นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทย เปิดเผยภาพการขนถ่ายข้าวผ่านการชักรอกบริเวณคลองน้ำใสชายแดน ไทย-กัมพูชา ขึ้นมาสวมสิทธิ์ตามนโยบายการจำนำข้าวของรัฐบาล
คลิปชุดแรกเป็นภาพการขนข้าว ระบุว่า เป็นบริเวณคลองน้ำใส ชายแดนไทยเขมร โดยข้าวอยู่ในถุงปุ๋ยสีแดงและสีขาว ขนข้ามคลองโดยการใช้รอก เมื่อข้ามฝั่งมาถุงฝั่งไทย ก็ถ่ายข้าวสารใส่กระสอบข้าว
ซึ่งนายชูวิทย์ ระบุว่ามีการลักลอบขนข้าวสารอีก 20-30 จุด และจุดที่สังเกตคือข้าวกัมพูชาจะใส่กระสอบปุ๋ย แต่ชาวนาไทย จะใช้กระสอบป่าน
คลิปชุดที่ 2 เป็นการขนข้าวข้ามคลองน้ำใสเช่นกัน แต่ใช้คนขนแทน โดยยกลงจากรถ 20 ล้อที่มีภาษากัมพูชาเขียนอยู่ ซึ่งข้าวที่นำมานี้เป็นข้าวไม่มียี่ห้อ ซึ่งอาจจะมาผสมในโรงสีเพื่อสวมในโรงสี เพราะข้าวฝั่งเขมรนั้นราคา ตันละ 7,000 บาท แต่บ้านเราราคา 1.5 หมื่นบาทและด้วยความสมยอมโรงสีอาจจะนำไปแจ้งเท็จ
ขณะที่ คลิปชุดที่ 3 เป็นการขนย้ายถังแก๊สเปล่ามาจากฝั่งเขมร มาเติมที่ฝั่งไทย การกระทำอย่างนี้เกิดขึ้นได้เพราะเจ้าหน้าที่ละเลย ซึ่งคนที่ทำคือพวกนายทุน
และคลิปชุดสุดท้าย เป็นภาพรถกระบะขนแรงงานเถื่อนโดยใช้ยาบ้าที่บรรจุในกล่องแป้งเป็นค่าผ่านทาง ที่บริเวณ ถนนศรีเพ็ญ ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุม มีทหารตั้งด่านไม่ให้มีใครผ่าน โดยรถกระบะคันหนึ่งมีคนอยู่นับ 10 คน พร้อมทั้งถ่ายให้เห็นป้าย กองร้อยทหารพรานที่ 1302
ที่ตนนำคลิปทั้งหมดออกมาเผยแพร่นั้นต้องการให้มีการป้องกันมาตรการ ป้องกันการทุจริตจำนำข้าวเพราะกรณีที่ข้าวไม่มียี่ห้อ ก็ไม่ทราบว่าเป็นข้าวจากที่ไหน การทำอย่างนี้
“ชาวนาไทยน้ำตานอง ชาวนาเขมรยิ้มแย้ม วันนี้หมาไทยไปเขมร ข้าวเขมรเข้าไทย แก๊สไทยไปเขมร แรงงานเขมรเข้าไทย”
ข่าวโดย : Mthai news
กองทัพปัดคลิป'ชูวิทย์'ไม่จริง
'กองกำลังบูรพา' ลั่น พร้อมตรวจข้อมูลคลิป 'ชูวิทย์' มั่นใจ ไม่มีกำลังพลเข้าไปเกี่ยวข้อง ระบุ 'ผบ.ทบ.' กำชับเรื่องการทำงานให้โปร่งใสมาตลอด ย้ำชัด กำลังพลเข้าไปเอี่ยวจะลงโทษถึงที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ส.ส.พรรครักประเทศไทย ออกมาแฉถึงขบวนการลักลอบข้าวจากประเทศกัมพูชาข้ามแดนมายังประเทศไทย เพื่อสวมสิทธิ์ และถังเปล่าเพื่อเติมแก๊สของประเทศไทย ไปยังประเทศเขมร รวมถึงการขนแรงงานข้ามชาติผ่านในพื้นที่เขตทหารนั้น ในเบื้องต้น ทาง พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 ได้ตรวจสอบไปยังพื้นที่กองกำลังบูรพา ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัด ของกองร้อยทหารพรานที่ 1302 กรมทหารพรานที่ 13 รวมถึงการสอบถามไปยังของกรมทหารพรานที่ 13 พบว่า ไม่ได้เป็นไปตามคลิปที่ นายชูวิทย์ มาเปิดเผย
ส่วนเรื่องแรงงานข้ามชาติไปทำงาน มีข้อตกลงของทางจังหวัด โดยทางจังหวัดจะอนุโลม และแจ้งให้หน่วยทหารได้รับทราบ เนื่องจากในระบบตามกฎหมายที่ถูกต้อง จะมีการอนุโลมในการใช้แรงงานวันละเท่าไหร่ จะมีระบบที่ถูกต้องอยู่ และเมื่อถึงเวลาเลิกงานแรงงานดังกล่าว ก็จะกลับเข้าไปในพื้นที่ดั้งเดิม ซึ่งถือเป็นการผ่อนผันด้านแรงงาน ไม่ใช่เรื่องทหารจะต้องเข้าไปรับผิดชอบ เพียงแต่อำนาจหน้าที่เป็นของผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ
“เรื่องการขนข้าว และขนถังแก๊ส เข้ามาในประเทศไทย โดยใช้ค่ายทหารเป็นที่พื้นที่ในการขนถ่าย ไม่น่าจะเป็นแบบนั้น เพราะจุดที่ถ่ายนั้น จะเป็นจุดพื้นที่ใดนั้นเราไม่ทราบ แต่อย่างไรก็ตาม กองทัพภาคที่ 1 ในฐานะที่รับผิดชอบในพื้นที่ คงจะต้องมีการตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งก่อนว่าข้อมูลข้อเท็จจริงเป็น อย่างไร และภาพที่ปรากฎก็ไม่รู้ว่าเป็นการขนถ่ายเมื่อปีใด"
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาตั้งแต่ พล.ท.อุดมเดช ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ก็ได้มีการกวดขัดเรื่องนี้ โดยเฉพาะได้มีการสั่งการให้กรมทหารพรานที่ 13 ดำเนินการการลงโทษกำลังพลบางคนที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องมาก่อนหน้านี้ ดังนั้น ภาพที่ปรากฎ อาจจะเป็นภาพเก่าในอดีต แต่ปัจจุบันยืนยันได้ว่า ไม่มีลักษณะแบบนี้เกิดขึ้น ในพื้นที่กองกำลังบูรพา หรือภายในกองร้อยทหารพรานที่ 1302 เด็ดขาด แต่เรื่องทั้งหมดไม่ได้ละเลย พยายามตรวจสอบให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งก่อน
แหล่งข่าวระบุด้วยว่า กองกำลังบูรพาไม่ได้ละเลย แต่หากมีกำลังพลคนใดเข้าไปเกี่ยวข้องทางกองกำลังก็คงจะต้องดำเนินการขั้น เด็ดขาดอยู่แล้ว โดยเฉพาะการยื่นเรื่องไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เพราะยุคปัจจุบัน จะต้องไม่มีเรื่องพวกนี้เกิดขึ้น
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ได้กำชับกับทุกส่วนราชการแล้วในเรื่องความโปร่งใส และตรวจสอบได้ อะไรที่ไม่ดีก็จะไม่เข้าข้าง มันหมดสมัยที่จะมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น มันเสียชื่อ แต่ทั้งหมดก็จะต้องตรวจสอบภาพรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
คมชัดลึก
“เรื่องการขนข้าว และขนถังแก๊ส เข้ามาในประเทศไทย โดยใช้ค่ายทหารเป็นที่พื้นที่ในการขนถ่าย ไม่น่าจะเป็นแบบนั้น เพราะจุดที่ถ่ายนั้น จะเป็นจุดพื้นที่ใดนั้นเราไม่ทราบ แต่อย่างไรก็ตาม กองทัพภาคที่ 1 ในฐานะที่รับผิดชอบในพื้นที่ คงจะต้องมีการตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งก่อนว่าข้อมูลข้อเท็จจริงเป็น อย่างไร และภาพที่ปรากฎก็ไม่รู้ว่าเป็นการขนถ่ายเมื่อปีใด"
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาตั้งแต่ พล.ท.อุดมเดช ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ก็ได้มีการกวดขัดเรื่องนี้ โดยเฉพาะได้มีการสั่งการให้กรมทหารพรานที่ 13 ดำเนินการการลงโทษกำลังพลบางคนที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องมาก่อนหน้านี้ ดังนั้น ภาพที่ปรากฎ อาจจะเป็นภาพเก่าในอดีต แต่ปัจจุบันยืนยันได้ว่า ไม่มีลักษณะแบบนี้เกิดขึ้น ในพื้นที่กองกำลังบูรพา หรือภายในกองร้อยทหารพรานที่ 1302 เด็ดขาด แต่เรื่องทั้งหมดไม่ได้ละเลย พยายามตรวจสอบให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งก่อน
แหล่งข่าวระบุด้วยว่า กองกำลังบูรพาไม่ได้ละเลย แต่หากมีกำลังพลคนใดเข้าไปเกี่ยวข้องทางกองกำลังก็คงจะต้องดำเนินการขั้น เด็ดขาดอยู่แล้ว โดยเฉพาะการยื่นเรื่องไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เพราะยุคปัจจุบัน จะต้องไม่มีเรื่องพวกนี้เกิดขึ้น
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ได้กำชับกับทุกส่วนราชการแล้วในเรื่องความโปร่งใส และตรวจสอบได้ อะไรที่ไม่ดีก็จะไม่เข้าข้าง มันหมดสมัยที่จะมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น มันเสียชื่อ แต่ทั้งหมดก็จะต้องตรวจสอบภาพรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
คมชัดลึก
กรุงเทพโพลล์ สำรวจนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำ 82.1% เชื่อจำนำทุจริตชัวร์ โรงสีได้ปย. ผู้บริโภคเดือดร้อน
เขียนโดย staff2 ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย
นักเศรษฐศาสตร์ 82.1% เชื่อโครงการรับจำนำข้าวเปลือกจะมีการคอร์รัปชั่นอย่างแน่นอน
86.6% ระบุโรงสี/ไซโล คือ กลุ่มได้รับผลประโยชน์มากที่สุด
74.6% เชื่อผู้บริโภค คือ กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์มากที่สุด
59.7% พร้อมยืนยัน โครงการประกันราคา ดีกว่าโครงการรับจำนำ
ศูนย์ วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิ เคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ 31 แห่ง จำนวน 67 คน เรื่อง “อนาคตโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี : ใครกำไร ใครขาดทุน?” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 26 ก.ย. – 3 ต.ค. ที่ผ่านมา พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 50.7 เชื่อว่าราคารับจำนำข้าวเปลือกที่ชาวนาจะได้จะต่ำกว่าราคาที่รัฐบาลประกาศไว้ ขณะที่ร้อยละ 38.8 เชื่อว่าราคารับจำนำที่ชาวนาจะได้จะเท่ากับราคาที่รัฐบาลประกาศไว้ เมื่อสอบถามความเห็นที่มีต่อราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวม ในปี 2555 จะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขายหรือไม่ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 56.7 เชื่อว่า มีโอกาสน้อย ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย ในขณะที่ร้อยละ 19.4 เชื่อว่า ไม่มีโอกาสเลย ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย มีเพียงร้อยละ 17.9 ที่เชื่อว่า มีโอกาสมาก ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย
ส่วนปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก นักเศรษฐศาสตร์มากถึงร้อยละ 82.1 เชื่อว่า จะมีการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างแน่นอน มีเพียงร้อยละ 4.5 เท่านั้นที่เชื่อว่าจะไม่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น
สำหรับกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด 3 ลำดับแรก ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก คือ โรงสี/ไซโล (ร้อยละ 86.6) นักการเมือง (ร้อยละ 61.2) และ ผู้ส่งออก (ร้อยละ 43.3) ส่วนกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์มากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ผู้บริโภค (ร้อยละ 74.6) ชาวนา (ร้อยละ 41.8) รัฐบาล (ร้อยละ 37.3)
ด้านความคิดเห็นที่จะเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในการแก้ปัญหาราคาข้าวด้วยวิธีใดจึงจะดีและมีความเหมาะสมที่สุด นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.7 เห็นว่า ควรแก้ปัญหาโดยไม่เข้าไปแทรกแซงกลไกราคา แต่ควรใช้การประกันราคาในระดับที่เหมาะสมกับต้นทุน ดังที่ได้ดำเนินมาในโครงการประกันรายได้เกษตรกร ของพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่มีเพียงร้อยละ 17.9 เท่านั้นที่เห็นว่า ควรแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการบริหารจัดการอุปทาน (Supply side) ดังที่กำลังดำเนินการอยู่ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี
นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังได้เสนอแนะแนวทางอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาราคาข้าว/โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี คือ
(1) การแก้ปัญหาราคาข้าวต้องมีการบริหารจัดการที่รัดกุมอย่าให้เกิดการทุจริตได้ โดยการรวบรวมสาเหตุที่โครงการรับจำนำข้าวในอดีตขาดทุน แล้วกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ เช่น ปัญหาการสวมสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ หรือ โรงสีนำข้าวเปลือกจากชาวนาหมุนเวียนเข้าร่วมโครงการ เป็นต้น
(2) ควรใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดต้นทุนการปลูกข้าว มากกว่าการแทรกแซงราคา พัฒนาผลผลิตต่อไร่ พัฒนาคุณภาพข้าว เป็นต้น
1. ความคิดเห็นที่มีต่อ ราคารับจำนำข้าวเปลือกที่ชาวนาได้รับจริงว่าจะเป็นไปตามที่รัฐบาลประกาศไว้หรือไม่ (พิจารณาเฉพาะปีการผลิต 2554/2555 )
ร้อยละ 38.8 เชื่อว่า ราคารับจำนำที่ชาวนาจะได้ จะเท่ากับราคาที่รัฐบาลประกาศไว้
ร้อยละ 50.7 เชื่อว่า ราคารับจำนำที่ชาวนาจะได้ จะต่ำกว่าราคาที่ประกาศไว้
ร้อยละ 10.5 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
2. ความคิดเห็นที่มีต่อ โอกาสที่ราคาข้าวสาร(milled rice) ในตลาดโลกโดยรวม ในปี 2555 จะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย (ราคารับจำนำ + ต้นทุนในการสี)
ร้อยละ 17.9 เชื่อว่า มีโอกาสมาก ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย
ร้อยละ 56.7 เชื่อว่า มีโอกาสน้อย ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย
ร้อยละ 19.4 เชื่อว่า ไม่มีโอกาสเลย ที่ราคาข้าวสารในตลาดโลกโดยรวมจะสูงกว่าราคาที่รัฐบาลจะขาย
ร้อยละ 6.0 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
3. ความคิดเห็นที่มีต่อ ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
ร้อยละ 82.1 เชื่อว่า จะมีการทุจริตคอร์รัปชั่น อย่างแน่นอน
ร้อยละ 4.5 เชื่อว่า จะไม่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น อย่างแน่นอน
ร้อยละ 13.4 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
4. ความคิดเห็นต่อกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด 3 ลำดับแรก ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ร้อยละ 86.6 โรงสี/ไซโล
ร้อยละ 61.2 นักการเมือง
ร้อยละ 43.3 ผู้ส่งออก
ร้อยละ 34.3 ชาวนา
ร้อยละ 11.9 รัฐบาล
ร้อยละ 6.0 พ่อค้า/แม่ค้า
ร้อยละ 3.0 ดิสเคาท์สโตร์
ร้อยละ 1.5 ผู้บริโภค
ร้อยละ 6.0 อื่นๆ คือ ชาวนารายใหญ่ ธกส.
ร้อยละ 7.5 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
5. ความคิดเห็นต่อกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์มากที่สุด 3 ลำดับแรก ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ร้อยละ 74.6 ผู้บริโภค
ร้อยละ 41.8 ชาวนา
ร้อยละ 37.3 รัฐบาล
ร้อยละ 32.8 ผู้ส่งออก
ร้อยละ 13.4 พ่อค้า/แม่ค้า
ร้อยละ 3.0 โรงสี/ไซโล
ร้อยละ 3.0 นักการเมือง
ร้อยละ 3.0 ดิสเคาท์สโตร์
ร้อยละ 16.4 อื่นๆ คือ ชาวนารายย่อย ผู้ส่งออกรายย่อย โรงสีที่ไม่มีเส้นสายทางการเมือง ประชาชนผู้เสียภาษี และประเทศชาติโดยรวม
ร้อยละ 7.5 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
6. ความคิดเห็น เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในการแก้ปัญหาราคาข้าวด้วยวิธีใดจึงจะดีและมีความเหมาะสมที่สุด
ร้อยละ 17.9 เห็นว่า ควรแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการบริหารจัดการอุปทาน (Supply side) ดังที่กำลังดำเนินการอยู่ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี
ร้อยละ 59.7 เห็นว่า ควรแก้ปัญหาโดยไม่เข้าไปแทรกแซงกลไกราคา แต่ จะใช้การประกันราคาในระดับที่เหมาะสมกับต้นทุน ดังที่ได้ดำเนินมาในโครงการประกันรายได้เกษตรกร ของพรรคประชาธิปัตย์ โดยให้เหตุผลเพิ่มเติม คือ
(1) ด้วยภาระต้นทุนของรัฐที่ใกล้เคียงกัน แต่การประกันราคาจะทำให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์โดยตรง และครบถ้วน ต่างจากการรับจำนำข้าวที่ผู้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดคือโรงสี
(2) ต้องกำหนดราคาประกันตามต้นทุนของเกษตรกรเพื่อช่วยให้เกษตรกรอยู่ได้ อีกทั้งต้องส่งเสริมการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) ควรปรับปรุงระเบียบบางส่วนเพื่อให้ชาวนาที่ไม่มีที่นาของตัวเอง แต่เช่าที่นาของผู้อื่น ได้รับประโยชน์ด้วย
ร้อยละ 14.9 เสนอ วิธีการอื่นๆ คือ
(1) บริหารจัดการทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย รวมถึงการกำหนด zoning พื้นที่ปลูกข้าว เพื่อจำกัดปริมาณการผลิตข้าวในแต่ละฤดู
(2) บริหารจัดการต้นทุนการผลิต สร้างระบบชลประทาน พัฒนาคุณภาพข้าว สร้าง economy of scale
(3) บริหารจัดการด้านการตลาด การส่งออก เพื่อยกระดับราคาข้าวส่งออก
(4) ควรเป็นวิธีที่คำนึงถึงปัญหาน้ำท่วม ในกรณีที่ไม่มีข้าวขายควรจะมีเงินชดเชยให้
ร้อยละ 7.5 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
7. ข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาราคาข้าว/โครงการรับจำนำข้าวนาปี
(1) การแก้ปัญหาราคาข้าวต้องมีการบริหารจัดการที่รัดกุมอย่าให้เกิดการทุจริตได้ โดยการรวบรวมสาเหตุที่โครงการรับจำนำข้าวในอดีตขาดทุน แล้วกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ เช่น ปัญหาการสวมสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ หรือ โรงสีนำข้าวเปลือกจากชาวนาหมุนเวียนเข้าร่วมโครงการ เป็นต้น
(2) ควรใช้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดต้นทุนการปลูกข้าวมากกว่าการแทรกแซงราคา พัฒนาผลผลิตต่อไร่ พัฒนาคุณภาพข้าว เป็นต้น
(3) เลือกจังหวะเวลาในการแก้ปัญหา เพราะทั้งโครงการประกันรายได้ และโครงการรับจำนำข้าว ก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันไป รวมถึงควรดูอัตราแลกเปลี่ยนประกอบ เพื่อไม่ให้ผู้ส่งออกและรัฐบาลเสียผลประโยชน์
(4) ควรมีการจดทะเบียนผู้ปลูกข้าวเหมือนผู้ปลูกอ้อย ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมปริมาณผลผลิตได้ รวมถึงควรหาวิธีในการเป็นผู้กำหนดราคาข้าวในตลาดโลก
(5) ต้องยอมรับว่าแนวทางประกันราคาเป็นวิธีที่ดีที่สุดในขณะนี้ ไม่ควรยึดว่าเป็นของต่างพรรคการเมือง(มติชนออนไลน์ 5 ตุลาคม 2554)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น