ความพยายามของฝ่ายการเมือง ที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเป็นจุดร่วมกันของที่มาซึ่ง คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวมาจากตัวแทนพรรคการเมืองที่มี ส.ส.ในสภาฯ สมาชิกวุฒิสภา และนักวิชาการ สรุปร่วมกันว่า เห็นควรเสนอแก้ไข 6 ประเด็น
6 ประเด็นที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ สรุปว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ประกอบด้วย
1. ที่มาส.ส.ให้มาจากการเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียว (ม.93-98)
2. ส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้ง และเพิ่มเป็น 200 คน (ม.111-121)
3. การทำสนธิสัญญาระหว่างประเทสไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา (ม.190)
4. การยุบพรรคการเมืองและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค กำหนดเฉพาะผู้ทำผิด โดยไม่ต้องยุบพรรค (ม.237)
5.การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ม.265)
6.การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา (ม.266)
และส่วนที่นักการเมือง “ขอเพิ่มเติม” คือ ให้อำนาจศาลยุติธรรมพิจารณาใบแดงใบเหลืองหลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)รับรองผลการเลือกตั้งไป
เมื่อได้สรุปทั้ง 6 ประเด็นแล้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า จะต้องทำประชามติเพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชน โดยการทำประชามติจะต้องแยกเป็นทีละประเด็น
อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปทั้ง 6 ประเด็นนี้ถูกปฏิเสธจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งขอถอนตัวจากกรรมการสมานฉันท์ฯ ในช่วงท้ายการพิจารณา พร้อมเรียกร้องให้นำรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 มาใช้เนื่องจากเห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะมาจากการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
ขณะที่ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พูดถึงประเด็นนี้ ว่า “พูดกันมากว่าประเทศประชาธิปไตย ไม่ยอมรับการทำรัฐประหาร ผมถามว่าคนที่บอกว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาจากการทำรัฐประหาร ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แล้วรัฐธรรมนูญ 2540 ที่อ้างว่าดีที่สุดเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ไม่ได้มาจาก คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่ปฎิวัติยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี 2532 หรอกหรือ”
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวย้ำว่า “ผมบอกได้เลยว่าประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญ ไทย ไม่เคยมีรัฐธรรมนูญฉบับไหนที่ผ่านการทำประชามติ เหมือนฉบับปี 2550”
ส่วน นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย ย้ำจุดยืนคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ และไม่เห็นด้วยที่จะให้คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะทั้ง 6 ประเด็นดังกล่าว เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายการเมือง แต่ประเด็นที่เป็นความขัดแย้งของสังคม กลับไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง
ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก อดีตประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ความเห็นว่า ความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายการเมือง ยังอยู่ในวังวน ที่อันตรายอย่างยิ่ง เพราะมีประเด็นที่สุ่มเสี่ยงต่อความขัดแย้ง โดยไม่มีใครใส่ใจประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ “สิทธิ” ของประชาชน
ดังนั้น จึงเชื่อว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น จะไม่สร้างความเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิรูปการเมืองในระยะสั้นได้ เพราะส่วนตัวคิดว่าการกระจายอำนาจสู่ภาคประชาชน และมีแผนพัฒนาการเมืองในระยะยาว คือ หลักสำคัญในการปฏิรูปการเมือง เพราะนักการเมืองมีแต่พูดเรื่องกระจายอำนาจแต่ไม่สามารถกระทำได้จริง และยังกระทำการที่ละเมิดสิทธิ์ประชาชนมาโดยตลอด
นายเจริญ คัมภีร์ภาพ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญา และภูมิปัญญาท้องถิ่น นักวิชาการกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน หรือ FTA WATCH กล่าวว่า ตอนนี้มีคนจำนวนมากแต่เสียงไม่ดังพอ ที่คัดค้านกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ว่าด้วยการลงนามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพราะเห็นว่า ผู้ร่างเข้าใจสภาวะการณ์ในโลกปัจจุบันและมีเจตนารมณ์ชัดเจนที่ต้องการให้ มาตราดังกล่าวเป็นประตูของประเทศที่จะช่วยกลั่นกรอง โดยใช้ 2 กลไกสำคัญ คือ
ให้อำนาจสาธารณะเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ให้ความเห็นชอบอยู่ในมือนักการเมืองฝ่ายเดียว จนเกิดการเกี๊ยะเซี๊ยะกัน และอนุมัติโดยกระบวนการของรัฐสภา ในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย ซึ่งถือเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างสังคมกับฝ่ายการเมืองในทุกกรณี ที่อาจเกี่ยวข้องกับอธิปไตยของไทย และที่สำคัญด้านหนึ่งยังช่วยป้องกันอันตรายจากการกระทำของเศรษฐกิจ อาทิเช่น ข้อตกลงเปิดเขตการค้าเสรี ที่ยังถกเถียงเรื่องความเสมอภาคทางการค้ากันทั่วโลก
ถึงแม้การนำประเทศเข้าสู่ระบบผูกพันทางการค้า แต่ยังขาดความเสมอภาค และความเหมาะสม จนทำให้คนในชาติเสียสิทธิประโยชน์ ในภาวะที่ประเทศไทยอยู่ในระบบทุนของยุคโลกาภิวัตน์ การแก้ไขมาตรา 190 จึงเท่ากับเปิดช่องให้ประเทศโดนโจมตีจากทุนต่างชาติได้ง่ายขึ้น
เมื่อเสียงคัดค้านเริ่มดังมากขึ้น ทำให้ ส.ส. 102 ของพรรคร่วมรัฐบาล 5 พรรคประกอบด้วย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และพรรคกิจสังคม เสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 เพียง 2 ประเด็น จาก 6 ประเด็น คือ
มาตรา 94 เกี่ยวกับที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ให้มาจากการเลือกตั้งเขตละคน จากเดิมเป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ "พวงใหญ่" และ มาตรา 190 หนังสือสัญญาที่ต้องขอความเห็นชอบของรัฐสภา เมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา
นาย บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ จากพรรคภูมิใจไทย ให้เหตุผลการยื่นว่า รัฐธรรมนูญ 2550 ได้ประกาศใช้มาแล้วเป็นเวลา 2 ปีเศษ ตลอดระยะเวลาที่ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ได้ก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน สร้างความแตกแยกในสังคม องค์กรอิสระทำงานตามอำเภอใจ มีข้อครหาว่าสองมาตรฐาน
และเมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่ผ่านมา ในการประชุมร่วมรัฐสภา ที่มี นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม และบรรจุระเบียบวาระการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เสนอโดย คณะกรรมการประชาชนเพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ ส.ส. 102 คน ของ 5 พรรรคร่วมรัฐบาลเสนอ เป็นวาระที่ 1-2 ก่อนที่จะมีการอภิปรายทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยของสมาชิกรัฐสภา อย่างกว้างขวาง ก่อนที่ประชุมฯ ลงมติให้เลื่อนระเบียบวาระเรื่องกรอบการเจรจาระหว่างประเทศ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ขึ้นมาพิจารณาแทนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ด้วยคะแนน 278 เสียง ไม่เห็นด้วย 212 เสียง งดออกเสียง 11 เสียง และไม่ออกเสียง 14 เสียง โดยมีสมาชิกรัฐบสภาเข้าร่วมประชุม 515 คน
โดยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 2 ร่างยังคงค้างการพิจารณาไปจนกว่าจะมีการประชุมร่วมสมาชิกรัฐสภา ในช่วงปลายเดือนมี.ค.ครั้นเมื่อพิจารณาเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ และข้ออ้างฝ่ายการเมืองที่อ้างความจำเป็นต้องแก้รัฐธรรมนูญแล้ว ในความเห็นของประชาชน อย่าง นายพงศ์พรรณ วัฏธนะภัฏ อายุ 30 ปี พนักงานบริษัทเอกชน บอกว่า ไม่ทราบเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ และไม่คิดว่าตัวเองจะได้ประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้
ขณะที่ ข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม อายุ 40 ปี กล่าวว่า ไม่ทราบรายละเอียดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคิดว่าไม่เกี่ยวกับตัวเอง และคิดว่าไม่เกี่ยวกับประชาชนโดยทั่วไปด้วย
ด้าน นางจำเนียร อายุ 60 ปี ชาวบ้าน อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด บอกว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะอย่างไรก็ได้ขอให้ผู้แทนราษฎร เอาใจใส่ชาวบ้าน และที่ผ่านมาการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว หรือแบบเขตใหญ่หลายเบอร์ ชาวบ้านไม่ได้ตัดสินใจที่วิธีการเลือกตั้ง แต่ตัดสินใจเลือกที่ตัวบุคคลมากกว่า
จากการที่ได้ประมวลความคิดเห็นมาทั้งหมด สรุปว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายเพื่อเดินไปสู่การปฏิรูปการเมือง
เจตนารมณ์2ประเด็นร้อนรัฐธรรมนูญ 2550
รัฐ ธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่บังคับมาร่วม 10 ปี (2540-2549) เกิดปญหาการบังคับใช และการตีความแต่ละมาตรา จนมีประเด็นที่ต้องขึ้นสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยวามีผล ใชบังคับในทางใด ทำให้ผู้มีสวนเกี่ยวของ ทั้งผูเสียหายจากการที่บทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญบังคับ หรือไมไดรับความคุมครองตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งหนวยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ไมสามารถคนหาเจตนารมณรัฐธรรมนูญในสวนนั้น ๆ ได เพราะไม่เคยมีรัฐธรรมนูญฉบับใดบันทึกเจตนารมณไวอยางชัดเจนเปนลายลัก ษณอักษร
ดังนั้น จึงเปนที่มาของปญหาทําใหตีความกฎหมายแตกตางกันไปในแตละสถานการณ์ และเป็นที่มาของการบันทึกเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ปี 2550 โดยในที่นี้จะไปตรวจสอบ “เจตนารมณ์” รัฐธรรมนูญ 2550 เฉพาะ 2 มาตรา ที่ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล 102 คน เสนอญัตติแก้ไข และกำลังถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ว่า สมควรแก้ไขหรือไม่
มาตรา 94 ที่กำหนดให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้เป็นแบบเขตใหญ่เรียงเบอร์ เจตนารมณ์ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การออกเสียงลงคะแนน การคํานวณจํานวนส.ส. การกําหนดเขตเลือกตั้งรวมทั้งรูปแบบการนับคะแนนเสียงของการเลือกตั้งแบบแบ่ง เขตการคํานวณจํานวนส.ส.ที่จะพึงมีในแต่ละเขตเลือกตั้งต้องคํานึงถึงสัดส่วน ของราษฎรต่อจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยให้ทุกจังหวัดมีจํานวนส.ส. ที่เหมาะสมกับจํานวนราษฎรในแต่ละจังหวัด
ส่วนการกําหนดเขต เลือกตั้งนั้น ถ้าจังหวัดใดมีเขตเลือกตั้งมากกว่าหนึ่งเขต ต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกัน และต้องให้จํานวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกันกําหนดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมี ส.ส. ไดจํานวนสามคน เพื่อให้เขตเลือกตั้งมีพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทําให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและยุติธรรม เนื่องจากการซื้อเสียงจะกระทําได้ยาก และทําให้ผู้เลือกตั้งสามารถใช้สิทธิเลือกบุคคลที่เหมาะสมจะปฏิบัติหน้าที่ ได้หลายคนซึ่งแตกต่างจากเดิมที่จะเลือกได้เพียงคนเดียวเท่านั้น
นอกจากนี้ทุกคะแนนเสียงของประชาชนจะมีความหมาย เพราะสามารถเฉลี่ยคะแนนไปตามผู้สมัครทั้ง 3 คนในแต่ละเขตเลือกตั้งได้ มิใช่แบบเดิมที่มีได้เพียงคนเดียว อันจะทําให้คะแนนเสียงของประชาชนที่เลือกผู้สมัครในลําดับที่ 2 หายไปทั้งหมด
นอกจากนี้ทุกคะแนนเสียงของประชาชนจะมีความหมาย เพราะสามารถเฉลี่ยคะแนนไปตามผู้สมัครทั้ง 3 คนในแต่ละเขตเลือกตั้งได้ มิใช่แบบเดิมที่มีได้เพียงคนเดียว อันจะทําให้คะแนนเสียงของประชาชนที่เลือกผู้สมัครในลําดับที่ 2 หายไปทั้งหมด
มาตรา 190 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการทําหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ...
...ก่อนการดําเนินการ เพื่อทําหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้นในการนี้ให้คณะรัฐมนตรี เสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย
เจตนารมณ์ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การทําหนังสือสัญญาระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ โดยหลักการดังกล่าวนี้มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489 เป็นครั้งแรก
1. การทําสนธิสัญญาหรือสัญญาอื่น ระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ หรือกับองค์การระหว่างประเทศ เป็นพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ในฐานะทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ
2. สนธิสัญญาหรือหนังสือสัญญาที่คณะรัฐมนตรีต้องขอรับความเห็นชอบจากรัฐสภาใน กรอบการเจรจา และต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนและภายหลังการเจรจา หรือก่อนลงนามในหนังสือสัญญา มีทั้งสิ้น 5 ประเภท คือ
ก) ประเภทที่มีบทเปลี่ยนแปลงอํานาจอธิปไตยของรัฐ
ข) ประเภทที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ อาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอํานาจตามหนังสือสัญญา หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ค) ประเภทที่มีผลกระทบด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
ง) ประเภทที่มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสําคัญ
จ) ประเภทที่ต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญา
1. การทําสนธิสัญญาหรือสัญญาอื่น ระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ หรือกับองค์การระหว่างประเทศ เป็นพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ในฐานะทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ
2. สนธิสัญญาหรือหนังสือสัญญาที่คณะรัฐมนตรีต้องขอรับความเห็นชอบจากรัฐสภาใน กรอบการเจรจา และต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนและภายหลังการเจรจา หรือก่อนลงนามในหนังสือสัญญา มีทั้งสิ้น 5 ประเภท คือ
ก) ประเภทที่มีบทเปลี่ยนแปลงอํานาจอธิปไตยของรัฐ
ข) ประเภทที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ อาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอํานาจตามหนังสือสัญญา หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ค) ประเภทที่มีผลกระทบด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
ง) ประเภทที่มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสําคัญ
จ) ประเภทที่ต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น