บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ที่ปรึกษา คอป.เตือนคิดให้หนัก นิรโทษกรรมแล้ว ปรองดองจะเกิดหรือไม่


'อารี บาสซิน' ชี้นิรโทษกรรม คำฮิต ใช้ในประเทศที่ต้องการสันติภาพ ยันประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาสถานการณ์ในอดีต ก่อนเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อนำสันติภาพ -ความยุติธรรมกลับสู่สังคม

วันที่ 5 ตุลาคม 2554 สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาระหว่างประเทศ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมโต๊ะกลม เรื่อง “การนิรโทษกรรมและการปรองดอง”
นายอารี บาสซิน (Mr.Ari Bassin) จากศูนย์ความยุติธรรมเปลี่ยนผ่านระหว่างประเทศ หรือ JCTI  ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งผู้จัดการภูมิภาคเอเชีย ของศูนย์ความยุติธรรมเปลี่ยนผ่านระหว่างประเทศ และเป็นหนึ่งในคณะทำงานร่วมกับที่ปรึกษาของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหา ความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)  กล่าวว่า ทั่วโลกมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นจำนวนมาก มีผู้คนต้องถูกฆ่าตาย ข่มขืน หรือถูกเผาบ้าน  ภายใต้ความขัดแย้ง รวมถึงการถูกปราบปรามและการกดขี่ของรัฐด้วย ซึ่งสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ ต้องทำให้การปราบปรามและการขดขี่ของรัฐมีทิศทางเปลี่ยนไป
กระบวนการที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ที่ปรึกษา คอป. กล่าวว่า มีอยู่หลายทางเลือก อาทิ เลือกที่จะลืมเหตุการณ์ที่ผ่านมา หรือใช้วิธีการตรวจสอบหาความจริง รวมถึงการเลือกที่จะชดเชยให้ผู้เสียหาย เพื่อที่จะปรับปรุงกลไกปฏิบัติการที่เลวร้ายให้ดีขึ้น ซึ่งทางเลือกทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องกับความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านทั้ง สิ้น 
“ความยุติธรรมเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้เสียหาย และญาติพี่น้อง รวมถึงสังคมด้วย ซึ่งยังส่งผลให้ความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อรัฐลดน้อยลง ถือเป็นความล้มเหลวของรัฐ ที่รัฐต้องรับผิดชอบกับการกระทำที่ทำลงไป เพื่อป้องกันมิให้เกิดซ้ำอีก”
นายอารี กล่าวอีกว่า การที่จะนำบริบทของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านมาใช้กับประเทศไทย ต้องมีการพิจารณาว่า ประเทศไทยอยู่ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านหรือไม่  ถ้าคำตอบออกมาว่า ประเทศไทยอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน ก็คงต้องหาคำตอบ ต่อไปอีกว่า อยู่ในระบบเปลี่ยนผ่านจากอะไรไปสู่อะไร โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ว่า ภายในประเทศมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางหรือไม่ มีความยุติธรรมเกิดขึ้นจริงหรือไม่  รวมทั้งต้องดูว่า ความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อรัฐถูกบั่นทอนลงไปหรือไม่ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้จะนำพาไปสู่การปฏิบัติตามกรอบแนวคิดของความยุติธรรมใน ระยะเปลี่ยนผ่าน
นอกจากนี้ นายอารี กล่าวถึงการนิรโทษกรรมว่า คำนี้กำลังเป็นคำยอดฮิต ยอดนิยม โดยเฉพาะในประเทศที่ต้องการสร้างสันติภาพ ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อยุติความขัดแย้ง ซึ่งก็มีส่วนเชื่อมโยงถึงการปรองดองว่า การนิรโทษกรรมนั้น สามารถนำไปสู่การปรองดองได้จริงหรือไม่
"แม้จะเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล แต่ก็ต้องมีการพิจารณาอย่างละเอียด เพราะมีความซับซ้อนและลึกซึ้งมาก เมื่อมีการนิรโทษกรรมแล้ว ผู้ที่ถุูกนิรโทษกรรมจะยอมปรองดองด้วยหรือไม่" ที่ปรึกษา คอป. กล่าว และว่า  การนิรโทษกรรมนั้นเป็นมาตรการทางกฎหมายที่นำไปสู่การดำเนินคดี หรือเป็นมาตรการทางกฎหมาย ต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในเรื่องของความผิดทางอาญาที่เกิดขึ้นก่อนการนิรโทษ กรรม และยังเป็นการยกเลิกภาระรับผิดทางกฎหมายก่อนที่จะนิรโทษกรรม ซึ่งเมื่อมาพิจารณากันใหม่ ในบริบทที่ 2 จะมีข้อขัดแย้งอยู่ นั่นคือ การนิรโทษกรรมไม่ได้เป็นการยกเลิกภาระรับผิดทางกฎหมายที่ไม่ได้เกิดขึ้นก่อน การนิรโทษกรรม เพราะว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นก็เหมือนเป็นการเชื้อเชิญให้คนละเมิดกฎหมาย
นายอารี  กล่าวต่อว่า การนิรโทษกรรมแบ่งออกเป็น  4 ประเภทคือ 1. การนิรโทษกรรมตนเอง ไม่ให้ได้รับโทษทางอาญา 2. การนิรโทษกรรมทั่วไป  คือการนิรโทษกรรมแบบครอบคลุม 3. นิรโทษกรรมแบบมีเงื่อนไข เป็นการกำหนดให้ผู้กระทำผิดทำตามเงื่อนไขก่อนได้รับนิรโทษกรรม  และ 4. นิรโทษกรรมพฤตินัย
“การที่จะให้มีการนิรโทษกรรมหรือไม่นั้น ต้องมีการพิจารณาว่าเป็นการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ต้องดูกฎหมายระหว่างประเทศและภายในประเทศ ตัวอย่าง ประเทศไทยมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายอย่างเข้มข้นว่า การนิรโทษกรรมอาจถูกต้องตามกฎหมาย ตามมาตรา 32 ในเรื่องการมีสิทธิด้านต่างๆ แต่เมื่อพิจารณาดูในย่อหน้าสุดท้าย เนื้อหาที่ว่า หากถูกละเมิดสิทธิ ผู้เสียหายมีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่า นั้น รวมทั้งจะกำหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ ได้ ซึ่งการนิรโทษกรรมไม่ตรงตามเนื้อหาดังกล่าว จึงอาจกล่าวได้ว่า การนิรโทษกรรมนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย”
ช่วงท้าย  นายอารี ได้ตั้งคำถามว่า หากมีการให้นิรโทษกรรมแล้วนั้นจะมีความยั่งยืนหรือไม่ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดในสังคมที่ไม่ควรมองข้ามคือ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ผู้เสียหาย รวมทั้งต้องคิดว่า หากเป็นเรานั้นจะรู้สึกอย่างไร กับการนิรโทษกรรมให้กับการกระทำร้ายแรง และจะรู้สึกอย่างไร หากผลประโยชน์ของคนในสังคมนั้นสำคัญน้อยกว่าของรัฐ หากผู้คนเหล่านั้นได้รับการนิรโทษกรรม ฉะนั้น ประเทศไทยจึงต้องกลับไปพิจารณาสถานการณ์ที่ผ่านมา และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อนำสันติภาพ และความยุติธรรมกลับสู่สังคม 
" ขณะนี้ประเทศไทยมีการจัดตั้ง คอป. ขึ้นมาเพื่อค้นหาความจริง โดยคณะกรรมการมีหน้าที่ในการค้นหาความจริงในภาพใหญ่ ซึ่งมีอุปสรรคมากมายในการทำงาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เพื่อให้การทำงานสำเร็จลุล่วง และมีประสิทธิภาพ"

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง