บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

10 ธันวาคม


                                                                     ดร.วิษณุ เครืองาม
         พรุ่งนี้เป็น วันรัฐธรรมนูญ ปฏิทินไทยเขียนว่า Constitution Day เป็นวันหยุดราชการประจำปี และเพราะปีนี้ตรงกับวันเสาร์ ราชการจึงหยุดชดเชยในวันจันทร์ให้อีกวัน กลายเป็นวันหยุดยาว 3 วันติดกัน         การกำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคม เป็นวันรัฐธรรมนูญ ไทยก็งง ฝรั่งก็งง คืองงว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้ถึงต้องมารำลึกถึงกัน เคยถามนักศึกษาในชั้นเรียนก็ได้คำตอบว่าอะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด ช่างมันเถอะครับ เอาว่าหยุดราชการ หยุดเรียนก็แล้วกัน ความจริงอาจงงหนักกว่านี้ถ้าผมจะบอกว่าในบางประเทศเคยมีการเฉลิมฉลองจุดพลุ จุดดอกไม้ไฟด้วยซ้ำ แต่เปล่าหรอก เขาไม่ได้ฉลองวันรัฐธรรมนูญของไทย แต่ฉลองวันสิทธิมนุษยชน เพราะเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2492 สหประชาชาติประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นครั้งแรก
        เราคงจำได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7 (ปีหน้าครบ 80 ปี) ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เพื่อวางระเบียบการปกครองแบบใหม่โดยไม่มีพิธีรีตองในการพระราชทาน        พระราชบัญญัตินี้ถ้าจะว่าไปแล้วก็คือรัฐธรรมนูญฉบับแรกนั่นเองและควรถือว่าวันที่ 27 มิถุนายนเป็นวันรัฐธรรมนูญ แต่เพราะไม่ได้เรียกชื่อตัวเองว่า รัฐธรรมนูญ” (เพราะ ยังไม่รู้จัก) ทั้งยังเป็นฉบับชั่วคราวใช้ไปพลางก่อน และยังไม่สมบูรณ์นักเนื่องจากไม่ได้ระดมความคิดในเวลาร่าง จึงมีข้อตกลงกันเองในหมู่ผู้ก่อการหรือคณะราษฎร และระหว่างคณะราษฎรกับฝ่ายอำนาจเดิมในขณะนั้นว่าจะต้องมีการยกร่าง ระเบียบการปกครองฉบับใหม่มาใช้แทนโดยเร็ว
        ผล จากการนี้คือ เมื่อมีการตั้งรัฐบาลขึ้นแล้วสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นยก ร่างฉบับใหม่ทันที อนุกรรมการส่วนใหญ่เป็นนักกฎหมายชั้นนำของประเทศโดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ประธานคณะกรรมการราษฎรหรือหัวหน้ารัฐบาลเป็นประธาน พระยามานวราชเสวี อนุกรรมการท่านหนึ่งเคยเล่าให้ผมฟังว่าที่มาของกฎหมายใหม่นี้มาจาก 5 ทาง คือหลักการเดิมของคณะราษฎร ความคิดของคณะอนุกรรมการยกร่างเอง แนวทางที่ประธานรับไปกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชดำริ การศึกษาเปรียบเทียบกับของต่างประเทศ และความเห็นเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎร        ระหว่างนั้นก็มีข้อเสนอแนะอื่นเข้ามามากมาย เช่นจากม.จ.วรรณไวทยากร วรวรรณและหลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ที่เสนอให้เรียก รัฐธรรมนูญและอีกหลายเรื่องซึ่งคณะอนุกรรมการเห็นชอบด้วยเป็นส่วนใหญ่
        เมื่อการยกร่างสำเร็จลงและสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบได้เสร็จภายในเวลาประมาณ 5 เดือน นับจากวันยึดอำนาจซึ่งนับว่าเร็วมาก รัฐบาลได้กราบบังคมทูลขอให้จัดพิธีพระราชทานเป็นทางการ พระธรรมวโรดม (อยู่ ญาโณทยมหาเถร) ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศเป็นโหรสำคัญได้คำนวณพระฤกษ์ว่าควรจัดในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 หรือวันอื่น ๆ อีก 2-3 วัน ที่เนิ่นนานไปจนถึงเดือนมกราคมก็มี รัฐบาลพิจารณาแล้วถวายความเห็นว่าควรเป็นวันที่ 10 ธันวาคมช่วงบ่าย
        วันนั้นจัดเป็นพิธีสำคัญ ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม รัชกาลที่ 7 ทรงเครื่องพระบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์เสด็จออกประทับพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ แต่ไม่ทรงพระมหาสังวาลย์ของรัชกาลที่ 1 และไม่โปรดฯ ให้ทอดพระแท่นมนังคศิลา รับสั่งว่า เมื่อรักษาอำนาจของท่านไว้ไม่ได้ก็ไม่ควรใช้ของท่าน  พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วพระราชทานเจ้าพระยาพิชัยญาติประธานสภาผู้แทนราษฎร        เสร็จ พิธีได้เสด็จออกสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคมมีการเชิญพานรัฐธรรมนูญออกให้ประชาชนที่รออยู่ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าชมท่ามกลางเสียงไชโยกึกก้อง รัฐบาลให้จัดงานเฉลิมฉลองทั่วประเทศ งานอย่างนี้ยังจัดต่อมาอีกหลายปีเรียกว่างานวันรัฐธรรมนูญ และมีการประกวดนางสาวสยาม (นางสาวไทย) ด้วยทุกปี
       ฤกษ์ของเจ้าคุณธรรมฯ แรงเอาการเพราะรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกนี้ใช้มาถึง 14 ปี และได้ย้อนกลับมาใช้อีกหนในปี 2495-2502 อีก 7 ปี (มีแก้ไขบ้าง) นับตามลำดับก็ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ของ ไทยและมีอายุยืนยาวที่สุด แต่เพราะใช้ชื่อว่ารัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกและเป็นฉบับถาวรรวมทั้งเพื่อความ ปรองดองกับทุกฝ่ายไม่ให้สะเทือนใจจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในเดือน มิถุนายน เราจึงให้วันที่ 10 ธันวาคมเป็นวันรัฐธรรมนูญ แม้นับมาถึงบัดนี้เรามีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เป็นฉบับที่ 19 ก็ตาม       จนร่ำ ๆ ว่าเริ่มมีคนเรียกร้องจะให้จัดทำฉบับที่ 20 อีกแล้ว ว่าแต่ว่าหาฤกษ์ผานาทีให้เจ๋งเหมือนฤกษ์เจ้าคุณธรรมฯ นะครับ!.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง