บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

“อุกฤษ-คอ.นธ.” ลักไก่เสนอ กก.แดงเถือกแก้ รธน. “คำนูณ-ปานเทพ” ลั่นไม่ร่วม





คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) Independent National Rule of Law Commission (NRLC)











ASTVผู้จัดการ - “ศ.ดร.อุกฤษ-คอ.นธ.” เดินหน้าตามใบสั่งแม้ว ลักไก่เสนอแก้รัฐธรรมนูญเมิน ส.ส.ร. แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระฯ 34 คนยกร่างแทน เผยชื่อแดงเถือกเกินครึ่ง คนอื่นแค่ไม้ประดับ “คำนูณ” ขอบคุณแต่ไม่รับระบุเป็น ส.ว.อยู่แล้วไม่เห็นด้วยกับการแก้ รธน. “ปานเทพ” เผยไม่รู้เรื่องมาก่อน ยัน พธม. ไม่ยอมเป็นเครื่องมือ



  วานนี้ (5 ม.ค.) เว็บไซต์คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ซึ่งมีศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ดำรงตำแหน่งเป็นประธาน คอ.นธ.ตามมติคณะรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2554 ได้ออกประกาศเป็นข้อเสนอ “การแก้ไขปัญหาบ้านเมืองว่าด้วยความสามัคคี และความสมานฉันท์ของคนในชาติ” โดยมีเนื้อหาให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่ต้องผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร. แต่ใช้วิธีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแทน
      
       สำหรับข้อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สภาพิจารณาของ คอ.นธ. แบ่งเป็นสองวิธี คือ ให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 5 หมื่นคน เป็นผู้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม และให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 30-35 คน
      
       “ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้น คณะหนึ่ง จำนวนระหว่าง 30-35 คน โดยคัดเลือกจากบุคคลผู้มีความรู้ และ มีประสบการณ์ด้านรัฐธรรมนูญ เป็นที่ยอมรับในสังคม เช่นมีผลงานการเขียน ตำรา เขียนบทความ ให้ความเห็นทางสื่อมวลชนทุกแขนง “เป็นนักรัฐธรรมนูญ” โดยต้องไม่เลือก จากเฉพาะบุคคลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือต้องเป็นผู้มีแนวความคิด ทางเดียวกัน โดยให้มีองค์ประกอบจากบุคคลทุกฝ่าย ที่มีความปรารถนาจะให้ ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์ และถูกต้องตามหลักนิติธรรม สากลมากที่สุด คณะกรรมการควรใช้เวลาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญไม่เกิน 60 วัน เพราะทุกคนมี แนวคิดของตนเองอยู่แล้ว” ข้อเสนอของ คอ.นธ.ระบุ





























การแก้ไขปัญหาบ้านเมืองว่าด้วยความสามัคคี
และความสมานฉันท์ของคนในชาติ


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะรัฐมนตรีในวันเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2554 มีความตอนหนึ่งว่า “โลกนี้มีความวุ่นวายพอแล้ว
ขอให้รัฐบาลทำให้ประเทศไทยมีความสงบเรียบร้อย เป็นที่อยู่ที่สบายในโลก
” พระราชดำรัสนี้ถือว่า พระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทยทั้งชาติ พึงน้อมรับไว้และปฏิบัติตาม โดยช่วยกันทำให้ประเทศปราศจากความวุ่นวาย และให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยการนำความสามัคคีและความสมานฉันท์มาสู่คนในชาติ ด้วยการยึดแนวทางข้างต้น




คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) จึงขอเสนอหลักการและวิธีการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองดังนี้







ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.)
ว่าด้วยกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ




ข้อ 1. เสนอให้การปกครองประเทศเป็นการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยที่แท้จริง ให้เป็น
ที่ยอมรับของสังคมโลกในปัจจุบัน ที่รับรองหลักประชาธิปไตยว่า เป็นการปกครอง
ประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
ข้อ 2. เป็นการปกครองโดยอาศัยเสียงข้างมากของประชาชนเป็นหลัก แต่ต้องให้ความสำคัญและ
คุ้มครองเสียงข้างน้อยด้วย
ข้อ 3. เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ข้อ 4. เป็นการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข
ทรงใช้อำนาจนั้น ทางรัฐสภาคณะรัฐมนตรีและศาล เพียงสามทางเท่านั้น
ข้อ 5. การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
ได้แก่องค์กรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ และหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
ข้อ 6. ความหมายของ “หลักนิติธรรม” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง โดยสรุปได้แก่
การปกครองบ้านเมืองต้องปกครองโดยกฎหมาย กฎหมายที่ใช้ปกครองต้องเป็นกฎหมายที่ดี
และมีความเป็นธรรม
กฎหมายที่ดี คือ กฎหมายที่ไม่ขัดต่อหลักนิติรัฐหรือหลักนิติธรรม กฎหมายต้องให้ความ
คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความ
เสมอภาคของบุคคล กฎหมายต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับ
แก่กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง “ โดยยึดหลักการสำคัญ
ที่ว่า ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ”
ห้ามออกกฎหมายย้อนหลังไปลงโทษ
หรือเพิ่มโทษ ไม่ว่าจะเป็นโทษทางอาญา หรือโทษทางด้านสิทธิพลเมือง (ได้แก่การจำกัดสิทธิ
ทางการเมือง) หลักการที่ใช้ในการลงโทษในกรณีมีบางคนในคณะได้กระทำความผิด
จะลงโทษได้เฉพาะ ผู้กระทำความผิดเท่านั้น บุคคลอื่นๆ ในคณะนั้น อาจต้องรับผิดร่วมด้วย
ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลคณะนั้นได้มอบหมายเห็นชอบ ร่วมรู้เห็นหรือยินยอมกับการกระทำ
ความผิดนั้นซึ่งกรณีนี้ถือเป็นข้อยกเว้นของหลักทั่วไปที่ว่า “บุคคลจักได้รับผลร้ายก็เฉพาะ
จากการกระทำความผิดของเขาเอง”



โดยสรุป การปกครองโดยหลักนิติธรรม ได้แก่ “การปกครองตามทำนองคลองธรรม”
เท่านั้น การใดๆ ที่ขัดต่อหลักการปกครองตามทำนองคลองธรรม ถือว่าเป็นการปกครองหรือเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักนิติธรรมทั้งสิ้น
ข้อ 7. เนื่องจากการพิจารณาว่า การปกครองประเทศ ดำเนินไปตามหลักนิติธรรมหรือไม่ จะต้อง
พิจารณาถึงกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศในขณะนั้นๆ เป็นหลักพิจารณา
เมื่อได้พิจารณาถึงที่มา และเนื้อหาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
โดยละเอียดแล้ว เห็นว่าแม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบทบัญญัติบางส่วนเป็นบทบัญญัติที่ดี
เพราะยึดมั่นในหลักนิติธรรม แต่ก็มีบทบัญญัติหลายส่วนที่ลบล้างและขัดแย้งกันเอง และ
มีบทบัญญัติหลายบทหลายมาตราที่ขัดกับหลักนิติธรรมอย่างแจ้งชัด นอกจากนั้นยังคงให้
คณะบุคคลบางคณะที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญในศาลรัฐธรรมนูญ และในองค์กร
อิสระซึ่งเป็นองค์กรที่กำหนดชะตากรรมของประเทศ และของประชาชน ของพรรคการเมือง
ของประชาชน ของสมาชิกรัฐสภา ที่ได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชน เป็นผู้ที่ไม่ได้รับการ
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะปฏิวัติ
ซึ่งไม่ได้รับมอบอำนาจมาจากประชาชน เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และ
อำนาจอธิปไตยกลับคืนมาเป็นของประชาชนแล้ว บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่
สำคัญของบ้านเมือง โดยคณะปฏิวัติจึงต้องพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในทันที และให้มี
กระบวนการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ให้ตำแหน่งสำคัญทุกตำแหน่งดังกล่าว
ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระราชอำนาจ
โดยเฉพาะ และให้สอดคล้องกับประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข



ด้วยเหตุผลสำคัญข้างต้น ประกอบกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของ
ประเทศที่สนับสนุนพรรคการเมืองที่นำเสนอนโยบายว่า ถ้าได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็น
เสียงข้างมากแล้ว จะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญในทันที เมื่อผลการเลือกตั้งได้แสดง
ถึงเจตนารมณ์อันแท้จริงของประชาชนแล้ว จึงต้องดำเนินการตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้
กับประชาชนโดยทันที ก่อนที่จะมีเหตุอันทำให้บ้านเมืองเสียหายไปมากกว่านี้เกิดขึ้น
โดยผลพวงของกฎหมาย ระเบียบ หรือคำสั่ง หรือโดยการกระทำของบุคคลหรือคณะ
บุคคลที่ยังทำหน้าที่อยู่ โดยขัดต่อกฎหมายและขัดต่อหลักนิติธรรม เช่น ยังมีอำนาจในการ
ยุบพรรคการเมือง หรือ การวินิจฉัยสถานภาพการเป็นสมาชิกรัฐสภา เป็นต้น ซึ่งจะก่อให้เกด
ความเสียหายต่อชาติบ้านเมืองอย่างมาก




ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.)
ว่าด้วยการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ




ข้อ 1. ให้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้สอดคล้องกับหลักนิติธรรมสากล และเพื่อ
ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554
ข้อ 2.

ให้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา
291 ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้


(1) ญัติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
(ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน) หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ทั้งสองสภา
(ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยสามสิบคน) หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า
ห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย


ญัติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ
จะเสนอมิได้



(2) ญัติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมและให้สภา
พิจารณาเป็นสามวาวะ


(3) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและ
ลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่
น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา


(4) การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้องจัดให้มีการรับฟัง
ความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข
เพิ่มเติมด้วย
การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้
ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ



(5) เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้
รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป


(6) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดย
เปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่า
กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา


(7) เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้า
ทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๕๐ และมาตรา ๑๕๑ มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม
ข้อ 3. ให้มีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สภาพิจารณาดังนี้



วิธีที่หนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
ขึ้นคณะหนึ่ง จำนวนระหว่าง 30-35 คน โดยคัดเลือกจากบุคคลผู้มีความรู้ และ
มีประสบการณ์ด้านรัฐธรรมนูญ เป็นที่ยอมรับในสังคม เช่นมีผลงานการเขียน
ตำรา เขียนบทความ ให้ความเห็นทางสื่อมวลชนทุกแขนง “เป็นนักรัฐธรรมนูญ”
โดยต้องไม่เลือก จากเฉพาะบุคคลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือต้องเป็นผู้มีแนวความคิด
ทางเดียวกัน โดยให้มีองค์ประกอบจากบุคคลทุกฝ่าย ที่มีความปรารถนาจะให้
ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์ และถูกต้องตามหลักนิติธรรม สากลมากที่สุด
คณะกรรมการควรใช้เวลาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญไม่เกิน 60 วัน เพราะทุกคนมี
แนวคิดของตนเองอยู่แล้ว


เหตุผลที่ไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อจัดตั้งสมาชิกสภาร่าง-
รัฐธรรมนูญ (สสร.) โดยให้เลือกสมาชิกจากผู้เป็นตัวแทนของจังหวัด รวม 77 คน
และรัฐบาลแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 22 คน (หรือให้สมาชิกเลือกผู้รู้ อีก 22 คน)
รวมเป็น 99 คน ตามที่มีผู้เสนอแนะนั้น มีความเห็นว่า การเขียนแบบแปลนเพื่อ
สร้างบ้านอยู่อาศัย ต้องใช้สถาปนิก และวิศวกร เป็นผู้เขียนแบบและรับผิดชอบ
ซึ่งจะถูกต้องกว่าเลือกผู้มีอาชีพหลากหลายมาเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ เพราะขาดความรู้และ
ประสบการณ์ และในที่สุดจะตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกรรมการที่คณะรัฐมนตรี
ตั้งขึ้น หรือของผู้รู้ที่สมาชิกเลือกตั้ง นอกจากนั้น
การดำเนินการจะมีกระบวนการขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลามาก โดยต้องมีการขอแก้ไข
รัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการจัดตั้ง สสร. การกำหนดจำนวน สสร. โดย
กำหนดให้แต่ละจังหวัดมีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสสร. ได้หนึ่งคน ขัดกับหลักนิติธรรม
ไม่เป็นธรรมเพราะแต่ละจังหวัดมีขนาดใหญ่ – เล็ก และมีจำนวนประชาชนแตกต่าง
กันมาก เช่น กรุงเทพมหานคร กับจังหวัดระนอง มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิก สสร.
ได้หนึ่งคนเท่ากัน เป็นการขัดหลักนิติธรรมว่าด้วยความเสมอภาค นอกจากนั้นการ
เลือกตั้งจะใช้เวลานาน และต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งควรรอไว้ให้ประชาชน
มีส่วนร่วมในการลงประชามติ จะถูกต้องและเป็นธรรมกว่า



วิธีที่สอง ให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน เป็นผู้เสนอ
ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเสนอร่างรัฐธรรมนูญ
แก้ไขเพิ่มเติมมากกว่าหนึ่งคณะก็ได้
ข้อ 4. ให้คณะรัฐมนตรี หรือประชาชนเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้สภา
พิจารณาเป็นสามวาระดังกล่าวข้างต้น
ข้อ 5. การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้อง
จัดให้การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย
(ผู้ที่ต้องการมีสิทธิร่วมแสดงความคิดเห็นควรเป็น
ผู้ที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น) การพิจารณาในวาระที่สอง
ให้พิจารณาโดยเปิดเผยและโปร่งใส โดยให้มีการถ่ายทอดการประชุมทางโทรทัศน์
และวิทยุ หรือสื่ออื่นๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ และติดตามความคืบหน้าของการร่าง
รัฐธรรมนูญตลอดการประชุมในวาระที่สองนี้ ซึ่งประชาชนทั่วไปจะได้รับความรู้
จากบรรดาผู้แปรญัติ ซึ่งเป็นประชาชน ผู้มีความรู้เฉพาะด้านอย่างกว้างขวาง
ข้อ 6. เมื่อการพิจารณาในวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้ออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สาม
เป็นขั้นสุดท้าย
การออกเสียงลงประชามติ


เมื่อสภาได้พิจารณาเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระที่สามแล้ว
ควรจัดให้มีการออกเสียง ลงประชามติ โดยประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
เพื่อให้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชนอย่างแท้จริง หลังจากผ่านการลง
ประชามติ โดยประชาชนเห็นชอบแล้ว จึงนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้า
ทูกกระหม่อมถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป
(การลงประชามติเป็นขั้นตอนสำคัญแม้ว่าจะไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญก็ตาม)










ภาคผนวก



รายชื่อบุคคลที่มีความรู้และมีความสนใจในรัฐธรรมนูญเท่าที่คิดได้ และนำเสนอจะเป็นผู้ที่มีความคิดเห็นหลากหลาย และแตกต่างกัน ถ้าบุคคลเหล่านี้ยอมรับเข้าร่วมเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จะทำให้กระแสความต้านทานหรือความไม่พอใจลดน้อยลงเพราะบุคคลสำคัญที่เป็นผู้นำในการสนับสนุน หรือคัดค้านได้มานั่งประชุมพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญด้วยกันอยู่แล้ว อันจะเป็นก้าวแรกของการสามัคคีปรองดองต่อไป



รายนามคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ





1 พล.ร.อ. เกาะหลัก เจริญรุกข์

2 นายคณิน บุญสุวรรณ


3 นายคำนูน สิทธิสมาน

4 นายจาตุรนต์ ฉายแสง

5 ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก

6 ดร.ชูศักดิ์ ศิรินิล

7 มล.ณัฎฐกรณ์ เทวกุล

8 นายขรรชัย บุนปาน

9 ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

10 ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

11 นายปานเทพ วงศ์พัวพันธ์


12 ดร. ปานปรีย์ พหิทธานุกร

13 ดร. ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์

14 นายเผด็จ ภูรีปฏิภาณ

15 นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา

16 น.พ. พรหมมินทร์ เลิศสุริยะเดช

17 นายพันธ์ศักดิ์ วิญญรัตน์

18 ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

19 ดร. ยุพา อุดมศักดิ์

20 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ


21 พล.อ. เลิศรัตน์ รัตนวานิช

22 ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์

23 ดร. วิษณุ เครืองาม

24 นายสมเกียรติ อ่อนวิมล

25 ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์

26 นายสรจักร เกษมสุวรรณ

27 นายสราวุธ วัชรพล

28 นายสัก กอแสงเรือง

29 นายสุขุม เฉลยทรัพย์


30 ดร. สุขุม นวลสกุล

31 รศ. สุดสงวน สุธีสร

32 นายสุทธิชัย หยุ่น

33 นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ

34 นายเสรี สุวรรณภานนท์







      ด้าน นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ซึ่งเป็นหนึ่งในรายนามของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ คอ.นธ.เสนอขึ้นมา เมื่อได้ทราบข่าวดังกล่าว ช่วงเช้าวันนี้ (6 ม.ค.) ก็แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว @kamnoon ระบุว่า ก่อนหน้านี้ทาง คอ.นธ.ไม่เคยติดต่อ หรือบอกกล่าวตนล่วงหน้ามาก่อนเลยว่าจะเสนอชื่อตนเป็นคณะกรรมการร่างรัฐ ธรรมนูญ ซึ่งการเสนอชื่อดังกล่าวตนขอขอบคุณแต่ไม่ขอรับตำแหน่ง เพราะปฏิบัติหน้าที่สมาชิกวุฒิสภาอยู่และไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
      
       “คอ.นธ.เสนอชื่อผมเป็นกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยไม่ได้บอกกล่าว ขอขอบคุณ แต่รับไม่ได้ครับ เพราะผมทําหน้าที่ ส.ว.อยู่ และมีจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการแก้ รธน. ใครจะแก้ รธน.แบบไหนอย่างไร ก็เสนอเข้าสภาฯ มา ผมจะตัดสินใจและแสดงความเห็นในฐานะ ‘สมาชิกรัฐสภา’ เอง ไปร่วมเป็นกรรมการกับใครไม่ได้ และไม่ไปครับ” นายคำนูณระบุ
      
       ด้าน นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกกลุ่มพันธมิตรฯ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว ASTVผู้จัดการ โดยระบุว่า ตนไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อนเช่นกัน ไม่เคยมีการทาบทาม พูดคุย หรือหนังสือเชิญผ่านทางแกนนำพันธมิตรฯ หรือ ในนามส่วนตัว นอกจากนี้เอกสารดังกล่าวมีเงื่อนไขว่าถ้าผู้ที่รับเชิญตอบรับ ก็แสดงว่า ไม่มีการตอบรับมาก่อน อีกทั้งแม้แต่นามสกุลของตนเองก็ยังเขียนผิดจาก “พัวพงษ์พันธ์” เป็น “วงศ์พัวพันธ์”
      
       “เราเห็นว่าแนวทางดังกล่าวไม่ได้นำไปสู่การปรองดองที่แท้จริง สืบเนื่องจากรายชื่อคณะกรรมการส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายของรัฐบาล และคนเสื้อแดง ส่วนรายชื่อคนกลางหรือฝ่ายอื่นที่เอาเข้าไปก็เป็นเพียงไม้ประดับ สร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองเท่านั้นเอง ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มพันธมิตรฯ จึงไม่ขอมีส่วนร่วมกับแนวทางดังกล่าว” นายปานเทพกล่าวในนามกลุ่มพันธมิตรฯ










0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง