“โครงการ ไทยแลนด์ พลาซ่า จะช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่นได้ขยายโอกาสในต่างประเทศมากขึ้น แต่ต้องมุ่งเป้าไปที่การจัดแสดงสินค้าในประเทศสมาชิกอาเซียนให้มากขึ้นกว่าเดิม” สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกล่าว
โครงการนี้เกิดขึ้นในช่วงสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาฝั่งตะวันตกของประเทศ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่ดีนัก เนื่องจากศูนย์การค้าแรกที่ตั้งในสหรัฐอเมริกามีต้นทุนในการดูแลที่แพงเกินไป
ไทยแลนด์ พลาซ่า ใช้งบประมาณโดยรวมอยู่ที่ 1 แสนล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพที่ช่วยสร้างช่องทางการตลาดใหม่ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยได้ และทำให้ตลาดโลกเข้าถึงประเทศสมาชิกอาเซียนได้มากขึ้น
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม “หุ้นส่วนของ SMEs ไทย จะสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านเอาท์เล็ทจากไทยแลนด์ พลาซ่า ในแต่ละประเทศได้มากขึ้น” ผู้แทนจำหน่ายทั้งหลายอาจตั้งคำถามต่อรัฐบาลใหม่ถึงเงื่อนไขในการลงทุนมากขึ้น สำหรับกองทุนในสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Osmep) มีจำนวน 1.3 พันล้านบาท ที่สนับสนุน SMEs ไทยอยู่ หาก SMEs ไทยต้องการการร่วมทุนกับบริษัทขนาดใหญ่ อาจต้องปรับให้ระยะเวลาในการชำระเงินดีขึ้นและช่วยลดต้นทุนบ้าง
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร กำลังสำคัญในการผลักดัน
ปัจจุบัน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ได้เพียง 30% และยังถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าบริษัทขนาดใหญ่
โดยปกติแล้ว สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะใช้ทุนของตัวเองเพื่อลงทุนโดยตรงใน SMEs อย่างไรก็ตาม ทุนควรจะขยายครอบคลุมไปยังวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ต้องการลงทุนกับบริษัทขนาดใหญ่ในลักษณะที่ไม่ใช่บริษัทขนาดเล็กเข้าไปควบรวมกับบริษัทขนาดใหญ่
ตัวอย่าง Thailand Plaza - ขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย
ทางสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีเป้าหมายภายใต้แผน SME ฉบับที่ 3 ระหว่างปี 2012-16 เพื่อสนับสนุนให้เกิด SMEs เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 250,000 แห่ง และสามารถสร้างเครือข่ายระหว่างกันได้ถึง 300 แห่ง
ดร.ยุทธศักดิ์ฯ “ควรมีการแก้ไขกฎหมายเพื่ออนุญาตให้ SMEs ได้กู้ยืม เพื่อทำให้ลิขสิทธิ์ตราสินค้า เข้มแข็งมากขึ้น ทั้งในเรื่องสินค้าคงคลัง หลักทรัพย์ประกัน หรือสัญญาค้ำประกันโดยบุคคล” ความเข้มแข็งของ SMEs อาจจะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทยได้
โดยรวมแล้วทั้งประเทศมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 2.9 ล้านราย มีการจ้างงานราว 10.5 ล้านคน หรือ 77.8% ของแรงงานทั้งหมด และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ถึง 3.75 ล้านล้านบาท
คุณดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าไทยกล่าว “หอการค้าและสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาจจะจัดงานสัมมนาในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและ SMEs ของไทยเพื่อเตรียมความพร้อมในการเจาะตลาดภูมิภาคในระดับที่ใหญ่มากขึ้น”
ที่มาของ ไทยแลนด์ พลาซ่า
เดิมโครงการไทยแลนด์ พลาซ่า นั้น คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้จัดตั้งแห่งแรกที่ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร (ปี 2547) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เพื่อสร้างภาพลักษณ์สินค้าไทยและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าให้ขยายสู่ตลาดระดับบนมากขึ้น โดยเริ่มจากสหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นผู้เช่าอาคาร เลขที่ 529 Fifth Avenue นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อจัดตั้งเป็น Thailand Plaza (ตัวย่อสามารถใช้ได้ทั้ง THP และ TPZ)
ต่อมารัฐบาลมีมติให้กระทรวงพาณิชย์เปลี่ยนแปลงสถานที่จัดตั้ง TPZ เนื่องจากไม่ยินยอมตกแต่งอาคารตามที่กระทรวงพาณิชย์ต้องการและไม่สามารถหาข้อยุติได้จึงต้องเปลี่ยนที่ตั้ง เป็นอาคารเลขที่ 505 Fifth Avenue ทำให้มีค่าเช่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 51
โดยจัดสรรพื้นที่ออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นที่ตั้งของสำนักงานด้านเศรษฐกิจแบบบูรณาการของไทย ประกอบด้วยหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สำนักงานส่งเสริมการลงทุน สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และบริษัทการบินไทย จำกัด เป็นต้น พื้นที่รวมประมาณ 6,000 ตารางฟุต และพื้นที่ส่วนที่เหลือ 22,840 ตารางฟุต เป็นที่ตั้งของ Thailand Market Place (TMP) Modules ไม่น้อยกว่า 3 Modules และบริษัทเอกชนอื่นๆ ของไทย โดยหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน จะเป็นผู้เช่าพื้นที่จากกระทรวงพาณิชย์ โดยชำระค่าเช่า ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามสัดส่วนของพื้นที่ โดยให้ดำเนินการตามข้อสังเกตของหน่วยงานนั้นๆ
มติชนฉบับวันที่ 6 ธันวาคม 2548 ระบุว่า ค่าใช้จ่ายเมื่อคิดจากระยะเวลาเช่า 10 ปี เป็นค่าเช่ารวม 1,230,992,000 บาท ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง 136,214,731 บาท และค่าภาษีต่างๆ 73,934,224 บาท รวมเป็นงบประมาณเบื้องต้น 1,371,140,955 บาท
คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า รัฐบาลในยุคของคุณยิ่งลักษณ์ฯ จะให้ความสำคัญกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพียงใด ไทยจะลุยตลาดโลกด้วยการผลักดันสินค้าอาเซียนได้แค่ไหน SMEs จะสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยและช่วยขับเคลื่อนระดับเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศภาคีอาเซียนได้หรือไม่ นโยบายที่พี่ชายนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศที่เคยริเริ่มไว้ตั้งแต่ปี 2547 จะถูกนำมาสานต่อได้อย่างไร จะต้องใช้งบประมาณกับการพัฒนาโครงข่าย SMEs และขยายตลาดให้อาเซียนอีกสักเท่าไหร่ SIU จะติดตามความเคลื่อนไหวและนำมาเสนอต่อไป
Bangkok Post, มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย , สำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
►
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)
-
▼
2011
(1241)
-
▼
สิงหาคม
(263)
-
▼
11 ส.ค.
(9)
- จุดเปลี่ยนสำคัญที่พ.ต.ท.ทักษิณผิดข้อตกลงเรื่องรมต....
- ผบ.ตร.หน้าเครียดหลังเข้าพบนายกรัฐมนตรี
- สุดยอดขรก.ไม่มีเหนียม อธิบดีสรรพากรออกโรง! ไม่เก็บ...
- "กรณ์" แจงผ่านเฟซบุ๊ค สรรพากรเว้นเก็บภาษี "โอ๊ค-เอม"
- ไทยแลนด์พลาซ่า"" จะหยุดหรือจะไปต่อ
- ค่าแรง300บาทในมุมมองCEOโตโยต้าไทย
- "รมต.ม้ามืด" จากเมืองลับแล "เจ๊แดง"จัดให้?
- เผยรายชื่อ ครม.ยิ่งลักษณ์ พร้อมประวัติ ครม ปู 1
- "ดร.ณรงค์" ชี้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท สามารถทำได...
-
▼
11 ส.ค.
(9)
-
▼
สิงหาคม
(263)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น