โดย วิทยา วชิระอังกูร
เหตุบ้านการเมืองที่คนไทยต้องจับตา
และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด นับจากนี้ไป เกิดจากการออกมาจุดกระแสของ ส.ส.แกนนำคนเสื้อแดง จตุพร พรหมพันธ์ ที่ออกมาพูดซ้ำๆว่า “ประมาณเดือนธันวาคมเป็นต้นไป กลุ่มบุคคล
ที่ต้องการล้มล้างรัฐบาล จะเริ่มขยับตัว...” ซึ่งสอดคล้องกับ การออกมาร้องเตือนของนายอรรถพร พลบุตร
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ให้ระวังวิกฤติการณ์การเมืองรอบใหม่
กำลังจะเกิดขึ้นภายใน 6 เดือนข้างหน้า โดยมีสาเหตุมาจากรัฐบาลเพื่อไทยใช้อำนาจอย่างเกินขอบเขตเพื่อประโยชน์ของ
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จนเกินกว่าสังคมจะรับได้
ดูตามพฤติกรรมต่างๆ
ของรัฐบาลนี้ ก็ดูเหมือนจะเร่งร้อน ทำในสิ่งที่จะเอื้อประโยชน์ให้ ทักษิณ ชินวัตร
หลุดพ้นมลทินความผิดทั้งปวง เพื่อกลับประเทศไทยได้ในเร็ววันจริงๆ
งานจำเป็นเร่งด่วนเฉพาะหน้า
ที่ต้องเยียวยาช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ภัยพิบัติน้ำท่วม ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง
ภาคใต้ ภาคอีสาน เกือบทั่วประเทศที่เป็นวิกฤติรุนแรง
ประชาชนผู้ประสบภัยเดือดร้อนแสนสาหัส กลับกลายเป็นงานรอง
ไม่เอาจริงเอาจัง เหมือนเรื่อง ฏีกาแดงขอพระราชทานอภัยโทษ ที่กระทรวงยุติธรรมถือเป็นงานใหญ่
ทั้งการโยกย้ายอธิบดีกรมราชท้ณฑ์ มารองรับหน้าที่ ทั้งการตั้งคณะทำงานตรวจพิจารณาฏีกา ที่ล้วนแล้วแต่ตั้งบุคคลที่เป็นเครือข่ายใกล้ชิดที่พร้อมจะดำเนินการทุกอย่างให้เป็นคุณแก่
น.ช.ทักษิณ ชินวัตร อย่างไม่แยแสความถูกต้องชอบธรรม
แต่ก็อีกนั่นแหละ ว่ากันเฉพาะเรื่องฏีกาคนเสื้อแดง
ก็ต้องโทษรัฐบาลดีแต่พูดอีกตามเคย เพราะเป็นหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ควรจะใช้อำนาจระงับยับยั้งยุติฏีกาที่ไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์และหลักกฏหมายที่ว่าด้วยการขอพระราชทานอภัยโทษ
ตามระเบียบแบแผนที่ถือปฏิบัติกันมาช้านาน รัฐบาลดีแต่พูดกลับปล่อยให้กรมราชทัณฑ์ตรวจรายชื่อผู้ยื่นฎีกายาวนานเกือบสองปี
จนหมดวาระรัฐบาล เรื่องยังค้างอยู่ที่กระทรวงยุติธรรม และมาเข้าทางแม้ว
เหมือนเรื่องอื่นอีกหลายเรื่อง ที่ดีแต่พูดแต่ไม่ทำ
นอกจากนั้น
ที่นับเป็นเรื่องใหญ่เรื่องสำคัญ ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สร้างคุณูปการให้แก่
น.ช. ทักษิณ ชินวัตร ก็คือ การตราพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 ที่ดันไปแก้ไขหลักการสำคัญ ในมาตรา 6(2) ง จากเดิมที่มีการตราไว้ก่อนหน้านั้น 4 ฉบับ
(พ.ศ. 2542,2547,2549 และ 2550) ซึ่งมีเนื้อหาตรงกันว่า นักโทษที่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการพระราชทานอภัยโทษ
คือ
“เป็นคนมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรหรือทะเบียนรายตัวของเรือนจำในกรณีไม่มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้าน
และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่าห้าปี
หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ตามกำหนดโทษ
โดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ฯ แก้ไข
เป็น
“เป็นคนมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรหรือทะเบียนรายตัวของเรือนจำในกรณีไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องเหลือโทษจำคุกไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ หรือเป็นคนมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีขึ้นไป”
พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2553 ฉบับที่ตราในยุคคุณอภิสทธิ์ฯ
จึงเข้าทางแม้วอย่างเต็มประตู เพราะ
น.ช.ทักษิณ ชินวัตร อายุ 62 ปี และเหลือโทษจำคุก 2 ปี
จึงเข้าข่ายอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับอภัยโทษ โดยเพียงแต่ยอมมารับโทษติดคุกไม่กี่วัน ก่อน
ที่พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ 2554 จะมีผลบังคับใช้
หลายวันก่อน โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอาจารย์ปานเทพ
พัวพงศ์พันธุ์ จึงออกมาดักคออย่างรู้ทันว่า เป้าหมายที่แท้จริงของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ฯ ที่จะช่วยพี่ชายได้แน่ๆ
คือ การตราพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2554 โดยเพียงแต่ลอกตาม ฉบับ พ.ศ.
2553 ของรัฐบาลประชาธิปัตย์ เท่านั้นเอง ส่วนเรื่องฎีกาแดงหรือการออกข่าวนิรโทษกรรมอื่นๆ
เป็นแค่เป้าลวงให้ผู้คนหลงเป้าหลงทาง
ร.ต.อ.เฉลิม
อยู่บำรุง ก็ออกมาใช้ลวดลายด้วยการแจกสำเนาพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ พ.ศ. 2550
เป็นการเบี่ยงเบนหลอกนักข่าวว่ากรณีอภัยโทษทักษิณ ไม่เข้าตามหลักเกณฑ์
เพื่อให้นักข่าวหลงทาง รวมทั้งการพูดหลอกล่อ
ให้มุ่งประเด็นไปที่ฏีกาขอพระราชทานอภัยโทษว่า
1.ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามผู้หลบหนีตามคำพิพากษาศาลยื่นถวายฎีกา 2.ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องถูกจำคุกจริงๆนานเท่าใดจึงจะถวายฎีกาได้ 3.การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจเฉพาะพระองค์ ไม่มีกฎหมายบัญญัติกรอบอำนาจพระมหากษัตริย์ว่าจะอภัยโทษในกรณีใดบ้าง คดีประเภทใดอภัยโทษได้ คดีประเภทใดอภัยโทษไม่ได้ หรือการอภัยโทษจะต้องมีเงื่อนไขใดบ้าง ต้องจำคุกมาแล้วนานเท่าใด 4.เมื่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอภัยโทษมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การแปลกฎหมายว่า “ผู้หลบหนีจะต้องมามอบตัวและรับโทษจำคุกเสียก่อน จึงขออภัยโทษได้” นั้น เป็นการแปลกฎหมายตามความคิดเห็นส่วนตัว หรือเป็นการเข้าใจเอาเอง ทั้งๆที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้
1.ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามผู้หลบหนีตามคำพิพากษาศาลยื่นถวายฎีกา 2.ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องถูกจำคุกจริงๆนานเท่าใดจึงจะถวายฎีกาได้ 3.การพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจเฉพาะพระองค์ ไม่มีกฎหมายบัญญัติกรอบอำนาจพระมหากษัตริย์ว่าจะอภัยโทษในกรณีใดบ้าง คดีประเภทใดอภัยโทษได้ คดีประเภทใดอภัยโทษไม่ได้ หรือการอภัยโทษจะต้องมีเงื่อนไขใดบ้าง ต้องจำคุกมาแล้วนานเท่าใด 4.เมื่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอภัยโทษมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การแปลกฎหมายว่า “ผู้หลบหนีจะต้องมามอบตัวและรับโทษจำคุกเสียก่อน จึงขออภัยโทษได้” นั้น เป็นการแปลกฎหมายตามความคิดเห็นส่วนตัว หรือเป็นการเข้าใจเอาเอง ทั้งๆที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้
แท้ที่จริง ทั้งสิ้นทั้งปวง
คงเพราะเห็นช่องทาง ที่จะกลับมารับโทษไม่กี่วัน แล้วได้รับพระราชทานอภัยโทษ ตามเงื่อนไขพระราชกฤษฎีกาที่กำลังเตรียมยกร่าง
เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2554 ทำให้ทักษิณ
เคยเผลอกล่าวกับคนเสื้อแดงอย่างมั่นอกมั่นใจว่าจะกลับมางานแต่งงานลูกสาว
ในเดือนธันวาคม ปีนี้แน่นอน
และทั้งสิ้นทั้งปวงนี่เอง ที่อาจจะก่อให้เกิดวิกฤติการณ์การเมืองรอบใหม่
อย่างที่รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์แถลง หรือเกิดการขยับตัวของกลุ่มบุคคลที่ต้องการล้มล้างรัฐบาล อย่างที่ จตุพร
พรหมพันธุ์ ออกมาคาดการณ์ล่วงหน้า
อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
ในบ้านเมืองอันพิลึกกึกกือนี้ ประเทศไทยโชคร้ายทีเคยมีนายกรัฐมนตรี ชื่อทักษิณ
ชินวัตร และประเทศไทยก็โชคไม่ดี
ที่เคยมีนายกรัฐมนตรีชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ตอนนี้มีนายกรัฐมนตรีหญิงชื่อยิ่งลักษณ์
ชินวัตร ก็ติดตามตอนต่อไปว่า ประเทศไทยจะโชคร้ายหรือโชคไม่ดี (ฮา...)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น