นับ1.การปฏิรูปประเทศไทย โดยภาคประชาชน
โดยดร.ไก่ Tanond เมื่อ 11 พฤษภาคม 2011 เวลา 11:23 น.
ขอส่งสัญญาณผ่านไปถึงเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
เพื่อ เป็นการเสริมเติมยุทธวิธีในการรณรงค์ โหวตโน ในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองนี้ ผมใคร่ขอนำเสนอกระบวนการสำคัญๆ ที่สมควรจัดให้มีการเริ่มต้นขึ้น เพื่อทั้งแสดงจุดยืนอันมั่นคง ที่ควรมีคู่ขนานไปกับรองรับการดำเนินการขั้นต่อๆไป เมื่อผลลัพธ์จากโหวตโน สามารถบรรลุสู่เป้าหมายได้ ดังนี้ –
1.นำเสนอแผนปฏิบัติการณ์ เพื่อปฏิวัติการเมือง และปฏิรูปประเทศไทย ด้วยการร่วมด้วยช่วยกันมีส่วนร่วมของประชาชนในภาคส่วนต่างๆทั่วประเทศ โดย
1.1เปิด เวทีพันธมิตรให้กว้างที่สุด สำหรับการแสดงตนของภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อยื่นเจตจำนงค์ขอเข้าร่วมนำเสนอองค์กร พร้อมทั้งรายละเอียดในการดำเนินงานขององค์กรตน
1.2เปิดโอกาสให้องค์กร ต่างๆข้างต้น ได้เข้าร่วมนำเสนอปัญหาและอุปสรรคต่างๆในการดำเนินงาน หรือ ผลักดันภารกิจสำคัญๆที่เป็นสาธารณะประโยชน์โดยชัดเจนของตน โดยแบ่งแยกประเภทของอุปสรรคปัญหา รวมทั้งองค์กรผู้ดูแล ออกเป็น 3 สาย 1.สังคม 2. เศรษฐกิจ 3. การเมือง
2. องค์กรต่างๆ ที่ได้รับการพิจารณานำเสนอประเด็นอุปสรรคปัญหาไปแล้ว ก็สมควรให้ทำ “พิมพ์เขียว” แสดงถึงเรื่องราวนั้น พร้อมทั้งทางแก้ทางออกที่ตนเห็นควรให้แก้ไข รวมถึงกฏหมาย กฏกระทรวง ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหานั้นควบคู่กันมาด้วย
3. ในอีก 50 กว่าข้างหน้านี้ หากดำเนินการเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง ก็จะเท่ากับเป็นการตีแพร่ความโยงใยความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตร กับองค์กรภาคเอกชน ภาคประชาชนต่างๆที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้บังเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีพันธมิตรเป็นผู้ขับเคลื่อน เป็นผู้เดินเกมเปิดทางให้แก่ภาคส่วนอื่นๆ ที่ล้วนต่างเป็นองค์กรภาคประชาชนด้วยกันทั้งสิ้น และ
4. ข้อมูลและพิมพ์เขียวต่างๆที่ได้นี้ จะเป็นข้อมูลชั้นเลิศ ที่มาจากผู้มีประสบการณ์ตรงต่อปัญหาต่างๆ ที่เป็นภาคประชาชนด้วยกันเอง จึงควรได้จัดเก็บรวบรวมเข้าฐานข้อมูล ที่เมื่อถึงเวลาใช้งานจริง ก็จะสามารถนำมาใช้เป็นไกด์ไลน์ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่มีมาอย่างยาวนาน หรือ ที่อาจถูกสกัดกั้นจากภาครัฐมาแต่เก่าก่อน จนไม่สามารถนำพาไปสู่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาก่อนหน้าได้
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาในขั้นต้นนี้
ด้วยความปรารถนาดี
การเมืองภาคประชาชนบนFACEBOOK / (ว่าที่)ดร.ฐนน จุลเวช / ดร.ไก่Tanond
WORK FLOW : พันธมิตร < เปิดตัว < องค์ภาคเอกชน / ภาคประชาชนต่างๆ
ปัญหา / อุปสรรค > สิ่งที่ขาดหายไป > ทางออก/ทางแก้ > กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น