บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ กรรมการกฤษฎีกาและที่ปรึกษากฎหมายอาวุโสมธ.เตือนอย่าบิดเบือน “โหวตโน”

ASTVผู้จัดการ - ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ กรรมการกฤษฎีกาและที่ปรึกษากฎหมายอาวุโส มธ.เตือนอย่าบิดเบือน “โหวตโน” เป็นบัตรเสีย สะกิด กกต.ตีความมั่วระวังชะตากรรมเหมือนยุค 3 หนา ชี้ มาตรา 89 อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 88 ไม่ต้องส่ง ศาล รธน.ตีความ เพราะใช้อยู่แล้วในหลายมาตรา ยันโหวตโนชนะ 26 เขต เปิดสภาไม่ได้ ประชาชนไม่เดือดร้อน นักการเมืองต่างหากที่เดือดร้อน
      
       วานนี้ (30 มิ.ย.) เว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา ได้เผยแพร่บทความเรื่องความเป็นมาของคะแนนโหวตโน โดย ศาสตราจารย์ นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ กรรมการกฤษฎีกาและที่ปรึกษากฎหมายอาวุโส ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
      
       ศ.นพ.วิฑูรย์ ระบุว่า การกาช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน (หรือ โหวตโน) บนบัตรเลือกตั้ง ไม่ใช่บัตรเสียอย่างที่หลายๆ คนพยายามกล่าวบิดเบือน เพราะได้รับการบัญญัติไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ พ.ศ.2541
      
       “ในบัตรเลือกตั้งจึงมีช่องให้ผู้เลือกตั้งทำเครื่องหมาย (กากบาท) ในช่องผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน (มาตรา 56 ของกฎหมายที่กล่าวมาแล้ว) และในมาตรา 70 ในกฎหมายฉบับนั้น บัญญัติให้มีการนับคะแนนสำหรับเลือกตั้งชนิดนี้ด้วย และต้องประกาศจำนวนบัตรดังกล่าวด้วย ไม่ได้ถือว่าเป็นบัตรเสียอย่างที่ใครๆ พยายามออกมาบิดเบือน” หนึ่งในคณะกรรมการกฤษฎีการะบุ
      
       ต่อมา ศ.นพ.วิฑูรย์ ยังแสดงความผิดหวังกับการที่ เลขาธิการ กกต.ออกมาตีความเรื่องมาตรา 88 และ มาตรา 89 ว่าคะแนนในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโนไม่มีผลทางกฎหมาย เพราะหากพิจารณาจากเนื้อหาของมาตรา 88 และ 89 แล้ว ตนไม่คิดว่าจะมีนักกฎหมายใดที่มีความเห็นเหมือน เลขาธิการ กกต.และไม่จำเป็นต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ เนื่องจากสำนวนที่ใช้กับกฎหมายดังกล่าวนั้น มีบรรจุอยู่แล้วในกฎหมายหลายฉบับ
      
       “ผมไม่คิดว่าจะมีนักกฎหมายคนใดมีความเห็นเหมือนเลขาธิการ กกต. เพราะนักกฎหมายที่ใช้กฎหมายอยู่เป็นประจำทุกคน เข้าใจเหมือนกันทุกคนครับ ไม่ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความให้เสียเวลา เพราะสำนวนแบบนี้มีใช้ในกฎหมายหลายฉบับ และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ใช้อยู่หลายมาตรา ตัวอย่างเช่นมาตรา 281 …” ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระบุ และว่า “ผมออกจะเป็นห่วง กกต.ครับ ถ้าเลขาธิการ กกต.ยังแปลกฎหมายตามใจชอบอยู่อย่างนี้ อาจมีผลทำให้ กกต.เข้ารกเข้าพงไปอีกองค์กรหนึ่ง อยากจะเตือน กกต.ชุดนี้ให้ดูชะตากรรมของ “กกต.ชุด 3 หนา” เอาไว้บ้าง”
      
       ในตอนท้ายของบทความ ศ.นพ.วิฑูรย์ กล่าวยืนยันว่า จำนวนเสียงของผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนนั้นหากมากจนสามารถยับยั้งไม่ให้ ส.ส.เขตได้รับการประกาศให้เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเกินกว่าร้อยละ 5 ของ ส.ส.ทั้งหมด หรืออย่างน้อย 26 เขต ก็จะทำให้สภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถเปิดประชุมสภาได้ ซึ่งตนเชื่อว่า สถานการณ์ดังกล่าวก็จะไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั่วไป เพราะประเทศยังมีรัฐบาลรักษาการอยู่ แต่ผู้ที่เดือดร้อนและเกิดความวุ่นวายน่าจะเป็น พรรคการเมืองต่างๆ ที่ต้องหาคนลงสมัครใหม่
      
       “เพราะฉะนั้น อยากจะเชิญชวนผู้ที่เบื่อการเมืองน้ำเน่า สภาน้ำเน่า ส.ส.น้ำเน่า และในอดีตเคยต่อต้านด้วยการนอนหลับทับสิทธิ คราวนี้ต้องเห็นถึงความสำคัญของโหวตโน โดยช่วยกันออกไปใช้สิทธิกาช่องที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน จึงจะเป็นการ “เอาคืน” พวกน้ำเน่าทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้นได้ครับ” ศ.นพ.วิฑูรย์ กล่าวทิ้งท้าย
      
       สำหรับบทความ “ความเป็นมาของคะแนนโหวตโน” ของ ศ.นพ.วิฑูรย์ มีรายละเอียดดังนี้
      
       “ผมเกิดมาพร้อมๆ กับปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาตั้งแต่ผมมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก เมื่อประมาณ 60 ปีมาแล้ว ผมนึกไม่ออกว่า ในบัตรเลือกตั้งมีช่องให้ผู้เลือกตั้งกาในช่องผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเริ่ม ตั้งแต่สมัยใด และผมไม่มีเวลาที่จะตรวจสอบกฎหมายเลือกตั้งย้อนไปดูว่า กฎหมายเลือกตั้งฉบับใดบัญญัติเรื่องให้มีการลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์จะลง คะแนน แต่หลักฐานเท่าที่ผมมีอยู่คือ กฎหมายเลือกตั้งที่ออกตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541) ซึ่งกำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิ และหากผู้ไม่ไปใช้สิทธิ โดยไม่มีการแจ้งเหตุผลล่วงหน้าก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 7 วัน ผู้นั้นจะถูกตัดสิทธิหรือเสียสิทธิบางประการที่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ
      
       เมื่อกฎหมายบังคับให้ไปใช้ สิทธิ (ลงคะแนน) ก็จำต้องให้เสรีภาพต่อประชาชนผู้ถูกบังคับให้ไปใช้สิทธิโดยเสรี ที่จะลงคะแนนให้ผู้สมัครคนใด หรือไม่ลงคะแนนให้ใครก็ได้ นี่จึงเป็นเหตุว่า ในบัตรเลือกตั้งจึงมีช่องให้ผู้เลือกตั้งทำเครื่องหมาย (กากบาท) ในช่องผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน (มาตรา 56 ของกฎหมายที่กล่าวมาแล้ว) และในมาตรา 70 ในกฎหมายฉบับนั้น บัญญัติให้มีการนับคะแนนสำหรับเลือกตั้งชนิดนี้ด้วย และต้องประกาศจำนวนบัตรดังกล่าวด้วย ไม่ได้ถือว่าเป็นบัตรเสียอย่างที่ใครๆ พยายามออกมาบิดเบือน และในมาตรา 74 ของกฎหมายฉบับเดียวกันบัญญัติว่า
      
       “ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียวและผู้ สมัครรับเลือกตั้งนั้นได้คะแนนเสียงตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิ เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้นั้นเป็นผู้ได้ รับการเลือกตั้ง
      
       ในกรณีที่เหลือผู้สมัครรับเลือกตั้ง คนเดียวตามวรรคหนึ่งและได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มี สิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งนั้น”
      
       จากผลของมาตรานี้ มีผลทำให้ กกต.ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในหลายเขตเลือกตั้ง ในจังหวัดเล็กที่มี ส.ส.ในจังหวัดนั้นเพียงคนเดียว ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ที่พรรคการเมืองต่างๆ พากันประท้วงพรรคไทยรักไทย (ต่อมาการเลือกตั้งคราวนั้น ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการเลือกตั้งเป็นโมฆะ) คราวนั้นก็มีการรณรงค์ให้มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไปกาในช่องผู้ไม่ประสงค์ จะลงคะแนนเหมือนกัน โดยประสงค์จะตัดคะแนนผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีคนเดียวจากพรรคไทยรักไทยให้ ได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 20 ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
      
       เมื่อภายหลังที่เรามีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 (ฉบับปัจจุบัน) กฎหมายเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550) ได้บัญญัติมาตรา 88 และมาตรา 89 ไว้ โดยให้ความสำคัญของคะแนนในช่องที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเพิ่มขึ้นอีก ดังบทความในฉบับแรกของผม กล่าวคือ
      
       สาระสำคัญของ มาตรา 88 บัญญัติไว้ ดังนี้
      
       ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น (1 ถึง3 คน) ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อ
      
       (1) ได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และ
       (2) มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง
      
       ในกรณีที่ผู้สมัครผู้ใด ไม่ผ่านเกณฑ์ 2 ข้อดังกล่าว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เฉพาะตำแหน่งที่ได้รับคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ 2 ข้อดังกล่าว และให้นำความในมาตรา 9 มาใช้บังคับ
      
       “มาตรา 9 ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ให้คณะกรรมการ
      
       การเลือกตั้งมีอำนาจออกประกาศให้ย่น หรือขยายระยะเวลาหรืองดเว้นการดำเนินการที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งตามที่ บัญญัติในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เฉพาะในการเลือกตั้งนั้น เพื่อให้เหมาะสมและจำเป็นแก่การดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยรวดเร็ว สุจริต และเที่ยงธรรมได้”
      
       ดังนั้น ตามมาตรา 88 ของกฎหมายเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2550 กลับให้ความสำคัญของคะแนนของจำนวนบัตรที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเพิ่มขึ้น โดยทั้งนำมาแข่งกับคะแนนของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนสูงสุดในจำนวน ผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วยกันที่จะผ่านการได้รับการประกาศจาก กกต.ว่า เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งในเขตนั้น โปรดสังเกตว่า มาตรา 88 ใช้คำว่า มากกว่า สำหรับเกณฑ์ใน (2) เพราะฉะนั้น แม้คะแนนของผู้สมัครรับเลือกตั้งจะได้เท่ากับจำนวนบัตรของผู้ที่กาในช่องไม่ ประสงค์จะลงคะแนน ก็ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรา 88 ครับ
      
       ส่วน มาตรา 89 วรรคแรก บัญญัติว่า
      
       “ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งมากที่ สุดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง แต่ในเขตเลือกตั้งที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือก ตั้งได้มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเรียงตามลำดับลงมาในเขตเลือกตั้ง นั้นเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งตามจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีในเขต เลือกตั้งนั้น”
      
       สำหรับวรรคสองของมาตรา 89 ระบุถึงกรณีผู้สมัครเลือกตั้งฯ หลายคน มีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับเลือกตั้งเท่ากันหลายคน ให้ใช้วิธีจับสลากเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง
      
       ต่อมาเมื่อรัฐบาลที่ผ่านมาได้แก้ไข รัฐธรรมนูญเรื่องเขตเลือกตั้ง ให้มีการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเป็นเขตละ 1 คน มาตรา 88 และมาตรา 89 ของกฎหมายเลือกตั้ง ก็มีการแก้ไขใหม่ (พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้ มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554) ซึ่งต้องนำมาใช้กับการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้เป็นครั้งแรกด้วย แต่สาระสำคัญของมาตรา 88 และมาตรา 89 ที่แก้ไขใหม่ เหมือนเดิมทุกประการ สาเหตุสำคัญที่เพิ่มความสำคัญของจำนวนบัตรของผู้ที่กาในช่องผู้ไม่ประสงค์จะ ลงคะแนนนั้น คงเป็นมาตรการในการป้องกันกรณีที่เขตที่ผู้สมัครคนเดียว พรรคเดียว หรือว่าจ้างพรรคเล็กลงแข่งขัน เพื่อให้พ้นเกณฑ์ 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ซึ่งก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
      
       ผมออกจะผิดหวังที่เลขาธิการ กกต.ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า กรณีตามมาตรา 88 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่มี เพราะไม่มีเขตใด มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงคนเดียว เพราะมาตรา 89 ตามกฎหมายปัจจุบันเขียนไว้ชัดเจนว่า
      
       “มาตรา 89 ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้ผู้สมัครซึ่งได้ รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเท่ากันหลายคน ให้ใช้วิธีการจับสลากซึ่งต้องกระทำต่อหน้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขต เลือกตั้งตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด”
      
       ที่ผมเขียนไปในบทความฉบับแรกที่ว่า มาตรา 88 ต้องนำมาใช้ในมาตรา 89 ด้วยนั้น ผมไม่คิดว่าจะมีนักกฎหมายคนใดมีความเห็นเหมือนเลขาธิการ กกต. เพราะนักกฎหมายที่ใช้กฎหมายอยู่เป็นประจำทุกคน เข้าใจเหมือนกันทุกคนครับ ไม่ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความให้เสียเวลา เพราะสำนวนแบบนี้มีใช้ในกฎหมายหลายฉบับ และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ใช้อยู่หลายมาตรา ตัวอย่างเช่นมาตรา 281 บัญญัติว่า
      
       “มาตรา 281 ภายใต้บังคับมาตรา 1 รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครอง ตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการ สาธารณะ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
      
       มาตรานี้หมายความว่า การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทใด ๆ ก็ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 1 คือ ภายในราชอาณาจักรไทย ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกได้
      
       เมื่อยกตัวอย่างมาตรานี้ ทำให้ผมนึกถึงพรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่ไปหาเสียงในภาคใต้ว่า พรรคเขามีนโยบายในการจัดการปกครองให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเขตปกครองหรือรัฐอิสระ กกต.ช่วยดูด้วยนะครับว่า การหาเสียงของพรรคการเมืองนี้ จะเป็นไปตามมาตรา 281 หรือไม่
      
       ผมออกจะเป็นห่วง กกต.ครับ ถ้าเลขาธิการ กกต.ยังแปลกฎหมายตามใจชอบอยู่อย่างนี้ อาจมีผลทำให้ กกต.เข้ารกเข้าพงไปอีกองค์กรหนึ่ง อยากจะเตือน กกต.ชุดนี้ให้ดูชะตากรรมของ “กกต.ชุด 3 หนา” เอาไว้บ้าง
      
       สุดท้ายผมยืนยันว่า จำนวนเสียงของผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน เป็นมติมหาชนหรือประชามติ ถ้าสามารถยับยั้งไม่ให้ ส.ส.เขตได้รับการประกาศให้เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งได้ถึงเกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ควรจะมีทั้งหมด (คืออย่างน้อย 26 เขต) สภาผู้แทนราษฎรก็ไม่สามารถเปิดประชุมได้ ต้องรอให้ กกต.จัดการเลือกตั้งในเขตที่ยังไม่มี ส.ส.ใหม่ จนกว่าจะมี ส.ส.เกินกว่าร้อยละ 95
      
       ถามว่า เมื่อถึงขนาดนั้น ความวุ่นวายอะไรจะเกิดขึ้นหรือไม่
      
       ผมว่าประชาชนก็ยังอยู่เหมือนเช่นทุกวันนี้ โดยมีรัฐบาลยังรักษาการอยู่

      
       ความวุ่นวายน่าจะอยู่ในส่วนของพรรค การเมือง ที่จะต้องหาคนลงสมัครใหม่ ถ้า กกต.จะตีความว่า ผู้สมัครที่ได้คะแนนไม่เกินจำนวนบัตรของผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน ไม่มีสิทธิสมัครใหม่ในเขตเดิม เพราะขัดประชามติของประชาชนในเขตนั้น ก็ยิ่งจะเพิ่มความปั่นป่วนในพรรคการเมืองต่าง ๆ ยิ่งขึ้น
      
       ส่วนภาคประชาชนก็ไม่มีใครเดือดร้อน
      
       เพราะฉะนั้น อยากจะเชิญชวนผู้ที่เบื่อการเมืองน้ำเน่า สภาน้ำเน่า ส.ส.น้ำเน่า และในอดีตเคยต่อต้านด้วยการนอนหลับทับสิทธิ คราวนี้ต้องเห็นถึงความสำคัญของโหวตโน โดยช่วยกันออกไปใช้สิทธิกาช่องที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน จึงจะเป็นการ “เอาคืน” พวกน้ำเน่าทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้นได้ครับ”

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง