานี้ ให้หมายความรวมถึงหนี้ที่เกิดจากการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ด้วย
มาตรา 5 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา 4 ให้บัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดเชยความเสียหายของกองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งจัดตั้งโดยพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ตามมาตรา 4 และการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกิดจากหนี้เงินกู้ดังกล่าว
เงินหรือสินทรัพย์ดังต่อไปนี้ ให้นำส่งเข้าหรือรับขึ้นบัญชีตามวรรคหนึ่ง
(1) เงินหรือสินทรัพย์ที่โอนเข้าตามมาตรา 7
(2) เงินที่สถาบันการเงินนำส่งตามมาตรา 8 และมาตรา 9
(3) เงินหรือสินทรัพย์ที่กระทรวงการคลังโอนตามมาตรา 11
(4) ดอกผลของเงินหรือสินทรัพย์ตาม (1) ถึง (3)
มาตรา 6 รายได้ของธนาคารแห่งประเทศเทศไทยอันเป็นเงินหรือสินทรัพย์ในบัญชีตามมาตรา 5 มิให้นำไปจัดสรรเป็นเงินสำรองหรือเป็นเงินนำส่งรัฐตามกฎหมายว่าด้วยธนาคาร แห่งประเทศไทยหรือกฎหมายอื่นใด และให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ดูแลรักษา ตลอดจนจัดการเงินหรือสินทรัพย์ดังกล่าว และแปลงเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท เพื่อให้สอดคล้องกับต้นเงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ตามพระราชกำหนดฉบับนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าวเพื่อการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ชำระดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกิดจากหนี้เงินกู้ตามมาตรา 4
(2) ชำระคืนต้นเงินกู้ตามมาตรา 4
(3) จ่ายเป็นค่าบริหารจัดการเกี่ยวกับการดำเนินการตาม (1) และ (2)
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 7 ในระหว่างการชำระหนี้ต้นเงินกู้ตามมาตรา 4 ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในแต่ละปีให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งเงินกำไรสุทธิเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 เข้าบัญชีตามมาตรา 5
(2) ให้โอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา หลังจากการจ่ายเมื่อสิ้นปีเข้าบัญชีตามมาตรา 5 โดยไม่ต้องโอนเข้าบัญชีสำรองพิเศษ
(3) ให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ตามจำนวนที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 8 ให้สถาบันการเงินนำส่งเงินให้แก่กองทุนตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกำหนด แต่เมื่อรวมอัตราดังกล่าวกับอัตราที่กำหนดให้สถาบันการเงินนำส่งเข้ากองทุน คุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 1 ต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก
มาตรา 9 สถาบันการเงินใดไม่นำส่งเงินตามมาตรา 8 หรือนำส่งไม่ครบภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
ในกรณีที่สถาบันการเงินใดไม่นำส่งเงินตามมาตรา 8 หรือนำส่งไม่ครบและไม่เสียเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้สถาบันการเงินนั้นชำระเงิน ดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กำหนด
มาตรา 10 เงินที่สถาบันการเงินนำส่งตามมาตรา 8 และเงินเพิ่มตามมาตรา 9 ให้กองทุนนำส่งเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ต่อไป และให้ถือว่าเงินที่สถาบันการเงินต้องนำส่งตามมาตรา 8 และเงินเพิ่มตามมาตรา 9 ให้กองทุนนำส่งเข้าบัญชีตามมาตรา 5 ต่อไป และให้ถือว่าเงินที่สถาบันการเงินต้องนำส่งตามมาตรา 8 และเงินเพิ่มตามมาตรา 9 เป็นหนี้อันมีบุริมสิทธิลำดับต่อจากหนี้ภาษีอากรของสถาบันการเงินนั้น
การนำส่งเงินของสถาบันการเงินให้แก่กองทุนตามพระราชกำหนดนี้ มิให้ถือว่าเป็นการนำส่งเงินเข้ากองทุนตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย
มาตรา 11 ให้กระทรวงการคลังโอนเงินของกองทุนเพื่อการชำระคืนเงินกู้ชดใช้ความเสียหาย ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในกระทรวงการคลัง ซึ่งจัดตั้งโดยพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 เข้าบัญชีตามมาตรา 5
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว ให้ยุบเลิกกองทุนเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อ การฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งจัดตั้งโดย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 ทั้งนี้ นับแต่วันที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา 12 ให้บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วย เหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 และบทบัญญัติ มาตรา 8 วรรคสอง มาตรา 9 และ มาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วย เหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 เป็นอันสิ้นผลใช้บังคับนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้บังคับ
มาตรา 13 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รักษาการตามพระราชกำหนดนี้



  เขียนโดย ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง