บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

"นิติราษฎร์" เตรียมขยับประเด็น รธน. สัปดาห์หน้า




ที่มา ประชาไท


วงเสวนาที่ มธ. หนุนข้อเสนอนิติราษฎร์ สุนัย ชี้ไม่ล้างพิษรัฐประหาร โครงสร้างประชาธิปไตยฯพังแน่ พิชิต เชื่อข้อเสนอนิติราษฎร์ไม่เพียงทำให้รัฐประหารเป็นโมฆะ แต่ยังเป็นการต่อสู้ทางความคิดขั้นรากฐานด้วยว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของใคร ส่วนสุธาชัย หนุนเอารัฐธรรมนูญสามฉบับแรกเป็นต้นร่างรัฐธรรมนูญใหม่ วรเจตน์ย้ำนิติราษฎร์ทำงานความคิด ไม่นำมวลชน

(6 ต.ค.54) ที่ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ มีการเสวนาวิพากษ์ข้อเสนอนิติราษฎร์ "การล้มล้างผลพวงของคณะรัฐประหาร" ในงานรำลึก 35 ปี 6 ตุลา



สุนัย จุลพงศธร ส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวขอบคุณคณะนิติราษฎร์ที่ประกาศข้อเสนอการล้างผลพวงรัฐประหาร โดยมองว่า นิติราษฎร์หวังดีกับบ้านเมืองและสถาบันฯ ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่เคยรู้จักกันเป็นการส่วนตัวมาก่อน

สุนัย กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีนักวิชาการอยากรื้อประกาศคณะปฏิวัติ โดยชี้ว่า ขณะที่ ส.ส. กว่าจะเข้าสภาได้ยากมาก หลายครั้งอยู่ได้ไม่ครบ 4 ปี กว่าจะออกกฎหมายได้ทีก็ลำบาก ขณะที่กลุ่มยึดอำนาจมาถึงก็ออกได้สบาย และกลายเป็นรัฏฐาธิปัตย์

ทั้งนี้ สุนัยระบุด้วยว่า สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มธ. ไม่ควรตำหนินิติราษฎร์ และสมคิดเองควรจะพิจารณาลาออก เพราะผิดจริยธรรมการก่อตั้งมหาวิทยาลัยและจริยธรรมการต่อสู้ของนักศึกษา มธ.ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา

เขากล่าวว่า หากไม่ล้างกระบวนการรัฐประหาร ระบบแห่งโครงสร้างการเมืองซึ่งคือ "ประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข" จะพัง โดยชี้ว่า โครงสร้างรัฐธรรมนูญ 2550 ดึงเอาศาลมาเกลือกกลั้วกับการเมือง เรียกว่า รัฐธรรมนูญที่ศาลติดคุกการเมือง ยกตัวอย่าง การสรรหา ส.ว. 74 คนที่ทำโดยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตัวแทนจากศาลฎีกา ตัวแทนศาลปกครอง และตัวแทนองค์กรอิสระ 4 องค์กรซึ่งก็มีที่มาจากศาลเช่นกัน นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้องค์กรอิสระเป็นองค์กรเหนือรัฐ โดยสามารถยื่นกฎหมายเข้าสภาได้เอง ไม่ต้องผ่านรัฐบาล สภาจะเรียกศาลหรือองค์กรอิสระมาให้ปากคำใดๆ ไม่ได้ ซึ่งในที่นี้ การไม่ให้ศาลมา เข้าใจได้ เพราะถือเป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตย แต่องค์กรอิสระนั้นไม่ได้มีที่มาจากประชาชนเลย

ขณะที่ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. กล่าวว่า แนวคิดล้างพิษรัฐประหาร 19 ก.ย. นั้นมีการพูดคุยมาตั้งแต่หลัง 19 ก.ย.ไม่นาน แต่คณะนิติราษฎร์ถือเป็นบุคคลคณะแรกที่สังเคราะห์ความคิดนี้ได้สำเร็จ และจะผลักดันให้เป็นจริงได้โดยประชาชน

พิชิต ระบุว่า ข้อเสนอนี้ไม่เพียงแต่ทำให้การรัฐประหารเป็นโมฆะ แต่ยังเป็นการต่อสู้ทางความคิดขั้นรากฐานว่าในประเทศไทย อำนาจอธิปไตยเป็นของใครด้วย เนื่องจากที่ผ่านมา มีแนวคิดสองแนวต่อสู้กัน หนึ่งคือ แนวคิดเชิงประเพณีว่า "อำนาจอยู่ที่ไหน รัฏฐาธิปัตย์อยู่ที่นั่น" ซึ่งจะเห็นจากนักกฎหมายเมืองไทยที่ถือเอาคำสั่งเป็นความชอบธรรม และออกมาโต้นิติราษฎร์ว่าทำเพื่อคนๆ เดียว ส่วนกระแสที่สอง ซึ่งเริ่มแข็งแรงขึ้น จนพัฒนามาเป็นประกาศของคณะนิติราษฎร์ คือความเชื่อที่ว่าประชาชนคือรัฎฐาธิปัตย์ และประชาชนคือรัฎฐาธิปัตย์อยู่ตลอดเวลาไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แนวคิดนี้เป็นปรัชญาพื้นฐานของหลักการเสรีนิยมและประชาธิปไตย ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนเป็นรัฎฐาธิปัตย์ ต้องกลับไปล้างผลพวงของรัฐประหาร ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์ ซึ่งเป็นทางสายกลางที่สุดแล้ว

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เมื่อประเทศมีปัญหาหนัก เห็นด้วยกับนิติราษฎร์ว่าต้องแก้ที่กฎหมาย โดยลบล้างดอกผลของรัฐประหารก่อน ทั้งนี้ สุธาชัยระบุว่า ข้อเสนอเรื่องแก้ไขมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญานั้นมองว่าเป็นข้อเสนอที่อยู่ในทางสายกลางและควรทำ แม้ว่าส่วนตัวไม่เห็นด้วย โดยเห็นว่าควรให้ยกเลิกเพราะมีกฎหมายหมิ่นประมาทอยู่แล้ว

ส่วนข้อเสนอเรื่องยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และร่างใหม่โดยเอารัฐธรรมนูญสามฉบับแรกเป็นตัวตั้ง สุธาชัยกล่าวว่า เป็นข้อเสนอที่ดีมาก และเป็นสายกลางที่จะใช้แก้ปัญหาบ้านเมือง ส่วนที่มีผู้คัดค้านโดยบอกว่ามีการเสนอนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณคนเดียวนั้น ยังไม่เห็นว่ามีข้อไหน ขณะที่ข้ออ้างเรื่องรัฐธรรมนูญไทยมีพัฒนาการมาไกลแล้ว ก็ยังไม่เห็นพัฒนาการเช่นกัน

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเสวนาดังกล่าว อาจารย์จากกลุ่มนิติราษฎร์ 4 คนได้แก่ วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ปิยบุตร แสงกนกกุล, สาวตรี สุขศรี และปูนเทพ ศิรินุพงศ์ เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนด้วย

โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า อีกสองประเด็นที่ต้องทำให้ชัดขึ้นอีก นอกจากเรื่องลบล้างผลพวง คือการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอให้เอารัฐธรรมนูญสามฉบับแรกเป็นแนวทางยกร่าง ที่ยังต้องขยายความรายละเอียด เพราะหากทำให้เป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์ คุยกันอย่างเปิดเผยได้ จะทำให้ความคิดเคลื่อนไปในประชาชนวงกว้าง และได้รัฐธรรมนูญที่เกิดการปรับสมดุลแห่งอำนาจ เป็นการเปลี่ยนเชิงระบบอย่างสันติ

ทั้งนี้ วรเจตน์ ขยายความว่า ที่เสนอรัฐธรรมนูญสามฉบับแรกเป็นแนวทาง เนื่องจากสามฉบับแรกเกิดหลังเปลี่ยนระบอบการปกครอง โดยฉบับที่สามถูกฆ่าในรัฐประหาร 2490 ซึ่งถือเป็นรัฐประหารครั้งแรก นี่จึงเป็นการย้อนกลับไปเชื่อมเอาอดีตกับปัจจุบันเข้าด้วยกัน ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าสามฉบับแรกไม่มีองคมนตรีนั้นถูกต้องแล้ว นอกจากนี้อีกเรื่องที่ต้องพูดกันคือ สถานะของพระมหากษัตริย์ เพราะหลังๆ มีหลายเรื่องที่เป็นเรื่องต้องห้ามเช่น การสืบสันตะติวงศ์ ซึ่งสังคมไทยไม่คุยกัน

"การทำให้ระบอบประชาธิปไตยยั่งยืน การปรับความคิดเป็นเรื่องสำคัญ ปูฐานความคิดให้คนเห็นภาพ ที่สุดจะทำให้ประเทศไปในทิศทางที่เป็นประชาธิปไตยได้" วรเจตน์กล่าวและตอบกรณีมีผู้เรียกร้องให้นิติราษฎร์นำมวลชนในการเคลื่อนไหว โดยย้ำว่า นิติราษฎร์ทำงานทางความคิด จะไม่นำมวลชนเด็ดขาด เพราะนอกจะไม่ใช่ความถนัดแล้ว จะทำให้หลักการเสียด้วย

ด้าน ปิยบุตร กล่าวว่า การทำงานทางความคิดของนิติราษฎร์คงไม่ได้จุดพลุแล้วเงียบ สัปดาห์หน้าจะเตรียมขยับอีกเล็กน้อย สำหรับประเด็นการลบล้างผลพวงรัฐประหารได้อธิบายหลายรอบแล้ว ซึ่งคนที่ไม่เข้าใจก็จะไม่เข้าใจหรือแกล้งไม่เข้าใจอยู่ แต่ประเด็นที่จะขยายความต่อไปคือประเด็นที่สี่ ซึ่งใจความสำคัญอยู่ที่การนำรัฐธรรมนูญสามฉบับแรกมาเป็นต้นแบบ และคำประกาศ ซึ่งไม่ได้อยู่ในรัฐธรรมนูญ แต่เป็นสปิริตว่ารัฐไทยจะเป็นแบบนี้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง